แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ดำริกลายเป็นความออกไปได้อย่างง่าย เป็นทางไป เริ่มต้นได้ก็ไปได้ เราจะทำอะไรถ้าเราเริ่มต้นได้ก็ไปได้ การศึกษาธรรมวินัย อย่างธรรม ยังใช้ไม่ได้ ต้องประกอบไปด้วยวิ-นัย วิ-คือนำไป เห็นหลง ธรรมวินัย วินัยคือนำไป พ้นจากความหลง นัยยะ-นำไป วิ-นำไป วิเศษ-พ้นจากสิ่งที่นำไป มันหลงพ้นจากความหลง วิเศษกว่าความหลง มันทุกข์พ้นจากความทุกข์ วิเศษกว่าความทุกข์ เพราะมันเห็นจึงพ้น ถ้าไม่เห็นมันไม่พ้น เห็นอะไรก็พ้นทั้งหมด นี่คือธรรมวินัย
ดำรงธรรม ดำรงวินัย มันก็ง่ายขึ้น มีลำดับ เหมือนกับเราขึ้นบันได้ ถ้ามีก้าวขึ้นได้ ก้าวหนึ่งขึ้นได้ ก้าวสองขึ้นได้ ก้าวสามขึ้นได้ ถึงก็ถึงได้ ดังเราสาธยายพระสูตรในองค์มรรค กว่าจะถึงสัมมาสมาธิมันมา ก้าวมา ก้าวหนึ่ง ก้าวสอง ก้าวสาม จนถึงสัมมาสมาธิ เป็นอานิสงส์ เป็นผล ขึ้นมาได้ มานั่ง ถ้าหนีแดดก็เข้าร่ม ถ้าหนีฝนก็เข้าร่ม มันก็ต่างเก่า ถ้ามันยากก็ถึงความไม่ยาก ถ้ามันทุกข์ก็ถึงความไม่ทุกข์ ถ้ามีปัญหาก็ถึงตัวปัญญา เพราะเหตุมันคือปัญหา จึงเป็นปัญญา เหตุมันคือทุกข์ คือมันพ้น มันจึงไม่ทุกข์ เหตุที่มันหลงจึงไม่หลง เราก็ชำนาญในการนี้ ถ้าเราฝึกตรงธรรม ตรงวินัย ดำรงธรรม ดำรงวินัย มันก็มีรสชาติ มีชีวิตชีวา ความหลงไม่ใช่ชีวิต พ้นจากความหลงเรียกว่า “มีชีวิต” แทนที่จะไปหยุดแค่ความหลง ความรัก ความชัง ความสุข ความทุกข์ พ้นมาจนได้ชีวิต ชีวิตมันคือ อย่างสัมมาสมาธิเนี่ย มีความสุขทางกาย มีปกติธรรมชาติ ความเป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ธรรมะคือ ธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ ไม่เป็นอะไร เหมือนเคยมีโรค มันหายจากโรคเป็นธรรมชาติ เมื่อวานนี้ คนมาถาม คนป่วยมาถาม “เจ็บตรงไหน ปวดตรงไหน จากการล้มป่วยมามาก เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร” “ไม่มีตรงไหนเจ็บ ไม่มีตรงไหนปวด เป็นธรรมชาติ สู่ธรรมชาติได้” ไม่ใช่ความสุข มันเป็นธรรมชาติ มันมีโรค มันพ้นจากโรค โรคคือความหลง โรคคือความทุกข์ โรคคือความโกรธ โรคคือความพอใจ ความไม่พอใจ มันพ้นจากภาวะเช่นนั้นมา มาสู่ธรรมชาติ มันเลยไม่เป็นอะไร เรียกว่า “ดำรงธรรม ดำรงวินัย” นำมาจนถึงความไม่เป็นอะไร แบบนี้เรียกว่า “องค์มรรค” ก็เริ่มต้นจากความเห็นไม่ใช่ไปด้วยเห็นตา เห็นหลงเป็นเหตุ จึงทำให้ไม่หลง เห็นทุกข์เป็นเหตุ จึงทำให้ไม่ทุกข์ ถ้าสนใจ ให้ก้าวล่วง อย่าไปหยุดอยู่ ทำอะไรไม่ได้ก็หยุดทำ ทำอะไรได้ก็ทำไป ไม่ใช่แบบนั้น
การปฏิบัติธรรม คำว่าได้ คำว่าไม่ได้ไม่มี คำว่าผิด คำว่าถูกไม่มี คำว่าเสีย คำว่าหายไปไม่มี หรือได้มาไม่มี มีแต่เห็น มันผิดก็เห็น มันถูกก็เห็น มันรู้ก็เห็น มันหลงก็เห็น ไม่มีคำว่าได้ นี่คือธรรมเป็นอย่างนี้ เป็นอาการที่ไม่เหมือนกับรสชาติของโลก รสชาติของโลกมีผิดมีถูก รสชาติของธรรมไม่มีผิด ไม่มีถูก ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ นี่คือสติ เรียกว่า “ความเห็นถูก” จับให้ดี ๆ ให้มั่นคง ให้แน่วแน่ ให้มันคม ๆ สักหน่อย ถ้ามันคมดี มันเจ็บ มันเจ็บผิวได้ก็ว่าได้ เหมือนมีดที่คมก็ย่อมโกนผมเกลี้ยงเกลาดี มีดไม่คมก็ไม่ค่อยสะอาด สตินี่มันมักจะคมเหมือนกัน ถ้าเราใช้มันเมื่อใดก็คมเมื่อนั้น เห็นเนี่ย มันคมแล้ว ถ้าเป็นไม่ใช่สติ เห็นเนี่ยคือมันคมแล้ว เห็นหลง คมแล้ว ถ้าเป็นผู้หลง ไม่คม แต่ถ้ามีสติ มักจะคม ไม่ทึบ เป็นมรรค ๆ ถ้ามีสติกลายเป็นมรรคทันที ไม่เหมือนอันอื่น มันเห็นเนี่ย..มรรคแล้ว ต่อไปอีก..ไม่เป็น อันภาวะไม่เป็น..คือมันพ้น มันไม่ใช่หลง มันไม่ใช่ไม่หลง นำไปจริง ๆ วินี่คือนำไป นัยยะ-นำไป วิเศษ- นำไปได้อย่างวิเศษ ระหว่างเห็น ระหว่างไม่เป็น นี่มันวิเศษตรงนี้
เราก็ว่าเป็นภาษาพูด ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกเสียได้ ที่จริงมันเป็นวินัย ไม่ได้ไปถอนอะไร ธรรมพาไป ธรรมนำไป ไม่ใช่ใครเก่งกว่าธรรม เราไม่ได้เก่ง ธรรมวินัยพาให้เราเก่ง ไม่มีใครเก่ง วิ-วิเศษ นัยยะ-นำไป อย่างนี้เรียกว่า “ถ้าทำถูกก็ง่าย ถ้าทำผิดก็ยาก” ตั้งต้นให้ถูกดี ๆ เริ่มต้นให้ได้ดี ๆ ก่อน เหมือนเราได้หลักสูตร เรียนวิชาการได้หลักสูตร อันอื่นก็ง่าย มันไม่หนีจากสูตร เช่น เราเรียนสูตรอะไร สูตรนักธรรม มันออกตามสูตรไม่ออกตามสบ อันสบนี้ใครตอบก็ได้ แต่สูตรนี้มันต้องมีหลัก หนีไม่พ้น เช่น เขาออกข้อสอบว่าทางโลกเขามีความสำเร็จ ไปได้ไกล เป็นวิทยาศาสตร์ ทางธรรมมีอะไรทำให้สำเร็จ มันออกตามสูตรแบบนี้ อะไรทำให้สำเร็จ..ทางธรรม นี่เราก็ ถ้าเราได้สูตรมันก็โชว์ โชว์สูตรออกมา
สติปัฏฐานสูตร เหมือนกับสูตรอันหนึ่งในชีวิตเราเนี่ย เห็นกายเป็นสูตรหนึ่ง ถ้ามีสติมันไม่เห็นเหมือนตาเห็น เห็นเวทนามันก็เป็นสูตรพาไป เป็นขั้นเป็นตอน เป็นก้าวที่หนึ่ง ก้าวที่สอง เหมือนเราขึ้นหน้าผา ขึ้นบ้าน ผ่านป่าผ่านดง ผ่านมาได้อย่างไร หรือเหมือนกับเราทำงาน อะไรที่มันเสร็จมันบอก อะไรที่ไม่เสร็จมันก็บอก ตรงไหน ๆ ยังไม่เสร็จ สร้างบ้านสร้างเรือนตรงไหนไม่เสร็จ ตรงไหนมันเสร็จมันก็บอก อันนั้นเป็นรูปธรรม ส่วนชีวิตของเราก็ มันไม่เห็นเหมือนตาเห็น มันเป็นการสัมผัส เห็นกายก็ย่อมเห็นเวทนา ย่อมเห็นจิต ย่อมเห็นธรรม จบ ได้หลักสูตรหนึ่ง เป็นวิ-นัยยะ นำไปแล้วสูตรนี้ นำไปแล้ว เพื่อความสะดวก อ่านออกเขียนได้ แตกฉานไปเรื่อย ๆ เมื่อเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ก็เห็นเป็นรูปเป็นนาม ไม่ใช่กาย ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่จิต ไม่ใช่ธรรม ย่อเข้ามา ง่ายกว่าเก่า ไม่พะรุงพะรัง พับ ถือได้ เป็นรูปธรรมเป็นนามธรรม เป็นรูปเป็นนาม รูปมันก็บอก นามมันก็บอก บอกผิดบอกถูก มันคืออะไร จะเรียกเวทนาเหมือนเมื่อต้นได้หรือเปล่า ไม่ต้องไปเรียก ไม่ต้องไปเรียกเวทนาก็ได้ เหมือนเราอ่านหนังสือ ต้องท่อง กอ-ไก่ กอ-อะ-กะ กอ-ไม้หัน-นอ-หนู ท่องไป พออ่านได้สูตรแล้วก็ ไม่ต้องท่องอ่านไปเลย อ่านไปเลย เหมือนเมื่อเห็นรูปเห็นนาม อ่านไปได้เลย
รูป มันคืออะไร เมื่อเห็นรูปมันก็บอกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดกับรูปมีอะไรบ้าง แตกฉานไปเลย เมื่อเห็นรูปเห็นนามแล้ว มันบอกไป มันเป็นทิศทางของมันไป ตามไปนี่ก็ตามไปนู่น ตามไปนู่น ตาม.. ไปเห็นหมด จบ
รูป อาการของรูป..มากมาย อาการของนาม..มากมาย ธรรมชาติของรูป..มากมาย ธรรมชาติของนาม..มากมาย มันบอก เห็นตรงไหนจบตรงนั้น ความหลงไม่ใช่นาม เป็นอาการของความหลง เกิดจากนามธรรม สุขทุกข์เป็นอาการของรูปของนาม ไม่ใช่นามจริง ๆ ผิวเผิน ไม่มีรสชาติ แต่ก่อนทุกข์มีรสชาติ สุขมีรสชาติ พอมาเห็นแล้ว มันไม่มีรสชาติ หลงก็ไม่มีรส.. ทุกข์ไม่มีรส.. สุขไม่มีรส.. ยิ่งมีความโกรธ ความโลภ ความหลง ยิ่งไม่มีรสชาติ หยาบที่สุด ง่าย ๆ นี่เรียกว่า “มันบอก” เห็นความไม่เที่ยงที่มีอยู่กับรูป เห็นความไม่เที่ยงที่เกิดกับนาม ในความหลง ก็บอกว่ามันไม่เที่ยงความหลงนี้ ในความโกรธมันก็บอกว่ามันไม่เที่ยง ในความรักความชังมันก็บอกว่าไม่เที่ยง
รักมี 2 ลักษณะ รักเพื่ออยากได้เป็นเจ้าของ รักเพื่อจะช่วยเหลือ เมื่อวานนี้พูดกับแม่ชี พูดกับพระสงฆ์ที่มาจากเกาะสีชังเหรอ มาจาก...หรืออะไร หามาผู้เฒ่า อยากได้ผู้เฒ่าผู้แก่มาอยู่ด้วยกัน เดี๋ยวนี้เกิดรักคนแก่ ไม่เหมือนคนหนุ่มรักกันนะ คนแก่รัก ไม่เหมือนคนหนุ่มรักนะ คนหนุ่มรักเพื่อเอาเป็นเจ้าของ ในความรักมันก็มีความไม่รัก มีความโกรธได้ในความรัก ถ้ามีความรักก็มีความโกรธได้ มีความโกรธได้ก็มีความรัก อันรักแบบหนึ่ง แต่คนแก่รัก รักเพื่อช่วยเหลือ ไม่มีวันที่จะโกรธกัน อันนี้รักแบบหนึ่ง รักแบบคิดช่วยเหลือ เป็นรักแบบธรรมทายาท หรือญาติธรรมอันนี้ มันก็มีแบบนี้ ความรักที่มีแบบเดิม มันสูญไปแล้ว รักเป็นเจ้าของนั่น มันเห็น มันเห็นถึงความไม่เที่ยง มันเห็นถึงพิษภัยแห่งความรักนั้น บัดนี้มันมีความรักแบบ.. แบบเป็นอมตะแบบนี้ ไม่ใช่รักเฉพาะญาติพี่น้อง รักไม่ใช่รักเฉพาะคน รักทุกอย่างในโลก มันจึงกว้างใหญ่ไพศาล เป็นอัปปมัญญาธรรม ไม่มีที่สุด ไม่มีที่สุด
วิ-นัยยะเนี่ย มันมีทั้งความรัก มีทั้งการช่วยเหลือ มีทั้งการให้อภัย มีทั้งการปล่อยวาง สมบูรณ์แบบ ถ้ารักแบบหนึ่งมันไม่คิดจะปล่อยวาง เอาให้ได้ หรือรัก...ฆ่ากันให้ได้ อันนี้ก็มี
เพราะฉะนั้นจึงเห็น มันตอบได้ทั้งสองอย่าง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ มันบอก มันคืออะไร ความไม่เที่ยงคืออะไร ความเป็นทุกข์คืออะไร จะให้มันเป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ให้เป็นทุกข์เพราะความเป็นทุกข์ มันก็ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้องคือ “มันเห็น” เห็นแล้วไม่เป็นเนี่ย มันจึงเป็นวิ-นัยยะ นำไปอย่างวิเศษ เพื่อการหลุดพ้น สุดท้ายคือหลุดพ้น มีการหลุดพ้น ได้ใช้เป็นอานิสงส์ของการที่ได้พบได้เห็นมา ทีแรกก็จะรักสร้างสติ ต่อไปสติมันจะสร้างเรา ดูแลเรา ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นนิจ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ที่สุดเป็นอย่างนั้นนะ..ปฏิบัติธรรมน่ะ ที่สุดเป็นอย่างนั้น แม้แต่มันเจ็บ มันก็รักษา มันจะตาย มันก็รักษา มันไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นปัญหาในชีวิตของรูปธรรมนามธรรม
รูปธรรมนามธรรม มันเป็นปัจจัยที่ทำให้ถึงจุดที่ไม่เป็นอะไร ถ้าไม่มีรูปมีนาม มันทำไม่ได้ จึงมีรูปมีนามเพื่อการนี้โดยตรง เราลองมาใช้ดูซิ ให้มันบอกความเท็จความจริงต่อเรา ย่อมจะเห็นทุกคน ความพากเพียรชอบ ย่อมเห็นกันทุกคน เวลามีสติก็ย่อมเห็นความหลง เคียงบ่าเคียงไหล่ไป แต่ให้พยายามเห็น ให้มันชำนิชำนาญ ชำนาญสติก็ชำนาญในความหลง ชำนาญในความถูกก็ชำนาญในความผิด ถ้าเห็นความทุกข์ชำนาญก็เห็นความชำนาญในความไม่ทุกข์ มันมีเหตุ มันมีปัจจัยแบบนี้ ได้ประโยชน์ พระพุทธเจ้าถ้าไม่มีทุกข์คงไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ปุถุชนทุกข์เป็นปุถุชนไปเลย หลงเป็นปุถุชนไปเลย
หลงเป็นอริยบุคคลก็ได้ อย่างพระโสดาบัน เบื้องต้นสักกายทิฐิละได้ เพราะแต่ก่อนมันหลงกายบัดนี้ไม่หลงกาย วิจิกิจฉา-เคยลังเลสงสัย พาให้เป็นอริยบุคคล เห็นความลังเลสงสัย พยาบาทแท้ ๆ ทำให้เป็นพระอริยบุคคล สีลัพพตปรามาส-ยึดมั่นถือมั่น ทำให้เป็นพระอริยบุคคล ความยึดมั่นถือมั่นเป็นปุถุชน สักกายทิฐิ-ถือว่าเรา สงสัย หาคำตอบไม่ได้ หลงก็ยังหลงอยู่ หาคำตอบเกินนี้ไปไม่ได้ ทุกข์ก็ยังทุกข์อยู่ หาคำตอบเกินนี้ไปไม่ได้ สุดเขตของความหลง จบแค่นั้นหรือ
ถ้าพระอริยบุคคลขั้นต้น “เห็น” เห็นกาย เห็นความไม่รู้ แต่ก่อนไม่รู้รูปรู้นามนะ สุขก็เป็นสุข ทุกข์ก็เป็นทุกข์ โกรธก็เป็นโกรธ หลงก็เป็นหลง รักก็เป็นรัก เกลียดชังก็เป็นความเกลียดชัง พอมาเห็นสักกายทิฐิ มันไม่จบแค่นั้น ไม่สงสัยอีกในความหลง ไม่สงสัยในความทุกข์ ไม่สงสัยในความรักความชัง ไม่เป็นการบ้าน เฉลยได้แล้ว เรียกว่าพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน ผ่านได้ ไม่มีศีลพรต-ยึดมั่นถือมั่นจริงจัง เป็นพหิทธาธรรม เอาแต่อันอื่นมากำหนดจิตใจ ถ้าเห็นรูปก็เอารูปมากำหนด ถ้าเห็นเสียงก็เอาเสียงมากำหนด ถ้าเอารสก็เอารสมากำหนด ถ้าเอากลิ่นก็เอากลิ่นมากำหนด พระอริยบุคคลไม่เอาสิ่งเหล่านี้มากำหนด เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” ไม่เอาพิธีรีตองมากำหนด ไม่เอารูปแบบมากำหนด เหนือรูปแบบ เหนือโลก ก็เบาแล้วบัดนี้ เนี่ย! มันจะพาเราไป มีสูตรเนี่ย สูตรมันอ่านออก ในความหลงอ่านออก ในความทุกข์อ่านออก ในความโกรธอ่านออก ในความไม่รู้อ่านออก ในปัญหามันอ่านออก มันบอกไป มันบอกไป จนถึงความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันอ่านออก จบ ความแก่ในชีวิตในธรรมชาติไม่มี ความเจ็บในธรรมชาติไม่มี ความตายในธรรมชาติไม่มี มีแต่รูปธรรมที่เป็นมหาภูตรูป อุปาทายรูปก็ไม่มี ความแก่ในอุปาทายรูปไม่มี ความเจ็บในอุปาทายรูปไม่มี ความตายในอุปาทายรูปไม่มี ก็เลยไม่มีภพมีชาติในรูปอย่างนี้ มันบอก ขอบคุณที่มันมีรูปมีนาม ขอบคุณที่มันมีอาการ ที่มันเกิดกับรูปกับนาม มีอะไรมากมาย ที่มันบอก เกลี้ยงเกลาหมด ธรรมชาติอย่างไร อาการอย่างไร มันบอกนะ ที่มันเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่หอบหิ้วไป เราไปไหนก็อยู่กับเรา เราอยู่สุคะโตก็อยู่นี่ เราออกจากสุคะโตไปก็ไปกับเรา มันไม่ได้หนีไปไหน ถ้าเราไม่เห็นมัน จะจบก็จบตรงนี้ ตรงรูปตรงนามนี้ ถ้าไม่จบก็ไม่จบตรงนี้
ปฏิบัติเข้ม คือปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติเข้มก็คือ หลงเห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง ลืมแล้ว มันหลงอีกเห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลง เข้ม ทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ พ้นจากความทุกข์ เข้มแล้ว อะไร ๆ ก็ตาม เข้มอยู่ตรงนี้ เข้มอยู่ตรงนี้ เหมือนเกลือเม็ดเดียวก็เค็มอยู่ตรงนี้แหละ อันว่าสติก็คมอยู่ตรงนี้แหละ มีธรรม เหมือนมีร่มในมือ
มันเห็น ไม่เป็น พ้นจากความเป็น มันหลงเห็นมันหลงพ้นจากความหลง มันทุกข์เห็นมันทุกข์ พ้นจากความทุกข์ ไม่รู้จะพูดอย่างไร มันก็ไข มันก็แก้ตรงนี้จริง ๆ น่ะ มันก็แก้ตรงนี้ จึงหลุดไปได้ จึงเป็นอริยสัจ 4
เป็นอริยสัจ 4 คือตรงนี้ ถ้าเป็นทฤษฎีก็ทฤษฎีตรงนี้ ถ้าเป็นวิชาการก็เป็นวิชาการตรงนี้ ถ้าเป็นปฏิบัติการก็ปฏิบัติการตรงนี้ จุดอันเดียวกัน เป็นทฤษฎี เป็นวิชาการ เป็นปฏิบัติการ หลงเห็นมันหลง พ้นจากความหลง ทุกข์เห็นมันทุกข์ พ้นจากความทุกข์ อะไรก็ตาม วิชาการ ปฏิบัติการ ทฤษฎีเป็นหลักสูตรอมตะของการศึกษาธรรม ศึกษาชีวิต จึงไม่หวั่นไหวกับเรื่องอะไรในโลกนี้
จะไปปฏิบัติที่ไหน สำนักใด อาจารย์ไหน หนีไม่พ้นเรื่องสูตรนี้ มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม เห็น ไม่ใช่เห็นกาย เอากายเป็น..ต่างกัน ไม่ใช่ เวทนาก็ต่างกัน ไม่ใช่ จิตก็ต่างกัน ไม่ใช่ เหมือนกันหมด ถ้าจะเห็นก็เหมือนกันหมด ถ้าจะเป็นก็เหมือนกันหมด ถ้ามันทุกข์เป็นทุกข์..เหมือนกันหมด แต่จะต่างกันก็ มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่พ้นทุกข์ อันนี้ต่างกัน เป็นการต่างกันกับผู้เป็นทุกข์ มันก็ได้ ได้ศึกษา
เห็นทุกข์ ไม่เป็นทุกข์ พ้นจากทุกข์ เรียกว่า “ศึกษา ถลุงแล้ว สิกขาแล้ว ศีลแล้ว สมาธิแล้ว ปัญญาแล้ว” ศีล สมาธิ ปัญญา สิกขา ศึกษา ถลุง ย่อยแยก แตกไปแล้ว ทุกข์มันเป็นดุ้นเป็นก้อน ไปไหน หายไม่รู้เลย แต่ก่อนมาเป็นดุ้นเป็นก้อน สัมผัส เจ็บปวดความทุกข์นี่ เห็นมันทุกข์ พ้นจากความทุกข์ หายไปแล้ว
เหมือนโอสถ “สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เตฯ” เอาไปทำน้ำมนต์ ตามวิชาก็ดีแล้ว แต่ว่าเมื่อเรามาทำกับตัวเองอย่างนี้ หาย มนต์ตัวนี้หายโรค “ทุกขา วูปะสะเมนตุ เตฯ” “ภะยา วูปะสะเมนตุ เตฯ” “โรคา วูปะสะเมนตุ เตฯ” ทุกข์ โศก โรคภัย โรคา หาย “พุทธะรัตตะนัง ธัมมะรัตตะนัง สังฆะรัตตะนัง” โอสถรักษาโรค ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ หาย อันนี้น่ะ
คือทำยังไง เห็นนี่ ต้องยากหรือ เห็นเนี่ย ต้องนั่งหลังขดหลังงอหรือ นอนอยู่เห็นไม่ได้หรือ มันหลงไหมนอนอยู่ ยืนอยู่เห็นไม่ได้หรือ นั่งอยู่เห็นไม่ได้หรือ เดินอยู่เห็นไม่ได้หรือ ไปที่ไหนกัน เข้มที่ไหนกัน มันเห็นได้ มันน่าจะง่ายนะ นอนก็ได้ นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ มันก็อยู่กับเราเนี่ย ว่าแต่เรา ให้มันมีหลักสูตรแบบนี้เอาไว้ สติปัฏฐานสูตรแบบนี้เอาไว้ ท่องมนต์เอาไว้ ไม่ใช่ไป มนต์คือบริกรรมเป็นพุทโธ พุทโธ พุทโธ ภาวนาคือพุทโธ พุทโธ ไม่ใช่
ภาวนาคือ “รู้ไว้” หลงทีไรรู้ไว้..ภาวนา หลงทีไรรู้ที่นั่น ทุกข์ที่ไหนรู้ที่นั่น ภาวนาแล้ว ไม่เกียจคร้าน หลงเป็นหลง เกียจคร้านแล้ว ทุกข์เป็นทุกข์ เกียจคร้านแล้ว โกรธเป็นโกรธ เกียจคร้านแล้วปล่อยทิ้งขว้างไปเลย งานค้าง ยุ่งเหยิงแล้ว “นากุลา จ กมฺมนฺตา” งานยุ่งเหยิงสับสน “อนากุลา จ กมฺมนฺตา” งานไม่ยุ่งเหยิงสับสนเป็นมงคล “นากุลา จ กมฺมนฺตา” งานยุ่งเหยิงสับสนเป็นอัปมงคล หลงเป็นหลง ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ เป็นอัปมงคล ไปให้ใครช่วยเรา เสี่ยงเคราะห์สะเดาะโชคที่ไหน อัปมงคล
เราจึงให้มัน..ภาวนา อย่าทิ้งขว้าง ใส่ใจตรงนี้ ก็จะง่ายไปเรื่อย ๆ ไป มีเครื่องมือตรงนี้แหละ ไปได้เลยพวกเรา ทีแรกก็ทิ้งขวาง คว้าหน้า คว้าหลัง หาคำตอบจากความคิด มักง่าย อยากได้ธรรมะ หาคำตอบจากความคิด ไปถามคนอื่น ให้คนอื่นตอบให้ ก็จะได้ไว ๆ คิดเอา อยากได้กุศลก็คิดเอา ไม่ได้ทำ กุศลก็อ่อน อกุศลก็แข็ง สู้ไม่ได้ในความคิด เพราะอกุศลมันแข็งกว่า ถ้าคิดสู้คิดหานะ กุศลมันอ่อน ถ้าทำลงไปเนี่ย อกุศลมันอ่อนลงมา กุศลมันเข้มแข็งขึ้นมา จึงจะชนะได้ ไม่ใช่ไปคิดเอา มันหลง เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลงนี่ คือการกระทำ หลงดีไหม ไม่ดี ไม่หลงดีไหม ดี มันคิดได้ โกรธดีไหม ไม่ดี ไม่โกรธดีไหม ดี คิดได้ ... ตอบได้ ยังทำอะไรไม่ได้
จึงขยันสักหน่อยนะ ถ้ามีหลงอยู่ นั่นแหละงานของเรา ถ้ามีทุกข์อยู่ นั่นแหละงานของเรา นอนอยู่มันหลง นั่นแหละงานทำลงไป ไม่ใช่ลุกไปเดินจงกรม นอนอยู่ก็รู้ได้เนี่ย ลองนอนดูสิ เอ้า! เก็บข้าวเก็บของนอนแล้ว วันนี้จะงานเป็นชีวิตสุดท้ายวันนี้แล้ว ตายแล้วบัดนี้ หายใจได้ นอนหลับไปอาจจะไม่ตื่นอีกก็ได้ วาง ลองดูสิ วางอะไรหลาย ๆ อย่าง ลองดูสิ คนที่เรารักก็วาง ลองดู ของที่เรารักหวงแหน ก็วาง ลองดู ร่างกายของเราที่เราหวงแหน สิ่งของสมบัติพัสถานที่เรามีนี้ วาง ลองดูสิ ไม่มีอีกแล้วชีวิตเราวันนี้ ก็มีสติเข้าไปดูสิ เหมือนกับตาย ลองดูสิ เตรียมตัวตาย ฝึกหัดตายไว้ จะทำได้ไหม หรือเวลานอน ก็คิดนั่นคิดนี่ จนฝันคลุ้งไปเลย ก็ยิ่งเจริญนะ เวลานอนยิ่งเจริญในความหลง ถ้านอนไม่เป็นนะ ถ้านอนเป็น ก็ได้อานิสงส์ ตื่นขึ้นมาบรรลุธรรมเลย..ก็มี มีนะ แม่ชี.. ขออภัยนะ
คนเรานะสมัยอยู่พุทธยาน ตื่นขึ้นมาแปลก เอ๊ะ! สังเกตตัวเองอยู่หลายวัน เลยมาพูดให้หลวงตาฟัง “อาจารย์ ฉันทำไมเป็นอย่างนี้ นอนตื่นขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้” “ไม่รู้ ไม่ต้องถามหรอก ตัวเองรู้เอง มันต่างเก่ายังไง” “มันก็ต่างกันจริง มันเปลี่ยนไป แยกไปเลย มันทำไมไม่ ... ทำไมมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอะไรละ ทำไมมันเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ทำอะไร แต่ว่าก่อนนอนก็มีสติ หายใจเข้าหายใจออก มันหลงเปลี่ยนหลงเป็นรู้ ก็ทำจนหลับไป ตื่นขึ้นมามันเป็นอีกแบบนี้” ก็มีเหมือนกัน ไม่ประมาทในที่ทั้งปวง นี่บางทีก็ฉวยโอกาสหลงเสียเลย ใช่ไหม อ้าว! เวลานี้ไม่ได้รู้ตัวหรอก คิดถึงคนโน่นคิดถึงคนนี้ รสชาติในความรักความชัง เอามาลำดับลำนำอะไร ๆ ก็ไปกันเยอะเลย เวลานอนอีก หลงมากที่สุดเลย ประมาทเวลานอน ประมาทเวลาอะไร ไม่ได้ ต้องถี่ ๆ ๆ สักหน่อย นะ เพื่อประหยัดเวลา การปฏิบัติธรรมนี้ ถ้าจะบอกว่า ฤดูนี่แหละเป็นฤดูที่ปฏิบัติสะดวกกว่าทุกฤดูนะ สัตว์มีพิษนี่ไม่ออก งูก็ไม่มีพิษฤดูนี้ ไม่ดุร้าย ยุงก็ไม่ดุร้าย อากาศก็ไม่ดุร้าย ฝนฟ้าก็ไม่ค่อยชื้นแฉะ ฤดูนี้เป็นฤดูปลีกวิเวกได้มากที่สุดเลย
ปลีกวิเวก คืออยู่ที่ไหน อยู่ที่ไหนก็ได้ อยู่กับกายกับใจเรานี้ ไม่มีอะไรรบกวนเรา อย่างนั่งนี่ก็สบาย อากาศหนาวก็อยู่ในผ้าห่ม ฉันข้าวแล้วเอาผ้าห่มคลุมหัว นั่งสร้างจังหวะในผ้าห่ม ให้มีไออุ่นขึ้นมา มีรสชาติดีนะ ตามที่ใช้ชีวิตมา ฤดูนี้เป็นฤดูที่กรรมฐานเข้ม ยอดเยี่ยมมาก เพื่อนหนีหมด เราอยู่วัดคนเดียว เป็นชีวิตไม่แบ่งให้ใคร ก็สนุกไปเลย ถ้าจะไปก็ไปเข้ม โสตาย ลองดูแบบไหนก็ได้นะ ถ้าหลวงตาใช้ชีวิตแบบนักกรรมฐานนี้ สมัครเข้าวัด เอาละนะสมควรแก่เวลา กราบพระพร้อมกัน