แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมต่ออีกทีหนึ่ง เพื่อสัมโมทนียกถา ให้ได้สดชื่นเบิกบานในผลบุญกุศลที่เรามารักษาศีล สมาทานศีลอุโบสถในวันแรม ๑๕ ค่ำ หลวงตาเพิ่งมาร่วมวงเช้านี้ไม่รู้ ไม่ได้โกนผมเลย การมาทำวัตรตี 4 ครึ่ง เดินมาทำวัตรเมื่อเช้านี้ ตี 5 ชาวบ้านจะมาวันพระ ก็โมทนากับญาติโยม ชาวบ้านเรา บ้านน้อยๆ ไกลๆ ยังอุตส่าห์มาตั้งแต่เช้ามืดตี 4 ตี 5 คงจะเตรียมตัวเตรียมใจกันเต็มที่ เพื่อมาสร้างบุญสร้างกุศล เพื่อให้เกิดมีอานิสงส์ในเทศกาลเข้าพรรษานี่ เป็นเทศกาลเพิ่มบุญให้ตัวเอง เพิ่มกุศล เพิ่มคุณงามความดีให้กับตัวเรา เพราะการละความชั่วออกไป มีเท่าไหร่พยายามละให้ได้ 3 เดือนถ้วนไตรมาส ให้มันงอกงามขึ้นมา เหมือนฤดูทำนาทำไร่ก็ต้องปลูกฝังลงไป ใส่ปุ๋ยลงไป ดายหญ้าลงไป ให้ต้นข้าว ต้นมัน ต้นอ้อย ที่เราปลูกให้มันงามขึ้นมา กุศลผลบุญ ความดี ความงาม ก็งามขึ้นที่กายที่ใจของเรานี่ อะไรที่ไม่ถูกไม่ต้องละออกไป ปล่อยออกไป เช่น มันหลงไม่งาม บุญมันจะไม่งาม ความโกรธบุญจะไม่งาม ความทุกข์บุญจะไม่งามล้างออกไป ล้างมันออกไปเหมือนดายหญ้า สละออก ใจร้ายให้มันใจดี เวลามันหลงให้รู้ขึ้นมา เวลามันทุกข์ให้รู้ขึ้นมา เวลามันโกรธให้รู้ขึ้นมา เวลามันพอใจไม่พอใจให้รู้ขึ้นมา เวลามันหูได้ยินเสียง พอใจไม่พอใจ ตาเห็นรู้ พอใจไม่พอใจเกิดขึ้นมาก็รู้สึกตัวขึ้นมาปล่อยวางออกไป นี่เรียกว่าละบาป สร้างบุญ ไม่ใช่เป็นพิธีเฉยๆ ให้ถึงใจเราด้วย ใจนี่มันจะรับบุญต่อบุญอ่ะ ถ้าไม่ดูแลใจมันจะต่อเอาบุญไม่ได้ มันสำเร็จอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่รับ ไม่ละสิ่งที่ไม่ดี ไม่รับสิ่งที่ดีเข้าไปมันก็ไม่เกิดสักที คนที่ต่อเอาบุญเนี่ยใจเนี่ย คนที่ต่อเอาบุญเอากายเนี่ย เอามาต่อเอาบุญอ่ะ รักษา 3 ปลาย หาย 3 โทษ ปลายกาย ปลายวาจา ปลายจิตใจ มันมีปลายของมัน เหมือนมีมือปลายมือ ไปทำบาปทำกรรม รักษาไว้ รักษา ๓ ปลาย กายก็มี มี 3 ทวาร กายกรรม 3 กายกรรม 3 ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ทำให้คนอื่นเดือดร้อน นี่กายกรรมยึดอย่าไปทำ ระวังดี ๆ ตรงนี้ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 วจี คือ วาจา มี 4 ทวาร พูดเท็จก็อย่าพูดรักษาไว้ พูดคำหยาบก็อย่าพูดรักษาไว้ พูดเพ้อเจ้อก็อย่าพูดรักษาไว้ พูดส่อเสียดให้มันแตกร้าวขึ้นมา อย่าพูดความไม่จริงให้พูดคำจริงเสมอ พูดเท็จพูดคำหยาบ ด่าลูก ด่าหลาน อย่าพูด อย่าไปใช้วาจาหัดให้มันพูดอย่างนั้น ให้มันพูดแต่สิ่งที่ดีเป็นปิยวาจา พูดความจริง ตัดสินใจออกมาพูดด้วยความจริงใจ เป็นความจริง ทุกอย่างที่แสดงออกมาจากคำพูด พูดเช่นไรใจเช่นนั้น พูดสิ่งใดให้เป็นเช่นนั้น สัจจะความจริงใจ ประพฤติสิ่งใด ทางกาย วาจา ลงไปให้เป็นจริง นี่คือวาจา มโนกรรม 3 คือ คิดประทุษร้ายเขาอย่าไปคิด พยาบาทปองร้ายเขาก็อย่าไปคิดพยาบาทเบียดเบียนใคร อย่าไปคิดอย่างนั้น มัน ทวารใจมันจะไม่ดี ใจมันจะไปต่อเอาสิ่งไม่ดีนะ ก็ต้องคิดพยาบาท คิดปองร้ายเค้า คิดประทุษร้ายเค้า เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เนี่ยเป็นทวารของจิตอย่าไปคิดแบบนั้นจิตอ่ะ ให้คิดถึงแต่คุณงามความดี แผ่เมตตา คิดไรก็คิดถึงแต่ความดีออกมาต่อเอาความถูกต้อง ต่อทางใจนี่ จึงเป็นทวารที่ไปต่อเอาความดีทั้งกาย วาจา ใจ เป็นเครื่องมือ สำหรับใช้ให้เกิดความดี เราใช้ไม่เป็นก็เป็นทุกข์ เป็นโทษ ถ้าใช้เป็นก็เป็นประโยชน์พาถึงมรรคถึงผล ตัวใครตัวมัน กายของใครกายของมัน ใจ วาจาของใครของมันใช้ให้เป็น วาจานี่พูดให้เสียเงินก็ได้ พูดให้ติดคุกก็ได้ พูดให้เค้ามาฆ่าก็ได้ พูดให้เค้ารักก็ได้ ใจก็เหมือนกัน คิดให้มันเป็นทุกข์ก็ได้ คิดแล้วเป็นทุกข์ คิดไม่เป็น คิดกัดตอดตัวเองให้เป็นทุกข์ มีบ้างไหมใครคิดขึ้นมาน้ำตาไหล คิดขึ้นมากินข้าวไม่ลง คิดขึ้นมานอนไม่หลับ ยังปล่อยให้ตัวเองคิดอยู่ ไม่หยุดความคิดไม่เป็น ไม่หัดตัวเอง โดยเฉพาะการหัดความคิดเนี่ย วิชากรรมฐานเป็นวิชาที่ดีที่สุดนะ มีนิมิตที่ตั้งไว้อย่างลมหายใจเข้าออกก็คิดไปเวลานอน เวลานอนหาเรื่องมาคิด ก็กลับมาหายใจเข้ารู้สึก หายใจออกรู้สึกนึกคิด พลิกมือ คว่ำมือหงายมือ อยู่ในท่านอน เวลานี้ไม่ใช่เวลามาคิด เวลานอน หัดตัวเองให้มีระเบียบ เวลานอนอย่าหาเรื่องมาคิด จะนอนไม่หลับ ถ้าหลับก็หลับไปกับความคิดความฝัน ฝันน่ะฝันไปทั่ว ความคิดมันยิ่งงอกงามในความฝันไปเลย มันเปรอะเปื้อนมามาก ใจเนี่ย ถ้าเราไม่หัด ต้องหัดใจเนี่ย สำคัญที่สุดเป็นหัวหน้า สำเร็จ เป็นบุญเป็นบาปอยู่ที่ใจ ให้ดูแลให้ดีๆ มารักษาศีลก็เพราะมาดูแลกายใจนี้ ไม่ใช่มาอยู่เป็นพิธีอยู่วัดอยู่วาเฉยๆ นั่งอยู่นี่ มันคิดไปโน้นถึงคนรักคนชัง ห่วงโน่นห่วงนี่ บางทีก็อย่างโบราณท่านว่านั่งอยู่มาจำศีลอยู่ที่วัด ผู้เฒ่าผัวเมีย ๒ เฒ่า มาจำศีลอยู่ที่วัด พอดีฝนตก ฝนตกอึ่งก็ออกมาร้อง กบก็ร้อง เขียดก็ร้อง ผัวเมียนั่นก็เลยไปจับกบ จับเขียดเวลาฝนตกใหม่ ได้ยินเสียงกบร้อง ได้ยินเสียงเขียดร้อง ได้ยินเสียงอึ่งร้อง คอยจับอึ่ง เวลาอึ่งร้องมันผสมพันธุ์กันมันวางไข่ เค้าก็จับออกเป็นหาบเป็นข้องมา ได้ยินเสียงอึ่งร้องก็ไปจับอึ่งจับกบ ก็คิดถึงอยากจะไปจับกบจับเขียดอยู่ในทุ่งในนาโน่น ก็นอนไปก็คิดว่าได้จับอึ่งจับอะไรเนี้ย อยู่ๆก็ตายไปเป็นอึ่ง ๒ ผัวเมียภรรยา เวลาฝนตกก็ตายไปเป็นอึ่งร้องอยู่นั่น ร้องอยู่ตามทุ่งนาเหมือนเรียกกันอยู่โน่น โบราณท่านว่าอย่างนั้น
จิตมันอยู่ไหนก็ไปที่นั่นนะ พาไป ทำบาปก็เป็นบาปติดตามตัวเราไป ตกนรก เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เกิดจากความคิด ถ้าไม่อยากไปสู่อบายต้องรู้จักหักห้ามจิตอย่าให้มันคิดแบบนั้น เป็นได้ เปรตก็เกิดอยู่ที่ใจ สัตว์นรกเกิดอยู่ที่ใจ สัตว์เดรัจฉานเกิดอยู่ที่ใจ อสูรกายเกิดอยู่ที่ใจ ถ้าใจมันขี้ขลาดขี้กลัวอะไรต่างๆ ทำดีไม่ได้ จะอดเหล้าก็โอ๊ยอดไม่ได้กลัว จะอดหมากก็อดไม่ได้ อดสูบบุหรี่ก็อดไม่ได้ ขี้ขลาด ขี้กลัว ไม่กล้าทำความดี ตัดสินใจทำความชั่ว พวกนี้ภพภูมิมันต่ำ อบาย ไม่เจริญ หัดจิตของตน สอนกายสอนใจ กลายเป็นมันก็มีศาสนาของกาย มันมีความถูกต้องของกาย ศาสนาของกาย ศาสนาของกายเช่นมันหิวก็ต้องกินข้าว แก้ได้ความหิวเนี่ยก็กินข้าว ถ้ามันหนาวก็ห่มผ้าเป็นศาสนาของกาย มีบ้านมีเรือนอยู่เวลาฝนตกเข้าร่มเข้าเงา เวลามันเจ็บไข้ได้ป่วย ทานหยูกทานยาไปพักผ่อนก็หาย ถ้าไม่รู้จักรักษา มีศาสนาของกาย ใช้ผิดก็ผิด กินเหล้าเกิดทุกข์เกิดโทษ กินหมากก็เกิดโรคมะเร็ง สูบบุหรี่ก็เป็นโรคปอด โรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น การใช้ที่ผิดพลาด ใช้กายใช้ใจไม่เป็น มันก็เป็นทุกข์เป็นโทษได้ เพราะฉะนั้น พวกอบายทั้งหลายเกิดอยู่ที่อยู่ที่ใจ ถ้าไม่หัดตนสอนตน หัดคิดให้ดี ๆ มีกรรมฐาน มีที่ตั้ง มีสติ วันนี้เป็นอุโบสถศีลเข้าอยู่อุโบสถ เวลาเข้าอยู่เข้าอยู่ในกรอบในพิมพ์ มันมีกรอบมีพิมพ์หล่อ พิมพ์ของกายพิมพ์ของใจ พิมพ์บุญ พิมพ์กุศล พิมพ์มรรคผลนิพพาน หัดให้อยู่ในพิมพ์ในแบบ จะออกจากแบบจากพิมพ์ เราสมาทานแล้ว ปาณาติปาตา อะทินนา อะพรัหมจะริยา มุสา สุรา นัจจคีต อุจจา 8 ข้อ เป็นแบบพิมพ์สำหรับกายใจ วันนี้ให้อยู่ในแบบในพิมพ์ให้ได้ หัดเข้าแบบเข้าพิมพ์ ไม่ใช่มานอนอยู่วัดเฉย ๆ ถ้ามานอนอยู่วัดเฉย ๆ มันก็ไม่มีประโยชน์ไร ที่มาอยู่วัดมันอาศัยปลีกวิเวก ออกจากลูกจากหลานมาเพื่อให้เป็นชีวิตส่วนตัว เพื่อปลีกวิเวก เมื่อมีวิเวกเกิดขึ้น กายวิเวกเกิดขึ้น ก็มีจิตวิเวก จิตก็อาจจะวิเวกขึ้นมาสอนจิตได้ เมื่อกายวิเวกได้รับวิเวก จิตได้รับความวิเวกไม่มีอะไรมาแบ่งปัน มันก็จะมีอุปธิวิเวกก็จะหมดความชั่วลงไปไม่มากก็น้อย งั้นจึงมีศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี มีวัดวาอาราม มีศาสนาพุทธแบบไทยๆ วัดแบบไทยๆ พระสงฆ์แบบไทยๆ ประเพณีของเราก็แบบไทยๆ เพื่อหล่อหลอมชีวิตของเรา ในเทศกาลเข้าพรรษานี้เอาให้เต็มที่ ให้มีสัจจะ มาเข้าแบบเข้าพิมพ์ทุกวันพระอย่าให้ขาด สมาทานศีล ประดับตกแต่งกายใจของตน เตรียมกายก่อนแต่ง เตรียมใจก่อนตาย เตรียมกายก่อนแต่ง เตรียมน้ำก่อนแล้ง โบราณท่านว่าเตรียมไว้ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ มีความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ต้องรับผิดชอบตัวเอง มีพระพุทธเจ้า ได้ชัยชนะอย่างนี้แล้ว เหมือนการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นมรรคเป็นผลเกิดขึ้น ชีวิตเรานี่เพื่อมรรคเพื่อผล มันมีรูป มีนาม มีกาย มีใจ ให้ต่อยอดเอาจากนี้ เอาไปต่อเอาความดี มีกันทุกคน กายก็มีทุกคน เช่น กายยกมือไหว้ ทำดีมันก็ทำได้ทุกคน ละความชั่วก็ละได้ มีใจก็คิดดี ๆ คิดถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ คิดถึงศีลของตน คิดถึงทานของตน เคยมีศีล พอคิดถึงได้ไหม เคยละความชั่วไปทำความดีไหม คิดถึงการที่เราเสียสละอะไรบ้าง อารมณ์เน่า เคยเสียสละเคยให้อภัย เคยไม่ถือสาหาเรื่องมีบ้างไหม อภัยอะไรมา เสียสละอะไรมา อารมณ์เน่า อะไรเกิดขึ้น จาคะออกไป เสียสละ ก็หัดใจให้มันดีง่ายไปสู่ความดี เอียงไปสู่ความดี มันก็คิดนะ ถ้าไม่มีอะไรคิดถึงมันก็จนนะ จนนะ จนใจ เวลาเจ็บก็เจ็บเลยไม่เคยมีสติ เวลาทุกข์ก็ทุกข์เลยไม่มีใครมีสติ ถ้าหัดเองเวลามันหลงก็รู้ เตรียมไว้อย่างนี้ เวลามันโกรธก็รู้สึกตัว เวลามันทุกข์ก็รู้สึกตัว ให้หัดจากนี้เตรียมไว้ มาร้ายเป็นดี มาผิดเป็นถูก ถ้าเราหัดในกายในใจเรานี้เป็นเครื่องมือ เวลามันโกรธไม่โกรธก็ได้ นี่หัดอย่างนี้ อย่าไปทำตามมันความโกรธ ไปทำตามความโกรธเสียผู้เสียคนใครเดือดร้อน เคยถูกความโกรธหลอก ไม่มีอะไรดีเลย เวลามันทุกข์ก็ทุกข์ นั่งเศร้าหน้าเหงาหงอยอยู่ ไม่เคยถอนตัวออกมา ไม่เคยช่วยตัวเอง ปล่อยตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษอยู่นั่น เพราะฉะนั้นเราจึงหัดเอาไว้ เตรียมกายก่อนแต่ง เหมือนเราจะแต่งหน้าแต่งตา ต้องอาบน้ำให้สะอาดถึงค่อยทาแป้ง ถ้าไปทาไม่ได้อาบน้ำ มันก็ไม่สวยไม่งาม เตรียมใจก่อนตาย เวลาจะตายตายเป็นไหม เวลาจะเจ็บเจ็บยังไง เราถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า จำนนเหรอ ยอมเหรอ ศาสนานี้ต้องเป็นมรรคเป็นผล ถ้าไม่มีมรรคมีผลไม่ต้องถือศาสนาพุทธก็ได้ มันอยู่ที่เรานี่ เวลามันโกรธไม่โกรธเอาอย่างนี้ เวลามันทุกข์ไม่ทุกข์เนี่ย เวลามันหลงไม่หลงเนี่ย มันอยู่ที่เราเนี่ยต้องเป็นปัจจัตตังของเรา ปฏิบัติเอง ทำเอาเอง ช่วยกันไม่ได้ ไม่มีใครช่วยเราได้ ตัวใครตัวมันจริงๆ นี่วัดป่ามหาวันนี่สุดยอดแล้ว แม่ชีก็อยู่ที่นี่ ดูสิแม่ชีหนุ่มๆสาวๆ พระก็มีพระหนุ่มๆ ตั้งใจที่จะมาศึกษาเรื่องนี้ เป็นหมู่เป็นมิตรกันไม่เปลี่ยวเดียวดาย ไม่เข้าใจสิ่งไหนถามท่าน อาจารย์ตุ้มนี่ก็มีความจัดเจนในเรื่องการปฏิบัติมา ไม่พาหลงทิศหลงทางแน่นอน คอยคิดถึงว่าเออเรามีกัลยาณมิตร ญาติโยมนอนอยู่บ้าน พวกเราอยู่ในป่ากำลังทำความดีอยู่ คิดถึงความดี ไม่ใช่เราอยู่คนเดียว สิ่งที่เราทุกข์คนอื่นเค้าไม่ทุกข์ก็มี สิ่งที่เราโกรธคนอื่นเค้าไม่โกรธก็มี สิ่งที่เราหลงคนอื่นเค้าไม่หลงก็มี อย่าไปหลงคนเดียว ไปทุกข์คนเดียว หัดตนสอนตนอย่างนี้ อย่าไปคิดแบบลงโทษตั