แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ทุกคนเอามือวางไว้บนเข่า เอามือวางไว้บนเข่า เคยจับเข่าไหม เอามือวางไว้บนเข่า คว่ำไว้นะ เดี๋ยวนี้มือเราอยู่ที่ไหน อะไรเห็นว่ามืออยู่ที่เข่านั่น อะไรรู้ว่ามืออยู่บนเข่านั่น ถ้าใครบอกว่ามือของเราอยู่ที่อื่นจะเชื่อไหม มั่นใจไหมว่ามืออยู่บนเข่า มั่นใจไหม มั่นใจนะ ใครจะบอกว่ามือของฉันขัดอยู่ข้างหลัง เราจะเชื่อไหม ไม่เชื่อ เพราะอะไร เพราะเราเห็นใช่ไหม เราเห็นกายของเรา มือของเราวางอยู่บนเข่า ตะแคงมือข้างขวาตั้งไว้ดูสิ ตะแคงตั้งไว้ดูสิ ตะแคงหรือยัง มั่นใจไหมว่ามือข้างขวาตะแคงอยู่ มีคำถามไหม ว่ามือข้างขวาของฉัน อยู่ตรงไหน อยู่อย่างไร มีคำถามไหม ไม่มีคำถาม ใครเป็นคนรู้ เรารู้เอง สัจธรรมไม่มีคำถาม รู้เองใช่ไหม เรารู้ว่ามือของฉัน ยกขึ้นดูสิ ยกขึ้นดูสิ ยกหรือยังมือข้างขวา ไม่ใช่วางอยู่บนเข่านะ มีคำถามไหมว่ามือข้างขวาอยู่ตรงไหน ไม่มีคำถามใช่ไหม มีแต่คำตอบ ใครตอบให้ ตอบเอาเอง นี่คือสัจธรรม เอามือลง การเห็นชีวิตทั้งหมดก็เห็นแบบนี้ เห็นมันคิด มั่นใจ ความคิดทำอะไรเราไม่ได้ เหมือนเราเห็นงู ถ้าเราเห็นงูเนี่ย งูจะได้กัดเราไหม ไม่ได้กัดหรอก เห็นตะขาบมันวิ่งมา ตะขาบจะได้กัดเราไหม ไม่ได้กัด ที่ตะขาบมันกัดเราเพราะเราไม่เห็น เห็นความโกรธเห็นความหลงก็เหมือนกัน ถ้าเห็นแล้วก็พ้นทันทีเลย เราจึงมาสร้างภาวะความเห็น ภาวะดู พระพุทธเจ้าว่า จงมาดูกายเคลื่อนไหว มาดูกาย เห็นความคิด เห็นความหลง เห็นอะไรต่างๆ เห็นๆๆ รู้ เห็น พบเห็น มันจะเกิดการเห็นไปๆๆ ตัวเห็นก็นำ ตัวเห็นเนี่ยเป็นตัว ไม่ใช่คำว่าเห็นเฉยๆนะ เป็นญาณด้วย เห็นเนี่ยเป็นญาณ เป็นฌาน เป็นมรรค เลื่อนฐานะไปเรื่อยๆ เป็นมรรค เป็นผล เบื้องต้นคือความรู้สึกตัว ท่ามกลางคือความรู้สึกตัว ที่สุดก็คือความรู้สึกตัว เรามาเริ่มต้นตรงนี้ก่อน มาพิสูจน์กันดู หลวงพ่อจะพาลุยโลก ถ้าเห็นแล้วนะ ไปกลัวอะไรโลกน่ะ แล้วนี่แม้แต่นินทาก็กลัวแล้ว สรรเสริญก็กลัวแล้ว สุขก็กลัวแล้ว ทุกข์ก็กลัวแล้ว ความสุข ความทุกข์ นินทา สรรเสริญ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ คนก็จะมีปัญหาเยอะ แค่นี้ก็ยังไปไม่รอด มันจะอยู่กับโลกได้ยังไง ยิ่งทุกวันนี้นะ ถ้าไม่มีคุณธรรมแล้ว จะเป็นคนขี้แพ้ได้ตลอด รสชาติของโลกมันรุนแรง ทำให้เราเป็นทุกข์ อมทุกข์ มันจะมีประโยชน์อะไรชีวิตเรา
นี่หลัก หลักสูตรของชีวิตเรา เรียนให้มันจบ ถ้าจบตรงนี้แล้วลุยเลยโลกน่ะ ไม่มีอะไรน่ากลัวเลย เหมือนกับพุทธองค์ท่านว่า รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง โลกวิทู รู้แล้วๆ คำว่ารู้แล้วเนี่ย เห็นอะไร เห็นความไม่เที่ยงก็รู้แล้ว เห็นความเป็นทุกข์ก็รู้แล้ว เห็นความไม่ใช่ตัวตนก็รู้แล้ว ถ้าเราไม่รู้ ความไม่เที่ยงพาให้เราเป็นทุกข์มีไหม มีไหมสิ่งที่ไม่เที่ยงพาให้เราเป็นทุกข์มีไหม สิ่งที่เป็นทุกข์พาให้เราเป็นทุกข์มีไหม สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนพาให้เราเป็นทุกข์มีไหม วันนี้สิ่งที่มันไม่เที่ยงไม่เป็นทุกข์ สิ่งไม่ใช่ตัวตนไม่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์ นี่เรียกว่าปฏิบัติ เปลี่ยนเลย ตรงนี้นะมาพิสูจน์กันลองดู ยิ่งพวกเราน่ะจะต้องอยู่กับโลกอย่างมากมาย เป็นหมอเป็นพยาบาล เพื่อนร่วมงาน มีงานมีการทำ ถ้าไม่เข้มแข็งจะหวั่นไหวง่ายที่สุด เพราะเกี่ยวกับสิ่งอื่น วัตถุอื่นมากมาย เราจึงฝึกหัด มีศิลปะในการใช้ชีวิตของเรา มาสร้างสตินี่แหละ วิธีที่สร้าง เราก็บอกกันแล้ว ให้รู้สึกตัวๆ เวลาใดมันหลง รู้สึกตัว กลับมาหาความรู้สึกตัว มันหลงทีไรกลับมารู้สึกตัว เมื่อมันเห็นอยู่บ่อยๆ ผ่านตาอยู่บ่อยๆ สิ่งไหนที่มันผ่านตาอยู่บ่อยๆมันก็รู้แจ้ง เห็นแจ้ง เช่นหลวงพ่อเห็นโยมน่ะ สามคนที่นั่งอยู่ข้างหน้า เห็นกันหลายวัน วันนี้ก็เห็นกันหลายครั้ง ก็จำได้ เห็นตั้งแต่วันมาทำสังฆทาน เห็นตั้งแต่วันที่ไปปฏิบัติธรรม พุทธมณฑลใช่ไหม เห็นมาบวชลูกบวชหลาน เห็น ก็จำได้ทันที เพราะผ่านสายตา ตาเนื้อ เห็นหน้ากัน เห็นแล้วไม่ได้เห็นเฉยๆ มันเห็น เอ้อ เป็นคนมีศีลมีธรรมน้อ เป็นคนมีคุณธรรม มีความรู้ พึ่งพาอาศัย เป็นมิตรเป็นญาติ การเห็นไม่ใช่เห็น แค่เห็นเฉยๆ การมาเห็นกายของเรา การมาเห็นใจของเรา เห็นบ่อยๆมันก็จำได้ ชี้หน้ามันได้ อันนี้คือกายคือรูป เห็นอะไรที่มันเกิดความร้อนความหนาวนี่มันคืออาการ ความสุขความทุกข์มันเป็นอาการของรูปของนาม ไม่ใช่ตัวใช่ตน แต่ก่อนเราไม่รู้ เราไม่ได้เห็น ก็มีตัวมีตน เป็นตัวเป็นตนไปทั้งหมด ความร้อนก็เป็นตัวเป็นตนอยู่ในความร้อน ความหนาวก็เป็นตัวเป็นตนอยู่ในความหนาว ความสุขก็เป็นตัวเป็นตนอยู่ในความสุข ความทุกข์ก็เป็นตัวเป็นตนอยู่ในความทุกข์
หลวงพ่อก็เลยมีวิธีสอนว่า เช่น ความปวด เป็นผู้ปวด ปวดไหม ปวดขาไหมเดี๋ยวนี้ นั่งอยู่เนี่ย เกือบชั่วโมงกว่าๆ ปวดขาไหม เป็นผู้ปวด หรือว่าเห็นมันปวด ถ้าเป็นผู้ปวด เป็นผู้ปวดหรือเห็นมันปวด โอ้ยๆตายๆ บางคนก็บอก โอ้ยตายๆ ถ้าหลวงพ่อบอกว่า ถ้าแต่ก่อนเคยพูดว่า ตายๆๆ พอมาปฏิบัติแล้วมันก็พูดว่า ไม่ตายๆๆ แต่ก่อนเคยพูดว่า ไม่ไหวๆ พอมาปฏิบัติมันก็บอกว่า ไหวๆๆ แต่ก่อนมันบอกว่า แย่ๆๆ พอเดี๋ยวนี้มันก็ว่า ไม่เป็นไรๆ มันเปลี่ยนนะ มันเปลี่ยนนะ แต่ก่อนมันบอกว่า ไม่ไหวๆ ตายๆๆ แย่ๆ มันหมดตัวไป มันเป็น ใช่ไหม บัดนี้ก็เลยบอกว่า เป็นผู้ปวดหรือเห็นมันปวด ถ้าเป็นผู้ปวดเรียกว่า มีตัวมีตนอยู่ในการปวด บัดนี้ถ้านักกรรมฐานเห็นมันปวด จำได้ไหม เห็นมันปวดกับเป็นผู้ปวดต่างกันไหม ต่างกันไหม นักกรรมฐานก็จะเป็นอย่างนั้นนะ เห็นมันปวดกับเป็นผู้ปวด เห็นมันปวดไม่ใช่เป็นผู้ปวด คำว่าเห็นเนี่ย มันออกมาดูแล้ว ไม่ได้อยู่กับความปวด วิธีที่จะไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ยกออกมานะ นี่วิธีฝึก เห็นมันปวด ไม่ได้เป็นผู้ปวด เกีี่ยวข้องกับความปวดยังไง เกีี่ยวข้องกับความหนาวยังไง เกีี่ยวข้องกับความทุกข์ยังไง ถ้าเห็นแล้ว หลุดพ้นแล้ว ถ้าเป็นแล้วหลุดพ้นได้ยาก มันหิว หิวไหมไม่ได้กินข้าวเย็นวันนี้ หมอทั้งหลายหิวไหม เป็นผู้หิวหรือเห็นมันหิว ถ้าเป็นผู้หิวนี่โอ๊ย ทุกข์มากนะ ถ้าเห็นมันหิวนี่ โอ๊ยดีใจนะ ขอบคุณมัน ร่างกายเราเนี่ยมันปกติมากนะเนี่ย มันหิวเนี่ย แสดงว่ามันปกติที่สุดแล้ว อายุเจ็ดสิบปียังหิวอยู่ ขอบคุณมันๆ เห็นมันหิว ไม่ใช่เป็นผู้หิว มันต่างกันนะ มันเบากว่ากัน ถ้าเป็นผู้หิวจะหนัก ถ้าเห็นมันหิวจะเบาขึ้นมาสักหน่อย เป็นผู้ทุกข์หรือเห็นมันทุกข์ ถ้าเป็นผู้ทุกข์ อยู่กับความทุกข์ ถ้าเห็นมันทุกข์ ออกมาดูแล้ว มันมีช่องทางแก้ได้ เหมือนกับหมอเห็นโรค ถ้าเห็นแล้วก็รับรองว่าหาย เราจึงมาดู เห็นไหมเห็นกายไหม เห็นมันคิดไหม เป็นผู้คิดหรือเห็นมันคิด เป็นผู้โกรธหรือเห็นมันโกรธ เป็นผู้เครียดหรือเห็นมันเครียด เป็นผู้ง่วงหรือเห็นมันง่วง ดูดีๆนะ มันจะออกมา ออกมาดู เบาหวิว เอาไปเอามา ไม่มีอะไรเลยนั่นน่ะ เหมือนกับเราน่ะ อินทรีย์ของเราใหญ่กว่า ถ้าเป็นแล้วหมดเนื้อหมดตัว นี่นักกรรมฐาน อารมณ์ของเขามันจะต่างกัน
เนี่ยเวลานี้เรานั่งกว่าจะจบ ขอบคุณมันถ้านั่งอยู่มันปวด ถ้านั่งไม่ปวดมันก็ไม่ใช่รูป รูปมันจึงมีเวทนา เป็นธรรมชาติของเขา เป็นอาการของเขา ถ้ายุงกัดไม่เจ็บมันก็ไม่ใช่รูป ความเจ็บเนี่ยขอบคุณเขานะ แต่รู้จักไล่ยุงออก ความหิวก็ขอบคุณเขา เขาเป็นสัญญาณดับภัย ทำให้เราจะต้องกินข้าว ความหนาวก็ขอบคุณเขาเราจะได้ห่มผ้า ถ้าไม่รู้จักร้อนจักหนาวเนี่ยใช้ได้ไหม ใช้ได้ไหม ถ้าไม่รู้จักหิวเนี่ยใช่ได้ไหม หิวข้าวนี่ดีไหม ทุกข์หรือสุขหิวข้าว ทุกข์ไหม ทำไมทุกข์ หิวข้าวเป็นเรื่องดี ไม่หิวดีไหม ไม่หิวตายลูกเดียว ตายลูกเดียว เอาข้าวมาให้กิน กูบ่หิว กูบ่กิน กินบ่ได้ อยู่ไม่เกินเจ็ดวันตายเลย ถ้าหิวนี่ไม่เกินอีกสักสิบชั่วโมง พรุ่งนี้ได้กินแน่นอน ไม่ตาย ห้าหกชั่วโมงเนี่ยไม่ตาย ถ้าหิวนะ ชื่นใจเลย กินน้ำลงไปนะ นี่น้ำขวด ดื่มลงไปอย่าให้ท้องมันว่าง ถ้าไม่หิวเนี่ยตายแน่ๆ แล้วทำไมเราจึงทุกข์เวลามันหิวข้าว เราลืมไป ลืมว่าความหิวมันเป็นธรรมชาติของรูปของเราหนอ มันปกติที่สุด ถ้าไม่หิวเนี่ยไม่ดีจริงๆ แสดงว่ากระเพาะตีบแล้ว กระเพาะไม่ยืด เป็นโรคมะเร็งแล้ว ปวดท้องแล้ว ถ้ามันหิวมันร้อนมันหนาวมันปกติที่สุดเลย แล้วไปทุกข์ทำไม ไปทุกข์อะไร ไม่มีความทุกข์ ไปดูดีๆ ไม่มีเรื่องใดที่ทำให้เราเป็นทุกข์ มีแต่เป็นปัญญา ความโกรธทำให้เรามีปัญญา ความหลงทำให้เรามีปัญญา ความทุกข์ทำให้เรามีปัญญา เพราะทุกข์เนี่ยแหละทำให้เป็นพระพุทธเจ้าได้ ใช่ไหม พระพุทธเจ้าเห็นทุกข์เนี่ยทำให้เป็นพระพุทธเจ้า แต่เราเห็นทุกข์เพื่อเอาเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าเห็นทุกข์เป็นปัญญา เป็นปัญญา โอโห ตื่น โยม ถ้าเว้าเป็นภาษาบ้านเฮาก็ ปั้ดโถ้หนอ เราเลยเว้า พุทโธ ว่าเป็นภาษาบ้านเรา ปั้ดโถ้ มันกองทุกข์นะ ปั้ดโถ ตื่นขึ้นมาเลย มอง โอ้ย ทุกข์ พอเห็นแล้วก็หลุดได้ทันทีเลย เราจึงปฏิบัติ ลองดูนะเจ็ดวัน พวกเราจะเป็นมิตรเป็นเพื่อน คิดว่าจะไม่พาหลงทิศหลงทาง หลวงพ่อก็ดีใจที่เห็นพวกเรา มีหมอหนุ่มๆน้อยๆ มีครูอาจารย์มาด้วยเป็นเรื่องดี ความตั้งใจของสุคะโต ก็มีความประสงค์อยากจะสอนเรื่องนี้กันจริงๆ จึงชื่อป้ายวัดว่า สถาบันสติปัฏฐาน บางคนก็ถามว่า สถาบันสติปัฏฐาน ควบคุมแค่ไหนเพียงไร สถาบันก็คือชีวิตเราเนี่ยแหละ ชีวิตที่ไม่ทุกข์ มาศึกษาชีวิตที่ไม่ทุกข์ พ้นทุกข์พ้นปัญหา ไม่มีปัญหา เรียกว่าสถาบัน เราก็สอนอยู่สองลักษณะ แต่ว่าเน้นภาควิปัสสนาธุระ ธุระใหญ่ๆสอนเรื่องกรรมฐาน คันถะธุระก็สอนกันบ้าง ก็มีสอบนักธรรมชั้นโท ชั้นตรี ชั้นเอก ได้เยอะ อาจารย์ทรงศีลก็มาอยู่สองปีสามปีก็สอบนักธรรมชั้นโทได้ชั้นเอกได้นี่เรียนอยู่ แล้ววิปัสสนาธุระเป็นหลัก สอนเรื่องกรรมฐาน เป็นสถาบันคืีอชีวิตของเรา ถ้าใครเรียนไม่จบ ก็เป็นการบ้าน เป็นโจทก์ ทำให้เราเป็นจำเลยตลอดเวลา ความโกรธเป็นจำเลยที่ทำให้เราโกรธอยู่บ่อยๆ ความทุกข์ เราเป็นจำเลยของความทุกข์์ พอเราจบแล้วจะไม่มีเรื่องพวกนี้ ในโลกนี้ หลวงพ่อจึงบอกพวกเราว่า จะพาลุยโลก มันไม่มีอะไรหรอก ไม่น่ากลัวอะไร ลุยมันเลยพวกเรา รู้สึกตัวๆไปเลย แล้วก็ตั้งใจสร้างสิ่งแวดล้อมดีๆ เจริญสติ