แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
[00:41] พวกเราก็มีอาชีพ ศึกษาสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของพวกเราไม่ได้ทำนาทำไร่ ชีวิตของนักบวชในวัดวาอาราม เพราะมัชฌิมาทานของชาวบ้านสนับสนุน ด้วยเลือดด้วยเนื้อของเราเพื่อการนี้ เพื่อธรรมศึกษาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ชีวิตของเรามีสองส่วน ส่วนเนื้อหนังเลี้ยงด้วยข้าวปลาอาหาร ส่วนจิตใจเลี้ยงด้วยศีลด้วยธรรมจนถึงมรรคผลนิพพาน ถ้าเลี้ยงดีที่สุดก็ถึงมรรคผลนิพพานเรียกว่าสำเร็จ เนื้อหนังเลี้ยงดีก็มีอายุยืนยาวไม่มีโรคภัยไข้เจ็บแสดงว่าชีวิตของเรามีสองส่วน อย่าปล่อยปละละเลยดูแลตัวเองให้ดี
การปฏิบัติธรรมคือการดูแลตัวเองให้ดี ๆ อย่าให้มีอุปสรรคปัญหาร่างกายและจิตใจ ด้วยจะบริโภค อุปโภค บริโภค ธัมมวิจยะ สอดส่องดู เคี้ยวให้ดี ธัมมวิจยะเนี่ย การขบเคี้ยวอาหาร กวฬิงการาหาร เคี้ยวดี ๆ อย่าให้มีโทษภัย พิษภัย เห็นแก่ปากแก่ท้องก็ไม่ดี อาหารทางใจ อะไรที่มากระทบ เคี้ยวดี ๆ อย่ากลืนลงไป ดูหน้าดูหลัง บางทีบอกคืนไม่เอา บางทีบางอย่างส่งมา อาหาร มโนสัญเจตนาหาร อาหารทางใจเนี่ย บางทีสิ่งแวดล้อมปรุงให้ บางทีตัวเองก็ขยันปรุง หมกมุ่นครุ่นคิด เอาจิตไปย้อมอารมณ์ง่าย ๆ ให้รู้จักขบเคี้ยว ความโกรธก็เอา ความหลงก็เอา ความทุกข์ก็เอา ความรักความชังก็เอา มันก็เจริญไปตามนั้น ความหลงก็เกิดโรค ความรักความชังก็เกิดโรค ความทุกข์ความสุขก็เกิดโรคได้ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่นั่นด้วย ตายเพราะความทุกข์ ตายเพราะความสุข ตายเพราะความโลภ ความหลงตายเพราะความรักความชัง เกิดดับ เกิดดับ เมื่อเราดูแลดี ๆ มันจะไม่เกิดตรงนั้น หยุดเกิดซะ ไม่มีอีกแล้ว มีแต่ชีวิตล้วน ๆ นั่นแหละ ต้องติดถ้อยห้อยตาม ในการศึกษาชีวิตของเราให้พุ่งทัน
เหมือนเราทำงาน ทำงานต้องทำให้มันทันงาน เหมือนเราท่องหนังสือ ถ้าท่องแล้วก็ทิ้งไป ท่องแล้วก็ทิ้งไป มันก็ด้าน ๆ ท่องหนังสือไม่ค่อยติด ถ้าท่องให้ติดต่อกันซักสองสามวันหรืออาทิตย์หนึ่ง มันก็ติดได้ง่าย ท่องปาติโมกข์ ท่องธรรมจักรที่เป็นสูตรยาว ๆ ธรรมจักรเนี่ย ถ้าที่เป็นการติดได้ยากไม่เกินเดือนหนึ่ง มีครูบาอาจารย์สมัยบวชใหม่ ๆ ท่องบทต่าง ๆ นี่ เดือนหนึ่ง ได้บททุกบท นอกจากนั้นต้องให้ตั้งใจอีกเดือนหนึ่ง บวชมาแล้วเดือนหนึ่งจะต้องพยายามท่องอะไรให้มันได้ทุกบทที่เป็นการใช้ เดือนหนึ่งเต็มๆนะ ท่องได้หมดเลย แต่ถ้าเราไม่ท่องมันก็ไม่ติด การเจริญสติก็เหมือนกัน ถ้ารู้ หลงทีไรก็รู้ หลงทีไรก็รู้ หลงทีไรก็รู้ มันต่างกัน ความรู้ก็เลยชำนาญ อยากให้มันหลง อยากให้มันรู้ จะได้เห็น จะได้รู้ มันก็เก่งตรงนี้ มันก็ติดตรงนี้ไป ไม่มีอะไรที่มามันก็ติดตัวรู้ไป ต้องให้หรือเปล่าเนี่ย
ถ้ามีสภาวะที่รู้เป็นเจ้าเรือน เป็นหลักเสาเขื่อนได้แล้วก็ไม่หวั่นไหวในกิจการทั้งปวง อย่าทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตามดูยินดีหละ
[05:05] หลวงพ่อเทียนบอกเราเอาจริง ๆ น่ะมันไม่นาน บางทีนั่งเฝ้าก็ได้ ถ้าผู้ที่ทำจริง ได้พูดเรื่องเก่า ได้สอนเรื่องเก่า ได้เห็นเรื่องเก่า ผู้ที่สอนก็ได้พูดเรื่องเก่า ผู้ที่ปฏิบัติก็เห็นอันเก่า ได้ข้อมูลอันเก่า ผู้ที่ให้ข้อมูลอันเก่า สิ่งที่ให้ข้อมูลอันเก่ามันก็ชำนิชาญได้บทเรียน หลงก็ดี ได้บทเรียนจากความหลง มันสุข มันทุกข์ ได้บทเรียนจากความสุขความทุกข์ ถ้าไม่ศึกษา ไม่รู้เรื่องนี้มันก็ฟรี ความหลงก็ฟรี ความทุกข์ก็ฟรี ความสุขก็ฟรี แทนที่จะมีประโยชน์ บางทีมันก็ ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ดี๊ดีความหลงน่ะ ถ้าเราศึกษามันน่ะ โดยเฉพาะกรรมฐานเนี่ย ต่อหน้าต่อตาทันที พอเริ่มต้นการศึกษา ก็ว่าเจอเอาจริง ๆ เจอกาย เจอสติ เจอความหลง
ในพระสูตรเค้าบอกให้เรามีสติดูกาย กายนั้นก็มีสติ กายนั้นก็มีความหลง กายนั้นก็มีความสุข กายก็มีความทุกข์ ปัญหาที่เกิดกับกายหลายอย่าง ถ้ามีสติก็เห็นเข้า เห็นเข้า สติก็ได้บทเรียนจากกายเป็น พูดออกมาว่า กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เพราะสติมันแก่กล้า สติพาให้พูด สติพาให้เกิดความเห็น ไม่ใช่เป็นการท่องจำ เป็นการปูทางออกมาจากภายในหัวใจเรา มันก็เจอของจริง ของไม่จริง เจอของจริง ของจริง แต่ก่อนของไม่จริง เอามาเป็นของจริง ของไม่จริงก็เอามาเป็นตัวเป็นตน ของจริงไม่เอามาเป็นตัวเป็นตน เอาความไม่ใช่ตัวใช่ตนมาเป็นเรื่องออกหน้าออกตา เช่นความสุข เช่นความทุกข์มันไม่จริง ก็ไม่สุขก็ไม่ทุกข์มันจริง แต่ไม่เคยท่องเที่ยว ไม่เคยทำให้มี มันก็เลยไม่เห็นตามความเป็นจริง ความสุข ความทุกข์มันเด่นกว่า ความไม่สุข ความไม่ทุกข์ ไม่มีสติ มันไม่ค่อยเด่น ไม่ค่อยโชว์ เพราะเราไม่ศึกษาดูจริง ๆ ให้ถึงรส ถึงชาติ สัมผัส กับความหลง ความรู้จริง ๆ เพียงแต่บอกกันเฉย ๆ มันก็ไม่ได้ ให้เราหัดทำงานที่ทำเป็น เพียงแต่บอกเฉย ๆ ไม่หัด ถ้ารู้ รู้สูตร จำได้
ไก่อีก่า สองยอสี่ คว่ำสามทุกที แต่ยองข้ามสองยอสี่ ข้ามสามทุกที ลายไม้ไผ่ ลายไม้ไผ่ใช้จักสานกล่องข้าว สานฝา สานตะกร้า มันมีสูตร ไก่อีก่า คว่ำห้ายอสอง ไก่อียอง คว่ำสองยอสี่ คว่ำสามทุกที แล้วไม่ใช่พูดหรอกเอามือไปยกเลย เอาตอกที่จักแล้วเหลาแล้วมาวาง ยอสามข้ามสอง ยอสี่ ยอสี่ ข้ามสาม ยอสอง ไปซักสี่ห้าเส้นใช่ไหม รอบที่สอง วนยอสอง ยอสี่ วนยอสี่ ยอสอง ข้ามสามทุกที
หลวงตาเคยไปเรียน เรียนสานกระบุง ตะกร้า เรียนสานกล่องข้าว เรียนสานฝาบ้าน ฝาเรือน ได้สูตรมาเลย ไม่หัดก็ไม่เป็น กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เอามาหัดลองดูเลย เห็นกายมันจะเป็นตัวเป็นตนหรือมันเห็น หรือมันเป็น ถ้าเห็นมันดี ถ้าไม่เป็นหละก็ไม่ได้ศึกษา เท่าเก่า มันสุขก็เป็นสุข มันทุกข์ก็เป็นทุกข์ ไม่ได้ศึกษาอะไรเลยเป็นอยู่เช่นนั้น ถ้าเห็นแล้ว เราเรียกก็มา มันติดตาม เหมือนเราทำงานมันติดตาม ติดตามไม่ใช่อยู่ที่เก่ามันเลื่อนไปได้ อย่างเราท่องสูตรคูณ สูตรเลข สูตรลูกคิด ฉีก โป๊ะ ซา สี่ เหงา ลัก ซี่ โป๊ย เก้า จับ ไม่ใช่ปากเฉย ๆ มือก็ด้วย ฉีกนี่คืออะไร หนึ่ง ซี่ ซา สี่ โหงว ลัก หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ คิดไปคิดมา ความรู้ก็เป็นตัวเลข อันนี้เป็นหลักหน่วย สิบ ร้อยพันมันคืออะไร หน่วยคือเลขหนึ่ง ถ้าเลขหนึ่งนี้มีสองลูกก็ไม่เรียกว่าหนึ่งแล้ว เรียกคิดไปอันนี้มันหัดทำ ไม่ใช่ปากพูด มือมันไป เหมือนเราเรียนพิมพ์ดีด ตัวอักษรอยู่ที่ไหน ต้องหัดมือให้ไปตามลูกศร ตรงตัวอักษร เพราะหนึ่งก็ต้องอยู่นี่ สอง กอ ไก่ ขอ ไข่ อยู่ตรงนี้ มือมันเต้นไปตามตัวอักษร ก็หัดเป็นแล้วมือก็ไปเอง ไม่ต้องเอาตาไปดู เราไม่หัดก็ไม่เป็นหละ แม้ไปลูบคลำมันก็ยังไม่ได้ ไปกดเอาตัวหนึ่งถ้าเราเขียนมันได้ไวกว่า ตาไม่ดู ต้องไปกดไปจิ้มเอา หัดอย่างนั้นมันไม่เก่ง ถ้าเรียนให้มันดีจริง ๆ มันก็ใช้นิ้วทุกนิ้ว มันก็ไปของมันเอง หัด
หัดมันจึงเป็น ไม่ใช่บอก ไม่ใช่รู้ ก่อนที่มันจะรู้ หัดทำเป็นก่อน กายสักว่ากาย ทำเป็น เวทนาสักว่าเวทนา ทำเป็น มาทางนี้ก่อน
[10:58] แต่ก่อนกายเป็นสุข กายเป็นทุกข์ เวทนาเป็นสุข เวทนาเป็นทุกข์ เป็นสุขเป็นทุกข์ไม่พอ หน้าบูดหน้าเบี้ยว แทนที่จะชื่นใจ เวทนาที่เกิดขึ้น ชื่นใจ ไม่ใช่หน้าบูดหน้าบึ้ง ไม่เห็นจริง มันก็เปลี่ยนไป นี่คือของจริง ในความสุขมันก็เห็นเท่าเก่า ในความทุกข์ก็เห็นเท่าเก่า ภาวะที่เห็นมันเท่าเก่า มันไม่มีอะไร ภาวะที่เป็นมันต่างกัน สุขก็เป็นอันหนึ่ง ทุกข์ก็เป็นอันหนึ่ง เกิดภาวะที่เห็นมันอันเดียวกันไม่มีอะไรต่างกัน ราบรื่น ราบเรียบ ไม่มีคลื่น ไม่มีฝั่ง ไม่มีหุบมีเหว ถ้าพระนิพพาน สัตว์โลกเป็นห้วงน้ำ พระนิพพานคือฝั่ง ทำไมจึงมีฝั่งเพราะมันเป็น ทำไมจึงมีห้วงน้ำเพราะมันเป็น มันก็จมอยู่กับความสุขไม่เห็นสุข จมอยู่กับความทุกข์ไม่เห็นทุกข์ ถ้าเห็นหละ ห้วงน้ำไม่มี ตื้นขึ้นมา ถ้าสัมผัสดูก็ล่วงพ้นภาวะเก่า ล่วงพ้นภาวะเก่า แต่ก่อนมันไม่ล่วงพ้นหรอก สุขก็สุขอยู่นั่น ทุกข์ก็ทุกข์อยุ่นั่น เดิมอยู่นั่น แต่ทั้งที่ไม่จริง ถ้าเราเห็นแล้วก็ ความจริงมันก็เป็นจริง ความไม่จริงก็เป็นไม่จริง เกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดสัมมาทิฏฐิ เป็นของส่วนตัว ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
อันที่มันเสร็จก็เสร็จไปแล้วไม่มีอีก จบไปแล้ว ความหลงจบไปแล้ว ความโกรธจบไปแล้ว ความทุกข์จบไปแล้ว ความรัก ความชังจบไปแล้ว เมื่อมันจบกับสิ่งนั้นเกิดอะไรขึ้น มันเกิดเมตตากรุณา เกิดสติปัญญา เหมือนป่าทางด้านทิศเหนือศาลาหอไตร ปลูกบ่อย ๆ ปลูกบ่อย ๆ ป่าพงไม่มีสักต้น ไม่มีอะไรขึ้นแทน ไม่มีไม่ใช่พง เป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์ แต่ก่อนเห็ดระโงกไม่มี ทีนี้พอมันเปลี่ยนแปลงไปเห็ดระโงกก็เกิดขึ้นสิ่งแวดล้อมตามมา จากที่เคยสุขเคยทุกข์ เมื่อเห็นมันสุขมันทุกข์ สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นใหม่เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ขึ้นมาแทน เป็นบุญ เป็นมรรค เป็นผล ขึ้นมาแทน ใช้ได้ อะไรก็ใช้ได้ วาจาก็พูดได้ จิตใจก็ใช้ได้ แต่ก่อนมันใช้ไม่ได้เลยกาย กายผิดศีลผิดธรรม พาเป็นสุขเป็นทุกข์ มีกายมีใจพาเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่ก่อนน่ะ มีกายมีใจแพ้กิเลสตัณหา พอมีการเปลี่ยนแปลง มีกายมีใจเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา มันแทนที่ เพราะฉะนั้นเราอย่าประมาทเราขาดเต็มที่แล้วติดตามไว้ให้ดีๆ ชีวิตจะมีค่า มีคุณภาพ มีประโยชน์ ได้เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ เมื่อเช้าก็ได้เปลี่ยน กลางวันก็ได้เปลี่ยน ตอนเย็นก็ได้เปลี่ยน เห็นเรื่อย เห็นเรื่อย มันเกิดมาเห็นมัน รู้ไป บทเรียนเยอะแยะในกาย ในใจเรานะ มันมีเฉพาะกาย มันมีเฉพาะใจ อาการของกาย อาการของใจก็มี มันโชว์ มันแสดง แล้วก็ศึกษา
ชีวิตของพวกเรานักบวชก็อยู่ด้วยกันอย่างนี้ อันเดียวกันแท้ ๆ เราไม่ใช่คนอื่นที่ไหนเลยเป็นคนคนเดียวกัน แต่นี่เดือนสามขึ้นหนึ่งค่ำ เป็นเรื่องเดือนสาม อันนี้สิ่งแวดล้อม เรื่องเดือนสาม ไม่หนาวใช่ไหม มีก้อนเมฆ เมฆมันห่อ ถ้าเมฆเป็นผ้าห่ม ไม่หนาว อุ่นขึ้นมา ถ้าวันไหนฟ้าใสมันหนาวไม่มีผ้าห่ม วันนั้นผ้าห่มผืนใหญ่คือก้อนเมฆ ไม่หนาวเหมือนเมื่อวานนี้ เมื่อวานหนาวกว่านี้ มันก็เรื่องเดือนสาม เดือนสามมีดีหลายอย่าง เดือนสามขึ้นสามค่ำมีดียังไง โบราณเค้าว่ากบไม่มีปาก นากไม่มีรูก้น มีข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉาง เราจะตัดข้าววันนี้ ตั้งแต่ข้าวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเค้าไม่ตัดข้าว วันนี้วันขึ้นเดือนสาม มันขึ้นเดือนสาม ต้องเปิดประตูเราเอาข้าวไปวัด หาบข้าวออกไปวัด เอาไปวัดก่อนจึงค่อยกิน วันขึ้นเดือนสาม เอาใหม่สามค่ำเดือนสามให้เปิดประตูข้าว หาบข้าวไปวัดไปทานก่อนแล้วค่อยเอาไปกิน คนโบราณนะ แล้วก็วันเพ็ญเดือนสาม วันขึ้นเดือนสามเอาปุ๋ยเอาฝุ่นไปใส่นา คนจะหาบฝุ่นหาบปุ๋ยขี้วัวขี้ควายไปใส่นาของตนเอง แต่อย่างน้อยก็มีคุณค่า ตรงไหนที่มันสูง เอาไปใส่ธารน้ำหาบหนึ่ง มันไหลมาจากทางโน้น นาเรามีที่สูงที่ต่ำ ทิศเหนือ ทิศใต้ ธารน้ำไหลมา เอาไปใส่ธารน้ำ ปุ๋ยมันจะซึมไปทั่วนา คนโบราณว่า รดแม่ธรณี รดแผ่นดิน อุ้มดินให้อยู่ สร้างดินให้อยู่ สร้างอู่ให้นอน เจ้าแม่ธรณี นางโพสพคือข้าว กราบกราน กราบพื้นดินของตัวเอง ได้กินข้าว ได้อยู่ได้กินเพราะดินผืนนี้ เวลาข้าวไปสาด เอาข้าวไปสาดไปให้ธรณีแผ่นดิน ข้าวก็งามขึ้น เดือนสิบ ให้คนโบราณ
วันเพ็ญเดือนสามก็เกี่ยวกับพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่ภิกษุ 1250 รูป เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด มากันไม่ได้นัดหมาย เดือนสามมีดีหลายอย่าง บุญข้าวจี่ ประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ จาฮีตสิบสองคองสิบสี่ รู้ไหมคองสิบสี่ จาฮีตสิบสองรู้ไหม คองสิบสี่ฮีตสิบสองก็อันหนึ่ง คองสิบสี่ก็อันหนึ่ง คองสิบสี่เกี่ยวกับภรรยาสามีปฏิบัติต่อกัน ฮีตสิบสองหมายถึงการทำบุญทำทานประจำเดือน สิบสองเดือน คองสิบสี่สามีภรรยาปฏิบัติต่อกันสิบสี่อย่าง ถ้าไม่ปฏิบัติตามคองสิบสี่ไม่เจริญ เราปฏิบัติตามคนเดียวก็ไม่ได้ คนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามมันก็ไม่เจริญ สามีปฏิบัติตามคองสิบสี่ ภรรยาไม่ปฏิบัติตาม มันก็ไปด้วยกันไม่ได้ ภรรยาปฏิบัติตามคองสิบสี่ สามีไม่ปฏิบัติตาม ก็อยู่ด้วยกันไม่ได้
ผัวพาเพจึงได่เป็นฮ้าง เมียพาเพจึงได่เป็นฮ้าง ดีปานใด๋ สามีดีเท่าไหร่ถ้าเมียไม่ดีก็ฮ่างได้ สามีถ้าได้ภรรยาดีเท่าใดสามีไม่ดีก็ฮ่างได้ เพราะฉะนั้นจึงให้ปฏิบัติตามคองสิบสี่เสมอกัน เหมือนกับวัวเทียมเกวียน นี่เดือนประมาณกลางเดือนกุมภา จะเอาช้างมาปั้นวัวเทียมเกวียนให้ ทิศเหนือกุฏิอาจารย์มงคลใกล้กับกุฏิอาจารย์ธวัชชัย ปั้นวัวเทียมเกวียนให้ดู วัวเทียมเกวียนคือมันมีความหมายหลายอย่าง มันต้องดันเสมอกันระหว่างสามีภรรยาก็ได้ ผู้หญิงเป็นเท้าซ้าย ผู้ชายเป็นเท้าขวา เหมือนวัวเทียมเกวียน การปฏิบัติธรรมก็เหมือนวัวเทียมเกวียน ระวังอินทรีย์ 5 ให้มันเสมอกัน มีทาน มีศีล มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ห้าอย่างก็เหมือนนิ้วมือห้านิ้ว ถ้าจับมีดสองนิ้วฟันไม่ขาดหรอก จับด้ามบักจอบสองนิ้วปั้นคันนาได่บ่ ต้องมีอินทรีย์ 5 เหมือนวัวเทียมเกวียนเนี่ย ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้ามีศรัทธาเป็นทุน
[20:15] ให้มีความศรัทธา อย่าเบื่อหน่าย ถ้าทำแบบนี้มันถูกต้อง ทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่ว ศรัทธาเป็นเนื้อนา วิริยะใส่ใจที่ทำความดี
อย่าท้อถอย สติ มีสติลงไป โปะลงไป มีความเพียรเหมือนน้ำฝน ชุ่มฉ่ำไม่เหือดแห้งในหัวใจ มีสมาธิหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหว มันหิวก็ไม่หวั่นไหว มันร้อนก็ไม่หวั่นไหว มันหนาวก็ไม่หวั่นไหว มั่นคงเหมือนก้อนหิน ลมพัดไม่หวั่นไหวไม่ปลิวเหมือนนุ่น ไม่ปลิวเหมือนข้าวลีบ สมาธิเหมือนหิน ปัญญาก็รู้จักเปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ เปลี่ยนความทุกข์เป็นความรู้ เปลี่ยนความสุขเป็นความรู้ ห้าอย่างให้เสมอกัน วัวเทียมเกวียน มันก็หนักมันก็เอา เบามันก็เอา
วัวเทียมเกวียนเนี่ย เคยเป็นเพราะว่าเกวียนสมัยก่อนไปขายข้าวกับผู้ใหญ่เหรียญ บ้านหนองแจงไม่มีโรงสี ไปขายข้าวที่หนองเรือโน้น วัวคู่ไหนที่มันเป็นวัวเกวียน เทียมเกวียนที่หัดดี มันก็เอางานดี มันอยากเห็นตมตรงนี้มันต้องบุกไปใส่ ต้องจับไว้ มันดิ้น ถ้าวัวเห็นโคลนเห็นตมอยู่ข้างหน้า มันดิ้นอยากจะลุย วัวบางตัวปลดแอกเลยไม่สู้ เรียกวัว วัวดื้อ ปลดแอกเห็นไหม ใครจับมาใส่เกวียนมันปลดทิ้งเลย บางตัวก็นอนเลยไม่ลุกเลย แต่บางตัวนี่พอยกแอกขึ้นมันเดินเข้าแอกเลย คงไม่เคยเห็นนะ หลวงตาเคยอยู่กับวัวกับควาย ซื่อสัตย์เหมือนหมา ขี้ข้าเหมือนวัว พอยกแอกขึ้น วัวมันเดินเข้าเลย ปุ๊ปทันทีเลย มันยืนเนี่ย มันขยัน เวลาเห็นคนข้างหน้า วัวคู่หนึ่งไปก่อน มันไปติดอยู่ ไอ้เจ้านี่มันดึงไว้ ตีนข่วนหน้าไว้ ดันไว้ มันอยากไป วัวคู่นั้นไปแล้ว พอปล่อยป๊าด ดีกออกเลยหายใจฉีกเลย มันอยากได้กว่าเรานะ วัวหนะ ต้องเอาไม้เทียมเกวียนฉุดมันดึงเลย ผู้ระวังตัวมันไม่กล้าปลดแอกต้องเอาคู่นี้มาใส่ ดึงไป ถ้าไปขายข้าวถ้าวัวคู่นี้ไม่ไป มักจะไม่มีใครไป ถ้าว่าเจ้านั้นไปบ๊อ ถ้านั่นไปสิไปยู๊ เพราะว่าอาศัยแฮงฉุดเกวียนไป คนเราเหมือนกันนะ บางทีก็อ่อนแอง่วงนอนนิดหน่อยก็หลับแล้ว หาวิธีที่หลับแล้ว หาทางจะไปไหนอดนอนหลับที่ไหนน๊อ ที่นอนนั้นหลับไปเลยไม่สู้ซักหน่อย เหมือนวัวไม่เอาเกวียน หนักไม่เอา ยากนิดหน่อยก็ไม่สู้แล้ว