แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
หลวงตาจะพูดให้ฟัง ตั้งใจฟังนะ หลวงตาคอยตั้งใจพูด ฟังแล้วอย่าไปจำเอา ให้เอาไปทำดู พูดให้ทำ ไม่ใช่พูดให้จำ สิ่งที่เราทำอยู่นี้คือกรรมฐาน กรรมฐานไม่ต้องใช้สมองเหตุผล กระทำลงไปเลย เอากายทำ เอาใจทำ มีสติ เอากายไปต่อ เอาจิตใจไปต่อ เอาสติ ให้สติอยู่กับกายให้สติอยู่กับใจ วิธีใดที่มันจะรู้กาย หาเรื่องที่ให้มันรู้ วิธีใดที่มันจะรู้ใจเวลามันหลงมันคิดให้รู้ อย่าปล่อยให้มันหลง มันคิด มันสุข มันทุกข์ฟรี ๆ กายมันมีสุข กายมีทุกข์ ใจก็มีสุข ใจก็มีทุกข์ อย่าให้สุขเป็นสุข อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ ให้เป็นความรู้สึกตัว หัดให้เป็น อะไรที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ หัดให้เป็น มันหลงก็รู้ ไม่ใช่หลงเป็นหลง มันผิดก็รู้ ไม่ใช่ผิดเป็นผิด มันถูกก็รู้ ไม่ใช่ถูกเป็นถูก มีแต่ความรู้ เข้าไปดูไปเห็น จนมันชำนิชำนาญ แต่ว่าที่รู้เนี่ย ไม่เข้าไปเป็น มีแต่เห็นเนี่ย เป็นกระแสแห่งมรรคผลนิพพานนะ เหมือนกับเราเดินทาง มันต้องเห็นกระแสเห็นทิศทาง มันจึงจะไปถูก พระพุทธเจ้าสอน ให้อยู่โดยชอบ ญาติโยม ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เมื่อพวกเธออยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ อยู่โดยชอบคืออยู่ยังไง คืออยู่แบบมีสติทุกเมื่อ เมื่อมีสติทุกเมื่อ มัจจุราช เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามไม่ทัน อยู่โดยชอบอยู่แบบไหน เห็นกายสักว่ากาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อย่าให้กายเป็นตัวเป็นตน อะไรที่เกิดจากกาย ความร้อน ความหนาว ความหิว ความปวด ความเมื่อย สุข ๆ ทุกข์ ๆ ที่เกิดกับกายนั้น สักว่ากาย ไม่ใช่ตน ร้อนคือเรา หนาวคือเรา หิวคือเรา ปวดคือเรา ไม่ได้อยู่โดยชอบ ถ้าอยู่โดยชอบ เห็นอย่าเป็น เป็นผู้เห็น อย่าเป็นผู้เป็น เป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้อยู่ เราเคยอยู่มา มันสุขก็อยู่กับความสุข มันทุกข์ ก็อยู่กับความทุกข์ เหมือนที่เราเห็น เราดู สุขก็ดูเห็นความสุข ทุกข์ก็ดูเห็นความทุกข์ เมื่อเห็นก็ไม่เข้าไปเป็น กับสุข กับทุกข์นั้น เรียกว่าสติ เป็นกระแสแห่งพระนิพพาน เดินไปตรงนี้ ได้เห็นไม่เป็นเนี่ย มันก็ง่าย ถ้าเป็นหละมันยาก เหมือนกับทางรกทางตัน มันสุข เป็นผู้สุขมันตัน เป็นทางตัน เป็นทางสุดโต่ง เหมือนกับขึ้นหน้าผา ชนหน้าผา มันขึ้นไม่ได้ ถ้าเป็นทางอ่อนแอ เป็นทางที่ไปไม่ถึง เช่นสุข เป็นสุข ก็เรียกว่าทางตันเอก ภาษาพระพุทธเจ้าก็ “กามสุขัลลิกานุโยค” สุขให้เป็นสุข ทุกข์ให้เป็นทุกข์ อ่อนแอเกินไป ไปไม่ถึงไหน ถ้าเห็นมันหละมันเข้มแข็ง เรียกว่าเป็น “มัชฌิมาปฏิปทา” เป็นการที่เป็นกลาง ดูนี่มันเป็นกลาง เห็นมันเป็นกลาง ดูมันเห็น เห็นแล้วไม่เป็นเนี่ย มันเป็นกลาง ไม่บวก ไม่ลบ อยู่ตรงกลาง ถ้าเป็นหละไม่ได้กลาง ถ้าเป็นสุขก็บวก ถ้าเป็นทุกข์ก็ลบ เป็นอารมณ์ของจิตใจ ไม่ใช่ใจ ภาษาพระพุทธเจ้าสอน ให้ถอนความพอใจ ให้ถอนของไม่พอใจออกมา มีสติความพอใจ ความไม่พอใจเป็นรสของโลก โลกมันเป็นรสชาติแบบนั้น สุขก็เป็นรสของโลก ทุกข์ก็เป็นรสของโลก อยู่เหนือโลกต้องเห็นอย่าเป็น ถ้าทำเป็น ถ้าอยู่เป็น ก็ได้บรรลุธรรมได้ง่าย ถ้าอยู่ไม่เป็นก็บรรลุธรรมได้ยาก ไม่เป็นอะไรกับอะไรเนี่ย เรียกว่าอยู่โดยชอบ อะไรเกิดขึ้นกับกายกับใจ ไม่เข้าไปเป็น มีแต่เห็น แต่ถ้าจะเข้าถึงภาวะที่เห็นต้องมีภาวะที่ดู หัดให้เป็นก่อน เหมือนเราลืมตา มันถึงจะเห็น มีตามันถีงจะเห็น ความรู้สึกตัวนี้เป็นตาภายใน ต้องมีเสียก่อน ต้องเรียนรู้เสียก่อน หัดดูไปก่อน หัดดูทีแรก ก็ดูกายเนี่ย ให้เห็นกาย ให้เห็นแล้วก็อย่าเป็นเนี่ย เห็นสุข เห็นทุกข์ด้วย เห็นเวทนา อย่าให้สุขเป็นสุข อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ เรียกว่าเห็น สุขทุกข์ไม่ใช่ตัวใช่ตน สักแต่ว่าเฉยๆ เห็นจิตที่มันคิด อย่าหลงไปกับความคิด คิดอะไรก็หลงไปกับความคิด ความคิดพาให้สุข ความคิดพาให้ทุกข์ ไม่ใช่ ให้เห็น สักแต่ว่า มันคิด ไม่ได้ตั้งใจมันคิดขึ้นมา อย่าให้มันหอบหิ้วเราไป คิดสิ่งไหนก็เป็นไปตามความคิด คิดสุขก็สุข คิดทุกข์ก็ทุกข์ ไม่ใช่ ให้เห็น นี่เรียกว่ากระแสแห่งพระนิพพาน เห็นธรรม สิ่งที่มาครอบงำจิต มันมีอะไรหลายอย่าง ความง่วงเหงาหาวนอน ความลังเลสงสัย ความคิดฟุ้งซ่าน หาเหตุหาผล เอาความชอบ เอาความไม่ชอบของตัวเองตัดสิน เอาจริตนิสัยของตัวเอง ความเห็นของเราที่เกิดจากนิสัยเรียกว่าจริตนิสัย ไม่ใช่เป็นของที่ถูกต้องเสมอไป นิสัยต้องหัดจากพระพุทธเจ้า ได้แต่คิด ก็ฉันคิดถึงพุทธานุสติ บุคคลตัวอย่างคือพระพุทธเจ้า พระองค์ทำยังไงจึงเป็นพระพุทธเจ้า มีอยู่ในโลก ทำยังไงถึงทำให้เกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา แล้วก็มาจับรอย ในวันเพ็ญเดือนหก ก่อนปรินิพพาน ๔๕ ปีนั่นนะ พระองค์ทำอะไร การคู้แขนเข้า การคู้แขนเข้า การเหยียดแขนออก มีสติ ทำตรงนี้ ก็เดินจงกรม มีสติ ไม่ใช่ไปอ่านตำรับตำราที่ไหน ไม่ต้องไปใช้หัวคิดเหตุผล ความรู้ เอาการกระทำ การคู้แขนเข้ามีความรู้สึกตัว การเหยียดแขนออก มีความรู้สึกตัว เมื่อมันหลงไปทางอื่นก็มาอยู่นี่ อยู่ที่ตั้ง เรียกว่าฐาน มีฐานที่ตั้ง มีการกระทำให้รู้อยู่บ่อยๆ เรียกว่ากรรม กรรมฐานที่ตั้งแห่งการกระทำ มันศักดิ์สิทธิ์ การกระทำแบบนี้มันศักดิ์สิทธิ์ มันสุขก็รู้ได้ทุกคน มันทุกข์ก็รู้ทำได้ทุกคน เป็นสากล มันพอใจ มันไม่พอใจ รู้ได้ทุกคน อย่าให้ความพอใจ ความไม่พอใจ เป็นความพอใจ เป็นความไม่พอใจ มาเป็นความรู้ ทำได้ทุกคนหัดให้เป็น การหัดให้เป็นอย่างนี้เราต้องสอนตัวเรา ไม่มีใครสอนเราได้ การสอนให้รู้มีทั่วไป ท่านทั้งหลายมีความรู้กันทุกคนแล้ว รู้ดีรู้ชั่วมาแล้ว อะไรที่มันไม่ดีรู้ อะไรที่มันดีก็รู้ เกิดความไม่ดี มีความรู้ แต่ทำไม่เป็นมันก็ยังไม่มีประโยชน์ เรื่องความโกรธไม่ดี เรายังโกรธอยู่ รู้ว่าความทุกข์ไม่ดี เรายังทุกข์อยู่ หัดรู้ ไม่ต้องไปเอาความรู้มาขวางกั้น ให้หัดลงไป อารมณ์มาครอบงำจิต มันชี้โพรง ง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้น ไม่ใช่จิต ความโกรธไม่ใช่จิต ความสุขไม่ใช่จิต ความทุกข์ไม่ใช่จิต ความรักความชังไม่ใช่จิต มันเป็นอารมณ์ เราต้อนรับมันมา มันเคยจรมาพักที่จิตของเรา บางคนโดยจริตนิสัย ราคะจริต ปรุงแต่ง โทสะจริต ร้ายกาจ อะไรก็เอาความโกรธออกหน้า โมหะจริต หลง เอาความหลงออกหน้า ไม่หลงก็ซื้อหาความหลงมาให้ กินเหล้าเมายา เที่ยวเตร่เร่ร่อน หาสิ่งที่ย้อมใจให้หลง ให้กล้า กินเหล้ามันก็หน้าด้าน ไม่อาย ก็ชอบความหลง ไม่ใช่จริต ไม่ใช่จิตใจของเรา อันนั้นมันเป็นโมหะจริต เราจึงมาฝึกหัดใหม่ หัดนิสัยใหม่ มีสติเป็นเจ้าของกาย มีสติเป็นเจ้าของจิตใจ จิตใจมีเจ้าของ กายมีเจ้าของ มันก็ไม่เถื่อน การปฏิบัติธรรมคือมีเจ้าของดูแล ดูแลกายดูแลใจที่มีสตินั่นแหละ สติเป็นจ้าของดูแลกาย ดูแลใจ ซึ่งใจนี้จะปล่อยมันคิดได้ทุกอย่าง อาจจะไม่ถูกต้อง บางทีความคิดไม่ได้ตั้งใจ มันคิดขึ้นมาเอง อย่างนั้นสอนมัน ความคิดตั้งใจ มีไม่มาก แต่เวลาเรามาฝึกกรรมฐาน ไม่ควรตั้งใจคิดเรื่องใด เอาไว้ก่อน เจ็ดวันนี้ให้มีสติอย่างเดียว งานอื่นเอาไว้ก่อน วิธีไหนที่จะมีสติอยู่กับกาย ไม่หาเรื่อง ให้หาการประกอบขึ้นให้ได้ วิธีไหนที่มีสติอยู่กับจิตใจ หาโอกาสให้ได้ อย่าปล่อยให้มันหลงฟรี ๆ มันทุกข์ฟรี ๆ มันสุขฟรี ๆ ให้มันสุขเป็นสุข ให้มันทุกข์เป็นทุกข์ มันก็ไม่ได้สอนมัน
มันคิดไปไหนก็คิดได้ ไม่ใช่สอนมัน มันก็รู้มัน ถ้ามันหลงก็รู้ ถ้ามันสุขมันทุกข์ก็รู้ ถ้ามันคิดไปก็รู้ มันไม่ไปได้ ความรู้สึกตัวนะมัน ถ้ามีอยู่ในความคิดมันก็ไปไม่ได้ มันอาย มันโกรธก็โกรธไม่ได้ เพราะมีสติมันอาย ถ้าขืนโกรธก็เป็นการข่มขืน มันทำไม่ลง ไม่ถูกต้อง ความหลงไม่ถูกต้อง ความโกรธไม่ถูกต้อง ความทุกข์ไม่ถูกต้อง ความรู้สึกตัวมันถูกต้องกว่า สัมผัสดูแล้ว หนึ่งวันแล้ว สองวันแล้ว สามวันแล้ว ถ้าการสัมผัสที่มันเป็นยังไง ผู้ที่สัมผัสต่อตัวเอง ไม่ต้องไปถามใคร ระหว่างมันหลง ระหว่างมันรู้ อะไรมันถูกต้อง อะไรมันเป็นธรรม นี่คือของจริง ไม่ต้องไปเชื่อใครไม่มีคำถามดอก สัจธรรมนะ มีแต่คำตอบ เราต้องตอบตัวเอง ให้คนอื่นตอบให้ไม่ถูก ในชีวิตเราทั้งหมดเนี่ย สิ่งที่มีปัญหาเกิดกับกาย สิ่งที่มีปัญหาเกิดกับใจ เราจึงสอนมัน การสอนตัวเอง มันประสบการณ์ ไม่ใช่คิดหา มันเกิดขึ้นก็เห็นมันเนี่ย มันเป็นประสบการณ์ที่ดี บทเรียนที่ดี เปลี่ยนหลงเป็นรู้เนี่ย ประสบการณ์ที่ดี เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้เนี่ย ประสบการณ์ที่ดี อะไรเปลี่ยนมาเป็นรู้เนี่ย ประสบการณ์ที่ดี ทีแรกก็เปลี่ยน หมายความว่ามันคิดไปโน่น เรารู้สึกตัวมันก็ดึงคืนมา ต่อไปมันไม่ได้เป็นแบบนั้น มันจะเป็นไปเอง มันจะเป็น ทำให้มันเป็น ไม่ใช่ทำให้มันรู้ เมื่อมันเป็นมันก็ไม่ต้องเรียนรู้ มันเป็นแล้ว เวลามันหลง มันก็รู้อยู่นั่น ไม่ต้องมาพลิกมือก็ได้ เวลามันทุกข์มันก็รู้อยู่ เวลามันโกรธมันก็รู้อยู่ อะไรที่มันเกิดปัญหากับกายใจรู้ทั้งหมด รู้รอบ มีสติเป็นหน้ารอบ ไม่ใช่สติเหมือนแสงไฟฉาย สติเป็นหน้ารอบเหมือนแสงนีออน ผู้มีสติเป็นหน้ารอบ เหมือนพระขีณาสพ ผู้มีสติเป็นวินัย พระขีณาสพ คือ พระอรหันต์ มีสติเป็นหน้ารอบ คือพระอรหันต์ ใครก็ตามถ้ามีสติเป็นหน้ารอบ ถือว่าอรหันต์ได้ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น อุชุ กายัง ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา ผู้มีสติเป็นหน้ารอบ เหมือนพระขีณาสพ ผู้มีสติเป็นวินัย มันก็ครบทั้งหมดแหละ มีสติเพื่อละความชั่วแล้ว มีสติเพื่อทำความดีแล้ว มีสติจิตก็บริสุทธิ์แล้ว ไม่ใช่จะไปอดไปกลั้น ไม่ได้อดทน โทสะอดเอาไว้ทนเอาไว้ ไม่ใช่ไปอดเลย เพราะมันไม่ถูกต้อง ขนหัวลุก จะโกรธลองดูก็ไม่ได้มันข่มขืนทำไม่ลง เพราะมีสติ จึงไม่ต้องไปอดไปทน มันก็หลีกไป หลีกไป หลีกไป หลีกไป มันก็เหนือการเกิดแก่เจ็บตายได้ เพราะมันเห็นตั้งแต่กายสักว่ากาย เวทนาสักว่าเวทนา จิตสักว่าจิต ธรรมสักว่าธรรม แยกกันแล้วคนละทางแล้ว ก็จะเห็นที่สุดก็โน่นแหละ เหนือการเกิดแก่เจ็บตายโน่น พระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ ใครเขาก็มีปัญหาอย่างนี้ หัวอกเดียวกัน ไม่ใช่ใครที่ไหน ถ้าพูดถึงสภาวธรรมเหมือนกัน จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นนักบวช เป็นฆราวาส เพศใด วัยใด เหมือนกันหมด สติอยู่กับเราทุกวันนี้ กับสติที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ๒๕๙๘ ปีอันเดียวกัน ไม่ใช่คนละอย่าง ความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็อย่างเดียวกัน แต่โกรธ แต่โลภ แต่หลง คนละวาระ ความสุข ความทุกข์ ก็อันเดียวกัน แต่คนละวาระ ความสุขของเรา อาจจะเป็นความทุกข์ของคนอื่น เช่นสูบบุหรี่ เรามีความสุขแต่คนอื่นเขาเหม็น ไปดื่มเหล้าเรามีความสุข ไปนั่งอยู่กับคนไม่ดื่มเหล้าเขาก็เหม็น ไอ้นั่นความสุขของเราอาจจะเป็นความทุกข์ของคนอื่น มันเป็นสมมุติบัญญัติเอา ไม่ใช่เป็นปรมัตถ์สัจจะ ความโกรธเป็นสมมุติบัญญัติ ความสุข ความทุกข์ เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์สัจจะ บัญญัติเอาเอง การบัญญัตินี่ต่างกัน ถ้าเป็นปรมัตถ์อันเดียวกัน ความไม่โกรธอันเดียวกัน ความไม่ทุกข์อันเดียวกัน ความไม่โกรธเป็นปรมัตถ์ ความโกรธเป็นสมมุติ ความทุกข์เป็นสมมุติ ความไม่ทุกข์เป็นปรมัตถ์สิ่งที่เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นสมมุติขึ้นมา ล้นโลก แล้วแต่ใครจะบัญญัติเอา ต่างกันไป คนหนึ่งสมมุติจะชอบก็ได้ คนหนึ่งสมมุติไม่ชอบก็ได้
มันเป็นสมมุติบัญญัติ ปรมัตถ์สัจจะมันเป็นอันเดียว มันเหนือสมมุติ เช่น กินข้าวอิ่มนี่ อธิบายยังไง คำว่าอิ่ม เป็นปรมัตถ์มันอธิบายไม่ได้ อธิบายความอิ่มให้ฟังดู แม่ชีน้อย อิ่มมันเป็นยังไง อิ่มเป็นยังไงอธิบายได้ไหม ถ้าเราอิ่มเราจะมีคำอธิบายไหม ต้องไปอิ่มเอาเอง คนที่อิ่มนะรู้จักเอาเองว่ามันเป็นยังไง นั่นคือปรมัตถ์ เช่นอธิบายความเค็มของเกลือนี่มันเป็นยังไง ความเค็มนะ อธิบายไม่ได้ ถ้าคนไหนได้ไปชิมเอาแล้วจึงจะรู้ว่าโอ้มันเป็นอย่างนี้ ความไม่ทุกข์เป็นอย่างนี้ ความทุกข์เป็นอย่างนี้ อธิบายให้ตัวเองฟัง ตอบได้ เฉลยได้ สิ่งที่เคยหลงไม่หลง ทางเก่า พ้นภาวะเก่า สิ่งที่เคยเป็นทุกข์ไม่ทุกข์ พ้นภาวะเก่า เคยโกรธไม่โกรธ พ้นภาวะเก่า เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเป็นจิตใจก็จิตใจสูง ถ้าเป็นความสะอาดก็สะอาดกว่าเก่า ล่วงพ้นภาวะเดิม เรียกว่าวิปัสสนา มันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ เขาวัดกันด้วยธรรม ใจของพระเป็นปกติอย่างนี้ ถ้าเป็นบ้าน ก็บ้านของใจคือปกติแบบนี้ เขานินทาก็เป็นอย่างนี้ เขาสรรเสริญก็เป็นอย่างนี้ การได้มาก็เป็นอย่างนี้ การเสียไปก็เป็นอย่างนี้ ถ้าใจของปุถุชน เขานินทาก็แฟบลง เขาสรรเสริญก็ฟูขึ้น ถ้าใครเป็นอย่างนี้ก็ปุถุชนเต็มที่ฟูขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ปุถุชนเต็มที่แฟบลงร้อยเปอร์เซ็นต์ ร้องไห้ ปุถุชนเต็มที่ฟูขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ หัวเราะ ปุถุชนเต็มที่ ของพระนี่เขาจะเป็นอย่างนี้ บ้านของจิตเป็นอย่างนี้ ไม่หวั่นไหว ภูเขาศิลาแท่งทึบไม่สะเทือนเพราะลมฉันใด บัญฑิตผู้ฝึกตนดีแล้ว ไม่สะเทือนเพราะนินทา สรรเสริญฉันนั้น เขาวัดกันตรงนี้ ไม่เอานุ่งผ้าเหลือง ห่มผ้าขาว หัวโล้น โกนผม เขาเอาน้ำใจเนี่ย สมัยก่อนพระพุทธเจ้าจะเรียกอุบาสกว่าเป็นพระอริยบุคคล อุบาสิกา ก็เรียกว่าพระอริยบุคคล เพราะมันมีใจแบบนี้ อย่างพระอัญญาโกณฑัญญะเนี่ย เป็นพระตั้งแต่ยังไม่บวชนะ เป็นฤาษีปัญจวัคคีย์ ๕ รูปนะ พระพุทธเจ้าสอนในคำเทศนากัณฑ์แรก วันเพ็ญเดือนแปดนั่นนะ เรื่องนี้ เรื่องทางเนี่ย ทางมันเป็นยังไง มันเป็นกลาง ๆ ถ้าเห็นนะไม่เป็น นี่เป็นทาง ผ่านได้ ถ้าเป็นนะไม่ผ่านนะ ตันแล้ว เป็นสุขก็ตันแล้ว เป็นทุกข์ก็ตันแล้ว ทางมันเป็นกลางมันเห็นนะเนี่ย อัญญาโกณฑัญญะ ฟังไป ๆ อะไรไม่เที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข ทุกคนตอบได้ว่าเป็นทุกข์ เราเคยมีความทุกข์กับความไม่เที่ยง มีไหม พลัดพรากจากของรักของชอบใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ นั่นนะความไม่เที่ยง เราเคยเป็นทุกข์ ความไม่เที่ยง อัญญาโกณฑัญญะ พูดต่อเลย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งไหนเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน สิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัว ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา บางคนถือเอาความทุกข์ว่าเป็นตัวเรา มีไหม มีไหม ถ้ากูได้โกรธ ตายกูก็ไม่ลืม มีไหม ถ้ากูได้โกรธ กูไม่ได้ด่ามันกูไม่ยอม มีไหม นึกว่าเราซะ ไม่ใช่ อัญญาโกณฑัญญะ รู้ไป ๆ อ๋อ เห็นไป ๆ จิตใจก็วางลง วางลง เปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงไป พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรม มองหน้าก็รู้นะ เหมือนกัน วิปัสสนาก็ถึงบางอ้อ อื้อๆ เรื่องไม่เที่ยงก็ อื้อ เป็นเช่นนั้นเอง ผู้ใดเป็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม เราสวดพระสูตรเมื่อกี้นี้ มันเนื่องด้วยกัน เพราะอย่างนี้มีอย่างนี้จึงมี เพราะมันหลง มันจึงมีความสุขความทุกข์ ถ้าไม่หลงในความสุขความทุกข์ก็มี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี อืมมมม อัญญาโกณฑัญญะอืมมม พระพุทธเจ้าก็เทศน์ไป อื่อ อื้อ หลายอื้อ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า “อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญ” เธอรู้แล้วเหรออัญญา รู้แล้ว รู้แล้ว คำว่ารู้แล้วนี่ อัญญา อัญญา คือรู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว ความหลงรู้แล้ว รู้แล้วความทุกข์รู้แล้ว คำว่ารู้แล้วมันก็ แจ้งแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว แจ้งแล้ว ไม่มืดแล้ว “อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญญโญ” อัญญารู้แล้วหนอ อัญญารู้แล้วหนอ รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว พอรู้ขึ้นมาขอบวช จึงบวชให้ ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติธรรมนั้นเถิด หมายถึงพระอรหันต์ก่อนยังไม่ได้บวชนั้น ธรรมวินัยเรากล่าวไว้ดีแล้ว ถ้าผู้ใดยังเป็นปุถุชนอยู่ ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยเราตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติธรรมให้เป็นที่สิ้นทุกข์เถิด อัญญาโกณฑัญญะไม่มีคำว่าให้สิ้นทุกข์เถิด หมดทุกข์แล้วตั้งแต่ยังไม่บวชเลย ท่านจงเป็นผู้ประพฤติธรรมนั้นเถิด อันนี้มันต่างกันนะ เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
การบวชสมัยก่อน เป็นอยู่ยังไม่ได้บวชเลย ใจมันเปลี่ยนแปลงไป จากหลงเป็นรู้ จากทุกข์เป็นรู้ จากโกรธเป็นรู้ เปลี่ยนคว่ำให้มันเปิดออกมาหงายขึ้น เปลี่ยนที่มันปิด เปิดออกมาให้หงายขึ้น เปลี่ยนร้ายเป็นดี ปฏิก็คือเปลี่ยน เราจึงหัดเปลี่ยนไป มันหลงรู้ มันสุขรู้ เปลี่ยนมันทุกอย่างให้เป็นความรู้ทั้งหมด มันจะไปไหน มันจบเป็นนะ อาจจะมีความหลงเป็นครั้งสุดท้ายนะ อาจจะมีความทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย อาจจะมีความโกรธเป็นครั้งสุดท้ายได้ ศักดิ์สิทธิ์แบบนี้นะ ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์เหมือน เหาะเหินเดินฟ้า อันนั่นเราไม่เกี่ยวนะ ไม่ได้สอนแบบนั้น ศักดิ์สิทธิ์ที่มันเคยหลง ไม่หลง มันเคยโกรธไม่โกรธ มันเคยทุกข์ไม่ทุกข์นะ รู้จักกาย รู้จักใจ อารมณ์ไม่ใช่จิตใจ ขอบคุณกาย กายไม่มีอาการ ความร้อนเป็นอาการของกาย ขอบคุณความร้อน ถ้ากายถ้ารูปไม่มีความร้อนมันก็อยู่ไม่ได้ กายมันหิว ขอบคุณความหิวที่มันเกิดกับกาย มันเป็นความถูกต้องสุด แต่เราไม่รู้ ไปเอาความหิวเป็นทุกข์ ไปเอาความร้อนเป็นทุกข์ เอาความหนาวเป็นทุกข์ ไม่ถูกต้อง เรียกว่าเห็นแจ้งตามความเป็นจริง อะไรก็ไม่เป็นทุกข์ทั้งหมด พอใจ ไม่พอใจ การปวด ถ้าเมื่อยหน่อย นั่งยกมือไปนาน ๆ ปวด โอ๊ยเราปวด ไม่ใช่ เห็นมันปวด ไม่ใช่เป็นผู้ปวด เห็นมันสุข ไม่ใช่เป็นผู้สุข เห็นมันทุกข์ไม่ใช่เป็นผู้ทุกข์ เห็นมันๆ มันก็จะเห็นไปตลอด เห็นมันเจ็บ ไม่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันเจ็บ ไม่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันตาย ไม่เป็นผู้ตาย จะไม่เจ็บ เพราะความเจ็บ จะไม่ตายเพราะว่ามันตาย มันจะเปลี่ยนไปขนาดนั้น ปฏิบัติธรรมนะ ไม่ใช่เรามาทำเป็นพิธีรีตองนะ มันคิดยังไงพิสูจน์ลองดู พระพุทธเจ้าบอกว่า ผู้ใดเจริญสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง หนึ่งรู้ สองรู้ สามรู้ สี่รู้ ห้ารู้ หกรู้ เจ็ดรู้ แปดรู้ เก้ารู้ สิบรู้ สิบเอ็ดรู้ สิบสองรู้ สิบสามรู้ สิบสี่รู้ สิบห้ารู้ สิบหกรู้ สิบเจ็ดรู้ สิบแปดรู้ สิบเก้ารู้ ยี่สิบรู้ ยี่สิบเอ็ดรู้ ยี่สิบสองรู้ ยี่สิบสามรู้ ยี่สิบสี่รู้ ยี่สิบห้ารู้ ยี่สิบหกรู้ ยี่สิบเจ็ดรู้ ยี่สิบแปดรู้ ยี่สิบแปดวินาที ได้ยี่สิบแปดรู้แล้ว มันจะมีมากขึ้นจริง ๆ นะ จะทำไงใครจะพิสูจน์เรื่องนี้ ขอให้สุคะโตเป็นสนามฝึก ดูแลกันได้ไหม หาอาหารให้กันกินได้ไหม หลวงตาจะไปอบรมนักบวชเวียดนามพรุ่งนี้ ร้อยหกสิบคนมาจากเวียดนาม เวียดนามเขาไม่ให้นักบวชอยู่ ให้ใครจะอยู่วัดต้องเป็นโยม ต้องสึกไปก่อน นี่พวกนี้ก็เลยมา เป็นภิกษุณีบ้าง เป็นพระบ้าง มาอยู่ที่เขาใหญ่ หลวงตาจะไปสอนพวกนี้พรุ่งนี้ จะออกจากวัดประมาณตีสามครึ่งนะ เนี่ยให้ความเป็นมนุษย์ของเรานะ มันเป็นความมนุษย์ของเรา มีการเกิดแก่เจ็บด้วยกัน ทำไมจะต้องเบียดเบียนกัน วิธีใดที่เราจะต้องมาช่วยกันนะ ถ้าหลวงตาชวนเขามาจะให้มาอยู่ไหม ให้อาจารย์ทรงศีลสอนนะ อยู่ไหม มาร้อยหกสิบคนนะ เอามาสักสิบคนได้ไหม เนี่ย ก็นั่นเนี่ยนะ มันเป็นไปได้นะ เรามาเริ่มต้นจากเราเนี่ย เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันเนี่ย ชีวิตของเรา ไม่มีใครยกเว้นนะ มาช่วยกันเถอะพวกเรา ไปอิจฉาเบียดเบียนกันทำไม ใครโกรธ ใครเคือง หยุดซะ ให้เกิดมิตรภาพขึ้นมา เมตตาสงสารกัน ยิ่งพวกเราเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยิ่งดีใหญ่ หลวงตารอดมาได้ก็เพราะพวกนี้ เป็นโรคมะเร็ง ตายไปแล้วคืนมา ยิ่งไปทำหน้าที่ช่วยกัน โอย ดีมากเลย ทำโน่นทำนี่ช่วยกัน อย่าไปอิจฉาเบียดเบียนกัน อย่าเบียดเบียนตนเอง อย่าเบียดเบียนคนอื่น เด็ดขาดที่สุด หนึ่งเราไม่เบียดเบียนตัวเอง สองไม่เบียดเบียนคนอื่น พอแล้วเท่านี้ก็พอแล้ว ง่าย ๆ เท่านี้ สันติสุขเกิดขึ้นเลย ในโลกนี้ แล้วจะใครหละ ตั้งต้นจากไหน คนนั้นหรือ คนนี้หรือ ชี้ให้ดูซิ เราต้องเป็นหนึ่งก่อน จะไม่เบียดเบียนใครในโลกนี้ ทำได้เดี๋ยวนี้ ก็สงบเดี๋ยวนี้ คนไทยหกสิบกว่าล้านคนจบทันทีเลย คนในโลกนี้ หกพันกว่าล้านคนจบทันทีเลย ถ้าเรานับหนึ่งจากตัวเรา เนี่ยมันทำได้อย่างนี้ ปฏิบัติได้ ให้ผลได้นะ