แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ถ้ามีปัจจุบันแต่ทำปัจจุบัน ได้ทำปัจจุบัน กิริยาต่างๆ เป็นปัจจุบัน เมื่อมันเป็นปัจจุบันมันจึงใช้ได้ ชีวิตจึงใช้ได้ ถ้ามันผิดก็เห็นความผิดเป็นปัจจุบัน ถ้ามันถูกก็เห็นความถูกเป็นปัจจุบัน อะไรเปลี่ยนได้ แก้ได้ปฏิบัติสิ่งที่มันผิดให้มันถูก สิ่งที่มันหลงให้มันรู้ให้เป็นปัจจุบัน ผิดแล้วรู้ผิดแล้วรู้ หลงแล้วรู้ นี่เรียกว่าปฏิบัติ เรียกว่าปฏิบัติ เมื่อมันเห็นบ่อยๆ รู้บ่อยๆ ได้แก้บ่อยๆ ได้ทำบ่อยๆ ในสิ่งที่มันไม่เคยได้ทำ ในสิ่งที่มันมีจริง มันก็จะต้องแสดงให้เราเห็น มันไม่สงบ การมีสติมาดูกายเคลื่อนไหวไปมานี่มันไม่สงบ มันจะต้องเกิดอาการอะไรต่างๆ มันเข้าไปกวน บางทีก็เกิดการปวดการเมื่อย เกิดการเบื่อหน่าย เกิดการขี้เกียจ เกิดการง่วงเหงาหาวนอน เกิดความคิดฟุ้งซ่าน เกิดอะไร ท้อแท้ท้อถอย บางทีก็เกิดรู้เกิดสุข เกิดอะไรเยอะ เกิดสงบไปก็มี เราก็มีสติ สิ่งเหล่านี้ สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นที่ไม่ใช่สติไม่ใช่ความรู้สึกตัวนั้น เหมือนกับเราทำให้มันเรียบไป เมื่อมันสุข เห็นมันสุข รู้สึกตัว มันเรียบไปแล้ว มันทุกข์ เห็นมันทุกข์ รู้สึกตัว มันเรียบไปแล้ว ถ้าไปติดสุขไปติดทุกข์ไปติดหลงไปติดรู้ มันขรุขระอยู่ ชีวิตที่ขรุขระ ถ้ามันเห็นแล้วมันเรียบ รู้สึกตัวไป มันสุขรู้สึกตัวไป มันทุกข์ก็รู้สึกตัวไป มันหลงมันรู้ มันอะไรต่างๆ เยอะแยะนี่รู้สึกตัวไป เรียกว่าสร้างทาง สร้างทางให้มันเรียบ ขรุขระที่ใดทำให้มันเรียบ มันจึงเป็นการสร้าง มันจึงจะเป็นทางให้ ถ้ายังทุลักทุเลอยู่มันไม่ใช่ทาง ถ้าการเดินทางที่มันขรุขระมันไม่สะดวก มันมีการเสียเวลาและเสียพลังงาน เป็นความสุขความทุกข์ความโกรธความโลภความหลงความวิตกกังวลเศร้าหมอง มันไปเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นการกระทบกระเทือน มันเสียพลังงานเหมือนการขับรถในทางขรุขระ มันก็เสียก็โทรม ชีวิตของเราต้องสร้างให้มันเรียบ อย่าให้มันกระทบกระเทือน ตัวรู้สึกตัวน่ะมันเรียบ อะไรที่มันเกิดการรู้สึกตัวเรียกว่าได้ทาง เป็นอริยมรรค โดยเฉพาะทางเดินของชีวิตนี่ทำให้เรียบได้ในทุกพื้นที่ ทางเดินของร่างกายทุกพื้นที่อาจจะเรียบไม่ได้ เพราะมันก็เกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง ห้วยหนองคลองบึงเราทำขณะเดียวไม่ได้ ต้องมีงบประมาณ มีเครื่องมืออะไรหลายอย่าง มีเวลา แต่ว่าทางเดินของจิตใจนี่ ทางชีวิตของเรานี่ เป็นปัจจัตตังทันที เป็นปัจจัตตังทำได้ทันที หลงก็รู้ได้ มันผิดก็รู้ได้ มันถูกก็รู้ได้ มันทุกข์ก็รู้ได้ มันสุขก็รู้ได้ มันยินดียินร้าย มันวิตกกังวลรู้ได้ ทำแล้ว มันวิตกกังวลก็รู้สึกตัว มันทำความวิตกกังวลให้เรียบลงแล้วทันทีทันใด เราได้ทำอย่างนี้มันก็เกิดการกระทำเรียกว่ามันเป็นกรรมจริงๆ ทำกับมือเราจริงๆ นี่เรียกว่ามรรค แต่ถ้าบางทีเขาก็ไปทางไม่ต้องทำ ขี้เกียจขี้คร้าน ไม่รู้ไม่ชี้ สงบอย่างนั้นแหละ ความสงบอย่างนั้นเรียกว่าขี้เกียจ ติดสงบ ติดหลับตานั่งอยู่ ขี้เกียจไม่ได้ทำงานทำการ เวลาออกจากความสงบยังขรุขระอยู่ เพราะไม่เคยได้ทำเลย ไม่เคยได้ทำก็ยังอ่อนแอ ยิ่งอ่อนแอไปกว่าเก่า เข้าไปติดความสงบ
วิธีที่ทำให้เกิดความสงบมันก็กล่อมไปเลย บริกรรมเข้าไป หลับตาเข้าไป นั่งนิ่งๆ เข้าไป หามุมสงบเข้าไป บางทีก็มีครูอาจารย์กล่อมเข้าไป ดูไปๆ ให้สงบ ให้นิ่งนะๆ มันก็ยิ่งนิ่งเข้าไป มีอันที่จะกล่อมให้เกิดความนิ่ง บริกรรม กษิณ อะไรต่างๆ เพ่งเข้าไป นิมิตออกไปข้างนอก วาดนิมิตขึ้นมา ลูกแก้วสี ให้มันเป็นไปตามที่เราต้องการ สีกลมๆ เป็นวงหลายๆ วง ติดตา หลับตาลืมตายังเป็นวงยังเป็นกลมอยู่ ติดเข้าไป กล่อมเข้าไป สงบเข้าไป อันนั้นเรียกว่าขี้เกียจขี้คร้าน เวลาออกจากความสงบอาการแบบนั้นแล้ว ยิ่งอ่อนแอเหมือนกับชีวิตของคนบางคน ความสะดวกสบายที่เกิดจากเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ไม่ได้เกิดจากเราทำให้ชีวิตอ่อนแอ แต่ชีวิตบางคนยากลำบาก จะต้องทำเอาเอง หาอยู่หากินเอาเอง ช่วยตัวเอง ก็กลายเป็นความเข้มแข็งไม่กลัว ต่อสู้สะเทือนบกสะเทือนน้ำได้ ชีวิตจะต้องเกิดจากการกระทำทั้งหมด นี่เรียกว่าประสบการณ์และบทเรียน ช่วยเหลือตัวเองพึ่งตัวเองได้ การปฏิบัติธรรมในการเจริญสติปัฏฐานดูกายนี่ ในกิริยาที่ดูที่เห็นสร้างความรู้อยู่บ่อยๆ ให้เกิดความรู้อยู่บ่อยๆ กิริยาก็มี ท่าทางก็มี การสัมผัสเป็นรูปธรรมจริงๆ มือวางไว้บนเข่าก็วางไว้จริงๆ ตะแคงมือตั้งไว้ก็ตะแคงจริงๆ ยกมือขึ้นก็กิริยาที่ยกออกเคลื่อนไหวไปมาก็รู้จริงๆ ให้มันกวนๆ สักหน่อย ปวดขา ปวดแขน ปวดหลัง ปวดเอว ปวดไหล่ ตาก็ไม่ต้องหลับ หลายๆ อย่างที่เราเจริญสติ สิ่งที่ทำให้เกิดความหลงก็มีหลายอย่างเพราะเราไม่กล่อม เราเห็นความง่วงเหงาหาวนอน ความเบื่อ ความปวด ความเมื่อย อะไรต่างๆ เรารู้ เรารู้สึกตัวทางกายทางใจไปพร้อมๆ กัน ทางรูปทางนามไปพร้อมๆ กัน ไปพร้อมๆ กัน เห็นเวทนา ทางเวทนา เกี่ยวกับเวทนา เวทนาไม่ขวางกั้น เห็นจิต จิตก็ไม่ขวางกั้น เห็นธรรม ธรรมก็ไม่ขวางกั้น ข้ามล่วงไป ข้ามล่วงไป เอาไปเอามาก็เห็นสิ่งที่มันขวางกั้นเป็นปัญญา ไปเห็นรูปที่มันเคลื่อนมันไหว เห็นอาการเคลื่อนไหวมันเคลื่อนไหวเป็น มันเป็นสุขเป็น มันเป็นทุกข์เป็น เอาไปเอามา เอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นปัญญา เป็นปัญญา ความสุขก็ทำให้เกิดปัญญา ความทุกข์ก็ทำให้เกิดปัญญา กิเลสตัณหาความโกรธโลภหลงทำให้เกิดปัญญา มันก็พูดว่าอันก่อนๆ อันเก่า อันเก่า เมื่อมันเห็นอันเก่าผ่านหน้าผ่านตาอยู่เสมอมันก็เกิดปัญญารู้แจ้ง แค่นั้นเองๆ รู้แจ้ง ก็เรียบเข้าไปแล้ว ขรุขระตรงไหนก็เรียบตรงนั้น ข้ามล่วงตรงนั้น การข้ามล่วงการทำสิ่งที่มันขรุขระให้มันเรียบนั่นเรียกว่าปฏิบัติ เรียกว่าปฏิบัติ อย่าท้อถอย อย่าไปโอย บางคนเอาหลังเอาแขนมาอ้างว่าปวดหลังปวดเอว บางคนก็เอาลูกเอาหลานมาอ้างว่ายุ่งยาก เอาความยาก เอาความง่าย ทำอะไรลงไปง่ายไหม ถ้าง่ายก็ เออ ดี ถ้ายากก็ไม่สู้ มันยังขรุขระ แม้แต่ความง่ายก็ขรุขระ ความยากก็ขรุขระ พอทำอะไรลงไปนี่ เราก็คิด ทำตามความคิด ถ้ายากก็เป็นความคิด ถ้าง่ายก็เป็นความคิด ถ้าได้ก็เป็นความคิด ถ้าไม่ได้ก็เป็นความคิด ถ้าผิดก็เป็นความคิด ถ้าถูกก็เป็นความคิด ถ้ารู้ก็เป็นความคิด ถ้าไม่รู้ก็เป็นความคิด เพราะว่ามันไม่ใช่ของจริงก็แบบนั้น เอาไปเอามาสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความคิดเลย มันเกิดจากการกระทำ เกิดจากการกระทำ กลายมาเป็นปัญญาทั้งหมด ง่ายก็เป็นปัญญา ยากก็เป็นปัญญา ผิดก็เป็นปัญญา ถูกก็เป็นปัญญา พอมันรู้ไป รู้ไป รู้ไป ความคิดอาจจะยากกว่าการกระทำ บางอย่างการกระทำอาจจะยากกว่าความคิด โดยเฉพาะภาคปฏิบัตินี่ การกระทำนี่ง่ายกว่าความคิด เช่นความโกรธรู้สึกตัวน่ะมันง่ายกว่าความคิด บางทีเราไปคิดว่าทำไม่ได้ๆ พอทำลงไปจริงๆ มันทำได้ ความโกรธ ความโลภ ความหลง กิเลสตัณหา กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด ยากแต่กับความคิด พอเรามาทำลงไปมันก็ไม่มีอะไร ไม่เห็นมีอะไร เหมือนเรามองภูเขา พอไปถึงหลังเขามันก็ไม่มีอะไร มันไม่ใช่เอาความคิดมาเป็นการตอบ เอาเหตุเอาผล มาปฏิบัติ มันก็แค่นี้เลยนี่ มันก็มีแต่สติเท่านั้น ที่สุดๆ ก็มีแต่สติเท่านั้น มันมีความสะดวก หากภาคปฏิบัติจริงๆ นั้น มันก็พอสะดวก
เอื้อมมือสร้างจังหวะยกมือเคลื่อนไหวไปมา มันก็เคลื่อนไหวง่ายๆ ไม่ใช่เอาความคิดมาเกี่ยว ฉันชอบไม่ชอบอย่างนี้ ฉันชอบแบบนี้ ไม่สร้างจังหวะได้ไหม นั่งดูลมหายใจได้ไหม นั่งอยู่นิ่งๆได้ไหม นั่นก็ได้เหมือนกัน นั่นก็ความคิดแล้ว ไม่ใช่การกระทำ แล้วก็ทำตามความคิด ทำตามความคิด ไม่อยากทำอะไร อยากทำแบบนี้ๆ มันก็เลยยากกับความคิด แต่เมื่อทำลงไปมันไม่ได้ยากกับความคิด เอาความคิดมายุ่งเกินไปในภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติไม่ต้องไปเอาความคิดมายุ่ง ไม่ต้องไปเอาเหตุเอาผลมายุ่งยาก เอาผู้เอาคนตัวตนบุคคลและสถานที่ไหนก็ตาม รู้สึกตัวได้ทั้งนั้นๆ เอาภายนอกมาเป็นวัตถุที่รู้สึกตัว เอาภายในมาเป็นความรู้สึกตัว เคลื่อนไหวมาเป็นความรู้สึกตัว การเคลื่อนไหวภายนอก สิ่งแวดล้อม รู้สึกตัว รู้สึกตัวได้ ก็ลุยๆ ไปอย่างนี้ ปฏิบัติธรรมลุยๆ ไปสักหน่อย มีสิ่งที่ทำให้เราลุยข้ามล่วงไป มันก็แก่กล้าอวดเก่งขึ้นมา เอาไปเอามาอันที่เราคิดว่ามันยากก็หายไปไหนก็ไม่รู้ เช่น ความโกรธ ความโลภ ความหลง หายไปเมื่อไหร่ไม่รู้ พอมีสติแล้ว คิดหาก็จะไม่เห็นนั่นแหละเวลาเราปฏิบัติจริงๆ ยิ่งมาได้หลักได้ฐาน พบสูตร เป็นสูตร สูตรของรูปสูตรของนาม ได้หลักสูตรของรูป ได้หลักสูตรของนาม รู้หมด รู้ครบ รู้ถ้วน ไม่มีอะไร มันเป็นรูปเป็นนาม ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความรัก ความชัง ความวิตกกังวล กิเลสตัณหาไม่มีที่ตั้ง จะตั้งไว้ตรงไหนก็ไม่มีให้ตั้ง มันเป็นรูป มันเป็นนาม มันเป็นอาการ มันเป็นธรรมชาติ กินเหล้าสูบบุหรี่มันหายไปไหนก็ไม่รู้ ความทุกข์ทั้งปวงมันหายไปไหนก็ไม่รู้ เคยทุกข์เพราะเรื่องนั้น เคยสุขเพราะเรื่องนี้ อ้าว มันหายไปไหนก็ไม่รู้ คิดหาไม่เห็น หรือจะปรุงแต่งให้มันรักมันชังมันก็ข่มขืน มันไม่ถูก มันไม่ถูก ความหลงก็ไม่ถูก ความทุกข์มันก็ไม่ถูก ความโกรธมันก็ไม่ถูก ปรุงๆแต่งๆให้รักให้ชังมันก็ไม่ถูก มันไปไม่ได้เพราะมันไม่ถูกมันไม่เอา มันไม่รู้เรื่องกับความถูกต้อง ความถูกต้องนี่มันไม่รู้เรื่อง ความโกรธ ความโลภ ความหลง เหมือนกับคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเครื่องมือการทำงาน เราไปกดเอาเงินในตู้ เขาก็บอกว่าไม่รู้เรื่อง เขาไม่ให้เราเพราะมันไม่ถูกต้อง มันเถื่อน ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความอะไรต่างๆ มันเถื่อน มันไม่ชอบ เมื่อเราพบเห็น เมื่อเราสร้างไปๆ รู้สึกตัวไปๆ ข้างหน้าข้างหลังก็เรียบไป ปัจจุบันเรียบไป อดีตก็เรียบไป อนาคตก็เรียบไป พอมันสมบูรณ์ภาคปฏิบัติ ชีวิตเป็นๆ เอารูปเอานามเอากายเอาใจมาสร้าง ความผิดความถูกก็เลยปัญหาต่างๆ เกิดที่รูปที่นาม เกิดที่กายที่ใจ เห็นแล้วเห็นอีก มันก็โชว์ให้เห็นอยู่เรื่อย มันก็เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นอยู่เรื่อย ไปอย่างนี้ ปฏิบัติธรรมก็เรียบไปเลย พาให้เรียบเพราะความรู้สึกตัวพาให้เรียบ มันหลงก็รู้ มันรู้ก็รู้ มันเรียบไปอย่างนี้ ยินดียินร้ายมันก็รู้ มันเรียบไปแล้ว โกรธโลภหลงก็เรียบไปแล้ว อะไรที่มันเกิดขึ้นที่ไม่ใช่สติ สติทำให้เรียบ ไม่ใช่ไปเบนไปทางอื่น ถ้ามีสติคู่กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเวลาปฏิบัติ นั่นเรียกว่าปฏิบัติ พบเห็นกับสิ่งต่างๆในเวลาปฏิบัติ มีสติเข้าไปเกี่ยวข้องทุกเรื่องทุกราว ไม่ปฏิเสธ ไม่กลบเกลื่อน มีปัญหามันก็มีปัญญา ไม่กลบเกลื่อน ให้มันหลงลงไป ให้มันทุกข์ลงไป ให้มันวิตกกังวลลงไป ให้มันมีโรคภัยไข้เจ็บลงไป มีปัญหาลงไป สุขภาพอะไรลงไป เอาเลย มันจะเป็นอะไร รู้สึกตัวไปก่อน รู้สึกตัวไปก่อน มาทางนี้ เข้าทางเสียก่อน อย่าออกทาง มาเข้าทาง กิริยาก็มี ยกมือเคลื่อนไหวไปมามันมีอยู่ ความรู้สึกตัวขณะที่ยกมือมันเป็นปัจจุบัน มันก็ทำได้อยู่ มาทางนี้ก่อน ไปทางนี้ก่อน หัดเดินทางนี้ก่อน หัดนิสัย หัดปัจจัย ให้เคย เคยรู้ หลงตรงไหนเคยรู้ ผิดตรงไหนเคยรู้ ทุกข์ตรงไหนเคยรู้ สุขตรงไหนเคยรู้ อะไรต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมันก็เคยรู้ๆ มันก็มาทางนี้ แต่ก่อนผิดตรงไหนเคยหลง ถูกตรงไหนเคยหลง ทุกข์ตรงไหนเคยหลง ไปร่วมมือกับสิ่งต่างๆ มานี่ มารูๆ เรียกว่าปฏิบัติ ปฏิบัติคือทำอย่างนี้ มันไม่ยาก ไม่ต้องไปเข็นไปขนอะไร รู้สึกตัวนี่มันสะดวก สะดวกกว่าหลง สะดวกกว่าสุข สะดวกกว่าทุกข์ สุข ทุกข์ หลง ยินดียินร้าย มันลำบากนะ สัมผัสดูแล้วมันลำบาก มันเจ็บ มันปวด ถ้ารู้สึกตัวนะมันหาย หายโลภ หลงตรงไหนรู้สึกตัว โกรธตรงไหนรู้สึกตัว ทุกข์ตรงไหนรู้สึกตัว มันหาย ทำให้หายไป นี่ ปฏิบัติทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ให้มันเป็น ทำให้มันเป็น ไม่ใช่ความรู้นะ ทำให้มันเป็น มันหลงแล้วรู้สึกตัวนี่ทำเป็นไหม มันโกรธแล้วรู้สึกตัวทำเป็นไหม มันโลภ มันหลง มันรัก มันชัง มันวิตกกังวล เศร้าหมอง รู้สึกตัว ทำให้มันเป็นตรงนี้ หากไม่ทำตรงนี้มันก็ไปไม่ถึงไหน มันจ้ำเบ้าอยู่ที่เดิม หลงก็ใหญ่โต ทุกข์ก็ใหญ่โต ข้องอยู่ตรงนั้น ติดอยู่ตรงนั้น ถ้ารู้สึกตัวนี้ไม่ต้องประสีประสามันละ รู้สึกตัวสร้างจังหวะไปก่อน เอ้า สิบสี่จังหวะ เอ้า ไปก่อน ลำดับไปก่อน เป็นหนึ่ง เป็นหนึ่ง เป็นหนึ่งไป
เหมือนกับเราทำงาน เหมือนกับเราตื่นขึ้นมาก่อไฟหุงข้าว หนึ่ง ก่อไฟ สอง น้ำใส่หม้อนึ่ง สาม ซาวข้าวใส่หวด ก็ยกมาใส่หม้อนึ่ง มันมีจังหวะไป จึงจะเป็นการนึ่งข้าวหุงข้าว มันจึงจะได้กิน ไม่ใช่ว่าไปทำอะไรกุกๆ กักๆ อ่อนแออยู่นั่น เอาความขี้เกียจ เอาความยาก ลำดับเขามีไว้แล้ว การนึ่งข้าว การหุงข้าว ต้องทำให้มันเป็นจังหวะไป มันจึงจะได้ข้าวมากิน ไปมัวแต่ยุ่งแต่ยาก ไปมัวแต่ลำบาก มันไม่ได้ข้าวกิน แล้วก็ได้ข้าวกินก็ได้ด้วยความยากลำบากทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น หุงข้าวก็หุงข้าวซะ นึ่งข้าวก็นึ่งข้าวซะ อย่าให้มันเป็นอันอื่นไป มันลำดับไป หนึ่ง สอง หนึ่ง สอง หนึ่ง สองไป การปฏิบัติก็เป็นเช่นนั้นแหละ หนึ่ง สอง หนึ่ง สอง หนึ่ง สองไป เอ้า รู้อีก เอ้า รู้อีกไป มันหลงก็มารู้อีกไป สร้างรู้อยู่เรื่อย สร้างตัวรู้อยู่เรื่อย เอาไปเอามา ตัวรู้ ตัวรู้ ตัวรู้ ตัวรู้ ชำนิชำนาญใหญ่โตขึ้นมา เห็นอะไรต่างๆ ไม่มีที่หลบไม่มีที่บัง มันไม่เหมือนกับสร้างความสงบนะ การทำให้สงบไม่ได้เห็นอะไรดอก มันสงบอยู่ชั่วโมงสองชั่วโมง ออกจากความสงบมาแล้วก็ต้องรักษา ต้องระวัง ต้องค่อย ต้องย่อง ต้องทำอะไรอยู่ กิริยาที่ทำยังไม่เป็นสากล ปฏิบัติธรรมนะต้องมีงานมีการ ทำงานให้มันสำเร็จ มีงานทำ ทำงานให้มันสำเร็จ สำเร็จๆ ไป ความหลง ทำความหลงให้รู้ สำเร็จไปแล้ว ความทุกข์ ทำความทุกข์ให้รู้ ก็สำเร็จไปแล้ว ทุกข์เท่าไหร่รู้เท่านั้น หลงเท่าไหร่รู้เท่านั้น ปัญหาอยู่ที่ไหน รู้เท่านั้น รู้เท่านั้น รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว หลายๆ อย่างรู้แล้ว รู้อันเก่า อันไหนๆก็อันเก่า ความโกรธก็อันเก่า ความโลภก็อันเก่า ความหลงก็อันเก่า สุขๆ ทุกข์ๆ ก็อันเก่า รู้แล้ว เราได้รู้แล้วล่ะ ตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่ก้าวแรกทีเดียว จนได้หลักได้ฐาน เห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม เห็นรูปทุกข์ เห็นนามทุกข์ เห็นรูปธรรมเห็นนามธรรมก็เอารูปเอานามทำความดี เห็นรูปทุกข์นามทุกข์ มันก็ช่วยรูปที่มันเป็นทุกข์ช่วยนามที่มันเป็นทุกข์ ให้เป็นความรู้สึกตัว เห็นรูปโรค นามโรค เห็นสมมุติ เห็นบัญญัติทั้งหลายๆ ที่มันเป็นสมมุติบัญญัติ มันข้องมันติด มันทำให้หลงอยู่ตรงนั้น สมมุติบัญญัติที่เป็นรูปธรรม สมมุติบัญญัติที่เป็นนามธรรม สมมุติบัญญัติที่เป็นนามธรรมเกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่ง สำคัญมั่นหมายว่าดีว่าไม่ดี ว่าชอบว่าไม่ชอบ อันนี้ฉันชอบ อันนี้ฉันไม่ชอบ คนนั้นฉันชอบ คนนั้นฉันไม่ชอบ สมมุติบัญญัติทั้งนั้น อันนั้นวัตถุ อันนั้นงามวัตถุ อันนี้ขี้เหร่ สัตว์ตัวนั้นงาม สัตว์ตัวนี้ดี คำพูดอย่างนั้นดี คำพูดอย่างนี้ไม่ดี เอามาข้องมาติดกับสมมุติบัญญัติ ให้สมมุติบัญญัติผูกมัดรัดรึง ในเป็นนามธรรม ที่เป็นรูปธรรม เห็นสมมุติรื้อถอนสมมุติ เบาหวิว เบาหวิวเลย วัตถุอาการต่างๆ
ในชีวิตของเราก็มีวัตถุมีอาการ วัตถุภายในมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีจิต วัตถุภายนอกมีรูป มีรส มีกลิ่น มีเสียง ดินฟ้าอากาศ ภูเขา ป่าไม้ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ฝนตกลงมา ลมหนาว แสงแดด มันไม่ใช่เกี่ยว มันไม่ใช่เราคนเดียว มันมีอะไรหลายๆ อย่าง เราเดินไปมันลื่น มันหก มันล้ม โอ้ มันมีวัตถุอาการที่เป็นสมบัติของโลก เกิดฟ้าผ่า เกิดลม เกิดฝนแล้ง เกิดน้ำท่วม โอ้ มันเป็นวัตถุอาการทั้งหลายๆ สิ่งเหล่านั้นเราเห็น ไม่เอามาเป็นทุกข์ ที่เราเดินไปล้ม หัวแตก โอ้ เพราะมันมีวัตถุอาการ มีเหตุมีปัจจัย เพราะสิ่งนั้นมีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้มี เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มี มันเห็นธรรม เห็นปฏิจจสมุปบาทต่อเนื่องกันไป เห็นสมมุติ เห็นบัญญัติ เห็นวัตถุอาการ เห็นปรมัตถ์ ปรมัตถ์คือความจริง ความโกรธไม่จริง ความไม่โกรธจริงกว่า ความทุกข์ไม่จริง ความไม่ทุกข์จริง ความหลงไม่จริง ความไม่หลงเป็นของจริง ปรมัตถ์ มันก็มีอยู่ ขี่คอมันไปอยู่ปรมัตถ์ แต่ก่อนเราไม่เห็นของจริง ทั้งสุขทั้งทุกข์ก็ไม่เห็นจริง สุขก็ยังเป็นสุข ทุกข์ก็ยังเป็นทุกข์ เรียกว่าไม่เห็นของจริง มันก็เปลี่ยนกันอยู่ เปลี่ยนความเป็นใหญ่อยู่ ตอนนี้เราเห็นแล้ว เราเป็นใหญ่แล้ว มีสติอินทรีย์เป็นใหญ่แล้วอันนี้ เรียกว่ารื้อถอนสมมุติบัญญัติ วัตถุอาการปรมัตถ์ ปรมัตถ์สัจจะ เห็นบุญเห็นกุศล มีกุศล ดับกุศล สองอันเท่านี้ กุศลทางกาย กุศลทางวาจา กุศลทางจิต อกุศลทางกาย อกุศลทางวาจา อกุศลทางจิต คือบาป คือบุญ ความฉลาด ความโง่ ทางกาย ทางวาจา ทางจิต ผู้รู้แล้วก็กุศลทางกายแล้ว กุศลทางวาจา กุศลทางจิตต้องแสดง บัดนี้ต้องแสดง แสดงแล้วหมายความว่าต้องช่วยกัน ต้องมีเมตตากรุณา สร้างกุศลทางวาจาก่อน พูดสิ่งใดมีเมตตากรุณา ทำสิ่งใดมีเมตตากรุณา คิดสิ่งใดมีเมตตากรุณา เป็นกุศลทางกาย ทางวาจา ทางจิต สะอาดบริสุทธิ์หมดจด พบศีลพบธรรม ได้ที่อยู่ มีเมตตากรุณาไม่ขาดแคลน ไม่ขาดแคลน มิตรภาพราบเรียบในชีวิต ไม่ฟูๆ แฟบๆ มั่นคง ชีวิตมั่นคง อันนี้ ชีวิตของเรามั่นคงก็เป็นประโยชน์ต่อหลายๆ อย่าง ทำความดีไปเรื่อยๆ อะไรที่เป็นความดีทางกาย อะไรที่เป็นความดีทางวาจา อะไรที่เป็นความดีทางจิตใจ เอากายเอาใจเอารูปเอานามมาทำความดีได้สำเร็จ ได้สำเร็จ ชีวิตของเราต้องเป็นอย่างนี้ ในปัจจุบัน หายใจเข้าหายใจออกเป็นปัจจุบัน มีชีวิตทำความดี มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ อย่างน้อยก็ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์แก่โลก ประโยชน์แก่พระศาสนา นั่น ปฏิบัติธรรม เรียกว่าปฏิบัติธรรม เริ่มต้นจากการเจริญสติดูกายดูใจ มันก็ไปได้ มันก็ก้าวแรก มันก็พาเราไป เราไป เราไป รู้น้อยๆ ความรู้น้อยๆ มันก็กำเนิดเหมือนกับเมล็ดแห่งโพธิ เอาไปเอามาก็งอกงามไปๆ โพธิ โพธิ โพธิ คิดชอบฉายาของเจ้าคุณพระราชโพธิ (วิเทศน์) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ตั้งชื่อฉายาให้พระสงฆ์ผู้บวชใหม่ลงท้ายด้วยโพธิ โพธิ สุวณฺโณโพธิ ปวัตตโนโพธิ อารักขโณโพธิ โพธิ โพธิ นี่ไม่ขาดไม่แคลนในเชื่อ เชื่อโพธิ โพธิคือปัญญา คือการหลุดพ้น โพธิ โพธินี่