แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เราก็มีโอกาสพบกันตอนเช้า ตอนเย็น อาศัยการทำวัตรสวดมนต์ ด้วยพระ ได้เป็นมาแล้วตั้งแต่สมัยครั้งพระพุทธเจ้า พระพุทธกาล ตีสามตีสองพระพุทธเจ้าจะมองดูสัตว์โลก ว่าผู้ใดอยู่ในตาข่ายที่จะฟังธรรม จ้องมองเพื่อที่จะไปช่วย ตีสี่ ประชุมสงฆ์ ทำวัตร สวดมนต์ สอนพระสอนสงฆ์ ตีห้าวางแผนงานจะไปทางใหนโปรดใคร หกโมงเช้าออกบิณฑบาตร บิณฑบาตรก็คือโปรดสัตว์ไปช่วยคน ได้เป็นมาแล้ว พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ ถ้าเป็นที่เราจะมองเห็นทิศทางเอามาสอนตนเตือนตน เช่นเราหลงผู้ไม่หลงก็มี เราทุกข์ผู้ไม่ทุกข์ก็มี เราโกรธผู้ไม่โกรธก็มีอย่าไปเป็นส่วนตัว มองเผื่อหน้าเผื่อหลังเอาอย่าง แล้วก็มีพระธรรมคำสอนในโลกนำมาใช้กับชีวิตเรา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นไปเพื่อความออกจากทุกข์ เวลาเราทุกข์มันก็มีสิ่งที่ออกจากทุกข์เป็นไปเพื่อความสงบเป็นไปเพื่อปรินิพพานนี่คือพระธรรม ไพเราะเบื้องต้น ไพเราะท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด อย่าทอดทิ้งหน้าที่ธุระของเรา ในเรื่องนี้ เอาใจใส่มีความเพียร มีสติ เอามาปรารภเอามาประกอบ เพื่อยังกุศลที่อื่น ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเพื่อละอกุศลอื่น ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีก ถ้าเรามีความเพียรพยายาม ความสำเร็จก็มีอยู่ที่นั่น ยิ่งมันมีสติมันก็รู้จักใช้ทันที ต่อหน้าต่อตา มีสติสัมปชัญญะถอนความพอใจและความไม่พอใจออกได้ มันก็เห็นอยู่ มันก็เกิดขึ้นอยู่ทำให้เรามีการกระทำในที่มันขณะที่มันเกิดขึ้น ซึ่งเรามามีความเพียรมาศึกษา มาปฏิบัติ มาหัดมันก็เห็น เห็นความหลง เห็นความรู้ ภาษาที่เราคุ้นเคยก็คือ รู้สึกตัว ระลึกได้อยู่ว่าเวลานี้เรากำลังยกมือสร้างจังหวะ กำลังเดินจงกลม รู้สึกระลึกได้อยู่ สิ่งที่มันไม่ใช่ความรู้ระลึกได้มันเกิดขึ้น เกิดขี้นมาแซงหน้าแซงหลัง เราก็มีสัมปชัญญะ รู้ว่ามันหลงไปแล้ว เมื่อรู้ว่ามันหลงก็ถอนออกมาหาความรู้ ตอนเนี่ย ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกมาเป็นผู้ดู เป็นผู้เห็น มันก็เป็นคนละอันกัน อย่าทอดทิ้ง อย่าวางธุระตรงนี้ ถ้ามีธุระ “คันถธุระ”จะต้องขอให้เอาใจใส่สักหน่อย “วิปัสสนาธุระ” สร้างความหลงให้เป็นความรู้ สร้างความผิดให้เป็นความถูก เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ” ให้มันพ้นไปบ้าง มันหลงพ้นจากความหลงได้บ้าง มันทุกข์พ้นจากความทุกข์ได้บ้าง นี่เป็น ”วิปัสสนาธุระ” วิปัสสนาคือพ้นภาวะเก่า ภาวะเดิมหัดตรงนี้ให้เป็นไม่ใช่เรียนรู้ฝึกหัดให้มันเป็น ทำให้เป็น เวลามันหลงให้รู้สึกตัวให้เป็น อะไรที่ไม่เกี่ยวความรู้ เอาความรู้สึกตัวไปเกี่ยวข้องทั้งหมด แต่ว่าดูรอบๆ มันมีอย่าปล่อยทิ้งอย่าทอดทิ้ง ถ้าความหลงเป็นความหลง ความหลงก็ไม่อยู่แค่นั้น ต้องขยายไปอีกเป็นเหล่ากอ เป็นความโกรธความทุข อิจฉาเบียดเบียน เป็นกรรมไปเลย แม้มันน้อยนิดทีแรกแค่ความหลงเฉยๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไปก็หลงไปใหญ่ เป็นอะไรเป็นภพเป็นชาติ ชรา มรณะโสกะ ปะเทวทุกข์ เกิดแกเจ็บตายไปโน้น ไม่ใช่เรื่องน้อย ถ้าเราไม่หลง เรารู้นี่ มันก็ไปทาง ไม่มีชาติ ไม่มีชารา ไม่มีมรณะ ไม่มีเกิดแก่เจ็บตาย มันก็ไปทางนู้นอีก ถ้าเราไม่แก้ตรงนี้ไม่หัดตรงนี้ไม่กลับตรงนี้ มันก็ไปคนละทิศละทาง ถึงหัดทำให้มันเป็น เหมือนเราเดินทาง ถ้ามันผิดก็หยุด อย่าเดินต่อไป กลับใหม่ ถ้ามันผิดแล้วยังเดินต่อไปอยู่มันก็ไปไกล เนิ่นช้า เสียเวลา แม้ทางมันสะดวก มันไม่ใช่ถูกจุดหมายปลายทางก็กลับ มันถึงได้ตอนที่เรากลับ รู้จักกลับ ไม่ใช่ไปตะพึดตะพรือ ปฏิบัติคือกลับ เอาจริงๆน่ะ การเดินทางในด้านภาวนาสตินี้ มันเป็นการกลับไม่ใช่ไป การกลับมันทำให้ถึง การหยุดมันทำให้ถึง มันหยุดตรงที่มันควรหยุด เช่นมันโกรธหยุดโกรธ ถ้ามันทุกข์หยุดทุกข์ ถ้ามันหลงหยุดหลง ถ้ามันหลงเป็นความหลงไม่หยุดก็นำไปสู่เกิดแก่เจ็บตาย ถ้าไม่ให้ไปถึงการเกิดแก่เจ็บตายก็หยุด หยุดดูมันเห็นมัน เช่นเวทนา สักว่าเวทนา อย่างเนี่ยไม่มีสุขไม่มีทุกข์ในเวทนา ให้ค่านิดหน่อยจนไม่มีค่าเลยในเวทนา ถ้าเราไม่หยุดเวทนาก็มีค่ามากจนเราตกเป็นทาสของเวทนา เมื่อมีค่ามากตกเป็นทาสแล้วต้องซื้อเอา ข่มขืนเอา ชโมยเอา ปล้นเอา ตู่เอา โกงเอา มันก็ดื้อด้านขึ้นไปเรื่อยๆ เวทนาไม่ใช่สักว่าเวทนาเสียแล้วให้ค่ามากจนชีวิตทั้งชีวิตตกเป็นทาสของเวทนา เช่นคนติดยาเสพติด ติดกาว ติดทินเนอร์ ติดบุหรี่ ติดเหล้า ติดรูปรสกลิ่นเสียง พวกเนี่ย ไปดูแถวหัวลำโพงเวลาเราขึ้นรถไฟ พวกติดฝิ่นพวกติดกาว ติดกลิ่นเหม็น ก็พากันไปนั่งมอมเมากันอยู่หน้าห้องน้ำในหัวลำโพง นั่นแสดงว่ามันติดเหม็นมันก็ติดได้เหมือนกัน ที่ไม่เหม็นมันไม่อยู่มันชอบเหม็น ๆ ไม่เหม็นก็หามาซื้อมาเอาเพราะมันติดแล้ว
สมัยหนึ่งไปสอนธรรมที่เชียงรายกลับมาก็นั่งรถทัวร์กลับมา พอถึงแถวเด่นชัยเนี่ยมีคนคนหนึ่งขึ้นกลางทางแถวเด่นชัยเราก็นั่งอยู่แอบ ๆ สุดท้ายหลังเบาะหลังเป็นที่ลับไม่กีดเคืองใคร เราก็ดูตัวเองไม่รุงรัง พอคนนั้นขึ้นไป ก็ขอผ่อนเปลี่ยนไป ไปบอกหลวงตาลงมาสักหน่อยเขาจะไปนั่งมุมนู้น เขาก็ปัดเข่าของเราออกไปๆ เขาจะไปนั่งพาเขานั่งสักหน่อยเอาผ้าคลุมหัวก็ดมกาว แล้วก็เหม็นใครก็เหม็น บอกว่าเหม็นกาว เหม็นกาว ใครดมกาว ใครดมกาว โวยวายขึ้น ไอ้คนนั้นก็เอาผ้าคลุมหัวนั่งก้มลงกาวอยู่ ผู้ขับรถโดยสารก็จอดรถ ใครดม นั่นคนนั้นมันนั่งอยู่นั่นไปดึงมันลงมา ในที่สุดไปจับแขนดึงมันลงมา(หัวเราะ) มันก็ไม่กลัวใครเลย ดมเสร็จจนได้ พอมันดมได้ที่ก็น้ำมูกน้ำลายไหลโหยดเหยดๆ ไม่รู้จักอายเลย นั้นคือมันไม่ใช่แบบนั้น มันนิดหน่อย เวทนาเนี่ยไปไกลคนทำชั่วเลวทรามได้ก็เพราะเป็นทาสของเวทนา หรือว่าติดคุกติดตารางเป็นทุกข์ ก็เพราะเวทนานี่เอง เราจึงไม่เห็นมัน ให้ค่ามันเวทนา เวทนาสักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาเนี่ย ถอนออกมาเพราะฉะนั้นหยุดมันถึงมรรคถึงผลนะ ไม่ใช่ไปตะพรึดตะพรือ หยุดไม่เป็นมันก็เย็นไม่ได้ อย่างเราสวดน่ะ ธรรมตรงนี้เรียกกรรมฐาน ปฏิบัติคือเปลี่ยน รู้สึกเปลี่ยน ถ้าไม่รู้สึกเปลี่ยนมันก็ พะรุงพะรัง เหมือนพ่อค้าหลวงพ่อเทียนพูดเรื่องพ่อค้า
พ่อค้าขายปอ พ่อค้าขายอ้อย ต้องเอารถสิบล้อบรรทุกไปขายปอก็เอารถสิบล้อบรรทุกไปต้องลงทุนซื้อรถ ลงทุนสร้างฉางเก็บสินค้ามันก็พะรุงพะรัง พ่อค้าขายเพชรขายพลอยไม่ต้องเอาสิบล้อ ใส่กระเป๋าเจมส์บลอน เพียงกระเป๋าเจมส์บลอนถือเบาๆได้เงินเป็นหมื่นเป็นแสนไปขายแล้ว หลวงพ่อเทียนคุยเรื่องนี้มาก ท่านบอกว่า ฉันหาเงินร้อยเงินพันเงินหมื่นไม่เป็น หาเป็นแต่เงินหมื่นเงินแสน หายังไงรถสิบล้อก็ไม่มี คลังสินค้าก็ไม่มี ชาวบ้านเชียงตานแถวนั้นทำไร่ฝ้าย ฤดุเก็บฝ้าย หลวงพ่อเทียนก็ไปถามดูจะขายเท่าไหร่ จะขายกิโลเท่าไหร่ตันเท่าไหร่พ่อค้าจะซื้อเท่าไหร่ก็ว่าขายเท่านั้น แถวนี้พ่อค้าให้เท่านั้นบาท ถ้าให้เท่านั้นจะขายกำลังรออยู่ หลวงพ่อเทียนก็บอกว่า ถ้าให้สมมุติเขาให้สุงถึงกิโลละ 14 บาท หลวงพ่อเทียนให้ 15 บาทแต่ต้องขายให้หลวงพ่อเทียนทั้งหมด คนในอำเภอนี้ในบ้านนี้ก็ไปถามเจ้านั่นเจ้านี่ ว่าจะขายไม่ขายมีมากกี่ร้อยกี่พันตัน บอกว่ามีที่นั่นร้อย มีที่นี่พัน น่าจะซื้อให้ หลวงพ่อเทียนพอสอบสินค้าได้แล้วประมาณกี่ตันกี่ตัน รวบรวมดูแล้ว เจ้านั้นเท่านั้น เจ้านี้เท่านี้ ก็ไปหาพ่อค้าคนกลางจะซื้อเท่าไหร่ฝ้าย แถวนี้ซื้อเท่านั้น ถ้าจะเอามาขายให้เจ้านี่จะได้ฝ้ายเป็นแสนๆ ล้านๆตันจะซื้อไหม ก็ตกลงซื้อถ้ามาขายให้หมด หลวงพ่อเทียนก็ตกลงกับพ่อค้า ตกลงให้เอาไร่ฝ้ายเอารถไปใส่เลยหลวงพ่อเทียนก็ไม่มีฉาง ก็บอกกับรถไปแล้วว่าอยู่นี่ พันตัน ร้อยตัน สองร้อยตัน เขาก็ทุกเอาๆ เพราะว่า หลวงพ่อเทียนบอกว่ากินน้ำชาแก้วเดียวก็ได้แล้วเงินแสนแล้ว แหม...หลวงพ่อเทียนคุยอย่างนี้ ไม่เหมือนพ่อค้าขายปอขายอ้อยต้องใส่รถสิบล้อหลวงพ่อเทียนมือเปล่าเอาเนี่ย หาเงินร้อยเงินพันไม่เป็นพะรุงพะรัง นี่ก็คือการปฎิบัติธรรมะก็เหมือนกันบางทีก็เชื่ออะไรงมงายไปตะพรึดตะพรือ อันนั้นดีอันนี้ไม่ดี อันนั้นชอบ อันนี้ไม่ชอบเอาจริตนิสัยของตนไปเกี่ยวข้องสะหมดเอาสมองเอาความเห็นมันก็ต่างกันอยู่เป็นบางคน ปฏิบัติกรรมฐาน ปฏิบัติมาแบบนั้นแบบนี้แบบที่ชอบกับนิสัยของเรา บางทีคนนั้นก้ไม่ชอบอย่างนี้ชอบแบบนี้ บางทีอาจารย์กรรมฐานก็ต้องสอนถ้าใครมีโทสะจริต ก็ให้บริกรรมว่าแผ่เมตตาสัพเพสัตตา ถ้าใครมีราคะจริตให้มองถึงอสุภกรรมฐาน ถ้าใครมีโมหะจริตก็บริกรรมว่าพุทโธ พุทโธตามแต่นิสัยของคนนั้นๆ คือฝึกสมมถะ ฝึกสมาธิในรูปแบบต่างๆ บางทีก็สอนกันตามความคิดเห็นของเขา บางคนก็ชอบมองนิมิต มองกสิณ เอากสินเอานิมิตชอบเล่นนิมิต ให้เห็นนิมิตทางตาทางหูทางกลิ่นหานิมิตให้ได้ บางทีก็เพ่งกสินเพ่งธุปเพ่งเทียนเพ่งอะไรต่างๆ บางทีก็เพ่งขี้กลดเคยหัดลองดูนะ เวลาตอนนอนเพ่งขี้กลด เรานอนกลางกลด กลดมันก็ไม่อยู่ตรงจริง เหลไปๆ มองไปไม่กระพริบตามองเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงไปๆมาๆตาเหล่ไปเลย มันก็เพ่งแต่แบบนั้น โอ้ไม่ถูกมันไปข้างนอก หัดดูเอา มองแสงอาทิตย์ตอนสองโมงเช้าโดยไม่กระพริบตา อันนี้ก็มีจนน้ำตาไหลก็มี มองกสินเอาอันอื่นมาเป็นนิมิต มันก็มีเหมือนกันมันบางทีเพ่ง หายใจเข้าพุธตามลม เข้าออกตามลม เข้าออกตามลม หายใจเข้าพุธ พุธ เข้าโธตามลมไป ตามลมไป ถ้าอยากให้ตัวแข็ง ตามลมไปก็แล้วกลั้นใจสักหน่อยตัวแข็งเลย เคยสอนคนได้แบบนี้กดทับไปเลยตัวแข็งไปเลยกลายเป็นคนตัวแข็งบางทีสอนกันผิดแก้ไขกันไม่เป็น ก็เรียกเราไปบางคนสร้างจังหวะเพ่งเกินไป ยกไม่ออกมือติดตั้งแต่ตีสาม คนบ้านใกล้กันเป็นโยมผุ้เฒ่าเหมือนนี่ละ เหมือนนั่งอยู่เนี่ย แกปฏิบัติสร้างไปสร้างไปเพ่งเกินไปมือติด ไม่ไดทำวัตรเลยยกมือไม่ออกแผ่เมตตาแล้วก็แล้ว กรวดน้ำแล้วก็แล้วเป็นเวรเป็นกรรมอะไร จนเครียดไปเลยทำวัตรเช้าเราก็ไม่เห็นโยม มาฉันเช้าตอนเช้าเราก็ไม่เห็นโยมอีกพอฉันเช้าเสร็จเราก็เดินไปตรงกุฎิโยมอยู่เห็นนั่งอยู่ โอ้ย..มาช่วยด้วย มาช่วยด้วย หลวงพ่ออาจารย์ อาจารย์มาช่วยด้วยไม่รู้เป็นเวรเป็นกรรมอะไรมือติดตั้งแต่ตีสามอ่ะ ยกไม่ออก เราก็ในใจหัวเราะในใจแสดงว่ามันเพ่งเกินไปเราก็ไม่ไปพูดเรื่องมือยกไม่ออก มันเป็นอะไรแผ่เมตตาแล้วก็แล้วกรวดน้ำแล้วก็แล้วไม่รู้มันเป็นเวรกรรมอะไรอยากกินข้าวก็ไม่ได้ไปอยากไปขับไปถ่ายก็เอามือไม่ออกลุกไม่ขึ้นเลย เราก็ไปเค้าชื่อพ่อใหญ่กาเป็นคนบ้านใกล้กัน ถามว่าพ่อใหญ่มีลูกกี่คนมีลูกห้าคน คนหนึ่งมันตายเหลืออยู่สี่คน แต่นี่ลูกสาวลูกใภ้เลี้ยงดูหรือว่าใครเป็นผู้ดูแล ลูกเขยลูกสาวเป็นคนดูแล มีหลานกี่คนละ มีหลานสามคน คิดถึงหลานไหม คิดถึงอยู่แต่ว่านานแล้ว จริงหรือเปล่า ไม่ใช่สี่คนเลยหรอ สามคนยังไงลืมหลานไปแล้วพ่อใหญ่ มันก็มีคนั้นคนนี้ก็มีสามคนเท่านี้ นายนั้น เด็กชายนั้น เด็กชายนี้ ไม่ใช่อาจจะมีสี่คนนะลิมหลานแล้วมาแค่นี้ก็ลืมหลานแล้วไม่ถูกต้องมีสี่คนอาจารย์ก็เคยเห็นบ้านเดียวใกล้ๆกันน่ะ มาที่นี่ก็ลืมหลานแล้วอายุเท่าไหร่แล้วเนี่ย อายุ 70 ปีแล้ว โอ้ยลืมไปแล้ว ไม่ลืมๆ ผมมีหลานแค่สามคนนะ มีคนนั้นมีคนนี้ หลานสาวก็มองเห็นแสดงว่า พอคุยกันไปคุยกันมาอ้าวมือผมออกเมื่อไหร่ละ มันเพ่งเกินไปก็ไม่ถูก บางทีจิงจังเกินไปจนหน้าดำค่ำเครียด ทำด้วยใจสบายๆทำอะไรถ้าทำพอดี มัชฌิมาปฏิปทา อมยิ้มไว้ในใจ อย่าเอายากอยย่าเอาง่าย จะเอาความยากจะเอาความง่าย จะเอาความผิดจะเอาความถูก เอาเหตุเอาผล เอากรรมล้วนๆเนี่ย ความรู้สึกตัวเนี่ย มองๆไป รู้สึกตัวไป มันหลงก็อย่าให้ความหลงมีค่า ถือว่าผิดแล้ว มันรู้ก็ถือว่าความรู้มีค่ามันก็ถูกแล้ว เมื่อมันถูกก็พอใจเมื่อมันไม่ถูกก็ไม่พอใจมีสัมปัชชัญญะ ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกมา รู้สึกปกติธรรมดาเนี่ย เนี๊ยะที่จะถึงมรรคถึงผล ไม่ใช่เอาจริงเอาจังจนหน้าดำค่ำเครียดเดี๋ยวก็เกิดเครียดได้ง่วงเหงาหาวนอนได้ ยากนะเบื่อหน่ายคลายความเพียร ได้เหมือนกัน ถ้ามองเห็นความเพียรแล้วโอ้ยไม่สู้ๆยอมแล้ว ถ้ามองถึงความเพียรไม่ใช่อะไรอยู่ที่หัวใจตราบใดที่เราได้นั่งยกมือสร้างจังหวะ ฉันข้าวเสร็จแล้วเดินไปกุฎิของตนวางบาตรนั่งสร้างจังหวะมันสุดหัวใจ มันโก้ดีนะ อยากให้พ่อมาดูอยากให้แม่มาดูลูกชายของแม่ลูกชายของพ่อบางทีเดินจงกรมมาสู่หัวใจ บางทีเราตั้งไม่เป็นตั้งใจไม่เป็นมันยากไปเดินเท่าไหร่บางคนก็เอานิมิตเป็นเครื่องหมายจุดธูปไว้หนึ่งดอกถ้าธูปไม่หมดจะไม่ลุกถ้าธูปหมดเมื่อไหร่ถึงจะลุก มันก็มีเหมือนกันหลวงตามีแบบนี้เหมือนกันเพื่อหัดตัวเอง แต่เมื่อจุดธูปไว้ตั้งธูปไว้จิตใจมันก็ไปมองธูป เมื่อไหร่ธูปจะหมดน้อปวดขาแล้วก็คิดไป(หัวเราะ) ลืมไปแล้วลืมเพราะสัจจะนี่นะ ตั้งใจผิดๆก็มี เอาจริงเอาจังกับอันอื่นให้สิ่งอื่นมากำหนดเรา บางทีก็ถาม!เดินนานเท่าไหร่ นั่งนานเท่าไหร่เดินช้าเดินไวเท่าไร บางทีก็ถามเรื่องอย่างเนี้ย มันเป็นเรื่องส่วนตัวถ้ามันง่วงนอนก็ทำไวๆแรงๆจังหวะมีแบบนี้ๆๆๆๆๆๆๆๆ ให้จังหวะที่เราทำหลวงพ่อเทียน สอนเราถ้ามันง่วงให้ทำไง นอกรูปแบบก็ได้ อึ๊บ ยกแรงๆลองดูสิ หายใจเลย มันจะปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมา ออกนอกรูปแบบอีก เหมือนกราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ต่อหน้าเรานั่งต่อหน้าพระพักต์ของพระองค์กราบครั้งหนึ่งแล้ว กราบครั้งที่สอง ใส่ใจ สองครั้งแล้ว (หัวเราะ) ออกนอกรูปแบบ ไม่ใส่ใจมันไม่ไปกดทับความง่วงเกินไปเครียดเกินไป เอาวางมาทำ ออกมาสักหน่อย อย่าเข้าเกินไป รู้จักออกรู้จักถอยพอดีคุมเกินไปก็เรื่องง่ายเป็นเรื่องยากไปเลย ผิดๆ ถูกๆ ไป ต้องอย่าไปคุมเกินไปทำพอดีๆ ให้พอดีกับตัวเองอันช้าอันไวไม่เกี่ยวข้อง ตามเหตุตามปัจจัยที่มันเกิดขึ้นกับเรา บางทีเดินช้ามันคิดมากเดินไวๆสักหน่อย ไวสักหน่อย ถ้าเดินไวมันเพ่งเกินไปก็ช้าสักหน่อย ค่อยๆเดินไป มองก็อย่ามองไกลเกินไปให้มันได้ฉากสายตาเรา ถ้ายืนก็ความสูงของยืนมองไป แต่นั่งคนสูงก็นั่งมองไปมันะมีความพอดี พอดีของทุกคนเรียกว่ามัชชิมา เวลานี้หลวงตาก็เดินแกว่งแขนตอนเช้า 1 ช.ม. เป็นกรรมฐานแบบโยคะ ไปในตัวเพราะสุขภาพไม่ดี แกว่งแขนอาศัยการแกว่งแขนเนี่ยทำให้เราดีวันดีคืนขึ้นมาได้บ้างใครจะทำตามก็ได้ไม่ทำก็ไม่เป็นไรไม่ได้สอนนะนี่เราสอนเราเองเป็นบริบทที่เราช่วยตัวเองหัดมาตั้งแต่โรงพยาบาล ให้อาจารย์โน๊สชูแขนขึ้นดาดฟ้าชั้น 5 ไปเดินอยู่จงกลมหัดเดินหัดวิ่งเดินไวๆแกว่งแขนมองเห็นสวนลุม พอดวงอาทิตย์ขึ้น ใกล้แสงแดดก็นอนให้แดดถูกซะหน่อยขยันกว่านี้สมัยฟักฟื้นใหม่ๆ ตื่นขึ้นมาอาบน้ำตอนเช้าน้ำอุ่น อาจารย์โน้ตก็ต้มน้ำให้ เอาเท้าสองเท้าจุ่มน้ำร้อนนั่งดูซะก่อนแล้วก็อาบน้ำอุ่น เดี๋ยวนี้ไม่อาบแล้วขี้เกลียด มันไม่ขยันเหมือนเมื่อก่อน แต่ก่อนขยันกว่านี้นะ ตื่นมาแกว่งแขน บางคนแกว่งไม่เป็นให้มันได้จังหวะกับการนั่งของเรา น่องของเราเนี่ย น่องของเราเนี่ย กับแขนของเราเนี่ย มันได้จังหวะมันจะย้อนถึง บางคนไม่ถูกจังหวะกันทำไม่เป็นไม่ดีต้องทำให้เป็น แล้วก็หายจากสภาพสังขารร่างกายของเราเนี่ย หลวงตาเลยหัดเดินจงกลมแบบแกว่งแขนตอนเช้าชั่วโมงหนึ่ง
ถ้าทำให้แข็งขันซักหน่อย ชั่วโมงเอ้อ วินาทีละก้าวสองก้าวได้แกว่งแขนนับไปเนี่ยสองก้าวได้แกว่งแขนครั้งหนึ่ง ถ้าวินาทีละก้าวชั่วโมงหนึ่งก็ได้หลาย หลายพันก้าว ถ้าบางทีก็เอาจนถึงหมื่นก้าวเดินรอบสระอภิธรรมสถานชั่วโมงกว่าๆได้หมื่นก้าวทุกวันๆๆ เดินแล้วก็มาอาบน้ำตอนเช้า เดี๋ยวนี้ไม่อาบน้ำเลยมันขี้เกลียดยังไงไม่รู้ประมาทแล้ว อันนี้การฝึกตนสอนตนเนี่ยตามเหตุตามปัจจัยยิ่งเราแก่ยิ่งสนุกนะอย่าไปเอาความแก่มาอ้าง เจ็บป่วยไม่สนุกเลยสนุกเจ็บป่วย ไปเลยทีเดียวนะไม่ใช่เรื่องทุกข์ ไม่ใช่เรื่องลำบากเป็นความสนุกสนานคนมาถาม บางทีก็มองหน้าเรานั่งร้องไห้เพราะไม่ใช่สีคนเป็นมะเร็งแล้วก็ฉายรังสีไหม้ทั้งหมดเลยทั้งตัวจะมาร้องไห้กับเราทำไมเราไม่ได้ทุกข์เดือดร้อนอะไรสนุกสนานเต็มที่แล้ว บอกคนเค้าก็ไม่เชื่อเรา เค้ามองหน้าเราก็ร้องไห้มันควรจะต้องหัดตั้งแต่นี้แหละไป มันหลงรู้สึกตัวอย่าเป็นผู้หลง เป็นวันหลง อาศัยความเห็นเนี่ย มันเฉลยได้ทุกอย่าง ฝึกตรงเนี่ย สอนตัวเองอย่างเนี่ย ให้เห็นมันหลงก็เห็นอย่าไปเป็นผู้หลงมันทุกข์ก็เห็นอย่าไปเป็นผู้ทุกข์ มันสุขก็เห็นอย่าเป็นผู้สุข มันเบื่อก็เห็นอย่าเป็นผู้เบื่อมัน ขยันก็เห็นอย่าเป็นผู้ขยัน นี่เอามาดูอย่างเนี่ย ปฏิบัติธรรมมันจึงไป อันนี้มันหยุดแต่อันหนึ่งมันไป มันเข้าไปเพียรไปสู่มรรคสู่ผลในที่สุดก็ง่ายทีเดียวเลยเหมือนเห็นเนี่ยมันไม่เป็นมันก็ ก็นิพพาน เพราะนิพพานมีฝั่งถ้าเป็นมันเป็นอย่างนี้ นิพพานมีฝั่งลอยคอมันขึ้นไม่ได้ ถ้าเห็นแล้วเทียบท่าได้ มันเทียบท่าแล้ว เห็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์พ้นทุกข์ เห็นความโกรธไม่โกรธพ้นโกรธเนี่ยมันก็เทียบท่า ถ้าเป็นล่ะมันต่ำ griktฉะนั้นฝั่งพระนิพพาน มนุษย์ส่วนมาก ลุ่มหลงอยู่ตรงฝั่งนี้เป็นอยู่นะเป็นสุขเป็นทุกข์นะผู้ที่ถึงฝั่งนิพพานมีไม่มากนักขึ้นมาเห็น อันนี้จึงอยุ่เหนือการเกิดแก่เจ็บตายได้เป็นเรื่องสมบัติของเราทุกคนทำเอาเองให้เห็นมัน เห็นกายสักว่ากายไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา อย่าเอากายมาเป็นตัวตนกูร้อน กูหนาว กูโกรธ กูเมื่อย กูสุข กูทุกข์ กูทำได้กูทำไม่ได้เอากายเป็นที่ตั้งเพื่อผูกพันให้เกิดความเป็นภพเป็นชาติแล้วก็เห็นกาย สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ก็พ้นไปแล้วเห็นเวทนาเห็นจิต มีไหมมีทุกคนเป็นด่านออกจากก้าวแรกทีเดียว พอปั๊ปไปก็เดินเจอกายเลยพอดีมันก็มีอารมณ์ เวทนาก็มีแน่นอนจิตก็มีนั่งอยู่นี่นอนอยู่นี่ มันไม่อยู่มันเคยไหลมันก็ไหลไปก็กลับมารู้มันไม่ใช่ไปตามจิต แม้แต่จิตมันให้สุขหรือทุกข์ แม้จิตมันทุกข์ก็ทุกข์ไปตามความคิด จิตเป็นสุขก็สุขไปตามความคิด ไม่ใช่ ให้เราเป็นใหญ่ สติอินทรีย์เป็นใหญ่ แต่ก่อนนี้ อายตน ตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นใหญ่ รุปรสกลิ่นเสียงเป็นใหญ่ มันก็แย่งกันไปคนละทิศละทาง ตาเป็นใหญ่ก็ไปทางตา หูเป็นใหญ่ก็ไปทางหู จมูกลิ้นเป็นใหญ่ก็ไปทางสิ่งนั้นๆ บัดนี้อินทรีย์ สติอินทรีย์เนี่ยเป็นใหญ่มันก็สมรวม อายตน ลงทันที อายตนเป็นที่รับใข้ของสติอินทรีย์ไปเลย จับมันมาใช้จะให้มันคิดเรื่องใด เห็นเรื่องใดจับมันมาใช้แต่ก่อนมันใช้เรา มันใช้เรา มันอยากคิดมันก็คิด มีไหม อันความคิดมันมีสองลักษณะ ตั้งใจคิดเป็นวิชาอันที่ไม่ได้ตั้งใจคิด คิดเองเป็นอวิชามีไหมมันคิดขึ้นมาเองไม่อยากคิดมันก็คิดจนนอนไม่หลับมีไหมอันนั้นแหละเป็นตัวสังขาร วิสังขารคือเปลี่ยนความคิดเป็นความรู้ วิสังขารเปลี่ยนมาแล้วเหมือนหงายท้องเต่าเคยหงายท้องเต่าไหมเวลาเอาเต่าให้ลูกเล่นนะถ้าคว่ำมันเดินไปก็หงายมันขึ้นซะ มันก็เดินๆไม่ได้ใช่ไหม วิสังขารเคยเปลี่ยนร้ายเป็นดีนะ ตัวสังจารคือมันขยันคิดขยันหลงอะไรไปของมัน มันก็มีเหตุมัน สังขารมันเหมือนไปได้ไปรัก ไปถึงรักถึงชอบถึงพอใจ ถึงอะไรต่าง ๆวิสังขารเปลี่ยนมัน มันก็หยุด สังขารา ปรมา ทุกขา สังขารเป็นทุกข์ วิสังขาร นิพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานไม่เป็นทุกข์เปลี่ยน เมื่อใดเห็นผู้มีปัญญาว่าสังขารไม่เที่ยง สังขารเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลงนั่นแหละคือเป็นทางแห่งพระนิพพานมาอย่างนี้ทุกข์แท้ๆเป็นนิพพานการปรุงแต่งนั่นละมันดีจะได้เห็นมันตามความเป็นจริงเห็นผิดจึงมีถูก เห็นปัญหาจึงมีปัญญา