แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันตามกาลตามเวลาเป็นมงคลอันสูงสุด ผู้ไม่เคยได้ฟังอาจจะได้เคยฟัง ฟังแล้วยังไม่เข้าใจอาจจะเข้าใจ ทีนี้สงสัยอาจจะหายไปหมดไป ความเห็นให้ถูกต้องเกิดขึ้นขณะที่เราศึกษาธรรมฟังธรรมกัน ปฏิบัติธรรมกัน มีหลักใจ สร้างหลักใจเป็นของส่วนตัว สร้างหลักฐานทางกายเป็นของส่วนรวม ไม่ใช่ของเรา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
เคยสร้างทำไร่ทำนา สร้างบ้านสร้างเรือน ทุ่มเทจนหมดเรี่ยวหมดแรง ก็ได้สร้างบ้านก็ได้บ้าน ถางนาถางป่าก็ได้นาทำมาหากิน แต่นี่ก็เปลี่ยนไปเป็นของคนอื่น แต่ก่อนก็เป็นของพ่อของแม่ เดี๋ยวนี้ก็เป็นของลูกของพ่อของแม่ เดี๋ยวนี้เป็นของหลานเหลนซึ่งไม่ใช่ตระกูลเราเลย เป็นหลานเขยหลานใภ้ เป็นของหลานใภ้หลานเขยไปแล้ว เราไปบ้านไปเรือนไม่กล้าที่จะไปนั่งอยู่ บ้านเราทำเองเรือนเราสร้างเอง เป็นของหลานเขย หลานเขยไม่ใช่หลานเรา เป็นคนอื่น เราจะขออะไรจากเขาไม่ได้เพราะไม่ใช่ญาติ ไปขออาหารบิณฑบาตกับหลานเขยไม่ได้ ผิดวินัย ไปขออาหารบิณฑบาตจากหลานใภ้ ลูกใภ้ไม่ได้เลย ผิดวินัย ไม่ใช่ลูกของเรา มันก็เป็นอย่างนี้ มันเปลี่ยนเจ้าของไป อันนั้นเป็นหลักฐานทางกาย ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ได้แต่เหตุปัจจัยมันเป็นไปทางไหน นาที่เราเคยสับเคยเส่าไม่ใช่ของเราไปแล้ว เป็นของคนอื่นไปแล้ว เราจะไปดูไม่ได้ถ้าเขาไม่ให้เราไป สิทธิเป็นของคนอื่น
การมาสร้างหลักใจเนี่ยมันของเรา ไม่มีใครมาแย่งเอาไปเปลี่ยนเจ้าของไม่ได้ เป็นของใครของเรา เรามีธรรม เราก็เป็นของเรา เรามีศีลก็เป็นของเรา เราก็พึ่งพาเสียได้ทุกเวลานาที หลักกายนั้นพึ่งไม่ได้แล้ว ตกไปเป็นของคนอื่นไปแล้ว พวกเราจึงอย่าให้พลาดในหลักใจ หลักใจคือปฏิบัติธรรม และไม่เสียท่วมไม่เสีย หลักของกายมีเสียบ้าง แล้งเสีย ท่วมเสีย โจรลักไปได้ ไฟไหม้ได้ น้ำท่วมได้ ลมพัดเสียหายได้ แต่หลักใจนี่ไม่มีเสีย เป็นอมตะ เป็นของส่วนตัวเรา จำเป็นจะต้องมีทรัพย์เป็นก้อนนี้เรียกว่าอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์ส่วนตัวของเรา อย่าให้จน อย่าไปอ้างเอาหลักภายนอกมาเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตจนเกินไป เหมือนโบราณท่านว่า กากินช้างอย่างหนึ่งอุทาหรณ์ กาหลงหลอนตัวเองว่าแซ่รวยเหลือล้น กาเห็นช้างลอยมาบ่เคยจวบ นกจิกแซว แหลวทักท้วง กาใยบ่อยากฟัง กาหลงช้าง กากินช้าง กาเห็นช้าง ตัวหลงบ่ต้องห่วง ส้วงสวบกินอิ่มน้อย กาหลงลิ้น กินไปบ่ทวนเหตุ ความโลภโงโทสัน บาปกรรมนำต้อง กาเห็นช้าง ตัวหลงบ่ต้องห่วง ส้วงสวบกินอิ่มน้อย สิตายจ้อยกลางทะเล โบราณท่านว่า
กูมีลูกมีเมีย กูมีผัว กูมีทรัพย์สมบัติ กลัวตายบ่อึดบ่หยาก ชวนไปปฏิบัติธรรมนะ ไปบ่ได้ มีลูกมีหลาน บ่มีไผเฝ้าเฮือนเฝ้าชาน บ่มีผู้ใดดูแล ห่วง นกจิกแซว ชวนไปวัด นกจิก นกจิกชวนไปปฏิบัติธรรมกันเถอะ อย่าหลงมากเกินไป กาเย้ย กาเย้ยเลย เขาว่านี่แหละคือของเรา กาเย้ยไม่อยากฟัง ชวนไปปฏิบัติธรรม ชวนไปรักษาศีล ไปไม่ได้ กาเย้ย ไม่อยากฟัง หลงอยู่ในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สินศฤงคาร เฉยเลย รู้ไหมว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ช้างตัวใหญ่ก็ตาม มันไหลมา กาก็บอกว่ากินไม่หมด ลอยอยู่บนซากของช้างนั้น แต่ซากของช้างมันลอยอยู่ในน้ำ มันไม่อยู่นิ่ง มันไปเรื่อย อันทรัพย์สินศฤงคารมันไปเรื่อย กาก็ลอยกินอยู่บนซากของช้างนั้น มันก็พาไหลไป กินไป กินไป กาเห็นช้างตัวหลง ไม่ต้องห่วงเลย กินไปอย่างนี้แหละ กินไปอย่างนี้แหละ ไม่หมด ไม่อด ไม่อยาก ในที่สุดช้างก็ไหลไป ไหลไป ไหลไป ไกลฝั่ง ไกลที่ ไกลอะไรไป ไม่มีอะไรแล้ว ไหลไป ผลที่สุดซากของช้าง มันก็เปื่อยก็เน่าก็หมดไป ช้างก็จมลงกลางทะเล ทะเลคือมหาสมุทรไม่มีฝั่ง กาบินขึ้นฝั่ง บินไม่ขึ้นเลย ไม่รู้ทางไหนคือฝั่ง รอนแรม จมลงไปกับช้างด้วย เป็นทุกข์เพราะหลง แปลว่าขึ้นฝั่งไม่ได้เลย กาหลงลิ้นกินไปไม่ทวนเหตุ กาหลงช้าง ตัวหลง บ่ต้องห่วง สวงกินอิ่มน้อย สิตายจ้อยกลางทะเล ตายกลางทะเล หลงทิศหลงทางไปไหนไม่ได้เลย จมอยู่ในความสุขความทุกข์ จมอยู่ในความรักความชัง จมอยู่ในความพอใจไม่พอใจ นั่นไม่ใช่ที่อยู่ของชีวิตเรา ชีวิตเราต้องไม่เป็นอะไร ขึ้นฝั่งได้แล้ว นี่คือหลักใจ ไม่ใช่คนละเรื่อง ไม่ใช่ของใครของมัน ทำให้กันไม่ได้ เราจึงต้องขวนขวายกันบ้าง ศึกษาปฏิบัติกันบ้าง มีสติ รู้สึกระลึกได้ การใช้ชีวิตของเรา ให้เห็นผิดเห็นถูก อย่าเป็นผู้ผิดผู้ถูก มันมาให้เราเห็น มันมีอะไรต่างๆเกิดขึ้น ทำให้เราเห็น มันผิดก็เห็นมันผิด มันถูกก็เห็นมันถูก มันทุกข์ก็เห็นมันทุกข์ มันมีอยู่ สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ ทุกข์บางอย่างมันจรมา ทุกข์บางอย่างมันปรุงแต่งขึ้นมา ทุกข์บางอย่างมันเป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือน ให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริงของทุกข์ ทุกข์ที่มันเป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือน เช่นหายใจเข้า หายใจออก กลืนน้ำลาย กระพริบตา เคลื่อนไหว ยืนเดินนั่งนอน เป็นเจ้าบ้านมาแต่เดิม อย่าเอามาเป็นทุกข์ ให้เห็นแจ้ง ทุกข์บางอย่างมันจรมา อาคันตุกะ บางอย่างมันมาใช้เรา ปวดหนัก ปวดเบา นอนอยู่ก็ต้องได้ลุก ไม่มีใครเป็นใหญ่ได้ กูไม่ถ่าย กูไม่เบา กูไม่กินข้าว ไม่ได้ มันต้องรับใช้เขา บรรเทาไปตามสภาพทุกข์นั้น
ทุกข์บางอย่างมันจรมาแล้วเราก็เห็น เช่น อาคันตุกะทุกข์ คือความโกรธ ความโลภ ความหลง ความรัก ความชัง มันจรมา มาใช้กายเรา มาใช้ใจเรา ถ้าเราไม่รู้มัน ก็รับใช้มัน มันก็เป็นใหญ่ ต้องมีกันทุกคน ความโกรธ ความโลภ ความหลง เราก็รับใช้ความโกรธ ความโลภ ความหลง รับใช้ความรักความชัง ทั้งๆที่ไม่ใช่ตัวใช่ตน มันไม่ใช่ตัวใช่ตน เราก็เห็นแจ้ง บางอย่างก็ละ บางอย่างก็บรรเทา บางอย่างก็กำหนดรู้เฉยๆ ทำอะไรกับมันไม่ได้ ก็บรรเทาไปตามสภาพทุกข์ นี่คือเหตุ คือปัจจัยที่เราไปเกี่ยวข้อง การศึกษาธรรมหาหลักใจต้องรู้เรื่องนี้ชัดเจนแม่นยำ ไม่เสียเวลา ผ่านได้เลย มีสติเป็นทางผ่าน เป็นทางมรรค เป็นทางเอก เอสะมัคโควิสุทธิยา เห็นกันทุกคน มีกันทุกคน มีภาระกันทุกคน บางผู้บางคนก็ศึกษาจนวางลงแล้ว แต่ก่อนเคยหนักเคยยึดเคยถือ เดี๋ยวนี้ก็วางลง เหมือนพระอริยะเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว ไม่หยิบเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีกแล้ว ไม่หยิบเอาความรักความชัง ความพอใจความไม่พอใจเอามาอีกแล้ว ไม่รับใช้มันอีกแล้ว ถอนออกได้แล้ว เหนือแล้ว นี่เรียกว่าอย่างนี้ไม่มีใครให้กันได้ เป็นของส่วนตัว ต้องหัดตน ฝึกตน สอนตน เราก็มาปฏิบัติธรรมนี้ก็เห็นเรื่องนี้ เห็นเรื่องที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจเรานี้ ไม่ใช่เห็นอันอื่น เราจะรับใช้ความทุกข์ ความหลง ความโกรธ ความรัก ความชัง มันไม่มั่นคง มันก็พึ่งเราไม่ได้ พึ่งกันก็ไม่ได้ เราจึงมาปฏิบัติธรรมกัน ถ้ารู้เรื่องนี้ก็เป็นคนเดียวกันได้ แล้วก็เป็นหลักใจ หลักใจอันนี้ไม่มีจน แก้ไขเปลี่ยนได้ เหนือการเกิดแก่เจ็บตายได้ อันหลักกายนี้แก้ไม่ได้ เป็นแต่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่ก็ต้องมี ต้องขยันหมั่นเพียร อย่าเกียจคร้าน แสวงหาหลักกายให้เป็นอาชีพ ไม่ใช่ไม่ทำอะไร ขยันหมั่นเพียร ขยันหาเพื่อเป็นปัจจัย หามาได้ก็รู้จักรักษา รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ รวมกันเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ อย่าเป็นแร้งคาบมา กาคาบหนี ช่วยกัน เราจึงมีหลายอย่างที่เราปฏิบัติต่อตัวเราให้ถูกต้อง ถ้าเราปฏิบัติตัวเราถูกต้อง คนอื่นก็ถูกต้อง ได้ประโยชน์จากเรา ถ้าเราปฏิบัติตัวเราไม่ถูกต้อง คนอื่นก็เป็นโทษเป็นภัยได้ เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติธรรม เรามีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็มีลูกมีเต้า เรามีผัวเมีย เรามีญาติ เราต้องปฏิบัติธรรมต่อกัน เพื่ออยู่ด้วยความสงบร่มเย็นอันนี้
เราจึงต้องศึกษาบ้าง ในกายในใจเรานี้ บางทีอาศัยสิ่งแวดล้อมช่วย ปลีกวิเวก เป็นสถานที่ตอบปัญหาชีวิตได้ วิเวกนี่ก็มีกายวิเวก สงัดกาย ปลอดจากเครื่องรบกวน เรียกว่ากายวิเวก เรายินดีในที่สงัดหรือไม่ หรือเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา เพลิดเพลินอยู่ที่ใดไปที่นั้น ดีดสีตีเป่าอยู่ที่ไหนไปที่นั่น เพลงอยู่ที่ไหนไปที่นั่น รำอยู่ที่ไหนไปที่นั่น เรียกว่าเพลิดเพลิน หลง ก็ต้องปลีกวิเวกบ้าง สงัดกาย เราสงัดกายมันก็ไปถึงจิต สงัดจิตได้ หลีกเร้น ถ้าไม่มีที่ไป ก็ไปที่สุคะโตเนี่ย สถานที่ต้อนรับไว้ เป็นประเทศไทย มีวัดวาอาราม มีพระสงฆ์ มีผู้ดูแลเป็นภารโรงบ้าง เป็นกรรมกรบ้าง เป็นอาจารย์บ้าง อยู่ที่นี่ไม่ต้องห่วง เชิญไปๆ เชิญมาๆ เมื่อมันสงัดกายสงัดใจ มันก็เป็นอุปธิวิเวก มันก็สิ้นไป ตอบปัญหาได้ทั้งหมด เรียกว่าอุปธิวิเวก พ้นภาระได้
เหมือนกับเราฝึกช้าง เหมือนควาญช้างฝึกช้างต้องไปฝึกในป่า ให้ได้ยินแต่เสียงควาญช้างกับเจ้าของช้างเรียกควาญช้าง พูดกันบ่อยๆ ช้างมันทำผิดก็ด่ามัน ช้างมันทำถูกก็เอ้อๆ เมื่อมันได้ยินคำพูดบ่อยๆ ของควาญช้าง ช้างมันเป็นช้างป่า ไม่เคยได้ยิน พอได้ยินไป ได้ยินไป มันก็จำได้ จำเสียงเจ้าของได้ เห็นเจ้าของ ได้กลิ่นเจ้าของ มันก็เกิดคุ้นเคยกัน ไปขี่คอมันเข้าบ้านได้ มันฟังเสียงเจ้าของคนเดียว ไม่ฟังเสียงคนอื่น แม้แต่ลิงก็เหมือนกัน ไปปฏิบัติธรรมที่บ้านหนองกุงธนสาร ก็มีสวนมะพร้าว พระที่นั่นมีวัดเป็นสวนมะพร้าว มีลิง เขาเลี้ยงลิงไว้ขึ้นมะพร้าว เวลาลิงขึ้นมะพร้าว พระที่นั่นก็ไปพาลิงขึ้นมะพร้าวมาให้ มาสู่กันฉัน มะพร้าวน้ำหอม น้ำหวาน เจ้าของ พระท่านก็บอกมัน เอาลูกขนาดไหน จะลูกแก่ พระก็บอกลิง จะเอาลูกปานกลาง พระก็บอกลิง จะเอาลูกอ่อน พระก็บอกลิง ทีนี้เราไปยืนดูอยู่ เราพูดหลายคน คนนั้นก็พูด คนนี้ก็พูด มันสับสน ฟังเสียงคนอื่นมันโกรธ มันโกรธ มันไม่พอใจ เจ้าของก็บอกว่ามันสับสน อย่าพูดหลายคน ให้ผมพูดคนเดียว ลิงตัวนั้นก็ทำงานได้ดี ถ้าพูดกันหลายคน มันก็สับสนได้ เพราะมันไม่คุ้นเคยต่อเสียงคนอื่น อันนี้ลิงมันก็ได้ยินเหมือนกัน มันรู้จักเหมือนกัน อันนี้เขาฝึกก็ต้องตัวต่อตัว เราฝึกตัวเองก็เหมือนกัน บางทีน่าจะรู้ก็ไม่รู้ มันหลงไปเสียแล้ว สิ่งแวดล้อมไม่ค่อยดี พลาดไปเสียแล้ว ถ้าเราอยู่ในกายวิเวก สงบกาย จิตวิเวก สงบจิต มีสติเห็นกายในกาย มีสติเห็นเวทนา ตามไปตามไป มันก็แจ้งชัดขึ้น เราก็ตอบได้ รู้ได้ รู้แล้ว เห็นแล้ว เห็นชัดเจน ไม่มีอะไรปิดบังอำพราง ตัวต่อตัว ตัวรู้ต่อตัวหลง เวลาหลงก็รู้ทันที ไม่มีอะไรมากลบเกลื่อนความหลง เวลาทุกข์ก็รู้ทันที ไม่มีอะไรมากลบเกลื่อนความทุกข์ ถ้าเราอยู่ในที่วิเวกมันก็กลบเกลื่อนอะไรต่างๆ เราพยายามจะให้มันสงบ มีสิ่งที่มาไม่ให้สงบก็มี เราเลยต้องอาศัยสถานที่บ้าง
อย่างช้างเนี่ยไปอยู่ในโรงช้าง ช้างของพระราชา โรงช้างก็ไกลวังไปหน่อย มันเป็นที่ปลอด ห่างจากเมืองไป ในเวลานั้นโจรไปปล้น ไปปล้นมา มาแบ่งทรัพย์กันที่ใกล้โรงช้าง พวกโจรปล้นได้มาก็มาแบ่งกัน ก็พูดกันว่า กูเป็นคนฆ่า กูเป็นคนแทง กูเป็นคนยิง กูต้องเอามากกว่ามึง มึงไม่ได้ทำอะไร มีแต่ได้ยิน เสียงฆ่า เสียงแทง เสียงเหยียบมัน โจรก็พูดดีไม่เป็น มีแต่เรื่องฆ่า เรื่องแทง เรื่องเหยียบ เรื่องทำให้ตาย ช้างศึกพระราชา ได้ยินแต่เสียงพูดของโจรผู้ร้าย ก็กลายเป็นช้างดุร้ายไปเลย ควาญช้างจะไปเอามาใช้ มันก็ฆ่าควาญช้าง กูฆ่ามึง กูแทงมึง กูเหยียบมึง เห็นใครไปก็แทง ก็ฆ่า ก็เหยียบ ควาญช้างตายไปหลายคน มากราบทูลพระราชา พระราชาก็แก้ไขไม่ได้ ก็เลยสั่งให้เพชฌฆาตประหารชีวิตเลย ประหารชีวิตช้างตัวนั้น ทีนี้มีควาญช้างเก่าแก่ขออภัยโทษไว้ อันนี้พระสูตรนะ ไม่ใช่พูดเองนะ พระสูตรตรัสไว้อย่างนี้ ควาญช้างเก่าแก่ก็มาขออภัยโทษ อย่าเพิ่งประหารชีวิตเถิดพระเจ้าข้า ให้ข้าพเจ้าดูแลสักหน่อย ควาญช้างแก่คนนั้นก็ไปสังเกตสิ่งแวดล้อม มันเกิดอะไรขึ้นที่นี่ ช้างศึกแท้ๆทำไมถึงดุร้าย เคยทรงขี่เข้าในสงครามเป็นช้างรบชนะมาหลายสงครามแล้ว ทำไมมาดุร้ายอย่างนี้ มันต้องมีเหตุมีปัจจัย ควาญช้างแก่ก็ไปศึกษาสิ่งแวดล้อมดู กลางวันก็ค่อยๆไป กลางคืนก็ค่อยๆไป ไปเห็นเรื่องนี้แหละ ไปเห็นเรื่องที่โจรไปปล้นแล้วมาฆ่ากัน วางแผนด้วย เมื่อปล้นสำเร็จแล้วก็มาแบ่งทรัพย์กัน ได้เงินได้ทองมาก็มาแบ่งทรัพย์กัน พูดกันแต่เรื่องฆ่า เรื่องทำร้าย ควาญช้างแก่ก็ได้เหตุ มันเป็นเพราะเรื่องนี้ ที่มากราบทูลพระราชาให้ทหารหาญทั้งหลายไปล้อมจับโจรให้ได้ ทหารหาญก็ไปล้อมจับโจรได้ทั้งหมด แล้วก็ให้บัณฑิตทั้งหลาย พระสงฆ์ทั้งหลาย ญาติโยมทั้งหลายไปทำวัตรสวดมนต์อยู่แถวโรงช้างศึก แผ่เมตตากรุณา แผ่เมตตาสัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ได้ยินไหม เราก็มาฝึกตัวเราว่ากันอย่างนี้ แผ่เมตตาทุกวันๆ ในโรงช้างศึกนั้น ช่วยกันทำดี ทำช่วยกัน ยกมือไหว้ ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน ต้องเชื่อฟัง อย่าเป็นผู้ที่โทโสโมโห ให้มีเมตตากรุณาต่อกัน ช้างศึกพระราชาได้ยินแต่เรื่องนี้ หลายวันหลายเดือน ช้างศึกพระราชาก็เปลี่ยนนิสัย มาเป็นช้างที่ดีกว่าเก่า มาทางไหน เห็นคนไปคนมา ก้มกราบ ใบหูนี่ถี่อ่อนลง โปบปับๆ อ่อนน้อมถ่อนตน ขี่คอได้ เหมือนกับหลวงตามาจากไต้หวัน มาที่ปราจีนบุรี ขากลับมาทางเขาใหญ่ มาถึงเขาใหญ่มีช้างพลายตัวหนึ่งเดินอยู่ คนมุงกันอยู่กลางถนน และมีรถคันหนึ่งอยู่ข้างหน้าโน่น แล้วช้างตัวนั้นก็เดินอยู่ข้างหลังรถ ก็มีพวกฝรั่งถ่ายภาพดูกันอยู่ มันหันหลังให้ช้าง หันหน้าจะวิ่งหนีไปนู่น มันเปิดไฟท้ายแดงๆไว้ ช้างมันก็เห็นไฟแดงๆ มันเลยวนอยู่นั่น มันไม่กล้าไปทำลาย พอรถเราวิ่งผ่าน เราไปจอดอยู่ก็ดูกับเขา รถคันหนึ่งอยู่ข้างหน้า ช้างอยู่ตรงกลาง เราก็อยู่ตรงนี้ ช้างมันก็โกรธเรา มันทำใบหูผึ่งเอา ม้วนมือ วิ่งจะมาทุบรถ แหม ม้วนมือมา เดินบุ่ม บุ่มมามันจะมาทุบรถ เห็นใบหูมันก็รู้ว่ามันโกรธเราแล้ว มันเป็นช้างดุร้ายแล้ว ก็บอกคนขับรถถอยหลังๆ เราก็ถอยหลังไป ก็ยังตามไปอยู่ เดินบุ่มบุ่มตามไป คนขับรถก็ถอยหลังวิ่งไป ตามไป มันก็ไม่ไปแล้วนะ หยุดแล้วขึ้นมา มันแสดงท่าทางที่ไม่ดี เหมือนคนใช่ไหม ถ้ายิ้มแย้มแจ่มใสแล้วด่ากันไม่ได้ดอก ถ้าดุร้ายเราดูตาก็รู้ มันก็ดุร้าย ฆ่ากันได้ ทำร้ายกันได้ เพราะอะไร สิ่งแวดล้อม ในที่สุดควาญช้างก็มากราบทูลพระราชา หายพยศแล้ว ช้างศึกก็เลยเป็นช้างศึกพระราชาต่อไป
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท มันมีเหตุอย่างนี้ ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ชีวิตเรานี้ไม่ใช่ดุร้ายนะ เป็นจิตที่บริสุทธิ์มาแต่เดิม แต่อุปกิเลสมันจรมาเพราะสิ่งแวดล้อมไม่ดี มันทำให้เป็นจริตนิสัยได้ เราจึงมาอาศัยในสถานที่เพื่อนมิตรทั้งหลายเนี่ย เป็นสิ่งแวดล้อมให้กันและกัน นี่คือปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่เราโกรธ อยู่ดีๆเราจะโกรธ ไม่มี มันมีเหตุมาก่อนจึงโกรธ มันมีเหตุแล้วจึงทุกข์ มันมีเหตุเสียก่อนจึงหลง มันมีเหตุจึงรักจึงชัง อย่าทำตามมัน ให้เห็นเหตุมัน อะไรก็ตามเกิดที่เหตุมัน ถ้ามันหลงก็อย่าเป็นผู้หลง เห็นมันหลง เพื่อจะดูต้นเหตุ ถ้ามันทุกข์ ก็เห็นมันทุกข์ อย่าเป็นผู้ทุกข์ ดูต้นเหตุ ถ้ามันโกรธก็เห็นมันโกรธ อย่าเป็นผู้โกรธ ถ้ามันปวดก็เห็นมันปวด ถ้ามันเจ็บก็เห็นมันเจ็บ เห็นต้นเหตุมัน แม้ที่สุดเก่งที่สุดเห็นมันตาย ก็อย่าเป็นผู้ตาย เห็นมันตาย ที่สุดก็เจริญตรงนี้ เรียกว่ามีแต่เห็น ไม่เป็นอะไรกับอะไร อันนั้นล่ะมาตรฐานของการฝึกตนเอง จึงมาเห็นอย่างนี้
คาถาพระอัสสชิพูดคำแรกที่สุดเลย เป็นพระบวชใหม่ในปัญจวัคคีย์ทั้งห้า อุปติสสะสารีบุตรไปเจอเข้าขอให้แสดงธรรมให้ฟัง อุปติสสะก็พูดว่า อ้อ อัสสชิ อัสสชิก็พูดว่า พูดเทศน์ไม่ได้ บวชใหม่ๆสองสามวันมานี้ อุปติสสะก็บอกให้นิดหน่อยก็ไม่เป็นไร อัสสชิก็พูดขึ้นว่า “เย ธัมมา เหตุปัปพวา เตสังเหตุ ตถาคโต เตสัญจ โย นิโรโธ จ เอวัง วาที มหาสมโณ” ภาษาบาลีนะ เพื่อเอาหลักฐานสักหน่อย ไม่ใช่พูดเอาเอง พูดตามพระอัสสชิ ถ้าแปลเป็นภาษาบ้านเราก็ ทุกสิ่งทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ จะดับก็ดับที่เหตุ พระศาสดาสมณโคดมอาจารย์ของเราสอนอย่างนี้ เราก็รู้อย่างนี้ เท่านี้เองอุปติสสะได้บรรลุธรรมเลย เพราะเห็นอย่างนี้ เราเนี่ยก็ต้องเห็นเหมือนธรรมที่กล่าวเช่นนี้เป็นอมตะ ทุกสิ่งต้องมีเหตุเสียก่อน ต้องแก้ที่เหตุมัน มันจะโกรธ มันต้องแก้ที่เหตุให้เกิดความโกรธ อะไรเหตุมันน่ะ ถ้าดูแล้วมันก็มีสภาพที่หลงนี่แหละ ถ้ามันหลงแล้ว ก็เป็นไปได้หลายอย่าง ต้นตอของอกุศลคือความหลง เห็นไหม มีแต่สภาพที่หลง สภาพที่รู้ตรงกันข้ามอยู่ เรามาฝึกหัดก็เห็นเรื่องนี้ทันที ไม่มีใครไม่เห็น เห็นสภาพที่รู้ เห็นสภาพที่หลง เมื่อเห็นสองอย่างนี้เข้าไป มันก็จะผ่านไปได้ อันหลงทีไรก็รู้ ไม่ใช่ไปแก้ความหลง มา กลับมาสร้างความรู้ต่างหาก ให้ความรู้สึกตัวเป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือนเอาไว้ก่อน เหมือนควาญช้างฝึกช้าง ถ้ามันผิดก็ไม่เอา บอกให้มันทำถูก ถ้ามันทำถูกก็บอกมัน เอ้อๆ เหมือนฝึกวัวเทียมเกวียน ผูกวัวควายเตรียมคราดเตรียมไถ คนที่ผูกควายเตรียมคราด ก็มีคำพูด ถ้าไปทางซ้ายเกินไปก็บอกให้ไปขวา ขวาๆ ให้มันได้ยินสองคำนี้ ถ้ามันไปทางขวามากก็บอกมัน ซ้ายๆ ถ้าไปตรงก็บอกว่า เอ้อ..ไปๆๆ ควายแท้ๆมันทำไมรู้จักคำว่าซ้ายขวา เพราะมันบอกสองคำเท่านี้ แล้วมันหัดยังไงมันจึงรู้ว่ามันไปตรง มันก็มีรอยไถ มีรอยไถในน้ำ มันเหยียบรอยไถกับเหยียบที่ไม่ใช่รอยไถมันก็รู้ มันสัมผัส ทั้งได้ยินคนฝึกมันพูด ทั้งได้เหยียบสัมผัสกับรอยไถกับที่ไม่ใช่รอยไถ ถ้ามันเหยียบรอยไถอยู่ แสดงว่ามันไปถูกแล้ว แล้วก็ไป บางทีก็หยุดพูดได้ บอกมันไป ไปเรื่อยไป ควายแท้ๆ ยังฝึกได้ แม่นบ่ ผู้ใหญ่เคยฝึกควายใส่ไถบ่ มันเป็นอย่างนี้ เรานี้ก็บอกตัวเรา ถ้ามันหลงก็รู้ไม่มีใครสอนเราได้เรื่องนี้ เราฝึกควายเอาไปใช้งาน ฝึกช้างเอาไปใช้งาน แต่การฝึกเราก็เอาไว้ใช้ให้เป็นที่ดับทุกข์ พ้นทุกข์ มันเป็นอย่างนี้ พ้นหลงนั่นแหละ มีแต่สภาพที่หลง มีแต่สภาพที่รู้ เห็นไหมแม่ชีน้อย เห็นทุกคนไหม ความหลงหนะหรือไม่เห็นเลยเหรอ ใครเคยเห็นความหลงยกมือขึ้นดูซิ แสดงว่าอันเดียวกัน หลงก็อันเดียวกัน ไม่ใช่หลงคนละอย่าง
อันชื่อว่าความหลงอันเดียวกันหมดเลย พระก็หลง โยมก็หลง แม่ชีก็หลง ชาติใด ภาษาใด อายุปานใด วัยใด หลงเหมือนกันหมดเลย ความรู้ก็เหมือนกันหมดเลย เนี่ย มันเป็นอันเดียวกันแท้ๆเนี่ย ทำไมผู้ฝึกก็ฝึกได้ ผู้ทำ ทำไมเราทำไม่ได้ ต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ฝึกตน สอนตน หลักใจของเรา หลักใจของเราเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้า ด้นเดา ไม่ใช่งมๆซาวๆ เหมือนเป็นปลาตายในน้ำ ไม่ใช่เลย เป็นการที่ชัดเข้าไป สร้างความรู้ก็มีความรู้ทันที เอามือวางไว้บนเข่าก็รู้ทันที พลิกมือขึ้นก็รู้ทันที เอามือไปมือมาก็รู้ทันที ถ้ามันหลงทีไรก็รู้ มาหาตัวรู้ อย่าไปแช่ความหลง มาสร้างความรู้ ประกอบความรู้ ความรู้ก็ไม่ไปขอใคร อยู่กับเรานี่เอง สูนให้โยมที่หลง สูน คนที่หลงหนะ ทำไมมันหลงหละทั้งๆที่ไม่หลงก็มี แต่มันไม่ใช่ หลวงตาไปด่าน้อง มันเห็นความอดอยากทุกวันนี้ อุ๊ย ทำไมมันอดอยาก นาก็ดีที่สุดเลย ทำไม ผัก ทำไมไปซื้อกิน ปลูกได้ ไปซื้อผักมากำแค่นี้ห้าบาท มาอวดกัน ซื้อผักได้กำหยิบน้อยๆ ไปอวดกันห้าบาทนะ สมน้ำหน้ามัน ทำไมมันไม่ทำกิน มือมีอยู่ ทำไมไม่ปลูกกิน ทำไมไม่ทำกิน ทำไมไปซื้อกิน มันน่าจะไม่จนนะชีวิตของคนเรา ทำไมจึงยากจนกัน อะไรเป็นเหตุให้ยากจน หนึ่งหละ เกียจคร้านทำการงาน สองหละ อบายมุข เล่นการพนัน สามหละ นักเลงสุรา สี่นักเลงผู้หญิง นักเลงชาย เที่ยวกลางคืน เอาเวลาไปทำงาน ไปเล่นไปเที่ยว ไม่ประกอบการงานก็ต้องยากจนแน่นอน คนเรานี่ นี่มันทำได้จริงๆ ลิขิตชีวิตเราได้ ในมือห้านิ้วสิบนิ้วเนี่ย เอากาย เอาใจเนี่ยมาทำ ทำดีก็ได้ ละความชั่วก็ละได้เด็ดขาด ทำความดีก็ทำได้เด็ดขาด หัดตนสิ เวลามันหลงรู้ สมน้ำหน้าความหลงแล้ว สมน้ำหน้าจริงๆนะ ขยันตรงนี้เหลือเกิน เวลามันหลงนี่ ขยัน ยิ้ม หัวเราะความหลง มันมีอยู่ความไม่หลง เวลามันโกรธ มันมีอยู่ความไม่โกรธเนี่ย เวลามันทุกข์ มีอยู่ความไม่ทุกข์เนี่ย จะเอายังไงพวกเรา แค่นี้เอง จะทำไม่ได้หรือ ความทุกข์มันก็ไม่ได้มีศาสตราวุธอะไร กิเลสตัณหาไม่ได้มีศาสตราวุธอะไร มันเกิดจากใจเรา เกิดจากความหลง ความหลงเหมือนนิ้วมือสามนิ้ว ดูดู เห็นไหม อะไรเนี่ย มีสามนิ้วใช่ไหม ความหลงคือเนี่ยๆ ตัวร้ายมัน ตัวเนี่ยตัวหลง อยู่กลางๆ ถ้าหลงก็โกรธได้ ถ้าหลงก็โลภได้ ทุกข์ได้ ถ้าหลงก็ไปได้หลายอย่าง ถ้าไม่หลง ไม่มีเลย ตัวโกรธ ตัวทุกข์ไม่มีเลย มันเกิดจากตัวนี้ ตัวหูมัน และตัวหลงกับตัวรู้เนี่ย อยู่ในเดียวกัน ตัวหลงเนี่ยเป็นรู้ เหมือนเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ เปลี่ยนอย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติ เรียกว่าหัดตน สอนตน