แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมวันละนิด ถ้าไม่พูดอะไรเลยมันก็ไม่อยู่บ้านอยู่วัด พูดกันบ้างสื่อสารกันบ้าง เพื่อรู้จักทิศทาง ชีวิตเราก็ต้องมีทิศทาง อย่าหลง ถ้าหลงก็ไปทางไหนก็ไม่ได้ ไปจน จนในความหลงนี้มันไม่จนเหมือนเงินเหมือนทอง จนในความหลงมันมีสารพัดอย่าง เกิดแก่เจ็บตายได้ ทุกข์โศกร่ำไรเสียใจได้ และจนในความหลง ต้องมีความรู้ ตรงที่มันหลงนั่นแหละ มีความรู้
สมัยครั้งพุทธกาลนี้ ไม่มากหรอกปัญหาต่างๆเหมือนทุกวันนี้ ทุกวันนี้ปัญหาต่างๆมีมากเหลือเกิน ถ้าดูปัญหาหลักๆสมัยพระพุทธเจ้า ก็เห็นแต่การบ้านที่สิทธัตถะได้ค้นหา ก็คือการเกิดแก่เจ็บตาย ซึ่งไม่มีคำตอบสมัยก่อนโน้น พระเจ้าปู่พระเจ้าย่าพระเจ้าตาพระเจ้ายายก็ตอบไม่ได้ เมื่อมีเกิดต้องมีไม่เกิด เมื่อมีแก่ต้องมีไม่แก่ เมื่อมีเจ็บต้องมีไม่เจ็บ เมื่อมีตายก็ต้องมีไม่ตาย มองเป็นคู่ๆอย่างนี้ แต่ไม่ยอมจน หาทางลองดู เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องอาชีพ เรื่องอันอื่นการเมืองไม่มี แต่มีบ้างก็ไม่ถึงกับเป็นการบ้านเท่าไหร่ การปกครองในสมัยก่อนอย่างประเทศอินเดียก็เป็นแคว้นปกครองตามหัวเมือง ตามแคว้นต่างๆ กบิลพัสดุ์ ราชคฤห์ ปัตนะ พาราณสี อะไรต่างๆ เป็นแคว้นไป 14 แคว้น เรียกว่าเป็นรัฐ ก็ไม่ยาก ให้รวมเป็นเขตการปกครองเดียว แม้แต่เศรษฐกิจก็มีไม่มากสมัยก่อน แม้แต่ยุคที่หลวงตาเกิดมานี่ก็ยังไม่มีปัญหาเท่าทุกวันนี้ เศรษฐกิจอย่างศากยวงศ์นี้ ฟังดู สุทโธทนะ โกโทธนะ โกโตทนะ อมิโตทนะ ปมิตะ อมิตา หมายถึงอู่ข่าวอู่น้ำ เป็นเมืองอู่ข่าวอู่น้ำ คำว่า ทนะเนี่ย หมายถึงทรัพย์เป็นแหล่งทรัพย์ หมายถึงข้าว ไม่อดไม่อยาก ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจแทบจะไม่มี เศรษฐกิจก็มีไม่มากสมัยก่อน ไม่มีรถราไม่มีอะไรต่างๆมากมายเหมือนทุกวันนี้ ทุกวันนี้มีมาก แม้แต่อาชีพก็มีมาก สมัยก่อนอาชีพไม่มี ปัญหาก็มีไม่มาก ทุกวันนี้มันมีมาก แต่มีปัญหาไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการบริโภคอุปโภคเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไป ถ้ามีงานมีการก็มีเผื่อคนอื่น สร้างชุมชนให้คนอื่นได้ ก็มีเศรษฐกิจรวมอยู่จุดใดจุดหนึ่งได้รับผิดชอบ สมัยก่อนมีแต่อู่ข้าวอู่น้ำ อย่างประเทศอินเดียเนี่ย นั่งรถเป็นวันๆเนี่ย ทุ่งนาสีเขียว กองผักกองพืชตามทุ่งไร่ทุ่งนาเหมือนจอมปลวก ทุกวันนี้ยังมีอยู่
ทีนี้ทำไมจึงเกิดพุทธศาสนาขึ้นมา เพราะมองเห็นว่าการเกิดแก่เจ็บตายนี้เป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครตอบได้ พระสิทธัตถะจึงเป็นการบ้านศึกษาเรื่องนี้ จนได้คำตอบเป็นพระพุทธศาสนาเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาก็เผยแพร่การเหนือการเกิดแก่เจ็บตายตามหลักวิธีการต่างๆ เกิดเป็นศาสนาเกิดเป็นพุทธบริษัทขึ้นมามีการปกครองกัน มีธรรมวินัยมีคำสอนต่างๆ คำสอนต่างๆก็ไม่เกี่ยวกับกับการเกิดแก่เจ็บตายก็มีเยอะแยะมากมาย การปกครองบ้าง การพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับทานกับศีลบ้าง เกี่ยวกับบุญกุศลบ้าง ก็มีเพิ่มขึ้นมามากมาย เกี่ยวกับธรรมวินัยบ้างปกครองกัน เมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้ปัญหากันไปก็เลยเกิดพระสูตรต่างๆ 84,000 เรื่อง มาบัญญัติทีหลัง แต่การรู้ธรรมเข้าไปหาสู่การเกิดแก่เจ็บตายมีไม่มาก ตามหลักก็มีอย่างที่เราศึกษาว่าสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติเห็นกาย หลักที่เข้าไปหาการเกิดแก่เจ็บตายมองเข้าไปทางนี้ จากที่สิทธัตถะได้หลงทิศหลงทางมา เป็นเวลาหกปี มาได้ทางว่าเอ้อนี่ มีสติมาดูกายนี้มาดูใจนี้ เห็นกายเห็นเวทนาเห็นจิตเห็นธรรมที่มันแสดง มันโชว์ เมื่อดูแล้วมันก็โชว์ รู้กายกายมันโชว์ มันมีอะไรอยู่ตรงกายบ้าง อะไรเป็นปัญหา แก้ปัญหาตรงกายมันมีส่วนไหน เห็นกาย มีสติเห็นกาย เห็นกายเห็นอย่างไร ไม่ใช่เอาตาเนื้อดู มีสติ เหมือนเราเอามือวางไว้บนเข่า ยกมือขึ้นเห็นไหม เห็น ยกมือขึ้นเห็นไหม เห็น มันดูแล้วมันเห็น สติมันเห็น มันไม่ใช่รู้เฉยๆ มันรู้เห็น เมื่อกายมันแสดงออก มันไม่ใช่กายธรรมดา มันเป็นกายอยู่ในกายซ้อนกันลงไป กายในกายด้วย กายที่เป็นภพเป็นชาติเป็นขันธ์ห้ามี พอเห็นมันเป็นกายในกายมันก็ไม่ใช่อันอื่น เป็นสักแต่ว่าไป กายในกายนี่ กายใหญ่คือกายมหาภูตรูปคือกายใหญ่นี้ มันก็มีของจริงของไม่จริง เมื่อมีร้อนก็มีร้อนจริงๆ แต่ไม่มีตัวร้อน เรียกว่ากายในกาย ไม่มีผู้ร้อน ไม่มีผู้สุขผู้ทุกข์ในอาการเหล่านั้น มีแต่เห็น ฉะนั้นตอบได้ว่า กายสักว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ก็แยกออกแยกออก กำหนดรู้ กำหนดด้วยการแจกแจง กำหนดด้วยการละ กำหนดรู้แล้วไม่พอ กำหนดรู้ด้วยการแจกแจง แจกแจงแล้วไม่พอ กำหนดรู้ด้วยการละ เหมือนเราเห็นงู ออกหนีจากงู ไปแล้วพ้นงูแล้ว จึงเรียกว่าไม่มีปัญหาแล้ว เห็นกาย ไม่มีปัญหาเรื่องกาย เห็นเวทนาที่มันสุขมันทุกข์เกิดกับกายนี้ก็เหมือนกัน คำตอบเป็นตัวเดียวกัน มีภาวะที่เห็นตอบตัวเดียว ตัวเห็นเป็นตัวตอบ ไม่ใช่ตัวตอบหาตัวเฉลย เหมือนทำเลขคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ศาสตร์ แฟคเตอร์อะไรต่างๆไปประกอบ ไม่มีส่วนประกอบ เอาตรงๆเข้าไป เวทนาก็คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นเกี่ยวกับกายเกี่ยวกับจิต เวทนาในเวทนา เวทนาล้วนๆ ไม่เป็นไร เวทนาที่เป็นตัวเป็นตนเป็นสุขเป็นทุกข์นั่น อันนั้นเรียกเวทนาในเวทนา ไม่ใช่ตัวตน ถ้าเห็น มันก็แยกไปแยกไป กำลังกระบวนการรื้อถอน มันก็ไปหาเป้าหมายในการเกิดแก่เจ็บตายโดยตรง ทางตรงเข้าไปนี้ แต่มันไม่ได้ตรงจริงๆ ถ้าตรงจริงมันไปไม่ได้ ต้องมีอุบายเหมือนเราขึ้นเขาหน้าผา มันชันขึ้นตรงไม่ได้ต้องเอียง เหมือนทางขึ้นดอยสุเทพจังหวัดเชียงใหม่ ถ้าขึ้นตรงๆนี่ ๗ กม. มันขึ้นไม่ได้ ต้องขึ้นอ้อมไป ๒๓ กม. มันถึงขึ้นได้รถราขึ้นได้ พาหนะหนักๆขึ้นได้ หลวงตาก็เคยเดินขึ้นสายตรง 7 กม.เนี่ย และเดินขึ้นสายไม่ตรงยี่สิบกว่ากม. เดินทางตามทางรถยนต์ ทดลองดูทั้งสองทาง ขึ้นดอยภูกระดึงก็ขึ้นตรงไม่มีทางรถยนต์ นี้ต้องเหนื่อยหน่อย ถ้าไม่ทนก็ขึ้นไม่ได้
การเห็นตรงๆ แต่มันไม่ใช่ตรง เหมือนกายสักว่ากาย มันมีอุบายแล้ว ไปเห็นกายเป็นกายมันไม่มีอุบายมันตรงเกินไปมันขึ้นไม่ได้ เป็นกูเป็นตัวเป็นตน อุบายเขาว่าร้อนก็คือร้อน มันสุขคือสุข มันทุกข์คือทุกข์ มันไปไม่ได้ งั้นก็เห็นเลยว่าเห็นสักแต่ว่า มันลาดแล้วๆๆ กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์ มันลาดลงไป สักว่า มันลาดแล้ว ถ้าเป็นเวทนาล้วนๆ มันไม่ไปได้มันไปไม่ได้มันตัน หักด้ามพร้าด้วยเข่า มันขึ้นไม่ได้มันลาดลง เราจึงเห็นกายสักว่ากาย เวทนาสักว่าเวทนา ใช้ทางนี้ลองดู มันเอียงง่ายๆมันง่ายๆไม่หนัก มันเป็นเครื่องทุ่นแรง เห็นสักแต่ว่าสักแต่ว่ามันทุ่นแรงแล้วไม่ยาก แต่ก่อนมันล้วนๆ เวทนาก็เป็นสุขเป็นทุกข์ทันที มีตัวมีตนในเวทนาแน่นหนามาก จนเป็นเรื่องเป็นก้อนเป็นภพเป็นภูมิอยู่ตรงนี้ เมื่อเห็นว่าเวทนาสักว่าเวทนาแล้วมันก็ลาดลงไปเอียงลงไป อะไรที่มันหนักก็เป็นเรื่องเบา เรื่องที่ยากก็กลายเป็นเรื่องง่ายไป มาสร้างความเห็น มาทำให้แจ้งด้วย ทั้งเห็นทั้งทำให้แจ้งด้วย เห็นก็เรียกว่ามุตติ มุตติแปลว่าเห็นแล้ว จาคะ มุตติจาคะ จาคะชำระแล้ว ย่อยแล้ว ปะฏินิสสัคโค ตามหาธรรมจักรที่พระพุทธเจ้าแสดง ทำให้หมดไป ไม่มีที่ตั้ง เวทนาไม่มีที่ตั้ง ตั้งอยู่ในกายก็ไม่ได้ ตั้งอยู่ในเวทนาก็ไม่ได้ ในเวทนามันไม่มีเวทนาให้ตั้ง มันมีสักแต่ว่า มันตั้งไม่ได้ ถอดออกชักสะพานออก เวทนาก็ไม่มีที่ตั้ง สุขก็ไม่มีที่ตั้ง ทุกข์ไม่มีที่ตั้ง กระบวนการมันก็ไม่ยาก เมื่อเห็นอันนี้ มองไปเป็นกระแส อะไรก็เฉลยตรงนี้นั่นแหละ เห็นจิตก็เหมือนกัน เห็นธรรมก็เหมือนกัน จนเห็นสี่อย่างนี้ กายเวทนาจิตธรรม เป็นรูปเป็นนามได้หลักได้แหล่ง รูปนามมันบอกหละบัดนี้สูตรมันบอก สูตรแห่งรูปแห่งนามมันบอก มันพาไป เหมือนทางถูกมันบอกถูก ทางผิดมันบอกผิด ก่อนเดินทางก็จึงมีผิดมีถูก เหมือนผิดเพื่อให้เกิดความถูก มันถูกเพื่อให้เกิดความถูก มันทุกข์เพื่อให้เกิดความไม่ทุกข์ มันก็มีทางไปแบบนี้ แต่ก่อนเป็นสุขเป็นทุกข์ บัดนี้พอเห็นทาง เห็นมันสุขมันทุกข์ มันไม่ตันละ ถ้าเป็นผู้สุขผู้ทุกข์มันตันแล้ว ถ้าเห็นมันสุขมันทุกข์ไม่ตันแล้ว ได้แต่ว่าเออๆไปเรื่อยๆ มันก็มีอยู่ในโลก เป็นรสชาติของโลก สัตว์โลกก็ติดรสตรงนี้ ติดสุขติดทุกข์ ผู้เห็นโลกยังไงก็ไม่ได้ติดหรอก ไม่ได้ติด ไม่มีค่า สุขก็ไม่มีค่า ทุกข์ก็ไม่มีค่า มันก็ไปอย่างนี้ ทางมันบอกไปอย่างนี้ จะพูดสั้นๆเพียงสองนาทีก็จบ แต่ภาคปฎิบัติจริงๆมันจบง่าย
แต่ว่าการเห็นนี่มันเยอะแยะ เหมือนบอกให้หุงข้าวดูซิ หุงข้าวไม่ใช่หุงข้าวธรรมดา เหมือนกับบอกว่าหุงข้าว แต่วิธีหุงข้าวมันมีขั้นตอน หุงเป็น หุงไม่เป็น หุงยาก หุงง่าย ก็มีขั้นตอน เหมือนบอกต้มไข่ ต้มไข่เป็นไหม ต้มเป็น ถ้ามาไล่ดู มันก็ไม่ง่ายเหมือนบอก เหมือนเราทำงานกวาดบ้าน ไม่ใช่กวาดบ้านมันก็มีขั้นตอน คนทำงานย่อมมีผิดมีถูก ถ้าไม่ทำงานก็ไม่รู้จักผิดจักถูก ทำอะไรก็เหมือนกัน มาศึกษาชีวิตเรานี่ก็เหมือนกัน นี่เป็นสูตรเทียบหาสภาวะที่เกิดแก่เจ็บตายได้ กระบวนการมันไปทางนี้ มันก็ไปตรงๆแบบนี้ เมื่อเห็นรูปเห็นนาม เห็นรูปเห็นนามตามความเป็นจริง รูปนามก็บอกมันมีอะไรบ้างอยู่ในรูปในนามนี้ มีความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ มีความไม่ใช่ตัวตนในรูปในนาม ความไม่เที่ยงถ้าเราไม่รู้ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ถ้าเรารู้ความไม่เที่ยงเป็นปัญญา ถ้าเราไม่รู้ความเป็นทุกข์เป็นทุกข์ เมื่อเรารู้แล้วความเป็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์เป็นปัญญา เพราะมันเห็น เห็นที่มันมีปัญหามันเลยมีปัญญา อะไรที่เป็นความไม่เที่ยง อะไรที่เป็นความเป็นทุกข์ อะไรที่ไม่ใช่ตัวตน มันก็เปลี่ยนไปเป็นปัญญาๆ ปัญญาเป็นตัวเฉลยตัวล้างบางของสิ่งต่างๆไป อะไรที่มันเกิดขึ้นการเกิดนี้มันไม่ใช่เกิดในลักษณะที่มันตามหลักวิทยาศาสตร์ มันเกิดเพราะเหตุเพราะปัจจัยที่มันเห็นได้ ไม่มีใครทดลองไม่มีเครื่องมือทดลอง เป็นการสัมผัสด้วยการกระทำของผู้ปฎิบัติ เมื่อไม่เกิดมันก็เป็นการสัมผัสเอา มันเกิดมันเกิดยังไง เกิดสุขเกิดทุกข์ยังไง เกิดแก่มันเป็นยังไง ความเกิดเป็นทุกข์หรือ ชาติทุกขา ชาติทุกขา ชราติ อะนะตีตา อะหังกัลยาณัง กะโรมิ เทวทูตทั้งสี่ ความเกิดเป็นทุกข์ยังไง ไม่ใช่ทุกข์ เราเกิดเพื่ออะไร เพื่อไม่เกิด ความไม่เกิดมันไม่มีอะไร เมื่อไม่เกิดมันก็ไม่ทุกข์ ความเกิดไม่เป็นทุกข์ ความแก่ไม่เป็นทุกข์ ความเจ็บไม่เป็นทุกข์ ความตายไม่เป็นทุกข์ มันก็ตอบไปในปัญหา เดินทางอยู่บนนี้ กระบวนการมันไปทางนี้ ไม่ยาก ปัญหาที่มันเกิดขึ้นกับสิทธัตถะ สิทธัตถะได้ข้อเฉลย ได้ข้อตอบจากการภาวนาจากกรรมฐานนี้แหละ ได้ข้อตอบคือเห็นกระแสแห่งพระนิพพาน ได้กระแสเป็นญาณทัศนะเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้มี-สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี-สิ่งนี้ก็ไม่มี ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มันเป็นธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ธรรมชาติกฏของธรรมชาติ อาการธรรมชาติ มันมีสิ่งนี้สิ่งนี้มันต่อกันไป มันเป็นธรรมชาติ เหมือนมีดวงอาทิตย์ มีดวงอาทิตย์ก็มีก้อนเมฆ มีก้อนเมฆก็มีฝนตก เมื่อมีฝนตกถนนก็เปียก เมื่อถนนมันเปียกน้ำก็ท่วม เมื่อน้ำท่วมก็เกิดการเสียหาย เมื่อฝนตกน้ำท่วมถนนเปียก เราเดินไปบนถนนเราก็ลื่น เมื่อเราลื่นเราก็ล้ม พอเราล้มหัวก็ไปถูกตอ พอหัวถูกตอหัวก็แตก พอหัวแตกจึงมาหาหมอ หมอก็เย็บแผล พอเย็บแผลแผลก็หายกลับบ้านได้ มันไม่ใช่เรื่องทุกข์ มันเป็นปัญหา มันเป็นเรื่องเกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เรามารู้แล้ว โอ โอ โอ ก็เลยมีแต่เหตุปัจจัย ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท คือเนื่องด้วยกัน มีคำตอบง่ายๆว่า ทุกสิ่งๆเกิดแต่เหตุ จะดับก็ดับที่เหตุ ได้คำตอบง่ายๆ
พระอัสสชิได้หลักทางนี้แหละเป็นพระอรหันต์เลย เป็นอาจารย์ของสารีบุตร เป็นองค์สุดท้ายด้วย จากโกณฑัญญะ วันแรกโกณฑัญญะได้เป็นพระอรหันต์ สองวันสามวัน วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิคนสุดท้ายเลย อัสสชิได้หลักนี้แหละ ทุกสิ่งๆเกิดแต่เหตุนะ ถ้าดับก็ดับที่เหตุเลย เอาเท่านี้พอแล้ว ออกไปเผยแพร่ศาสนา พระพุทธเจ้าสั่งเลย พวกเรามีเท่านี้ จะระถะ ภิกขะเว จาริกัง พะหุชะนะ หิตายะ พะหุชะนะ สุขายะ โลกานุกัมปายะ ไป ไปคนละทาง อย่าไปทางเดียวกัน พวกเรามีแค่นี้ไปบอกเพื่อประโยชน์ต่อหมู่ชน เพื่อความสุขของมหาชน แม้เราก็จะไปยังอุรุเวฬาเสนานิคม ไปคนละทาง ปรากฏว่าอัสสชิเนี่ย เดินวนเวียนอยู่แถวพาราณสีเนี่ย แถวตำบลอุรุเนี่ย อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะก็อยู่แถวๆนี้หละ แต่อัสสชิอยู่แถวๆนี้ ปรากฏว่าสารีบุตรชื่อว่าอุปติสสะ ไปศึกษากับอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร จบไม่พอใจหาศึกษา จนมาเจออัสสชิบวชใหม่ไม่กี่วัน ก็เห็นน่าเลื่อมใสมาถาม อัสสชิก็บอกว่า อาตมาบวชใหม่ยังเทศน์ไม่ได้ดอก เอ้าขอพูดสักหน่อยก็พอ ไม่ต้องพูดมากหรอก พูดสักหน่อย อัสสชิก็เลยบอกว่าทุกสิ่งทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ดับก็ดับที่เหตุเท่านั้น สารีบุตรเรียกว่าเป็นมานพอุปติสสะ ตอนยังไม่บวชชื่อว่าอุปติสสะมานพ ได้ดวงตาเห็นธรรมทันทีเลย โอ ทุกสิ่งๆเกิดแต่เหตุ ดับก็ดับที่เหตุ ได้บรรลุธรรมขั้นต้นเป็นพระโสดาปฎิมรรคโสดาปฎิผลขั้นต้น พอใจจะกราบอัสสชิ ขอถึงอัสสชิเป็นสรณะเป็นอาจารย์เป็นที่พึ่ง อัสสชิก็บอกว่าอย่าเลย มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา ให้ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ อุปติสสะถามว่าพระพุทธเจ้าอยู่ตรงไหน โน่นอยู่ราชคฤโน่น กราบพระอัสสชิเดินทางไปพบพระพุทธเจ้า ตั้งแต่นั้นมาเอาอัสสชิไว้บนหัวอยู่ตลอดเวลา ได้ยินข่าวว่าอัสสชิอยู่ตรงไหน อุปติสสะจะนอนหันศีรษะไปทางนั้นทันที สืบนั้นตลอดเวลา หันหัวไปเคารพ ได้เท่านี้ เหตุเกิดแต่เหตุ ดับที่เหตุ พระศาสดาสอนเรื่องนี้เท่านี้ แล้วก็อะไรมันก็มีอยู่เท่านี้แหละ มันหลงหรือ ทำไมมันหลงเพราะไม่รู้ ทำไมไม่รู้เพราะไม่มีความรู้ ที่มันทุกข์เพราะหลง ที่มันโกรธก็เพราะหลง ไม่ใช่ไปห้ามไม่ให้มันทุกข์ ไม่ใช่ไปห้ามไม่ให้มันโกรธ ถ้ามันหลงตรงนี้ก็มีเกิดมีแก่มีเจ็บมีตาย ถ้าไม่หลงมันก็ไม่มี ความเกิดก็ขอบคุณมัน ความเจ็บก็ขอบคุณความเจ็บ ไม่มีทุกข์เลย ความแก่ก็ขอบคุณความแก่ ไม่มีใครแก่เพราะความแก่ ไม่มีใครเจ็บเพราะความเจ็บ ไม่มีใครตายเพราะความตายเลย ศาสนาต้นๆเกิดแค่นี้พระสงฆ์ทั้งหลายก็สอนแค่นี้ ต่อมาจึงมีมากขึ้นๆ มีรูปแบบต่างๆ ก็ขยายเป็นวัฒนธรรมประเพณีไป ศาสนพิธี ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนธรรม ศาสนพิธีนี่มากมายเต็มบ้านเต็มเมือง ศาสนวัตถุก็มากมายเต็มบ้านเต็มเมือง ศาสนบุคคลก็มีมากมายเต็มบ้านเต็มเมือง ศาสนธรรมมีอยู่ในหัวใจทุกคน ไม่ใช่เป็นข้างนอกเลย มีความรู้สึกตัวเป็นศาสนธรรม มีเมตตากรุณาเป็นศาสนธรรม มีความไม่โกรธไม่โลภไม่หลงเป็นศาสนธรรม มีศีลมีสมาธิ มีปัญญา มีศาสนธรรม อันเดียวกันเป็นคนๆเดียวกัน เรียกว่ามีธรรม
ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท คือมีเหตุเกิดขึ้นดับที่เหตุ เกิดแต่เหตุดับที่เหตุเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราจะทุกข์ก็ไม่ใช่เราทุกข์ มันเกิดอะไรก่อนที่จะมาทุกข์ มันก็มีเหตุ โอ มันทุกข์คือมันหลงน้อ เราหลงก็เหมือนกันกับคนหลง คนหลงคือคนทุกข์เขาหลงหนอ คนที่หลงนี่ไม่ควรไปโกรธเขา น่าเห็นใจคนที่หลง เราหลงก็เหมือนกัน ถ้าหลงมากๆก็ทำลายล้างกันได้ เพราะคนหลงจึงมีปัญหาต่อโลก ฆ่าตัวตายฆ่าคนอื่นตาย บางทีก็โลภเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง เมื่อหลงมากๆก็เดือดร้อน ถ้าจะไปจับคนที่หลงไปฆ่าทิ้งอันนั้นก็ไม่ใช่ ทำยังไงจึงจะไม่ให้คนหลงเกิดขึ้น มีคุกมีตารางแล้วมีกฎหมายมันก็ยังหลงกันอยู่ พอมีนี้ มีกรรรมฐานนี่แหละ เป็นรากเหง้าของการแก้ความหลง เหมือนต้นไม้ ความหลงเหมือนกับใบไม้ แต่มันมีรากที่มันเกิดใบขึ้นมา รากความหลงคืออะไร คือมีตามีหูจมูกลิ้นกายใจ มีรูปมีนาม เมื่อเราไม่รู้มันก็หลงตรงนี้ ถ้าเรารู้ตรงนี้ก็ไม่หลง ไม่ต้องไปฆ่ากัน ถ้าเราไปฆ่ากันเหมือนภาคใต้ทุกวันนี้มันก็เดือดร้อน เราก็ต้องช่วยกัน ทำไงจึงจะไม่ให้คนหลง ก็สอนธรรมะกัน มีสติมีสัมปชัญญะเราก็สอนกันอยู่
แต่บางคนก็สอนไม่ได้ เหมือนบัวใต้น้ำก็มีเหมือนกัน ปล่อยทิ้งไป เมื่อมันอยู่ไม่ได้กับหมู่ก็จับมันไปติดคุกติดตารางเพื่อไม่ให้มันทำให้คนเดือดร้อน มันก็มีรัฐธรรมนูญแบบนี้ขึ้นมา เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสุขสงบหลายๆแบบ ถ้าเราจะอาศัยกรรมฐานมันก็ไม่ทันเวลาไม่เพียงพอ ถ้าคนเข้ามาถึงตรงนี้ก็แป๊บเดียวก็จบไปเลย ถ้าคนไม่เข้าถึงตรงนี้ก็มีเยอะแยะ อย่างอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร ถามอุปติสสะ ว่าคนในโลกนี้คนหลงคนโง่กับคนฉลาดอันไหนมีมากกว่ากัน อุปติสสะก็ว่าคนฉลาดมีน้อยคนโง่มีมาก ก็บอกอุปติสสะว่าไป ไปหาคนฉลาดซะเราจะอยู่กับคนโง่เอง มันก็มีอย่างนี้มาตั้งแต่โน้นแล้ว ถ้าไม่ใช่อย่างอุปติสสะนี้ มันก็ไม่ไปไหนละก็หลงอยู่ตรงนั้น เราจึงไม่ยอมจำนนมันตัวหลงนี่ เวลามันหลงก็เปลี่ยนเป็นตัวรู้ขึ้นมา เวลามันโกรธก็ไม่โกรธขึ้นมารู้ขึ้นมา เวลามันทุกข์ก็รู้ขึ้นมา อย่าไปจำนนมันลองดู เป็นอุปติสสะ สักหน่อยก็ได้ อย่าไปจำนนต่อความหลง อย่าไปจำนนต่อความโกรธ อย่าไปจำนนต่อความทุกข์ ให้มีความรู้สึกตัว วิญญาณแห่งพุทธะขึ้นมา เรียกว่าพุทธะจริต ให้ล่วงรู้ ความตื่นเบิกบานขึ้นมาในสิ่งที่มันมืดมนขึ้นมา ฝึกตนสอนตนอย่างนี้ งานเราจึงมีไม่มาก เอาใส่กระเป๋าเข้าไป อยู่ในตัวเรา เวลามันหลงรู้สึกตัวซะ เวลามันโกรธรู้สึกตัวซะ เวลามันไม่เที่ยงรู้สึกตัว เวลามันทุกข์รู้สึกตัว เวลาอะไรที่มันแสดงไม่ใช่ตัวใช่ตนรู้สึกตัว มันก็ไม่มีค่าอะไรหรอก มันก็เหมือนการเกิดแก่เจ็บตายได้ในชาตินี้นี่เอง