แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
มาฟังธรรมต่ออีก จากที่เราได้ฟังพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อมีการฟังแล้วเอามาเป็นข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติก็คือ กรรมฐาน กรรมฐานเอากายเอาใจมาเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำ เยอะแยะ คู่มือของการศึกษาเรื่องชีวิตของเราที่จะเรียนให้จบ เพื่อถึงมรรคถึงผล ก็เหมือนเป็นอาชีพทางจิตวิญญาณของเรา ไม่ต้องจน อาชีพทางโลกก็ย่อมมีเครื่องไม้เครื่องมือ บางทีไปซื้อหาราคาแพง ๆ กว่าจะได้ชีวิตรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หายเจ็บ หายป่วย แม้จะมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ชีวิตจริง ๆ มันหมายถึงมรรคถึงผลเหมือนการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรียกว่าอาชีพทางจิตวิญญาณ คู่มือในการศึกษาเรื่องนี้มีพร้อม ในตัว นอกตัว เรียกว่า ศาสนา ศาสนวัตถุ ศาสนพิธี ศาสนบุคคล ศาสนธรรม มีให้ได้เกิดความสะดวกในการนี้จึงเหมาะแก่กรรมฐานมากที่สุด
โดยเฉพาะชีวิตของเราที่เป็นนักบวช อยู่วัดป่าอาราม เป็นอาชีพโดยตรงอย่าไปทำอย่างอื่น มีสิทธิร้อยเปอร์เซนต์ อะไรที่เกิดขึ้นกับกายก็ร้อยเปอร์เซนต์ อะไรที่เกิดขึ้นกับใจก็ร้อยเปอร์เซนต์ ทำให้ถูกได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีการต่อรอง ขอร้องจากใคร ๆ เช่น เวลาเราฝึกวิชากรรมฐาน มีสติไปในกายอยู่เป็นประจำ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทำเรื่องนี้ มีสติไปในกายเป็นประจำ กายก็มีวิธีใดที่จะให้เกิดความรู้สึกที่กาย เยอะแยะ ลมหายใจก็เป็นกาย ยืน เดิน นั่ง นอนก็เป็นกาย คู้ เหยียด เคลื่อนไหวก็เป็นกาย พริบตา หายใจก็เป็นกาย จับตรงไหนก็ได้ให้มีสติ อย่าให้มันฟรี ตั้งใจทำจุดใดจุดหนึ่งให้เป็นเฉพาะเรื่องเฉพาะราวไป 1 วัน 7 วัน 1 เดือน 7 เดือน 1 ปี 7 ปี ลองดู พิสูจน์ลองดู สถานที่ก็เป็นวัดวาอาราม มีมิตร มีเพื่อน มีศาสนวัตถุที่อาศัย มีศาสนบุคคล หมู่มิตรเพื่อนฝูง มีศาสนพิธี เข้าวัดสวดมนต์ สาธยายพระสูตร มีระเบียบวินัยที่ปฏิบัติตาม แล้วก็มีศาสนธรรมที่บอกผิดบอกถูกแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ฟรี ไม่ฟาวล์
เวลาทำกรรมฐานเห็นทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ มีทุกอย่างที่มันแสดงออกมาให้เห็นให้มีสติ อย่างน้อยก็ได้ทางผ่านเห็นกาย อะไรที่เกิดกับกาย ไม่ลี้ไม่ลับ เป็นรสของโลกที่เกิดกับกาย มีรสชาติ อย่าหลง ให้เห็น ให้มีสติ เห็นกายก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่าเอาอาการต่าง ๆ ที่เกิดกับกายมาเป็นตัวเป็นตน อย่าเอามาเป็นตัวเป็นตน ให้เห็นเป็นโลกที่มันเกิดกับกาย ถอนความพอใจ และไม่พอใจอะไรที่เกิดกับกายออกมา ให้มีสติ นี่ ให้ทำอย่างนี้ แล้วสิ่งที่มันเกิดกับกายก็มีสุขมีทุกข์ เรียกว่าเวทนามันมี มีปวด มีเมื่อย มีร้อนมีหนาว มีหิว มีอะไรหลายอย่าง มียากมีง่าย มีผิดมีถูก มีหลงมีลืม อะไรหลายอย่าง ให้เห็น อย่าเอามาเป็นตัวเป็นตน เป็นสุขเป็นทุกข์ ให้สักว่าเวทนา ทิ้งมันลงไปที่เก่า อย่าให้มันไปไกล วางไว้ที่เก่า เวทนาสักว่าเวทนา ถ้าเอาเวทนามาเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นตัวเป็นตนก็โลก รสของโลกเกิดขึ้นแล้ว รสของโลกถ้ามีอยู่ตรงนี้ ไปไกลถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้
ชีวิตที่มันคิดก็มี มันมีวิญญาณ จิตวิญญาณในรูปในกายนี้ มันมีจิตวิญญาณ สำคัญมากตัวนี้ อาศัยกันและกันเพื่อให้เกิดภพเกิดชาติได้ ถ้ามีไม้มีมือ ความคิดมือของจิต มือไม้ของจิตที่มันคิด มันเป็นใหญ่มาก เป็นใหญ่กว่ากาย ถ้าไม่มีสตินะ มันคิดอะไรก็ไปตามความคิด ไปตามความคิดทุกอย่าง ทำตามความคิดทุกอย่าง ถึงเวลานอนมันก็ยังคิด คิดจนนอนไม่หลับ นั่นสักแต่ว่าจิต อย่าไปเป็นตัวเป็นตน จิตที่มันเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ตัวใช่ตน มันสักแต่ว่า มันยิ่งใหญ่ ถ้าเรามีสติรู้สึกแล้วเห็นแล้วว่าใหญ่ ภาวะที่เห็นที่รู้นี่เป็นอินทรีย์ เป็นตัวใหญ่สามารถเห็นได้ ถ้ามีสติ ได้พละกำลังมาจากกาย ได้กำลังมาจากเวทนา ได้เฉลยมาแล้ว ได้กำลังมาเฉลยตัวจิต มันก็ว่าอันเดียว อันเดียว มีพลังเหมือนรถวิ่งออกแรงมาไกล ปลาย เป็นปลาย ปลายแรง อาจจะมีความแรงไม่เหมือนกับต้น แล้วก็มีธรรมที่มันเกิดขึ้นต่อไปจากจิต ธรรมหมายถึงธรรมารมณ์ มันย้อมมันย้อมจิตได้ คิดขึ้นมา เป็นกิเลสตัณหา ราคะ เป็นตัวเป็นตน คิดขึ้นมาแล้วโกรธ โลภ หลงได้ เป็นสุขเป็นทุกข์กับความคิดได้เช่นกัน คลายความคิดให้เป็นเวทนาอยู่มากที่สุด เวทนาเกิดจากความคิด อาจจะถึงร้อยทั้งร้อย
ในด่านนี้มีปัญหาเรื่องจิตเรื่องใจมากที่สุด การเป็นธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ที่เกิดกับจิตร้ายกว่าเสื้อ ทำลายคนมาก ฆ่าตัวเอง ฆ่าคนอื่น ทำลายสิ่งอื่นวัตถุอื่น เดือดร้อน นี่เกิดเป็นธรรมขึ้นมา เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมบางอย่างก็เป็นกุศล เกิดจากจิตก็อย่าลืม มันเห็นแล้วอาจจะมีความสุข สงบบ้าง ปิติบ้าง เห็นมันมีหลายอย่าง ฉากที่เกิดจากความคิดที่ออกมาจากจิตเป็นได้หลายอย่าง คุ้มร้ายคุ้มดี ฟู ๆ แฟบ ๆ กลางคืนว่าฝัน กลางวันว่าคิด กลางคืนเป็นฝัน กลางวันเป็นเปลว มากมาย ธรรมารมณ์ที่เกิดกับจิต มีรักมีชัง มีสุขมีทุกข์ มีอะไรเยอะแยะไปหมดเลย มีกิเลสตัณหาราคะ พยาบาท มีกุศล มีใจดี ใจงาม แล้วก็มี เยอะแยะไปหมดเลย มีความรักความชัง เกิดความรักก็ทำตามความรัก เกิดความเกลียดชังก็ทำตามความเกลียดชังคือ จิตนั่นเอง นั่น สักแต่ว่าจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
เราก็เพียงพอได้คู่มือคู่มือเฉลยเบื้องต้น กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นหลัก ไม่เหนือไปจากกรรมฐาน สิ่งที่เราทำอยู่นี่มีสติเห็นกาย เห็นลักษณะ 4 อย่าง เห็นว่ามันเป็นรูปเป็นนาม เป็นรูปนาม มันมีมันเป็น มันก็แตกออกไป รอบไป ให้แตกฉานขึ้นมา สติมันไม่ใช่สติลุ่ม ๆ ดอน ๆ เป็นสติปัฏฐาน โต้ตอบทักท้วงใหญ่ขึ้นมาย่อมมีอำนาจ เมื่อสติมันมากย่อมมีพลัง มองทะลุทะลวง ได้เห็นเป็นรูปเห็นเป็นนาม บางทีรูปเป็นอาการ รูปก็คือเป็นรูปเป็นก้อน มหาภูตรูปประกอบด้วยธาตุ 4 อุปาทายรูปเกิดขึ้นมาจากมหาภูตรูป เป็นรูปที่เป็นภพเป็นชาติ บางทีรูปกับนามเบียดเบียนกัน นามเบียดเบียนรูป คือความรู้สึกคืออารมณ์คืออาการต่าง ๆ คือเกิดจากความคิดมาเบียดเบียนรูป บางทีรูปก็เบียดเบียนนาม บางครั้งเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอาการเกิดกับรูปกระทบ กระทบใจ บางทีใจโกรธก็เบียดเบียนรูป กินไม่ได้ กลืนไม่ลง ไม่เป็นธรรม พอมีสติขึ้นมายิ่งใหญ่มีอำนาจ มีความเป็นธรรมเกิดขึ้น เห็น เห็นอาการต่าง ๆ เกิดกับรูปกับนาม สรุปลงมาให้เห็น เห็นหมด เห็นครบเห็นถ้วน รูปธรรม มันทำดี รูปธรรมมันทำไม่ดี นามธรรมมันทำดี นามธรรมมันทำไม่ดี รื้อ เรารื้อรูปทุกข์เป็นทุกข์ นามทุกข์ไปแล้วบัดนี้ ต่อไป ผ่าตัดแตกไปแตกฉานไป เปิดเผยออกมา มันเหมือนของที่ปิดเปิดออก ของที่คว่ำหงายขึ้นแล้ว เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูป เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับนาม แค่ไหนเพียงไร
ภาวะที่เห็นนี้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูปกับนามอย่างถูกต้องแม่นยำไม่ผิดพลาด มาร้ายเป็นดีหมด ภาวะที่เห็นนี่มันทำได้อย่างนี้ ย่อมมีพลังแห่งการกระทำ เกิดศรัทธา เกิดความเพียร ไม่ท้อถอย ได้หลักได้ฐาน ได้ความเท็จความจริงที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนาม เราเคยทุกข์ เราเคยหลง เราเคยโกรธ พอมาเห็นพื้นฐานของมันแล้ว เสียเปรียบความทุกข์ เสียเปรียบความโลภ เสียเปรียบความโกรธ กระตือรือร้น กระตือรือร้นในความเห็นชอบ ในความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น เมื่อเห็นชอบ ดำริชอบ เมื่อมันหลง เห็นมันหลง ดำริไม่หลง เมื่อมันทุกข์ เห็นทุกข์ ดำริไม่ทุกข์ มาร้ายเป็นดี มาเท่าไหร่ก็ไม่กลัว ถ้ามันเห็นความเท็จ ความจริง ถ้ามันเห็นแล้วมันทำได้ ไม่ปล่อยทิ้ง แต่ก่อนมันปล่อยทิ้ง บัดนี้มันไม่ปล่อยทิ้ง อะไรที่ไม่ถูกนี่ ไม่ยอมเด็ดขาด ที่เกิดกับกายกับใจ กับรูปกับนามนี้ มันก็เห็นความสำเร็จในการกระทำ เชื่อมั่นในการกระทำ เชื่อมั่นในธรรม มีหลักสองอย่างนี้ เป็นการ เป็นคู่มือ เป็นแทรกเตอร์เป็นพลังก็ว่าได้
กรรม กับ ธรรม กรรม การกระทำ มั่นใจในกรรมในการกระทำ ไม่ต้องอ้อนวอนขอร้อง มั่นใจในการกระทำ ธรรมได้สำเร็จทุกอย่าง สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนามกับการกระทำ ที่เป็นการกระทำ รูปธรรม นามธรรม ธรรมบางอย่างมันเป็นธรรมชาติ รู้หมด แค่ไหนเพียงไร ธรรมบางอย่างเกิดจากการกระทำ เจตนาที่เป็นบาปที่เป็นบุญ เกิดจากการกระทำ คำว่า ความชั่ว มันก็ มันก็อยู่ไม่ได้ เคยทำชั่ว เคยคิดชั่ว มันตาย มันข่มขืนเพราะกรรมเป็นใหญ่ ไม่มีคนอื่นเห็น ก็เห็น ตัวเองเห็น กระทำทางกาย กระทำทางวาจา กระทำทางจิต มันไม่กล้า มันอาย มันอายเขา มันก็มีแต่ทำความดี ได้พัฒนาความชั่วให้เป็นความดี ความดีมันได้จากความไม่ดี ความทุกข์ ความไม่ทุกข์มาจากความทุกข์ มันก็ไปแบบนี้ ความทุกข์เป็นฐาน มันจึงไม่ทุกข์ ความชั่วเป็นฐานมันจึงไม่ชั่ว ความผิดเป็นฐานจึงไม่ผิด เห็นผิด เห็นถูก เห็นการกระทำ แล้วก็เห็นธรรม เห็นธรรมที่มันถูกมันผิด เหมือนกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมที่เป็นอกุศล ความหลงไม่จริง ความไม่หลงมันจริง เอาไม่ได้ ความไม่จริงเนี่ย ความทุกข์ไม่จริง ความไม่ทุกข์มันจริง เอาไม่ได้ อะไรที่มันผิดเนี่ย เอาไม่ได้ เรียกว่าธรรมแล้วบัดนี้ มีการกระทำได้สำเร็จคู่กันกับธรรม กรรมกับธรรมเป็นของเคียงบ่าเคียงไหล่กัน คู่หูซึ่งกันและกัน มีผิดแก้ไม่ผิด มีอะไรก็ตาม
นอกจากนั้นก็เห็นสมมุติที่มันอยู่ในรูปในนามในโลกทั้งโลกนี่ สมมุติบัญญัติ สมมุตินี่มีวัตถุก็มี มีนามธรรมก็มี บัญญัติสมมุติบัญญัติเป็นวัตถุสิ่งของ สมมุติบัญญัติเป็นนามธรรมไม่มีวัตถุสัมผัสไม่ได้ แต่มันไม่เป็นวัตถุเป็นดุ้นเป็นก้อน แต่ว่าสัมผัสได้ เช่น ชอบ ไม่ชอบ บัญญัติแล้วก็มีอุปทานยึด โอ้ สนุกดี เห็นต้นตอเห็นรากเหง้าสาวไป เหมือนกับเห็นสมุทัย เหมือนกับรื้อถอนโครงสร้าง อะไรที่มันเกิดขึ้นมา ถ้ามีกรรมฐานแล้วมันจะง่าย ๆ ถ้าไปอดไปทนเลยไม่ค่อยได้ เราเคยโกรธเราอดเอา ทนเอา เราเคยทุกข์อดทนเอาอันนั้นมันยาก แต่เวลาเรียนกรรมฐานเนี่ยมันง่าย ๆ มันไต่เต้าไปเหมือนกับเราเรียนหนังสือ ก.ไก่ ประถม ชั้นอนุบาล ประถม มัธยมอุดม เราถึงชำนิชำนาญจนถึงด๊อกเตอร์เชี่ยวชาญ อันนี้ก็มีความชำนาญเหมือนกัน เป็นปริญญาเหมือนกัน ชำนาญในการเห็น ชำนาญในการเห็น ในการรู้ หลงชำนาญมาก ไม่หลงมาพร้อมกัน ทุกข์ชำนาญมาก ชำนาญในการรู้ รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว เรียกว่าปริญญา กำหนดรู้ด้วยการรู้ ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ เป็นปริญญา ถ้าความผิดนี่ ละมาเพื่อถูก ชำนาญในการละ ตีรณปริญญา ชำนาญในการแจกแจงย่อยแยก ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน ย่อยแยกไป สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา ย่อยแยกไปจนไม่เหลืออะไร เหลือศูนย์ ทุกข์เหลือศูนย์ โกรธเหลือศูนย์ ปัญหาปัญญาไปเลย เมื่อมีความชำนาญก็เพราะมันไต่เต้ามาจากอนุบาล ยกมือสร้างจังหวะรู้สึกเลยได้ มันก็ไปถึงปัญญา ไม่ต้องจับหนังสือถ้าผู้เรียนอยู่ในสมอง มีปากกาเล่มเดียวเลี้ยงชีวิตได้ นี่คือปัญญา เมื่อมีปัญญาแบบพุทธะนี่ ปัญญาชำนาญในการรู้ ในการละ ในการแจกแจง ในการทำให้หมดไป ปหานปริญญา ทำให้หมดไป ไม่ค้างไม่เหลือ หมดไปคือถึงที่ไหน ถึงที่ไม่เป็นอะไรที่เกิดกับรูปกับนาม เห็นสมมุติ เห็นบัญญัติ เห็นวัตถุอาการต่าง ๆ ครบ เข้าสู่ศีล เข้าสู่สมาธิ เข้าสู่ปัญญา เข้าสู่ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล น้อยลง น้อยลง สรุปลง สรุปลงเหมือนอยู่ในกำมือ ปฏิบัติธรรมนี่นะ เหมือนชีวิตมารวมลงที่กำมือเดียว ทั้งหมด ไม่ต้องไปดูอะไรที่ไหน ศีลก็เหมือนกัน วินัยก็เหมือนกัน
ถ้าเราไปอ่านวินัยเพื่อแก้ปัญหา อย่างที่คนถามว่า น้ำท่วมเจ้าภาพไปทอดกฐินไม่ได้ จะทำยังไงมาทอดที่ สมมุติเจ้าภาพอยู่ชัยภูมิ ทอดที่ชัยภูมิได้ไหม ให้พระที่อยู่สกลนครมารับกฐินที่ชัยภูมิได้ไหม แล้วก็ไปอ่านวินัย สิกขาบทไหน ผิดสิกขาบทไหน อันนี้มันก็เป็นสมมุติขึ้นมา บัญญัติขึ้นมา แล้วก็ทุกวันนี้ การที่อย่างวัดป่ามหาวันนี่ เจ้าภาพมาไม่ได้ ส่งธนาณัติมาปัจจัยมาให้ อันนี้ก็ได้ ถ้าภิกษุไปรับเอง มารับกฐินเอง ไม่มีใครนำไป นำไปเอง ได้เพียง 3 โยชน์ เกินกว่า 3 โยชน์ต้องอาบัติเพราะอะไร ไปถูกโจรผู้ร้ายปล้นเอาซะ ในสิกขาบทข้อหนึ่งว่า ภิกษุเมื่อมีผู้ถวายขนเทียม ภิกษุเดินทางไกล เมื่อมีผู้ถวายขนเทียม ก็รับมาได้ แต่ไม่มีใครนำมา นำมาเองได้เพียง 3 โยชน์ เพราะฉะนั้นเกินกว่า 3 โยชน์ต้องอาบัติ เพราะขนเทียมสมัยพระพุทธเจ้ามันราคาแพง ผ้าปูผ้านั่ง เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว(หัวเราะ) มีอย่างนี้ อันนี้ ถ้าเราไปไล่สิกขาบทนี่ มันก็เป็นอย่างนั้น นี่ธรรม ทำมานี่ (...) เราไปไล่สิกขาบทเนี่ย คู่มือปฏิบัติเพื่อถึงมรรคถึงผลเนี่ย ไม่ได้อยู่ที่ไหน มันอยู่ที่เรานี่แล้ว เข้าสู่ศีล เข้าสู่สมาธิเป็นตัวปัญญา วินัยก็คือนำไปสู่การวิเศษ นำไป ไม่ใช่นำไปนะ นำทางจิตวิญญาณไปสู่สิ่งที่วิเศษ ในความหลงไม่วิเศษ ความไม่หลงวิเศษ นี่วินัย มีทุกข์ ไม่ทุกข์ มีหลงไม่หลง มีโกรธ ไม่โกรธ วินัยแล้วตรงนั้นน่ะ มีวินัยแล้ว จนถึงโน่น ตรงที่เราสาธยายพระสูตร สัมมาสมาธิ เพราะละกามเสียได้ ละวิตกเสียได้ ไปโน่น วินัยแล้วตรงนั้นน่ะ เป็นธรรมวินัย ธรรมวินัยนี้เกิดจากสตินี่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่วินัย ธรรมวินัย ธรรมวินัยนี่เป็นมรรคเป็นผล เป็นมรรคเป็นผล ธรรมวินัยที่บัญญัติเป็นสิ่งที่ช่วยเราเหมือนเรือลำใหญ่ไม่ให้หลุดให้หล่น เพราะมีภิกษุปฐมอาบัติเกิดขึ้นแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง ต้องบัญญัติสิกขาบท พอมีวินัยบัญญัติอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าก็บอกว่าให้บวช เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยตรัสไว้ดีแล้ว จงปฏิบัติตามธรรมวินัยนั้นเถิด นั่นมันง่าย
บางคนหาว่าวินัยนี่จุกจิก ไม่ใช่เลย ปฏิบัติตามธรรมวินัยมายังไงก็ เป็นอันเดียวกัน ง่ายยังไงธรรมวินัย ผู้ที่ยังไม่มา ขอให้มาสู่อาวาสเรา สมมุติว่าที่นี่เป็นเรา ที่เราอยู่ที่นี่ วินัย ธรรมวินัยคิดอยู่เสมอว่า ผู้ที่ยังไม่มาขอให้มาสู่อาวาสเรา มาแล้วอยู่เป็นสุขเป็นสุข แม้จากไหนตระกูลใดชาติใดที่ไหนมาอยู่ที่นี่ให้มีความสุข อย่าเบียดเบียนกัน ช่วยเหลือกัน พึ่งพาอาศัยกัน ฝากผีฝากไข้ต่อกันและกัน ไม่ได้แยกว่าคนนั้นเป็นญาติ คนนี้เป็นเพื่อน ไปเสมอกันหมดเลยโดยธรรมวินัย เหมือนเส้นด้ายร้อยดอกไม้ ดอกไม้ต่างต้นต่างสี ลูกต่างพ่อต่างแม่ ต่างนิสัยใจคอ เมื่อมาอยู่ที่นี่ต้องเป็นคนเดียวกัน ธรรมวินัย อันเดียวกันหมด ไม่ได้แยก เพราะฉะนั้นมีอะไรก็ให้พึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน บางทีเรามีที่อยู่ มันก็กว้างใหญ่ ดูแลไม่ทั่วถึง อยู่ใกล้กันก็บอกกัน ดูแลกันบ้าง ให้เห็นกันทุกวัน อยู่ใกล้กันน่ะ ถ้าไม่เห็นก็ต้องถาม บางทีอาจเจ็บป่วยไม่ได้ออกมาจากกุฏิ พอเห็นแล้วก็บอกต่อ ๆ กันไป จะได้ลงช่วยกัน คนเดียวหัวหาย สองคนก็เพื่อนตาย สามคนกลับบ้านได้ นี่เรียกว่ามิตรเพื่อนกันอย่าปล่อยกันทิ้ง ถ้าปล่อยให้กันเจ็บ คนหนึ่งเสียใจแล้ว ไม่ใช่ธรรมวินัย เราอยู่เพื่อธรรมวินัย ให้เป็นอันเดียวกัน อันนี้ก็พ้นทุกข์ ผู้มีทุกข์ก็พ้นทุกข์ ผู้มีโกรธก็พ้นโกรธ ผู้มีความโศกเศร้าเสียใจก็ให้กายหายความโศกเศร้าเสียใจ ถ้ามีธรรมวินัยในหลักปฏิบัติ ไปถึงผู้มีความเกิดก็ไม่เกิด ผู้มีแก่ก็ไม่แก่ ผู้มีเจ็บก็ไม่เจ็บ ผู้มีตายก็ไม่ตาย ชีวิตที่ไม่ตายโน่น คือ ธรรมวินัยที่ปฏิบัติ มันไปจากการเห็น กายสักว่ากาย เวทนาสักว่าเวทนา จิตสักว่าจิต ธรรมสักว่าธรรม หลุดไปเรื่อย ๆ หลุดไปเรื่อย ๆ เห็นเห็นไป เห็นหมดทุกอย่างที่มันเกิดกับกายกับใจเรานี้
ที่สุดก็ผ่านมาหมด ไม่น่าเป็นอะไรสักอย่าง เป็นไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจเป็นไม่ได้ เป็นไม่ได้ มันก็เป็นอะไรต่อไป มันก็ไม่เป็นอะไรกับเรื่องของกายของใจอีก มันเห็นทุกอย่าง ไม่ได้เอะใจแค่ไหนเพียงไร นี่คือธรรม ปฏิบัติธรรม มีอยู่ที่นี่ มีอยู่ที่เรานี่ มีอยู่ทุกคน มีคนพูด มีคนฟัง มีการกระทำ มีวิธีทำ ตามหลักสูตรของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก มีสติ เราก็มีโอกาสแล้ว ผู้เป็นหนุ่มก็ยิ่งดี ผู้เป็นแก่ก็ยิ่งรีบเข้า ความรู้สึกตัวไม่อยู่กับคนหนุ่มคนแก่ เป็นความรู้สึกตัว เหนือหนุ่มเหนือแก่ เหนือเพศเหนือวัย เหนือลัทธินิกาย นะ อย่าประมาท ประมาทในความหลง ประมาทในความทุกข์ ประมาทในความสุข อย่าให้มันติดอะไร สติมันจะเป็นพรหมจรรย์ เห็น มีแต่เห็น เห็นแล้วไม่เป็น อะไรมันเกิดขึ้นกับเรา นอกตัวเรา เห็นไม่เป็น ในโลกมีมาก ๆ โลกนี่ โลกนี่ มีรสชาติทำให้สัตว์โลกติด เมื่อเราไม่มีสติ ถ้ามีสติก็อาจจะมีเนื้อดีสักหน่อย ไม่เปรอะเปื้อนง่าย เห็นไม่เป็น เห็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์ เห็นหลงไม่เป็นหลง เห็นโกรธไม่เป็นโกรธ เห็นความพอใจไม่เป็นความพอใจ อย่าหลงไปตามมัน มีแต่สติ สติ รู้สึกตัว ถ้าไม่รู้กรรมฐานลงไป มือตบเข่าลงไป หายใจลึก ๆ ลงไป มีที่ตั้งไว้เกาะนี่ไว้ก่อน ให้กลับมา อย่าไปเอาเหตุเอาผลตัดสิน ทำไมทำไมอย่ามี มีแต่กรรมฐาน เหมือนกระดองเต่า เต่ามันมีอวัยวะ เวลาอันตรายเกิดขึ้น มันหดอวัยวะเข้าในกระดอง เรามีกระดองของเราคือกรรมฐาน กลับมารู้สึกตัว กลับมารู้สึกตัว นี่