แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมเถอะ(หัวเราะ) ฟังเสียงแต่ไม่จนใจนะ(หัวเราะ) มีอะไรเยอะแยะที่อยากจะพูดด้วย ถ้าเราต้องแสดง แสดงทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้เป็นความดีออกมาจากกาย จากวาจา จากใจ
บัดนี้เรามาอยู่วัด นอนที่วัด แสดงทางกาย ภาคกายออกมาแล้ว กายวิเวกแล้ว แสดงทางกายได้แล้ว วันหนึ่งคืนหนึ่งนี้ กายได้รับความวิเวกแล้ว ถูกต้องแล้วเรื่องกาย ทำถูกต้องแล้ว ต่อไปก็เรื่องใจ ปลีกวิเวกออกมาเหมือนกายด้วย เรียกว่าอยู่แต่นี่ที่กาย ใจมันอยู่ในบ้าน ผลิตมันออกมา ผู้มีลูก ก็คิดแบบคนมีลูก ผู้มีหลาน ก็คิดแบบผู้มีหลาน คนมีสามีภรรยา ก็คิดแบบคนมีภรรยาสามี คนมีวัวมีควายมีอะไร ก็คิดแบบคนมีสิ่งนั้น คนจนก็คิดแบบคนจน คนรวยก็คิดแบบคนรวย คนมีความทุกข์ก็คิดแบบคนมีความทุกข์ คนมีความสุขก็คิดแบบคนมีความสุข มีแต่ความคิดทั้งนั้น เราจึงพักมันออกมา ให้มันมาอยู่กับกาย โดยอาศัยกรรมฐาน ให้ร่างกายได้รับความวิเวก ช่วยให้จิตใจได้รับความวิเวก ช่วยจิตช่วยใจบ้าง เมื่อมันแล่นไปก็ให้กลับมา มาอยู่นี่ มาคู่แขนเข้าเหยียดแขนออก ให้รู้สึกตัวอยู่นี้ เรียกว่าช่วยจิต อย่าให้มันรับกรรมรับเวรมากเกินไป ให้มันคิดอะไรมากเกินไป ให้มันพักผ่อน ได้รับวิเวกทางจิตวิญญาณซักหน่อย ช่วยจิต น่าสงสารจิตคิดอะไรก็คิดทั้งนั้น มีจิตก็ใช้ให้คิด บางทีไม่ได้ใช้มันคิดมันคิดขึ้นมาเอง ส่ำส่อนไปหมดวุ่นวายไปหมด งานของจิตวิญญาณ หนักมาก กลางคืนเป็นควันกลางวันเป็นเปลว กลางคืนก็วาดฝัน กลางวันก็วาดคิด งานของจิตมันหนัก จนในที่สุดก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ และได้จิตที่ปรุงๆ แต่งๆ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง พอใจ ไม่พอใจบ้าง เป็นจิตปรุงแต่ง ไม่ใช่จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ไม่มีอะไร บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า (ปะภัสสะระมิทัง ภิกขะเว จิตตัง ตญจะ โข อาคันตุเกหิ อุปักกิเลเสหิ) ขออภัยว่าภาษาบาลี มันสมใจ จิตของเรานี่ประภัสรผ่องใสอยู่เสมอแต่เดิม ๆ แต่อุปกิเลสมันจรมา ทำให้จิตมัวหมอง มันเปรอะเปื้อนทางความคิด ทวารของจิตคือมันคิด มันเลยเปรอะเปื้อนกลายเป็นจริตไปได้ คิดอะไรมาก ใช้อะไรมันมากก็เป็นไปเรื่องนั้น ดีๆก็เป็นคนไม่ดีได้ จึง พรากมันออกมาให้อยู่ให้อยู่ด้วยกัน กายอยู่ที่ไหนใจต้องอยู่ที่นั่น วันหนึ่งคืนหนึ่งอุตสาห์เอา หัดพรากออกมาโดยอาศัยกรรมฐานเป็นเครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง ได้ช่วยหัดจิตใจ เอากายเป็นที่ตั้ง เป็นนิมิต เป็นที่เกาะไว้ เมื่อมันแล่นไปก็เอานิมิตนี่จับเอา ดึงขึ้นมา มารู้ที่นี้ ให้ความหลงเป็นความรู้
อะไรที่เกิดกับใจกับกายให้เป็นความรู้ทั้งหมด ก็รู้เท่ารู้ทัน มันหลงครั้งหนึ่งก็รู้ครั้งหนึ่ง มันพอใจครั้งใดก็ให้รู้สึกตัวครั้งนั้น พรากจิตออกมา ให้มารู้ให้มารู้ บ้านของจิตคืนปกติ บ้านของจิตใจคือปกติ ถ้าใจมีบ้านมันก็ปลอดภัย เหมือนกับกายมีบ้าน กายก็ปลอดภัย ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อน ลมพัดมาก็ไม่ถูก เป็นที่อาศัยของกายได้ เมื่อกายมีบ้าน ก็หลายอย่างที่เกิดขึ้น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ให้ใจนี่มีบ้านซะ บ้านของจิตใจคือปกติ ให้อยู่ในความปกติให้ได้ เรียกว่าสร้างบ้านให้ใจอยู่ ความปกติของบ้านของใจนี้ถ้าอยู่ในความปกติ จะอยู่เหนือความแก่ความเจ็บความตายได้ ที่นี้เราไม่มีบ้าน เป็นคนอาภัพ เป็นคนผลัดถิ่นอยู่เรื่อย ชีวิตผลัดถิ่น คือไม่มีบ้านคือใจไม่ปกติ คุ้มร้ายคุ้มดี ฟูๆ แฟบๆ มีใจก็พึ่งใจไม่ได้ ไม่อยากคิดมันก็คิด ไม่มั่นใจตัวเองไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เรียกว่าคนอาภัพทางจิตวิญญาณ จิตใจไม่มีบ้าน ได้ยินบ่นี้ นี้มีเสียงบ่นี่ หือ (หัวเราะ)
ก็เป็นอย่างนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ และมันหัดได้ กายของเราหัดได้ อย่างที่เราสวดพระสูตร อริยมรรคมีองค์8 นั่น จิตทำได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เกิดมรรคเกิดผลได้ ในชีวิตนี้ ถ้าไม่หัดก็ไม่เกิดมรรคเกิดผลเลย กายไปเสียแล้ว เราจึงหัดมัน ให้มันมีที่พึ่ง พี่งได้ พึ่งความดีที่หัดไว้ เหมือนอะไรที่หัดแล้วพึ่งมันใช้งานได้ คนหัดช้างก็ใช้ช้างได้ คนหัดม้าก็ใช้ม้าได้ คนหัดวัวหัดควายก็ใช้วัวใช้ควายได้ ทั้งๆที่มันเป็นสัตว์ หลวงตาไปดูฟาร์มจรเข้ จ.สมุทรปราการ มีเด่น ช้างตัวหนึ่งเรียกชื่อว่าเด่น เวลาหลวงตาเดินเข้าไป เจ้าของช้างว่าเด่นๆ ไอ้เด่น นี่หลวงตามาเยี่ยมเราแล้ว มานี่มานี่ วิ่งมา วิ่งมาหา แล้วไง คำนับหลวงตา ไอ้เด่นก็ยกขาสองขาขึ้นกราบ สาธุ กราบ 2 ครั้ง สาธุ ครั้งที่ 3 ก็สาธุ ว่าอย่างนี้ (หัวเราะ) นี่ไอ้เด่นค่อยเกินไปเบาเกินไป หลวงตาไม่ได้ยินหรอกหลวงตาหูหนัก แรงๆ ว่านี้ กราบลงอีก อืบ อื๊บ (เสียงร้องช้าง) (หัวเราะ) ได้ มันฝึกได้นะ ไม่ว่าอะไร วัวควายฝึกใส่คราดใส่ไถ บอกไปทางซ้ายก็ซ้าย บอกไปทางขวาก็ขวา บอกมันตรงไปตรงไปๆ มันก็ตรงไป ๆๆ บอกให้หยุดก็หยุด บอกให้ไปก็ไป นี่สัตว์มันฝึกได้แล้ว มันใช้งานได้ คนเราแท้ๆ จงฝึกตนสอนตน
มีนางภิกษุณีตนหนึ่ง อยู่เขาคิชฌกูฏ ประเทศอินเดีย ในทางทิศใต้ของเขาคิชฌกูฏ มีแม่น้ำไหลมา ภิกษุณีอยู่บนเขาคิชฌกูฏ ที่คันธกุฎิของพระพุทธเจ้า ต่ำลงไป คล้ายๆ ถ้ำอะไร สุกรขาตานางภิกษุณีตนนั้นเห็นควาญช้าง เอาช้างไปอาบน้ำ บอกช้างลงไป เจ้าของก็นั่งอยู่บนฝั่ง ช้างก็ลงไป บอกให้ช้าง พ่นทางหลัง ก็สูบน้ำขึ้นมา ซู่ ..ซู่.. เอาข้างซ้าย ซู่ ซู่ ข้างขวา ล้างท้อง ก็ซู่ ล้างยืนอยู่บนฝั่ง เจ้าของเห็นว่าสะอาดแล้วก็ลงไป มุดลง มันก็มุดลงอยู่ โผล่ขึ้นมา มุดอีก มันก็มุดลงไป ขึ้นมา เจ้าของช้างก็บอกขึ้นมา ขึ้นมาบอกให้มันนวด มีต้นไม้ นวด ข้าง ๆ ข้างซ้าย นวดข้างขวาเอียงขวาใส่ นวดท้อง ก็เอาท้องเอนไป ๆ นวดหลัง ก็เอนหลัง นางภิกษุณีเห็น โอ้ ช้างก็ยังฝึกได้หนอ เราแท้ๆ เป็นภิกษุณีทำไมเราฝึกไม่ได้ มีความพากเพียร ไม่ท้อถอย กลายเป็นอรหันต์ ได้เลยเอาช้างเป็นแบบอย่าง นี่นะคนเราแท้ๆ อย่าปล่อยกายปล่อยใจกันไป รู้จักหยุด จักเย็น จักปล่อยจักวางบ้าง เพื่อจะได้อาศัยมัน พาไปสวรรค์นิพพาน ถ้าไม่มีเดี่ยวนี้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นชีวิตที่อาศัยได้เลย ถ้าจิตใจไปอยู่ที่ไหน
ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหัดกัน ฝึกตนสอนตน มีวัดวาอาราม มีพระสงฆ์ มีแม่ชี มีพระธรรมคำสอน เล่มแต่เมื่อวานนี้ เล่มใหญ่ ที่นี่หนังสือเยอะแยะกว่าวัดใด ๆ ทั้งสิ้น เยอะแยะเลยมีแต่หนังสือดี ๆ อาจารย์เป็นผู้มีปัญญามาก เรามีช้างเผือกต้องเกิดในดงอย่างนี้ โยมเอย แม่นบ่ (หัวเราะ) อาจารย์ไพศาลเกิดในดงในป่าแต่เป็นช้างเผือกที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก จะได้ที่ไหนล่ะ บ้านตาดรินทอง วัดป่ามหาวัน ให้ฉวยโอกาสกัน อย่ารอ อย่านานเกินไป กระตือรือร้นบ้าง ออกจากวัดแล้วไปอยู่บ้าน ฝึกตนสอนตนนะ อย่าปล่อยตัวเองทิ้งเกินไป สำรวมบ้าง ระงับบ้าง หยุดบ้าง เย็นบ้าง พักกายบ้าง กายวิเวก พักจิตออกมา จิตตวิเวก เมื่อกายวิเวก จิตตวิเวก สองอัน เกิดอุปธิวิเวกเกิดขึ้น ฆ่าศึกกิเลสหมดไป กลายเป็นอิสระ ไม่เป็นอะไรกับอะไรเลยในโลกนี้ เห็นหมดแล้ว ๆ จึงไม่เป็นอะไรกับอะไร จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่เสมอ นี่มันฝึกได้คนเรานี่เป็นสัตว์ประเสริฐ ถ้าไม่หัดก็ขี้เหร่กว่าสัตว์ ขี้เหร่กว่าไก่ ไก่ยังมีปีกมีขน นอนขอนไม้ตากฝนตากฟ้า ไม่เคยกินยาแก้ปวดแบบคน (หัวราะ) เป็นทรัพย์ประเสริฐ
อันนี้เวลาเรามันไม่รอคอยหรอก 77 ปีแล้ว แต่ว่าฝึกหัดตั้งแต่อายุ 30 ปี จริง ๆ เนี่ย มันก็ได้ทุนขึ้นมาบ้าง พอจะมีค่าบ้าง คุ้มค่าน้ำนมแม่บ้าง พ่อแม่เลี้ยงมาบ้าง ยกมือไหว้ตัวเองได้บ้าง บางอย่างนะ ยังไม่ท้อถอย ยังเป็นอยู่ มาอยู่นี่ฝึกสติกัน คู้แขนเข้ารู้สึก หันหน้า ให้ชีอูฐทำกุฏิให้หันหน้าไปทางภูโจ้โก้ โอ้วิวดีกลางคืน กลางวัน ฝึกตนสอนตน
มันสุนกดี เปลี่ยนความหลง เป็นความรู้นี่โอยมันลึกซึ้งมาก อยากให้มันทุกข์ให้เห็น จะได้เปลี่ยนทุกข์ ให้มันสมน้ำหน้ามัน จะไม่ให้มันทุกข์ (หัวเราะ) นี่ไปโกรธไปทุกข์ อ้างกันไม่อาย หน้าบูดหน้าบึงใส่กัน ดีไม่ดีไปโพนทนา มึงไม่รู้จักกูหรือนี่ ให้กูได้โกรธไม่เป็นผู้นี้นะ (หัวเราะ) ให้กูได้โกรธ ไม่เหมือนคนนี้นะ ไม่เหมือนคนนี้นะ ไม่รู้จักละอายในความโกรธ มีลูกมีเต้าด่ากันได้ไม่อายคน เพราะฉะนั้นมันดีตรงไหนความโกรธความทุกข์นี่ ทำไมถนอมมันเหลือเกิน ถ้ากูได้โกรธ ตายไม่ลืมนะ (หัวเราะ) ถนอมความโกรธ รักความโกรธ ลืมลูกลืมผัวลืมพี่ลืมน้อง ทำตามความโกรธนะ ทำตามความรัก เช่นกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ทำตามความโกรธ แม่เอาข้างมาส่งกล่องน้อยๆ นึกว่ากินข้าวบ่อิ่ม ด่าแม่ต่อว่าแม่ แม่ว่ากินเถอะลูก อิ่มอยู่อิ่มอยู่ ลูกบอกไม่อิ่มไม่อิ่ม ผลที่สุด โกรธอย่างรุนแรง เอาแอกน้อยไถตีแม่ตายเลย พอกินข้าวข้าวก็ไม่หมดอีก ความโกรธหายไปเสียใจ เอาแม่คืนก็ไม่ได้แล้ว ความโกรธ ทำให้เสียแม่ เสียทุกอย่าง สูญเสียแม้กระทั่งตัวเอง ความรักเช่นเดียวกัน นางโมรารักโจรผู้ร้ายทั้ง ๆ จันทโครพ เป็นคนดี โจรมาปล้นกลางทาง จันทโครพสู้ จนได้ชัยชนะ สมุนโจรหลายคนเหลือแต่หัวหน้าโจร สู้กับหัวหน้าโจร จันทโครพ สู้ได้ เอาหัวหน้าโจรล้มลงไป ขอดาบกับเมียนางโมรา เมียเห็นโจรสวยกว่าจันทโครพ สูงขาว คิดชอบโจรมันดี เลยยื่นดาบให้โจร จะได้แต่งงานกับโจร ให้โจรฆ่าจันทโครพสามีของตนซะ ในที่สุดโจรได้ดาบฆ่าจันทโครพตาย โมราเสนอตัวเป็นนางเมียโจร โจรบอกว่า โอ๋ยไอ้ชาติชั่วผัวมึงก็ยังฆ่ากูเอามึงไม่ได้หรอก ให้มึงตายอยู่นี่แหละ ผลที่สุดนางโมราตายเป็นนางชะนีอยู่วัดภูหลง ร้องหาผัว.(หัวเราะ) อานิสงส์โทษของความรักโทษของความโกรธ เป็นทุกข์เป็นโทษกันได้ อย่าหลง อย่าหลง อย่าหลง ให้มีสติดีๆ ถอนออกมา ถอนความพอใจออกมา ถอนความไม่พอใจออกมา อย่าปล่อยให้ใจไปอยู่กับด้านของความพอใจ ไม่พอใจ ถอนออกมาให้มีสติรู้สึกตัว เป็นอย่างนี้นะ วันหนึ่งคืนหนึ่งไม่ใช่น้อยนะ โบราณท่านว่า ช่วงช้างสะบัดหู ช่วงงูแลบลิ้นนะ อ้าววันนี้ก็หมดแรงแล้วนะ สมควรแก่เวลา