แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ชีวิตของเราต้องศึกษา สิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต พวกเราก็มีอาชีพทำมาค้าขาย ทำไร่ทำนา รับราชการ เป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้เงินได้ทองมาซื้อข้าวซื้อปลากิน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานได้ ตั้งหลักตั้งฐานได้ มีที่อยู่อาศัย มีปัจจัยสี่ เราหามา ได้อาชีพ ได้ข้าวได้น้ำ ได้เงินได้ทอง ได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ที่อยู่อาศัยมา ก็ยังมีการเกิดแก่เจ็บตายอยู่ หิวข้าว ร่างกายมันหิวก็ต้องกินข้าว มีข้าวกิน เวลามันหนาวก็ต้องมีผ้าห่ม ห่มผ้า มันก็หายหนาว ถ้ามันร้อนเราจะมีพัดลม มีแอร์ มีน้ำอาบ ก็หายร้อนได้ นั่นเป็นคู่กันล่ะนั่น เรียกว่าปัจจัยอาศัย แต่มีความโกรธมาจะทำอย่างไง มีความทุกข์มาจะทำไง นี่ มีปัจจัยอาศัยเหมือนกัน เราต้องมีอาชีพ เรามีอีกเหมือนกันเรียกว่า ธรรมะ ปฏิบัติธรรม จำเป็นเหมือนกัน เวลามันทุกข์ก็ต้องมีธรรมะ เวลามันแก่ต้องมีธรรมะ เวลามันเจ็บต้องมีธรรมะ เวลามันตายต้องมีธรรมะ ธรรมะโดยการตาย ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ถ้ามันมี มันก็แก่ก็เจ็บก็ตาย เกิดดับๆ ยังไม่แก่ก็แก่ ยังไม่เจ็บก็เจ็บ ยังไม่ตายก็ตาย ตายเพราะความโกรธ ตายเพราะความทุกข์ ตายเพราะความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตายเพราะความไม่สบายกายความไม่สบายใจ มันมีอยู่ ความทุกข์
เราจึงต้องมีธรรมะป้องกันเรื่องนี้ไว้ การมีอาชีพเรานี้ ก็นี่แหละปฏิบัติธรรมนี้ มีสติสัมปชัญญะนี่ และก็เพียงแต่บอกกันได้ ต้องหัด เวลาหิวข้าวก็กินข้าว นั่นไม่ต้องบอก มันหากิน เรียกว่าสัตว์โลกรู้จักหากิน รู้จักหลบภัย แต่เวลามันทุกข์นี่ อย่าจนเหมือนกันนะ ก็บอกว่า เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ บอกเฉยๆ ทำไม่เป็น ต้องหัด อย่างนี้ต้องหัด กินข้าวอาจจะแม่ป้อน ห่มผ้าอาบน้ำ ทีแรกก็อาจจะมีพ่อมีแม่ดูแลรักษา แต่เวลาอันทุกข์เนี่ยไม่มีใครช่วยเรา เราต้องช่วยตัวเราเอง เวลาโกรธไม่มีใครช่วยได้ นอกจากเราช่วยตัวเราเอง หัดไว้ เวลาแก่ก็ต้องหัดไว้ เวลาเจ็บต้องหัดไว้ เวลาตายต้องหัดไว้ ถ้าไปหัดตอนตายมันไม่ได้ ต้องหัดไว้ก่อน ยามสงบเราฝึก ยามศึกเราจึงรบได้ เรียกว่าปฏิบัติธรรม จำเป็นเหมือนกัน เวลามันโกรธ เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ บอกได้แค่นี้ แต่ต้องไปหัดเอา จะให้มันโกรธแล้วจึงเปลี่ยน จะให้มันทุกข์แล้วจึงเปลี่ยน มันก็ไม่ได้ ให้มันมีเอาไว้ มีธรรมเหมือนมีร่มในมือ มีธรรมเหมือนนอนในมุ้งยุงไม่ได้กัด มีร่มในมือฝนตกก็ไม่เปียก
เราต้องหัดให้มีไว้ มีอะไร มีสติเอาไว้ให้เป็นเจ้าของกายเป็นเจ้าของใจ มันดีกว่าอันอื่น เรียกว่ามีพระธรรมคุ้มครองรักษา ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม(ไม่)ให้ตกไปในที่ชั่วอยู่เสมอ ถ้าไม่มีธรรมไม่มีใครรักษา จน คนโกรธคือคนจน เพราะจนธรรม มันถึงโกรธ คนทุกข์ จนธรรม เพราะจนมันถึงทุกข์ คนหลงเพราะจนธรรม เพราะจนมันจึงหลง เหมือนคนขี้เกียจขี้คร้านย่อมหาทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องอดอยากยากแค้นลำบากเป็นปฏิพก(วณิพก) ยาจกอยู่เช่นนั้น คนอื่นเขาก็มีกิน แต่เราทำไมไม่มี เพราะเราเกียจคร้าน คนที่โกรธทำไมโกรธ คนเขาไม่โกรธกันแล้ว คนที่ทุกข์ทำไมทุกข์ คนเขาไม่ทุกข์กันแล้ว คนหลงทำไมหลง เขาไม่หลงกันแล้ว เราจะยังไม่ก้าวไปสักก้าว หลงจนตาย โกรธจนตาย ทุกข์จนตาย ชีวิตเรามันมีความหมายอะไร ถ้าเกิดมาแก่เจ็บตายเฉยๆ ทำให้มีประโยชน์ เลี้ยงยากเหลือเกิน ชีวิตของเราน่ะพ่อแม่เลี้ยงยาก พ่อแม่เราอาจจะทำไม่ได้ เราลองดูเรื่องนี้ดู สักคนหนึ่งเถอะ ลูกพ่อนี้แม่นี้ ลูกสาวพ่อของแม่ ลูกชายของพ่อแม่ ให้เป็นสักคนหนึ่งเถอะ นับหนึ่งเอาไว้ แล้วชี้ ไปชี้ให้อวดแม่ดู ไปหาพ่อหาแม่ ถ้าแม่มีอยู่ ชี้ใส่หน้าอกของตัวเอง “นี่แม่ ลูกของแม่ของพ่อคนนี้ คุ้มค่าแล้ว พ่อแม่ไม่เสียค่าน้ำนม ไม่เสียค่าแรงแล้ว” ต้องไปชี้ตัวเองให้แม่ดู ให้พ่อให้แม่ดู จะเป็นอย่างไงล่ะ มีใครบ้างไปชี้หน้าอกของตัวเองให้พ่อแม่ดู เราก็มีพ่อมีแม่ นอกจากชี้หน้าอกของเราให้พ่อให้แม่ดูแล้ว ชี้หน้าอกของเรา ถ้าเป็นสามีภรรยากันก็ชี้ให้กันดู “นี่แหละ จะรับผิดชอบไม่ทอดไม่ทิ้ง” มันก็อุ่นใจ มันก็สบายใจ หัดไว้อย่างนี้ให้มันมั่นคง ไม่ใช่พึ่งอะไรไม่ได้ บางทีก็คุ้มร้ายคุ้มดี ไม่มั่นใจตัวเอง เหลวไหล
ชีวิตไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ชีวิตมันต้องเป็นชีวิต อย่าเอาลมหายใจ อย่าเอาความสุขความทุกข์เป็นชีวิต ชีวิตมันไม่เป็นอะไร เขาบอกตาย (...) ชีวิตมันไม่เป็นอะไร มันคือชีวิต ความแก่ก็ไม่ใช่ชีวิต ความเจ็บไม่ใช่ชีวิต ความตายไม่ใช่ชีวิต เดี๋ยวนี้เรามีชีวิตกันแบบไหน คิดเฉยๆ ก็ทุกข์ อยู่แค่นั้นน่ะ ชีวิตเปราะบางเหลือเกิน คิดขึ้นมาก็โกรธ คิดขึ้นมานอนไม่หลับ คิดขึ้นมาน้ำตาไหล นอนอยู่เฉยๆ ก็ทุกข์ นอนอยู่ในมุ้ง ในหับ ในแอร์ ในฟูกที่นอนอย่างดีก็ยังนอนไม่หลับ เพราะอะไร เพราะคิด ทำไมจึงคิด เพราะไม่ได้สอนตัวเองให้เป็นระเบียบ ไม่ให้เป็นระเบียบเฉพาะเรื่อง ปนเปกันไป กลางคืนก็ว่าฝัน กลางวันก็ว่าคิด กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว เอาอะไรกันแน่ ชีวิตนี่
เราจะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ มันจะมีประโยชน์อะไร พึ่งกันก็ไม่ได้ คุ้มร้ายคุ้มดี มีปัญหาทั่วบ้านทั่วเมืองเพราะใจของเรานี่ตัวการล่ะ มันมีอำนาจ แค่มีกาย มันก็ไม่ได้เป็นใหญ่ ใจเป็นใหญ่กว่า แต่ใจมันทำอะไรไม่ได้ต้องอาศัยกายนี้ทำ แต่มันก็ยังเป็นใหญ่ ตา หูว่ามันใหญ่มันเป็นอินทรีย์ อินทรีย์คือตา คือหู จมูก ลิ้น กาย ใจมันเป็นใหญ่ เอาหูไปดูมันก็ไม่ได้ เอาจมูกไปดูแทนตาก็ไม่ได้ เอาลิ้นเอากายไปดูแทนตาก็ไม่ได้ เอาใจไปดูแทนตาก็ไม่ได้ แต่ตามันต้องเป็นหน้าที่ดู เป็นใหญ่เรื่องนี้ หูก็เป็นใหญ่ในเรื่องเสียง จะเอาจมูกเอาลิ้นไปฟังเสียงก็ไม่ได้ อันนี้ใหญ่แบบนี้ แต่ใหญ่ขนาดไหนต้องเป็นใจควบคุม ได้ยินแล้ว ได้ยินทางหู ใจมันจะพอใจ มันไม่พอใจ มันไปซุกซนอยู่แบบนั้น ตาเห็นแล้วก็พอใจไม่พอใจ มาถึงใจ สงบได้จริง ก็พอใจไม่พอใจ ลิ้นได้รสก็พอใจไม่พอใจ แม้แต่ใจมันก็ยังมีอารมณ์คลุกเคล้าไปอยู่ ยิ่งมีวัตถุ รูปรสกลิ่นเสียงเข้าไปแล้ว ก็ยังเพิ่มเข้าไปอีก จนเป็นใหญ่บ้าๆ บอๆ ใจนี่ บ้าก็ว่าได้ เรียกว่า ปุถุชนคือคนบ้า
ปุถุชนคือคนบ้า ปุถุแปลว่าหนา หลงเป็นหลง เรียกว่าปุถุชน โกรธเป็นโกรธ เรียกว่าปุถุชน ทุกข์เป็นทุกข์ เรียกว่าปุถุชน มันไม่ทุกข์ก็ได้ มันไม่หลงก็ได้ มันไม่โกรธก็ได้ แต่ความหลงก็ดี เพื่อให้มันไม่หลง กลายเป็นปัญญา ปัญหามีปัญญา แต่ปุถุชนปัญหาเป็นปัญหา มนุษย์เอาปัญหาเป็นปัญญา อะไรเข้ามาเป็นภาระเป็นทุกข์เพื่อคน มนุษย์เขาไม่เอา ไปทางสูง ดูมัน เห็นมัน จะเป็นมนุษย์เป็นคน มันต่างกันตรงไหน มันเปลี่ยนตรงไหน ก็เคยบอกอยู่หนา มันทุกข์เห็นมันทุกข์ นี่มนุษย์ มันหลงเห็นมันหลง นี่ก็เป็นมนุษย์ มันโกรธเห็นมันโกรธ นี่เป็นมนุษย์ ต่อจากมนุษย์ไปก็เป็นพระ มันหลงเห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง เป็นพระ มันโกรธเห็นมันโกรธ ไม่เป็นผู้โกรธ เป็นพระ ไม่ใช่ปุถุชน มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ เป็นพระแล้ว พระในใจเป็นผู้ประเสริฐ เป็นพรหมจรรย์ ไม่เปรอะเปื้อน ถ้าไม่หัดก็เปรอะเปื้อน เหมือนดินพอกหางหมู โกรธอยู่ ๑๐ ปี ๒๐ ปีก็มี ติด มันติดเป็นจริตนิสัย ราคะจริต คิดอะไรปรุงแต่ง โทสะจริต คิดอะไรความโกรธออกหน้า โมหะจริต คิดอะไรเป็นความหลงออกหน้า เป็นจริต ต้องพุทธจริต คิดอันใดมีรู้ มีตื่น มีเบิกบาน ในหลงไม่หลง พุทธะ ในทุกข์ไม่ทุกข์ เป็นพุทธะ ในโกรธไม่โกรธ เป็นพุทธะ เป็นพระในทางใจ ประเสริฐ ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่ประเสริฐ เลวกว่าสัตว์ มีนรก มีเปรต มีอสุรกาย มีเดรัจฉาน ไปสู่ภูมิต่ำ ถ้าไม่ฝึก มนุษย์มันมีสมอง สัตว์มันไม่มีสมอง สมองก็เฉโกอยู่ขนาดนั้น มนุษย์นี่คนเรานี้มันต่ำได้ มันไปสู่อบายที่ไหนก็ได้ ภูมิอะไรก็ได้ อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ จนสูงสุด เรียกว่ามรรคผลนิพพาน จุดหมายปลายทางชีวิตเรา จึงมีศาสนาให้เราปฏิบัติ การปฏิบัติก็ทำกันแบบนี้ เอากายเป็นตำรา เอาใจเป็นตำรา เอาสติเป็นนักศึกษา ให้เห็นแจ้งทั้งหมด จบ จนจบไม่มีอะไรจะทำอีก เหมือนพระพุทธเจ้าว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว จบแค่นี้แล้ว แผ่นดินสุด แจกของส่องตะเกียง เลี้ยงคนทั้งโลกไป จนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ มากว่าเกือบ ๓,๐๐๐ ปีแล้ว เกือบ ๓,๐๐๐ ปีแล้ว ๒,๙๐๐ ใช่ไหม นับจากปรินิพพาน ๒,๕๕๓ นับการตรัสรู้อีก ๔๕ ปี ๒,๕๐๐ กับ ๔๕ ก็ ๙ ๓ กับ ๕ เป็นเท่าไร เป็น ๘ (หัวเราะ) ๒,๕๐๐ / ๒,๖๐๐ เฮ้ย มันไม่มีสมอง มันเสื่อมแล้ว (หัวเราะ) จนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ ไม่มีเปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ
คนในยุคไหนก็เป็นอย่างนี้ มีกายมีใจ ประเทศไหนก็มีกายมีใจ โกรธก็เหมือนกัน ทุกข์ก็เหมือนกัน เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ร้อนหนาวเหมือนกัน มีกายมีใจ ปัญหาก็อยู่ที่กายที่ใจ แก้ปัญหาก็แก้ที่กายที่ใจนี่ นี่จึงมามีสติใช่ไหม หัดให้มีสติไปในกาย เป็นเจ้าของซะ อย่าให้ความหลงเป็นเจ้าของ ความทุกข์ความโกรธเป็นเจ้าของ ชีวิตเราผ่านมาถึงปูนนี้ อะไรเป็นเจ้าของชีวิตเรากันแน่ หลงนานเท่าไร มาดูซิ เวลาเรามานั่งลงยกมือสร้างจังหวะ ๑๔ จังหวะ มันหลงกี่ครั้ง นาทีหนึ่ง ชั่วโมงหนึ่ง หลงกับอะไร หลงกับรู้อะไรมากกว่ากัน น่ากลัวนะ ปัดโถ ๓๐ ปีแล้วไม่เคยเห็นเรื่องนี้เลย ปล่อยให้ความคิดไหลไปตลอดเวลา ไม่เคยดูความคิด ไม่เคย ไม่เคยหยุดความคิด พอมาดูแล้ว โอ้ย น่ากระตือรือร้น เหมือนยกทัพช่วยตัวเอง ดูแลกายดูแลใจ เป็นเจ้าของกายเป็นเจ้าของจิตใจ ขนหัวลุกเมื่อดูชีวิตที่ผ่านมา ไม่ได้ช่วยตัวเองเลย ทุกข์ก็ไม่รู้จักเปลี่ยน นอนอยู่กับทุกข์ วิ่งพอใจเวลาทุกข์เวลาโกรธ คิด แข่ง ความคิดนี่สุดยอดเลย คิดได้สารพัดอย่าง บ้าๆ บอๆ ไปทั้งหมด ความคิดนะไม่เคยช่วย ไม่เคยหักไม่เคยห้าม ไม่เคยมีสติ พอมามีสติดูแล้วล่ะ โถ กระตือรือร้น เปลี่ยนความคิดให้มีสติขึ้นมาน่ะมันถูกที่สุด เปลี่ยนความทุกข์มีสติ เปลี่ยนความโกรธเป็นไม่โกรธ โอ๊ย มันดีที่สุดเลย มาเถอะ มาเท่าไรเปลี่ยนได้ ปฏิบัติได้ ปฏิบัติได้ให้ผลได้ มันหลง เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง มีสติ มันก็ไม่หลงจริงๆ ความหลงกับความไม่หลงก็ต่างกันจริงๆ นะ ความทุกข์กับความไม่ทุกข์ก็ต่างกันจริงๆ โดยเฉพาะเปลี่ยนขณะที่มันเป็นนั่นน่ะ มันถูกที่สุด
เมื่อเราซ่อมอะไรที่มันเสียให้มันดีขึ้นมา มันใช้ได้ นั่นก็ใช้ได้ มันดีกว่าเก่า ทำไมเราไม่ซ่อมตัวเอง ไม่แก้ให้มันดี อันอื่นยังทำได้ เป็นนายช่างจนมีอาชีพ แต่ไม่รู้จักซ่อมตัวเอง ไม่รู้จักเอาตัวเองเข้าอู่ซะหน่อย มีแต่รอยรัก รอยโกรธ รอยสุข รอยทุกข์ รอยแค้น รอยเสีย รอยได้ ในหัวใจเต็มไปหมดแล้ว เรามาซ่อมซะ มันก็ดีขึ้นมา มันหลง เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง ซ่อมแล้ว ดีกว่าเก่า มันโกรธ เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ ซ่อมแล้ว มันทุกข์ เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ ซ่อมแล้ว มันวิตกกังวลเศร้าหมองอาลัยอาวรณ์ เปลี่ยนมาเป็นภาวะที่รู้ ซ่อมแล้ว เปลี่ยนอยู่เสมออย่างนี้ มันจะไม่มีรอย มันจะหมด มันดี ไม่มีรอย เดี๋ยวนี้รอยบาปอาจจะมีนะ คิด ทำบาปเอง เศร้าหมองเอง ยังเศร้าหมองเพราะความชั่วของตน มีเหมือนกัน ผิดศีลข้อไหน ทำให้ใครเดือดร้อน ทำให้อะไรที่เสียหาย มันจะมีรอยบาปเศร้าหมอง ปฏิบัติธรรมมาศักดิ์สิทธิ์ ตัดออก ตัดกรรม อย่าไปคิดอันนั้น กรรมคือไปคิดอีกเสมอ คือกรรม การกระทำทางความคิดเป็นกรรมนะ บางทีก็เศร้าหมอง พอคิดขึ้นมาเป็นกรรม ทำให้ตัวเองเป็นบาป นอนไม่ค่อยหลับ เรียกว่ากรรม อะไรดีได้ แต่ทำเรื่องนี้ไม่เป็น ไม่รู้จักสละบาปออกจากชีวิตของเรา ให้เป็นบุญ บาปคือความชั่วร้ายเศร้าหมอง บุญคือใจดี บาปคือใจร้าย ไม่รู้จักแก้ก็เปลี่ยนไม่เป็น บาปที่ใจมันร้ายมันดุ ให้มันใจดีมีเมตตากรุณา ก็ไม่ได้ลงแรงอะไร เพียงเปลี่ยน หัดเปลี่ยน ปฏิบัติธรรม คือเปลี่ยนอย่างนี้ เรียกว่าทำบุญ มีแต่ไปทำแต่ภายนอก
ทานก็เหมือนกัน วัตถุทานนะ วัตถุทาน ให้วัตถุสิ่งของมันก็เป็นประโยชน์ อย่างศาลาหลังนี้ มีคนทานมา พ่อทายกจง พ่อทายกเปรม พ่อทายกสุข บ้านใหม่อยู่นี่ หลายคนที่ทานเอามานี่ ผู้ที่ให้เสาก็เป็นเสาอยู่ ผู้ที่ให้กระดานก็เป็นกระดานอยู่ ผู้ที่ให้ขื่อให้หลังอะไรก็เป็นอยู่ อาศัยได้ อันนี้วัตถุทานอาศัยได้ ไม่เสียไปไหน มีรอยในหัวใจเรา ถ้าเราเคยทำมันก็มีรอย รอยบุญ รอยความดีว่า ทาน วัตถุทาน ให้ข้าวให้น้ำ ก็มาเป็นเลือดเป็นเนื้อ เป็นชีวิตของพวกเรา เราก็มีชีวิตเพื่อทำความดี มันก็มีประโยชน์
ทานอันที่สองคือ อภัยทาน อย่าถือโทษโกรธเคืองกันไป ให้อภัยกันบ้าง คืนดีกันได้บ้าง คืนได้ อภัย คือให้อภัยแล้วไป ชั่งหัวมันเถิด ไม่เป็นไร เคยชั่งหัวมันไหม พ่อทายกจง หา หรือไม่ได้เคยทำมัน ทำแต่อ้อยรึ (หัวเราะ) ชั่งหัวมัน เอ้า เล่าชั่งหัวมันหน่อย มีย่าด่าลูกสะใภ้เก่ง ลูกสะใภ้กะย่าไม่ค่อยถูกกันนะ เวลาย่าด่าทีไร ลูกสะใภ้ก็อุ้มลูกใส่เอว “ไปลูก ไปชั่งหัวมันเถิดเรา” เวลาย่าด่าทีไร อุ้มลูกขึ้นเอว “ไป ลูกไป ไปชั่งหัวมัน” ก็ไม่เห็นชั่งหัวมันที่ไหน เวลาย่าด่าทีไร ลูกสะใภ้ก็ “ชั่งหัวมัน ลูกไป” พูดกับลูกชาย “เอ แหม กูด่ามันทีไร มันทำไมชั่งหัวมันทุกที” รู้จักไหมพ่อเปรม ชั่งหัวมันคืออะไร (หัวเราะ) ใครว่าก็ชั่งหัวมันนะ จะไม่ทะเลาะกันนะ ไม่โกรธย่าเลย ลูกสะใภ้ไม่มีโกรธย่าเลย ยิ้ม ชั่วหัวมันเถอะล่ะ เขาว่าอะไร ชั่งหัวมัน นี่คือให้อภัย อภัยทาน ไม่ทะเลาะกันนะ ดีกันได้ คืนกันได้ เรามักเป็นอย่างนั้นนะ ถ้ากูได้โกรธตายไม่ลืมน้อนั่นน่ะ ไม่ชั่งหัวมันเลย ถ้ากูได้โกรธตายไม่ลืมนะ ถ้ากูได้โกรธกูไม่ด่ามันกูไม่ยอม ถ้ากูได้โกรธกูไม่ฆ่ามัน กูไม่ยอม ขนาดนั้นก็มี ฆ่ากันจนได้ บ้านเมืองเดือดร้อนเพราะเรื่องนี้กัน ความเห็นเฉยๆ ก็ทะเลาะกัน แทนที่จะพูดกัน ไปกันได้ อภัยทาน
ธรรมทาน ธรรมทานนี้คืออะไร อะไรที่มันไม่ดี เปลี่ยนให้มันดี เวลามันหลงเปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง ธรรมทาน เวลามันโกรธ เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ เป็นธรรมทาน ทานอันนี้ไม่หมดไม่สิ้น นอนทาน นั่งทาน เดินทานได้ ตั้งโรงทานในชีวิตของเรา มีแต่ให้อภัย มีแต่คิดจะช่วยเหลือ น้อมใจเฉยๆ ก็คิดจะช่วยอะไรหนอ เหมือนพระพุทธเจ้า พอตี ๓ ตี ๔ ก็คิดจะไปช่วย ก็หนอ มองเห็นใครหนอพอที่จะไปช่วยได้หนอ มันก็มีปัจจุบันนะ เช่น พระพุทธเจ้าประทับที่เชตวัน เมืองสาวัตถี ขณะนั้นโจรองคุลีมาลกำลังอาละวาดฆ่าคน พระเจ้าปเสนทิโกศลประกาศให้ทหารหาญไปจับองคุลีมาลฆ่า มันโจษรอบบ้านรอบเมือง ประกาศทั้งเมืองเลย พระพุทธเจ้าก็ประทับอยู่ที่เชตวันก็ได้ยินเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันเห็นอยู่ได้ยินอยู่ได้ข่าวอยู่ พระพุทธเจ้าก็มาคิดว่า เอ้อ องคุลีมาลนี่ เหตุที่มันเป็นโจร มันไม่ใช่เรื่องอะไร มันเข้าใจผิด อาจารย์สอนผิดๆ ขอเล่าสักหน่อยได้ไหม (หัวเราะ)
อาจารย์สอนผิดว่า องคุลีมาลเรียนเก่ง เป็นเด็กเขาไม่ได้ชื่อองคุลีมาลนะ แต่ก่อนเขาชื่อว่าอหิงสกะกุมาร บ้านองคุลีมาลกับบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีน่ะเท่ากันนะ ฐานะ ติดกัน เห็นกัน ใกล้ๆ กัน เวลาเราไปดูสาวัตถีนี่ เชตวันนี่ ไปดูบ้านองคุลีมาลกับบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี่ ใครๆ ก็ไปดูนี่ กองอิฐใหญ่โตเท่าภูเขาเล็กๆ เท่าๆ กันกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี พ่อก็ตั้งชื่อว่าอหิงสกะกุมาร พอโตขึ้นมาก็ไปเรียนหนังสือ เก่งมาก เรียนเก่งกว่าเพื่อน เพื่อนอิจฉา เห็นเรียนเก่ง เพื่อนนักเรียนห้องเดียวกันอิจฉา ไปฟ้องอาจารย์ อาจารย์ก็สอนอะไรได้หมด ลูกศิษย์ทั้งหลายไปฟ้องอาจารย์ รวมหัวกัน องคุลีมาลวางแผนจะฆ่าอาจารย์ อาจารย์ก็หูเบาเชื่อลูกศิษย์บ้าๆ บอๆ ต้องให้องคุลีมาลหนีไป อาจารย์ก็ยังไม่เห็นมีอะไรแปลก เขาเรียนเก่ง ก็พยายามสอนเขา ลูกศิษย์ก็มาฟ้องอยู่ ก็เลยเชื่อ ถ้าจะฆ่าลูกศิษย์ก็ไม่ฆ่าได้ เพราะต่อไปจะไม่มีใครมาเรียนหนังสือ จะไม่มีลาภสักการะ จะหาวิธี จะทำยังไงให้องคุลีมาลหนีจากที่นี่ไปตายซะ อาจารย์ก็บอกว่า องคุลีมาลเรียนอะไรก็จบหมด เหลือวิชาเดียว วิชาที่ต้องเรียนต่อไปนี้ ต้องไปฆ่าคนให้ได้พันคนจึงมาเรียนได้ ถ้าไม่ฆ่าคนถึงพันคนเรียนไม่ได้ วิชานี้เป็นสุดยอดที่สุดเลย
องคุลีมาลก็ขอร้องอาจารย์ว่า “ข้าพเจ้าเป็นตระกูลของพราหมณ์ผู้ลอยบาป บิดามารดาไม่เคยสอน จะทำได้อย่างไง” “ถ้าเธอไม่ทำเรื่องนี้ก็เรียนไม่ได้ อีกวิชาเดียว นอกนั้นจบหมด ไม่มีใครลูกศิษย์ทั้งหมดเรียนวิชานี้ได้ ก็จบแค่นี้” ก็เลยต้องจำใจว่าต้องไปฆ่าคนให้ได้พันคนมา มาเรียนต่อ องคุลีมาลก็เชื่ออาจารย์ สวนทางเต็มที่ ไม่ได้คิดเลย แต่ว่าอยากได้วิชานี้ ไปฆ่าคน การจะฆ่าคนทำไง ต้องมีเครื่องมือมีดาบ หาพันคนฆ่า พันคนนับไป ๑ คน ๒ คน ๓ คน มันลืม คนที่จะฆ่าคนนี่ก็ลืม เอ๊ะ พอมันลืมก็ทำไงดี ไปเอานิ้วมือมาเป็นพวงมาลัยห้อยแขวนคอไว้ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ก็เลยเรียกองคุลีมาล คุลีคือนิ้วมือ เอามาห้อยคอไว้จึงจำได้ หนที่สุดก็ไปแถวบ้านตัวเอง สาวัตถี ใครออกจากเมืองมาก็ฆ่า
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ประกาศให้ทหารหาญไปจับประหาร ฆ่าองคุลีมาลทำให้ชาวเมืองเดือดร้อน พระพุทธเจ้าได้ยิน ก็เออ เหตุที่องคุลีมาล มันเป็นเรื่องนี้ ไม่ใช่คนชั่วเลวทราม ฝืนความรู้สึกของเขา ที่ไปฆ่าคนเพราะอาจารย์สอนผิด เราไปช่วยเขาลองดูซิ ถ้าเราไม่ไปช่วยเขา พ่อแม่เขาก็คงไปช่วยลูก พ่อแม่ก็ยังอยู่ก็จะไปช่วยลูกชาย แม้ลูกชายเป็นโจรขนาดไหน ก็ต้องไปบอกว่า “ลูกเอ๋ย เขาจะฆ่าเจ้า ให้รีบออกจากที่นี่ซะ” แม่กับพ่อจะไปก่อน ก็คิดไป ถ้าพ่อแม่ไปแล้ว องคุลีมาลนี่กำลังเป็นโจร กำลังหลงอยู่เรื่องนี้ อาจจะฆ่าพ่อแม่ตาย ก็องคุลีมาลถ้าฆ่าพ่อแม่ตายเสียแล้ว องคุลีมาลก็อนันตริยกรรม บาปหนัก พระพุทธเจ้าจึงคิดเสนอตัวเองว่า เราจะต้องไปก่อน ก่อนที่พ่อแม่จะไป เราต้องไปก่อนในเช้าวันนี้
พระพุทธเจ้าจึงไป เสด็จไปก่อนในป่านั้นตอนเช้า พอไป องคุลีมาลก็เห็นอยู่ ก็เตรียมอยู่แล้ว ก็ซ้าดเข้ามา วิ่งถือดาบไล่ พระพุทธเจ้าก็วิ่ง อาจจะวิ่งนะ (หัวเราะ) องคุลีมาลก็บอกว่า “หยุดๆ หยุด” พระพุทธเจ้าก็ยังวิ่งอยู่ “หยุดแล้ว เราหยุดแล้ว” “หยุดอะไร มันวิ่งได้ยังไง สำนักอะไร โกหก กำลังวิ่งอยู่ก็ยังว่าตัวเองหยุด หยุด” “เราหยุดแล้ว องคุลีมาล เธอยังไม่หยุด” “หยุดอะไร วิ่ง” “เราหยุดทำชั่วแล้ว เธอยังไม่หยุดเลย ยังจับดาบไล่ฟันเราอยู่ เราหยุดแล้ว องคุลีมาล เราหยุดแล้วๆ เธอยังไม่หยุด” องคุลีมาลสำนึกได้ขึ้นมาทันที ทิ้งดาบลง ก้มร้องไห้ทันทีเลย สำนึกขึ้นมา “โอ้ โถ เกิดมาในโลกไม่มีใครพูดเรื่องนี้เลย จริงๆ เราไม่หยุดเลย เราฆ่าคนมานับดู นิ้วมือเต็มคออยู่ โอ๊ย เราไม่หยุดเลยน่ะหนา เราเบียดเบียนคน ไม่รู้สึกตัวเลย อาจารย์เรา” หยุด ทิ้งดาบเข้าป่า ดึงพวงมาลัยที่เป็นนิ้วมือ เรียกว่าคุลี องคุลี ออกทิ้ง “อาจจะเป็นนี้ละมั้ง ที่ว่าสิทธัตถะโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า อาจจะเป็นองค์นี้ล่ะมั้ง อาจจะเป็นองค์นี้แหละ ใช่แล้วๆ อาจจะเป็นรูปนี้แหละ” เสียใจมาก ได้ยินแต่กิตติศัพท์ว่า สิทธัตถะโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะออกผนวช ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า “โอ้ย ไม่เคยได้ยินเลย อาจจะเป็นองค์นี้ล่ะมั้ง สมณะรูปนี้แหละ” นอนหมอบอยู่กับที่เลย พระพุทธเจ้าก็เดินกลับมา กลับมาแสดงธรรมให้ฟัง ก็เลยจับลุกขึ้น เดินตามพระพุทธเจ้าเข้าไปเชตวัน องคุลีมาลก็สำนึกขึ้นมาอีกอย่าง ความโกรธเป็นความไม่โกรธ กำลังจะฆ่าเปลี่ยนเป็นการไม่ฆ่า พลิกกลับขณะนั้นเลย เขาก็มีจิตใจที่ดี อ้อนวอนขอบวช ขอบวชเป็นสงฆ์ ขอห่มผ้ากาสาวพัตร์ หัวใจมันเต็มเปี่ยม ได้ยินคำว่า “หยุดแล้วๆ เราไม่หยุด” เปลี่ยนเร็ว หักดิบเลย หักดิบมาได้นะ มันหักได้เลยทันทีเลย ลองดูเปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ มันประเสริฐจริงๆ นะ ที่สุด พระพุทธเจ้าก็บวชให้องคุลีมาล เอหิภิกขุอุปสัมปทา
พอดีตอนสาย พระเจ้าปเสนทิโกศลจะไปฆ่าโจรองคุลีมาล พระเจ้าแผ่นดินน่ะจะไปปรึกษาพระพุทธเจ้า ก็เลยพาทหารหาญไปเชตวัน ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ข้าพระองค์จะไปปราบโจรองคุลีมาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อนในวันนี้ เตรียมแล้วศัตราวุธเข้าไป พระพุทธเจ้าจะเห็นเป็นประการใด” กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าก็พูดขึ้นว่า “องคุลีมาล (พระเจ้าแผ่นดิน ไม่รู้จักภาษาศัพท์นะ (หัวเราะ)) ถ้าองคุลีมาลให้บวชเป็นพระ จะทำไง” พระเจ้าปเสนทิโกศล “ถ้าบวชเป็นพระสงฆ์ ข้าพุทธเจ้าก็จะกราบไหว้ถวายทานให้อุปถัมภ์เหมือนพระสงฆ์ทั้งปวง เพราะว่าศรัทธาต่อพระสงฆ์ ถ้าเธอ องคุลีมาลมาบวชก็จะกราบจะไหว้ จะถวายสักการะ ให้จีวรให้บิณฑบาต ดูแลอุปถัมภ์เหมือนพระสงฆ์อื่นๆ” พระพุทธเจ้าเลยชึ้ไปองค์นี้ องคุลีมาลน่ะบวชอยู่น่ะ นั่งอยู่น่ะ (หัวเราะ) เป็นรูปสูงๆ นะ สูงๆ เนี่ย นั่งอยู่ตรงนั้น เป็นตระกูลพราหมณ์นะ นั่นนะ องคุลีมาลนั่งอยู่นั้นน่ะ (หัวเราะ) พระเจ้าปเสนทิโกศลก็จำได้ ใช่แน่ ใช่แน่ๆ มันอยู่สาวัตถี อยู่ใกล้ๆ กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี อหิงสกะกุมาร ใช่แล้ว ก็เลยกราบองคุลีมาล บริวารทั้งหลายก็วางอาวุธลง เดินเข้าพระนครสาวัตถี
คิดแต่ไปช่วยแต่คน พระพุทธเจ้านะ ตี ๔ ตี ๕ บิณฑบาต ๖ โมงไปบิณฑบาต กลับมาฉัน ๙ โมงก็อบรมพระ สั่งสอนพระสงฆ์ ให้โอวาทแก่พระสงฆ์ กิจ ๕ อย่างของพระพุทธเจ้า จำไม่ได้ ตอนเย็นก็แสดงธรรมแก่พระสงฆ์วันละ ๒ ครั้ง ตอนดึกตอบปัญหาเทวดา ประมาณดึกๆ พวกเทวดาจะมาถามปัญหา หมายถึงคนที่เป็นเจ้าขุนนางทั้งหลายออกมาสนทนาธรรม ตี ๔ ตี ๕ ก็ตรวจดู ผู้ใดหนอที่จะฟังธรรมได้ ประวัติในพระสูตรเล่าเรื่องเหล่านี้ ไปโปรดมิจฉาทิฏฐิ ความคิดเห็น มิจฉาทิฏฐิคนนี้อาจจะมีโอกาสบรรลุธรรมได้ ไปโปรด ไปโปรดคนนั้น ไปโปรดคนนี้ อยู่ที่เชตวัน ไปโปรดลูกสาวนายช่างปั้นหม้ออย่างนี้ เพราะคิดจะช่วยคนนั่นแหละ ช่วยคนทั้งโลก
จนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ เพราะมีจริงๆ ความหลง-ความไม่หลงมันมีจริงๆ นะ อย่าจนเถอะพวกเรา ความทุกข์-ความไม่ทุกข์ก็มีจริงๆ แต่ใครยังทุกข์อยู่ ก็มีโอกาสเปลี่ยนได้ๆ ไม่ทุกข์ก็ได้ มันโกรธเปลี่ยนไม่โกรธก็ได้ ๑๐๐% ไม่ต้องขออนุญาตจากใคร แต่ต้องหัดนะ โอ๊ย หลวงตา หนูโกรธแล้ว คราวนี้ไม่โกรธได้ไหม ไม่มี เปลี่ยนได้เลย ให้เปลี่ยนเป็นไม่โกรธ เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ทันทีแหนะ ต้องหัดสตินะ ที่จำเป็นนี้ต้องมีความรู้นี่ก่อน มันคิดไป-กลับมา มันคิดไป-กลับมา ปฏิบัติธรรม คือสอนกายสอนใจ มันรู้อยู่เสมอมันก็ทำได้ ปฏิบัติได้อย่างนี้ เรียกว่าปฏิบัติได้ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
ที่เราสาธยายพระสูตรทำวัตรเช้า สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ดีจริงๆ จะเพิ่มจะตัดก็ไม่ได้ ความหลงก็มี ความไม่หลงก็มีเท่านี้ คู่กันเหมือนหน้ามือ-หลังมือนี่ เวลามันหลงเหมือนหลังมือ ไม่หลงเหมือนหน้ามือ อย่างนี้ อยู่ด้วยกันมาพร้อมกันนั่นแล้ว เวลามันเกิดมีความไม่เกิดมาพร้อมกัน เวลามันแก่มีความไม่แก่ เวลามันเจ็บมีความไม่เจ็บ เวลามันตายมีความไม่ตาย มองอย่างนี้ เรื่องแก่เรื่องเจ็บเรื่องตายเป็นโจทก์ของชีวิตเรา เราตกเป็นจำเลยของเรื่องนี้ มันก็ไม่ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ให้เหนือนี่ไป ก็มีคำ มีสิ่งที่มงกุฏธรรมเรียกมรรคผลนิพพาน เหนือการเกิดแก่เจ็บตายนะ และเวลาเห็น เวลามันโกรธเห็นมันโกรธ เปลี่ยนโกรธไม่โกรธไม่เป็นผู้โกรธ นั่นน่ะ มงกุฎ ไม่โกรธเป็นมงกุฎ เวลามันทุกข์เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ นั่นน่ะ มันก็เปลี่ยนได้ เห็น มีแต่เห็น ไม่เป็นอะไร ไม่เป็นอะไรกับอะไร สุดยอดเลยชีวิตของเรานี่ กระโดดเข้าไปเถอะ เวลามันหลงให้มีกำลังแกร่งกล้า ถลาออกถึงความไม่หลง อย่าไปยอมมัน มีกำลังใจ มีสตินะ