แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมต่ออีกสักหน่อย เรื่องงานเรื่องการของเรา การที่เราสาธยายพระสูตร ทำวัตรเช้าได้บริหารร่างกายจิตใจของเรา บางบทบางตอน ยาว หายใจออก พร้อมทั้งเสียงที่เราเปล่งออกไป จนจบ แล้วก็หายใจเข้า สูดลมเข้าไป มันมีอานิสงค์ พร้อมทั้งเสียงที่เปล่ง มันมีอะไรที่มันออก ขับเคลื่อนออกมาถ้ามีสูบบุหรี่ มันก็ขับนิโคตินออกมาทางลมหายใจ อีกอันหนึ่งปอดเราก็มีพลัง สูดลมเข้า ปล่อยลมออก 30 นาที สิ่งที่เราได้อันหนึ่งคือ มีสติ ติดตาม ติดใส่ใจตามในพระสูตร ที่เราว่าออกมา มันก็อะไรอะไรที่เกิดมันหลายอย่าง มีแต่คำดีๆ เป็นคำสอนดีๆ แล้วได้สัมผัส ทำในใจไปบ้าง นี่อานิสงค์ แล้วเราก็ได้ทำนี่อยู่มีการฝึกกรรมฐานที่เป็นงานของเราได้ทำอยู่ แล้วก็ข้อดีมันเป็นปัจจุบัน ทำให้เราได้เห็นปัจจุบัน
ปัจจุบันคือมีกาย มีใจ มีสติ ถ้าตั้งต้นสติไปในกายไปในใจได้ มันก็จะถือว่าทั้งหมดของชีวิตเรา หลังจากการดูแลร่างกายจิตใจ ให้ดู ให้ถูก ให้ชอบ มีสติเห็นกายเป็นนิมิตเกาะอยู่ เอากายเป็นตำราก็ว่าได้ ไม่ต้องใช้สมอง ไม่ต้องใช้หัวคิดเหตุผล สัมผัสเข้าไป สติไปสัมผัสที่กาย ไปจุ่มไปต่อ ติดกาย กายติดสติ ใจติดสติ ฝึกหัด แต่ก่อนกายมันติดอะไร บางทีเคลื่อนไหวไม่ค่อยรู้ อาจจะเคลื่อนไหวด้วยความหลง มีเหตุปัจจัยทำให้เกิดความหลงไปทางกายจึงแสดงออก มีเหตุความหลงทำให้เกิดขึ้นทางใจ มีการแสดงออก บัดนี้ให้มีสติเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดูแล ให้เห็น อย่าไปแสดงออกเรื่องอื่น เหมือนกับเจ้าของมีแล้ว อันอื่นเกิดขึ้นก็ใช้สิทธิ มันหลงใช้สิทธิไม่หลง มันทุกข์ ใช้สิทธิไม่ทุกข์ให้เห็น สิ่งที่มันหลงเกิดขึ้นกับกายมีมาก เป็นอาการ นับไม่ถ้วน เกิดกับใจก็นับไม่ถ้วน เค้าเรียกว่าอาการ ภาษาบ้านเราเรียกว่าอาการ ภาษาพระพุทธเจ้าเรียกว่า สุขว่าทุกข์ หรือเรียกว่า เวทนา เวทนาคือสุขคือทุกข์ มันเป็นคำพูด
ถ้าเราสัมผัสได้จริงมันเป็นอาการ อาการที่เกิดกับกายอย่าหลง แล้วก็กลับมาหากาย เอากายเป็นที่ตั้ง ให้รู้สึก อย่าให้ความหลงไปไกล จนถึงความพอใจ ความไม่พอใจ ในความชอบก็พอใจ เกิดชอบ เกิดไม่ชอบ อย่าไปถึงโน่น ให้เห็นสักแต่ว่าเป็นอาการที่เกิดกับกาย สิ่งที่เกิดกับใจก็เหมือนกัน กับความคิด บางทีก็ความคิดนี่ทำให้เกิดหลงมากกว่ากายด้วยซ้ำไป ก็เห็นกายเห็นความคิด ที่มันทำให้หลงทั้งสองอย่าง ให้เปลี่ยนหลงเป็นรู้ทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน ถ้าไปมาแต่ก่อนมันก็ยิ่งใหญ่ อาการเกิดกับกายกับใจนี่ มักจะพลัดไปอยู่กับมัน บัดนี้เรามีสติกลับมาที่ตั้ง เอาไปเอามาก็เห็น ความเป็นเท็จเป็นจริงของกายของจิต ไม่ได้หลง แต่ก่อนหลง บัดนี้กลายเป็นความไม่หลง เห็นหลัก เห็นฐาน เห็นเป็นรูปธรรม เห็นเป็นนามธรรม ที่มันเคลื่อนไหวอยู่นี่ มันเป็นรูป มหาภูตรูปเป็นรูปอาศัย ที่มันเป็นสุขเป็นทุกข์มันเป็นอาการของรูป มันธรรมชาติ มันร้อน มันหนาว มันหิว มันปวด มันเมื่อย เป็นอาการของรูปมีธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่ไปเอามาเป็นสุขเป็นทุกข์ เห็นมันอย่างนี้
ถ้าจะเป็นคำพูดออกมาก็พูดออกมาได้ว่า กายสักว่ากายไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา ออกมาจากสภาวะธรรมที่ไม่มีใครบอก เพียงประสบการณ์เราเอง นี่คือรูป ขอบคุณที่ยุงมันกัดมันเจ็บ ถ้ามันไม่เจ็บมันก็ไม่ใช่รูป เพราะรูปมันมีนาม มันรู้อะไรได้ มันรู้อะไรได้ ก็เห็น เมื่อก่อนเอามาเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นความพอใจไม่พอใจ บัดนี้มีแต่สติ และก็ไม่ไปไกล เหมือนทิ้งก้อนกรวดก้อนหินใส่ฝาผนัง มันก็ตกลง สัมผัสแล้วตกลง ไม่ติดมันไม่ติด แต่ก่อนเหมือนทิ้งก้อนดินที่เป็นเปียกเป็นเหนียว ติด ไปติด สุขก็ติด ทุกข์ก็ติด พอใจก็ติด ไม่พอใจก็ติด เป็นรอยอยู่ที่นั่น รอยกาย รอยใจ รอยอาการ ถ้าว่าเราเราก็ไปยึดว่าเราซะ เราชอบ เราไม่ชอบ หมกมุ่นไปเสียทั้งหมด บัดนี้เห็นแล้วว่าเป็นอาการ ที่มันเกิดกับกายมันหิวถูกต้องแล้ว มันร้อนถูกต้องแล้ว มันเหนื่อยถูกต้องแล้ว มันปวด มันเจ็บอะไรต่างๆ ถูกต้องแล้ว เราเกี่ยวข้องกับอาการต่างๆ โดยความชอบ ไม่เอามาเป็นสุขเป็นทุกข์ มีปัญญา เห็นเป็นรูปมันเป็นอย่างนี้ เป็นรูปที่เป็นอาการที่เกิดกับรูป มีมาก ก็เห็นความไม่เป็นนี่มันเท่ากันหมด มันร้อนเห็นมันร้อน ความร้อนไม่มีค่า มันสุขเห็นมันสุข
ภาวะที่เห็นมันไม่เป็นเนี่ย สำคัญที่สุดตรงนี้ ชิมให้ดี เหมือนเวลากุ๊กปรุงอาหาร ชิมให้ดี สัมผัสดู เห็นไม่เป็นเนี่ยมันขนาดไหน เห็นมันสุขไม่เป็นผู้สุข เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ เห็นเนี่ยมันจบแค่เห็น เห็นแล้ว รู้แล้วอยู่เนี่ย ว่ารู้แล้วเนี่ยคือ จบไปแล้ว ผ่านไปแล้ว ไม่ใช่เอาสุขมาเป็นสุข ไม่ใช่เอาทุกข์มาเป็นทุกข์ ไม่ใช่เอาผิดมาเป็นผิด เห็นมันผิด เห็นมันถูกอยู่เนี่ย เห็นมันหลง เห็นมันรู้อย่างเนี้ย ก็เรียกหลักตรงนี้เรียกว่ากรรมฐานที่ตั้ง มันตั้งไว้แล้ว มีที่ตั้งมีการกระทำอยู่แล้ว ที่เกิดจากจิตก็เหมือนกัน ที่มันคิด ความคิดไม่ได้ตั้งใจก็มี ความคิดที่ตั้งใจก็มี เวลาเราฝึกกรรมฐานไม่ควรไปตั้งใจคิดเรื่องใด ให้เฉพาะเสียก่อน เฉพาะเรื่องนี้เสียก่อน การที่ตั้งใจคิด มันก็มีเหมือนกัน แต่ว่าเวลาฝึกกรรมฐานไม่ควรจะคิด แต่ความลักคิดมันไม่มีเวลา มันเกิดขึ้นมาเอง นั่นแหล่ะยิ่งดี ให้มันคิดลงไป จะได้รู้มัน อย่าเอาความลักคิดมามีปัญหา บางทีไม่พอใจ บางทีก็เกิดอะไรขึ้นจากที่มันไม่ตั้งใจคิด ไม่อยากคิดมันก็คิดเนี่ย ทำให้เกิดอะไรได้หลายอย่าง ถ้าไปเกี่ยวข้องไม่ถูก ก็ยาก ไปห้ามไม่ให้มันคิด ไม่ใช่ไปห้ามมัน เพียงแต่เรามีสติ กลับมาที่ตั้ง เราก็มีที่ตั้งอยู่ เวลามันคิดขึ้นมากลับมาหาที่ตั้งที่กรรมฐานเคลื่อนไหวกายให้มันรู้อยู่เสมอ ก็มีวิธีทำแบบนี้ มันไม่ยาก ยิ้มได้ตลอดเวลา อาจจะอมยิ้มได้ตลอดเวลา ผู้ฝึกกรรมฐาน ถ้าทำถูก จนเห็นเป็นรูปเป็นนาม มันรู้อะไรได้
แต่ก่อนอาการที่เกิดกับนาม เช่น ความหลง ความสุข ความทุกข์ก็มี ความพอใจ ไม่พอใจ ความโกรธ ความโลภ ความหลงมี ถ้านั่น เราก็ต้องไปเรียกมันว่า มันโกรธ มันโลภ มันหลง มันรัก มันเกลียดชัง แต่ก่อนเราเป็นตัวเป็นตนอยู่ที่นั่น ถ้ามันโกรธก็ทำตามความโกรธ ถ้ามันรักก็ทำตามความรัก ถ้ามันพอใจก็ทำตามความพอใจถ้าไม่พอใจก็ปฎิเสธ ให้มันมีคำสั่ง มันเป็นใหญ่ อารมณ์เป็นใหญ่ เราไปเอาอารมณ์ที่เกิดแบบนั้น อาการแบบนั้นว่าเป็นเรา พอมาเห็นแล้วเป็นอาการ สักแต่ว่า ไม่ใช่ตัวใช่ตน ภูมิกำเนิดของตัวตนในภพนี้ได้ ในรูปก็ดี ในนามก็ดีไม่เกิดตัวตนอยู่ตรงนี้แล้ว ก็เห็นรูปธรรม นามธรรม เห็นมันทำ รูปมันทำ นามมันทำ ทำมีสองอย่าง ทำ ทอ-ทะ-หาน-สระอำ เรียกว่าทำ ทำดี ทำชั่ว เกิดที่นี่ มันเป็นรูปธรรมที่นี่ เป็นบุญก็อยู่ที่นี่ เป็นบาปก็อยู่ที่นี่ ถ้าทำชั่วก็เป็นทุกข์ มันมีรูปธรรม นามธรรม มันมีกายมีใจ ทำบาปเอง ทำชั่วเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจรดเอง ผู้ทำหมดความเศร้าหมองหมดจดเป็นของเฉพาะตน เราทำให้เราเอง คนอื่นทำให้เราไม่ได้ เราทำไม่ดีก็แก้เอาเอง ถ้าเราทำดีก็ทำไป ทำไป ชั่วก็ต้องละไป ดีก็ทำตะพึดตะพือไป ใจไม่ติดไม่ยึด นี่มันเป็นรูปทำ นามทำ ทอสระอำ
ธรรมอีกอันหนึ่งคือ ธรรมชาติ เป็นธรรมชาติของรูปของนาม ธรรมชาติมีหลายอย่าง มันร้อน มันหนาว มันโกรธ มันโลภ มันหลง มันเป็นธรรมชาติ ที่เป็นอาการ ของกาย ของใจ ของรูป ของนาม อันเป็นได้ อันมีรูปธรรม มีรูปนาม มันมีสัญญา สังขาร มีวิญญาณ เป็นธรรมชาติ กฎธรรมชาติ หน้าที่ของธรรมชาติ แล้วก็ กฎธรรมชาติเนี่ยสำคัญ คือ ไม่เป็นอะไรกับอาการต่างๆ มันถูกต้อง นี่เรียกว่า นามธรรม รูปธรรม นอกนั้นก็มีที่มันเกิดด้วยหลักด้วยฐาน เห็นรูป เห็นนาม เห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม คือเห็นชีวิตคนเรานี้ตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปใช้เหตุใช้ผลมันเห็นเข้า เห็นความคิดที่มันไม่ตั้งใจให้เปลี่ยนความคิดที่ไม่ตั้งใจเป็นความรู้สึกตัว เนี่ยมันเป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ ถ้ามีสติมันก็ไม่ต้องคิดต่อไปอีก แล้วก็รู้แล้ว แต่ก่อนมันไม่รู้ มันไหลไปกับความคิด กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว กลางคืนว่าฝัน กลางวันว่าคิด คิดเก่ง หลงเก่ง ไม่อยากคิด มันก็คิดสิ้นเปลืองพลังงาน บัดนี้มันอยู่ มันถนอม มันดูแล รักษามันรักษามันปลอดภัย ไม่เอากายเอาจิต มาเป็นสุขเป็นทุกข์ มีแต่ภาวะที่เห็นเป็นธรรมชาติ เพราะไม่ธรรมชาติ นอกจากเรื่องนี้แล้วก็มีตกอยู่ในสภาวะธรรมคือความไม่เที่ยง รูปธรรม นามธรรมเนี่ย มันก็เป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตน ความโกรธ ก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความสุขก็ไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง รูปก็ไม่เที่ยง นามก็ไม่เที่ยง ที่มันเป็นอาการนั่น อย่าเอาว่าเป็นตัวเป็นตน ตกอยู่ในความไม่เที่ยง ตกอยู่ในความเป็นทุกข์ ตกอยู่ในความไม่ใช่ตัวตน
สามอย่างนี้เป็นสภาวะธรรม เป็นสามัญลักษณะเสมอกันหมด ไม่มีใครเกินนี้ไป แม้แต่สิ่งต่างๆ ในโลกนี้เหมือนกันหมด ชีวิตของเราก็เช่นกัน ก็เห็นความโกรธ ก็บอกว่ามันไม่เที่ยงหรอกความโกรธนั่น เป็นอาการที่เกิดขึ้น เห็นความทุกข์ ก็มันไม่เที่ยงหรอกความทุกข์ เป็นอาการที่เกิดขึ้น ไม่มีใครทุกข์อยู่ร้อยปี สิบปี ยี่สิบปี ไม่มีใครโกรธอยู่เป็นเดือนเป็นปี ถ้าโกรธติดกันเป็นปีหล่ะก็ตาย มันก็มีโอกาสลืมได้ มันไม่ใช่ตัวตน ถ้าเอามาปรุงอีก ก็โกรธอีก มันมีเหตุ มีเชื้อ เพราะฉะนั่นเราก็เห็นสภาพเช่นนี้ ได้หลัก เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นทุกข์ เห็นความไม่ใช่ตัวตน ม้วนลงมาที่นี่เลย เหมือนกับถังขยะ ทิ้งลงไป ชีวิตของเราแต่ก่อนมีขยะ เต็มไปหมด สุขก็มี ทุกข์ก็มี รักก็มี เกลียดชังก็มี เป็นขยะในหัวใจ เป็นอารมณ์ค้าง บัดนี้พอเห็นสภาวะธรรม สามัญลักษณะมัน มันสะอาด เอาไปทิ้งลงไปง่ายๆ สิ่งไหนเป็นทุกข์มันก็ไม่เที่ยง ทิ้งลงไป มันไม่เที่ยง ทิ้งลงไปในความไม่เที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยงทิ้งลงไปในความไม่เที่ยง มันจริงแบบนั้น มันไม่จริงแบบ มันไม่เที่ยงก็จริงแบบไม่เที่ยงมันไม่จริงแบบเที่ยง ความเป็นทุกข์ก็จริงแบบทุกข์ แต่ก็ไม่จริงแบบความเป็นทุกข์ เห็นตรงนี้หนา เข้าสู่วิปัสสนาญาณ วิปัสสนาเกิดขึ้นตรงนี้ ตรงพ้นภาวะเก่าได้จริงๆ แต่เคยโกรธ อาจจะอาจจะไม่มีความโกรธ หรือโกรธน้อยลง ได้เข้าสู่วิปัสสนาญาณ เปลี่ยนแปลงได้ ทางจิตใจ ทางกาย ดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัย แต่ก่อนเคยทุกข์กับความไม่เที่ยง เคยทุกข์กับความเป็นทุกข์ เคยทุกข์กับความไม่ใช่ตัวตน คว้าน้ำเหลว เราก็ได้ยินได้ฟังอยู่ เราได้รู้อยู่แต่เราทำไม่เป็น
สิ่งใดเป็นสังขาร รูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป รูปธรรม นามธรรมทั้งหมด ทั้งที่เป็นทุกข์ ทนยาก เกิดขึ้นแล้ว แก่เจ็บตายไป สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ไม่ใช่ตัว ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเราว่าตัวเราว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา เราก็รู้ เราก็ว่ากันอยู่ สาธยายกันอยู่ แต่มันไม่เห็น ไม่เห็น ไม่สัมผัส อันนี้มันไม่ต้องว่ามันเห็น การเห็นนี่มันหลุดพ้น ถ้ารู้ไม่หลุดพ้น ใครก็รู้ แต่ไม่หลุดพ้น ถ้าเห็นมันหลุดพ้น จึงมีแต่เห็นเข้าไป เห็นความไม่เที่ยงก็หลุดพ้นความไม่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ความไม่เที่ยง เห็นความเป็นทุกข์ ก็ไม่เป็นทุกข์ ความทุกข์ หลุดพ้นจากความทุกข์ เห็นความไม่ใช่ตัวตน ก็หลุดพ้นจากความไม่ใช่ตัวตน มีแต่ความหลุดพ้น
จนพระพุทธเจ้าได้แสดงออกว่า ชี้ลงไปเลย ให้ความไม่เที่ยงเป็นนิพพานอยู่ที่นั่น ในปัญหามีปัญญาอยู่ที่นั่น ในความเป็นทุกข์ ไม่เป็นทุกข์อยู่ที่นั่น แต่ก่อนเราไม่รู้ไม่มีวิปัสสนา ไม่รู้ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง รักเป็นรักเกลียดชังเป็นเกลียดชัง เราไม่รู้อันความโกรธก็อยู่ในความไม่เที่ยง ความทุกข์ก็อยู่ในความไม่เที่ยง เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในความไม่เที่ยง นั่นแหล่ะคือพระนิพพาน เพราะเบื่อหน่ายก็ไม่มีแล้ว เอาไม่ได้อันความเป็นทุกข์นี่ ไม่ได้เด็ดขาด ความไม่ทุกข์มันมีอยู่นี่ เบื่อหน่ายจริงๆ เนี่ย อันความทุกข์เนี่ย มีเท่าไหร่ไม่ให้เหลือ ไม่ให้เหลือเลยความเป็นทุกข์เนี่ย เหมือนน้ำมัน อยู่กับน้ำน้ำมันนี่ไม่อยู่ใต้น้ำเด็ดขาด แม้เราจะเทน้ำลงไปเท่าไหร่ ก็เหนือน้ำเสมอ อันความไม่ทุกข์นี่มันไม่ยอมไปปนกับอะไร มันบริสุทธิ์ มันเป็นพรหมจรรย์ อันความโกรธก็ไม่ใช่พรหมจรรย์ มันเปรอะเปื้อน ความไม่โกรธนี่เป็นพรหมจรรย์ มันเป็นชีวิตชีวา ความเป็นทุกข์ก็ได้นิพพานความเป็นทุกข์ เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นคือตนหลงนั่นแหละเป็นพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด แต่ก่อนมาเป็นทุกข์บัดนี้ออกเป็นนิพพาน
ในทุกข์มีนิพพานในความไม่เที่ยงมีนิพพาน แต่ปุถุชนเอามาเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าไม่เอามาเป็นทุกข์ เห็นหลักเห็นฐานอย่างเนี้ย ไม่ต้องมีสติปัญญา ไม่ต้องมีการขีดเขียนหาข้อมูลอะไร มันบอก ความเท็จ ความจริงมันบอก ความหลงไม่จริง ความไม่หลงมันจริง มันบอกไปอย่างเนี้ย ใครก็ทำได้ ถ้าเห็นแล้วไม่มีใครไปทำกับมัน ไปเกี่ยวข้องกับมัน ความทุกข์ถ้าเราเห็นแล้ว เห็นความไม่ทุกข์ มันก็ไม่มีใครที่เป็นทุกข์ มันก็มีความไม่ทุกข์อยู่ในความทุกข์นั่น ได้หลักได้ฐานอย่างนี่แล้ว หลุดพ้นภาวะเก่า อ่านออกเขียนได้ไม่จน นี่คือกรรมฐาน มันบอกทางไปแบบนี้ มันบอกความผิดมันบอก ความทุกข์มันบอก ความไม่ผิด ทุกข์มันก็บอกไม่มีคำถาม มันเห็นเข้าไปเห็นแจ้งเข้าไป เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานอันนี้คือศึกษา ศึกษากรรมฐาน วิชากรรมฐาน เป็นอันเดียวกันหมดจะเป็นเพศใดภาวะใด อันเดียวกันหมด วิชากรรมฐานเนี่ย คืออันเดียวกัน ทำแบบเดียวกัน มีกายก็มีเหมือนกัน มีใจก็มีเหมือนกัน แต่เราไม่เหมือนกันตรงที่เราไม่มีสตินั่นแหล่ะ เวลามันสุขก็สุขไปเลยถ้าคนมีสติ ถ้ามันสุขก็เห็นมันสุขไม่เป็นผู้สุข เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์เข้าไปเลย เห็นรูปโรค เห็นนามโรคที่มันเกิดโรคในรูปในนาม โรคของรูปมีเหมือนกัน เห็นทุกข์ก็มีเหมือนกัน ทุกข์บางอย่างกำหนดรู้ด้วยการรู้เฉยๆ แก้ไม่ได้ ต้องหายใจเข้า หายใจออก ต้องกระพริบตา ต้องกลืนน้ำลาย ต้องหลับ ต้องนอน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องหนัก ต้องเบา คือมันเป็นโรครูป ทุกคนมีเหมือนกัน โรคแบบนี้บางอย่างบรรเทา บางอย่างละ เช่นทุกข์ที่เกิดจากความหลง สูบบุหรี่กินเหล้า ละเด็ดขาด บรรเทาไม่ได้ ไม่ต้องบรรเทา ติดบุหรี่ ติดกัญชา ติดของเสพย์ติด ละ ไม่ใช่บรรเทา ความโกรธก็ละ ไม่ใช่บรรเทา กูได้ด่ามันกูก็หายโกรธ ไม่ใช่แบบนั้น ละทันที
ทุกข์เนี่ย สมุทัย นิโรธ มรรค พระพุทธเจ้าเห็นอย่างนี้ ทุกข์ รู้ เห็นมันทุกข์ ไปแล้ว ไม่พ้นทุกข์ ทุกข์ให้เห็น เห็นทุกข์ ไม่พ้น ไม่เป็นทุกข์ พ้นทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัยเห็นเหตุ ไม่ทำเหตุนั้นอีก พ้นจากเหตุที่กำลังทำไม่ดีเห็นมรรคไปแล้ว เห็นงู เห็น ไปจากงู ออกไป ออกไปแล้วก็พ้นงูแล้วบาดนี่ มีสามลักษณะ เห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์ เรียกว่าว่าอริยสัจสี่ แต่ละอันนี่มีอยู่สามลักษณะ เห็นทุกข์ก็ทำสามอย่าง ออกจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ สมุทัยก็เหมือนกัน ถ้าเห็นแล้ว ถ้าเห็นจริงๆ ไม่เข้าไปเป็นหรอก มันก็ปล่อย เห็นแล้วก็หลุดพ้นทันที จึงเหมือนกงธรรมจักร รูปธรรมจักร มี 12 ซี่ ทำไมมี 12ซี่ อริยสัจสี่ มีสี่ 4x3 ก็เป็น 12 ก็ธรรมจักรหมุนไปทางใด ก็แหลกไปเลย แหลกไป เรียบไปเลย เพราะมันเป็นอย่างนี้ ทุกข์มันก็เรียบไปแล้ว โกรธมันก็เรียบไปแล้ว หลงก็เรียบไปแล้ว มันเหยียบไป มันเรียบไป เหมือนกับไม้กวาดผ่านไปตรงไหนก็เอาฝุ่นไป
ในลักษณะของอริยสัจสี่ ทฤษฎีของพระพุทธเจ้าที่พบเห็นเนี่ย มันทำไปในตัวเสร็จ มันก็ไม่มีคลื่น สุขก็เรียบไปเลย ทุกข์ก็เรียบไปเลยไม่มีคลื่นไม่มีค่า แต่ก่อนกระทบกระเทือนมากชีวิตของเราเนี่ย ก็มาเห็นลักษณะเนี้ย มีสติเห็นเข้าไปอย่างนี่มันก็เรียบไปเลย ถ้าเป็นโรคก็เรียบไปเลย เป็นรูปโรค นามโรค ก็เรียบไปเลย รักษาโรคได้เลย โรคที่เกิดขึ้นจากกายจากใจ หมายถึงรูปโรคนามโรค นะ ไม่ใช่โรค ที่เป็นเชื้อโรค ความโกรธเป็นโรคอันนึง ความทุกข์เป็นโรคอันหนึ่ง ความอะไรก็ตาม ถึงการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นโรคอันนึงที่ของคนเรา เรียบไปเลย จนพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อโรคยา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ พระพุทธเจ้าอาจจะไปยืนอยู่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง ห้าแพร่ง ประกาศเรื่องนี่ดังสมัยก่อน อย่างเรียกโต้ตอบยสกุลบุตร ที่นี่ไม่มีทุกข์ ที่นี่ไม่เดือดร้อน ที่นี่ไม่วุ่นวาย มาที่นี่ ทุกข์ทำไม ไปหลงทำไม ไปโกรธทำไม เดือนร้อนอะไร มาที่นี่ ที่นี่ไม่เดือนร้อน ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่ทุกข์ ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องนี้กัน ปุถุชน คือคนโลภ คือคนป่วย เพราะไม่รู้ ทุกข์เป็นทุกข์คนป่วย ปุถุชนคือคนป่วย ถ้าเป็นโรคแบบคุณหมอรักษานี่ อันนั้นก็เป็นโรคที่เกิด เชื้อโรค อันนั้นก็รักษาโดยโอสถ โดยยา อันโรคที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็รักษา ด้วยยา ด้วยโอสถ การที่เราสวดน่ะ ไปทำทั้งหมด พระสงฆ์ไปสวดมนต์บ้าน ก็มีขันน้ำมนต์ มีเทียน ทำน้ำมนต์พรมบ้าน ก็มีบทหนึ่งที่สวดว่า
สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมังวะรัง สักกัตวา ธัมมะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมังวะรัง สักกัตวา สังฆะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมังวะรัง สัพพโรคาสัพพยาสัพพโรคาอะไร ลืมไป สัพพยาสัพพโรคาลืมเนาะ (หัวเราะ) อันพยาธิโรคาหายไปหมด หมายถึงโรคตัวนี้ จึงไม่มีโรค มันเลยเรียบไปเลยนี่ มันรักษาได้ ปุถุชน คือคนมีโรค ปุถุชนคือคนหลงเป็นหลง โกรธเป็นโกรธ ทุกข์เป็นทุกข์ เรียกปุถุชน มีความทุกข์ ถ้ามีความทุกข์นี่เกิดโรคทางร่างกาย ที่เป็นโรคอันนึงได้ ไปสูบบุหรี่ ก็ติดโรค ไปกินเหล้าก็ติดโรค เป็นโรคแทรกซ้อนขึ้นมาได้ เพราะใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง อันโรคที่เป็นเชื้อโรค ต้องไปหาหมอ อย่างหลวงตาไปหาหมอเนี่ยก็หายได้ บรรเทาได้ แก้ได้ แต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แก้ไม่ได้ แต่เราต้องมาอาศัยอันนี้ เวลามันเจ็บเห็นมันเจ็บนี่ ไม่เจ็บเพราะความเจ็บนี่ เราทำเอง หมอทำให้ไม่ได้ เวลามันตายเราจะไม่ตายพร้อมตายเราทำเอง หมอช่วยไม่ได้ หายใจไม่ได้ เราก็ต้องว่าเราหายใจไม่ได้เป็นทุกข์ เราไม่ทุกข์ก็ได้ทุกข์เพราะหายใจไม่ได้เราไม่ทุกข์ก็ได้ เราอยู่อย่างเนี้ย เราอยู่ของเราเองแบบนี้ เราไม่ตายเพราะหายใจไม่ได้ เราอยู่ของเราเอง ชีวิตของเราไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว ไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว ไม่ต้องมาอาศัยลมหายใจ แล้วก็ไม่ใช่เอาลมหายใจมาเป็นชีวิต เอาชีวิตมาเป็นชีวิตคือมันไม่เป็นอะไรนี่มันมีอยู่แล้วมีแต่เห็น ไม่เป็น มันมีอยู่แล้วทุกคน แต่เรา มักจะเป็นซะ มันสุขเป็นสุข มันทุกข์เป็นทุกข์ซะ แค่นี้หลีกทางแค่นี้ ปุถุชนหรือพระอริยเจ้า ตรงนี้แน่นอน หลงเป็นหลง เรียกว่าปุถุชน ถ้าหลงเป็นไม่หลง เรียกว่าพระอริยเจ้า เหมือนกับหน้ามือหลังมือเท่านี้เอง ในความเกิดก็มีความไม่เกิด ในความแก่ก็มีความไม่แก่ ในความเจ็บก็มีความไม่เจ็บในความตายก็มีความไม่ตายหน้ามือหลังมือเท่านั้น
เปลี่ยนอย่างนี้เรียกว่าปฎิบัติธรรม ใครก็ทำได้ เดี๋ยวนี้ทำได้เดี๋ยวนี้เลย ไม่ใช่รอพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีหน้า ชาติหน้า มันหลง เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง ทำไปเลย ถ้าต่อจากนี้ไปก็จะ ที่สุดก็คือเหนือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ทุกข์ หลวงตาก็ตายไปแล้ว หมอช่วย หายใจไม่ได้ เอาทิ้งเลย มันใช้ไม่ได้ก็แค่นี้หนอ เมื่อมันใช้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องใช้มันหล่ะ น้ำลายฟูมปากก็มาว่าจะเอามือเช็ดน้ำลาย เอามือยกมันไม่ขึ้นแล้วหมดสภาพแล้ว ดูตัวเอง ตาหลับไม่ลง ตาค้างไปแล้ว เอ้าแค่นี้หนอ จบกันไปเลย ทิ้งไปเลย ทิ้งไปเลย ไม่เห็นทุกข์เดือนร้อนอะไร แล้วก็คืนมา พยาบาลเรียก หลวงตาหลวงตา ไม่ขับ ไม่หนัก ไม่เบามาหลายวันแล้ว ไม่อยาก เหมือนกับมารบกวนเรา เราอยู่นี่สบายดีมารบกวนทำไม ไม่อยากรู้ ก็พูดอยู่นั่น พยาบาลเสียงผู้หญิงมันเข้าหู แจ๋วๆๆ นะ ก็เลย มันทรมานไต ทรมานไต กลั้นหนัก กลั้นเบาไม่ดี ทรมานไต เอ๊ะ มันมีไตหรือเนี่ยมาสังเกตดู ลืมนึก ตื่นขึ้นมาพอตื่นขึ้นมาอีกมาหายใจอีก มันก็หายใจไม่ได้ ก็ทิ้งมันอีก ไม่เห็นเดือดร้อนตรงไหน สองรอบ สามรอบ ถึงค่อยปลุกขึ้นมา ลืมตาขึ้นเห็นคนยืนเกาะกระจกอยู่ข้างนอกห้องไอซียู เห็นน้ำตาไหลเป็นแถว เอ้า เค้ามาร้องไห้กับเราทำไม เค้าเห็นทุกข์เดือนร้อนอะไร อยากจะบอกเขา พูดไม่ออก เพราะอมสายยางอยู่ สายยางสอดเข้าไปในคอเมื่อไหร่ไม่รู้เลย นี่ก็คืนมาเพราะหมอ ถ้าไม่มีหมอ มันก็หมดไปแล้ว รูปเนี่ย มันเป็นอย่างนั้น เราไม่ต้องไปทุกข์ กับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ได้จริงๆถึงกับว่าอย่างนี้แหล่ะ มันหลงให้รูปขึ้นมาเนี่ย กรรมฐานไปทางนี้หนา รักษาหาย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความทุกข์เนี่ย ได้จริงๆ แต่ต้องฝึกกรรมฐาน ไม่ใช่หยูกใช่ยาเอามาที่ไหน ฝึกอย่างเนี้ย ปฎิบัติแบบนี้แหล่ะ เห็นกันทุกคน เวลามันหลง ไม่หลง ก็มากำหนดนิมิตรที่เราตั้งไว้เนี่ย สนุกดีนะ เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลงเนี่ย หูยยย เป็นความชอบที่สุดเลย ถูกต้องที่สุด เวลามันทุกข์ไม่ทุกข์เนี่ยถูกต้องที่สุดทำได้จริงๆ
อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ อย่าให้โกรธเป็นโกรธ พอใจเป็นพอใจ เอามาเป็นความรู้สึกตัวไปเลย มันจะเรียบไป เมื่อวานนี้คืนวานนี้ กลับมาจากโคราชเหมือนรถสามคันอยู่ในสมอง ตื้ม ตื้ม ตื้มมันก็สุขภาพไม่ดี ตื่นมารีบอาบน้ำ ซักผ้า เตรียมตัวตาย เปลี่ยนผ้านุ่งอย่างดี ว่าจะนอนตาย มันขนาดนี่เลยหนาเอานอนลงก็นอนลงก็บังคับให้ลุกขึ้นมา ไปวัดความดัน เกือบ 200 นะ ไปวัดความดัน เอ้อ มันก็ดีนะ ก็เลยนอนลง นุ่งผ้าใหม่ถ้าตายแล้วก็ไม่น่ารังเกียจนะ แต่ว่าผ้าก็ซักไว้แล้ว แช่ไว้แล้ว เนี่ยไม่ทุกข์ก็ได้นะ ทุกข์ก็ได้นะ สมัครนอนตายคนเดียว ไม่เรียกร้องอะไรพอดีตื่นขึ้นมา คุณหมูไปบอกอาจารย์โน้สไปนอนอยู่ ตื่นขึ้นมาอาจารย์โน้สนอนอยู่มันก็หายได้ แล้วเราเป็นทุกข์อะไรก็เป็นทุกข์เนี่ย โวยวาย อาจจะอาจจะไม่ดีนะ นิ่งดีนะ เวลามันมีอะไรที่มันจนนี่มันนิ่งดีนะ จริงๆนะเรื่องเนี่ย ไม่ทุกข์เด็ดขาด ไม่วิตกกังวลเรื่องใด เพราะมันไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว ชีวิตของเราเนี่ย ความไม่เป็นอะไรนี่มันยอดเยี่ยมนะมาตรฐานของชีวิตนะ
จึงเห็นสักว่าสักว่านี่เห็นกายสักว่ากายไปแล้วอะไรที่เกิดกับกายเห็นสักแต่ว่ากาย อันเป็นสุขเป็นทุกข์ สักแต่ว่าสุข ว่าทุกข์ไปแล้ว เห็นความคิดเกิดขึ้นจากความคิดอะไรต่างๆ สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่ตัวใช่ตนไปแล้วเนี่ยไปทิ้งไปแล้วเอาไว้หลังข้ามบ้านข้ามเมืองเดินไปแล้ว มันเกิดอะไรขึ้นมาก็ไปแล้ว ไปแล้ว ไม่มีค่า สุขทุกข์ไม่ค่า ตายไม่มีค่า มีค่าคือไม่เป็นอะไร มีค่าชีวิตคือไม่เป็นไร ไม่ต้องเอาสุข เอาทุกข์มามีค่า ไม่ใช่เอา แก่ เอาเจ็บ เอาตาย มามีค่า ไม่มีจริงๆ มันไม่เป็นอะไรอยู่แล้ว ชีวิตของเรานะ มีอยู่ในเนี่ย มนุษย์เนี่ยมันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่คน ถ้าคนไม่เป็นอย่างนี้หนา ฝึกหัดอย่างนี้กันพวกเรา ช่วยกันไม่ได้ ต้องฝึกเอาเอง พิสูจน์กันดู หนึ่งวัน เจ็ดวัน หนึ่งเดือน เจ็ดเดือน หนึ่งปี เจ็ดปี ถ้ามีสติต่อเนื่องเนี่ย พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ ชี้แล้ว ชี้อีก โน่นโคนไม้ โน่นเรือนว่าง ตั้งอยู่ในความเพียร มีสติ ความเพียร คือขยันรู้นี่ล่ะ อย่าขี้เกียจ ให้ขยันรู้ ยิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ชีวิตธรรมดา ไม่เคร่งขรึม ไม่รีดแรง ถ้าเรารู้เนี่ยเบาๆไม่หนักสบายๆเลย ขอจบเท่านี้สำหรับตอนเช้าวันนี้ กราบพระพร้อมกัน