แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ก็อยากจะชี้จะนำ เพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการปฏิบัติธรรมที่เรากำลังทำอยู่ ให้ได้ยินสิ่งที่เราได้ทำ สิ่งที่เราได้ทำเป็นสิ่งที่เราได้ยิน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตเราก็เหมือนกันหมด เป็นอันเดียวกันหมด ไม่แปลกอะไร แล้วก็ไม่คิดว่าตัวเราคนเดียวปฏิบัติธรรม ก็พร้อมอยู่แล้ว มีกายมีจิตใจ มีสติ เหมือนมีตำรา กายใจเป็นตำรา สติปัญญาเป็นนักศึกษา ไปดู เข้าไปดูไปเห็น ดังที่เราสาธยายพระสูตร เมื่อใด พราหมณ์ มีเพียรเพ่งอยู่ มีสติปัญญาเห็น อะไรที่เกิดขึ้นก็ย่อมเฉลยได้ถ้ามีสติ สติจะบอกว่า รู้แล้ว นี่คือกาย รู้แล้ว อะไรที่มันเกิดขึ้นกับกายรู้แล้ว พร้อมกันกับปัญญา กายก็รู้แล้วก็จบไปแล้ว อย่าเป็น คำว่า "เห็น" ต่างกันกับ "เป็น" ทว่า "เป็น" นี่คือ ไม่ได้เห็น ถ้า "เห็น" ก็หลุดพ้น ถ้า "เป็น" ไม่หลุด เป็นสุขก็เป็นสุขติดอยู่ที่นั่น เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ติดไม่หลุด ถ้าเห็นสุขเห็นทุกข์มันจะหลุด เหมือนทิ้งก้อนกรวดใส่ฝาผนังพอสัมผัสมันก็ตกลง ไม่เหมือนทิ้งดินเหนียวใส่ฝาผนังพอสัมผัสมันก็ติด ถ้าสุขเป็นสุขหมายถึงดินเหนียว ถ้าทุกข์เป็นทุกข์หมายถึงดินเหนียว มันติด ถ้า "เห็น" มันเป็นก้อนกรวดไม่ติด สัมผัสเหมือนกันแต่ลักษณะมันต่างกัน การเห็นกับการเป็นมันต่างกันแบบนี้ จึงมาดู มาลืมตาภายใน ตาเนื้อเนี่ยไม่ต้องใช้ แต่ว่าอย่าไปหลับ ต้องลืมไว้ก็ดี คือว่าจะได้เห็นอะไรที่มาเกิดขึ้นขณะที่เราทำความเพียรอยู่ เราอยู่ในป่า นั่งในป่า เดินในป่า บางทีมีงูเลื้อยมาจะได้เห็นงู ถ้าหลับมันก็จะไม่เห็น อาจจะเป็นอันตรายงูเข้าถึงตัว อาศัยตา เห็น ถ้าเห็นก็หลุดพ้น เห็นงูไม่ให้งูกัด ถ้าตาเนื้อก็ยังช่วยได้อยู่ ถ้าตาในนี่เห็น เห็นทุกข์ไม่ได้เป็นทุกข์ เหมือนเห็นงูไม่ถูกงูกัด เห็นโกรธ เห็นโลภ เห็นหลง เห็นอะไรต่างๆ มันก็หลุด มันไม่มีรสชาติ มันเห็นเฉยๆ อย่างที่หลวงตาพูดเมื่อวานว่า โจทก์ เป็นโจทก์เป็นจำเลย ถ้าสุขเป็นสุข ก็เราก็ โจทย์ทำให้เราเป็นสุข ถ้าเรา"เป็น"สุขเราก็ตกเป็นจำเลยตัวเองอยู่ ถ้าสุข"เห็น"มันสุข พิพากษาแล้ว สติปัญญาหลุดไปแล้ว ไม่ตกเป็นจำเลย ไม่ตกเป็นอะไร เป็นอิสระ ถ้าสุข"เป็น"สุข ไม่อิสระ สุข"เห็น"มันสุข เป็นอิสระไม่เปรอะเปื้อน "เห็น" เป็นพรหมจรรย์เป็นพระได้ ถ้า "เป็น" นี่เป็นพระไม่ได้ พรหมจรรย์หมายถึงความบริสุทธิ์ไม่เปรอะเปื้อนเหมือนทิ้งดินเหนียวใส่ฝา ไม่เปรอะเปื้อน ถ้าทิ้งก้อนกรวดใส่ฝาไม่เปรอะเปื้อน ถ้าทิ้งดินเหนียวใส่มันเปรอะเปื้อน ลักษณะการเห็นเนี่ยมันไม่เปรอะเปื้อนนะ มันจะมีบุพพกิจบุพพกรณ์เบื้องต้น ใช้ได้ทันที ไม่ต้องไปทดลอง ชีวิตไม่ใช่ทดลอง ไปทดลองกับความหลง ไปทดลองกับความโกรธ ไปทดลองกับความโลภความทุกข์ ทดลองเข้ามันก็เสียไปแล้ว ถ้าทุกข์เป็นทุกข์มันเสียไปแล้ว ถ้าสุขเป็นสุขมันเสียไปแล้ว เอาคืนไม่ได้แล้ว ถ้าหลงเป็นหลงก็เสียไปแล้ว ให้เห็นเนี่ยมันไม่เสีย ไม่ใช่ทดลอง จึงเป็นพรหมจรรย์ได้ ชีวิตทดลองไม่ได้ เหมือนทดลองตัดขา ขาก็ขาด ตัดแขน แขนก็ขาด ต้องรักษา ต้องระวัง ป้องกัน มีสติ เข้าไปเห็นกาย มันก็มีอยู่ก่อน สิ่งที่มันเกิดกับกายก็มีอยู่ สิ่งเกิดแต่เหตุดับแต่เหตุ ย่อมผ่านไป มันมี เห็นกายนี่เอากายมาเป็นตัวเป็นตน ไม่ผูกกับภพ กับตัว กับตนในกาย ไม่ติดภพ สุขเป็นภพหนึ่ง ทุกข์เป็นภพหนึ่ง ถ้าร้อนเป็นร้อน...เป็นภพ ถ้าหนาวเป็นหนาว...เป็นภพ ถ้าหิวเป็นหิว...เป็นภพ ถ้าปวด อะไรต่างๆ มันเป็นภพ อย่าผูกกับภพ ให้"เห็น" สิ้นภพ ไม่"เป็น" มันสำเร็จได้ พ้นภาวะเก่า พ้นภาวะเดิม เปลี่ยนเป็นภาวะใหม่ที่ไม่เป็น บริสุทธิ์ขึ้นมา เป็นทั้งศีล เป็นทั้งสมาธิ เป็นทั้งปัญญา วิธีปฏิบัตินี่มันสัมผัสได้ ให้ผลได้ ทำทุกวันแก่ผู้ปฏิบัติ ก็ทำสนุกๆไป ยิ้มแย้มแจ่มใส อย่าเอาความคิดไปเกี่ยวข้องมากเกินไป เอาเหตุเอาผล ถ้าใครปฏิบัติธรรมด้วยความคิดความอยาก จะมีปัญหา ไม่ค่อยจะสะดวก เป็นทุกขาปฏิปทา ไม่สะดวก ลำบาก ทั้งกายก็ลำบากทั้งใจก็ลำบาก ให้ใจเป็นผู้สั่งงานสั่งการ ขี้เกียจก็หยุดขยันก็ทำ แล้วแต่อารมณ์อาการอะไรที่มันเกิดขึ้น ทำเฉยๆ ทำซื่อๆ ทำซื่อๆ ให้มีสติซื่อๆ เข้าไป เห็นกายเราเห็นเหมือนกัน อย่าไปเอาว่าผิดว่าถูก ถ้าผิดเป็นผิดถูกเป็นถูกย่อมหมองใจ ถ้าเห็นเนี่ย เห็นนี่เป็นธรรมดา เป็นรวมทั้งหมด เป็นทั้งสติเป็นทั้งปัญญา สุขเป็นสุขทุกข์เป็นทุกข์ เป็นเรื่องของใจ
ถ้าเห็นเฉยๆ ไม่เป็นเรื่องของอะไร บริสุทธิ์แล้ว มีสติ เห็นมันเนี่ย มันสะดวกที่สุดเลย มันรู้ก็เห็นมันอยู่เนี่ย มันหลงก็เห็นมันอยู่เนี่ย มันสุขก็เห็นมันเนี่ย มันทุกข์ก็เห็นมัน มันร้อนก็เห็นมัน มันปวดก็เห็นมัน เป็นอะไรที่มันเกิดขึ้นกับการ มีแต่ภาวะที่เห็น ไม่มีรสชาติ ภาวะสุขภาวะทุกข์อะไรไม่มีรสชาติ มีแต่เห็นเนี่ย สติเป็นอย่างนี้ มักจะไม่ติดภพติดภูมิอะไร ถ้าเป็นกลางก็เป็นกลาง เป็นทางก็เป็นทางไป ไม่ใช่ซ้ายไม่ใช่ขวา ไม่ใช่ชิดซ้ายไม่ใช่ชิดขวา เมื่อไม่ชิดซ้ายไม่ชิดขวาก็ผ่านไปได้ง่าย เหมือนท่อนซุงที่ไหลตามแม่น้ำ พระอรหันต์บางรูปสำเร็จเป็นอรหันต์ได้ก็เพราะเห็นท่อนซุงไหลตามแม่น้ำ นั่งอยู่ฝั่งแม่น้ำ ท่อนซุงท่อนใดที่ไหลติดฝั่งซ้ายก็ย่อมถูกอมนุษย์ลากขึ้นไปชำแหละเป็นอย่างอื่น ท่อนซุงท่อนใดติดฝั่งขวาก็ถูกอมนุษย์ลากขึ้นไปไม่ว่าถึงไหน ส่วนท่อนซุงท่อนใดไหลอยู่ทางกลางน้ำก็ย่อมผ่านไปถึงห้วงน้ำถึงทะเลมหาสมุทรได้ฉันใด ชีวิตของเราติดสุขฝั่งขวา ติดทุกข์ฝั่งซ้าย ไม่เป็นมรรค มรรคต้องผ่าน เป็นทางน่ะ อันมรรค ไม่ใช่เปรียญ "เห็น"เนี่ยเป็นมรรคที่สุดแล้ว "เป็น"นี่ไม่ใช่มรรคนะ เป็นสุขไม่ใช่มรรคนะ มรรคคือทาง ไม่ใช่เดินด้วยรูปด้วยกาย เป็นการเดินทางจิตใจ บำเพ็ญทางจิต พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ได้เพราะบำเพ็ญทางจิต มีสติดูจิต มีจิตดูจิต ถ้าดูกายก็ไม่เห็นจิต เวลามันคิดมันเห็นธรรม กุศล อกุศลมันเกิดจากจิต อันกายไม่มีอะไรดอกกายเนี่ย แต่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปอาศัย เหมือนกับพ่วงแพ แต่จิตเหมือนนายขี่บนแพนั้น จะให้ไปทางไหนมันก็ไป อันรูปนี่ มันไม่รู้ จะให้แขวนคอมันก็แขวนคอตาย จะเอามีดมาแทงมันก็แทงตัวเอง จะเอาปืนมายิงมันก็ยิงตัวเอง จะโดดน้ำก็กระโดดถ้านายมันสั่ง รูปมันเป็นมหาภูตรูปแล้วแต่จะสั่ง ไม่ใช่เอาไปแบกไว้ เอาไปใช้ให้สำเร็จ ใช้ให้มันเห็น เนี่ยเอามากำหนดให้มันรู้ซะ ให้มันเกิดภาวะรู้ขึ้นมามันก็ใช้ได้ ถ้ามันไม่มีรู้ มันไม่มีโอกาสที่จะเป็นมรรคผลนิพพานได้ เราจึงหัดใช้มัน หัดดูแลมัน หัดรักษามัน ถ้าสุขเป็นสุขไม่ใช่รักษา ทำลายมันแล้ว ชิบหายแล้ว เหมือนพ่วงแพ ใช้ไม่เป็น มีอะไรก็ไปทำให้ทรุดโทรมอยู่เรื่อย ชนไม้ ชนโขดหิน ชนอะไรต่างๆ กระทบกระเทือน มันก็ช้ำ เหมือนกับใช้รถ ไปชนโน่นชนนี่ก็ช้ำใช้ไม่ได้นาน ใช้กายใช้ใจก็เหมือนกันนะ ให้มันอยู่ในทาง ให้เห็นนี่เป็นทางไม่กระทบกระเทือนอะไร ถ้าเป็นเรา กระทบ สุขก็กระทบเท่าๆ กัน สุขก็เท่ากันทุกข์ก็เท่ากัน เป็นสังขาร ไม่เที่ยง หัวเราะก็เหนื่อยเหมือนกัน ร้องไห้ก็เหนื่อยเหมือนกัน ดีใจเสียใจเท่าๆ กัน ฟูฟูแฟบแฟบ อันหนึ่งเป็นบวกเข้ามา อันหนึ่งลบออกไป การกระทบกระเทือนทางจิตใจก็เท่าๆ กัน ไม่มีใครหัวเราะได้ทั้งวันก็เหนื่อย ไม่มีใครร้องไห้ทั้งวัน ก็เหนื่อยเหมือนกัน อันที่ไม่เป็นไร คืออยู่ตรงกลาง คือ "เห็น"เนี่ย เริ่มหัดไปเนี่ย เห็นกาย อะไรที่มันเกิดกับกาย อย่าเป็น เห็นมันหิว ไม่ใช่เป็นผู้หิว เหนื่อย ไม่เป็นพูดเหนื่อย เห็นอยู่เหมือนกัน มันเจ็บ ไม่ได้เป็นผู้เจ็บ เห็นมันเจ็บเนี่ย หัดแยกไปอย่างนี้ เข้าทางไปแบบนี้ ถ้ามันชำนาญตั้งแต่นี้ไป มันจะเป็นเกรดดีเกรด A ผ่านได้ง่าย เหมือนกับเราเรียนหนังสือเก่ง เราจะผ่านเข้ามหาวิทยาลัยได้สะดวก เอาเกรดไปอ้างเอา ไม่ต้องสอบเดินเข้าไปได้เลย มนุษย์เกรด A คือ "เห็น" อย่างนี้ ถ้ามันเกรดดีก็ผ่านถึงมรรคถึงผลได้ง่าย เห็นมันเกิดไม่เป็นผู้เกิด เห็นมันแก่ไม่เป็นผู้แก่ เห็นมันเจ็บไม่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันตายก็ไม่เป็นผู้ตาย ไปได้ง่าย เริ่มต้นที่เดียวกัน ท่ามกลางที่เดียวกัน ที่สุดก็อันเดียวกัน
เริ่มต้นก็คือสติ ท่ามกลางคือสติ ที่สุดคือสติ มันชำนาญต่างกัน ถ้าเป็นศีลก็เป็นศีล ถ้าเป็นศีลก็เป็นอริยกันตศีล เป็นศีลขันธ์ เป็นสมาธิขันธ์ เป็นปัญญาธิขันธ์ มันถี่เข้าไป เหมือนทอผ้าที่มันขัน มันเนื้อดี ถ้าเนื้อไม่ดีก็เนื้อไม่ขันห่อน้ำไม่ได้ ถ้าเนื้อดีห่อน้ำได้ ศีลก็เหมือนกัน ทีแรกก็ศีลทะลุ ไม่ค่อยดี พอเห็นทีไรไม่เป็นไปกับมัน เรามีศีลแล้วน่ะ ล้างความชั่วแล้ว ทำความดีแล้ว จิตบริสุทธิ์แล้ว อะไรที่เกิดกับกายมีแต่เห็น เข้าไปดูซิ อย่าเอาเหตุเอาผล เวลามันหลงไม่ชอบ เวลามันรู้เอ้อดี ไม่ใช่ เวลามันสงบเอ้อดี เวลามันฟุ้งซ่านเอ้อไม่ดี ไม่ใช่แบบนั้น ไปถามนักปฏิบัติเห็นหน้าเง้าหน้างอนั่งทำจังหวะอยู่ "เป็นไงหนู" พูดออกมา "ไม่ไหว พรรณนี้แย่" พูดก็ไม่เพราะนะ หน้าบูดๆ ทำท่าจะเป็นทุกข์ "ทำไมเล่า" "มันเครียด คิดมาก ฟุ้งซ่าน ง่วงก็ง่วง ไม่เหมือนเมื่อวานนี้ เมื่อวานก็ยังดี วันนี้ไม่ดี" ก็เลยบอกว่า "นักปฏิบัติ นักกรรมฐานไม่พูดอย่างนั้นหรอก ไม่เอา ตอบอย่างนี้ไม่ใช่นักกรรมฐาน ตอบใหม่" "โอ๊ย จะไปตอบยังไง มันเป็นอย่างเนี้ย มันต่างกันกับเมื่อวาน วันนี้มันเลยเครียด" หลวงตาไม่ได้บอกอย่างนั้น หลวงตาบอกให้ดู ให้เห็นมัน หลวงตาสอนมาตั้งแต่ไหนแต่ไร มาอยู่นี่ก็สอน ให้เห็น ให้ดูมัน เห็น อย่าเป็นไปกับมัน เห็นมันเครียด ไม่เป็นผู้เครียด เห็นมันง่วง ไม่เป็นผู้ง่วง หลวงตาบอกอย่างนี้ ทำไมไป"เป็น" มันดื้อเหรอ ทำไมดื้อ ทำไมไม่เชื่อฟัง มีคนบอกแล้วตัวเองไม่ทำต่างหาก ไม่ใช่ว่าไปโทษตัวเรา ไปโทษอะไรต่างๆ มันอยู่ที่เราเนี่ย ให้เห็นน่ะเนี่ย" เขาก็เข้าใจขณะนั้น หน้าตางอๆ บูดๆ ก็มีรอยยิ้มขึ้นมา "เอ้อ หนูไม่เข้าใจ เพิ่งมาเข้าใจเดี๋ยวนี้เอง" นี่ก็มีเหมือนกัน มันมีเหตุมันจึงมีผล ถ้าดูดีๆนะ มาพร้อมกัน ความหลงมาพร้อมกันกับความไม่หลง ดูดีๆตรงนี้ อย่าให้หลงเอาไปฟรี เอาคืนมาให้เป็นภาวะที่รู้ เหมือนของเสียไปแล้วหาคืนมาให้ได้ ชื่อว่ารักษา ถ้าหลงเป็นหลง ชื่อว่าไม่รักษากาย ไม่รักษาชีวิต ใช้ชีวิตปนเป สำส่อน ไม่ใช่ชีวิตอย่างงั้น ชีวิตต้องไม่เป็นอะไร มันตั้งต้นจากภาวะที่เห็นนี่ มันเลยไม่เป็นอะไรไปเนี่ย ชีวิตน่ะเนี่ย มันจึงอยู่เหนือเกิดแก่เจ็บตายได้ เราเวลาปฏิบัตินี้ ที่สุดชีวิตคือไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็ตั้งต้นไปจากตรงนี้ เข้าทางให้ถูกแล้ว อะไรที่เกิดกับกายกับใจเนี่ย มีอันเดียวเท่านี้ เวลามันโกรธ เห็นมันโกรธ ไม่เป็นผู้โกรธอย่างนี้ อันเดียวเฉลยไปได้เลย พอใช้มากๆ ใช้ชำนาญ ให้มันชำนาญ ใช้ให้มันเป็น ทำให้มันเป็น เวลามันหลง ถ้าหลงน่ะทำไม่เป็น ยังเป็นอนุบาลอยู่ ยังเป็นผู้ใหม่อยู่ ไม่ใช่ผู้เก่า ไม่ใช่แก่กล้า เหมือนไม้ยอดอ่อน เถายอดอ่อน เด็ดยอดอยู่เรื่อย มันก็ไม่มีโอกาสแก่ มันงอกขึ้นมาก็เด็ด เหมือนต้นไม้อาภัพ ต้นผักสะเดา ผักหวาน ผักเม็ก อยู่แถวทางขอบสระ ทางไปอาสนะศาลา หอฉัน ที่ฉัน คนเดินผ่านไปก็เห็นยอดติ้ว ยอดเม็ก ก็เด็ดเอาๆ ก็เลยไม่สูงสักที เอาเพื่ออันนั้นโดยตรงน่ะ เอาขี้เหล็ก มันสูงก็ตัดลงมา มันจะมียอด ชีวิตของเราต้องมีอินทรีย์แก่กล้าถึงจะเกิดมรรคเกิดผล แล้วมันอยู่ได้นานๆ ลองดู ถ้าหลงเป็นหลงไม่มีโอกาสแก่กล้า สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ ไม่มีโอกาสแก่กล้า ยังอ่อนอยู่ เป็นนวกะ ผู้ใหม่อยู่ ไม่เป็นอาวุโส ไม่แก่กล้า ถ้ามันแก่กล้าจึงเกิดดอกออกผล เหมือนมะม่วง ถ้าต้นไหนดูออกดอกมันออกยอด แสดงว่าใช้ไม่ได้แล้ว ไม่เกิดลูกแล้ว ถ้ายอดแก่ๆ อยู่นาน ปีหนึ่งจึงเกิดดอกออกผลได้ กรรมฐานเช่นกัน ให้มีสติเนี่ย ทีแรกก็รักษาธรรมไม่เป็น เวลามันหลง...รู้หนะ ทำเป็นไหม เวลามันโกรธรู้สึกตัว เวลามันทุกข์รู้สึกตัว อะไรที่มันเกิดกับกายกับใจนี่เฉลยไปเลย รู้สึกตัวเนี่ย ให้แก่กล้าตรงนี้ ทำให้เป็น เอาไปเอามาก็ไม่ได้หัดหรอกมันเป็นไปเอง ใหม่ๆ ก็ต้องหัดน่ะแหละ สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ ไม่ได้หัด เพลิน เห็นมันสุขเห็นมันทุกข์ หัดแล้ว ฝึกหัดแล้ว ให้ความสุขเป็นภาวะที่เกิด เป็นภาวะที่รู้ที่เห็น ให้ความทุกข์เป็นเหตุที่เกิดภาวะที่รู้ที่เห็น ให้ปัญหาเกิดภาวะที่รู้ที่เห็น เป็นปัญญาไป ปัญหานั่นน่ะมันก็เป็นปัญญาในตัวเอง มันมีเกิดเป็นเหตุ ดับก็ดับที่เหตุเนี่ย ทุกสิ่งทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ จะดับก็ดับที่เหตุเนี่ย พระสารีบุตรฟังธรรมเท่านี้ของอัสสชิ ได้เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ดวงตาเห็นธรรมเลย ได้ข้อมูล ได้หลักฐานเป็นคู่มือพับใส่กระเป๋าไปเลย ไปไหนก็เอาเรื่องนี้ไป จนเป็นเสนาบดีของพระพุทธเจ้าศึกษาเรื่องนี้เท่านั้น
"เห็น"เนี่ยไม่ใช่เล็กน้อยนะ แล้วก็ทำได้ทุกชีวิต สิ่งที่เราต้องเห็นก็ไม่ได้ต้องไปหาซอกค้นดูที่ไหน มันเกิดขึ้นมาเป็นชุมทาง สติปัฏฐาน ๔ เป็นชุมทางทำให้เกิดอะไรต่างๆ เหมือนตลาดนัดสินค้าไปที่เดียว เลือกได้สะดวกซื้อสะดวกหา เวลาเรามีสติ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม เนี่ยทั้งหมดแล้ว ถ้าหลุดตรงนี้ก็ไปได้แล้ว ผ่านที่ไหนก็ผ่านได้ง่าย ถูกที่สุดแล้ว เหมือนเดินทางไปต่างประเทศมีคู่มือ มีหนังสือเดินทาง ไปได้ตลอด ไม่ถูกกักถูกขัง เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เป็นชุมทางเป็นทางผ่านของหลงของรูป ก็ไม่หลงตรงนี้ ก็ไปได้ แล้วก็ไปมีอะไรที่มันแสดงออกแตกฉานเลยหละทีนี้ เริ่มต้นจากตรงนี้แตกฉานไปเลย เห็นรูปธรรมเห็นนามธรรมแตกฉานไปเลยบัดนี้ รูปมันทำ นามมันทำ เห็นรูปทุกข์ นามทุกข์ เอ้าสนุกบัดนี้ สนุกรื้อถอนโครงสร้าง รูปทุกข์ นามทุกข์ รูปโลก นามโลก โอ้ พอเห็นรูปโลกนามโลกนี่ตื่นเลยบัดนี้ ไม่หลับแล้ว อะไรนิดหน่อยที่เป็นทุกข์ที่เป็นโลกนี่ใส่ใจ ใส่ใจมาก การเปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์นี่มันเป็นงานอันประมุทจริงๆ นะ ไม่ใช่นั่งหน้าบูดอยู่ทั้งวัน นอนไม่หลับครุ่นคิด...ไม่ใช่ อารมณ์ค้าง...ไม่ใช่ ไม่มีเลยบัดนี้ เห็นรูปทุกข์ นามทุกข์ เห็นรูปโลก นามโลก เห็นรูปสมมุติ นามสมมุตินี่แก่กล้าแล้วบัดนี้ มีแต่สมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์สัจจะ ความหลงเป็นสมมุติบัญญัติ ความไม่หลงเป็นปรมัตถ์สัจจะ ความทุกข์เป็นสมมุติบัญญัติ ความไม่ทุกข์เป็นปรมัตถ์สัจจะ ความโกรธเป็นสมมุติบัญญัติ ความไม่โกรธเป็นปรมัตถ์สัจจะ มันจริงกว่ากันบัดนี้ ถ้าจะเรียกว่าเข้มแข็งมากตอนนี้ล่ะ เป็นเพชรนั่นน่ะ ตัดกระจกได้ ไม่มีอะไรที่ตัดกระจกได้นอกจากเข็มเพชร มันเข้มแข็ง ถ้าเห็นสมมุติ เห็นบัญญัติ เห็นปรมัตถ์แล้วเข้าสู่อริยะบุคคลได้ ตัดสังโยชน์ได้ เพราะมันมีสติปัญญามันไม่ต้องหัดกับอะไร มันใช้ได้นะ มันไม่ได้ไปหัดนะ เหมือนเราทำอะไร เรานั่งอยู่เนี่ย ไม่ต้องไปรู้ว่าเราชำนาญศิลปะในเรื่องใดหรอก ถ้าเราใช้ให้เป็นหนะนะ เราพร้อม หัดมาแล้ว อย่างอาจารย์ไพศาลนี่พิมพ์ดีด เล่นคอมพิวเตอร์เนี่ย ตาท่านไม่ดูเลย อ่านหนังสือเนี่ย มือไป เอ้อ เป็นไปแล้ว มันเป็นน่ะ ไม่ใช่ไปหัดนะ อย่างหลวงตาเนี่ย ต้องลูบคลำนะ แม้แต่หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อกรมให้โทรศัพท์ก็ต้องดูเลข ๑ มันอยู่ตรงไหน หัดใช้แล้วมันก็อยู่ที่เก่าน่ะเลข ๑ มือมันไปเองน่ะ นิ้วมือมันไปเอง ๑ มันก็อยู่นั่น ๐ มันก็อยู่ตรงนี้ มันก็ไปเองนะ ถ้าหัดมันก็ต้องหัดจากลูบคลำนะ น่ะ ไม่ได้ใส่ใจ มันหลงทีไรก็เป็นหลงอยู่ ไม่หัดสักที ทำไม่เป็นเลยนี่ มันโกรธก็ยังโกรธอยู่ ไม่หัด ทำไม่เป็นเลย มันทุกข์ก็ทุกข์อยู่ เห็นสมมุติ เห็นบัญญัติ เห็นปรมัตถ์ วัตถุอาการต่างๆ นี่เข้าสู่ศีล เข้าสู่สมาธิ เข้าสู่ปัญญา ศีลก็ช่วยแล้วบัดนี้ แต่ก่อนรักษาศีลต่อไปนี้ศีลจะรักษาเราแล้ว สมาธิช่วย ปัญญาช่วยหละบัดนี้ สะดวกนะตอนนี้
เหมือนกับหัดอะไรที่มันเป็นแล้วมันสะดวกใช้ หัดม้าก็สะดวกขี่ จับสายบังเหียนขึ้นหลังหัดวัวหัดควายก็ใช้งานได้ ถ้าอันตัวไหนที่หัดก็เหนื่อยหน่อย ถ้าหัดเป็นมันก็เป็น ไม่ลืมนะ หัดวัวเทียมเกวียน หัดควายเทียมไถ ไถปีละเดือนสองเดือน ปล่อยทิ้งไปเวลาปีใหม่จับมาไถอีกก็เป็นอีก มันไม่ลืมนะ มันไม่ลืม หลวงตาไปอยู่เมืองเลยเนี่ย เขาไถนาเขาไม่ใช้เชือกดอก เขามีแต่เว้า ถ้าวัวเทียมไถไปทางซ้าย เขาบอกขวาๆ มันก็ไปขวา ถ้าไปขวาเกินไป เขาก็บอกว่าซ้ายๆ เขาก็บอกนะ ถ้ามันไปตรง เอ้อ ตรงไปๆๆ หยุด...มันก็หยุด ไป...มันก็ไป วัวเทียมเกวียนนี่ เขาไม่ขึ้นเกวียนนี่ เขาไม่ได้ปลดวัวเทียมเกวียนนะ เขาต้องให้มันถอยหน้าถอยหลัง ให้มันดันหน้า เวลามันถอยหลัง ถอยๆ มันก็ยกปลอกคอขึ้นมันก็ถอยหลังไป แอกติดคอมัน ยกคอขึ้นสูงๆ ยกหัวขึ้นสูงๆ บอกให้มันเดินหน้า มันก้มลงดันไป หยุด! มันก็หยุด เอาไม้ลงก็เหมือนกัน เคยให้ชาวบ้านลากไม้มาเลื่อยในวัดพุทธยาน สร้างวัดพุทธยาน ต้นใหญ่เขาขึ้นคนเดียว เอาลงคนเดียวนะ วัวเทียมเกวียน มันเก่ง มันเป็น อย่างไปพม่าเนี่ย คนหนึ่งขี่เกวียนเป็นสิบเล่มนะ เจ้าของคนเดียวเนี่ย เขายังเอาเกวียนบรรทุกอ้อยเขาโรงงาน ไม่มีรถอย่างบ้านเรานะ เขาก็นั่งอยู่เกวียนเล่มเดียว ให้เกวียนคันนึงออกก่อน หลายคันออกก่อน บางทีเขาไปนั่งข้างหน้า แล้วก็เดินขึ้น เพียงแต่ยกไม้สายตะคุดขึ้นมา ชี้ไปทางโน้น ชี้ไปทางนี้ ไปของมันเอง เวลาไปจอดโรงงาน มันไม่ปลดแอก ไม่ได้ปลดวัวจากเกวียนเลย มันเอายอดอ้อยไปวางไว้ที่ๆ มันยืนอยู่น่ะ มันไม่ปลดจนกว่าโรงงานเขาจะสั่งให้เข้าไป มันก็เข้าไป เอาอ้อยลงก็ไม่ได้ปลดเลย คือมันเป็นแล้ว ชีวิตเราเมื่อมันเป็นแล้ว มันไม่มีปัญหาอะไรหรอก มันหัดได้จริงๆ ประเสริฐจริงๆ นะชีวิตมนุษย์เนี่ย เราจึงมาหัดกันเถิด ไม่ใช่สอนให้รู้ การหัดเป็นการช่วยตัวเอง การสอนให้รู้คนอื่นสอนให้ได้ การสอนให้เป็นเราต้องหัดเอา เริ่มไปจากหัดให้มันรู้กายนี่ไป ให้มันเห็น ปัญหาก็อยู่ที่กายนี่แหละ ถ้ารู้ใจ ปัญหามันอยู่ที่ใจนี่แหละ การเคลื่อนไหวของกาย คือนี่ เราหัดอยู่นี่ อิริยบถต่างๆ ตามสติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติดูกายเป็นประจำ มันจะเห็นเวทนา สุข ทุกข์ เกิดกับกาย ก็เห็นอีก มันเห็นจิตที่มันคิดนั่นแหละ ความคิด คือการเคลื่อนไหวของจิต เหมือนเสียงฆ้อง ถ้าไปตีมันก็ดัง จิตถ้ามันได้สัญญาณอะไรมันก็คิดไป บางทีมันติดมา ติดมาตั้งนานแล้วหลายปีแล้ว เคยมีลูกก็คิดแบบคนมีลูก คนมีพ่อมีแม่คิดแบบคนมีพ่อมีแม่ คนมีผัวมีเมียก็คิดแบบคนมีผัวมีเมีย คนมีวัวมีควายก็คิดแบบคนมีวัวมีควาย คนมีทรัพย์สินเงินทองก็คิดแบบคนมีทรัพย์สินเงินทอง คนจนก็คิดแบบคนจน พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ไม่มีไม่เป็นอะไรกับอะไรเนี่ยมันดีที่สุดแล้ว มันก็ติดมา ชีวิตเราใช้ไม่ค่อยเป็น สำส่อนเกินไป ใช้สุรุ่ยสุร่าย ติดความสุข ติดความทุกข์ เกิดความรัก ความชัง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความดีใจ เสียใจ มันเคยใช้แบบนั้นก็เลยมีรอยอยู่ มันก็จะเห็นหมดนี่ด้วย มันไปแล้วก็กลับมา สมัยก่อนพระพุทธเจ้าอาจจะ พระสิทธัตถะอาจจะนั่งอยู่ต้นศรีมหาโพธิ์อาจคิดถึงพิมพา ราหุล คิดไปก็กลับมา คิดถึงพระราชทรัพย์สินศฤงคาร คิดไป...กลับมา คิดถึงสนมกำนัลใน คิดไป...กลับมา มันคิดถึงปราสาทสามฤดู มาเปรียบเทียบพระศรีมหาโพธิ์นี่ เค้าย่อมคิดถึงปราสาทสามฤดู เคยอยู่สะดวกสบาย มานั่งอยู่ใต้ร่มไม้ต้องคิดถึง...กลับมา บางทีก็เกิดอาการขึ้นมาทำท่าจะเป็นร้อนเป็นหนาวเป็นไข้...กลัวตาย มันคิดกลัวตายขึ้นมา ก็มีสติรู้ขึ้นมา บางทีเห็นงูเลื้อยมาก็อันตรายแก่ชีวิต กลัวตาย ไม่ปลอดภัย ฝนตกก็ถูก แดดออกก็ถูก ก็ยุ่งคิด อาจจะยากกว่าพวกเรานี่ด้วยหนา สมัยสิทธัตถะบำเพ็ญโพธิญาณอยู่เนี่ย พวกเราก็มีเพื่อนกันนั่งอยู่นี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ชีวิตนะ มีเสียงพูดเสียงจา มีพระสูตรมาสาธยายบอกอยู่ มีตำรา มีแผนที่ มันสะดวกที่สุดแล้วเดี๋ยวนี้ ฉวยโอกาสเถอะพวกเรา เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว มีเสนาสนะสัปปายะ มีที่อยู่อาศัย บุพพกิจ บุพพกรณ์ อาหารสัปปายะ มีอาหารกิน บุคคลสัปปายะ มีเพื่อนมีมิตร มีผู้บอกมีผู้สอนตัวเราก็มี ธรรมะ สัปปายะ มีธรรม มีอยู่...ธรรม ความหลงความไม่หลงมีอยู่ ความทุกข์ความไม่ทุกข์มีอยู่ ความโกรธความไม่โกรธไม่มีอยู่ มีธรรมสัปปายะ ๔ สัปปายะนี่พอแล้ว พร้อมแล้วชีวิตเรานะ ไม่ต้องไปหาอะไรอีกมากไปกว่านี้ ถ้าจะใช้ชีวิตครั้งนี้เท่านี้ก็พอแล้ว ไม่ใช่ไปใช้ชีวิตแบบอื่น ถ้าจะใช้ชีวิตเพื่อบรรลุธรรมนี่เพียงพอแล้ว เพียงพอจริงๆ ที่ว่าประเทศไทย ศาสนาพุทธในเมืองไทย พระสงฆ์ในเมืองไทย ธรรมะที่สอนกันในเมืองไทย ไปพิสูจน์แล้ว อ.โน้สก็ไปจีนแล้ว ไปองค์เดียว หลวงตาไม่ไป อ.โน้สก็เก่งแล้วไปหลายเที่ยวแล้ว อ.ไพศาล ก็มีธรรมะแก้ปัญหาของประเทศชาติก็อาศัยธรรมะนี้ จนรับรางวัลศรีบูรพา นับโล่ห์ไม่ไหว อยู่กุฏิหลวงตาก็มีโล่ห์อาจารย์ไพศาลยังไม่เอามาสำนักงาน เอ้อ มันก็เป็นอย่างนี้ มีจริงๆ อันความใช้ได้ งานที่มันใช้ได้จากมนุษย์คนหนึ่งนี่ ในเราก็มี มีสติมีหน่อโพธิแล้ว สร้างขึ้นมาให้มันงอกมันงาม