แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อะ ฟังธรรมกัน ลำดับลำนำ จำเป็นเหมือนกัน เป็นอาหารใจ กวฬิงการาหารก็อาหาร คืออาหารกำข้าวเราก็ทาน กันทุกวัน ตอนข้าวตอนกลางวันตอนเย็น ไม่ทานไม่ได้เพราะมันเป็นพลังงาน แต่อาหารใจนี่ต้องจำเป็น ต้องโนสัญเจตนาหาร สัมผัสกับอาหารคือธรรมะ มีผู้ปรุงผู้แต่งนี่ ความหลงไม่เป็นอาหาร ความโกรธไม่เป็นอาหาร ความทุกข์ไม่ เป็นอาหาร ความไม่หลง ความไม่โกรธ ความไม่ทุกข์เป็นอาหาร ถ้าไปบริโภคความหลงก็มีพิษมีภัย เป็นทุกข์เป็นโทษ เหมือนกับเราไปบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ ทำให้เราเจ็บป่วยได้ ความหลงความโกรธความทุกข์ทำให้เราป่วยทางจิตวิญญาณ เป็นโรค โรคอันนี้คือ เป็นผลกระทบต่อตัวเองไม่พอ ยังมีผลกระทบต่อคนอื่น สิ่งอื่น วัตถุอื่นด้วย เราก็เป็นสัตว์สังคม มีพ่อมีแม่มีลูกมีหลานมีภรรยาสามี มีเพื่อนมีมิตร ถ้าเราไม่มีโรคเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดปลอดโรค อย่างที่เราสาธยาย ในพระสูตร มิตรดีเพื่อนดีสหายดี เพราะไม่เป็นโรค แนะนำดีสั่งสอนดี นี่ก็ทั้งหมดของพรหมจรรย์ ก็ให้เหนือการเกิดแก่เจ็บตายด้วย เราจึงนำมาบริโภค ธรรมโนสัญเจตนาหาร ภักษาหาร ผัสสะ สัมผัส สัมผัสกับความหลง สัมผัสความรู้ อะไรเป็นผิดเป็นถูก เรียกว่าภักษาหารจำเป็น สัมผัสกับความรู้สึกตัวมันมีชีวิตชีวา อาหารประเภทนี้ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย พ้นจากความแก่ความเจ็บความตาย โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสได้ ยังจำเป็นที่จะต้องมาประกอบมาทำ
เหมือนเรามีเนื้อนา มีศรัทธา มีน้ำฝน มีความเพียร มีสติมีข้าวปลูก มีสมาธิคือคราดคือไถ มีปัญญา ไขน้ำเข้าไขน้ำออก เวลามันหลงเอาออก เอาความไม่หลงเข้ามา เวลามันหลง รู้ นี่เรียกว่าไขน้ำเข้าไขน้ำออก ถ้าเราขาดพลัง 5 อย่างนี้เราก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนคนแก่คนเฒ่าคนเจ็บ คนเจ็บจะหาศรัทธาได้ยาก เพราะความเจ็บปิดบัง ความแก่เฒ่าหาศรัทธาได้ยากเพราะความแก่เฒ่าปิดบัง ก็หายาก เหมือนกับหน้าฝน ก็สามารถปลูกอะไรได้ เหมือนกับมีศรัทธาปลูกความดีได้ มีความเพียร และก็ทำได้อย่างนี้ ก็ให้รีบให้ด่วนสักหน่อย ถ้าไม่รีบด่วนก็หมดโอกาสได้
โบราณท่านว่าพายเถิดพ่ออย่านั่งรอพาย ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า ถ้ามันวายมันเน่า มันทำอะไรไม่ได้ มันมีกาลมีเวลาอยู่ ชีวิตของเรานี่ ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม เวลานี้ เราก็พร้อมแล้ว เป็นมิตรเป็นเพื่อนกัน แล้ว มีพระธรรมคำสอนชูอยู่เสมอ ให้เป็นสิทธิของเรา ใช้ชีวิตให้มีสิทธิ ลิขสิทธิ์ชีวิตเรา ไม่ต้องรับใช้อันอื่นๆ ลิขสิทธิ์ไม่งอกไม่งามทางอื่น ให้งอกงามทางความรู้สึกตัว ความไม่ทุกข์ความไม่หลงเนี่ย อาจจะให้เกิดความทุกข์ ความหลงความโกรธมันไม่งอก เหมือนกับขอลิขสิทธิ์พันธุ์พืช ที่มัน เอามาปลูกแม้แต่พันธุ์เดียวกัน เม็ดแตงเม็ดฟักทอง หลวงตาเคยปลูกแตงซื้อมาเป็นพันธุ์สองพันธุ์ เอามาเพาะไม่เกิด เอามาปลูกไม่เกิด เกิดขึ้นก็ไม่มีเถาว์ไม่มีลูก เป็นพุ่ม ฟักทองก็เหมือนกัน มะละกอก็ไม่ได้กิน ปลูกฟักทองปลูกมะละกอ ไม่ได้กินแล้ว ปลูกแตงปลูกถั่วไม่ได้กิน ต้องไปซื้อ พันธุ์พืชของเขามาปลูก เขาลิขสิทธิ์แล้วจำเป็นต้องซื้อเขา อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ แต่ความเป็นธรรมนี่ยังเป็นสากลอยู่
เราหลงเมื่อไหร่เรารู้ได้ เป็นของที่ทำง่าย อาศัยความไม่หลงเป็นสรณะ มีคำสอนทั้งหมด บอกไว้ทั้งหมด นอกจากพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วยังมีพระสาวกอีก นับไม่ถ้วนที่สอน เราไปอ่านตำราในพระสูตรต่างๆ มาจากปิฎกต่างๆ คำสอนแต่ละรูปมีประโยชน์ ไม่จน แม้แต่คำสอนของครูบาอาจารย์บรรพบุรุษของเราทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่ เยอะแยะไปเลย สามารถที่จะหาได้ง่ายไม่จน อยู่ในตัวเราก็มี
คำสอนพุทธเจ้าอยู่ในตัวเรา อันที่ถูกก็อยู่กับตัวเรา อันที่ผิดก็อยู่กับตัวเรา อันที่ถูกที่ทุกข์ก็อยู่กับตัวเรา แต่เหลือแต่เราที่ยังไม่ทำ ทำแต่ทำน้อยๆ ไม่เพียงพอ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ความรู้มีน้อยความหลงมีมาก มันไม่พอใช้ ต้องขยันสักหน่อย จึงมีวิชากรรมฐานขึ้นมาให้มันทันเวลา 1 วัน 7 วัน 1 เดือน 7 เดือน 1 ปี 7 ปี นี่เป็นการท้าทายต่อ การกระทำแบบนี้ ได้ผลเหนือการเกิดแก่เจ็บตายได้ แล้วก็มีการเกิดแก่เจ็บตายได้
แต่เราต้องเริ่มต้นที่จะก้าวไป ให้มันเหนืออย่าไปทางต่ำ มันหลง รู้ ไปทางเหนือๆ ถ้ามันหลงๆ สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ มันต่ำมันขึ้นไม่ได้ ถ้ามรรคผลนิพพานเป็นที่สูงก็ขึ้นไม่ได้ ต้องลาด หักด้ามพร้าด้วยเข่าไม่ได้ วิธีดัดก็ต้องถาก มันหลง รู้ เรียกว่าเอาออกแล้ว พระพุทธเจ้าก็บอกแล้วเราหงายของคว่ำขึ้นแล้ว เราเปิดของปิดออกแล้ว เราเฉือนอันส่วนที่เป็นขี้ริ้วออกแล้ว ส่วนขี้ริ้วพระพุทธเจ้าเฉือนออกหมดเหลือแต่ส่วนดี บอกแล้วไม่ต้องสงสัยเวลามันหลง รู้ขึ้นมา เวลามันโกรธไม่โกรธ เวลามันทุกข์ไม่ทุกข์ ที่มันอยู่กับเราเนี่ย มันก็สนุกดี และก็มีเท่านี้ใครๆ เขาก็เห็น มันหลงที่กาย หลงที่ใจ ก็เปลี่ยนหลงน่ะให้เป็นรู้ ทีแรกก็หัดดูหัดลืมหูลืมตา หัดเห็นหัดดู จึงมี จึงจะเกิดการเห็นขึ้นมา ถ้าไม่ดูก็ไม่เห็น ไม่มีใครตาบอดถ้าคนไม่ดูอะไร ไม่มีใครหูหนวกกับไม่ฟังเสียงอะไร บางทีเราก็พูดเราก็สอนบางทีเราก็สอนเราก็เห็นอยู่ คนอื่นสอนก็ไม่เท่ากับเราสอนตัวเอง ถ้าเราสอนตัวเอง นี่มันชัดเจนดี ได้บทเรียนดี ความผิดทำให้เราไม่ผิด ปัญหาทำให้เกิดปัญญา ความรอบรู้ สิ่งเหล่านี้ ทำให้เราเรียกว่าปัญญา
ความรอบรู้ในกองสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร ทุกคนก็มี สังขารคือมันปรุงไป มันไหลไป ไม่หยุดไม่หย่อน วิสังขารคือหยุด เหมือนน้ำที่มันไหลให้มันหยุด รถมันวิ่งก็ให้มันหยุด ถ้าอันไหนที่มันไหลไป มันหยุดไม่ได้ก็ใช้ไม่ได้ รถมันวิ่งมีแต่วิ่งมันหยุดไม่ได้ก็ใช้ไม่ได้ ประตูมันเปิดไม่ได้มันปิดไม่ได้มันใช้ไม่ได้ มันตรงกันข้ามอยู่ มีทุกข์ก็มีไม่ทุกข์ จึงใช้ได้ มีโกรธก็มีไม่โกรธ มีหลงก็มีไม่หลง มันจึงเป็นชีวิตที่ใช้ได้ แต่เราต้องใช้ให้มันชำนิชำนาญ ถ้าเราใช้อะไรที่มันชำนาญ จะเป็นศาสตร์เป็นศิลป์ เหมือนปริญญาเหมือนสวนโมกข์ที่อาจารย์พุทธทาสว่า ปริญญาสวนโมกข์ คือตายก่อนตาย ถ้าใครอยู่สวนโมกข์ไม่ตายก่อนตาย ไม่ได้ปริญญา กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคูเป็นอยู่เหมือนตายแล้ว ถ้าใครไม่ถึงจุดนี้ยังไม่สำเร็จ ยังไม่จบสวนโมกข์ เรียกว่าปริญญาสวนโมกข์
อะไรคือมันตาย อันความไม่ดีมันตาย ไปสูบบุหรี่บุหรี่มันตาย ไม่มีเชื้อ เคยกินเหล้าเหล้ามันตาย เคยหลง ความหลงมันตาย เคยโกรธความโกรธมันตาย ความทุกข์ใครทุกข์ มันทุกข์ความทุกข์มันตาย อะไรที่มันเป็น ทุกข์เป็นโทษมันตาย มันเหลือแต่ชีวิตล้วนๆ ไม่ใช่ตายแบบเข้าโลงหายใจไม่ได้
พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานตั้งแต่อายุ พระชนมายุ 36 ปี 35 ปี ที่ว่าตายแล้ว แต่ยังทรงสั่งสอนอยู่ จนถึงปรินิพพาาน 45 ปี ไม่ใช่ตายแบบเนื้อหนัง ตายแบบพิษภัยที่มันมีโทษ ในตัวเรามันมีโทษอะไรมันตายไหม ทุกข์เป็นทุกข์เหรอ โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง แต่เราก็หัดอยู่เนี่ย เห็นกายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา นั่นละมันตายไปแล้ว มันเตรียมตัวตาย เวทนาสักแต่เวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เห็นจิตก็สักว่าจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เห็นธรรมที่เป็นอารมณ์ที่เกิดกับใจ เป็นความสุขความทุกข์ ง่วงเหงาหาวนอน กิเลสตัณหาราคะ จัดว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เตรียมตัวตายรื้อถอนโครงสร้าง
มันอยู่ตรงนี้ มันหลง จิตที่หลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ จิตที่มันชอบหลงเป็นใหญ่กว่ากาย แม้กายมีแล้วก็ยื่นให้จิต ตาเห็นรูป ก็ยื่นให้จิต หูได้ยินเสียง ก็ยื่นสู่จิต กายสัมผัสก็รู้ยื่นให้จิต ในจิตก็มีจิต จิตแท้ๆ ไม่มีอะไร แต่อารมณ์ไป จรไป เหมือนศาลาหลังนี้เป็นจิต อารมณ์เหมือนจรมาที่หลัง อะไรที่จรมา มาอาศัยศาลาหลังนี้ ถ้ามาเป็นสิ่งที่จะมาดี ก็ดีไป สิ่งที่มาไม่ดีก็เสียหายไป ถ้าหลงเป็นหลงเสียไปแล้ว ทดลองไม่ได้ ทุกข์เป็นทุกข์เสียไปแล้ว ทดลองมาแล้ว เอาคืนไม่ได้ โกรธเป็นโกรธเสียไปแล้ว เอาคืนไม่ได้ ไม่ใช่ทดลอง ทดลองแล้วทดลองพอใจ ไม่พอใจมันก็เป็นรอยอยู่นั่น เป็นรอยของ บุญของบาป ถ้าหลงก็เป็นรอยแห่งความหลง ถ้าหลงอยู่บ่อยๆ ก็มากหลง ก็กลบเกลื่อนอันอื่นเอาความหลงออกหน้า เอาความทุกข์ออกหน้า ถ้ามันหลงบ่อยๆ มันจึงทดลองไม่ได้
เราจึงมาหัดรู้เนี่ย เวลามันหลงให้มีความรู้พร้อมๆ กันไป เปลี่ยนหลงเป็นรู้พร้อมๆ กันไปอย่างเนี้ย มันก็ทำได้ทุกคน จนไม่มีรอย เหมือนไฟตกใส่ขารีบปัดออก ถ้าไม่ปัดก็เป็นแผลเป็น มันก็ถูกแล้วมันไม่ถูกเฉยๆ มันก็ไหม้ ความหลงถ้าหลงมาก ก็เป็นความโกรธ เป็นความทุกข์ไม่ไปไกล ความรักความชังไปไกล แสดงความโกรธ ก็แสดงออกทางกายทางกรรม เป็นกิเลสเป็นกรรมเป็นวิบาก กิเลสเป็นกรรมเป็นวิบาก เช่นสูบบุหรี่ สูบเป็นกรรม ทดลองไม่ได้ เพราะสูบไปแล้วก็เป็นกรรมแล้ว เมื่อกรรมก็มีกิเลสติดแล้ว ถ้าติดก็มีวิบากอยากแล้ว เราสูบก็ติด ติดก็อยาก อยากก็สูบ วนเวียนกันไป อย่างนี้เรียกว่ากิเลส กรรมวิบาก มันทดลองไม่ได้ ถ้าไม่สูบมันก็ไม่ติด เพราะไม่ติดก็ไม่อยาก เพราะไม่อยากก็ไม่สูบ มันแก้อย่างนี้ มันแก้ที่กรรม
เราจึงมีวิชากรรมฐาน แก้กรรม เป็นการใช้กรรม เวลาหลงก็รู้ ไม่ เวลามันไม่หลงก็รู้ เป็นเจ้าบ้าน เจ้าเรือนอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นกรรมดี ความรู้ก็มีอะไรเข้าไปอีก ละความชั่ว ความรู้ก็ทำความดี ความรู้ก็จิตใจ บริสุทธิ์ไม่เปรอะเปื้อนไปทางนี้ ความรู้ ทำความชั่วก็เป็นศีล ทำความดีก็เป็นสมาธิ เวลามันหลง รู้ เป็นปัญญา เพราะปัญญามันเกิดจากปัญหา ปัญหามันทำให้เกิดปัญญา ถ้าปัญหาเกิดปัญหา ก็ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ถลุง เป็นปุถุชน ปุถุชนเขาต้องศึกษา ปุถุแปลว่าหลงเป็นหลงเป็นปุถุชน เราจึงมาหัดกัน วิชากรรมฐานตัวใครตัวมันช่วยกันไม่ได้ โอกาสดีนาทีทอง ถ้าเห็นความหลงอยู่นั่นแหละทาง ถ้าเป็นผู้หลงมันมืด จะต้องมีทางเอาไว้ ทางคือดู ภาวะที่ดูนี่ ดูกาย เคลื่อนไหว เวลามันคิดก็เห็นมันอย่าเข้าไปเป็นเรียกว่าดู ถ้าดูก็เห็นทาง ถ้าเป็นก็ไม่เห็น หลวงตาเลยพูดว่า เป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้เป็น มันคือทั้งหมดแล้ว แล้วก็หลุดพ้นอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่หนีไปไหน
สำนักโน้น สำนักนี้ ที่โน้นที่นี่ อาจารย์โน้นอาจารย์นี้ ที่ไหนก็คือเกิดจากเรานี่แหละ ถ้าดูก็เห็น ถ้าไม่ดูก็ไม่เห็น ก็ฟรีไป ก็เลยมืดอยู่เช่นนั้น เป็นอวิชชา อวิชชาก่อให้เกิดสังขาร สังขารก่อให้เกิดนามรูป ไปเป็นภพเป็นภูมิไป เพราะไม่ดู เขาก็มีโอกาสไปควบคุม ก็มีโอกาส สาธารณะ สำส่อน ไม่ลิขสิทธิ์ตัวเอง ไม่รักนวลสงวนตัว ถ้าใช้ไม่เป็น ก็เป็นทุกข์ เป็นโทษ เช่นเราเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ใช่มันเจ็บ มันเรื่องของเราที่เราเจ็บ เจ็บมันมาจากวันก่อนๆ มันเจ็บมันเพราะ มันเป็นวันก่อนๆ ชั่วโมงก่อน วันก่อนๆ เดือนก่อนๆ ปีก่อนๆ เรารู้เดี๋ยวนี้มันก็ป้องกัน เรารู้เดี๋ยวนี้ มันก็แก้ แก้กรรม ในวันก่อน แล้วก็ป้องกันในวันข้างหน้า ถ้ารู้เดี๋ยวนี้นะ มันเป็นทั้งอดีต มันเป็นทั้งปัจจุบัน มันเป็นทั้งอนาคต มันจึงทำได้อย่างนี้ เรียกว่าปฏิบัติธรรมมันศักดิสิทธิ์แบบนี้ เรารู้สึกตัวเดี๋ยวนี้เท่ากับเราแก้ปัญหา พลิกความผิดพลาด ในวันก่อน เรารู้เดี๋ยวนี้ คือเราป้องกันปัญหาในวันข้างหน้า มันเป็นไปอย่างนี้ ไม่ใช่มันไม่มีผล เพราะอย่างนี้มี อย่างนี้ ก็ไม่มี เพราะอย่างนี้ไม่มีอย่างนี้ก็มี มันมีเหตุ ถ้าอย่างนี้ไม่มีอย่างนี้ก็มี ซึ่งไม่มีความรู้ ก็มีความโกรธมีความทุกข์ ถ้ามี ความรู้ อย่างนี้ก็ไม่มี อันหนึ่งมีอันหนึ่งไม่มี ถ้ามีความรู้มันก็ไม่ไปไหน มันเห็น มันก็ไม่มีความหลง ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความโกรธ ไม่มีการปรุงแต่ง มันหยุด การหยุดปรุงเรียกว่าวิสังขาร วิสังขารเรียกว่านิพพาน นิพพานน้อยๆไป นิพพานไม่ใช่มาพรืบเหมือนน้ำลากมาห่าใหญ่ไม่ใช่แบบนั้น ชุ่มชื่นไป
นิพพานชิมลองหาไม่ยาก ในความไม่เที่ยงก็มีนิพพาน ในความไม่ทุกข์ก็มีนิพพาน ในความไม่ใช่ตัวตน ก็มีนิพพาน แต่ปุถุชนมาเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้ามาเป็นนิพพาน พระอรหันต์มาเป็นนิพพาน ได้ประโยชน์ เพราะเห็นทุกข์ จึงพ้นจากทุกข์ และก็มีทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับไปไม่มีอะไร ถ้าเรายังมีทุกข์ ก็นั่นแหละ เหตุอยู่ทางนั้นเราก็แก้ตรงนี้แหละ การแก้ก็ไม่ยาก
รู้แบบกรรมฐาน สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน เรียกว่า คาถา คาถารื้อถอน แล้วก็สาธยายพระสูตร ว่าโดยย่ออุปทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ พหุลานุสาสนี พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอน สาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก สาวกทั้งหลายก็รู้เรื่องนี้เป็นส่วนมาก สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดว่า เราว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา เราก็สาธยายอยู่ อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเป็นทุกข์ อย่าเอาความเป็นทุกข์ มาเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเด็ดขาด อย่าไปเสียเปรียบ มันก็บอกแล้วว่า ความไม่เที่ยงความไม่ใช่ตัวตน ไปคว้าน้ำเหลว หาเหาใส่ตัวเองต่างหาก เพราะเราหลง ไม่เห็นแจ้งตามความเป็นจริง
ผู้ที่ศึกษาจะได้ประโยชน์ จะยิ้มน้อยๆ เวลามันทุกข์ แทนที่จะหน้าบูดหน้าบึ้ง เป็นความสดชื่่นเวลามันทุกข์เนี่ย เวลามันหลงเนี่ย เวลามันโกรธเนี่ย มันมีความไม่โกรธ ไม่จนตรงนี้ มีทางพบทางตรงนี้ได้แน่นอน หลงที่ใดก็รู้ตรงนั้นทันที โกรธที่ใดรู้ตรงนั้นทันทีเนี่ย นี่คือสูตรเป็นอย่างนี้ เหมือนห้าลบห้าก็ต้องเหลือศูนย์ ห้าบวกห้าก็ต้องได้สิบ มันเป็นสูตรสากล แบบสมมุติบัญญัติของโลก แต่สูตรของชีวิตเรา เนี่ยมันก็มี มันมีศูนย์ไม่มีค่า ความสุขไม่มีค่า ความทุกข์ไม่มีค่า ความโกรธไม่มีค่า ความโลภความหลงมันไม่มีค่า ความรักความชังไม่มีค่า มันจึงใช้ได้ลงตัวพอดี ถ้ามันเศษมันเหลือไม่ลงตัว เอาให้มันไม่เหลืออะไรแล้ว ให้เหลือศูนย์
สุญญตาไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน สุญญตา บางทีก็ว่านิพพาน บางทีก็ว่าเย็น บางทีก็ว่าดับไม่เหลือ บางทีก็ว่าว่าง พูดสมัยทุกวันนี้ มีอาจารย์พุทธทาสบอกว่าง มีบางอาจารย์บอกว่าสุญญตา ตั้งชื่อตัวเอง พุทธทาสก็ตั้งชื่อว่าพุทธทาส น้องชายพุทธทาสเรียกธรรมทาส มีพระรูปหนึ่งที่สวนโมกข์ เพื่อนกันกับหลวงตาเรียกว่าสุญญตทาส มีรูปหนึ่งอยู่ จ.อุดร เรียกว่าสังฆทาสคือรับใช้พุทธเจ้า ไม่รู้ว่ายังอยู่หรือเปล่าสุญญตทาส สังฆทาสเนี่ยอาจจะยังอยู่ สุญญตทาสไม่เจอกัน หลายปีมาแล้ว ก็คือรับใช้พุทธเจ้า เป็นทาสพุทธเจ้า จึงเรียกว่า พุทธทาสไม่เป็นทาสของใคร เรียกว่าความว่าง พูดเรียกว่าสุญญตาเผยแพร่สุญญตา
สุญญตาคืออะไร มีเพื่อน คนหนึ่งเป็นคนจีน บวชอุปชาเดียวกัน แต่เขาบวชทีหลังหลวงตา เขาศึกษาเรื่องเซ็น มาพบกันที่กรุงเทพ เขาชวนไปศึกษาเรื่องเซ็น เซ็นเขาพูดอย่างไร สุญญตาเขาพูดไร เวลาตาเห็นรูป ไม่ด่วนรับ ไม่ด่วนปฏิเสธ เวลาหูได้ยินเสียง ไม่ด่วนรับไม่ด่วนปฏิเสธ เวลาจมูกได้กลิ่นลิ้นได้รสไม่ด่วนรับไม่ด่วนปฏิเสธ เวลา เขานินทาไม่ด่วนรับไม่ด่วนปฏิเสธ เวลาเขาสรรเสริญไม่ด่วนรับไม่ด่วนปฏิเสธ นี่เรียกว่าสุญญตา มันก็คือสตินี่แหละ ที่เรามารู้นี่แหละ บางทีบางสำนัก ไม่รับอะไร มาแล้วบอกเกิน เอาความหลงมาบอกเกิน ความสุขมาบอกเกิน ความทุกข์มาบอกเกินไป ไม่มีที่ให้อยู่ ชักสะพานออก ถ้ามาก็ชักสะพานออก มันเข้าไม่ถึง ชักสะพานไว้แล้ว ไม่เป็นไรแล้ว
หลวงตาไม่รู้ว่าจะพูดอะไร มีแต่คนพูดไปมากแล้ว ก็เลยพูดว่า ไปไม่เป็นอะไรกับอะไร เป็นอันเดียวกันทั้งหมด สุญญตาเหมือนกัน ที่บอกว่าไม่ด่วนรับไม่ด่วนปฏิเสธก็คือไม่เป็นอะไรกับอะไรนั่นแหละ ที่ว่า ความว่างคือไม่เป็น อะไรกับอะไร นอกจากที่เป็นคำสอนเช่นปัจจุบันนี้ อาจารย์กรรมฐานทั้งหลายที่สอนกันอยู่เนี่ยไม่แตกต่างกัน อย่าไปคิดว่ามันต่างกันเลย
เรื่องสติเรื่องกายเรื่องจิต มันก็มีเหมือนกัน มีกายมีจิต กายเป็นเรือใจเป็นนาย แล้วก็มี เจ้าของเรือผู้ขับ เรียกว่าสติ ถ้ามีแต่นายมีแต่เรือ ไม่มีหางเสือก็ไปไม่ถึงฝั่ง เรือมันหลง รู้ หางเสือ เวลามันโกรธ รู้ หางเสือไปทางตรง ถ้าหลงรู้ตรง ถ้าหลงเป็นหลงไม่ตรง เนินช้าคดโค้งไปแล้ว เนี่ยมันมีฝีมือจริงๆ น่ะเนี่ย มันทำได้จริงๆ น่ะเนี่ย ไม่มีอะไรที่แม่นยำชัดเจนเท่านี้ ทะลุทะลวงได้ ทะลุทะลวงความหลง โล่ง ทะลุทะลวงความโกรธ โล่งไป ไม่มืดไม่ติดหน้าผา ลาดไป เหมือนคนแก่กล้ามีพลัง คนอ่อนแอย่อมไม่มีพลังอะไร หลงเป็นหลงอ่อนแอ หลงเป็นรู้ แก่กล้า อ่อนแอหลงเป็นหลง กามสุขัลลิกานุโยค ไปไม่ถึงไหนไปไม่ถึง สุขเป็นสุข กามสุขัลลิกานุโยค ทุกข์เป็นทุกข์ กามสุขัลลิกานุโยค ถ้าสุขเห็นมันสุข มัชฌิมาปฏิปทา มันทุกข์เห็นมันทุกข์ มัชฌิมาปฏิปทา มันโกรธเห็นมันโกรธเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไปแล้ว เป็นทางไปแล้ว มันก็ถึงเนี่ย เอาความโกรธไว้หลัง
เหมือนเดินทาง เอาบ้านนั้น บ้านนี้ผ่านไว้หลังออกไปเรื่อยๆ ผ่านไปเรื่อยๆ ผ่านความหลง ผ่านความทุกข์ ผ่านความโกรธ ผ่านความพอใจ ผ่านความไม่พอใจ ผ่านอะไรทุกอย่างในชีวิตนี้ที่มันเป็นทั้งหลายน่ะ ที่ว่าไม่เป็น คือมันผ่าน ชีวิตที่มันเป็นทางผ่านไปจนถึงจุดหมายปลายทาง ความไม่เป็นไร มันสุดยอดมงกุฎธรรม กระโดด มีกำลังเรื่องนี้มาก กระโจนเข้าใส่ กระโจนเข้าใส่ สิ่งกักขัง ถ้าคนอ่อนแอก็แพ้ปราชัย ถ้าหลงเป็นหลงก็พ่ายแพ้ปราชัย กระโจนไม่ออก สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์กระโจนไม่ออก คนไม่มีพลัง
มีศรัทธา พลังของเราศรัทธา คือความเชื่อ มีความเพียรคือ เหมือนน้ำฝน มีสติเหมือนข้าวปลูก มีสมาธิ เหมือนคันไถ มีปัญญาเหมือนไขน้ำเข้าไขน้ำออกเนี่ยพลัง พลังอันนี้เรียกว่าอินทรีย์ก็ได้ ใหญ่โต สติอินทรีย์ ไม่ใช่ ตาหูเป็นใหญ่จมูกลิ้นกายใจเป็นใหญ่ สติเป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์ สติอินทรีย์ ใหญ่ที่สุดแล้ว มีพลัง พลังนี้ทำได้ ไม่หลงเป็นหลง ไม่อ่อนแอ เพราะมีศรัทธาสัมผัส สัมผัสไม่ถูกต้อง ความหลงไม่ถูกต้อง ความไม่หลงถูกต้อง สิทธิร้อยเปอร์เซ็นต์ ความโกรธไม่ถูกต้อง ความไม่โกรธถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้ประโยชน์ตรงนี้
เหมือนเวลานี้ฝนตก ให้ทำอะไรฝนตก หลวงตามาคิดว่าน่าจะปลูกต้นยางนา ยางนาปลูกที่ไหนปลูกป่าไผ่ หลวงตาไปปลูกป่าไผ่วัดภูเขาทองขึ้นงามที่สุดเลย ไม่เคยทำ มาทดลองปีนี้ขึ้นได้ดี เขียวดีกว่าปลูกเสียที่อื่น วัดเราก็มี ป่าไผ่ น่าจะปลูกยางนา ต้นยางกำลังปลูกดีแค่นี้ กำลังหนุ่มน้อย กำลังเป็นเบญจพรรณสามารถงอกงามได้ดี ถ้าไป ปลูกหน้า ถ้าไปเลี้ยงไว้ฤดูแล้งกลัวจะให้น้ำไม่สม่ำเสมอ จะแกร็น จะแกร็นขึ้นยาก ถ้าปลูกตอนนี้ขึ้นได้ดีนะ ถ้าจะให้คนปลูก ก็ควรจะปลูกในช่วงนี้ พอดีๆ เดือนกรกฎา นี่ฤดูฝนมีสูตรจะปลูกอะไรปีหนึ่งมีสูตร ถ้าเป็นชาวบ้านชาวนาพริกกี่ต้น เขือกี่ต้น มะละกอกี่ต้น ต้นหมากรากไม้กี่ต้นเป็นสูตรๆ ไปไม่จน ไม่จนถ้ามีสูตร
สูตรชีวิตเราก็เหมือนกันไม่จน ไม่จนต่อความหลง ทั้งวันทั้งคืนเรามีสติอยู่ รู้สึกตัวอยู่ เราก็เป็นเพื่อน เป็นมิตรกันอยู่เนี่ย อบอุ่นใจดี มีครูบาอาจารย์ แล้วก็ช่วยกันให้โอกาสกัน แต่ปีนี้จะมีพระมาก ก็เป็นธุระช่วยกันหน่อย แม่ชีก็ไปช่วยกัน เคารพกัน ใครอยากจะมีโอกาสปฏิบัติก็ให้โอกาสกัน อย่าเคี่ยวเข็ญกัน ถ้าไม่มีใคร ทำอาหารก็อาจารย์ตุ้มหาคนมาทำ มันก็จำเป็น แม่ชีนี่ ผู้หญิงอาภัพกว่าผู้ชาย เป็นภาระมากกว่าพวกเรา เห็นใจจริงๆ ถ้าให้เราไป ทำครัวเขาก็ไม่ยอมรับ เคยอยู่ที่นี่สมัยก่อนๆเนี่ย ให้พระทำอาหารแล้วคนไม่ยอมรับ มันจำเป็นก็ต้อง เดี๋ยวนี้อุบาสิกา แม่ชีเป็นภาระมากที่สุด อะไรก็เป็นอธิการ อธิการเสนาสนะก็เป็นผู้หญิง แทนที่จะเป็นพระนะ ถ้าใครมาอยู่ก็โทรศัพท์ หากุญแจ คุณวรณีอยู่ไหน ขึ้นมาพักไม่มี คุณณีก็ต้องมา ถ้าจะเป็นพระเป็นอธิการเสนาสนะ ไม่เคยมีนะอธิการอาหาร อธิการคลัง อธิการเสนาสนะ มีแต่พระนะ เดี๋ยวนี้อธิการเสนาสนะนี่ ในที่สุดมีผู้หญิง กับก็มีผู้ชาย ภิกษุก็มีเหมือนกัน แต่ช่วยกันบ้างก็ดี ก็หลวงตาให้ก็ทำเลย ก็เลิกแล้ว ยอมแล้ว แต่ก่อนใครอยู่กุฎิ หลังไหนถ้าไม่เปลี่ยน ไม่เห็นหน้าตาไม่เห็น ไม่ให้อยู่ เดี๋ยวนี้ปล่อย มาอยู่นี่ก็คุณหมอบอกว่าไม่ค่อยดี ให้อยากให้ไปอยู่กุฏิหลังเก่า สุขภาพ ดีไหมกลับไปอยู่หลังเก่า (หัวเราะ) ไปอยู่กับอาจารย์ตุ้ม อาศัยอาจารย์ตุ้ม ไม่ตายก็เพราะอาจารย์ตุ้ม อาจารย์โน๊ส (หัวเราะ)คุณหมู อาจารย์ตุ้มอาจารย์โน๊ส คู่ชีวิตกันสองปีสี่เก้าห้าศูนย์ นะพวกเราด้วยนะ อาจจะมีพระมาอีก อาจจะย้ายไปอยู่โน่น ให้พระมาอยู่กุฎินี้นะ มา ก็ สมควรแก่เวลา กราบ พระพร้อมกัน