แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
มันเป็นเรื่องที่น่ากระตือรือร้น ต้องเห็นเอาเอง การบอกไม่ใช่บอกให้รู้ บอกให้ดู เรียกว่า วิชากรรมฐาน วิชากรรมฐานเป็นวิชาที่การกระทำ มีที่ตั้ง มีการกระทำ เป็นของจริง ไม่ใช่เป็นวิชาที่คิดนึกใช้สมอง ใช้สติใช้เหตุผล เป็นวิชาที่ไปจุ่มเอาไปต่อเอา ให้มันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจัตตัง ไม่เห็น ไม่ใช่รู้ ทำไมจะไม่เห็น ของมันมีอยู่ กายก็มีอยู่ ใจก็มีอยู่ เห็นกายคือเห็นให้มีที่ตั้ง มีสติ รู้สึกระลึกได้ ขณะที่เจตนาจะรู้อะไร ต้องมีเจตนา ต้องมีที่ตั้ง เช่น กรรมฐานทั่ว ๆ ไป แต่สติปัฏฐานนี่เอาให้มันหยาบ ๆ ให้มันออกแรงสักหน่อย ต้องเคลื่อน ต้องไหว
อิริยาบถนี้ เรียกว่า บัพพะ กายบัพพะ เอากายมาปลุกให้มันรู้ รู้เป็นเรื่องที่เราเจตนาอยากจะรู้ 14 จังหวะเพื่อให้รู้ตามเจตนา เพื่อให้เป็นปัจจุบัน ถ้าไม่มีเจตนาไม่มีที่ตั้ง มันก็ไปทางหน้า มันก็คืนข้างหลัง หลายอย่างที่มันวิ่งไปข้างหน้า ความคิดบ้าง มันติดมันเปรอะมันเปื้อนอะไรมา เคยวิ่งอยู่อย่างนั้น ข้างหน้าคืออนาคต ยังไม่มา มันก็วิ่งไป อดีตที่ผ่านมาแล้ว มันก็วิ่งกลับคืนไป เราจึงมีกรรมฐาน มีที่ตั้งเอาไว้ ตามเจตนาของบัพพะ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติเห็นกาย เห็นมันมีประโยชน์อะไร ให้มันเห็นอยู่ต่อเนื่องกันนาน ๆ การที่มีสติอยู่ที่เก่า ที่เก่า ที่เก่า มันไม่ใช่เรื่องไร้สาระ อะไรที่มันปักอยู่ที่เก่า มันมีอะไรที่เจริญอยู่ตรงนั้นด้วย เหมือนต้นข้าวต้นกล้าที่เราปลูก เราฝังลงไปในดิน มีสิ่งแวดล้อมดี มันก็งอกงามขึ้นมา ออกราก สร้างลำต้น ถ้ามันสิ่งแวดล้อมดี ก็เกิดดอกออกผลได้ จากต้นกล้ากลายเป็นต้นข้าว เป็นเมล็ดข้าว
เราไม่ต้องไปคิดว่ามันจะได้อะไร จะขาดทุน จะได้กำไร จะผิด จะถูก ไม่ต้องไปคิด ทำให้มันดี การกระทำทำให้มันดี ไม่ต้องไปคิดเอาเหตุเอาผล
กรรมฐานก็เหมือนกัน เราเจตนาสร้างสภาวะที่รู้กับกาย รู้ 2 รู้ 3 รู้ ไป 14 รู้ ตามรูปแบบ กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา วินาทีหนึ่ง เราจะรู้ทีหนึ่ง 14 วินาที ก็ 14 รู้ 14 จังหวะ ก็ 14 รู้ ความรู้ที่มันรู้ทุกวินาทีเนี่ย สิ่งเหล่านี้เราทำได้ ไม่ต้องไปขอร้องใครให้ใส่ใจสักหน่อย เรื่องรู้สึกตัวอย่างนี้ ไม่มีใครช่วยเราได้ มีแต่เราช่วยตัวเราเอง ขยันรู้เรียกว่า ภาวนา ภาวนาคือขยันรู้ มันหลงหรือบางทีอ่ะ เปลี่ยนเป็นตัวรู้ ไม่เสียหาย ภาวะที่หลงไม่เสียหาย เปลี่ยนเป็นตัวรู้ได้ มันหลงมันเป็นอย่างนั้น เกิดเป็นความรู้ได้
เป็นเรื่องที่น่าพอใจ วิชากรรมฐานนี้ไม่เสี่ยง เป็นวิชาที่ศักดิ์สิทธิ์ มันเปลี่ยนได้ เปลี่ยนร้ายเป็นดีได้ เปลี่ยนผิดเป็นถูก เปลี่ยนอะไร ๆ เป็นตัวรู้ได้ เนี่ย ทำเอา ทำเอา ก็ทำอย่างดี มีกรรมฐานที่ดีจะขยัน กรรมฐานไม่ดีจะเบื่อหน่าย ง่วงเหงาหาวนอน ไม่กระตือรือร้น มันรู้อยู่เนี่ย มันฟรีที่ไหน ยกมือเคลื่อนไหวไปมาอยู่เนี่ย อะไรมันจะไม่ใช่ความรู้ มันก็ไม่ปิดบังอำพราง บางทีมันมีความสุข ความทุกข์ ความคิด ความเบื่อหน่าย ความอะไรต่าง ๆ นั่นแหละมันมาให้เราเห็น มันแสดง เราก็รู้ โอ้ นี่อันหนึ่งเน้อ นี่อันหนึ่งเน้อ ความหลงนี่ก็อันหนึ่ง ความรู้นี่เป็นอันหนึ่ง คนละอันกัน ไม่ใช่เรื่องเดียว เรื่องหลง เรื่องรู้ไม่มีคำถาม ผู้หลงเองก็ต้องรู้เอง ความรู้ก็ไม่ต้องถาม ถ้าพลิกมือขึ้น รู้สึก ก็ถูกต้องแล้ว ของจริงไม่มีคำถาม มีแต่คำตอบ ตัวเองต้องตอบเอาเอง หลอกกันไม่ได้ มันหลงยังไง มันรู้ยังไง สภาพที่รู้ สภาวะที่รู้ สภาวะที่หลง มันต่างกันยังไง หัดให้แนบแน่นดี ๆ จะได้บทเรียนอย่างยอดเยี่ยม สัมผัสกับสภาพที่รู้ สัมผัสกับสภาพที่หลง
มันหลงและมันก็มีหลายหลง อย่างที่ว่าหลงอันเดียวนั่นแหละ หลงสุข หลงทุกข์ หลงคิด หลงรัก หลงชังอะไรต่าง ๆ มันคือหลง ตัวรู้ก็คืออันเดียว คือรู้สึกตัวนั่นแหละ ไม่ใช่คนละอย่าง หลงทีไรก็รู้อันเดียว ความหลงอันเดียว เราก็รู้เอา รู้เอา รู้เอา หัวเราะได้ และเราก็อยู่นี่ ก็นั่งอยู่นี่ และมันไปถึงไหนล่ะ อันความหลงน่ะ มันจริงหรือเปล่า และเราก็รู้อยู่เนี่ย มันหลงไป ก็รู้อยู่นี่ อันความหลงมันจะไปได้ขนาดไหน เพราะมันไม่จริงอ่ะ ความรู้เนี่ยมันจริงกว่า ความรู้เป็นธรรมกว่า ความหลงไม่เป็นธรรม
ใครหลงก็เหมือนกัน เป็นของที่อันเดียวกัน ว่าแต่จะต่างตรงกันที่เปลี่ยนหลงเป็นรู้เนี่ย ถ้าหลงแล้วไม่เปลี่ยน มันก็เนิ่นช้า ไม่ติด มันจะไม่ติด มันจะด้าน ถ้าหลงที่ใดรู้ที่นั่น มันจะติด เหมือนเราท่องหนังสือ ใจลอย ท่องมาไม่ติด เวลาอ่านหนังสือหาเรื่องไปคิด บางทีอ่านไปครึ่งหน้า ไม่รู้ว่าตัวเองอ่านเรื่องอะไร ไม่รู้เรื่อง ใช้เวลาเท่ากัน การศึกษาก็เหมือนกัน อันนี้ก็คือภาควิชากรรมฐาน เรียกว่า วิปัสสนาธุระ คันถธุระ ท่านทั้งหลายรู้มามาก รู้ดี รู้ชั่ว รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ผิด รู้ถูก แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องรู้ เป็นเรื่องที่ไปสัมผัสเอา ชั่วดีไม่ต้องไปรู้ว่ามันดี - ไม่ดียังไง สัมผัสสภาพที่หลง สัมผัสสภาพที่รู้ เขาก็จะบอกเรา ไม่ต้องไปรู้ว่า เออ อันนี้ดี อันนี้ไม่ดี ดี - ไม่ดีไม่ต้องไปเอาตัวนั้น หลงนี่ไม่ดี ไม่หลงนี่ดี ไม่ใช่ สติจริง ๆ มันเหนือดี เหนือไม่ดี เหนือผิด เหนือถูก มันผิดมันถูกไม่ใช่สตินะ เป็นสมมุติบัญญัติจากผู้ที่ผิดที่ถูก
ถ้าผิดแล้วไม่พอใจ ถ้าถูกแล้วพอใจ ตามนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ใช่กรรมฐาน
กรรมฐานนี่มันเห็นเฉย ๆ ผิดก็เห็นนะ ถูกก็เห็น เท่าเก่า ไม่มีค่า มีแต่สติ ค่าอันยิ่งใหญ่คือมีสติ ยิ่งใหญ่กว่าสุขอัน ถูกอันผิด อันผิดอันถูกใครก็รู้กันทั้งนั้น แต่ว่าการที่มาสัมผัสกับสภาพที่รู้ที่หลงน่ะ ไม่ต้องไปถึงว่าผิด ว่าถูก ว่าพอใจ ไม่พอใจ เพียงแต่รู้เข้าไป รู้เข้าไป รู้สั้น ๆ รู้ลัด ๆ ไม่เป็นรู้แบบลูบคลำ รู้แบบลัด ๆ คำว่าลัด เหมือนกับไฟตกใส่ขาเรา เราก็ปัดออกมันเลย นี่ลัด ๆ จะไม่มีรอย ถ้าไฟตกใส่ขาเรา เอ๊ะ ใครทำ มาจากไหนเนี่ย ไฟมาจากไหนเนี่ย ถามคนที่ทำมา ทำไมจึงทำไฟมาถูกขาเราล่ะ ถ้าไม่เห็น ไม่รู้จักคนที่ทำให้ไฟมาถูกใส่ขาเรา เราจะไม่เอาออก มันก็เป็นแผลแล้ว เป็นรอยแผลเป็นแล้ว รอยแผลเป็นคือความพอใจความไม่พอใจ ความพอใจความไม่พอใจเป็นรอยแผลในหัวใจของมนุษย์ มันจะลบได้ มันจะมีแต่สภาพที่รู้
คำว่า “รู้ตัว” นี้ มันคืออะไร มันละความชั่ว มันทำความดี มันเป็นพรหมจรรย์ ไม่เปรอะเปื้อน ทำอยู่เนี่ย รู้สึกตัวนี้มันก็ละความชั่ว รู้สึกตัวอยู่นี้มันก็ทำความดี รู้สึกตัวอยู่นี้จิตก็ไม่ได้ครุ่นคิดไปไหน เป็นการทำบุญ เป็นการละบาปไปในตัวเสร็จเลย ไปเป็นพวงกรรมฐานเนี่ย สิ้นเวร สิ้นกรรมเป็นพวง ใครจะมีกรรมแบบไหน ไม่ต้องกลัวเลย ว่าแต่รู้ตรงไหนก็ไปเถิด ว่าแต่รู้เข้าไป รู้เข้าไป๊ ขยันรู้ ให้มันหลง ผ่านความหลงมาถูกความรู้ ผ่านความหลงมาถูกความรู้ ด้วยปฏิบัติ
ปฏิบัติคือเปลี่ยนหลงเป็นรู้ เปลี่ยนอะไรเป็นตัวรู้ทั้งหมดอ่ะ ไม่ฟังเสียงอะไรล่ะ เอาทีแรก และก็หลายอย่าง มีศรัทธา มีความเพียร ศรัทธาคือความเชื่อว่า นี่ มันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่งม ๆ ซาว ๆ มันมีอย่างนี้ ยกมือขึ้นก็รู้เนี่ย วางมือลงก็รู้เนี่ย เคลื่อนมือ เคลื่อนไหวมาก็รู้เนี่ย มันคิดไปโน่น ก็รู้ มันกลับมาได้ ไม่ต้องทำไม ทำไมเราจึงคิด ไม่ต้องมี “ทำไม” ไม่น่าจะคิด ก็ไม่มี “ไม่น่าจะคิด” เพียงแต่รู้เฉย ๆ รู้เฉย ๆ รู้ซื่อ ๆ เข้าไป จะไม่เสียเวลา จะลัด ลัดเข้าไป ถ้าไปเอาผิดเอาถูก เอาพอใจ ไม่พอใจ มันเนิ่นช้า กรรมฐานอ่ะ เอาให้เป็นหมดใจ เหมือนพระอานนท์จะทำสังคายนา พระอรหันต์ทั้งหลายผู้ที่จะทำสังคายนา ต้องเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ แต่อานนท์เป็นพระโสดาบัน พระสงฆ์ทั้งหลายก็ให้อานนท์รีบปฏิบัติธรรมเข้าไป เพื่อจะได้ทำสังคายนา คนมีความรู้ คนมีความสามารถ มั่นใจ จะรู้ตัวนี้ รู้ได้เลย เนี่ย มันรู้อยู่เนี่ย มันคิดไปไหนก็รู้อยู่เนี่ย มันจะไปไหนอ่ะ มันจะไปไหน กลับมารู้ ผ่านตัวหลงมาสู่ความรู้ ผ่านตัวสุขมาสู่ความรู้ ผ่านตัวทุกข์มาสู่ความรู้ ผ่านตัวพอใจไม่พอใจมาสู่ความรู้ ความรู้มันเจริญขึ้น เจริญขึ้น เจริญขึ้น
อันความหลงไม่ต้องไปกลัวมัน ว่าแต่มีความรู้ เหตุมันอยู่ที่นี่ มันหลงก็ถือว่า ที่มันหลงเพราะไม่รู้ ไม่ใช่มันหลงเพราะอะไร เพราะเราไม่รู้ ไม่รู้เป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือน ไม่รู้เป็นเจ้าเรือนเป็นเสาหลัก ต้องมีความรู้สึกตัวเป็นเสาหลัก เป็นฐานเอาไว้ ว่าฐานที่ตั้งเอาไว้ ไม่ต้องอ้างว่า ฉันเป็นคนแก่ ฉันสุขภาพไม่ดี เอวก็ไม่ดี มักจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ คุณเป็นคนหนุ่ม ไม่ต้องมาอ้าง สภาพที่รู้สึกตัวไม่มีคำว่าหนุ่ม ไม่มีคำว่าแก่ ไม่มีคำว่าเพศ วัย เป็นของที่เสมอกันทั้งหมดเลย โยมก็รู้อันเดียวกัน อยู่กับพระหลวงตานี่ก็อันเดียวกัน อยู่กับพระพุทธเจ้า 3,000 ปีอันเดียวกัน ของจริงนั้นเป็นอย่างนี้ เราพลิกมือ รู้สึกตัว รู้สึก จะไปต่อรองอะไร กรรมฐานไม่มีอะไรที่ช่วยกันได้ เพียงแต่เพียงเป็นมิตร เป็นเพื่อนกัน พูดให้ฟัง ทำให้ดู อยู่กันแบบกัลยาณมิตร
อย่ามาศรัทธาใคร อย่าไปเชื่อใคร ว่าเราทำอย่างนี้มันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา ให้ศรัทธาการกระทำของเรา
เราก็มั่นใจเรื่องนี้จริง ๆ นานเหลือเกิน คนเมื่อไหร่จะเข้าถึงสภาพที่รู้อย่างนี้ มันไม่ยาก ต้องปล่อยให้มันหลงไปจนตายเลยหรือ มันไม่หลง มันไม่น่าจะหลงไปจนตาย มันรู้เดี่ยวนี้ได้ อาจจะมีความหลงเป็นครั้งสุดท้ายด้วย อาจจะมีความโกรธเป็นครั้งสุดท้ายด้วย อาจจะมีความทุกข์เป็นครั้งสุดท้ายด้วย