แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันนะ ผู้ฟังธรรม ท่านได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งเคยได้ยินได้ฟังแล้ว ได้ฟังอยู่เรื่อย ๆ ก็จะเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจบรรเทาความสงสัยเสียได้ ผู้ฟังธรรม จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส แล้วทำความเห็นให้ถูกต้องกับการใช้ชีวิตตัวเองตลอดไป จึงจำเป็นต้องได้ยินได้ฟัง
ผู้ที่บอกความเท็จความจริง ฟังหูไว้หู ฟังแล้วก็อย่าไปเชื่อ บางอย่างต้องไปทำดูก่อนการฟังธรรม ไม่ใช่ฟังเพื่อจะเชื่อ ฟังแล้วไปทำดู ขบเคี้ยวดู ผิดถูกต้องสัมผัสเอาเอง สิ่งที่ผิดที่ถูกเกิดจากกายจากใจเรา อันนี้เรียกว่า ฟังธรรม มันก็ไปทำ ไม่ใช่ไปจำเอา เหมือนกับจำกลอนรำ กลอนเพลง ว่าได้แต่ปาก ได้แต่การสวด สาธยายพระสูตร สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น แล้วก็หมายถึง มองตน เตือนตน เห็นตัวเองว่ารูปไม่เที่ยง ไม่ใช่ให้เชื่อ เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดว่าตัวเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา นี่คือฟังธรรมจากพระสูตร
พูดแล้วก็ทำในใจไปด้วย อย่าไปยึดว่าความโกรธเป็นตัวเป็นตน อย่าไปยึดว่าความรักความเกลียดชังเป็นตัวเป็นตน อย่าทำตามมัน มันเกิดขึ้นมาเป็นสังขาร สมุทัย มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่ตัวตนอะไร อย่าไปยึด เวลามันรักก็ทำตามความรัก เวลามันโกรธก็ทำตามความโกรธ เสียผู้เสียคนมามากแล้ว มันก็เกิดขึ้นในกายในใจเรานี้ ใจของเรานี้ไปต่อเอาอันอื่นมา ไปจุ่มไปติดอะไรมามากมายหลายอย่างในโลกนี้ ทั้งเป็นทุกข์เป็นโทษ ทั้งเป็นประโยชน์ก็มี การใช้ชีวิตก็ใช้กายใช้ใจไปไม่ถูกไม่ต้อง สะเปะสะปะ ซุกซน จิตก็จิตซุกซน กายก็ซุกซน ไปติดของที่ไม่ดีไม่ถูกไม่ต้อง เป็นทุกข์เป็นโทษต่อกายต่อใจก็มีมาก เพราะไม่ได้ดูตัวเอง ไม่ได้เห็นตัวเอง ไม่แก้ไข ไม่เตือนตน ไม่แก้ไขตน ไม่มีสติ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้แก้ไขตัวเอง ให้เตือนตัวเอง ให้มีสติ
สติเป็นดวงตาภายใน การมีสติดูแลกายดูแลใจก็เหมือนลูกน้อยมีพ่อมีแม่ ถ้าลูกคนใดมีพ่อมีแม่ ก็เรียกว่าปลอดภัย ลูกอะไรก็ตาม ลูกหมู ลูกหมา ลูกเป็ด ลูกไก่ ถ้ามีพ่อมีแม่เลี้ยงดู ก็ปลอดภัย ลูกเจี๊ยบถ้าไม่มีผู้เลี้ยงผู้ดู มันก็มีธรรมชาติ มีพ่อแม่ หมาก็รักลูกมัน หมูก็รักลูกมัน ไก่มันก็รักลูกมัน มีไก่ป่าที่วัดสุคะโต เหยี่ยวมาเฉี่ยวกินลูกมัน กินแล้วกินเล่าเอาลูกมากกเข้าไว้ในปีก ว่าจะอยู่อย่างนั้นไม่ได้ต้องพาลูกหากิน เวลาใดพาลูกหากินเอาไปเหยี่ยวก็มาฉกกิน มันบินตามลูกมัน เวลาเหยี่ยวมาจับกิน มันก็บินตามเหยี่ยวไปตกลงมาขาดใจตายเลยแม่ไก่มันก็รักลูกมันเหมือนกัน จนหมดอก มันก็มีความรักเหมือนกัน เราก็เช่นกัน เกิดมาได้มีชีวิตอยู่นี่ เพราะมีผู้ดูแลมา ดูดน้ำนมจากหน้าอกของพ่อของแม่ แล้วก็เลี้ยงดูด้วยความปลอดภัย
พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบสตินี้เหมือนพ่อเหมือนแม่ ผู้ใดมีสติก็เหมือนกับอยู่กับพ่อกับแม่ เคยพูดแล้วพูดอีกว่า มันเป็นความจริง จริง ๆ ถ้าไม่มีสติก็เหมือนกับคนกำพร้ากำพลอย ทุกข์ก็ทุกข์ไปเลย โกรธก็โกรธไปเลย หลงก็หลงไปเลย คนไม่มีพ่อมีแม่ทางจิตวิญญาณ เวลามีสติ จะเอ่อเห็นเห็นมันโกรธ เห็นแล้วอันตัวโกรธ ไม่มีประโยชน์เลย เห็นนี่ตัวหลงไม่มีประโยชน์อะไรเลย เห็นแล้วว่ามันทุกข์ไม่มีประโยชน์เลย แล้วก็มีสติ หนีทุกข์เป็น ในความทุกข์มันก็มีความไม่ทุกข์ มันมีทางไปอยู่ ในความโกรธก็มีความไม่โกรธ ในความหลงก็มีความไม่หลง มันเป็นทาง 2 ทาง เราเลือกได้ มีสติน่ะมันรู้จักเลือกได้ เหมือนคนมีตา ก็รู้จักเลือกเดินให้ถูกทาง เข้ารกเข้าพงไม่ได้ เวลาตาเห็นงู ก็ไม่ให้เป็นงูกัด ไม่มีใครเดินเข้าไปหางูให้งูกัด ตาในนี่คือสตินี่เห็นความโกรธความทุกข์เกิดขึ้นที่กายที่ใจ ก็ไม่ให้ความทุกข์ความโกรธพาเจ็บปวดทำให้เจ็บปวดถ้าเรามีสติ ถ้าไม่มีสติ ก็เจ็บปวด เจ็บปวดเพราะความคิดตัวเอง ความคิดก็เจ็บปวด ร้องไห้ได้เพราะไม่มีสติ จึงจำเป็นต้องมีสติ อย่าประมาท
เพราะว่ากายใจเนี่ยมันลุยอยู่ในดงของความหลง ดงเป็นดงเป็นป่า อวิชชาเป็นป่าความไม่รู้ ถ้าใครมีความไม่รู้ผิดรู้ถูก ยังทำตามความผิด ยังทำตามความถูก ยังทำตามความรักความชัง เรียกว่าอยู่ในดงในป่า อวิชชาเป็นป่า ป่าในชีวิตเรานี่ในป่าเหมือนกับภูหลงนี่ มันมีสิ่งที่ละล้าอยู่ที่นี่ ถ้าไม่มีวิชชาคือความรู้ มีสติแล้ว มันก็มีแต่สิ่งเร้าอยู่ในนี้ ในความไม่รู้นี้เพราะไม่รู้เพราะไม่รู้จึงเกิดสังขารปรุงแต่ง สังขารเกิดปรุงแต่งขึ้นมา ก็มีวิญญาณ ตาก็มีวิญญาณ หูก็มีวิญญาณ จมูก ลิ้น กาย ใจมีวิญญาณ ไปเปรอะไปเปื้อนอะไรมา ซุกซนวิญญาณมันดิ่ง อยู่นิ่งไม่เป็น หยิบโน่นหยิบนี่ วิญญาณที่มันเกิดกับกายกับใจ มันซุกซนไปเปื้อนอะไรมา ไปติดอะไรมา การเกิดวิญญาณ เกิดนามรูป เป็นนามรูปขึ้นมาทำได้ เจ็บปวด เป็นสุขเป็นทุกข์อะไรต่าง ๆ ให้มันต่อไปจนเป็นภพเป็นชาติไปโน่นเพราะไม่รู้
ถ้ามีความรู้ มีสติ มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ดูแลได้ ปลอดภัย มาร้ายเป็นดี สิ่งที่มันเกิดกับกายกับใจนี้เปลี่ยนให้เป็นดีได้ทั้งหมด เปลี่ยนให้ไม่ทุกข์ได้ทั้งหมด เปลี่ยนให้ไม่ผิดได้ทั้งหมด มันเป็นที่แก้ได้เปลี่ยนได้ เวลามันโกรธ ไม่โกรธก็ได้ เวลามันทุกข์ ไม่ทุกข์ก็ได้ เวลามันหลง ไม่หลงก็ได้ มันเปลี่ยนได้
การหัดเปลี่ยนความร้ายเป็นความดีนี้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม ฟังแล้วนำไปทำดู เรียกว่าสอนให้ไปทำดู มันแก้ได้ มันเปลี่ยนได้ อย่างพระสวดบังสุกุล อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปปัชชิตฺวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ พระบังสุกุล ได้เงิน ได้ผ้าสบงจีวรมา อาจจะไม่ถูกต้อง บังสุกุลมันคือบังสุกุลตัวเอง บอก อนิจจา วะตะ สังขารา สังขารเกิดขึ้นแล้วหนอเนี่ย มันปรุงแล้วเนี่ย อยู่ดี ๆ มันมาโกรธ มาทุกข์ขึ้นมาเนี่ย นอนอยู่ก็มาทุกข์มาคิด ความคิดปรุงขึ้นแล้วหรือนี่ อุปปาทะวะยะธัมมิโน มันคิดว่าตัวว่าตนหรือนี่ อุปปัชชิตฺวานิรุชฌันติ แก้ได้ ๆ แก้ได้อยู่ เปลี่ยนได้อยู่ เตสัง วูปะสะโม สุโข เมื่อเปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ก็จะอยู่เป็นสุขปกติ ไม่ใช่ไปชักบังสุกุลแบบนั้นนะ อันนั้นมันเป็นพิธีรีตองไปซะ
เรื่องคนตายเป็นเรื่องของการนอกตัวไปซะ ที่จริงมันเรื่องของตัวเรานี่ ไม่บังสุกุลตัวเอง มันจะได้บุญ เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธ บุญเกิดขึ้นแล้ว เปลี่ยนความทุกข์ให้เป็นความไม่ทุกข์ กุศลเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่พิธีกรรม มันเอามาทำมาปฏิบัติกับตัวเอง อย่าประมาท ชีวิตของเราเนี่ย ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นำเข้ามายั่งยืน เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไม่ได้ อันนี่ความแก่ของสังขารของนาม ของรูปของนาม ไม่ใช่ความแก่มาเป็นผู้แก่ อย่าเอาความแก่ให้มันไม่แก่ มันเป็นเรื่องที่เห็นความจริง เราไม่ได้เป็นผู้แก่ เห็นมันแก่ ไม่ได้แก่เป็นทุกข์ แก่ไม่เป็นทุกข์ ความเจ็บ ก็เห็นมันเจ็บ ไม่ได้เจ็บเพราะเป็นทุกข์เพราะความเจ็บ มันเจ็บก็ไม่เป็นทุกข์ได้ ไม่ได้ตายเพราะว่ามันตาย เห็นมันตายไม่ได้ตายเพราะว่ามันตาย ไม่ได้เป็นทุกข์เพราะว่ามันตาย ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ มีแต่ความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ตัดสินแล้ว เห็นนักโทษที่ตัดสินประหารแล้ว ชีวิตของคนถ้าไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีธรรมะรอวันเจ็บวันตาย พอเจ็บก็ร้องไห้ พอตายก็ร้องไห้ คนตายก็ทุกข์ คนเหลืออยู่ก็ทุกข์ ร้องห่มร้องไห้เสียใจ ถ้าเรามีธรรมะจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ส่วนความไม่เที่ยงจะให้มันเที่ยงได้ยังไงรู้มันไม่เที่ยง
เวทนามันก็ไม่เที่ยง ที่เป็นสุขเป็นทุกข์นั่นมันไม่เที่ยง สัญญาที่มันจำอะไรมา มันก็ไม่เที่ยง ความโกรธบางทีก็กลายเป็นความสงสารทีหลัง หลวงตาเคยตีน้อง มันโกรธ ตบหัวน้องตกลงไปคันนาโน่น พอเห็นน้องล้มลงไปเกลือกขี้โคลนในดินคิดสงสารขึ้นมาทันทีเลย เสียใจมากทุกวันนี้ ให้น้องเอาควายไปกินหญ้า ไถนาเสร็จค่ำ กลัวว่าควายจะไม่ได้กินหญ้าที่ปลายนามันมีหญ้า กินแป๊บเดียวก็อิ่ม น้องไม่เอาไป ขี่วนเวียนอยู่กับเรา ไม่มีหญ้ากิน ด่าน้องมึงทำไมไม่เอาควายไปกินหญ้าโน่น ผมกลัว กลัวแม่มึงหยังล่ะว่าซั่นตีหัวน้อง(หัวเราะ) เสียใจมากนะ โอ้ย น้องเราคงจะกลัวจริงล่ะน๊อมันก็ผู้น้อย คิดได้ทันที น้องก็ร้องไห้เข้าบ้านเลย ไม่เลี้ยงควายเลย เราต้อง งานนาไม่ได้ทำเลย คันนาไม่ได้ปั้นเลยต้องไปเลี้ยงควาย เวลาเอาควายเข้าบ้าน พอผูกควายเสร็จ ขึ้นไปบนบ้าน ไล่ควายเข้าไปคอกหมด แม่ด่า ไม่มีพ่อขบหัวกันกิน น้องน้อย ๆ ให้มึงเอานามึงเอาวัวเอาควายหมดซะ ถ้ามึงไม่รักน้อง กูจะพามันหนีกลับบ้านเก่า กูไม่เอากับมึงดอก โอย เสียใจมากเลย(หัวเราะ) มีไหมหาเสียใจเพราะความตีลูกมีไหม เวลามันโกรธ ตีลูก รู้จักนับเลยเจ็บไม่ว่าไม้เรียวหัก ร้องไห้โอย ๆ วิ่งกอดเบียดหลังเบียดหลังแม่ จับแขนมาตี โอ พอมันตีแล้วลูกเจ็บ รอยไม้เรียว รอยมือ เสียใจทีหลัง นอนร้องไห้เพราะตีลูก มีไหมฮึโยม เพราะฉะนั้นนะระวังให้ดี
ถ้ามีสติ มันจะยับยั้งชั่งจิตได้ ไม่ผลุนผลันพลันแล่น ไม่ทำผิดทำพลาดได้ถ้ามีสติแล้ว หลวงตาไปเที่ยวประเทศจีน ไปดูเว่ยหลาง ไปดูเว่ยหลางก็ปีนบันไดขึ้นไปบนเขา แล้วมีผู้หญิงคนหนึ่ง อุ้มลูกอยู่คนหนึ่ง คนที่สองก็จับแขนดึงขึ้นไป แล้วพ่อก็อุ้มลูกคนหนึ่ง แล้วก็ถือกระเป๋า ก็เป็นนักท่องเที่ยว หาดูหาอะไรต่าง ๆ เหมือนกับเราทีนี้เด็กน้อยมันก็ปีนขึ้นไป ก็เหนื่อย มันก็ร้องไห้ มันก็ร้องไห้มันจะเหนื่อยน่ะมันกะสิขึ้นไปบ่ได้สังเกตดู แม่ก็ลากขึ้นไป ลูกมันก็ร้องไห้ มันเหนื่อย พอลูกเริ่มงอแง มันก็เตะลูกตกลงไปเลย หลวงพ่อเดินตามหลังไปพอดีเลยจับเด็กน้อยขึ้นมากอดไว้ มันเลยไม่กล้ามาตีอีก กอดเด็กน้อยไว้ มือลูบหัวมัน กอดมันไว้ แม่มันก็มอง ก็หลวงพ่ออยู่ มันไม่กล้า พอมันหยุดร้องไห้ แม่มันก็ใจเย็นลงมาหน่อย หลวงพ่อก็ปล่อยออกไป มันก็จับเอาลูกมันขึ้นไป ตีแล้วยังไม่พอนะ เตะอีก อย่างนี่คนเรา อะไรมันทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้นเลย เวลามันโกรธ ไม่มีความสงสารกันแล้วเวลามันรักก็หลงตัว ตัดสินใจทำตามความรัก เสียผู้เสียคน เพราะฉะนั้นจงมีสติทุกเมื่อ อย่าประมาท
ยามสงบ เราต้องฝึก ยามศึก จึงจะรบได้ ถ้าไม่ฝึกหัดอะไรเลย ปล่อยตัวเองทิ้งขว้างอยู่ เวลาอะไรจรมา ก็หยิบเอา ความสุข ความทุกข์ ความรัก ความชัง ความดีใจเสียใจ ยิ่งเราก็อยู่ในอะไรต่าง ๆ มากมาย ไม่ปลอดภัย ปนเปกันล่ะชีวิตเรา คุ้มร้ายคุ้มดี ฟู ๆ แฟบ ๆนะ เราจึงต้องฝึกฝนตนเองให้ดี ๆ อย่าได้อย่าได้ประมาท แน่นอนไม่เที่ยง แน่นอนเป็นทุกข์ แน่นอนไม่ใช่ตัวตน ชีวิตมันครองกายครองใจเรานี้ รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ก็ยึดเอาว่าเป็นตัวเป็นตน พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ความไม่สบายกายความไม่สบายใจเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ก็มีแต่เอาทุกข์มาลงโทษตัวเอง
นี่วัดวาอาราม เอาคำสอนพระพุทธเจ้ามาสอนอย่างนี้ มาบอกอย่างนี้ มันไม่ทุกข์อะไรเลย ไม่ต้องโกรธก็ได้ ในชาตินี้ไม่ต้องทุกข์อะไรเลยก็ได้ ไม่ต้องเบียดเบียนตัวเองให้ตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษ ไม่ต้องเบียดเบียนคนอื่นให้คนอื่นเป็นทุกข์เป็นโทษ สิ่งอื่นก็ไม่ทำลายได้เลย อยู่ด้วยกันมีเมตตากรุณา แม้แต่ที่นี่ มีอะไรก็เราจะไม่เบียดเบียนอะไรทั้งนั้น นอนอยู่ก็ดี มีอะไร มีหนูมา เราก็ไม่เบียดเบียนหนู แต่ก่อนเรานอนอยู่ ไม่มีมุ้งกาง อะไรมานอนอยู่ข้างบนนี่ว่ามันหนักอึ้ง เวลาจะลุกขึ้นมาก็ไม่เห็นมีหนู ยังมาเล่นอยู่ ชอบมางอยเรามานอนอยู่บนตักบนขา บนตัวเรามันคงจะอุ่น เอ้า!เราก็จะรักหนู มีอะไรอีก มีอะไรอยู่ในนี้ ในแผ่นดินที่นี่ แล้วจะมีความรักทุกอย่าง มีผีหรือเราจะรักผี มีเปรตหรือเราจะรักเปรต ถ้ามันมาทำอะไร เราจะมีความรักมัน จะไม่รังเกียจอะไรเลยว่าจะเป็นยังไง ในโลกนี้เราจะอยู่ได้กับทุกอย่าง จะไม่เบียดเบียนอะไรเลย
เพราะฉะนั้นชีวิตของเราจึงไม่เปรอะเปื้อนกับสิ่งที่ชั่วที่เลว เราเป็นมีที่พึ่งได้ ถ้ามีอะไรที่ทำให้เป็นความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เสียใจเพราะทำบาปทำกรรมก็จะเป็นกรรมติดตัวไป ล้างออก แม้เราจะตายตายไปก็ไม่กระทบกระเทือนอะไร เคยตาย เราไม่เคยทำบาปทำกรรมอะไรไว้ เอ้ามันมาถึงเท่านี้ก็เท่านี้นะ ชาตินี้แหละชีวิตของเรา นอนตาย ตายก่อนตายถ้าตาย มันก็ต้องไม่มีทุกข์เลย คงจะมีเรื่องดีล่ะ เราดีอยู่แล้วเดี๋ยวนี้น่ะไม่มีอะไรเดือดร้อน ตายไปมีเทวดามาจับมือ รู้สึกว่าสบาย เทวดาเนี่ยมีจริงหน๊อนี่ มาจับมือเนี่ยใช่ไหมโยม(หัวเราะ) เทวดา นอนอยู่ เทวดามาจับมือ แหม เทวดาจริงๆหนอเนี่ย แหมสบายเนาะนี่เนาะ เทวดามารักษานะเนี่ย มาจับมือ มันรู้สึกว่ามันชัดเจนดี เอ๊ะ เทวดาจริงหรือนี่หือ ก็เลยเอ้าเราเป็นอะไรเนี่ยเราเป็นอะไรนี่ ไม่ใช่เป็นอะไรนะ ลืมตาขึ้นดู เห็นอาจารย์ตุ้มนั่งนอนอยู่(หัวเราะ) อาจารย์ตุ้มนอนนั่งอยู่ข้างเตียง เรานอนอยู่บนเตียง จับมืออยู่ เราจะตายอยู่แล้วตอนนี้ เออ เทวดาจริงๆอ.ตุ้มเนี่ย(หัวเราะ)ถ้าอยู่คนเดียวแท้ๆ อาจจะตายแล้ว อันนั้นมันก็สบายไปแล้ว
ไม่มีเดือดร้อนเลย แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่เดือดร้อน เพราะเราไม่มีการเดือดร้อนอะไร เดี๋ยวนี้ก็ไม่เดือดร้อนอะไร ไม่มีเป็นทุกข์ มีปัญหาอะไร ชีวิตบริสุทธิ์ หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ฝึกตนสอนตน อย่าประมาทมีศาสนาพุทธศาสนามันมีมรรคมีผล มันเป็นบุญ เป็นกุศล มันเป็นสวรรค์ นิพพาน จุดหมายปลายทางของชีวิตเราเพื่อการนี้ ไม่ใช่เกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตาย ร้องไห้เสียใจเป็นทุกข์เป็นสุขอยู่นี่ โลกแห่งความสุข โลกแห่งความทุกข์ มันไม่ปลอดภัย
ชีวิตเราถ้าไม่ฝึกตนสอนตน ก็เป็นคนปนเปกันหลายอย่าง คนนี่ตกนรกก็ได้ เป็นเปรตก็ได้ เป็นอสุรกายก็ได้ เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ เรียกว่าคนมันปนเป ความร้ายความดี ดีใจเสียใจ มีความโกรธโลภหลงนี่ เรียกว่าคนปนเปกันมา บางทีก็เป็นอะไรได้ คนมันปนกัน เอามาปนกันหลายอย่าง ความร้ายความดีในชีวิตของเรานี่ ความมั่นใจนี่ ดีใจก็ไม่มั่นใจ ไม่มั่นใจตัวเอง เอาใจไปห้อยไปแขวนไว้กับอะไรก็ไม่รู้ เป็นสุขเพราะความคิด เป็นทุกข์เพราะความคิด เป็นสุขเพราะการได้ เป็นทุกข์เพราะการเสีย เอาอะไรมากำหนดจิตใจ ให้วัตถุอันอื่นมากำหนดใจ ถ้าสิ่งนั้นที่มันเป็นไป ไม่ตามกำหนดก็เป็นทุกข์ อกหักเสียใจ อันนี้ว่าคน ชีวิตของคนปนเปอยู่อย่างนั้น ไม่เป็นตัวของตัว ไม่ฝึกตนสอนตน
คนนี่ไปสู่นรกได้เหมือนกับขนโค มากเท่ากับขนของโค ไปสู่สวรรค์นิพพานเท่ากับเขาโคนิดน้อยเท่านั้นเอง เป็นจิตประเภทนั้น ต้องเป็นมนุษย์ใจสูงขึ้นมา ดูอะไรเห็น อย่าหวั่นไหวง่าย อย่าง่อนแง่นคลอนแคลน ดูสิ่งใดก็อย่าเพิ่งไปด่วนรับด่วนปฏิเสธ ดูหน้าดูหลัง เรียกว่ามนุษย์ ใจมันสูงขึ้นมา ไม่พ้นอะไรง่าย ๆ นี่ปลอดภัย ไปสวรรค์นิพพานเท่ากับขนโค ไปนรกเท่ากับเขาโค นิดหน่อยถ้าเป็นมนุษย์น่ะ มันเป็นได้ที่ใจ มันไม่ใช่เป็นขาสองแขนสอง เดินได้ไม่ใช่อย่างนี้ มันเป็นจิตวิญญาณที่ฝึกตน สอนตนมาดี เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง ใจมันดี ใจมันประเสริฐ เหมือนดั่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าคนนั้นมันใจต่ำ เสียทีที่เกิดมา เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนดั่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน จงยินดีที่ตนได้เกิดมา ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ท่องให้ครบควรเรียกว่ามนุษย์ เพราะพูดถูก ทำถูก คิดถูกทุกเวลา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง อะไรว่าไม่ได้อีกต่อไป แม่ชีอูฐว่าต่อ (หัวเราะ)
อาจารย์พุทธทาสสอนธรรมะ อันนั้นก็ 7 วันอาบน้ำครั้งหนึ่งมาได้ยินได้ฟังเอาไว้ทำในใจ ฟังแล้วทำในใจ เวลามันเกิดอะไรขึ้นมาก็ทำในใจ เวลามันโกรธแล้วอย่าเพิ่งด่วนโกรธ อย่าเพิ่งพูดในเวลาโกรธ อย่าทำอะไรในเวลาโกรธ ยับยั้งชั่งจิตดูก่อน ก็ข่มไว้ไม่พูดในเวลาโกรธ อย่าลุอำนาจของความโกรธ ถ้ามันจะโกรธ ก็ลองหนีออกไปก่อน บางทีอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งพูดอันหนึ่ง คนหนึ่งพูด 2 – 3 คำ ก็โกรธกันได้ ก็รอไปก่อน ทิ้งไปก่อน หรือว่าหนีออกไป หรือถ้าเก่งก็หยุดเปลี่ยนทันที หักดิบคนละมุม มันโกรธไม่โกรธก็ได้ ทำใจ ทำใจ ทำใจ ถ้าจะโกรธก็นับหนึ่ง หายใจเข้ารู้สึก หายใจออกรู้สึก เยอะแยะ เบนประเด็นไปหน่อย เอาจิตพรากออกไปเสียก่อน หัดตน สอนตน มันก็จะเก่งขึ้นมา ยิ่งถ้าเรามาฝึกกรรมฐานนี่ ยิ่งดีใหญ่ จะได้ใช้เลย มีเครื่องมือที่ใช้ได้ มีสติ กระดิกนิ้วมือรู้สึกตัวหายใจเข้ารู้สึกตัว ทำอะไร จับไม้กวาดไปกวาดบ้าน รู้สึกตัวไปโน่น มานั่งพูดกันสองคำสามคำนี่ไม่ได้ ออกไปก่อน หนีไปก่อน อย่าไปถือสาหาเรื่อง คนที่คิด พูดผิด ทำผิดอะไรต่าง ๆ วางไว้ก่อน บางทีมันเฉลยได้ มันแก้ได้ ถ้าไม่แก้ ไม่เปลี่ยนให้เป็นดี ก็โกรธจนตาย ทุกข์จนตาย หลงจนตาย ถ้าเราแก้ เปลี่ยนให้มันเป็นรู้ซะ มันก็ไม่ไปไกล มันก็อ่อนลง อ่อนลง อกุศลธรรมคือความโกรธ โลภ หลง ก็อ่อนลง อ่อนลง ก็เกิดกุศลขึ้นมาแทน ความดีขึ้นมาแทน สัมผัสความดี ความไม่ดี ก็เลือกได้ ชีวิตเราเลือกได้ ประเสริฐ มนุษย์ประเสริฐ เป็นพัฒนาได้ เห็นช่องเห็นทางไป ไปสวรรค์นิพพานได้เลย จิตของเรานี่ถ้าฝึกหัด ถ้าไม่หัดก็มืดแปดด้าน ไม่รู้ทิศรู้ทางอะไร วันนี้ก็ได้กำหนดตามเวลา สมาทานอุโบสถศีลวันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็สมควรพอดีแล้ว สมาทานศีลต่อไป