แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันนะ เพื่อให้เป็นส่วนประกอบกับการปฏิบัติ เราก็พากันปฏิบัติ เป็นหัวใจของผู้อยู่วัดวาอาราม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของเรา ที่มันไม่ดีให้มันดีขึ้นมา หลาย ๆ อย่างที่ไม่ดีที่เราไม่รู้ ไม่เห็นแจ้ง ในสิ่งที่มันเกิดกับกายกับใจเรา
เรามาปฏิบัติ มาฝึกสติ ตามวิชากรรมฐาน มีสติเห็นกายอยู่เป็นประจำ ตามวิชากรรมฐานทุกวินาที เอากายมาสร้างอุปกรณ์ให้เกิดความรู้ขึ้นมา อะไรก็ได้ หายใจเข้า-หายใจออกก็ได้ เราก็หายใจทิ้งไปเปล่า ๆ หรือการเคลื่อนไหว เอาหลักอันใดอันหนึ่งให้มันคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ลมหายใจก็เป็นการเคลื่อนไหวของกาย การเจริญสติตามแบบของสัมปชัญญบรรพ ก็เป็นการเคลื่อนไหวของกาย เรียกว่า สัมปชัญญบรรพ อานาปานบรรพ จิตบรรพ เป็นการเคลื่อนไหวของจิต ไม่ได้เจตนาคิด มันเคลื่อนไหวของมันเองเรื่องจิต ตัวนี้สำคัญ แต่ว่าเรามาหัด ให้มันมีฐานที่ตั้งไว้ เพื่อมันจะได้เห็น การเคลื่อนไหวของจิตที่มันคิด ทวารของจิตที่มันคิด พาให้เป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกิเลสตัณหาได้
เราจึงมีสติเป็นเจ้าถิ่นไว้ก่อน ฝึกไว้ก่อนเหมือนลืมตาไว้ก่อน อะไรมาก็จะได้เห็น ถ้าไม่ฝึกหัด อะไรมาก็จะไม่เห็น จากนั้นเข้าไปเป็นกับมัน มันหลงก็จะเป็นผู้หลง มันทุกข์ก็จะเป็นผู้ทุกข์ มันโกรธก็จะเป็นผู้โกรธ เกิดกิเลสตัณหาขึ้นมาก็จะเป็นไปตามกิเลสตัณหา ทำตามมัน ถ้าเราไม่มีสติเป็นเจ้าถิ่น ลืมตาไว้ดู มันก็จะไม่เห็น สุขก็เป็นสุข ทุกข์ก็เป็นทุกข์ เป็นมาอย่างนั้น ปล่อยกายปล่อยใจทิ้งไปให้หมักหมมกับความไม่ดี ความผิด เท่าไหร่ก็ไม่รู้ หลงกี่อสงไขยหลง โกรธกี่อสงไขยโกรธ นับไม่ถ้วน ก็ไม่เคยเห็น รับใช้ความทุกข์ รับใช้ความโกรธ รับใช้กิเลสตัณหา บางทีก็มืดบอดไปเลย เสียผู้เสียคน เป็นจริตนิสัย ราคะจริต-ปรุงแต่ง โทสจริต-โกรธง่าย โมหะจริต-หลงออกหน้าออกตา ก็รับทุกอย่างด้วยความหลง ตาเห็นรูปก็พอใจไม่พอใจ นั่นล่ะคือความหลง หูได้ยินเสียงก็พอใจไม่พอใจ นั่นล่ะคือความหลง มันต้อนรับ แล้วก็เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ไปไกล เรื่องที่เกิดกับตา กับหู จมูก ลิ้น กาย ใจ พาให้เป็นภพเป็นชาติได้ เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก เป็นเดรัจฉานได้ เป็นการเกิดดับ ต้องสุข ต้องทุกข์ แล้วมันไม่จริง เราจึงมาฝึกกรรมฐาน วิชาของนักบวชก็ว่าได้
พระพุทธเจ้าที่ได้อุบัติขึ้นมาในโลกก็เพราะฝึกกรรมฐาน ไม่ใช่ชาติ วรรณะ ตระกูล เรียนเก่ง ไม่ใช่เลย พระสิทธัตถะเรียนเก่ง จบ ๑๘ ศาสตร์ ขี่ม้า ยิงธนู ฟันดาบ นอกจากนั้นศาสตร์ทั่วไป มาครองบ้านครองเรือน เพื่อจะให้เกิดความปลอดภัยในศัตรูคู่อริ แต่ศาสตร์อันที่ทำให้ปลอดภัยจากความโกรธ โลภ หลง ไม่มีที่ใดสอนให้ได้ นอกจากกรรมฐานที่เราสอนตัวเราเอง ตัวใครตัวมันเอง เรารู้ก็ต้องรู้เอาเอง เอากายมา เอาใจ มีรูปมีนามมาสร้างให้มันเกิดความรู้ ใช้รูปใช้นามใช้ใจนี่ มาสร้างให้เกิดความรู้ อาศัยให้เกิดความรู้ จึงเกิดมีพุทธะได้ เป็นศาสตร์แห่งพุทธะได้ คือรู้ คือตื่น คือเบิกบาน มีกายมีใจ อาศัยเป็นที่ตั้งของความรู้สึกตัว เวลานี้ และเราก็มีโอกาส อยู่วัดวาอาราม ไม่ได้ไปทำงานทำการอันอื่น ก็มีบ้างก็เป็นอดิเรก ถ้าหากมีฝึกไว้แล้ว ก็ไปใช้การใช้งานเหมาะแก่การงานนั้น ๆ ได้ นี่เป็นการงานชอบ งานที่ไม่ชอบก็ไม่เกิดขึ้น กลายเป็นเห็นชอบ พูดชอบ คิดชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ตั้งใจไว้ชอบ ตั้งสติไว้ชอบ ทั้งหมด ถ้าเราฝึก ให้มีสติไปในกายตามวิชากรรมฐาน พบทาง ไม่จน เลยถึงที่สุด ถึงมรรคถึงผล จุดหมายปลายทางของชีวิต คือมรรคผลนิพพาน
เรามีกายมีใจเพื่อมรรคผลนิพพาน เรามีศาสนาเพื่อมรรคผลนิพพาน เรามีวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน แม้แต่เราออกบวชก็เพื่อพระนิพพาน “นิพพา เอวัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ” ถือผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเหลือง ผ้าขาว เพื่อพระนิพพาน “นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” เป็นเหตุให้เราได้มีเพศต่างจากญาติจากโยม แม้แต่ญาติหรือโยม ห่มผ้าสีใดอะไรก็ตาม ถ้าเป็นปฏิบัติเข้าไปอันเดียวกัน สติเป็นอันเดียวกัน ผ้าสีไหนถ้ามีสติเป็นอันเดียวกัน ไม่มีคนหนุ่ม ไม่มีคนแก่ ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย ไม่มีชาติวรรณะ ถ้ามีสติ ที่กายที่ใจ ได้รู้ได้เห็น สิ่งที่มันเกิดขึ้นที่กายที่ใจ เรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องผิดเรื่องถูก ก็จะได้หลักได้ฐาน ได้ความจริง ได้ความเท็จ ก่อเกิดความเป็นธรรมขึ้นมาต่อกายต่อใจ สร้างความเป็นธรรมขึ้นมา เมื่อมีความเป็นธรรมเกิดขึ้นที่กายที่ใจ ก็เห็นความเท็จความจริงที่มันเกิดที่กายที่ใจ ความไม่จริงก็อยู่ไม่ได้ วันพิพากษาตุลาการ พิพากษาตัวเอง ให้พ้นพิษ พ้นภัย พ้นอันตราย ไม่มีภัย นี่เรียกว่า ธรรมนำพาไป ประพฤติธรรม ธรรมก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เป็นไปอย่างนั้น เป็นไปทางจิตวิญญาณ จับหลักแก่นสารของชีวิตได้
แต่ก่อนถ้า ตั้งแต่เราไม่ได้ฝึกความไม่เป็นธรรม ไม่มีเลยในกายในใจ กายก็เบียดเบียนใจ ใจก็เบียดเบียนกาย กายเป็นทุกข์ใจเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์กายเป็นทุกข์ เอามาลงโทษ แม้แต่ความคิดก็ลงโทษตัวเอง กัดตอดตัวเองให้เจ็บปวด พอเห็นหลักเห็นฐาน จับหลักจับฐานได้ อ่านความคิด ถ้ามีสติเห็นความคิดที่ไม่ตั้งใจ เห็นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ มันเป็น อันที่เป็นนามรูป ที่เกิดจากรูปนาม รูปนามมีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ แต่นามรูป คือการเกิดซ้อนขึ้นมาเป็นภพเป็นชาติ เกิดจากอายตนะ เป็นสุขเป็นทุกข์ได้ เป็นนามรูป เกิดแก่เจ็บตาย ตายดับ เกิดดับ เกิดดับ การดับเกิดดับของนามรูป ไม่มีซากมีศพ แต่มันก็เจ็บปวด เป็นทุกข์ได้ เป็นขันธ์ที่เป็นอุปาทาน เป็นขันธ์ล้วน ๆ ตามรูปนาม รูปนามเป็นขันธ์ล้วน ๆ ถ้าจะดูตามความเป็นจริง มันเป็นสัญญาณภัย ทำให้รูปมันอยู่ได้ เช่น ความร้อน ความหนาว ความหิว ยุงกัดมันเจ็บ เป็นสัญญาณภัย เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันรู้อะไรได้ ตาก็เห็นอะไรได้ หูได้ยินอะไรได้ ไม่มีอุปาทานเพื่อที่จะไม่ให้มีภัยเกิดขึ้น
แต่นามรูปมันเกิดจากอวิชชา คือไม่รู้ ไม่รู้ความรู้ ไม่รู้ความหลง ไม่รู้ความโกรธ ไม่รู้ความทุกข์ ทุกข์เป็นทุกข์ สุขเป็นสุข โกรธเป็นโกรธ นี่อวิชชา ถ้าหลงเป็นหลงนี่อวิชชา ถ้าวิชชาเกิดขึ้น หลงก็คือรู้ ทุกข์ก็คือรู้ โกรธคือรู้ ถ้านามรูปก็ไม่มีอุปาทาน อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ที่เราสาธยายพระสูตร ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ยึดมั่นว่าสุขคือเรา ทุกข์คือเรา โกรธคือเรา รักคือเรา เกลียดชังคือเรา Mine คือ ตัวเรา ไม่เห็นตามความเป็นจริง ตามคุณธรรมของพระอริยบุคคลชั้นต้น ๆ สักกายทิฏฐิ ไม่เอากายมาเป็นตัวเป็นตน วิจิกิจฉาไม่สงสัยเรื่องที่เกิดกับกายกับใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น เอาเท็จ เอาเท็จเอาจริงกับกายกับใจ พอให้ขัดแย้ง ตัวเองและคนอื่น เช่น ความโกรธ กูไม่ยอมถ้ากูได้โกรธนี่ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นทั้งวิจิกิจฉา เป็นทั้งสีลัพพตปรามาส
เพราะฉะนั้น ถ้าเราเห็นอย่างนี้ มาทำลายอย่างนี้ ลองเข้าสู่คุณภาพของพระอริยบุคคลชั้นต้น ๆ เพราะเห็นการเกิดดับของนามรูป เบื่อหน่าย จางคลาย ได้หลักได้ฐาน เพื่อฟ้องความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นมา เอาเหลือไว้แต่รูปนาม เพื่อใช้ให้ต่อยอด ให้มันเกิดความดีขึ้นมามากมาย ส่วนนามรูปนั้น จบได้ จบได้ อาการเกิดดับหรือดับไม่เหลือแห่งนามรูป
เมื่ออาการดับไม่เหลือของนามรูป หมดไป เกิดศีลสิกขา เกิดไตรสิกขาขึ้นมา แต่ก่อนผิดศีลแม้กระทั่งนามรูป สุขเป็นสุขผิดศีลแล้ว ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ ผิดศีลแล้ว ไตรสิกขาไม่เกิด ศีลไม่เกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นเครื่องกำจัดกิเลสไม่เกิด พอเห็นสุขเป็นรู้ ทุกข์เป็นรู้ มีศีลแล้ว มีศีลเพราะมันถูกต้องในความผิด ในความผิดมันเป็นความถูก ในความทุกข์เป็นความถูก ได้ความไม่ทุกข์จากความทุกข์ ได้ความไม่โกรธจากความโกรธ ศีลเกิดอย่างนี้ ไม่ใช่ศีลแบบสมาทาน ศีลที่เป็นมรรคเป็นผล ไม่ใช่ศีลสมาทาน วันหนึ่งคืนหนึ่ง ชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าศีลสิกขาเป็นศีลกำจัดกิเลส เมื่อนามรูปไม่มีอาการเกิดดับ เมื่อกายเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาขึ้นมา ทำลายกิเลสเข้าสู่ธรรมเบื้องต้นของพระอริยบุคคล ทำลายสักกายทิฏฐิ ไม่มีตน ไม่เอากายเอาใจมาเป็นตัวเป็นตน ไม่สงสัยเรื่องนี้ ก็วางไป ตามกำลังของความเพียร ความศรัทธา ไม่ท้อถอย ได้รสได้ชาติการปฏิบัติธรรมขึ้นมา ธรรมก็เลยพาไป ความถูกพาไป ความไม่ทุกข์พาไป เช่น ความทุกข์มันพาให้ไม่ทุกข์ เหมือนรถที่มันวิ่งไปข้างหน้า มันตกหลุม มันก็พร้อมที่จะพุ่งไปข้างหน้า ไม่ใช่มันถอยหลัง ตามมันไป มันจะมีอะไรเกิดขึ้น แม้มันกระทบกระเทือน มันก็ไปข้างหน้า ก็พ้นจากหลุมนั้น ไม่ใช่กลับมาตกอีก ไม่ใช่กลับมาตกอีก มันตกมันจึงไปได้ พ้นจากหลุมมาแล้ว พ้นจากโคลนมาแล้ว
ชีวิตของเราก็เหมือนกัน นักปฏิบัติมันกระโดดได้ ตอนที่มันมีอะไรเกิดขึ้นที่ไม่ถูกต้อง มันกระโดดไปได้ ความหลงทำให้เรากระโดดจากความไม่หลง พ้นจากความหลง ความทุกข์ทำให้มันกระโดดจากความทุกข์ พ้นจากความทุกข์ นี่คือมรรควิถีของชีวิตที่มันพ้นไป เป็นทางหลุดพ้น เป็นจุดหมายปลายทาง เพราะว่าจากนี่ไม่ใช่ลาภสักการะ สรรเสริญ เยินยอ ไม่ใช่เจ้าลัทธิ เพื่อมิตรพวกพ้องบริวาร ไม่ใช่ฌานอันใดอันหนึ่งที่ไปติดอยู่กับความสุข แต่วิมุติเป็นวิมุติ เป็นความหลุดพ้น เหมือนเราขึ้นมาหลังเขาป่ามหาวัน ขึ้นมา ทางบ้านธาตุ ขึ้นมา ตกหลุมกี่ร้อยหลุมก็ขึ้นมาได้ จนถึงที่นี่ มันก็ไม่มีหลุม ถึงแล้วก็ไม่มีหลุม มันผ่านมาเพราะมันเดินมาจากความผิดความถูก บางทีก็ต้องออกเรี่ยวออกแรง คนขับรถก็ต้องรู้จักเส้นทาง
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ได้พุทธะเกิดขึ้นจากความทุกข์นี่แหละ ถ้าไม่มีทุกข์พระพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นมา เห็นจริง ๆ มาสาธยายพระสูตร สวดทำวัตร อะไรก็เป็นทุกข์ อะไรก็เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเช่นนี้ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณก็เป็นทุกข์ รูปก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง อะไรก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่ใช่ตัวตนไม่ควรยึดว่าเรา ว่าของเรา พระสาวกทั้งหลายก็รู้เรื่องนี้ มีความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ก็เห็นกันอยู่ ปลุกเสกตัวเอง ทำวัตรสวดมนต์ช่วย สาธยายพระสูตรช่วย บางทีพระองค์อยู่ลำพังพระองค์เดียวก็ยังกระหึ่มในใจ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี รูปก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง สังขารก็ไม่เที่ยง วิญญาณก็ไม่เที่ยง แต่ก่อนเราอยู่กับรูป กับเวทนา กับสัญญา สังขาร วิญญาณ มาเป็นตัวเป็นตน ปฏิเสธลงไป บางทีก็เห็น ปฏิเสธมันไป เห็นความไม่เที่ยง ในเรื่องของรูปของนาม ที่ไม่ได้ฝึก
นอกจากรูปและนาม ก็ความไม่เที่ยงเกิดกับอันอื่นอีกมากมาย พลัดพรากจากคนรักของชอบใจ อีกมากมาย เจ็บไข้ได้ป่วยอีกมากมาย อยู่ดี ๆ ก็เป็นทุกข์ อยู่ดี ๆ กับลูกกับหลาน เดินเข้าห้องน้ำล้ม กระดูกสะโพกหัก คนแก่ แม่ของหนูนิดล้มในห้องน้ำ กระดูกสะโพกหัก แตกหักต้องนอนโรงพยาบาล มันจะบอกได้ไง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันเป็นอาชีพของเขา มันเที่ยง ความตายคือความเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ถ้าฝากไว้กับกายกับใจ กับรูปกับนามนี่ เอาประโยชน์จากมัน ต่อยอดมันแล้ว เพราะความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ทุกข์เพราะความไม่ใช่ตัวตน ล้าสมัย ไปกันแล้ว ไม่เอาความไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์ ไม่เอาความไม่ใช่ตัวตนมาเป็นทุกข์ ไม่เอาความพลัดพรากจากของรักมา ความพอใจมาเป็นทุกข์ บางทีเราโกรธก็เป็นทุกข์ หลงก็เป็นทุกข์ โลภก็เป็นทุกข์ มันหมดสมัยแล้ว เขาไปกันแล้ว เข้าสู่ทางแล้ว หมู่นี้มันเป็นตะกุกตะกัก เห็น ๆ นี่มันเป็นทาง เห็นมันสุขไม่เป็นผู้สุข เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ นี่ทางแล้ว เรียบ ไม่กระทบกระเทือน ผู้ปฏิบัติย่อมเข้าทางได้แบบนี้ เห็นมันหลง เห็นมันผิด เห็นมันถูก เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ เรียบ ถ้าเป็นแล้วไม่เรียบ ขรุขระ เอาผิด เอาถูก เอาได้เอาเสีย ทำได้ทำไม่ได้ ทางขรุขระ เห็น เห็นมัน ไม่ได้อะไร มีแต่รู้เรื่อยไป อะไรก็คือภาวะที่รู้สึกตัวเข้าไปเฉลย นี่คือเรามาปฏิบัติอย่างนี้ วันหนึ่งเราผ่านอะไร ผ่านอันเก่า ยิ่งชำนิชำนาญ ชำนาญทาง ก่อนเดินทางตรงไหนมันหลงจะใส่ใจตรงนั้น ทางไหนมันคดเคี้ยวจะใส่ใจตรงนั้น เหมือนทางเดิน ที่เขาสร้างมิตรภาพ เขามีป้ายจราจรบอก ว่าไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ถ้าไปตามหมายเลขป้ายจราจรบอกเส้นทาง เดี๋ยวนี้เขามีเครื่อง เครื่องอะไรติดรถ เขาบอก ผิดแล้ว เลี้ยวขวาผิดแล้ว ถอยกลับ เขาบอก ไม่ต้องดูแผนที่ แผนที่ล้าสมัยแล้วไม่ต้องมาเปิดดู ติดเครื่องที่หน้ารถมันจะบอก บางทีให้มันเป็นภาพได้ เขามีสมัยแบบนี้แล้ว
ชีวิตเรามันก็สมัยใหม่ นำสมัยบ้าง ธรรมนำพาไปถึงจุดหมายปลายทาง มีสติ ปัญญา มีสติสัมปชัญญะ นำพาชีวิตไปถึงจุดหมายปลายทางได้ จากเบื้องต้นก็คือสติ ท่ามกลางคือสติ ที่สุดคือสติ มีสติแล้วแลอยู่ ละสุขละทุกข์เสียได้ มีสติแล้วแลอยู่ พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่นี่ จบแค่นั้น มีสติ ถ้าพูดว่าไม่เป็นอะไรกับอะไร มีสติอยู่ แค่นี้ทำไม่ได้หรือนี่ (หัวเราะ) มันยากหรือนี่ เวลาโกรธมันยากนะ เห็นมันโกรธมันง่าย ทุกข์มันยากนะ เห็นมันทุกข์ไม่เป็นทุกข์เลย ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ พ้นจากความทุกข์ เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เห็นมันโกรธ ไม่เป็นผู้โกรธ พ้นจากความโกรธ นี่มันเรียบดี ถ้าเป็นผู้โกรธ โอ้ย! มันก็ขรุขระมาก ทรมาน ลำบาก เจ็บปวด กระทบกระเทือน โทรม เหมือนรถที่เดินทางขรุขระ ก็โทรมง่าย ถ้าปล่อยให้ทุกข์เป็นทุกข์ สุขเป็นสุข มันขรุขระ เราเห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ เห็นมันสุขไม่เป็นผู้สุข มิตรภาพ ธรรมะ เป็นทางอริยมรรค เห็นไปอย่างนี้เอง ร่างชีวิตเรียบ ๆ ไปนี่ โลกนี้จะมีอะไร เป็นเลนให้มันเหยียบไปเลย เหยียบไปเลย ไม่มารองรับหรอก ไม่เหมือนทาง ทางมันต้องซ่อม ชีวิตจริง ๆ เนี่ยมันมีในตัวมัน ในความทุกข์ก็มีความไม่ทุกข์ ในความหลงมีความไม่หลง ในความโกรธมีความไม่โกรธ เป็นอย่างนี้ นี่ก็พูด พยายามพูดให้ฟัง แล้วเอาไปทำเอา เวลามันหลง เห็นมันหลงไม่เป็นผู้หลง เวลามันยาก เห็นมันยากไม่เป็นผู้ยาก เวลามันผิด เห็นมันผิดไม่ได้เป็นผู้ผิด เห็นมัน ๆ เห็นมัน ๆ มันจะคล่องตัวขึ้นมา สะดวก ปฏิบัติสะดวก บรรลุธรรมได้ง่าย ถ้าปฏิบัติธรรมลำบาก บรรลุธรรมได้ยาก ถ้าหลงเป็นหลง ปฏิบัติลำบาก บรรลุธรรมได้ยาก ถ้ามันหลงเห็นมันหลงไม่เป็นผู้หลงเนี่ย ปฏิบัติสะดวก บรรลุธรรมได้ง่าย สุขาปฏิปทา ปฏิบัติสะดวก ทันธาภิญญา รู้ธรรมได้ง่าย ทุกขาปฏิปทา ปฏิบัติลำบาก รู้ธรรมได้ยาก ขิปปาภิญญา อาจจะไม่รู้เลย