แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เราก็สาธยายธรรม ทำวัตรเช้า เอาคำเทศนาของพระพุทธเจ้ามาสาธยาย จิตใส่ใจตาม ทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงทรงสั่งสอน พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้บอก ส่วนการกระทำเป็นหน้าที่ของเรา ไม่ใช่สอน การสอนนี่มันก็อยู่ในห้องเรียน แต่ถ้าบอกนี่ไม่ใช่อยู่ห้องเรียน เอาไปทำอยู่กับกายกับใจเรา เรามีความรู้มามากแล้ว ได้ศึกษามามากแล้ว ผ่านรั้วมหาวิทยาลัยมามากแล้ว รู้ดีรู้ชั่วมามากแล้ว แต่ให้ทำลองดู มีสติไปในกาย ทำเป็นมั้ย หัดทำลองดู มีสติไปในกาย มันมีสติไปในกายตลอดเวลามั้ย มีอะไรที่ไม่ใช่สติ ขวางหน้า ขวางหลัง มีมั้ย เราทำเป็นมั้ย เวลามีสติ ถ้ามันหลงทำไง ถ้ามันสุขมันทุกข์ทำไง เราทำเป็นมั้ย ตอนนี้หัดทำให้เป็น
พระพุทธเจ้าบอกว่า มีสติไปในกาย เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ทุกวินาที วิธีใดที่จะรู้กายเป็นประจำ ไม่ใช่รู้วินาทีหนึ่ง หลงไปสิบวินาที ไม่เป็นประจำ อันนั้นเรียกว่าทำไม่เป็น วิธีใดที่จะเป็นประจำ เราทำอะไรที่ทำประจำ ทำงานประจำ มันก็สำเร็จเสร็จสิ้นได้ ชำนาญในการกระทำ ที่งานที่เราทำ
การมีสติไปในกายเป็นประจำ บางทีมันเกิดอะไรขึ้น ให้รู้จักถอน ถอนความพอใจและความไม่พอใจ บางทีมันมีความพอใจ บางทีไม่มีความพอใจ กับการกระทำของตน หาเหตุหาผลมาประกอบ เอาความผิดความถูกมาประกอบ เอาความยากความง่ายมาประกอบ ไม่ใช่เป็นประจำ ให้มันเห็น เห็นกายในกายเป็นประจำ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในกายในใจออกเสียได้ เข้ามาถึงภาวะรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ มันหลงก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ มันสุขก็รู้ เรียกว่า “เป็นประจำ”
ถ้ามันหลง ไม่พอใจ ถ้ามันรู้ พอใจ เรียกว่า “ไม่เป็นประจำ” เว้นวรรคแล้ว ไม่ต่อเนื่อง มันก็ไม่เดิน เหมือนเราเดินทาง หยุดเรื่อยเลย เสียเวลาไปสองฝั่ง ฝั่งซ้ายฝั่งขวา เหมือนกับมือ ซ้ายขวาก็มี มีสุขมีทุกข์ ขวาแปลว่ายินดี ซ้ายแปลว่ายินร้าย พอใจไม่พอใจ ว่าฝั่งซ้ายฝั่งขวา
ผู้มีสติ ต้องไม่ไม่พอใจ รู้ไปเรื่อย ๆ เห็นไปเรื่อย ๆ ถ้ารู้ไปเรื่อย ๆ มันก็ผ่านไปเรื่อย ๆ ถ้าสุขก็ไม่ผ่าน ถ้าทุกข์ก็ไม่ผ่าน นี่ลักษณะของการกระทำ มันจึงจะชำนิชำนาญขึ้นมา จนเห็นการที่แสดงออกของกาย ของใจ รสต่าง ๆ ความยินดี ความยินร้าย ความสุข ความทุกข์ ไม่ใช่เห็นแต่กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ความสุขก็ไม่ใช่เรา ความทุกข์ไม่ใช่เรา ความยากความง่ายไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เห็นกายเป็นสักว่ากาย เห็นสุขเห็นทุกข์สักว่าสุขว่าทุกข์ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ มันมี มันมีอาการเกิดขึ้นกับกายกับจิตของเรา ลักษณะนี้เรียกว่า “ชำนิชำนาญ”
อันความหลงสอนให้เรารู้สึกตัว ความรู้ทำให้เรารู้สึกตัว ความทุกข์ทำให้เรารู้สึกตัว ความสุขทำให้เรารู้สึกตัว ความผิดทำให้เรารู้สึกตัว เท่านี้เรียกว่า “ทำเป็นแล้ว” ที่มันทำเป็นอย่างนี้ เพราะมันมีสิ่งที่ทำให้ผิด จึงทำเป็น ถ้ามันไม่ผิดก็ทำไม่เป็น เหมือนคนขับรถ ตรงไหนที่มันผิด แก้ปัญหาได้ ไม่เกิดอุบัติเหตุ ขับรถเป็นเมื่อแก้ปัญหาได้ เกิดการฉุกเฉินเฉพาะหน้า แก้ปัญหาได้ ขับเป็นแล้ว
ชีวิตของเราที่ทำเป็น มันต้องเป็นลักษณะแบบนี้ มันผิดรู้สึกตัว มันถูกรู้สึกตัว มันทุกข์รู้สึกตัว อะไรที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ รู้สึกตัว อย่างนี้เรียกว่า “ทำเป็น” ทำให้เป็น เมื่อมันเป็นอย่างนี้มันก็ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็คือ ไปสุขไม่ผ่าน ไปทุกข์ไม่ผ่าน ไปผิดก็ไม่ผ่าน ไปได้ก็ไม่ผ่าน ไปเสียก็ไม่ผ่าน จึงเห็นไปเรื่อย ๆ เห็นไปเรื่อย ๆ มันจึงจะหนีจากโลกได้ ความพอใจเป็นรสของโลก ความไม่พอใจเป็นรสของโลก อย่าให้ค่า อย่าให้รสชาติ รสเนี่ยมันติดนะ สัตว์โลกเนี่ยมันติดรสของโลก ความดีแม้แต่ความโกรธก็ติด ความทุกข์ก็ติด ความรักก็ติด ความชังก็ติด ติดรสของโลก มีค่า ให้ค่าความสุข ให้ค่าความทุกข์ แสดงไปตามความสุข แสดงไปตามความทุกข์ เพราะว่ามีค่า ไม่เห็นว่าสักแต่ว่า ไม่เห็นสักแต่ว่า ให้หัดทำอย่างนี้ หัดทำให้เป็น
การทำให้เป็นอย่างนี้ ไม่มีใครสอนเรา ไม่มีใครสอนเราได้ มีแต่ตัวเรานี่แหละสอนตัวเรา คนอื่นสอนไม่ได้เด็ดขาด เรานี่ต้องสอนเรา เอาบทเรียนจากอาการต่าง ๆ ประสบการณ์จากอาการต่าง ๆ บทเรียนไม่ใช่เหมือนวิชาทางโลก มันมาทุกโอกาส ไม่เหมือนกับทำวิชาอะไรต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ เขาให้โจทย์ ๕ + ๕ เป็น ๑๐ โจทย์มันสำเร็จ แต่ถ้าทางธรรมเรานี่ก็ ความหลง กับความรู้ ถ้าไปเป็นผู้หลง ถ้าเป็นผู้รู้ ถือว่าไม่ถูกต้อง ถ้าเห็นเรียกว่าผ่าน
ชีวิตของเรามันต้องเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่เอาผิดเอาถูกกับการกระทำของเรา ให้เห็นมันผิด เห็นมันถูก เห็นมันสุขเห็นมันทุกข์ จนว่าเห็นมันเกิด มันแก่ มันเจ็บ มันตาย ไม่ใช่เราเลยทีเดียว มันเห็นว่ามันต้องมี มันมีรูป มันก็เป็นอย่างนั้น มันมีนามมันต้องเป็นอย่างนั้น อย่างอันรูปอันนามที่มันแสดงออก มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
การที่เราสวด พิจารณาสังขาร สังขารคือร่างกายจิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วหายไป มีแล้วหายไป มันเกิดมันดับกี่ภพกี่ชาติ ความรักความชังกี่ภพกี่ชาติ ความสุขความทุกข์กี่ภพกี่ชาติ เราก็เกิดดับเกิดดับ เกิดทุกคราวเป็นทุกร่ำไป
“สัพเพ สังขารา ทุกขา..” สังขารคือร่างกายจิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้วแก่เจ็บตายไป รูปนี่เป็นเพียงก้อนทุกข์ ต้องหายใจเข้าหายใจออก ต้องกลืนน้ำลาย ต้องกระพริบตา ต้องกิน ต้องถ่าย ต้องหลับต้องนอน ต้องยืน เดิน นั่ง นอน มันทนอยู่ไม่ได้ มันเป็นรูป ที่มันเป็นกองทุกข์ มันต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ไม่มีใครป้องกันมันได้ ไม่มีใครเป็นใหญ่มันได้ มันไหลไปอยู่ นั่งอยู่นี่มันก็ไหลไป ไหลไปสู่ความทุกข์ ความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตน จนถึงไปเกิด ไปแก่ ไปเจ็บ ไปตาย วันเวลาผ่านไปเท่าไหร่ มันก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกที เอาไม่อยู่ อันนี้ว่า รูป ไม่มีใครป้องกันได้ ไม่เป็นใหญ่ในรูป มีแต่เรามาเห็นมันเนี่ย เรามาเห็นมัน มันแสดงให้เราเห็นทุกเวลา
“สัพเพ สังขารา อนัตตา ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ” สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา หายตัวไปเลย ไม่มีไม่เป็นอะไร มีแต่เห็นมัน เห็นมันแสดงเป็นอาการของกาย เป็นอาการของจิตใจ มันก็จบได้ อะไรที่มันแสดงอันเดียว ไม่ใช่มาก มันเกิดขึ้นไม่ใช่มีแบบนั้น ไม่เหมือนเชื้อโรค ไปในรูปในนามนี่เกิดขึ้นอันเดียว ความโกรธก็อันเดียว ความทุกข์ก็อันเดียว ความรักความชังอันเดียว ไม่มีอันอื่นอีก มันก็มีเท่านี้ ความโกรธอันเดียว โกรธกี่ครั้งกี่หนอันเดียว ใครโกรธก็อันเดียวกัน ใครทุกข์ก็อันเดียวกัน ใครสุขก็อันเดียวกัน
แต่มันอยู่ที่สมมติบัญญัติ ที่ไปบัญญัติเอาว่า สุขว่าทุกข์ต่างกัน ได้แต่บัญญัติเอา มันมีสมมติ และก็มีบัญญัติ มีวัตถุ มีอาการ ในรูปในนามนี้ วัตถุคือตา คือหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะมีรูป มีรส มีกลิ่น มีเสียง มันก็มีอาการ เมื่อวัตถุต่อวัตถุสัมผัสกัน มันก็มีสมมติเข้าไปขวางกั้น มีวิชชา มีอวิชชา อวิชชา - ความไม่รู้ ไม่สักแต่ว่า ไม่สักว่า ไม่สักว่า บัญญัติเอา พอใจ ไม่พอใจ ตามสมมติที่เราไม่รู้จักควบคุม ปล่อยให้เขาแสดงไปตามเหตุปัจจัยเขา ก็ต้องแก้ที่เหตุ ทุกอย่างต้องแก้ที่เหตุ ไม่ใช่ไปห้าม
เราจึงมาศึกษาดู มันสนุกดี มาเห็นของจริง เห็นความหลงก็หลงจริง ๆ ความหลงมันก็ไม่จริง แต่เราถือความหลงเป็นความหลง เป็นทุกข์ ผิดพลาด ทำตามความหลง ธรรมที่มันไม่จริง ก็ไปอยู่ เสียเวลากับความหลง เสียเวลากับความโกรธ ความโกรธมันก็ไม่จริง แต่มันจริงสำหรับบัญญัติเอา มันก็โกรธจริง ๆ เป็นทุกข์จริง ๆ แสดงออกได้ ไม่รู้จักอายความโกรธเนี่ย แต่มันไม่จริง ความเป็นทุกข์ ความมีอยู่จริง แต่มันไม่จริง มันเป็นจริงแบบเป็นทุกข์ แต่ความทุกข์มันไม่มีจริง ความไม่เที่ยงก็ไม่จริง มันจริงแบบความไม่เที่ยง แต่มันจริงแบบความเที่ยง ไม่จริงแบบนั้น ถ้าเหลวไหล เราก็เห็นสิ่งเหล่านี้ ถ้าเห็นแล้วมันเป็นยังไง มันก็หลุด การเห็นแล้วมันก็หลุด พ้นได้ ถ้าเป็นแล้วก็ไม่หลุด เหมือนเราเห็นทางตาเนี่ย เห็นงู งูพิษ เราจะไม่ให้งูมันกัดเรา ให้ไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าเห็นเราก็ มันก็หลบหลีกได้ เห็นความหลง หลบหลีกความหลง เห็นความทุกข์ หลบหลีกความทุกข์ เห็นความโกรธ หลบหลีกความโกรธ มันคนละอันกัน เราเห็นแล้ว เรียกว่าผ่านได้ จนอะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ เห็นหมด เห็นครบเห็นถ้วน เกี่ยวข้องกับอะไรถูกต้อง
จึงมาฝึกตนสอนตน ทำให้มันเป็น อย่าโง่ตรงนี้ อย่าดื้อด้าน คนหลงคือคนดื้อ คนโกรธคือคนหัวดื้อ คนทุกข์คือคนหัวดื้อ สอนไม่เอา พระพุทธเจ้าสอนไม่เชื่อ เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธ ไม่เปลี่ยน ทำไม่เป็น เปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ ทำไม่เป็น มันก็ดื้อ มีบาป ถ้าทุกข์ก็ทุกข์ เรียกมีบาป แทนที่จะได้บุญตรงมันทุกข์ มันมีผิดก็มีถูกตรงนั้น ไม่ทำลองดู ทำไม่เป็น เพราะไม่หัด ให้ทุกข์นอนอยู่กับเราข้ามวันข้ามคืนได้ ไม่อาย ดื้อด้าน ไม่มีใครดื้อเท่ากับตัวเรา ดูดี ๆ โอ้ย! เสียเปรียบ เสียเปรียบความโกรธ เสียเปรียบความทุกข์ เราเคยเสียเปรียบมา เสียหายมาก กว่าจะมารู้เรื่องนี้ ชีวิตก็ผ่านไป เกือบจะกลางคนไปแล้ว เสียดายเวลาที่ผ่านไป มัวแต่ประมาท
ผู้ใดประมาทแล้วในกาลก่อน ภายหลังไม่ประมาท อันนั้นดี เหมือนองคุลิมาล แต่ก่อนประมาท ทำผิดมากมาย ต่อมาได้ยินพระพุทธเจ้าบอก ขณะนั้นองคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้า เห็นสมณะ จับดาบไล่ตามจะเข่นฆ่า พระพุทธเจ้าก็บอกว่าหยุด องคุลิมาลบอกว่าหยุด พระพุทธเจ้าบอกว่าเราหยุดแล้ว เธอยังไม่หยุด เธอยังจับดาบไล่ฆ่าไล่ฟันเราอยู่ แต่เราหยุดทำความชั่วแล้ว องคุลิมาลได้ยินแค่นี้ก็รู้ มองตนเห็นตนว่าทำชั่วจริง ๆ การเห็นลักษณะนี้เราเห็น เรียกพบเห็น ไม่ใช่คิดเห็น การที่ตนถือดาบจะฆ่าจะฟันอยู่ มันก็พบเห็นทันที การพบเห็นอย่างนี้ เรียกว่าวิชชา มันเห็นความหลง พบเห็นความหลงก็ไม่ให้ความหลงมาอยู่กับเรา พบเห็นความทุกข์ก็ไม่ให้ความทุกข์มาทำลายเรา พบเห็นความโกรธไม่ให้ความโกรธมาทำลายเรา เราแก้ตรงนี้ได้ ไม่เหมือนปุถุชน ปุถุชนถ้าได้โกรธไม่ลืม ถ้ากูได้โกรธ ตายกูไม่ลืม ถ้ากูได้โกรธ กูไม่ด่ามัน กูไม่ยอม ถ้ากูได้โกรธ กูไม่ได้ฆ่ามัน กูไม่ยอม มันก็เกิดความเสียหาย ไม่ปลอดภัย
เราจึงมาฝึกตนสอนตน เริ่มต้นจากเรานี่ก่อน ถ้าทุกคนมาฝึกตนอย่างนี้ มาดูมาแลตนอย่างนี้ มันก็สงบร่มเย็นทั่วโลก เพราะชีวิตของเราอันเดียวกัน เรารู้สึกตัวก็เป็นตัวรู้อันเดียวกัน ไม่ใช่เป็นหญิงเป็นชาย เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นลัทธินิกาย เพศวัยอะไร ภาวะรู้สึกตัวที่เรารู้อยู่ขณะนี้ ก็เหมือนความรู้สึกตัวที่อยู่ในพระพุทธเจ้า สมัยสี่พันปีสามพันปี อันเดียวกัน ไม่มีกาลไม่มีเวลา ไม่น่าจะขัดสนในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่กระตือรือร้นมาก อันอื่นเราทำได้ แต่เรื่องนี้มันอยู่กับเรา เพียงมันหลงเปลี่ยนเป็นตัวรู้ เหงื่อไม่ออก ไม่เหมือนไล่ยุงด้วยซ้ำไป ไล่ยุงต้องมีมือ ต้องมีพัดลม ต้องมีสร้างบ้านสร้างเรือน มุ้งลวด หาหยูกหายามาทา อันไล่ความหลงเนี่ย มันไม่ต้องมีวัตถุที่หนึ่งที่สอง มันอยู่ด้วยกัน มันหลงก็รู้อยู่ด้วยกันแล้ว มันทุกข์ก็รู้อยู่ด้วยกันแล้ว แค่นี้เอง ลัดนิ้วมือเดียว มันทำได้จริง ๆ ก่อนที่จะเป็นวิชาเอก นี่เป็นวิชาเอกจริง ๆ ถ้าไม่จบตรงนี้ก็ไม่จบนะ ชีวิตของเรามีปัญหา มีภาระต่อไปเรื่อย ๆ มีภัย ในชีวิตเราก็มีภัยอยู่แล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราท่านก็มีภัย ที่เกิดขึ้นมา ในภพภูมิต่าง ๆ เราจึงประมาทไม่ได้ เป็นการบ้าน เอาให้หมดภัยเสีย ถ้าหมดภัย ทำลายอวิชชาลงได้ ก็เรียกว่า “อริยบุคคล”
“อริ” แปลว่า ภัย “ยะ” แปลว่า พ้นภัย พ้นข้าศึก พ้นภัย เราจึงใส่ใจกันบ้างในเรื่องนี้ อย่าปล่อยให้ชีวิตของเราหลงทิศหลงทางอยู่ มันมีทาง ทางมันอยู่ที่เราเหยียบ เราเดินไป ทางมันอยู่ที่ความไม่เป็นทาง ที่ไหนไม่เป็นทาง เราใช้ที่นั่นให้เป็นทาง มันมีอยู่ เช่น ความหลงไม่เป็นทาง เราเหยียบความหลงออกไป ให้มีความรู้ จากความหลงกลายเป็นความรู้ เรียกว่าทางอยู่ตรงนั้น จากความผิดกลายเป็นความรู้ จากความถูกกลายเป็นความรู้ จากความทุกข์กลายเป็นความรู้ จากความโกรธ ความโลภ ความหลง กลายเป็นความรู้ ทางมันอยู่ตรงนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ใด
ตัวรู้นี่แหละสร้างทางขึ้นมา ภาวะที่รู้เนี่ยเหมือนกับใบมีดของรถแทรกเตอร์ มันผ่านไปตรงไหน มันก็เป็นทางตรงนั้น รอยแห่งความรู้สึกตัว ไปในกาย รอยแห่งความรู้สึกตัวไปในเวทนา รอยแห่งความรู้สึกตัวไปในจิตใจ รอยแห่งความรู้สึกตัวไปในธรรม ที่เป็นกุศลอกุศล เห็นทั้งสองอย่าง มีแต่รอย มันก็ไม่หลง เวลาอะไรเกิดขึ้นมันก็เห็นทาง พบทาง ความเจ็บเกิดขึ้นก็พบทาง เห็นมันเจ็บ ความแก่เกิดขึ้นก็พบทาง ความตายเกิดขึ้นก็พบทาง อันนี้เรียกว่า “อริยมรรค” เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพาน เราจึงประมาทไม่ได้ มันมีการบ้าน ความหลงเป็นการบ้าน ความทุกข์เป็นการบ้าน ความโกรธเป็นการบ้าน เราจะหลงจนตาย โกรธจนตาย ทุกข์จนตาย มันไม่ใช่ ชีวิตเราถ้าไม่ผ่านตรงนี้ ก็ไม่มีค่าอะไร เป็นคนขี้ทุกข์ขี้ยาก แทนที่จะปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้ เราไม่ทำ ไปสนใจเรื่องอื่นมากเกินไป เอาผิดเอาถูก ต้องเตือนตนสอนตน
การสอนตนเรียกว่า “บัณฑิต” การเพ่งโทษคนอื่น เรียกว่า “คนพาล” นี่พวกเราก็เป็นเพื่อนกัน ก็อยู่ด้วยกัน มีอะไรที่เหมือน ๆ กัน ถ้าหลงก็เหมือนกัน ถ้าไม่หลงก็เหมือนกัน ก็เป็นกัลยาณมิตร ความไม่หลงก็มี ความไม่ทุกข์ก็มี ความไม่โกรธก็มี เราก็ได้ยินได้ฟังเอาไว้ บางทีเราทำไม่ได้ ในเวลานี้ ถึงคราวที่มันจนตรอกขึ้นมา มันอาจจะคว้าเอาได้ เรียกว่า “ตกกระไดพลอยกระโจน”
เหมือนโครงการงานพวกเรา มรณานุสสติ ห้านาทีทองก่อนใจจะขาด ได้ยินเอาไว้ ถ้ามันจวนเข้ามาจริง ๆ ทำไง ก็เคย โอ้! เคยได้ยินแบบนั้น เคยได้ยินแบบนี้ ทำดูทำดู มันก็ทำได้ มันไม่ต้องหาที่ใด มันมีอยู่กับเราแล้ว ความทุกข์ความไม่ทุกข์ก็มีตรงนั้น ตกกระไดพลอยกระโจน ไม่ปล่อยให้ตัวเองเจ็บขณะที่มันผิดพลาด จนว่าไม่มีไม่เป็นอะไรได้ อยากจะเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบกับกิเลส จะทำเหมือนหมาตัวหนึ่ง สติมันช้า เรียกว่าเราทำเหมือนแมลง สติเหมือนนกอินทรีย์ สังโยชน์ทั้งหลายที่ข้องติดเราอยู่ เหมือนเชือก สตินี่เหมือนดาบ มันเปรียบเทียบกันไม่ได้ มีสิทธิจะต้องใช้แบบนี้ เวลานี้มีอะไรมาผูกมัด ตัดออกได้ มีสติ แม้ไม่มีเดี๋ยวนี้ มีเวลาใดก็ใช้ได้เวลานั้น ชั่วช้างสะบัดหู ชั่วงูแลบลิ้นก็เป็นประโยชน์ เมื่อเราใช้ มันใช้ได้สำเร็จ ก็เห็นคุณค่าตอนนั้นเลย ถ้าหมามันเห่าช้าง ลองดู มันหวั่นไหวมั้ย ถ้าง่วงเหงาหาวนอน ลังเลสงสัย มีสติดู มันไม่ยาก เหมือนแมลงอันหนึ่ง การห่วงหน้าพะวงหลัง ปลิโพธกังวล ในชีวิต ทรัพย์สิน ลูกหลาน บุตร ภรรยา สามี ญาติปลิโพธ ทรัพย์สินปลิโพธ การงานปลิโพธ สุขภาพปลิโพธ มีสติลองดู อันมันเกิดปลิโพธ มันไม่มีตัวมีตน มันก็ตัดได้ ผลที่สุดก็ไม่มีไม่เป็นอะไร กับอะไรเลย เป็นชีวิตที่ปลอดภัย