แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรม ก็อาศัยการพูดบ้าง อาศัยการกระทำบ้าง ในการศึกษาธรรมมะ เพื่อความสะดวกในการกระทำ ไม่ใช่สุ่มหา เหมือนสมัยครั้งพระพุทธเจ้า สมัยเป็นฤาษี เป็นดาบส เป็นนักบวช ใช้เวลาตั้ง ๖ ปี สุ่มหาเอา ดุ้นเดาไป ผิดทาง เสียเวลา ๖ ปี พระองค์ก็บอกว่า ทางสุดโต่ง ทางตัน ทางผ่านได้ถึงจุดหมายปลายทาง กว่าจะได้เส้นทางรอดโล่งรอดตาย เราจึงสะดวกแล้วทุกวันนี้ การศึกษา การปฏิบัติ เราก็เอาตามที่มันถูกต้อง อย่าให้เสียเวลา
พระพุทธเจ้าก็แสดงไว้โดยย่อ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ มีเท่านี้ “ภารา หะเว ปัญจักขันธา” วางซะ มันก็ไม่ทุกข์ การที่จะวางได้ต้องฝึกหัดให้มันเป็น การฝึกหัดให้เป็นนี่ก็ไม่ยาก พระพุทธเจ้าก็บอกไว้เลยว่า มีความเป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ เมื่อใดภิกษุทั้งหลายมีสติ มัจจุราชตามไม่ทัน การพิสดารก็มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ว่าโดยย่อมีน้อย ๆ ไม่มาก
เหมือนสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเดินไปสู่ป่า กับหมู่พระสงฆ์จำนวนมาก ป่าดี น้ำใสไหลเย็น เงียบสงบ พระองค์ก็กำใบไม้ขึ้นกำมือหนึ่ง ชูให้ภิกษุทั้งหลายดู “ภิกษุทั้งหลาย ใบไม้ในป่า กับใบไม้กำมือเดียว อันไหนมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายก็ตอบว่า “ใบไม้กำมือ นิดเดียว ไม่สามารถที่เปรียบเทียบใบไม้ทั้งป่าได้”
“นี่แหละภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้ มากเท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่เรามาสอนพวกเธอทั้งหลาย เพียงใบไม้กำมือเดียว”
นี่ทำยังไง ที่จะเป็นใบไม้กำมือเดียว เราจะทำตรงไหน เราก็ไม่ต้องคิดหา เพียงมีสติ สติมันคืออะไร คือความรู้รอบ ๆ มีหน้ารอบ ๆ ถ้ามีความหลง ก็ไม่รอบ มันกระจุยกระจาย มีสติเป็นหน้ารอบ อยู่โดยชอบ อยู่แบบมีสติ มันหลงรู้ เท่านี้เอง มันทุกข์ก็รู้ เท่านี้เอง อะไรที่ไม่ใช่ความรู้ เปลี่ยนมาเป็นความรู้ สภาวะที่รู้สึกตัว เฉลยได้ทั้งหมด เป็นตัวเฉลย เหมือนสูตร สูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์ เราท่องเอา มีโจทย์มีจำเลย มันก็ได้หลัก ลงตัว ถ้าหลงไม่ลงตัว ถ้ารู้ลงตัว มันสุขก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ ลงตัว อันสุขไม่เป็นสุขซะแล้ว อันทุกข์ไม่เป็นทุกข์ กลายเป็นสภาวะที่รู้ เนี่ย! อยู่โดยชอบอยู่แบบนี้ ถ้ารู้แล้วเป็นอะไร มันก็จบแค่นั้น
ก็เลยขอพูดต่อไป รู้แล้วไม่เป็น มันเห็นสุข รู้ มันก็ไม่เป็นสุข มันเป็นสภาวะที่รู้ไป มันทุกข์รู้สึกตัว มันก็ไม่เป็นทุกข์ เป็นภาวะที่รู้ไป ไม่เป็น มันก็คือหลุดพ้น มันก็หลุดพ้นจากภาวะที่เป็น เมื่อไม่เป็นมันก็ไม่มีภพมีชาติ สิ้นเวรสิ้นกรรม เคยโกรธ ก็รู้สึกตัว ความโกรธกลายเป็นความไม่โกรธ สิ้นเวร ชั่วโมงนี้ไม่หลง ชั่วโมงหน้าก็ไม่หลง ชั่วโมงนี้หลง ชั่วโมงหน้าก็หลง ไม่ต้องมีเวรมีกรรมต่อไป ความหลงติดตามไป ความทุกข์ติดตามไป ความโกรธติดตามไป ความโลภ ความรัก ความเกลียดชัง มากมาย ติดตามไป เรียกว่ามีภพ มีภพมีภูมิ
ความหลงก็เกิดภพได้หลายภพ กามภพ อะไรต่าง ๆ มีภพ ที่ภาษาศาสนาเรียกว่า ภพ ๔ เรียกว่าอะไร สังเสทชะ อัณฑชะ โอปปาติกะ ชลาพุชะ (หัวเราะ) ภาษาไม่รู้ แต่ว่ามันก็อ้างอิงนิดหน่อย มันชุ่ม มันไม่แห้ง สังเสทชะมันเปียก อัณฑชะก็เปียก ชลาพุชะก็เปียก โอปปาติกะก็เปียกชุ่ม เกิดได้
ถ้าสุขก็เกิดสุข มันชุ่ม ถ้าทุกข์ก็เกิดทุกข์ ถ้าโกรธก็เกิดโกรธ ถ้าโลภก็เกิดโลภ ถ้าหลงเกิดหลง เรื่อยไป มันชุ่ม ถ้ามันแห้งซะ มันก็ไม่มีเชือก หลวงตาเลยเปรียบเทียบว่า บักเขียบหลอด รู้จักบักเขียบหลอดมั๊ย น้อยหน่า (หัวเราะ) น้อยหน่ามันแห้งติดต้น มันไม่มีเชือก ลำต้นก็ไม่ต้องมีพลังงาน ต้องเอาน้ำไปหล่อเลี้ยง มันติดอยู่เฉย ๆ เป็นกิริยา ตาเห็นรูปเป็นกิริยา หูได้ยินเสียงเป็นกิริยา จมูกได้กลิ่นเป็นกิริยา ลิ้นได้รสเป็นกิริยา กิริยาไม่เป็นกรรม เรียกได้ว่า “กตัตตากรรม” ถ้ามันเปียก มันชุ่ม มันก็ไม่เป็นกตัตตากรรม เป็นกรรมที่มีผล เท่านั้นเอง
พระพุทธเจ้าจึงบอกเรา กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา สุขทุกข์ก็สักว่าสุขว่าทุกข์ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา จิตก็สักว่าจิต ที่มันคิดไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ธรรมมันเกิดครอบงำทั้งกายทั้งใจ ก็เป็นสักว่าธรรม ธรรมก็มีอะไรเยอะแยะ กุศล ความสุข ความปีติ ความอิ่มใจ เฉลียวฉลาด อกุศล ความเศร้าหมอง ง่วงเหงาหาวนอนก็เป็นสักว่าธรรม ไม่ใช่ความง่วง ความหิว ความสุข ความอะไรต่าง ๆ ความอิ่ม เป็นตัวเป็นตนของเรา เป็นสักแต่ว่า เนี่ยก็คือ คือมันก็อย่างนี้ แล้วมันไม่ยาก นั่งอยู่เฉย ๆ ก็บรรลุธรรมได้
๙.๒๘ ว่าแต่อย่าเป็น สักว่ามาอะไร ถ้าสักว่าเหมือนกับบอกคืน เหมือนยุงมาตอม แต่เราอยู่ในมุ้ง ยุงก็ไม่ได้กัดเรา แม้มันบินอยู่ข้างนอก เท่าไหร่ ๆ มันก็ไม่ถึงเรา เพราะมันมีมุ้ง คนมีสติ เหมือนนอนในมุ้ง คนมีสติ มันก็ไม่มีอะไรที่จะมาเข้าถึงได้ มีแต่ภาวะที่รู้แล้ว ภาวะที่รู้ มันไม่เป็น มันชักสะพาน มันมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด จึงพ้นจากทุกข์ จากแก่เจ็บตายได้ ภาวะนี้ มันเลยไม่เป็นอะไรกับอะไร ไม่เป็นอะไรกับอะไร อยู่เฉย ๆ นอนอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ เดินอยู่ อยู่เฉย ๆ รู้เฉย ๆ รู้เฉย ๆ ชีวิตทั้งชีวิตเป็นกิริยา นี่ชุ่มไม่เปียก ไม่มีรสชาติ พระธรรมรสแบบเนี้ย เป็นรสชาติที่ชนะรสชาติทั้งปวง “สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ” รสพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง อย่างเราสวด “ธัมมปหังสนสูตร มัณฑะเปยยะมิทัง” พรหมจรรย์นี้น่าดื่มเหมือนมัณฑะ ยอดโอชาแห่งโครส ยอดโอชา ภาวะที่ไม่เป็นอะไรมันยอดโอชา ภาวะที่เป็นมันเหือดแห้ง มันหิว มันหิวมันยังเป็น เป็นผู้สุข หิวความสุข เป็นผู้ทุกข์ก็หิวความทุกข์ เป็นผู้โกรธก็หิวความโกรธ มันหิว ถ้าหิวถึงไม่รู้จักอิ่ม ถ้าไม่หิวมันก็อิ่ม อิ่มพอดีไหม คือไม่เป็นอะไร ชีวิตมาตรฐาน มาตรฐานของชีวิต อยู่ในตัวมันเอง มันไม่ยาก
หัดก็หัดตรงเนี่ย มันหลงก็รู้ ง่าย ๆ อย่างเนี้ย ถ้าหลงเป็นหลงยาก ยากมาก สุขเป็นสุขก็ยาก เป็นการบ้านไป เราก็ตกเป็นสุข เราก็เป็นจำเลยของความสุข ความสุขก็บังคับกับใจเรา ความทุกข์ก็บังคับกับใจเรา มันยาก ให้สัมผัสดูดี ๆ นะ มันจะเบา มันไม่มีภาระ วางแล้ว ไม่เป็นคือวาง ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก พระอริยเจ้าวางของหนักลงเสียแล้ว ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักขึ้นมาอีก มันก็ไม่มีแล้ว จิตก็เลยพูดให้มัน เรียกว่าฎีกาต่อไปอีก จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป ไม่พอ เท่านี้ไม่พอ มันถึงแล้ว อนุฎีกา ก็ว่าไปเฉย ๆ นะ แต่ไม่รู้นะ อนุฎีกา คือ ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป มันถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ไม่พอ เอาไปอีก ว่าอะไรต่อไป ห๊ะ! (หัวเราะ) ไม่พอ เท่านี้ไม่พอ คือถึงนิพพาน จบกัน (หัวเราะ) พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว มันไม่เข้าใจ ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักขึ้นมาอีก ซ้ำลงไปอีก คือ จิตถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ไม่พอ เอาเข้าไปอีก คือถึงพระนิพพาน ไปไม่รอด แผ่นดินสุด สุดแล้ว จบแล้ว เหมือนไฟที่มันเย็นแล้ว มีอะไรอีกต่อไป คำว่าเย็นน่ะ สัมผัสดู ความร้อนเป็นยังไง (...) ความเย็นเป็นยังไง มันไม่มีรสชาติ ไม่ใช่เย็นเหมือนน้ำแข็งนะ เย็นเหมือนน้ำแข็งนะ อาจารย์ตุ้มบังคับให้หลวงตาลงไปในน้ำ ไปอบร้อน อบร้อน ๑๐ นาที อบเย็น ๒ นาที เมื่อร้อน เหงื่อซมออกมา เค้าให้ลงไปแช่น้ำเย็น มันก็มีบันไดลงไป บันไดชั้นที่ ๑ ก็น้ำเคียงเข่า ก็เย็นปวดแล้ว บันไดขั้นที่ ๒ น้ำแค่นี้ บันไดขั้นที่ ๓ บันไดที่ ๔ มุดลงไป พอเราลงไปสัมผัส เย็นเท่านี้ก็ ไม่ไหวแล้ว