แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมต่อให้เป็นส่วนประกอบกับการศึกษาปฏิบัติ ดูจากแผนที่ในการเดินทาง ระยะทางที่เราเดินมันยาว ยาวไกล ผู้เดินทางไกลต้องพอสมควร โบราณท่านว่า เทียวทางเวิ้ง เหิงหลายมันสิค่ำ มัวแต่กินหมากหว้ามันสิช้าค่ำทาง อย่าไปหลงในสุขในทุกข์ อย่าหลงในอารมณ์ สติเป็นเครื่องมือในการเดินทาง ถ้าไม่มีสติก็ไม่ไปสักก้าว สิ่งที่พูดไปเป็นลักษณะการเดินตามอริยะมรรค คือมีสติ รู้สึก รู้สึกตัว ถ้าไม่มีสติ ยังมีภพมีชาติเวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏสงสาร หลงแล้วหลงอีก โกรธแล้วโกรธอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ของเก่าๆ ยังเอามา ยังไม่ได้ผ่าน น้ำเน่า ไม่เคยผ่านไป กักขังอยู่ ความหลง ความโกรธ ความโลภ ความทุกข์ ความรัก ความชัง เสมือนน้ำเน่า ไม่ไหลผ่าน การมีสติเหมือนกับฟอกน้ำเน่าให้เป็นน้ำที่ดี ถ้ารู้ทีไรก็ดีไปเรื่อยๆ ถ้าหลงก็เน่าอีก วิธีที่จะไม่หลงก็คือวิชากรรมฐานนี้ ขยัน รู้ กรรมคือการกระทำ ฐานคือที่ตั้ง เมื่อมีที่ตั้ง เมื่อมีการกระทำ มันก็ตั้งต้นได้ ถ้าไม่มีที่ตั้ง ไม่มีการกระทำก็ไม่ตั้งต้นอะไร มีเบื้องต้น มีท่ามกลาง มีที่สุด อย่าประมาท แล้วก็มีอยู่จริง ทำได้จริง เรามีความพร้อม มีกายมีใจ มีรูปมีนาม ละความชั่วได้ ทำความดีได้ ทำจิตให้บริสุทธิ์ได้ ย่อมมีรูปมีนามมีกายมีใจ มีโลก รูปโลกนามโลก มีรูปมีนาม มีอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีรูป มีรส มีกลิ่น มีเสียง มีสัมผัส มีอารมณ์ ไม่ว่าโลก รสของโลก มันก็มี สัตว์โลกย่อมติดรสของโลก ตาก็เกิดการเห็น เรียกว่าจักษุสัมผัส ระหว่างจักษุสัมผัสมันมีอะไรซ่อนอยู่ตรงนั้น ถ้าไม่รู้ก็เป็นสมมุติบัญญัติมาแทรกเข้าไป เป็นความพอใจไม่พอใจไปเสียแล้ว ไปทางต่ำ ถ้ามีสติฝึกไว้จะได้ใช้ เห็นสักว่าเห็น รสของโลกก็ไม่ยิ่งใหญ่ ไม่ขรุขระ เรียบๆ เพราะเราเคยเดิน ชำนาญในการเดิน การรู้มันทำให้เรียบ ได้เห็นโลกเรียบ ถ้าไม่รู้ก็ขรุขระ พอใจไม่พอใจสมมุติบัญญัติ ความชอบความไม่ชอบเกิดขึ้น ความรักความชังเกิดขึ้น เรียกว่าจักษุสัมผัส ตาหูจมูกลิ้นกายใจก็มีคู่ ฆานะ ชิวหา กาย มโน โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน โสตะคือหู ฆานะคือจมูก ชิวหาคือลิ้น กายก็คือสัมผัส มโนคือใจ การสัมผัส
ถ้าเราไม่มีสติในการกำกับการใช้ชีวิตมันก็เนิ่นช้าอยู่ตรงนี้ ถ้าเรามีสติพาให้เราสะดวกให้ได้ ผ่านได้ เรียบๆ จึงฝึกตนสอนตนให้ชำนิชำนาญ เตรียมไว้ยามสงบเราฝึกยามศึกเรารบ เหมือนเรามีความรู้ถ้ามีความรู้เวลาเรามีการงานมีการบ้านเกิดขึ้นเราก็เฉลยได้ โดยเฉพาะชีวิตของเราทั้งหมดนี้ ตัวเฉลยคือสติ ปัญหาเกิดกับรูปกับนาม เกิดกับกายกับใจ จะมีแปดหมื่นสี่พันอย่างเฉลยได้ทั้งนั้น ผ่านได้ทั้งนั้น การที่เราสาธยายพระสูตร สวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น ไม่ใช่เราว่าแต่ปากมันเป็นจริง เป็นคำพระโอษฐ์ ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเป็นโกญจนาท ไม่ใช่อ้อนวอน เป็นเสียงโกญจนาท เราคำตรัสของพระพุทธเจ้ามาสวดก็ให้เหมือนกับเสียงพระพุทธเจ้าให้มันได้ อย่าไปอ้อนวอน อย่าให้เพี้ยนไป จิตใส่ใจตาม คำว่าโกญจนาทมันบาป รูปไม่เที่ยง มันถึงว่า รูปไม่เที่ยงไปถึงใจเรา เวทนาไม่เที่ยงมันถึงใจเรา มันก็ชี้หน้ามัน เห็นอะไรก็ชี้หน้ามัน มันก็ก๋อยไปเลย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่ใช่ตัวตนไม่ควรยึดมั่นถึงมั่นว่าตัวว่าตนของเรา โกญจนาท อย่าว่าแต่ปาก ให้ได้นิสสัยไปด้วย อย่าให้เพี้ยน โดยเฉพาะโกญจนาทนี่ มันเป็นสิ่งที่ช่วยเราได้ เช่นเวลาใด เรามีความทุกข์ มีความไม่เที่ยงเกิดขึ้น ลองว่าดูสิ เวลามันโกรธมันเกิดขึ้น ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญาก็ไม่เที่ยง สังขารก็ไม่เที่ยง วิญญาณก็ไม่เที่ยง เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน ถึงใจของเรา เป็นการเยียวยาถ้าใจรับรู้เห็นด้วย เห็นถูก คิดถูก ทำถูก ความเพียรถูก ตั้งใจถูก มันก็ไปกันได้ ถ้าว่าเฉยๆตามภาษานกแก้วนกขุนทอง โดยเฉพาะต้นตำหรับของการสวดมนต์เนี่ย ผมก็ไปเรียนมามันก็เพี้ยนไปบ้างทุกวันนี้ ไม่เหมือนต้นฉบับเดิม ทำนองก็ไม่เหมือน ใส่ใจก็อาจจะไม่เหมือน
แต่ก่อนมันโกญจนาทจริงๆ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควาพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าไม่ชัด(หัวเราะ) อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า (ลากเสียงยาว) เพี้ยนไปนะ ไม่ตรง ไม่โกญจนาท เสียงแบบนี้ไม่โกญจนาท ต้องเป็นเสียงโกญจนาท เหมือนกับอำนาจอันนึง ให้ไปช่วยเรา เสียงก็ช่วยเรา เสียงอาจารย์สอน เสียงพ่อแม่สอน เสียงพระพุทธเจ้าสอน พระสงฆ์ทั้งหลายจะเงี่ยหูฟังทันที เราก็เหมือนกัน ไม่มีอำนาจซะหน่อย ขี้ขลาดในการใช้ชีวิตของเรา รูปไม่เที่ยง สักว่าเห็น และก็ยิ่งเรามีกรรมฐานฝึกไว้ว่า มีสติเห็นกาย กายมันแสดงออกมา อะไรที่มันเกิดตัวตนในกาย ความร้อนเป็นตัวตนเหรอ กูร้อนเหรอ ความหนาว กูหนาวเหรอ ความปวดความเมื่อย กูปวดกูเมื่อยเหรอ ไม่ใช่ สักแต่ว่า กาย ความเห็นนะ มาจากหัวใจลึกๆ มาจากความรู้สึกตัว สักแต่ว่ากายสักแต่ว่ากาย ก็เป็นสุขเป็นทุกข์เกิดขึ้น ขณะที่เราปรารภความเพียรมันจะตรงเข้าไป เวทนา สุขๆก็สุข ทุกข์ก็ทุกข์ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เห็นไม่เป็น ชี้หน้ามัน ถ้าเป็น ชี้ไม่ออก ถ้าเห็น ชี้หน้ามัน มันคนละเรื่อง ถ้าเห็น มันเหนือ มันไม่อยู่ในการเป็น ออกมา มาดู เราหัดไว้ มีสติหัดไว้แล้ว ถ้าเห็น นี่ไม่เที่ยง นี่ไม่ใช่ตัวตน สักว่ากาย สักว่าเวทนา สักว่าจิตที่มันคิด มันคิดได้สารพัดอย่าง ยิ่งเวลาฝึกกรรมฐานมันจะเห็นชัดเจน แต่ก่อนไม่เคยเห็นความคิด พอมามีสติมันจะเห็นความคิด เพราะมันดูอยู่แล้วเป็นหลัก อะไรผ่านมาก็จะเห็น เหมือนเราลืมตาอะไรผ่านมาทางหน้าก็จะเห็น ถ้าหลับก็ไม่เห็น คนมีสติต้องเห็น ถ้าเห็นมันคิด เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์นั้นแหละถูกแล้ว จะได้รู้มัน ทำอย่างไรเวลามันเกิดขึ้นทำอย่างไร ถ้าไม่ช่วย ช่วยตนเองได้อาศัยพระธรรม อาศัยคำตรัสพระพุทธเจ้าเหมือนกับอยู่เฉพาะหน้าเรา นี่คือกาย เป็นสักแต่ว่ากาย นี่เวทนา สักแต่ว่าเวทนา นี่คือจิตไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โน้มไป อิงไป อิงนิมิตรนี้ไว้ก่อน เห็นกระแสไว้ก่อน มองต่างมุม มองข้ามไป อย่าไปจน หัดยกตนออก เรียกว่าเดินทางข้ามไป คนเดินทางก็ต้องมีการข้ามการขรุขระ แต่ความขรุขระไม่ทำให้เราหยุด ยิ่งกระโดดได้ดียิ่งไปได้ไกล เราหลง-ไม่หลง ไปไกลเหลือเกิน ถ้าหลงเป็นหลง ไม่ข้ามแล้ว ทุกข์เป็นทุกข์ไม่ข้าม สุขเป็นสุขไม่ข้าม รักเป็นรัก เกลียดเป็นเกลียดไม่ข้าม ย่อมกระเด็นกลับมา กระเด็นกลับมานั่งจ๊องก๊องอยู่ที่เก่า หลงก็คือกูหลง สุขก็คือกูสุข มีตัวมีตนในความหลง มีตัวมีตนในความสุข มีตัวมีตนในความทุกข์ ตัวตนยิ่งมากขึ้น เอาความชอบเอาความไม่ชอบ ได้ความชอบได้ความไม่ชอบ ได้ความขี้เกียจ ได้ความเบื่อหน่ายในขณะที่ทำความเพียร มีได้ เกิดญาณหอบกระเป๋ากลับบ้าน เกิดญาณเก็บเสื่อเก็บหมอน เพียงแต่เจอเท่านี้
อ้าวนั้นแหละจริง ตรงไหนที่มันอ่อนแอเข็มแข็ง มันจะพ่ายแพ้ ฝึกตนสอนตรงนี้ บทเรียนจากชีวิตของเราเนี่ยมันดีที่สุดเลย มันเป็นการสอนเรายิ่งกว่าคนอื่นสอน ถ้าเรามาสอนตัวเองนี่ก็ ก็เห็นพระพุทธเจ้าเหมือนพระพุทธเจ้าสอนเรา เราเห็นอะไร พระพุทธเจ้าอยู่เฉพาะหน้า ที่นั้นแล้ว อยู่เฉพาะหน้าเรา ไม่ใช่เราคนเดียวซะแล้ว เวลาเราปฏิบัติธรรมอุ่นใจ อืม พระพุทธเจ้าก็หลงอย่างนี้ เราง่วง พระพุทธเจ้าก็เห็นตรงนี้ ง่วง ภูเขาลูกแรก โอ้!พระพุทธเจ้าผ่านตรงนี้ นิวรณ์ธรรม กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฐิ พระพุทธเจ้าก็ผ่านตรงนี้ เหมือนกับพระพุทธเจ้าเดินออกเห็นขี้ฝุ่นอยู่ ยังมีร่องรอยอยู่ ฝุ่นยังตลบอยู่ แล้วเราจะมามีมโนภาพให้เหมือนเดินตามพระพุทธบาทจริงๆนะ มันก็มีกำลัง พระสาวกก็ไปทางนี้ เป็นทางเส้นเดียวกันแท้ๆ ไปที่เดียวกันแท้ๆ เดินใครเดินเรา ถ้าเราไม่เดินเราก็ไม่ได้ไป มันก็ช่วยกันไม่ได้ ต้องบอก ไปๆ เราจะมาหัด หัดให้มันเห็น ถ้าไม่หัดมันไม่เป็น ถ้าเรียนรู้เป็นแบบหนึ่ง ใครก็รู้ รู้แต่ทำไม่เป็น โดยเฉพาะเรื่องกายเรื่องใจเนี่ย ไม่ใช่รู้ หัดให้มันเป็น มันรู้มันเป็นวิชา อันอื่นก็รู้ได้ กรรมฐานมันเห็น มันเห็นแจ้ง ถ้าเห็นแจ้งเรียกวิปัสสนา เห็นหลงเป็นหลงต่างกันกับไม่หลง ความหลงไม่เป็นธรรม ความไม่หลงเป็นธรรม ความหลงไม่ถูกต้อง ความไม่หลงถูกต้อง เห็นแจ้งแบบนี้มันจะไม่ยอม ไม่ยอมหลง ไม่ยอมทุกข์ ไม่ยอมโกรธ มันก็ไปแล้วบัดนี้ ไปเรื่อย ไปเรื่อย ง่ายแล้ว คนเคยข้ามมันก็ง่ายขึ้น มันจะเป็นศิลปะ เหมือนเราชำนาญเรื่องใด เป็นศิลปะเรื่องนั้น ชำนาญ ชำนาญในความไม่หลง ชำนาญในความไม่ทุกข์ ชำนาญในความไม่โกรธไปเรื่อยแหละบัดนี้ เริ่มต้นได้ก็ไปได้ เริ่มต้นไม่ได้ก็ไปได้ยาก จนถึงไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ถ้ายังไม่ข้ามตรงนี้ ก็ยังไม่เปลี่ยนหลงเป็นรู้ ไปไม่ถึงหรอก เหนือยังไม่เหนือ ยังไม่จบ ยังมีความทุกข์กับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายแน่นอนที่สุด แต่ว่าทางมันไกล ความหลงก็เป็นภพเป็นชาติอยู่ เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิด หลงเรื่องเก่า หลงแล้วหลงอีก ทุกข์เรื่องเก่าทุกข์แล้วทุกข์อีก โกรธเรื่องเก่าโกรธแล้วโกรธอีก เรียกวัฏฏะ เหมือนคนติดทั้งหลายที่เป็นภายนอก ติดเหล้า ติดบุหรี่ ติดสิ่งเสพติดทั้งหลาย เวลามันหิว หิวเหล้า กูจะดื่มๆๆ พอได้ดื่มแล้วกูจะเลิกๆๆ พอมันหิวอีกกูจะดื่มๆๆ พอดื่มแล้วกูจะเลิกๆๆ เรียกว่าวัฏฏะ กรรมมันอยู่ตรงไหนไม่ใช่ชีวิตลูกหรอกนะ บางคนมาสารภาพ ไม่ไหวหรอกหลวงพ่อ ผมอยู่ในสภาพแบบนี้ไม่ได้ ผมจะเลิกๆๆ อย่ายอมอยู่ในสภาพแบบนี้ไม่ได้ ผมจะเลิกๆ ถูกต้อง คำพูดของเขา แต่การกระทำมันสำคัญกว่า ไม่ต้องไปพูดไม่ต้องไปคิดแบบนั้น ทำลงไปดูซิเวลามันหิวหนะ กูจะไม่ดื่มๆ ลองว่าตอนนั้นแหละ เวลามันหิวกูจะดื่มๆๆ กูจะสูบๆๆ ถ้ามันหิวขึ้นมากูจะไม่สูบมันบุหรี่ กูจะไม่ดื่มมัน เอามันดูซิ เปลี่ยนตรงนี้ นี่คือกรรม การไม่ดื่มการไม่สูบเรียกว่าตัดกรรม ไม่ใช่เรื่องความคิด เรียกว่าไม่ทำกรรม เมื่อไม่มีกรรมก็ไม่มีกิเลสไม่มีวิบาก เพราะสูบมันจึงติด เพราะติดมันจึงอยาก เพราะอยากมันจึงสูบ เพราะสูบมันจึงติด เพราะติดมันจึงอยาก
อะไรก็เป็นอย่างนี้ ติดในความสุข ติดในความทุกข์ ติดในความโกรธ ความโลภ ความหลง มันติดเหมือนกันนะ ความหลงก็ติดได้นะ ไม่หลงก็หาเรื่องให้มันหลง ความโกรธก็หาเรื่องให้โกรธ ง่ายออกหน้าออกตา ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความรัก ความชังออกหน้า พอตาเห็นปั๊บก็ออกไปแล้ว สมมุติบัญญัติ พอใจไม่พอใจ หูได้ยินเสียงก็ไปแล้ว จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รสไปแล้ว สัตว์โลกติดรสของโลก ไปแล้ว เราจึงมีสติถอนความพอใจความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ มีสติเห็นกายสักว่ากาย มีสติ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ มีสติแล้วเหรอโยม ถอนออกมา อย่าเข้าไปอยู่ อย่าเข้าไปจม มาดูโลกแบบไม่ดู ขึ้นฝั่งดู มันจะต่างกันไหมระหว่างมันอยู่ในห้วงน้ำ ขึ้นฝั่งดู มีที่น้ำ มีที่บก มีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกจะได้สัมผัส สัมผัสกับบกสัมผัสกับน้ำ มันจะต่างกัน เหมือนปลากับเต่าเป็นเพื่อนกัน เต่าเป็นสัตว์สะเทิ้นบกสะเทิ้นน้ำ ส่วนปลาเป็นสัตว์สะเทิ้นน้ำอย่างเดียว ไม่มีบก วันหนึ่งเต่าขึ้นไปหากินบนบก ปลาอยู่ในน้ำตามหาทั่วไปไม่เจอหลายวัน พอดีเต่าลงไปในน้ำ ปลามาเจอเข้า ถาม เพื่อนไปไหนมา เต่าก็บอกว่าเราไปบนบก บนบกมันอยู่ตรงไหนหละ อยู่บนบก มีหรือ? เต่าบอกว่ามี มันแหวกว่ายไปได้หรือ? มี มีอากาศหายใจหรือ? มี มีอาหารการกินหรือ? มี เต่าจะอธิบายอย่างไรให้ปลารู้ ปลาก็ไม่เข้าใจเพราะปลาไม่เคยขึ้นฝั่งขึ้นบก อธิบายแบบไหนก็ไม่ได้ ความอิ่ม อธิบายให้คนที่หิวฟังได้ไหม รู้ไหม อธิบายความเค็มให้คนที่ไม่เคยกินเค็ม อธิบายไม่ได้ เค็มเป็นยังไง เผ็ดเป็นยังไง อิ่มเป็นยังไง ไม่มีคำอธิบาย เป็นมโนสัมผัส ด้วยชีวิตจิตใจของเรา คำว่าอิ่มเป็นยังไง มันก็ไม่มีคำอธิบาย อิ่มก็คืออิ่ม กินข้าวอิ่มแล้วต้องถามใครหรือเปล่า ฉันอิ่มหรือยัง ไม่มีคำถาม มีแต่คำตอบเราเอง ปิดปากอธิบายไม่ได้ ความไม่แก่ ความไม่เจ็บ ความไม่ตายเป็นยังไง มันอธิบายไม่ได้ มันเป็น ไม่ใช่มันรู้ มันเป็น เวลามันแก่ก็เห็นมันแก่ เวลามันเจ็บเห็นมันเจ็บ เวลามันตายก็เห็นมันตาย ไม่เป็นผู้แก่ไม่เป็นผู้เจ็บไม่เป็นผู้ตาย แล้วอยู่ยังไงทำยังไงหละ อธิบายไม่ได้ ต่อเมื่อคนนั้นเขาได้สัมผัสดูแล้วจึงจะ จึงจะ โอ้ ปัจจัตตัง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ เป็นของรู้ได้เฉพาะตน ช่วยกันไม่ได้ จึงมีวิชากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าวางไว้ วางไว้ สติปัฏฐาน4 สติปัฏฐานสูตร ภิกษุทั้งหลาย การจะปรินิพพานอย่าประมาท สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด พระพุทธเจ้าสั่งไว้ เรื่องนี้สั่งไว้จนวาระสุดท้าย พอสั่งอย่างนี้พระพุทธเจ้าก็นิพพาน ไม่มีอีกแล้ว แต่เรามาทำก็ยังเป็นประโยชน์ ถ้าเราจะปล่อยทิ้งนะ
ชีวิตเราก็เพื่อการนี้โดยตรง เราจึงใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่มีที่ใดที่จะเป็นความรักอันยิ่งใหญ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ได้ทำอันโน้นอันนี้ การใช้ชีวิตร่วมกันแบบนี้ ประเทศไทย วัดวาอารามในเมืองไทย พระสงฆ์ไทย คำสอนพระพุทธเจ้าสอนแบบนี้นะ เงี่ยหูฟัง ใส่ใจลองดู เอาไปทำลองดู เพราะไม่ได้อยู่ที่นี่ อยู่กับเราทุกคนแล้ว ถ้าเรามีกายมีใจ ยกมือขึ้นรู้สึกก็ใช้ได้ หน่อโพธิต้นกล้าน้อยๆ ปลูกลงปล่อยที่กายที่ใจของเราให้มันรู้ ต่อไปก็ออกดอกออกผลเป็นมรรคเป็นผล เหนือการเกิดแก่เจ็บตายแท้ๆ เกิดมาเพื่อการนี้ชีวิตของเรา ไม่ใช่เกิดแล้วเกิดแก่เจ็บตายเป็นสุขเป็นทุกข์ หมกมุ่นกับกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด หลวงตาพูดอยู่เสมอว่า ความหลง ความโกรธ ความโลภ ความทุกข์มันล้าสมัย มันล้าสมัยแล้ว อย่าดื้อ อย่าดื้อหลง อย่าดื้อโกรธ อย่าดื้อทุกข์อยู่ อายกัน อายคน ไม่ควรไปอวดไปอ้างกัน อาย เบียดเบียนกันทำไม จึงล้าสมัยเขาไปกันแล้ว ปัดขึ้นลองดู ลุกขึ้นมาสะบัดผ้าลองดู ในคราวที่มันหลง โลกแห่งความไม่หลงก็มี ในคราวที่มันทุกข์ โลกแห่งความไม่ทุกข์ก็มี ในคราวที่มันโกรธ โลกแห่งความไม่โกรธก็มี มีมนุษย์นี่แหละทำได้ อันอื่นทำไม่ได้ คือกายคือใจมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มีความรู้สึกอะไรได้ เรียกว่าวิญญาณธาตุ มีรู้อะไรได้ อย่าจนเรื่องใดทั้งสิ้น ในกายในใจของเราเนี่ยให้เป็นบทเรียนของเรา พัฒนามัน เรียกว่าวิชากรรมฐาน ไม่เสื่อมไม่เสียมรรคผลนิพพานอยู่ตรงนี้แน่นอน ในความหลงมีความไม่หลง ในความทุกข์ก็มีความไม่ทุกข์ ในความโกรธมีความไม่โกรธ ในความแก่มีความไม่แก่ ในความเจ็บมีความไม่เจ็บ ในความตายมีความไม่ตาย ให้มันจบซะ พ่อแม่อาจจะทำไม่ได้ ลูกชายของคุณแม่นี่หละ ลูกสาวของคุณพ่อคุณแม่จะทำแทนพ่อแม่ให้สมกับพ่อแม่เลี้ยงเรามา จะเอาชีวิตไปทำอะไร ประเสริฐตรงไหน จึงมาฝึกหัดกัน แล้วไม่ใช่มานั่งอยู่ที่นี่ อยู่ที่ไหนก็อยู่กับหลง นั่งอยู่บนรถเมล์ กวาดอยู่ถนน ทำอะไรก็เป็นของโลกของเรา ใช้ได้สากล ธรรมสากล มีสิทธิ มันหลงมีสิทธิไม่หลง มันทุกข์มีสิทธิไม่ทุกข์ ได้สิทธิของเราร้อยเปอร์เซนต์ได้ พวกเราขอเป็นเพื่อนและมิตรทุกท่านทุกชีวิตในโลกนี้เหมือนกันหมด ไม่ต่างกัน ถ้าเห็นหน้าที่ไหน ก็เรียกว่าเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เสมอกัน สังขารเสมอกัน ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเหมือนกัน ไม่มีใครยิ่งใหญ่ เรื่องนี้กรรมยิ่งใหญ่ต่างหาก กรรมจะลิขิตชีวิตของเราไปเอง ถ้าได้เพียงรูปและนาม มีอะไรสมบัติของโลกไม่ใช่ยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการ เหนือการเกิดแก่เจ็บตาย ก็สมควรแก่เวลากราบพระพร้อมกัน