แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน พวกเราเป็นหมู่ชน ผู้มีศรัทธา เชื่อฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วพากันมาปฏิบัติตามคำสอนนั้น เมื่อทำตามคำสอนนั้น เว้นข้อที่มันผิด ทำตามข้อที่มันถูก ก็ย่อมรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่เป็นเท็จเป็นจริงอย่างไร แล้วก็ไปบอกไปสอนคนอื่น ให้ทำลองดู ว่าทำอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ มันไม่เป็นอย่างนี้ ถ้าทำได้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็ถือว่ามีคุณธรรมเกิดขึ้นในชีวิตของเรา ตามภูมิธรรมของผู้ปฏิบัติ รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นตามสมควรแก่ผู้ปฏิบัติ นั่นชื่อว่าเป็นสงฆ์ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ที่สุด
ถ้าปฏิบัติตามธรรม รู้แล้วไปสอนคนอื่น คนอื่นก็รู้ตาม เรียกว่าพระสงฆ์ ถ้ารู้แล้วไม่สอนคนอื่น เรียกว่าปัจเจกชน ปัจเจกพุทธ ไม่ใช่พระสงฆ์ ตัดช่องน้อยเฉพาะตัว ไม่ค่อยมีประโยชน์ ศาสนาจะอยู่ได้ ก็เพราะมีพระสงฆ์ที่เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นแล้ว ได้ปฏิบัติตามแล้วก็รู้ยิ่งเห็นจริง แล้วไปสอนคนอื่นให้รู้ตาม ก็อยู่ได้ด้วยเหตุนี้ จึงขวนขวาย ทั้งสองฝ่าย รู้อะไรก็บอกกัน ผู้ที่ฟังก็ฟังเอาไปทำดู ทำให้เกิดขึ้นมา ฟังแล้วไม่ใช่จำเอา ฟังแล้วนำไปปฏิบัติ ถ้าฟังแล้วจำ ได้ของปลอม ใครก็จำได้ ยังทำไม่เป็น จำได้แต่ปาก เป็นภาษานกแก้วนกขุนทอง ถ้าเอาไปทำแล้วมันเป็น ไม่ใช่รู้ คำว่าเป็นนี่ ไม่มีใครสอนเราได้ เราต้องสอนตัวเอง เช่น มันหลง ไม่หลง มันทุกข์ ไม่ทุกข์ ถ้ามันเป็นน่ะ ไม่ต้องหัด มันมีอะไรเกิดขึ้นมันก็มีตรงกันข้ามถึงที่สุด มีเกิดต้องมีไม่เกิด มีแก่ต้องมีไม่แก่ มีเจ็บต้องมีไม่เจ็บ มีตายต้องมีไม่ตาย มันเป็น มันไปทางนั้น ถ้าทุกข์เป็นทุกข์ไม่ถูก ยังไม่เป็น ไม่ใช่รู้ ถ้าทุกข์ไม่ทุกข์ มันทำเป็นแล้ว เราจึงมีศรัทธาเรื่องนี้จริง ๆ
ถ้าจะนับถอยหลังไปอีก ๒,๕๙๙ ปี ก็มีสามัญชน ได้ทำเรื่องนี้ ในช่วงสัปดาห์นี้ มีสามัญชนที่ศึกษาเรื่องชีวิตนี้ ได้พิสูจน์เรื่องนี้ ถ้าจะมโนภาพดู ก็คงจะรอนแรมจากดงคสิริ จรลงมาทางใต้ของแม่น้ำเนรัญชรา ช่วงนั้นอาจจะจับลุกจับนั่ง เพราะทรมานกาย ไม่กินข้าว ไม่หายใจบางครั้งบางคราว จนผอม จนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ผิดก็เห็นเป็นผิดแล้ว ยังไม่ยอม ตายก็ไม่ยอม จะหาเรื่องนี้ ออกจากถ้ำดงคสิริ มาทางบ้านแถบหมู่บ้านสุชาดา ตะเกียกตะกายขึ้นฝั่ง นั่งอยู่บนฝั่งร่มไม้นิโครธ ต้นนิโครธก็เหมือนต้นอยู่ที่โรงทาน ต้นนั้นแหละ อยู่ที่โรงทานวัดป่าสุคะโตนั่น ต้นนิโครธเป็นไม้เอเชีย สุชาดาเห็นว่าเป็นเทพเจ้า ถวายข้าวมธุปายาส ก็ไม่มีเรี่ยวมีแรง ก็เลยฉันเสียเพื่อจะดูเรื่องนี้ต่อไปอีกมันคืออะไร ขนาดจนจับลุกจับนั่ง จับขึ้นฝั่งแม่น้ำ ต้องโซมกันขึ้น บางทีเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเห็นก็อาจจะคิดว่าเป็นคนขาดอาหาร อาจจะรีดนมวัวนมควายมาให้ก็ได้ พอมีเรี่ยวมีแรง ปานนั้นก็ยังมีกิเลสตัณหาราคะอยู่ ยังโกรธปัญจวัคคีย์ ยังคิดถึงพิมพาราหุลหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ (หัวเราะ) แต่ถ้ายังมีโกรธก็ต้องมีหลงไปอีกหลายอย่าง พอใจ ไม่พอใจ ก็เห็นตัวเอง ก็เลยมามองว่าอาจจะเป็นเรื่องจิตวิญญาณ ที่มันหมกมุ่นครุ่นคิดอะไรได้ มันเกิดจากความคิด ความหลง ก็เลยมาตั้งใจจะดูอันนี้ลองดู ในที่สุด พอมีเรี่ยวมีแรง ฉันข้าวนางสุชาดาแล้วก็เปลี่ยนที่ใหม่ เพราะแถบนั้นเป็นที่ทุ่ง อาจจะมีเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเต็มไปหมด มีทุ่งนา นาข้าว ก็เลยเปลี่ยนที่ เดินข้ามฝั่งแม่น้ำเนรัญชรามาฝั่งทิศตะวันตก ได้หญ้าคา โสตถิยพราหมณ์ถวายให้ ๘ กำมือ ไม่มีอะไรจะให้ ไปเกี่ยวหญ้าก็เห็นเซซัดเซโซ ไปคนเดียวด้วยช่วงนี้นะ ปัญจวัคคีย์หนีจากแล้ว เห็นกินข้าว ถือว่าเป็นคนมักมากไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้แล้ว ทอดทิ้งไปแล้ว เซซัดเซโซเดินขึ้นไปบนเนินพุทธคยา อาจจะเป็นป่าดงดิบ ต้นไม้ใหญ่ ๆ เท่าแท้งค์น้ำ นี่ก็ยังมีอยู่ทุกวันนี้ ได้หญ้าคา ๘ กำมือ ไปนั่งคู้แขนเข้าเหยียดแขนออกมีสติ ลองดูมันดูซิ มันจะเกิดอะไรขึ้น มามีสติดูมันดูซิ ไม่เคยดูกายดูใจตนเอง คู้แขนเข้า รู้สึก เหยียดแขนออก รู้สึก ทำแบบนี้ทีแรก ไม่มีหนังสือตำรับตำราอ่าน เอากายเอาใจนี่แหละเป็นตำรา ศึกษามันดู เรื่องกายเล่นมันจนหมดแล้ว ทรมานมันจนหนักแล้ว มามีสติดูซิ ก็จะเห็นมันคิดเรียกว่าบำเพ็ญทางจิต สติก็เป็นนามธรรม ให้มาดูกายที่มันเป็นรูปนี่ ถ้ามีความรู้สึกตัวมันก็จะไปเห็นความคิด นามต่อนามต้องเห็นกัน นามก็เห็นรูปคือสติก็เห็นกาย สติก็เห็นใจ ทั้งสองด้าน เห็นแม้กระทั่งมันคิด มันเคลื่อนไหวทางจิต การเคลื่อนไหวของกายก็คือคู้แขนเข้าตั้งอวัยวะหลักตรงนี้ เหยียดแขนออกรู้สึกตัวอยู่นี้ มันยังคิดไปก็กลับมารู้สึกที่นี่ เป็นฐานเป็นที่ตั้ง ก็เห็นเงื่อนไข ได้หลักฐานเบื้องต้น ได้ทิศทาง เปรียบเทียบกับตัวเอง เหมือนกับไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่แช่น้ำย่อมสีไฟไม่เกิด
คนทุกวันนี้อาจจะไม่รู้จักคำว่าสีไฟ รู้จักไหม ห๊ะ! ทำยังไงสีไฟ ไฟมันเกิดจากไม้ไผ่แห้ง ๆ มาสี หาไฟได้แบบนั้นคนโบราณ ไปไร่ไปนา ไม่มีไฟเหมือนทุกวันนี้ ต้องเอาไม้ไผ่มาสี ไม้ไผ่แห้งสีกันเข้า ก็เกิดเป็นไฟขึ้นมา เมื่อไม้ไผ่นั้นมันเปียกด้วยน้ำ ก็ย่อมสีไฟไม่เกิด เปรียบเทียบกับชีวิตของตนเอง มันจุ่มกับความโกรธ ความโลภ ความหลง มันจะมีความไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลงได้ยังไง เหมือนไผ่ที่แช่น้ำ มันเปียกมันก็ไม่เกิดไฟ ชีวิตคนเราก็เปรียบเทียบไปหลายอย่าง มันจุ่มยังไง มันเปรอะมันเปื้อน มันเป็นยังไง พรากออกมา เอาไม้ไผ่ขึ้นน้ำ ไม้ไผ่ก็ยังไม่แห้ง สีไฟก็ยังไม่เกิด เช่นนั้นก็สอนตนให้แบบไม้ไผ่นี้ เอาไม้ไผ่เป็นครู คิดได้ทฤษฎี ไม้ไผ่ต้องแห้งจึงสีไฟเกิดขึ้นได้ ก็มาฝึกตนเอง อย่าไปจุ่มอะไร ให้รู้อย่างเดียว ความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัว คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก มันก็มีรู้อย่างเดียวไม่พรากไปที่อื่น ผลที่สุดก็เกิดญาณ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อก่อนเป็นยังไงเดี๋ยวนี้เป็นยังไง คิดถึงตัวเอง รู้ตัวเองมากที่สุด เคยหลง เคยทุกข์ เคยโกรธ เคยรัก เคยชัง บุพเพนิวาสานุสสติญาณ คิดระลึกไป ที่เดินผ่านมามันเป็นยังไงชีวิต เดี๋ยวนี้เป็นยังไง จุตูปปาตญาณ เปรียบเทียบกับปัจจุบันเป็นยังไง ต่างเก่าไหม เคยคิดถึงพิมพา เคยคิดถึงราหุล เคยคิดถึงพระราชทรัพย์สินศฤงคาร คิดถึงปราสาทสามฤดู คิดถึงสาวสนมกำนัลใน คิดถึงพระเจ้าจักรพรรดิที่อยู่ในกำมือ พรากมา ไม่ได้ไปเหมือนก่อน รู้อยู่เสมอ จุตูปปาตญาณ อยู่เนี่ยไม่ไปไหน คู้แขนเข้าเหยียดแขนออกอยู่เนี่ย รู้อยู่เนี่ย อันตัวคิด ตัวหลง ตัวอะไร มันไม่ใช่ ไม่เป็นจริง นั่งอยู่เนี่ยมันคือของจริง คือรู้อยู่เนี่ยเป็นจริง ภาวะที่รู้สึกอยู่นี้ ภาวะที่รู้สึกนี่ มันก็เหมือนกับไผ่ที่มันแห้ง มันไม่เปียกมันไม่ไปจุ่มไปแช่อะไร ผลที่สุดก็อาสวักขยญาณ ทำลายกิเลสตัณหาราคะลงได้ ใช้ไม่ได้ จะให้หลงเป็นหลงใช้ไม่ได้ จะให้โกรธเป็นโกรธ จะให้ทุกข์เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะความคิดเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด อะไรที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งเป็นสมุทัย ทำให้เกิดปรุงแต่งขึ้นมา เป็นไปไม่ได้ เรียกว่า ต่างเก่าพ้นภาวะเดิม นี่วิปัสสนาเกิดขึ้นที่นี่แล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๖ อีกสองสามวันนี้ แต่ว่าได้เป็นมาแล้ว เกิดขึ้นกับสามัญชนคนหนึ่ง นาน ๒,๕๙๙ ปี ถึงวันนี้
เราก็ไม่ใช่แบบงมซาว ๆ เราทำตามความเท็จความจริง จริง ๆ เหมือนกันหมด ชีวิตของพระพุทธเจ้ากับชีวิตของเราก็ไม่ต่างกัน มีรูปมีนามเหมือนกัน มีร้อนมีหนาว มีปวด มีเหนื่อย มีเจ็บ อะไรที่มันเกิดขึ้นกับเราเวลานี้ถ้าเราปฏิบัติตาม ที่พระพุทธเจ้าสอนเหมือนกันหมด เห็นกายก็เป็นกายเหมือนกันหมด เป็นธาตุ ๔ เหมือนกันหมด นามก็คือมันคิด มันร้อน มันหนาว มันรู้อะไรได้เหมือนกันหมด สุขก็เหมือนกันหมด ทุกข์ก็เหมือนกันหมด หลงก็เหมือนกันหมด อะไรก็เหมือนกันหมด หิวข้าวก็เหมือนกันหมด หิวข้าวก็กินข้าวเหมือนกันหมด กลางคืนกลางวันก็เหมือนกันหมด เราปฏิบัติ เราเดินตามรอยตรงนี้ก็เหมือนกัน เห็นเหมือนกัน เห็นกายก็มีกายเหมือนกัน เวทนามันสุขมันทุกข์ไปในกายก็มีเหมือนกัน เวทนามันสุขมันทุกข์ในจิตใจก็มีเหมือนกัน ความง่วงเหงาหาวนอนก็มีเหมือนกัน ความคิดฟุ้งซ่านก็มีเหมือนกัน ความลังเลสงสัยก็มีเหมือนกัน ผ่านเช่นนี้เหมือนกัน ความสงบก็มีเหมือนกัน ความฟุ้งซ่านก็มีเหมือนกัน ความผิดก็มีเหมือนกัน ความถูกก็มีเหมือนกัน แก้ผิดเป็นถูกก็แก้เหมือนกัน เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลงก็ทำเหมือนกัน เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ก็เหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกันตรงที่เราไม่เปลี่ยน สิ่งที่เราหลง ผู้ที่เปลี่ยนเขาก็ไม่หลงแล้ว ถ้าเราไม่เปลี่ยนความหลงให้เป็นความรู้ เราก็หลงเหมือนเดิม เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณไม่ได้ เพราะมันไม่ต่างเก่า ไม่เห็นแต่ก่อนไม่เห็นปัจจุบัน ยังเป็นอันเดียวกันอยู่ เพราะไม่เคยรู้ ในความหลงไม่เคยรู้ หลงทีไรก็เป็นหลงทุกที ไม่มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณไม่เกิด ถ้าเห็นความหลงไม่ได้เป็นผู้หลง นี่กำลังจะเกิดญาณขึ้นแล้ว เห็นหลง ไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลง อย่างนี้เรียกว่าเหมือนกันหมด ปฏิบัติเหมือนกันหมด ไม่ต้องอ้อนวอน ไม่ต้องเอาอะไรมาอ้าง ทำอันนี้ ไม่มีสิ่งที่อ้าง อ้างว่าหนุ่ม อ้างว่าสาว อ้างว่าเฒ่าว่าแก่ อ้างว่าเป็นนักบวช อ้างว่าเป็นฆราวาส เป็นฤกษ์งามยามดี ไม่ใช่ ในกาลเวลา ความหลงไม่มีเฒ่ามีแก่ ไม่มีฤกษ์มีเวลา เวลาใดก็หลงได้ จึงมีแต่การปฏิบัติที่ทันสมัยกับเรื่องนี้เท่านั้น ทันสมัยจริง ๆ ปฏิบัติเนี่ย เวลามันหลงรู้ขึ้นมาเนี่ย ไม่มีคำว่ากาลเวลา อกาลิกธรรม
จึงน่าจะมีกำลังใจ กระตือรือร้น เราในฐานะแบบไหน เปรียบเทียบกับคนอื่นบ้าง มีแบบอย่าง อย่างน้อยเราก็มีธรรมวินัย ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย หมู่ชนผู้เชื่อฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาแล้วพากันปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย เนี่ย! สิทธิอันนี้ ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย ความหลงไม่ใช่ธรรม ความไม่หลงเป็นธรรม เมื่อมีความเป็นธรรม มันก็มีแบบที่ทำให้ไม่หลงเรียกว่าแบบแผนวินัย วิคือวิเศษ นัยยะนำไป สู่ความวิเศษ สู่จุดหมายปลายทาง ถึงที่หมาย พ้นได้ทุกอย่าง สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับใจเรานี้ สิ่งที่หลุดพ้น สิ่งที่กำหนดรู้โดยการรู้ สิ่งที่ต้องบรรเทาตามลำดับของสภาวธรรม ที่มันเกิดขึ้นมา มีระเบียบ ไม่ใช่เป็นทุกข์ทั้งหมด วินัย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มีวินัย เป็นระเบียบที่ใช้ในกายในใจของชีวิตเรา ไม่ผิดฝาผิดหนัง ไม่ยุ่งเหยิงกับสิ่งใดคนอื่นบุคคลอื่น มีระเบียบที่ปฏิบัติถูก ความหลงไม่ถูก ความไม่หลงมันถูก เป็นวินัย ธรรมวินัย ปฏิบัติตามธรรมวินัย ความทุกข์ไม่ถูก ความไม่ทุกข์ถูก ระเบียบเป็นอย่างนี้ ไม่มีอะไรมากมายสมัยก่อน มีแต่ ถ้าพระพุทธเจ้าจะรับบวชให้เป็นพระสงฆ์ขึ้นมาก็เพียงแต่ว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธาอยากออกบวชตามเพียงแต่ว่า “จงเป็นพระภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยเราตรัสไว้ดีแล้ว จงพากันปฏิบัติตามธรรมวินัยนั้น ให้เป็นที่สิ้นทุกข์เถิด” มีเท่านี้
ต่อมา เมื่อมีคนบวชมากขึ้น มากขึ้น ๆ ก็ไม่ปฏิบัติตามธรรมวินัย ที่เป็นข้อปฏิบัติจริง ๆ ในกายในใจ ก็เลยบัญญัติขึ้นมา แก้ภิกษุผู้เก้อยาก ผู้ดื้อด้าน มีระเบียบขึ้นมา เพราะเอาคอกล้อมไว้ เหมือนวัวควายที่มันดื้อ ต้องล้อมคอก ถ้าไม่ดื้อก็ไม่ต้องล้อม ชีวิตของเรานี้ เอาจริง ๆ มันก็ไม่ค่อยดื้อนะ ถ้าเราดูดี ๆ ไม่ดื้อหรอก ไม่รู้จักเข็ดหลาบกัน บางทีผิดทำให้เป็นถูกได้ ถ้าคนดื้อก็ด้านตรงนี้เหมือนกันนะ เวลามันหลงก็ด้านในความหลง เวลามันโกรธก็ด้านในความโกรธ ไม่อายคน เวลาโกรธแสดงใบหน้าออกมาได้ แสดงคำพูดออกมาได้ กิริยามารยาทออกมาได้ ก้าวร้าวออกไปได้ กระทบกระเทือนต่อตัวเอง กระทบกระเทือนต่อคนอื่นได้ ถ้ามีสติมันก็ค่อยเชื่องลง มันเห็น แม้แต่เห็นความหลงก็อาย ถ้ามีสติที่มันเป็นสติปัฏฐาน ถ้าไม่มีสติก็ไม่เห็นความหลง ไม่อาย ความหลงถือว่าเป็นมูลเล็กน้อย ผู้มีสติเห็นความหลงเป็นของยิ่งใหญ่ เป็นจุดเกิดของความชั่วทั้งหลาย เป็นบิดามารดาของความชั่วทั้งหลาย ความหลงไม่ใช่เล็กน้อย ถ้าผู้ไม่มีสติ เป็นปุถุชน ถือว่าเป็นธรรมดา ความหลงเป็นธรรมดา ยอมรับความหลงได้ ไม่รู้จักว่าผิดว่าถูก แล้วบางทีก็ทำตามความหลงจนเกิดกิเลสตัณหาขึ้นมาได้ ไปไกล ทั้ง ๆ ที่มันเป็นต้นเหตุ มีสติเท่านั้นที่มันทันสมัย ที่ไปเห็นหลง เพราะมันไปคู่กับความรู้ความหลง เป็นคู่กันพอดี จับคู่ได้พอดี เมื่อมีหลงมีรู้อย่างนี้ ก็อยู่ในทางปฏิบัติต่อเป็นงานปฏิบัติเกิดขึ้น แก่รูปแก่นาม เป็นภาคปฏิบัติโดยตรง ไม่ใช่รูปแบบ ถ้ามีสติเป็นหน้ารอบ เราต้องดูแลตัวเองคุ้มทั้งกายทั้งใจ เหมือนเราดูแลปกครองทรัพย์สินเงินทองของเรา ไม่ให้เป็นของเถื่อน สิ่งใดมีเจ้าของดูแลก็ยังมีอยู่เป็นปกติ
ปฏิบัติธรรมคือดูแลกายใจให้มันคุ้ม เรียกว่าสตินี่แหละ ไม่ใช่เรื่องอื่น มาผ่านสติทั้งหมด สติเป็นป้อมปราการ เหมือนรักษาประเทศชาติ อะไรมันจะผ่านมาทางนี้ล่ะ ถ้ามีสติเป็นหน้ารอบ ไม่เผลอแล้ว เห็นทุกเรื่อง ถ้าไม่มีสติ จะไม่เห็น ไม่เคยเห็นความคิดตัวเอง ปล่อยให้มันเข้าออก เถื่อน ๆ ถ้าเป็นจิตก็เป็นจิตเถื่อน ถ้าเป็นกายก็เป็นกายเถื่อน ไม่รู้จักรักนวลสงวนตัว จิตก็เป็นโสเภณีจิต กายก็เป็นโสเภณีกาย สำส่อน ใช้ทำบาปทำกรรม ใช้ทำชั่วอะไรก็ได้ เมื่อสิ่งใดมันสำส่อน ก็ป่าเถื่อน เป็นทางผ่านของความชั่วร้าย เหมือนทางผ่านของโจร มาทีไรก็ต้อนรับ กายต้อนรับความป่าเถื่อน กินเหล้าเมายา จิตใจก็ต้อนรับความป่าเถื่อน กิเลส ตัณหา โลภ โกรธ หลง เขาให้โกรธก็โกรธ ไปกับความโกรธ ให้ทุกข์ก็ทุกข์ ให้สุขก็สุข แล้วแต่อะไรจะไปใช้ สำส่อน
มามีสติเมื่อเห็นความคิด โอ้! กระตือรือร้น อายุ ๓๐ ปี ไม่เคยเห็นความคิด ไม่เคยช่วยความคิดจิตใจตนเอง น้ำตาซึมนะถ้าเห็นความคิด เห็นความชั่ว เห็นความคิดที่มันเกิดทำให้พาจิตเป็นทุกข์เนี่ย มันเกิดจากความคิด สงสารตัวเอง ไม่เคยช่วยจิตใจ ไม่เคยช่วยกาย กายใจเบียดเบียนกันตลอดเวลา คิดขึ้นมาก็นอนไม่หลับ เป็นทุกข์ทางกายกินไม่ได้ ความทุกข์เกิดจากความคิดเกือบจะ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ พอมาเห็นความคิดนี้ เอาแล้วบัดนี้มั่นใจในการใช้ชีวิต ได้หลักวิธีการดำเนินชีวิต ที่ชัดเจนแม่นยำปลอดภัย มั่นใจ เหมือนคนใช้อะไรเป็น มั่นใจ คนขับรถก็มั่นใจในรถของตนเอง คนทำงานก็มั่นใจในเครื่องมือทำงานของตนเอง เรามีกายมีใจเราก็มั่นใจที่ใช้กายใช้ใจให้ถูกทิศถูกทาง มันเคยหลง เปลี่ยนเป็นไม่หลงได้อย่างงดงาม มันเคยทุกข์ เปลี่ยนเป็นไม่ทุกข์ได้อย่างงดงาม กระตือรือร้นมาก ไม่ปล่อยตัวเองทิ้ง สงสารตัวเองก็สงสารคนอื่น ถ้าสงสารตัวเองไม่เป็นแล้วไม่สงสารคนอื่น เห็นความหลงเนี่ย เห็นคนอื่นหลงก็เป็นเช่นนี้ เห็นคนอื่นโกรธมันเกิดจากความหลง แต่ก่อนเห็นคนโกรธ ก็ไปโกรธกับคนโกรธ เห็นคนนั้นเป็นคนไม่ดี มันมองไปเห็นปลายเหตุ พอมาเห็นความหลงที่มันเกิดกับตัวเอง เห็นความโกรธ ความทุกข์ เห็นกิเลสตัณหาเกิดจากตัวเอง ก็เห็นต้นตอของชีวิตของคน คนไหนหลงก็เป็นคนที่น่าสงสาร คิดจะช่วยเหลือ เพราะรู้ก็รู้จักว่าเขาหลง ไปบิณฑบาต เพื่อนหลง ก็คิดจะช่วยเพื่อน แต่ช่วยตรง ๆ ไม่ได้ ชวนอย่างอื่น คิดอยากจะช่วย เวลาเขาพูด ไม่อยู่ในวิสัยของสมณะ เวลาปฏิบัติธรรมทำท่าสงบเสงี่ยม แต่เวลาหลงแสดงออกมา ไม่ได้ปฏิบัติในวาระที่มันหลง ในความหลงก็เป็นความหลงตะพึดตะพือไป เสียดาย เสียดายเพื่อน น่าจะไม่หลง แค่นี้น่าจะไม่หลง แค่นี้น่าจะไม่ทุกข์ บางทีก็ร้องไห้ หนาว ปี ๕๑๖ ติดลบ ๑๐ องศา ไปบิณฑบาต สมัยอยู่เมืองเลยนะแม่ชีน้อย ติดลบ ๑๐ องศา เณรน้อยร้องไห้ เดินไม่ได้ มองกลับคืนไปเห็นเณรร้องไห้อยู่ เดินไม่ได้ อุ้มบาตรเดินไม่ได้ น้ำตาซึมเดินไม่ได้ ก็ไปกอด ช่วยกันกอดให้มีไออุ่น ก็ชี้ไป กำลังจะขึ้นถนน กำลังจะขึ้นถนน ผ่านทุ่งนามา ป่าฟางเนี่ยขาวโพลนทั้งป่า มีหิมะจับขาวไปหมดเลย ไปแกะดูฟางเป็นเปลือก เป็นเปลือก เป็นปล้องอ้อยเหมือนเปลือกอ้อย แกะออกมาเป็นน้ำแข็ง แล้วก็บอกให้เณร “เณร เณร โน่น เขายังถีบจักรยาน ไปทำงานในเมือง เขายังถีบจักรยานไปได้ ไป ไป พวกเราไม่ต้องกลัว” จับแขนคนละแขนเดินขึ้นมา ขนาดหนาว –๑๐ เหยียบพื้นดินเหมือนกับเหยียบไฟ ความเย็นกลายเป็นความร้อนนะ แล้วก็มันหนาวนี้ก็มองทำไง มองถึงความร้อน มันก็มีร้อน มันก็มีหนาว มันไม่จนที่ตรงนั้น บางทีก็หลงจนร้องไห้ หนาวมาก แต่ว่า ก็มีผลกระทบกระเทือน หน้าผากลอกหมดเลย เหมือนไฟลวก แกะ หนังออกเลย (หัวเราะ) หนาวนี่มันลวกนะ ใบไม้ลวกทั้งป่าเลยนะ นี่ อะไรก็ตามเอามาเป็นทุกข์ทั้งหมดเลย มันไม่ใช่ หนาวก็ไม่เป็นทุกข์นะ ร้อนก็ไม่เป็นทุกข์นะ ใช้ได้ไหม ใช้ได้ แล้วเพื่อนเป็นยังไง เพื่อนก็เป็นทุกข์ หนาวก็เป็นทุกข์หรือ มันไม่น่าจะเป็นทุกข์นะ อึม! ก็รู้จักว่าเออปฏิบัติธรรมน่ะมันทันสมัย มันช่วยกายช่วยใจ ช่วยรูปช่วยนาม หนาวเป็นทุกข์ใจ ร้อนเป็นทุกข์ใจ โกรธเป็นทุกข์กาย ใจโกรธเป็นทุกข์กาย เบียดเบียนกัน พอมารู้ความเท็จความจริง มันมีระเบียบวินัยของรูปของนาม ไม่ผิดฝาผิดหนัง ไม่เบียดเบียนกัน สามัคคีกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน ควบคุมได้ง่าย ดูแลได้ง่าย เหมือนกับสิ่งเดียวกัน เหมือนกับสิ่งกระจุยกระจายมาเอาเป็นอันเดียวกัน เหมือนเส้นด้ายร้อยดอกไม้ วินัยเหมือนเส้นด้ายร้อยดอกไม้ ดอกไม้ต่างต้น ต่างกอ ต่างสี ต่างกลิ่น เมื่อมาเข้าเส้นด้าย เป็นระเบียบ กายใจของเรานี้ก็เหมือนกัน แม้มันจะมีอะไรที่มันเกิดกับกายมากมาย เกิดกับใจก็มากมาย แต่ถ้ามีวินัย มีวิธีปฏิบัติต่อกายต่อใจตามความเป็นจริง เป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน อยู่ในกำมือ มั่นใจในธรรมวินัย ขับเคลื่อนชีวิตของตนเองไปถูกฝาถูกฝั่ง ไม่ไปทางอื่น ถึงจุดหมายปลายทาง ความหลงไปสู่ความไม่หลงทันที ทีใดก็ทีนั้น ความทุกข์ไปสู่ความไม่ทุกข์ทันที ทีใดทีนั้น เมื่อไหร่เมื่อนั้น ไปสู่ความจริงเสมอ มีศรัทธาตรงนี้มาก มีศีลก็มีตรงนี้ มีสมาธิก็มีตรงนี้ มีปัญญาก็มีตรงนี้ รอบ ๆ รู้อยู่นี้ บริสุทธิ์ หมดจด สิ้นเชิง เรื่องกายเรื่องใจนี้ จะเป็นทุกข์เป็นโทษ จะมีคุกมีตารางทำไม จะต้องมีตำรวจทหารทำไม มันมีข้อปฏิบัติต่อกายต่อใจที่ถูกต้องอยู่ เหมือนกันหมด เหมือนกันทุกชีวิต เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่าเอตทัคคะ คือเป็นหนึ่ง ในการรักษากายใจ ที่เป็นรูปเป็นนามนี้ จึงมั่นใจ มั่นใจในธรรมวินัย ทำอย่างนี้มันเป็นอย่างนี้ ไม่ทำอย่างนี้มันไม่มีอย่างนี้
เหมือนพระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจวัคคีย์ ตอนหนึ่งพระพุทธองค์แสดงตอนที่โกณฑัญญาได้ดวงตาเห็นธรรม ได้แสดงออกมาว่า
“ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ” สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา
มันมีมามันก็เกิดขึ้นมาเพื่อดับ มันเกิดมันดับ อาการเกิดดับ ที่หลวงปู่เทียนท่านแสดงอยู่เสมอเนี่ย ที่มันถึงตรงนี้คือเป็นอาการเกิดดับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็มีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจนี่ ไม่ใช่ตัวใช่ตน สิ่งที่มันไม่เป็นอะไรนี่ มันต่างหาก มันจะไม่เหนือการเกิดแก่เจ็บตายได้อย่างไร ทำได้ทุกคน วิธีปฏิบัติก็กรุยทาง survey ได้แล้ว มันหลง เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง นี่เหยียบมันไป ลุยมันไป แหลกเลย ความโง่หลงงมงายแหลกละเอียด ตัณหาแหลกตรงนี้ ความโลภโกรธหลงแหลกไปตรงนี้ เหยียบไปแล้ว มันทุกข์ เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ เสร็จเลย มันโกรธ เห็นมันโกรธ ไม่เป็นผู้โกรธ เสร็จไปเลย เป็นรอยไปแล้ว รอยไปแล้ว ทีใดทีนั้นก็เป็นรอยไป เหมือนกับเราเดินทาง เป็นรอยไป เหยียบไป หลง เห็นหลง ไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลง นั่นรอยแห่งความหลงมันจะมีหรือ ในหลงก็มีรอยแห่งความรู้ไปแล้ว เป็นไปได้แน่นอนตรงนี้นะ อย่าสละสิทธิ์ อย่าเฉยตรงนี้ มันทุกข์หรือนั่นแหละ มันคิดมากนั่นแหละมันดี จะได้เห็นมันคู่ คู่ชกคู่ซ้อม มันจะเป็นแชมป์ตรงนี้ใช่ไหม ถ้านักกีฬาไม่ได้ซ้อมมันก็ไม่เป็นแชมป์ได้ (หัวเราะ) ถ้าบางคนไปมันคิดมาก นั่นแหละมันดี อย่าไปนึกว่ามันไม่ดีนะ ไปนั่งสงบ เสร็จเลยนะ เป็นศิลาทับหญ้า นักกรรมฐานทั้งหลายตายอยู่ในความสงบ จำนวนมาก หลังขด เป็นอัมพาต นั่งอยู่ตลอดเวลา ต้องยืนเดินนั่งนอน ถ้ามันคิดมากยิ่งจะรู้มาก มันเป็นคู่ซ้อม ถอดมันมาจากซ้อมนี่แหละที่จะเก่งขึ้นมา ความหลงเป็นคู่ซ้อมของความรู้ มันได้ความรู้ชำนาญเพราะมันหลง หลงทีไรรู้ที่นั้น อะไรที่มันไม่ดีเปลี่ยนดีที่นั้น ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องขออภัยจากใคร สิทธิของเรา ร้อยเปอร์เซ็นต์ เหยียบมันไป วิธีปฏิบัติ ไม่ต้องไปเมื่อไรมันจะถึง มันจะเป็นยังไง รู้ธรรมเป็นยังไง มรรคผลนิพพานเป็นยังไง ไม่ต้องไปคิด เป็นอย่างไร อย่างไร คำว่าเป็นอย่างไร เป็นอย่างไร ไม่มีในหัวใจ มีแต่ว่ามันหลง เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง ถ้ามันหลงทีไร มันทุกข์ทีไร มันโกรธทีไร มันคิดอะไร มีแต่ทำวิธีเดียว ไม่มีอย่างอื่น เป็นหนึ่ง หนึ่งเดียวเท่านั้นที่ไปใช้ ไม่ใช่หลายอย่าง ใครก็ทำแบบเดียวกันหมด รู้ก็รู้แบบเดียวกันหมด รู้ธรรมก็เหมือนกันหมด ถ้าเป็นธรรม ที่เป็นของจริง เรียกว่าอริยสัจ อันจริง เป็นอันเดียวกันหมด ถ้าไม่ใช่ของจริงก็เป็นคนละอย่าง บางคนก็ไปเอานิมิตมาพูดให้กันฟัง อันนั้นไม่จริง จริงสำหรับคนที่เห็น คนที่ไม่มีนิมิตก็มี อย่าไปเอาคนที่เกิดนิมิตมาเป็นแบบอย่าง มันไม่เป็นก็ได้ นิมิตมันไม่เกิดก็ได้ โดยเฉพาะการเจริญสติปัฏฐานนี้ไม่ค่อยมีนิมิต
เคยไปสอนธรรมที่จังหวัดจันทบุรี มีสำนักปฏิบัติธรรม เขามาขอสอนให้เห็นธรรมกาย เราก็ให้สอนลองดู ขอพูดสักหน่อยได้ไหม แล้วก็จับลูกแก้วขึ้นมา ให้คนทั้งหลายมองดูลูกแก้ว “เห็นลูกแก้วไหม” ทุกคนก็เห็น “เห็นทุกคนนะ ดูให้ติดตานะ” เคยฝึกไหม (หัวเราะ) “ดูให้ติดตานะ ลูกแก้วนี่” “หลับตาดูสิเห็นไหม” หลับตาดูบางคนก็ไม่เห็น “ต้องดูให้ติดตา ให้มองให้มันเห็นติดตา หลับตาดูก็เห็น” ก็เลยตอบว่า “เห็น หลับตาดูก็เห็น ถ้าคิดน่ะ ถ้าคิดเห็นมันก็เห็น แต่ถ้าเห็นเป็นจริง ๆ ก็ไม่เห็น” บางคนก็บอกว่า “เห็น ๆ เห็นแล้ว เห็น ๆ” “เอาลูกแก้วเข้าในจมูก เลื่อนลงมาถึงคอ เลื่อนลงมาหน้าอก ลงไปแล้ว ลงไปแล้ว มาที่สะดือ ลงไปแล้ว ยกลูกแก้วเลื่อนขึ้นมาเหนือสะดือ ๒ นิ้ว ให้บริกรรม สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง จะเห็นธรรมกาย” ก็พยายามสอน ขอเวลา ๓๐ นาทีจะต้องเกิดธรรมกายแน่นอน พอ ๓๐ นาที ก็ไม่มีใครเกิดธรรมกาย ก็ต่ออีก ๓๐ นาที ก็ไม่มีใครเกิดธรรมกาย เอ๊ะ! ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็สอนคนตั้ง ๗๐, ๘๐ คนเนี่ย ถ้าเป็นชั่วโมงต้องเกิดธรรมกาย ต้องไม่น้อยกว่าคนสองคนสามคน ทำไมจึงไม่เกิดธรรมกาย เป็นอย่างไร
หลวงพ่อก็บอกว่า “ที่นี่เขาเจริญสติกัน จะไม่เกิดนิมิตแบบนั้น เห็นรูปเห็นนาม มันจึงไม่เกิดนิมิตแบบนั้นขึ้นมา” มันเป็นส่วนหนึ่ง เห็นรูป เห็นนาม เห็นความหลง เห็นความไม่หลง เห็นความผิด เห็นความถูก เห็นความง่วงที่มันเกิดขึ้น ทุกคนนี้ มันคิดเห็นมันคิดเนี่ย ไม่เป็นผู้คิด ไม่เข้าไปในความคิดเนี่ย มันจึงจะเข้าไปหาอริยสัจ ๔ ได้ เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาได้ ตัดกิเลสตัณหาได้ตรงนี้ ดับความโลภความโกรธความหลงได้ เพราะมันมีความรู้เข้าไปเห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนามนี้ เห็นรูปเห็นนามตามความเป็นจริง รูปที่มันทุกข์ทั้งหมดเห็นหมด ทุกข์ที่เกิดกับรูป ทุกข์ที่เกิดกับนามเห็นหมด มาให้เห็นหมด ไม่ปิดบัง เปิดเผย มาดูจริง ๆ เนี่ย จับขึ้นมาดู มาดูซิมันเป็นอย่างไรเนี่ย เหมือนเราจะศึกษา เหมือนนายแพทย์ศึกษาการแพทย์ เอาศพมาผ่าดูจริง ๆ เนี่ย แต่ว่าไม่ผ่าแบบนั้น มาเอารูปมาดูเนี่ย ดูมันจะเกิดอะไรขึ้นมา อาการธรรมชาติมันมีอะไรบ้าง มีแต่เห็นมัน เรียกว่าพบเห็น ไม่ใช่แบบคิดเห็น เห็นแล้วทำไง เห็นแล้วก็ เห็นบางอย่าง กำหนดรู้โดยการรู้เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรกับมัน เช่น หายใจเข้าหายใจออก จะหยุดลมหายใจบ้างก็ได้ มีแต่กำหนดรู้ ไปเอามาเป็นประโยชน์ ทุกส่วนของร่างกายเอามาเป็นวัสดุอุปกรณ์ผลิตความรู้ได้ทั้งนั้น อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างหยาบก็ยกมือเคลื่อนไหว คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก อย่างกลางก็มาหายใจเข้าหายใจออก กระพริบตา กลืนน้ำลาย อย่างละเอียดคือมันคิด สติที่ไปเห็นความหยาบ ๆ สติไปเห็นความกลาง ๆ เห็นลมหายใจ สติไปเห็นความคิด บางทีอยู่ ๆ จะไปบังคับความคิดเลย มันก็ไม่ได้ สติยังอ่อน สู้ความคิดไม่ได้ กลายเป็นความเบื่อ เข็ดหลาบไปเลย ไปเจอความคิด ไปบังคับไม่ให้มันคิดให้มันสงบ ถ้าจะต้องการให้มันสงบไม่ต้องไปบังคับความคิด เคยฝึกเคยสอนให้เป็นตัวแข็งได้ บริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธ ตามลมเข้า ตามลมออก หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ บริกรรมเน้นเข้าไป เน้นเข้าไป หลับตา ถ้าจะให้ตัวแข็งก็ไม่หายใจสักแป๊บเดียว มันก็แข็งทันที แต่มันไม่ได้ประโยชน์อะไร นี่ไม่ต้องให้เป็นอย่างนั้น ให้มันรู้ ให้มันตื่น ออกมาดูมัน เรียกว่ากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่สมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเกิดก่อนพระพุทธศาสนาหลายพันปี เช่น อุทกดาบส อาฬารดาบส อะไรต่าง ๆ เกิดมาแล้ว วิปัสสนาเกิดในวันเพ็ญเดือน ๖ นั่นละ ได้ ๒,๕๙๙ ปีนี้ วิปัสสนาเกิดตรงนั้น คู้แขนเข้าเหยียดแขนออก เนี่ย! รู้สึกตัวเนี่ย ทำตามพระพุทธเจ้าสอนนั่นแหละ รอยพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้แน่นอน มีรู้ มีหลง มีทุกข์ มีไม่ทุกข์ ไปเนี่ยไปเหยียบไปตรงเนี่ย
เพราะฉะนั้นวันนี้ ในช่วงสัปดาห์นี้ ให้มีผลกระทบต่อเราด้วย จากสามัญชนคนหนึ่ง ที่ปฏิบัติแบบนี้ เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้ มีพระธรรมเกิดขึ้น มีพระสงฆ์เกิดขึ้น จนมีมาให้เราอยู่ได้ทุกวันนี้ มันเกิดจากวันนี้ จากวันใกล้ ๆ นี้ วันนี้กี่ค่ำแล้วนะ กระตือรือร้นสักหน่อย เตรียมรับ ๕ วันเตรียมรับพระพุทธเจ้าพวกเรานะ มีผลกระทบต่อเรา ไม่ใช่เป็นส่วนตัวของพระองค์ เพื่อทุกชีวิต การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านี่ เพื่อทุกชีวิตที่เกิดมาเนี่ย แล้วเราก็อย่าสละสิทธิ์นะ ทำในใจ ทำไม่ได้ก็ทำในใจ ต้องถือว่าได้แน่นอน ก็คือตัวเรานี้ มีคุณธรรมเหมือนพระพุทธเจ้า เมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ บริสุทธิคุณ ปัญญาธิคุณ ในรูปในนามของเรานี้ อย่าสละสิทธิ์ ก็เลยให้มีกำลังใจ มาเป็นมิตรเป็นเพื่อนกัน ไม่ใช่เป็นครูอาจารย์ ทำแบบเดียวกันนี้ ไม่ผิดแน่นอน รับผิดชอบ ถ้ามีสติ เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ เปลี่ยนสุขเป็นไม่สุข เปลี่ยนอะไรทุกอย่างเป็นรู้ เป็นรู้ไปทั้งหมด ราบไปเลยล่ะ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าความรู้สึกตัว จนที่สุดไม่เป็นอะไรกับอะไร มันผ่านมาหมดแล้ว ถึงจุดหมายปลายทาง ไม่เป็นอะไรกับอะไร แล้วทำไมจึงไม่เป็นอะไร เพราะมันผ่านมาหมดแล้ว มันก็เป็นอย่างนั้นเอง สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ หมดเปลือก แสดงออกมาหมดท่า จึงไม่เป็นอะไรกับมัน จนในที่สุดมันแก่ มันเจ็บ มันตาย ก็ไม่เป็นอะไรไปกับมัน เพราะเห็นมันแล้ว ความเท็จความจริงเป็นอย่างนี้ มันก็จบเท่านั้นเอง ชีวิตของเรามันไม่มีอะไรที่ต้องไปอดไปทน ไปทำกับตัวเองให้เป็นภัยเดือดร้อนกับคนอื่น มีความสงบร่มเย็นเป็นสันติภาพ เป็นคน ๆ เดียวกันทั้งโลก อยู่ด้วยกันด้วยความสง