แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังไหม จะพูดให้ฟัง เบื่อหน่ายหรือยัง (หัวเราะ) หลวงตาก็แก่แล้ว จะพูดเอาๆ ซะหน่อย อาจารย์หนุ่มๆ อาจารย์โน้ส อาจารย์ทรงศิลป์ อาจารย์นี่ มีหลายรูปอยู่ที่นี่ นักแสดงธรรมเหมือนกันนะ รีบด่วนซะหน่อย มีชีวิตชีวา การแสดงธรรมนี้ ถ้าไม่แสดงธรรมซะเลย ตายง่าย เนอะ ต้องบอกอะไรเท็จ อะไรจริงอย่างไร แล้วก็นี่แหละเชิงพุทธ สิ่งแวดล้อม ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น สาธยายพระสูตรต่างๆ อายุยืน นิเวศเชิงพุทธ มีป่าไม้ มีเพื่อน มีมิตร มีธรรม มีคำสอน ได้ยินได้ฟังเป็นพหูสูตร เป็นมงคล
บทพิเศษผู้นำก็พาเราสวด มงคล 38 ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้พาไพร่ฟ้าบริวารมากราบทูลพระพุทธเจ้าในคืนเดือนหนึ่งที่เชตวันมหาวิหาร ว่าข้าพระพุทธเจ้าไม่มีเวลาศึกษาธรรมะ ปกครองบ้านเมืองประเทศชาติ ให้พระองค์ได้เมตตาแสดงธรรมที่นำไปปฏิบัติให้เกิดความผาสุกโดยย่อๆ ให้เหล่าบริวารทั้งหลายได้ทราบ และนำไปปฏิบัติกัน ให้อยู่ครองด้วยความสงบร่มเย็น พระพุทธเจ้าเลยแสดงสูตรนี้ อะเสวนา จะ พาลานัง การไม่คบคนพาล เรียกว่ามงคล 38 (ประการ) ถ้าผู้ใดศึกษาดีแล้ว มงคล 38 นี้เจริญก้าวหน้าเป็นที่ไม่มีพิษมีภัยในทิศทั้งปวง
ต่อไปก็สวดอีกบทหนึ่ง เรียกว่า เรียกว่าอะไร อาจารย์โน้ส (หัวเราะ) กาลามสูตร กาลามชน สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เดินทางไปหมู่บ้านกาลามชน ซึ่งเป็นทางผ่านของนักสอนศาสนา ปกุธกัจจายนะก็ผ่านทางนี้ มักขลิโคศาลก็ผ่านไปทางนี้ นิครนถาฏบุตรก็ผ่านไปทางนี้ สัญชัยเวลัฏฐบุตรก็ผ่านไปทางนี้ อชิตเกสกัมพลก็ไปทางนี้ ทั้ง 6 คน ครูทั้ง 6 ผ่านเส้นนี้ ปกุธกัจจายนะก็สอนแบบหนึ่ง มักขลิโคศาลก็สอนแบบหนึ่ง ครู 6 คนเนี่ย พอพระพุทธเจ้าไปสอนอีกแบบหนึ่ง หมู่บ้านนี้กาลามชนนี้ร้องขึ้นโวยวายจะให้เชื่อยังไงดี ปกุธกัจจายนะสอนอย่างหนึ่ง มักขลิโคศาลก็สอนอย่างหนึ่ง อชิตเกสกัมพลก็สอนอย่างหนึ่ง สัญชัยเวลัฏฐบุตรสอนอย่างหนึ่ง สมณะโคดมก็สอนอย่างหนึ่ง จะให้ทำอย่างไร เชื่อยังไง พระพุทธเจ้าเลยเทศน์ เทศน์ต่อกาลามชน หมู่บ้านกาลามชน เลยตรัสสูตรนี้
พวกกาลามชนฟังแล้วเกิดศรัทธา แทนที่พระพุทธเจ้าจะบอกว่าเชื่อเราๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกอย่างนั้น อย่าเชื่อ 10 อย่าง สิ่งใดที่ทำแล้วเกิดกุศล ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น สิ่งนั้นควรจะทำ สิ่งใดทำลงไปแล้วเบียดเบียนตนและคนอื่น สิ่งนั้นไม่ควรทำ เป็นอกุศล เป็นบาปอ บ้านกาลามชนเกิดศรัทะนี้ลุกขึ้นโวยวายจะให้เชื่ออย่างไงดี าสนา กุกุกะวิจารณะา จะ พาลานัง กา พวกกาลามชนก็พอใจ เกิดศรัทธาพระพุทธเจ้า แทนที่พระพุทธเจ้าจะคัดค้านครูทั้ง 6 แทนที่จะส่งเสริมครูทั้ง 6 พระพุทธเจ้าไปกลางๆ แบบนั้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่เผยแพร่แสดงธรรมทีหลังหมู่ มีครูสอนกันมาก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นเราสาธยายสูตรนี้ มีหลักฐาน มีที่ไปที่มา ไม่ใช่พวกเราว่าเอง มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล อันนี้เป็นเรื่องที่เราสาธยาย
หลวงตาก็อยากจะบอกวันนี้ว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาด้วยอันใด ทำไมจึงเกิดพระพุทธศาสนาขึ้นมา เป็นเหตุอันใดเกิดขึ้น ก็เนื่องจากเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะ พระชนมายุ 16 พรรษา ออกประพาสเมืองกบิลพัสดุ์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย เห็นสมณะ ไม่เคยออกจากพระราชวัง ฤดูร้อนอยู่หลังหนึ่ง ฤดูหนาวอยู่หลังหนึ่ง ฤดูฝนอยู่หลังหนึ่ง มีแต่สตรีสวยๆ ไม่มีบุรุษเจือปน เฝ้าดูแลตลอดเวลา ไม่เคยเห็นภายนอก พอออกไปภายนอก ไปเห็นเรื่องนี้เข้า ทั้ง 4 ทั้ง 5 คน ก็เลยเป็นการบ้านเอามาคิด ถามพระเจ้าปู่ พระเจ้าย่า พระเจ้าตา พระเจ้ายาย ไม่มีใครตอบได้ พระองค์ก็คิดเรื่องนี้จนถือว่าเป็นสูตร เป็นจำเลย เรื่องนี้คิดไม่ได้ ไม่มีใครตอบได้ ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นเจ้าฟ้าชาย รับผิดชอบประเทศชาติบ้านเมือง ไม่รู้เรื่องนี้จะทำไง เลยศึกษาเรื่องนี้
จนรอพระชนมายุ 29 พรรษา ราหุลเกิดใหม่ๆ อดไม่รนทนไม่ได้ ช้ากว่านี้ไม่ได้แล้ว จึงเสด็จออกผนวช เห็นสมณะนี่ มองว่าเป็นทางนี้แหละ จึงจะศึกษาเรื่องนี้ได้ เรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทุกคนจะต้องเป็นอย่างนี้หรือ เมื่อมีเกิด มันต้องมีไม่เกิดไม่ใช่หรือ เมื่อมีแก่ ต้องมีไม่แก่ไม่ใช่หรือ ถ้ามีเจ็บ ก็ต้องมีไม่เจ็บไม่ใช่หรือ ถ้ามีตายต้องไม่มีตาย เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นคู่ มีกลางวันก็มีกลางคืน มีร้อนก็มีหนาว มีหิวก็มีอิ่ม อันนี้ต้องมีคู่ หาคำตอบออกมา จึงออกบวชเพื่อใช้ชีวิตนักบวช
ทีแรกก็อาจจะไม่ใช่ลักหนีนะ คุยกัน พูดกันกับพิมพา พิมพาก็บอกว่า อย่าเพิ่งไป ยังประสูติโอรสใหม่ ยังไม่แข็งแรง สิทธัตถะก็รอไม่ได้แล้ว พิมพาก็อ้างว่าพิมพารักสิทธัตถะ สิทธัตถะก็อ้างว่ารักพิมพาเช่นเดียวกัน แต่เราสองคนรักกันเท่านี้ไม่เพียงพอ ถ้าเรารักกันต้องรักคนทั้งโลก การที่รักคนทั้งโลกต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้ ให้คนรู้เรื่องนี้ ได้คำตอบอันนี้ จึงเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ของเราทั้งสอง เพราฉะนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องศึกษาเรื่องนี้ พิมพาก็เห็นด้วย ยอม สนับสนุนเอาเลยเสด็จพี่ เอาเลย ไม่ต้องห่วงพิมพา สนมกำนัลในมีเยอะแยะ แม้มีโอรสใหม่ ก็ไม่ได้เลี้ยงเลย พี่เลี้ยงนางโลมแย่งกัน ราหุลเนี่ย ไม่เหมือนพวกเรานะ พวกเราทิ้งมาก็ลำบาก แต่สิทธัตถะทิ้ง พิมพาไม่ลำบากเลย ไม่ใช่ปล่อยกันทิ้งนะ ดูแล้วไม่ลำบาก
พอมาศึกษาก็ 6 ปีนะ จึงมารู้เรื่องนี้ ได้คำตอบจากการกระทำหลายแบบ ตามครูที่สอน อุทกดาบส อาฬารดาบส หลายคนที่สอน แต่ว่าไม่เป็นที่พอใจ จบทุกอาจารย์ อยู่ที่ไหนก็จบ ไม่พอใจ จึงออกหาด้วยตนเองโดยทำทรมานร่างกาย ไม่กิน ไม่นอน ไม่กินข้าว ไม่อาบน้ำ ไม่หายใจ จนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด ทดลองดูแล้ว จนมาฝึกในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นปีที่ 6 มาศึกษาเรื่องนี้ โดยเอากายเอาใจเป็นตำรา เหลือเรื่องเดียว ขณะที่ปัญจวัคคีย์ จับลุกจับนั่งอยู่เพราะไม่ได้กินข้าว และก็ยังโกรธ มันยังคิดถึงพิมพา ราหุล คิดถึงสาวสนมกำนัลใน คิดถึงปราสาท 3 ฤดู มันยังคิดไป มันตกเป็นเรื่องคิดแน่นอน เอากายเอาจิตนี่แหละเป็นตำราศึกษาลองดู
จนคืนวันเพ็ญเดือน 6 ได้รู้แจ้งเรื่องนี้ตามพระสูตร บรรยายไว้อย่างละเอียด ไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง ถ้าเราศึกษาดูนะ เรียกว่าตรัสรู้ ได้รู้เรื่องนี้ ตอบได้แล้วว่า เห็นความเกิด เห็นความไม่เกิด เห็นความแก่ เห็นความไม่แก่ เห็นความเจ็บ เห็นความไม่เจ็บ เห็นความตาย เห็นความไม่ตาย ตอบได้ทันที จนเป็นที่พอใจของพระองค์ รายละเอียดเอาไปศึกษาดูเอา หรือเราปฏิบัติสัมผัสดูได้ ทำอะไร ทำใหม่ๆ ก็จะต้องมีกาย มีสติไปในกาย เหมือนเราทำอยู่นี้ คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก มีสติ การคู้แขนเข้า การเหยียดแขนออกมีสติ การเดินไปข้างหน้า การถอยกลับมาข้างหลัง มีสติ เอากายนี่แหละเป็นตำรา ให้เป็นมิตรเกาะไว้ก่อน ถ้าไม่มีที่เกาะมันจะวิ่งไปข้างหน้า วิ่งขึ้นข้างหลัง
คนที่ทิ้งลูกมา ก็ย่อมคิดถึงลูก ทิ้งเมียมาก็ย่อมคิดถึงเมีย ทิ้งปราสาท 3 ฤดู มาก็ย่อมคิดถึงปราสาท 3 ฤดู ขณะนั้นมานั่งอยู่ต้นโพธิ์ ไม่มีแม้กระทั่งหลังคา อยู่คนเดียวในป่าในดง มันย่อมคิดถึง ไม่เหมือนพวกเรา ยังมีเพื่อนมีมิตร มีที่นั่ง มีหลังคา มีข้าว ถึงเวลาตีระฆังไปกินข้าว สิทธัตถะไม่มีเลย โสตาย (สู้ไม่กลัวตาย) มันจะยากขนาดไหน จนบางทีก็เกือบจะเอาตัวไม่รอด ที่ว่ามาร กิเลสมาร ขันธมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร ครอบงำ คิดถึงปราสาท 3 ฤดู คิดถึงสาวสนมกำนัลใน เคยมีความสุข มันย่อมคิด แล้วกลับมา กลับมาหาที่ตั้ง มันคิดไปแล้ว กลับมา มันก็ไม่จริง เป็นความคิดเฉยๆ บางทีก็เกิดทุกข์ เกิดเดือดร้อน เหมือนจะเป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวเพราะลมพัด ถูกแดดถูกลม อาจจะเกิดกลัวตายขึ้นมา ทำไมจึงมานั่งอยู่ที่นี่ มันเป็นอะไร มันคิดอย่างนี้ มันจะหลอกตัวเอง ก็ไม่ไปทำความเพียร
อย่างสองวันมานี้ก็มีพระป่วย ไม่สบาย ไปถามดูเป็นอะไร ปวดหมดทั้งเนื้อทั้งตัว เคยเป็นไหม เคยเป็น เหตุมันเกิดจากอะไร เกิดจากทำความเพียรหนักเกินไป มีเหมือนกัน การยกมือเคลื่อนไหว การเดินจงกรม มันก็เป็นการออกแรงเหมือนกัน แต่ว่าเบื้องต้นจะปวดแขน ปวดต้นคอ ปวดขา อะไรต่างๆ ทำท่าเป็นไข้ หรือบางคนอาจจะเป็นไข้เลยไม่ต้องกลัว มันก็ตึงเกินไป ก็หย่อนลงมาซักหน่อย นอนก็ได้ บางคนขยันจนไม่รู้จักหลับจักนอน ก็ไม่ดี ขยันจนไม่รู้จักพักผ่อนก็ไม่ดี เมื่อวานหลวงตาก็บอก คนหนึ่งก็ว่านอนไม่หลับ บอกไปนอนเสียก่อนไป อย่ามาเดินจงกรม มันเหนื่อย ไปนอนพักผ่อนให้มันสบาย แล้วค่อยมาเดิน ต้องพักผ่อน กินให้อิ่ม ให้มันพอมีกำลัง ถ้ารีบเกินไปก็เถลไถล ไม่ถูกทิศถูกทาง ยิ่งเราไม่เคยเสียด้วย ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เป็นการกลัวไปเลย แพ้ไปเลย ถ้าเป็นการทำความเพียรก็กลัวไปเลย ไม่กล้า เข็ดหลาบ อันนี้ก็มี ไม่สู้
สิทธัตถะได้คำตอบในวันเพ็ญเดือน 6 นั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ เปล่งพระโอษฐ์ว่า เรารู้แจ้งแล้ว สิ่งที่ไม่แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงได้พุทธะพุทโธเกิดขึ้นแก่พระองค์ เป็นพระพุทธเจ้า ยังไม่มีประโยชน์ ยังไม่ได้สอนคนรู้ธรรม เรียกว่าพระพุทธเจ้า รออีก 1 เดือนหลังจากการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสวยวิมุติสุขอยู่แถบศรีมหาโพธิ์นั้น 4 อาทิตย์ เป็น 1 เดือนพอดี วันเพ็ญเดือน 7 ออกจากศรีมหาโพธิ์ เดินไปอิสิปตน พาราณสี ระยะทางประมาณ 300-400 กม. เดินอยู่ 1 เดือน จึงถึงพาราณสี เพื่อไปสอนปัญจวัคคีย์ที่หนีจากไป พอสอนปัญจัคคีย์รู้เรื่องนี้เข้า ก็เลยได้ชื่อว่าสัมมาสัมพุทโธ ได้ผลแล้ว สอนคนอื่นรู้ตามได้แล้ว มีคนรู้ตามเรื่องนี้แล้ว เลยได้ชื่อว่าสัมมาสัมพุทโธ ครูผู้สอนคนอื่นรู้ตามด้วย
จนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ มาพิสูจน์กันดู เราเริ่มต้นตรงไหน เราเริ่มต้นตรงที่มีสติดูกายนี่เหมือนกัน มันจะรู้ไหม มันไม่รู้ มันหลง พอมันหลง เราเปลี่ยนรู้ได้ไหม เปลี่ยนมันแล้วรู้ เรียกว่าปฏิบัติ ถ้ามันหลงไม่เปลี่ยนเป็นรู้ ไม่ใช่นักปฏิบัติ เปลี่ยนเอาๆๆ หลงที่ใดเปลี่ยนรู้ที่นั่นเอา มันทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นรู้ ไม่เสียเวลา มันก็ทำได้ เห็น อย่างหลวงตาบอกอยู่นี่ประจำ ให้เห็น มันมี 3 ขั้นตอน เห็น เห็นทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ พ้นจากทุกข์ นั่น อะไรก็ตามอยู่ในลักษณะแบบนี้ ถ้าเห็นหลง ไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลง มันไปแบบนี้ เห็นอะไรก็ตาม เห็นลักษณะแบบนี้ทั้งนั้น เป็น 3 ปัจจยาการดูดีๆ
เวลาเราปฏิบัติ ถ้าหลงเป็นหลง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้ก้าวแม้สักก้าวเดียว ถ้าหลงเป็นรู้ ไปแล้ว ก้าวไปแล้ว ไม่เป็นผู้หลง ไปอีกก้าวหนึ่ง พ้นจากความหลง ไปอีกแล้ว 3 ก้าว เห็นเหตุให้เกิดความหลง มันคือ ขาดสติ ทำเหตุให้มันดี พยายามมีสติ ใส่ใจ ก็แค่เหตุ มีแต่เหตุมีแต่ผล ความทุกข์เป็นผล ความหลงเป็นเหตุ ไม่โทษความทุกข์ ไม่โทษความผิด มาโทษตัวหลง มันมีอยู่กับเราทั้งนั้น โจทย์ก็มีอยู่กับเรา จำเลยก็อยู่กับเรา เราจะแก้เอง ก็เฉลยได้ เช่น ความเกิดเป็นโจทย์ แก้ได้ เป็นจำเลย พ้นจากความเป็นจำเลย ไม่เป็นทาส ไม่ถูกรับใช้ แต่ก่อนรับใช้ทุกอย่าง ความโกรธก็รับใช้ ความรักก็รับใช้ ความเกลียดชังก็รับใช้ ความสุขก็รับใช้ ความทุกข์ก็รับใช้ เรียกว่าเราเป็นจำเลยเขา เขาบังคับเอา พอมาพ้นจากจำเลยแล้ว อิสระ เห็น ไม่เป็น เห็นมันโกรธไม่เป็นผู้โกรธ พ้นความโกรธ เรียกว่าไม่เป็นจำเลยอะไรแล้ว ถ้าเราไม่ศึกษา จะเป็นจำเลยใหญ่ๆ ที่สุดคือ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตายแน่นอน ถ้าเราแก้ตรงนี้ได้ ก็ไปแก้ที่นู่นไปในตัวเสร็จ
คนอื่นจะสอนอย่างอื่นก็สอนไปเถอะ แต่อยากพูดตรงนี้ อยากบอกตรงนี้ว่า มันอย่างนี้จริงๆ จะสอนเรื่องบุญเรื่องบาป เรื่องใดก็สอนไป เรื่องทาน เรื่องศีลก็สอนไป การมีสติคือทั้งหมดแล้ว มีสติระลึกก็ละความชั่ว มีสติก็ทำความดี มีสติจิตก็บริสุทธิ์แล้ว พอใจเรื่องนี้มาก ไม่ต้องไปเปิดตำราอ่าน มีศีลแล้วจึงรู้ มีแล้วจึงเห็น เป็นแล้วจึงรู้ ศีลรักษาเราก็แรงแล้ว หลายวันแล้ว ไม่ได้ทำบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจ มีแต่มีความรู้ไป ศีลรักษาเรา สมาธิรักษาเรา ปัญญารักษาเรา เอาจริงๆ ไม่ใช่เรารักษาศีล ไม่ใช่เราสร้างสมาธิ ไม่ใช่คิดเหตุคิดผล เวลามันหลงก็รู้ ศีลรักษาเรา เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง มันก็เป็นสมาธิ พ้นจากความหลง เป็นปัญญา เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาในตัวเสร็จ มันน่าพอใจมาก
กำมือเดียวแท้ๆ คำสอนพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่พระพุทธเจ้ามาสอนพวกเราเหมือนใบไม้กำมือเดียว เพียงพอแล้ว ถ้าเราปฏิบัติอะไรก็ตาม มันโกรธ มันทุกข์ มันโลภ มันหลง มันรัก มันชัง มันดีใจ เสียใจอะไรก็ตาม มันลักษณะเดียวกัน เป็นสูตรเดียวกัน มันจึงทำได้ ปฏิบัติได้ ให้ผลได้ นี่คือโจทย์ คือจำเลย ตรงนี้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตรงนี้ ไม่ใช่เกิดตรงไหน แล้วก็มี เมื่อพระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์เป็นคนแรก ก็มีคนศึกษามากขึ้นๆ ภายใน 8-9 เดือนมีพระอรหันต์ 1,250 รูป 8 เดือน 9 เดือน นับตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 6 ได้มาสอนวันเพ็ญเดือน 8 นับจากวันเพ็ญเดือน 8 ไปถึงวันเพ็ญเดือน 3 กี่เดือน พระอรหันต์ 1,250 รูปอยู่ที่ไหน ไปรวมกันอยู่ที่เวฬุวัน 1,250 รูป มีแต่บวชเอหิภิกขุกับพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ภายใน 8 เดือน 9 เดือน มีผลขนาดนั้นนะ จึงมีพระสงฆ์มากขึ้นๆ มีอุบาสก อุบาสิกามากขึ้น มีพุทธบริษัทมากขึ้น เรียกบริษัททั้ง 4 เพิ่มขึ้น จึงมีธรรมวินัยขึ้นมา ระเบียบแบบแผนต่างๆ
ตอนแรกก็บอกต่อๆ กันเอา ไม่มีหนังสือตำรับตำรา พระอานนท์จำเก่ง เพราะพระอานนท์เป็นพระอุปัฏฐาก จึงขอพรจากพระพุทธเจ้า ทรงเลือกให้พระอานนท์เป็นพระอุปัฏฐาก พระอานนท์เลยขอพรจากพระพุทธเจ้าว่า อะไรหลายอย่าง อย่างข้อหนึ่งก็บอกว่า ถ้าพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมที่ใด ขอให้พระอานนท์ติดตามไปด้วย พระสงฆ์ถาม ทำไมจึงขอร้องอย่างนี้ พระอานนท์ก็ตอบว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่ใด พระอานนท์ไม่รู้ เขาจะหาว่าพระอุปัฏฐากไม่มีประโยชน์ ถามอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นจึงขอพรเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่ใด พระอานนท์ก็ตามไป พระอานนท์ก็จำเอาๆ
ต่อมาตั้งหลายร้อยปี พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว จึงมาจารึกเขียนหนังสือขึ้นมา แต่ก่อนก็บอกต่อกันมา จำเอา อย่างพวกเราจำเอา คำสอน พระสูตรต่างๆ มาพูด ก็จำเอา แต่ถ้าไปอ่านพระไตรปิฏกก็มีเหมือนกัน อย่างมงคล 38 ก็มีในพระไตรปิฎก กาลามชน 10 ข้อก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก เอามาสาธยายสู่กันฟัง เป็นการเรียนลัดให้เราได้ยินได้ฟังเอาไว้ อะไรที่เป็นมงคล 38 อย่าง อย่าให้ขาดแคลน หัดทำ หัดใช้ให้มาก เราจึงเป็นอย่างนี้ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยตรง เพื่อการเหนือเกิด แก่ เจ็บ ตาย เริ่มต้นมาจากเห็น เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง ไปตะพึดตะพือไป จนทุกอย่างก็ลักษณะเดียวนี้ ไม่ใช่เรื่องอื่น เป็นศิลปะ หรือเป็นปริญญาชำนาญ
อย่างหลวงตาพูดเมื่อเช้าว่า ใครไปอยู่สวนโมกข์ก็ต้องจบปริญญา คือ ตายก่อนตาย บางคนก็พูดว่าสุญญตา บางคนบอกความว่าง บางคนก็ว่ามรรคผลนิพพาน เดี๋ยวนี้ถ้าพูดถึงมรรคผลนิพพาน ไปพูดตรงๆ ไปประกาศโฆษณาก็ผิดวินัย ถ้าเขาไม่ถาม อย่าไปพูดโดยตรง ผิดวินัยปรับอาบัติ แม้ภิกษุรู้อยู่ อุตริมนุสธรรม ไม่ใช่พระสงฆ์ ให้คนอื่นที่ไม่ควรฟัง ก็ไม่ควรพูด แต่พูดต้องพูดในที่ที่มีผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่เราไปโฆษณา
แม้แต่การแสดงธรรมก็มีระเบียบ อยู่บนรถก็แสดงธรรมไม่ได้ อยู่บนที่นอนก็แสดงธรรมไม่ได้ คนที่ฟังธรรมยืนอยู่ เรานั่งอยู่ก็แสดงธรรมไม่ได้ คนถืออาวุธอยู่ ก็แสดงธรรมให้เขาไม่ได้ ต้องมีระเบียบ ที่นี่เป็นบ้านเรา ไม่ต้องอาราธนา พอถึงเวลาเราก็มีหน้าที่สอน พวกเราตั้งใจมาฟัง มาปฏิบัติ เราก็สอน ไม่ใช่พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี ไม่ต้องว่า บางทีศีลก็ไม่ต้องว่า ปฏิบัติไปมันก็มีเอง ศีลนี่ไม่ใช่ขอ ศีลนี่ไม่ใช่ขอนะ ทำให้มีขึ้นมา มหายานเนี่ยเขาไม่เคยขอศีล เขายังตำหนิเถรวาทเรา ผิดศีลบ่อย ล้มเหลวเกินไป หลายอย่างก็ไม่ค่อยขอศีล ปีละครั้ง หลวงตาเคยไปอยู่กับมหายาน ถ้าขอไม่ใช่ มีแต่บอก เจตนางดเว้นจากการฆ่า เกิดจากเจตนาของเรา ไม่ใช่ห้าม เจตนาเว้นจากการฆ่า เจตนาเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
สมัยก่อนเมื่อคนไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้าแล้วก็อุทานขึ้นมาเอง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ว่ากันตามภาษาบ้านเรา ข้าพเจ้าขอเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอเอาพระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะ สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ อุทานออกมา บางคนมีครรภ์ ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พอกล่าวอย่างนี้จบ แม้แต่ลูกอยู่ในครรภ์ของข้าพเจ้าเพิ่งเกิดได้ 6 เดือน ขอถึงพระรัตนตรัยด้วยเช่นกัน จนวันที่ลูกเกิด พอรู้เดียงสา แม่ก็ว่าบอกลูกมีพระรัตนตรัยตั้งแต่อายุได้ 6 เดือนแล้วนะ ลูกก็ถือเอานะ
ต่อมาก็ ข้าพเจ้ามีเจตนาเว้นจากการฆ่าเด็ดขาด ข้าพเจ้ามีเจตนาเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ข้าพเจ้ามีเจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีเจตนางดเว้นจากพูดไม่จริง ข้าพเจ้ามีเจตนาเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งของความประมาท ว่าเอาเอง ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบททั้ง 5 นี้ เรียกว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ ถ้าว่าเป็นภาษาบ้านเราก็แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท 5 ข้อนี้ตลอดชีวิต ไม่ทำบาปทำกรรมแล้ว นี่เป็นเจตนาออกมาจากภายใน ทีนี้พวกเราก็เมาอยู่กับว่าสุราเมระยะ มัชชะ ประมาทัฏฐานา หลอกกันเฉยๆ ไม่ได้จริงใจ เป็นพิธีกรรม ไม่ใช่เป็นปฏิบัติกรรม
นี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา พวกเรามีสิทธิ มีสิทธิ หลวงตาก็พูดอยู่เสมอ เห็นไม่เป็นน่ะ สุดยอดแล้ว ไม่เป็น เห็น ไม่เป็น นี่เห็นอะไรก็ตามในกาย กว้างศอกยาววาหนาคืบ อันเกิดจากกายจากใจเหล่านี้ มันก็มีอยู่ มันหิว ก็หิว เห็น มีอยู่ มันร้อน ก็มีร้อนอยู่ มันเหนื่อยก็มีเหนื่อยอยู่ แต่มันไม่ได้เป็น ไม่ได้มีภพภูมิตรงนั้น ไม่เอามาเป็นตัวเป็นตน มีแต่เห็นอย่างนี้ เห็นมันหลอกเราไม่ได้ ถ้าเห็นแล้ว ถือว่าหลุดพ้นแล้ว ไปเรื่อยๆๆ เห็นมันเกิดไม่เป็นผู้เกิด เห็นมันแก่ไม่เป็นผู้แก่ เห็นมันเจ็บไม่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันตายไม่เป็นผู้ตาย
หลวงตาประทับใจที่สุดในเรื่องนี้ อยากจะพูดแต่เรื่องนี้แหละ เคยเจ็บ เคยตายอยู่แล้ว ประทับใจมาก เป็นห่วงคนที่ไม่ได้ฝึกหัดจิตใจ จะอยู่อย่างไรหนอ หายใจไม่ได้ แล้วจะอยู่อย่างไร ก็เลยบอกว่า เราสนุกป่วย คนไปถาม เราว่าสนุกป่วย สนุกเจ็บก้อนเนื้อในตับ เจ็บอย่างรุนแรง สนุกเจ็บ เห็นมันเจ็บ ไม่เป็นผู้เจ็บ มันเยียวยา แม้มันตายก็เห็นมันจะตาย ไม่ได้เป็นผู้ตาย มันจึงเหนือการเกิดแก่เจ็บตาย นี้คือพระพุทธศาสนา มีอยู่ในหัวใจเรานี้ ไม่ใช่ศาสนาอยู่วัด เราอยู่บ้าน ศาสนาเจริญ คือวัดวาอารามใหญ่โตรโหฐาน(มโหฬาร) พระสงฆ์มากๆ ไม่ใช่ ศาสนาเจริญคือเราไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหา มีแต่ปัญญา ศาสนาเจริญ ถ้าเราไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหา มันก็เป็นประโยชน์ สงบร่มเย็น
จึงเริ่มต้นจากเรานี้ นับ 1 คนไทย 65-66 ล้านคน นับหนึ่งจากเราทุกคนลองดู มันก็สงบทันทีได้ ไม่ใช่มาบังคับ เรื่องนี้ไม่ใช่บังคับ รับผิดชอบเอง จึงอยากจะบอกเรื่องนี้ ให้มั่นใจเถอะ พรุ่งนี้เราก็กลับกันแล้วว่ามันเป็นอย่างนี้จริงๆ ชีวิตของเราไม่ต่างกันเลย ไม่มีชาติ มีภาษา ลัทธิ มีกายเป็นอันเดียว เหมือนกันหมด เห็นอกเห็นใจกันจริงๆ มีการเกิดแก่เจ็บตาย มีทุกข์ เหมือนกันหมด ไม่น่าจะเบียดเบียนกันเล้ยคนเราเนี่ย เห็นใจกันมาก เราเคยหิว เห็นคนอื่นหิวก็เห็นใจ เราเคยโกรธ เห็นคนอื่นโกรธก็เห็นใจ เห็นคนทุกข์ เราเห็นเขาก็เห็นใจเขาที่เป็นทุกข์ น่าจะไม่ทุกข์ น่าจะไม่โกรธ น่าจะไม่หลง เป็นทุกข์เพราะความทุกข์ มันไม่ใช่ เป็นโกรธเพราะความโกรธ มันก็ไม่ใช่ แทนที่จะเห็นมันเฉยๆ ไม่เป็นกับมัน เหมือนดูมันอย่างนี้
หลวงตาก็พูดให้ฟังนะ ก็มีเท่านี้ที่เราเกี่ยวข้องกันได้ ก็บอกความเท็จความจริงว่า ความหลงไม่จริง ความไม่หลงมันจริง ความทุกข์มันไม่จริง ความไม่ทุกข์มันจริง อย่าสละสิทธิ์กันนะ เวลามันโกรธ ความไม่โกรธมันมี ความโกรธไม่จริง ความไม่โกรธมันจริง ขบวนแห่งยุติธรรมเกิดขึ้น ถ้าเรามีความเป็นธรรมแล้ว คนอื่นก็มีความเป็นธรรม สงบร่มเย็น ถ้าเราไม่มีความเป็นธรรมก็หาความเป็นธรรมได้ยากในโลกนี้ เดี๋ยวนี้เราเรียกร้องความเป็นธรรมจากคนอื่น ไม่ใช่ ต้องตั้งต้นจากเราก่อน นับหนึ่งจากเราก่อน เสนอตัวเราก่อน เรียกว่าอัตตาธิปไตย ปรารภตนก่อน เป้าหมายแค่นี้นะ ไม่มีเสียงก็อยากพูดนะ กราบพระพร้อมกัน