แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน ให้ได้ชินได้ฟังเอาไว้ ก็นำไปปฏิบัติด้วย นำไปทำด้วย เพราะเรามีกายมีใจ กายใจก็เกี่ยวข้องกับภายในภายนอก จึงต้องปฏิบัติธรรมให้มันถูกต้อง ถ้าทำกับกายกับใจ กับภายนอกภายในไม่ถูกต้อง มันก็มีโทษมีภัย มีปัญหาต่อตัวเองและคนอื่น จำเป็นเราต้องปฏิบัติธรรม เพราะเรามีอะไรที่เกี่ยวข้องด้วยกันกับตัวเราบ้าง กับคนอื่นบ้าง กับสิ่งอื่นวัตถุอื่นบ้าง เรียกว่าวัตถุ อาการต่างๆ มันมีอยู่ ปฏิเสธไม่ได้
ในตัวเรานี้ก็มีสภาวะที่หลง มีสภาวะที่รู้ มีสภาวะที่สุข มีสภาวะที่ทุกข์ มีสภาวะที่ไม่สุข มีสภาวะที่ไม่ทุกข์ มีของเป็นคู่ มีของเป็นคี่ ของเป็นคี่เรียกว่าพรหมจรรย์ ของเป็นคู่เรียกว่ารสของโลก สุขกับทุกข์เป็นคู่กัน ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีคู่ บริสุทธิ์ อันนี้เรียกว่าเราก็มีอยู่ ปฏิเสธไม่ได้ บางทีก็หลงไปในความสุข ความสุขกลายเป็นความสุข ความทุกข์ก็เป็นความทุกข์ เหมือนร่มเงาของก้อนเมฆ เวลาก้อนเมฆบังดวงอาทิตย์ก็มีหมดร่มเงาบ้าง เวลาก้อนเมฆออกจากดวงอาทิตย์ ก็มีร้อน สุขทุกข์มันไม่ใช่ตัวใช่ตน มันเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคน แต่บางคนอาศัยสิ่งเหล่านี้ ฝากไว้กับสิ่งเหล่านี้ อาศัยความสุข เกลียดความทุกข์ มันก็ไม่สำเร็จสักที ถ้าเรามาศึกษาดู ปฏิบัติดู ระหว่างความสุข ความทุกข์ และมีสติเห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ มันจะมีอีกโลกหนึ่ง กับชีวิตของเรา ไม่ใช่จะมีแต่สุข แต่ทุกข์เท่านั้น มันมีอันไม่สุขไม่ทุกข์อยู่ มันก็จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา พร้อมด้วยพระธรรมคำสอน พอเห็นเรื่องนี้ สิ่งไหนที่ขี้ริ้ว พระองค์เขียนออกหมดแล้ว สิ่งไหนที่คว่ำ เปิดหงายแล้ว สิ่งไหนที่ปิด เปิดออกแล้ว สิ่งไหนที่มืด ส่องแสงสว่างไปที่นั่นแล้ว สิ่งไหนที่หลง บอกให้คนหลงทางแล้ว อะไรที่เป็นโทษเป็นภัย พระพุทธเจ้าสอนไว้หมด เหมือนหลวงตาไปอยู่สหรัฐฯ ไปเที่ยวรัฐต่างๆ บางแห่งเขามันมีภัย งูพิษแถวแอลเอ ถ้าตรงไหนมีพิษ มีสัตว์มีพิษ มีงู งูพิษ เขาก็ล้อมลวดหนามไว้ ไม่ให้คนเข้าไป เผื่อมันจะมีอันตราย เลี่ยงรถเป็นหลายชั่วโมง เห็นส่วนที่เขาไม่ให้คนเข้าไป ในป่า งูพิษ มันมองไม่เห็นมันอยู่ใต้ดิน เอาหัวมันขึ้นมาเพื่อล่าสัตว์ บางทีเอาหางมันขึ้นมา ล่าสัตว์ ถ้าสัตว์ประเภทใด มันเห็นหางมันกระดิกดิ๊กๆ ว่าแมลง มันก็ไปกัดไปจิกก็กัดเอาเป็นอาหารมัน คนไม่ค่อยสังเกตก็อาจจะถูกงูพิษกัด จึงล้อมรั้วไว้ ป้องกันไว้ ไม่ให้คนทั่วไปมามีอันตราย แม้แต่แคมป์ต่างๆ ที่พักต่างๆ ที่เขาจัดเป็นแคมป์ให้คนไปพักผ่อนในป่าในดง เขาก็จัดให้ปลอดภัย ถ้ามีเห็บกวางเยอะ เขาก็ไปพ่นยา ปราบเห็บกวางในรัศมีที่ปลอดภัย ก็ลาดปูนไว้เป็นแคมป์ๆ เป็นจุดๆ ให้คนไปกางเต็นท์ นี่เรียกว่าเพื่อความปลอดภัย
กวางตาย รถชน ข้างถนน วันละหลายตัว ตามถนนสายต่างๆ เพราะกวางมันเยอะ ไม่ให้คนกิน ไม่ให้คนชำแหละเนื้อ ถ้าคนจะกินเนื้อสัตว์ต้องผ่านกระทรวงสาธารณสุขมาตรวจสอบก่อน จึงชำแหละเนื้อได้ เขาก็ไม่ตรวจ เวลากวางตาย ก็มีรถกรมทางมา แม็คโครมายกไป แล้วก็เอาแม็คโครขุดลงฝังข้างถนน ไอ้นี่เขาป้องกัน พระพุทธเจ้าเสมือนกับสาธารณสุขนั่นแหละ ป้องกันไม่ให้คนตกไปในที่ชั่ว ตกไปในความทุกข์ แล้วอันนั้นมันเป็นภายนอก ป้องกันอาหาร ป้องกันที่อยู่อาศัย ป้องกันเครื่องกินเครื่องใช้นั้นเป็นปัจจัยภายนอก
ส่วนปัจจัยภายใน คือกาย คือใจเรานี่ เราจะป้องกันอันนั้นมันดีขนาดไหน แต่ว่าความสุข ความทุกข์ ความหลง ความโกรธ ความโลภ กิเลสตัณหา ภัยยังมีอยู่กับชีวิตเรา ในกายเรานี่ ในใจเรานี่ เราจึงมาปฏิบัติธรรม ฝึกตนสอนตน เตือนตนเวลามันผิด ก็เตือนตนเองให้รู้ โดยเฉพาะภาวะที่รู้สึกตัวเนี่ยเป็นสากล ตรัสไว้ดีแล้ว อะไรก็ตามที่เกิดกับกายกับใจ มีตัวรู้สึกตัว สภาพที่รู้สึกตัวเนี่ย เป็นธรรม ถ้ามีความรู้สึกตัวมันก็เฉือนความหลงหมดออก ไม่ต้องไปทำอะไร ง่ายๆ ถ้ามีความรู้สึกตัว ความทุกข์ก็เฉือนออกแล้ว ความสุขก็เฉือนออกแล้ว เฉือนส่วนขี้ริ้วทิ้งไปแล้ว ถ้ามีความรู้สึกตัว สิ่งที่ไม่ถูก สิ่งที่เป็นโทษก็หมดไปๆ สิ่งที่เจริญก็เจริญขึ้น ถ้ารู้สึกตัวมากขึ้นๆ มันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ต่อเนื่องเป็นนิสัยเป็นปัจจัย ชีวิตของเราต้องฝึกตนเองให้เป็นนิสัย ไม่ใช่การกระทำภายนอกอย่างเดียว ภายในด้วย มีนิสัยด้วย ได้ชีวิตเหมาะสมกับธรรม กับสมมติ กับบัญญัติ กับวัตถุอาการต่างๆ ให้เหมาะสม
ทำกับสิ่งใดไม่เหมาะสม ประมาท นิดเดียวก็ผิดพลาดได้ จึงหัดให้เป็นนิสัย อะไรที่ไม่ดีไม่งามอยู่ในกายในใจเรานี่ก็รู้ หยาบๆ ไปหาละเอียด ความโกรธมันหยาบ อันนิสัยมันลึกกว่านั้น บางทีความโกรธมันหยาบมามากจนไม่รู้ บางคนโกรธไม่รู้ว่าตัวเองโกรธ ไม่รู้ว่าตัวเองผิด มันหยาบคาย แสดงออกดุด่ากัน วิ่งเข้าหากัน ทำลายกัน มันหยาบขนาดมองไม่เห็น คนอื่นมองเห็นก็วิ่งกันหนี แต่บางคนเขาฝึกแล้ว พอมันจะเกิดความโกรธขึ้น คิดขึ้นมา มันรู้แล้ว มันแสดงออกไม่ได้ มันควบคุมแล้ว อะไรก็ตามที่มันเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย อันมีนิสัยแล้ว ต้องหัดเรียนรู้ไว้ให้มีนิสัย อะไรก็ตามที่มันจะไม่ใช่ความรู้ เป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นอะไรต่างๆ ไปหัดให้มีสติ อย่าไปเกี่ยวข้อง อย่าประมาทในความสุข อย่าประมาทในความได้ ความสะดวกสบาย บางทีมันก็พาให้หลงได้ บางทีติดสุข ติดได้ก็มี อะไรก็ได้ๆ ก็ติดการได้ เมื่อมีได้ก็ต้องมีเสีย เมื่อเสียแล้วก็ไม่ค่อยพอใจ
สมัยหลวงตาไปอยู่เมืองเลย มีพระรูปดังเป็นเจ้าคุณ ไปดิเรกลาภเยอะแยะ มีช้างสี่เชือก มีบ้านพักเป็นโรงแรม มีนา ท่านคิดว่าจะต้องมีทั้งสองอย่าง ฐานะทางทรัพย์สมบัติก็ไม่มี ฐานะทางศีลทางธรรมก็ไม่มี ได้ศาลาไม่รู้กี่หลังในวัดนั้น โบสถ์ก็ใหญ่โตกว่าโบสถ์คนอื่น ก็มีแต่รายได้ สมัยแร่ทองคำอยู่หาดทรายแม่น้ำโขง คนไปร่อนแร่ทองคำ เจ้าคุณรูปนี้ก็ไปนั่งเอาบาตรวางไว้ กับชาวบ้านที่ไปร่อนแร่ ชาวบ้านได้แร่ก็มาใส่บาตร แบ่งปันกันก็ได้แร่ทองคำมา แปรเป็นเงินเป็นทอง ซื้อข้าวซื้อของ
หลวงตาเคยไปจ้างช้างมาลากไม้ขึ้นห้วย สมัยอยู่พุทธญาณ ไม้ในห้วย ไม้ท่อนใหญ่อยู่ในห้วย ไปจ้างญาติโยมอุปทายก ไปจ้างช้างเจ้าคุณมาสองเชือกเลย มาดันท่อนไม้ขึ้นห้วย เป็นช้างลากซุงเรา สงสารมัน คนขี่ช้าง ควาญช้างเขาไม่ให้หลวงตายืนดูมัน มันน้อยใจถ้าเราไป โอ้ น่าสงสาร มันจะไม่ไปเลย มันไม่ให้บอก ไม่ให้พูด ตัวใหญ่เวลามันดันท่อนซุง หมดเท่าตัวเท่ากำปั้น (หัวเราะ) มันหนักมาก ที่เจ้าคุณรูปนี้มีโบสถ์หลังงาม อยู่ฝั่งแม่น้ำเลย แล้วก็น้ำไหลเซาะเขื่อน ฝั่งพังเข้าไปจะถึงโบสถ์ ต้นโพธิ์หน้าโบสถ์โค่นลงไปแล้ว เจอน้ำหลากมา ฝั่งมันเลยไม่ไปอยู่นิ่ง มันเป็นดินทราย มันเคลื่อนไปเรื่อย เจ้าคุณเขาก็ไปตัดไม้มาทำเขื่อนในป่าสงวน ต่างชาติเขามาทำเสาเขื่อนกั้นน้ำไหล พอดีถูกตำรวจมาจับ หาว่าทำลายป่า ก็เสียเงินเสียทอง ชาวบ้านช่วย ก็คิดมากเป็นประสาท มีแต่ได้ พอเสียแล้ว ทำใจไม่ได้เลย เสียใจมาก เป็นบ้าไปเลย บ้าไม่ฟื้นเลย เสียผู้เสียคนไปเลย เพราะมีแต่ได้ มันก็สุข อะไรก็เอาๆ รู้สึกว่าประสาทไป ก็ป่วยไปเลย ตายไปแล้ว
หลวงตาเคยไปดู นั่งอยู่กุฏิเฉยๆ เดินเข้าไปในบ้าน ปล่อยผ้าปล่อยผ่อน เดินไปในบ้าน วัดกูอยู่ไส วัดกูอยู่ไหน ชาวบ้านก็พามาส่งถึงวัด คงเป็นบ้าไปแล้ว เดินหนีจากวัดไป วัดกูอยู่ไหน หลงวัดแล้ว ไปทางไหนล่ะ เดินเข้าไปในบ้าน ในที่สุดตาย พอตาย หลวงตาก็เป็นพระสงฆ์เป็นกรรมการไปดูทรัพย์สินทั้งหลาย จีวรนี่ท่วมหัว กลักไม้ขีดไฟเป็นปี๊บๆ ไม่เคยแจกให้ใคร ไปยกจีวรออก มันทับกันนานจนยกออกๆ จนขาดไปเลย เสียดาย ไม่เคยแจกใคร มีแต่ได้ อันตรายนะ ถ้าได้กับเสียมันคู่กันอยู่ อย่าไปยินดีกับความพอใจ อย่าไปยินร้ายกับความไม่พอใจ ปฏิบัติธรรมอย่าไปหลง มันก็ต้องมี มีได้มีเสีย มีสุขมีทุกข์ บางทีมันเป็นทุกข์ถ้าเราไม่รู้ ถ้าเรารู้ เป็นปัญญา มันก็เห็นอยู่กับตากับชีวิตของเราอยู่ สุขทุกข์ ผิดถูก ได้เสีย
ยิ่งเรามาปฏิบัติธรรมเนี่ย จะเอาให้ได้ๆ ไม่ดี มีเหมือนกัน มีญาติโยมมาปฏิบัติธรรม จะเอาให้ได้ๆ เป็นฆราวาสญาติโยม เป็นครูมา มีชื่อเสียง มาสมัครสจ. ได้สจ.สองสมัย ผู้นำในเขตนั้น ไปมาก็เห็นว่าทางโลกสำเร็จหมดแล้ว มาทางธรรมมาบวชในพุทธศาสนา สร้างเจดีย์ใหญ่ หมดเงินไปหลายล้าน สำเร็จ สร้างโบสถ์หลังใหญ่สองชั้น หมดเงินไปหลายล้าน สำเร็จ สร้างมณฑปใส่พระพุทธรูป หมดเงินไปหลายล้าน สำเร็จ อะไรก็สำเร็จหมด มาปฏิบัติธรรม เอาเรื่องได้ เอาเรื่องสำเร็จมาต่อรอง มีเท่านี้จะเอาให้สำเร็จ พอมาปฏิบัติธรรมก็สำเร็จ
ไปปฏิบัติธรรมวัดหลวงพ่อกรมเนี่ย เรียกหลวงตาไปดู ให้อาจารย์มาดูหน่อย แล้วก็ห่มผ้า ดูผมสิอาจารย์ ผมไม่เหมือนเก่าแล้วนะ ห่มผ้าขึ้น ดูผมสิ เราก็ดู อะไรมันเป็นไร อ้าว ไม่เห็นหรือไง ดอกบัวเต็มตัวผมหมดเลย เอาผ้าวางออกทิ้งไป พอเอาขึ้นมาก็เป็นดอกบัว เห็นมั้ย เราก็หลงแล้วไป เราก็ไม่บอกว่าไม่มี ก็ไม่ว่า ก็พูดไป ไปเป็นดอกบัว ไปเป็นทองคำ ก็ช่างมันเถอะ อย่าไปหลง ให้มีสติ ดึงออกมา เอ้าขนาดนี้ยังไม่มองเห็นเลยนี่ น่าจะเป็นเรื่องใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะเป็นอาจารย์สอนได้อย่างไร แสดงว่าคุณธรรมไม่ถึงผมแล้ว เอาเสียแล้ว วิเศษขึ้นมาแล้ว
เราก็พยายามแก้อยู่ อยู่วัด วัดอะไรหลวงพ่อกรม จตุรัส หลวงพ่อใหญ่เปิดปฏิบัติธรรม เขาไปปฏิบัติ หลวงตาก็หลอกไป กลัวจะสร้างบรรยากาศให้ไม่ดี พูดพยายามดึงออก ก็ไม่ยอมออก พอออกได้นิดหน่อยก็ดูแรงตลอดเวลา เดินไปไหนเหมือนดอกบัวรองรับไปแล้ว เห็นพระพุทธเจ้าเดินอยู่บนดอกบัว คิดว่าคงจะได้ขนาดนั้น เบาไปเลย เหมือนไม่มีการเหยียบพืชดินเลย มีแต่ดอกบัวรองรับไปเสียแล้ว เราก็ชวนไปบรบือ ดีแล้ว กลับบรบือเรา พานั่งรถไป พอจะถึงบรบือ หลวงตาก็แยกไปขอนแก่น เอ้า ว่าจะไปบรบือ ทำไมแยกไปขอนแก่น เอ้า! ไปไหนก็ได้เรา ไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้หรอก ที่มันเป็นอะไรเกิดขึ้น ก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน มันเป็นดอกบัว มันจะเหาะเหินเดินอากาศ อย่าไปยึดมั่น ไปขอนแก่น ไป พาไปขอนแก่น พาไป ไปอยู่วัดโมกข์ ขอนแก่น พาไปบรบือจะไปโฆษณา เลยไม่ให้ไปหาใคร พาไปวัดโมกข์ ขอนแก่น โอย สอนก็อยู่ จึงค่อยคืนมา มันจะเอาให้ได้ มันก็ได้จริงๆ น้า ถ้าไม่ได้ ก็เสียใจจริงๆ น้า ไม่ใช่อย่างนั้นปฏิบัติธรรม เห็นอะไรที่มันเกิดขึ้นเห็น สตินั่นน่ะ อย่าไปเป็น เราบอกได้ยินมั้ย ให้เห็นอย่าเป็น มันเห็น มันสุข ก็อย่าเป็นผู้สุข มันทุกข์ อย่าเป็นผู้ทุกข์ เนี่ย เฉือนออกแล้ว สุขทุกข์เฉือนออกแล้ว ไม่มีแล้ว มีสติรู้ไป จนไม่เป็นอะไรอย่างนี้ เรียกว่าปฏิบัติธรรม
มีไหม มันสุข มีไหม มันทุกข์ มีไหม มันหลง มีไหม มันผิด มันถูกมีไหม หรือว่าเป็นผู้ผิดเป็นผู้ถูกกัน ถ้าเป็นผู้ผิดเป็นผู้ถูกก็ไปไหนไม่ได้ ถ้าเห็นมันผิดมันถูกไปแล้วๆๆๆ เอาไว้หลังแล้ว เห็นทีไรคือเห็นมัน ผิดเห็นแล้ว ผิดเห็นแล้ว ถูกเห็นแล้ว สุขเห็นแล้ว ทุกข์เห็นแล้วๆ ไม่เข้าไปเป็นแล้ว มีกี่พันกี่หมื่นครั้ง ก็เห็นแล้วๆ เรียกว่าอัญญาสิๆ รู้แล้วๆ น่ะ ในหัวใจเรานี้ ไม่ต้องเขียนเป็นภาษาหนังสือ เป็นอัญญาสิคือ รู้แล้วน่ะ เบาๆ นะ ง่ายๆ ปฏิบัติธรรมน่ะ มันเป็นกอบเป็นกำ มันมีการงาน ไม่ใช่ไม่มีงาน ไม่ใช่มันฟรี ยกมือขึ้นก็รู้ พอรู้น่ะมันก็รู้ พอมีความรู้มันก็ไม่มีความหลง แม้จะเกิดอะไรขึ้นขณะที่ปรารภความเพียร มันรู้อยู่ มันก็มีความรู้เรื่อยไป รู้เรื่อยไป ถ้าไม่รู้มันก็ไม่เห็นหลง ไม่เห็นสุข ไม่เห็นทุกข์ เพราะมันรู้จึงเห็นสุขเห็นทุกข์ได้ เราก็เปิดออกมาแล้ว เปิดออกมาแล้ว เดินด้วยลำแข้งแล้ว ได้เห็นแล้ว เห็นรู้จักรสชาติของโลกแล้ว ไม่ปิดบังอำพรางแล้ว คนมีสติน่ะ ตื่นแล้ว ไม่หลับแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาเรียกว่าตื่นแล้ว ตื่นทางกาย ตื่นทางใจ ตายก็เอามาเป็นอุปกรณ์ให้เกิดความรู้
ใจก็เป็นอุปกรณ์ให้เกิดความรู้ มีแต่สิ่งที่ช่วยเราให้เรารู้ รูป รส กลิ่น เสียงก็เป็นความรู้ อะไรๆ ในโลกนี้ นินทา สรรเสริญ สุขทุกข์ รสของโลก ร้อนหนาว คือความรู้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันศุกร์ วันเสาร์ คือความรู้ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เจ็ด แปด เก้า สิบ เป็นความรู้ ไม่มีกาลเวลาที่จะไม่มีความรู้เลย อกาลิกธรรม สากล เรียบง่าย ไม่มีวันไหนๆ เป็นของอะไรๆ มีแต่ความรู้ไป คืนวันมีแต่ความรู้ไปๆ อย่างนี้ ไม่ได้อะไรเลย ได้แต่ความรู้ แล้วในความรู้มีอะไร เราก็สัมผัสดู อาจจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มีความไม่หลง ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์นั่นแล้ว
เมื่อมีความไม่หลง ไม่สุข ไม่ทุกข์ มันก็ไม่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไปถึงโน้น ไม่มีภพ มีชาติ ไปถึงโน้น ไปแล้ว ไม่ใช่ไม่ไป ถ้ารู้มันก็ไปแล้ว ไปจากความหลงนั่นแหละ นี่ จะไปถามใคร ให้ใครสอนเรา ใครก็ช่วยเราไม่ได้ เราต้องสอนเรา ต้องแก้ไขต้องเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง มันก็อยู่กับเรานั่นแหละ ความหลงก็อยู่กับเรา เราหลงเอง ความรู้ก็อยู่กับเรา เรารู้เอง ความทุกข์ก็อยู่กับเรา เรารู้เอง อย่าให้มันเป็นใหญ่ ให้มีความรู้เป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือน ความรู้เป็นธรรม เป็นอิสรภาพ เป็นมิตรภาพ ความหลงมันสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง สุขก็คือหลง ทุกข์ก็คือหลง ผิดถูกก็คือหลง นั่นแหละ มันเป็นรสของโลก แค่นี้เราจะต้องทำไม่ได้เลย เรามาอยู่กับโลกนี่ กี่วันกี่เดือนกี่ปี ให้วันให้เวลาให้เหตุปัจจัยต่างๆ เป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือนชีวิตเรา แล้วแต่จะเป็นอย่างไร มันไม่ได้แล้ว เท่านี้ไม่พอ มันต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้มีทุกข์อีก มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า มีความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ไม่ใช่เราจะประมาทในสุขในทุกข์
ถ้ามีสุขมีทุกข์อยู่ มันก็มีเบื้องหน้าเรื่อยไป ถ้าเห็นมันสุขเห็นมันทุกข์ มันก็ไม่มีเบื้องหน้า เวทนาไม่ทุกข์ รูปไม่ทุกข์ เวทนาไม่ทุกข์ สัญญาไม่ทุกข์ สังขารไม่ทุกข์ วิญญาณไม่ทุกข์ได้ไหม หรือว่าเวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ ยอมหรือแค่นี้ เวทนามันยอมหรือ มันปวดมันเมื่อย เวทนามันทุกข์ มันร้อน มันหนาว มันหิว เป็นทุกข์ ยอมแล้วหรือ ในความไม่ทุกข์ ในความทุกข์ มีบ้างไหม ถ้ามีก็หัดสิ ต้องหัดตน สิ่งใดที่เคยเป็นทุกข์ มีสติลงไปรู้ มันจะต่างกว่าเก่าบ้างมั้ย มีผลไหม เป็นมรรคบ้างไหม ความทุกข์ปล่อยไปได้บ้างไหม กี่เปอร์เซ็นต์ ความทุกข์สัก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะลดลงไหม สัก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ปฏิบัติได้อยู่
เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ แค่นี้ก็ทุกข์ก็สุข ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่ชีวิตนะ ถ้าสุขกับทุกข์ไม่ใช่ชีวิตเลย เป็นชีวิตที่มีภัย ถ้าเหนือสุขเหนือทุกข์ได้จึงจะชีวิตของเรา เวทนาไม่เป็นทุกข์ สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เป็นทุกข์ อะไรไม่เป็นทุกข์ มันก็ขันธ์ห้า ว่าแต่ยกอุปาทาน ขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ โดยย่อ เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต พระสงฆ์สาวกทั้งหลายรู้เรื่องนี้เป็นส่วนมาก พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงสั่งสอนสาวกทั้งหลายเรื่องนี้เป็นส่วนมาก มันอยู่ที่ไหนล่ะสิ่งเหล่านี้ อยู่กับพระพุทธเจ้าหรืออยู่กับพระสาวกองค์ไหน มันอยู่กับรูปกับนามเหล่านี้ รูปนามคือกายคือใจเรานี่ มันมีสัญญา สังขาร วิญญาณ ตาก็มีวิญญาณ หูก็มีวิญญาณ แต่หูหลวงตาไม่มีวิญญาณแล้ว หูหนวก หูบอดแล้ว เอาแค่นี้หรือ หรือว่าไม่ทุกข์ คือ ไม่ได้ยินนั่นหรือ มันยังมีใจ มีกาย หูหนวกก็ยังมีทุกข์ มีกิเลสอะไรอยู่นะ ตาบอดก็ยังมีนะ
สมัยหนึ่งหลวงตาเดินไปนา เขาจูงคนตาบอดมา เดินผ่านมา มีต้นมะยมต้นหนึ่ง อยู่นอกทางไป ถนนมันมีขี้เลนขี้ตม หลีกเข้าไปในสวนเขา มีผู้หญิงขึ้นต้นมะยมอยู่ ผู้หญิงเขาบอก ไม้นี้ข้อยขึ้นต้นไม้ คนตาบอดนะเขาจูงไป โอ้ มันไม่เห็นหลวงตา หลวงตาแบกจอบมาตอนนั้น เขาคุยกับคนจูงเขา โอ้ ผู้สาวเด็กขึ้นต้นบักยม (หัวเราะ) โอ เพิ่นเอาตีนซิ่นบ่ล่ะ บ่แม่นทางใต้ สิเป็นจั๋งใดล่ะ บ่ได้ส่องเบิ่งติ ตาบอดแล้วยังคิดถึงเขา ใช่ไหม ตาบอด มีกายมีใจ มีกิเลสตัณหาอยู่นะ
หูหนวกก็ยังไม่ใช่ มันต้องมีสติเข้าไปดูให้รอบรู้ทั้งหมดเลย ใกล้จะตายก็ยังมีทุกข์ เจ็บก็มีทุกข์อยู่ ไม่ใช่ตาบอด อัตตามันเจ็บ ตาบอดแล้วมันเจ็บเป็นไหม หูหนวกแล้วมันตายเป็นไหม นู่น มันอยู่ที่ไหนกันแน่ อันนั้นจะอยู่ในถ้ำในเหว ที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะเรามีรูปมีนาม มีวิญญาณ มันรู้อะไรได้ มันธรรมชาติ มันเป็นสัญชาติ มีคน มันจึงมีมรรคผลนิพพาน ถ้าไม่มีรูปมีนามก็ไม่มีมรรคผลนิพพาน มันเกิดมาเพื่อให้มีมรรคผลนิพพาน รูปนามเนี่ย ถ้าเอารูปนามไปเกิดแก่ เจ็บ ตาย เฉยๆ ไม่คุ้มค่าแล้ว ตอบบุญแทนคุณพ่อแม่ไม่ได้ เกิดมาตายเล่นๆ ไป ร้องไห้เสียใจอยู่ มันไม่น่าจะเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
ถ้าเรามาปฎิบัติธรรม มีพุทธศาสนา มีพระพุทธเจ้า มีเหล่าพระสาวก มีธรรม มีมรรคผล มีนิพพาน มีแก่นสารของชีวิตของเรา ถ้ามีแต่เปลือกแต่โมก คือกาย คือใจ สุขๆ ทุกข์ๆ อยู่ มันเป็นเปลือกเป็นโมก มันไม่ทน ในความสุขก็ไม่ทน ในความทุกข์ก็ไม่ทนอะไร เป็นเปลือกเป็นกระพี้ อย่าไปหลง ถ้ามันลึกเข้าไป เห็นมันสุขคือมันทุกข์ เข้าไปซะหน่อย ทนซะหน่อย ถ้าเห็นแล้วไม่เป็น ก็ทนไปๆ ภาวะที่ไม่เป็น ภาวะที่เห็นเนี่ย มันเป็นของที่ทนทาน ภาวะที่เป็นไม่ทนทาน เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย
เราก็มีอยู่นะ ชีวิตของเราเนี่ย จะไปอ้างว่าหนุ่มว่าสาว จะไปอ้างว่าแก่ว่าเฒ่า เหมือนกันหมด สามัญลักษณะ คนแก่คนเฒ่าก็หลงเป็น โกรธเป็น สุขเป็น ทุกข์เป็น คนหนุ่มก็โกรธเป็น สุขเป็น ทุกข์เป็น แต่หลงคนละวาระ หลงกับรูป คนแก่คนเฒ่าอาจจะไม่หลงรูป รส กลิ่น เสียง แต่มันหลงอีกแบบหนึ่ง คนหนุ่มคนสาวก็อยู่ในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง หลงอยู่ในความรัก ความพอใจ คนแก่คนเฒ่ารักก็รักแบบใหม่ ไม่รักเหมือนเป็นหนุ่มเป็นสาว รักแบบใหม่ มันต่างกัน แต่ที่แท้คือหลงนั่นแหละ ถ้ารู้แล้วก็ ไม่ว่าแก่ว่าหนุ่มอันเดียวกันเลย ไม่ว่าเพศใด ภาวะใด ลัทธิใด ศาสนาใด นิกายใด ชื่อว่าหลงแล้วเหมือนกัน ชื่อว่าไม่หลงก็เหมือนกัน นี่คือธรรมะ มีอยู่ในชีวิตของเราที่มีรูปมีนามนี้อยู่ ศึกษาเรื่องนี้กันพวกเรา ไม่ใช่ว่าไม่ได้อะไร จะไปเอาอะไร ถ้ามีความรู้สึกตัวก็ทั้งหมดแล้วของพรหมจรรย์ ได้มีความรู้ทั้งหมดแล้วของโลก ไม่ยาก สมควรแก่เวลา