แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมแล้ว ที่นี่พระพุทธศาสนาสมัยยุคกลาง ที่นี่พระพุทธศาสนายุคกลาง นับตั้งแต่วันปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ล่วงไปแล้ว 2,556 พรรษา ปัจจุบันสมัยปฏิทินที่ 22 กรกฎาคม จันทร์ ณ วันนี้ มีนัยพวกเราชาวพุทธบริษัทจะเป็นพึงปฏิบัติ ประการฉะนี้ เบื้องหน้าต่อนี้ไปขอเชิญชวนมวลหมู่พุทธศาสนิกชนตั้งใจสดับรับฟังการแสดงธรรมตามกาลสมัย
วันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษาประจำปี พ.ศ. 2556 พวกเราเหล่าพุทธศาสนิกชนก็พากันมาสมาทานศีลอยู่วัดวาอาราม เพื่อศึกษาธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ฝึกตนสอนตน เพื่อให้มีคุณภาพมีคุณธรรมยิ่งขึ้น ตามสมควรแก่กำลัง จำเป็นเหมือนกันชีวิตของเรานี้ต้องมีส่วนประกอบฝึกหัดกายใจ พระพุทธศาสนานี้ต้องเอากายไปต่อเอาใจไปต่อ เอาความถูกต้อง ต้องเอากายไปละความไม่ถูกต้อง ต้องเอาใจไปละความไม่ถูกต้อง การฝึกตนสอนตนแก้ไขตนเตือนตนเอง จะต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมช่วยบ้าง มีศาลากลางเป็นที่บำเพ็ญบุญกุศล คนเข้าวัด วัดเป็นสถานที่ทำบุญ คนเข้าวัดต้องละชั่ว ทำดี มีศีล เป็นสิ่งแวดล้อมที่มันจะกล่อมเกลาเราทำให้จิตของเราเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสมควร แล้วก็จะมีพระสงฆ์ครูอาจารย์คอยชี้นำสั่งสอนจากท่านผู้รู้ เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้านำพา บอกผิดบอกถูก เพื่อเป็นส่วนประกอบในการศึกษาปฏิบัติธรรม
ชีวิตของเรานี้จำเป็นต้องมีครูอาจารย์ เรียนตามพ่อ ก่อตามครู ครูคนแรกของโลกคือพ่อแม่ แล้วก็เป็นครูคนแรกคือพ่อแม่ของเราได้สอนเรามา จนเกิดเป็นศิษย์ที่มีครูทั้งนั้น พวกเราที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่เราดีเอง ส่วนความชั่วเราหาเอง เราจะติดจากสิ่งอื่นได้ สิ่งแวดล้อมไม่ดีก็ติดได้ ส่วนความดีนั้นมีครูสอน รู้ดีรู้ชั่ว แต่ยังเป็นพื้น ๆ แต่การกระทำเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตเรา ละชั่วทำดี ทำได้แล้ว ละความชั่วได้แล้ว ทำความดีได้แล้ว เราจึงจะเป็นส่วนตัวของเรา ที่จะเป็นสิ่งน่าภูมิใจ คุ้มค่าที่ได้เกิดมา
ชีวิตเราต้องมีแก่นเป็นมรรคเป็นผล เหมือนต้นไม้ที่อยู่ในดินที่ปลูกเอาไว้ นานปีเท่าไรก็ยิ่งมีความแข็งแกร่ง มีแก่นมีลำต้นใหญ่โต เป็นหลักเป็นท่อนซุง ปีนี้ถ้ามีโอกาสจะพาไปดูต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกไว้ จ.เลย เราเกิดมาก็เพิ่งเคยเห็นต้นไม้ใหญ่ขนาดนี้ เอาขึ้นแม่น้ำเลยมา ตะเคียนใหญ่ จะพาไปดูว่าต้นไม้มันพยายามสร้างตัวมาเป็นพันปีมาแล้ว เอาอย่างบ้างก็ดี มันเป็นอิสระ ต้นไม้ ยืนอยู่ที่ใดมันพยายามที่สร้างตัวของมันให้เข้มแข็ง เช่นวัดของเราแต่ก่อนก็มีป่าหญ้าคา ป่ากล้วย เดี๋ยวนี้ก็มีต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่นานหน่อยที่มาอยู่ใหม่ ๆ เป็นต้นซุงเป็นต้นเสาไปแล้วก็มี ใช้งานได้แล้วก็มี ก็มีแก่น
ชีวิตเราต้องมีแก่น พระพุทธเจ้าเคยสอนพระว่าผู้ใดมีแก่นจึงทนอยู่ได้ ผู้ใดไม่มีแก่นก็ทนไม่ได้ ความอดทนทำให้เรามีแก่น ถ้าขี้เกียจขี้คร้านเราก็มีแต่มอดใช้งานไม่ได้ ฝึกหัดให้อดทน เช่นมาจำศีล เคยกินข้าวมื้อเย็นก็ไม่ต้องกิน เคยคุยกัน เคยสูบบุหรี่ก็ไม่ต้องสูบ เคยกินหมากก็ไม่ต้องกิน โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษานี้ต้องสมาทาน เรียกว่าอธิษฐานบารมี อธิษฐานใจบ้าง ตั้งเป้าไว้บ้าง จุดหมายปลายทางเราอยู่ที่ใด อะไรที่มันดีที่สุดที่มนุษย์ที่เราควรจะได้จะมี เช่นบุญมีหรือยัง กุศลมีหรือยัง มรรคผลนิพพานมีหรือยัง หรือยังอยู่ตื้น ๆ ล้าสมัย ยังหลง ยังโกรธ ยังโลภ ยังทุกข์อยู่ คนอื่นเขาไม่ทุกข์ เขาไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลงแล้วก็มี เราจึงน่าจะเอามายึดเป็นอุทาหรณ์สอนตัวเรา อะไรที่เราละได้บ้าง ที่ดีกว่าเก่า ปีนี้อะไรดีกว่าเก่า อะไรยังเลวกว่าเก่า ควรจะพัฒนาตัวเอง อธิษฐานใจ อธิษฐานเข้าพรรษา ตั้งเป้าไว้ การอธิษฐานนี้ก็มีธุดงควัตรขูดเกลานิสัยใจคอที่ไม่ค่อยจะดี เป็นจริตนิสัย ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต โกรธง่าย หลงง่าย ทุกข์ง่าย ตรึกตรองมัน โดยมีสติสัมปชัญญะยับยั้งชั่งจิต อย่าหุนหันพลันแล่น รู้จักหักห้าม สอนตัวเอง กายก็ให้มีระเบียบ เคยพูดพล่ามก็หยุดพูด แสดงออกทางกิริยามารยาท แสดงออกทางกาย เห็นใจ มีสติดูกายเคลื่อนไหว เห็นใจมันคิด ได้สอนกายได้สอนใจไปในตัว
โดยเฉพาะวิธีปฏิบัติฝึกตนสอนตนนี้ มีหลักที่เป็นทฤษฎีแน่นอนอยู่แล้ว ตั้งใจไว้ให้ชอบดี ๆ ตั้งไว้ดี ๆ อะไรเกิดขึ้นมาก็อย่าเพิ่งด่วนรับด่วนปฏิเสธ นี่เรียกว่าสติ ยินดีก็อย่างพึงไปยินดี ยินร้ายก็อย่าพึงไปยินร้าย ให้รู้สึกตัวเสียก่อน ถ้าจะตอบโจทย์ที่มันเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร รู้จักปล่อยวาง มีสติ อย่าพึงพูด อย่าพึงยอมรับ สุขก็อย่าไปยอมรับง่าย ทุกข์ก็อย่าไปยอมรับง่าย ดีใจก็อย่าไปยอมรับง่าย เสียใจก็อย่าพึงไปยอมรับมันง่าย ความโกรธ ความโลภ ความหลงก็อย่าพึงไปยอมรับมันง่าย ให้มีสติเป็นนายทวารบาลรองรับไว้ก่อน เหมือนกับหัวหน้าเป็นยามเฝ้าบ้าน ถ้ามีอาคันตุกะมาก็ต้องถาม ไม่ปล่อยเข้าไป หรือบอกอะไรต่าง ๆ แจ้งให้รู้ เจ้าของบ้านรู้ บางทีก็ไม่ต้อนรับ ไม่มีที่ให้อาศัย ไม่ให้คุณค่าสิ่งที่จรมา มีสิทธิ ความหลงเรามีสิทธิไม่หลง ไม่ต้อนรับ ไม่ต้อนรับความหลง ความโกรธมีสิทธิ เราไม่ต้อนรับความโกรธ ความทุกข์เรามีสิทธิไม่ต้อนรับความทุกข์ สิทธิของเราร้อยเปอร์เซ็นต์ หัดอย่างนี้จึงจะไม่เปรอะเปื้อนชีวิตจิตใจของเรา กายของเราใจของเรานี้ถ้าเราไม่ช่วยเหลือมันก็เปรอะเปื้อนได้ ปล่อยความหลงไว้ในกายในใจ ปล่อยทิ้งความทุกข์ไว้ในกายในใจมันก็ติดได้ ถ้าเราไม่หัดไม่ดูแล สาธารณะ ป่าเถื่อน สำส่อน เคยพูดติดหูว่าโสเภณีของกาย โสเภณีของจิตใจ รับใช้อะไรทุกอย่าง จึงดูแลให้คุ้ม การมารักษาศีลมาอยู่วัดหรือปฏิบัติธรรมก็คือการมาดูแลกายใจของเราให้ปลอดภัย ดูแลกายใจให้คุ้ม น่าสงสารกายนี้ใจนี้เราปล่อยทิ้งมานานเหลือเกิน สูญเสียความสมดุลไปหมด หวั่นไหวง่าย อะไรเกิดขึ้นมาก็หวั่นไหวไปทางนั้น นินทาก็หวั่นไหว เสียใจ สรรเสริญก็หวั่นไหวไปถึงความดีใจ เราจึงต้องให้มันเที่ยงตรงสักหน่อย เหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบ เช่นเราสมาทานศีล มีศีลเนี่ย ตัวศีลคือหนักแน่นไม่หวั่นไหวไม่ปลิว หนักให้หนักแน่นเข้าไว้ ยึดไว้ แข็งแกร่ง เกิดจุดอ่อนอยู่ตรงไหนเข้มแข็งตรงนั้น
หลวงตากำลังดูการก่อสร้างศาลาประชาคมน้ำใส คอยดูจุดอ่อนมันอยู่ที่ใด เราก็ไปยืนดูคอยบอกให้ไปแก้ ถ้าจุดใดไม่มีจุดอ่อนก็ปล่อย เมื่อวานก็ไปดูจุดอ่อนก็ผิดจริง ๆ ไปแก้ ทิ้งไปแล้ว ไม้ต้นหนึ่ง เพราะช่างไม่มีการคำนวน ไม่มีสถาปนิก ไม่มีสถาปนึกคิดคำนวณไม่เป็น ทำไปตามที่คิดออก น้ำหนักอย่างไร อย่างไรไม่ค่อยรู้จัก ไม้ยาว ๆ ก็ตัดทิ้งไป นี่ก็เสียหาย ไม่เหมือนปูนนะไม้นี้ ปูนนี่ทุบออกก็ต่อได้ ไม้ถ้าตัดแล้วมันต่อไม่ได้ มันทำยากหน่อยการทำไม้นี้ ไม่เหมือนการทำปูน ชีวิตของเราก็ทดลองไม่ได้ กายของเราทดลองไม่ได้ ใจของเราทดลองไม่ได้ ถ้าโกรธก็โกรธไปแล้ว เสียไปแล้ว ติดไปแล้วเอาคืนไม่ได้ ถ้าทุกข์ก็ทุกข์ไปแล้วเอาคืนไม่ได้ มันไม่ใช่การทดลอง ถ้าเราไม่ฝึกหัดมันก็ไม่มีคุณภาพเลยกายของเราใจของเรา เราก็พึ่งกายไม่ได้พึ่งใจไม่ได้ มีแต่โทษ เป็นทุกข์เพราะเรื่องกาย เป็นทุกข์เพราะเรื่องใจ ใช้ไม่เป็น เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาก็มี เช่นโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากการใช้ไม่เป็น ถ้าใช้เป็นก็มีคุณภาพในตัวมันเอง ฝึกใจให้ช่วยกาย ฝึกกายให้ช่วยใจ ถ้าไม่ฝึกมันลงโทษกัน จิตใจลงโทษกาย กายลงโทษใจ เวลานอนหาเรื่องไปคิด กายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทำงานทั้งวัน แทนที่จะได้พักผ่อน จิตใจก็บังคับให้คิดโน่นคิดนี่จนนอนไม่หลับ มันช่วยกัน จิตใจลงโทษกาย เหนื่อยเต็มที่แล้ว หาวหลายครั้งแล้ว หลับไม่ลง ติด ชีวิตจิตใจหยุดคิดก็ไม่เป็น จะไปหัดก็ไม่เป็น มันอาจจะดื้อด้านไปเสียแล้ว ด้านไปเลย ด้านในความคิด คิดอะไรก็ได้หรือใจเนี่ย มันก็เป็นอย่างนั้นมานานแล้ว เราไม่ได้หัดตัวเองสอนตัวเอง จะพึ่งมันก็ไม่ได้ พึ่งใจตัวเองก็ไม่ได้ พึ่งกายก็ไม่ได้ จะขอพึ่งคนอื่นสิ่งอื่นวัตถุอื่น ที่พึ่งอันเสเพลตัวเอง พึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ มีคุณธรรม ใช้ตัวใช้ตน พุทธะคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ความรู้ความเก่งความชำนาญก็อยู่ในตัวเรานี้ อย่าคิดไปหาคนอื่นเดี๋ยวถูกหลอก เอาบุญก็ไปเอากับคนอื่นเดี๋ยวถูกหลอก หาคนก็ต้องหาได้ที่กายที่ใจเรานี้ ถ้าหานอกกายนอกใจเรียกว่านอกศาสนา ชาวพุทธไม่ควรแสวงหาคนนอกศาสนา คือนอกกายนอกใจทำพิธีเป็นอันอื่นโน่น ส่วนกายส่วนใจไม่ได้หัดตัวเอง มัวแต่ว่าจะได้บุญ ทำไม่ถูก ถ้าทำให้มันถูกมันอยู่ที่ใด ไปหาที่ไม่ถูกมันก็ไม่ได้ ไม่เห็น ทำบุญไม่ถูกบุญ ละบาปไม่ถูกบาป มันก็มีเหมือนกัน เสียเวลา
ซึ่งเวลานี้ชาวพุทธทั่วโลกกำลังดังเรื่องพระหลอกลวง หลวงปู่เณรคำ ที่เราเรียกหลวงปู่เณรคำดัง ๆ กำลังเป็นนักโทษ หนีไปต่างประเทศ กำลังติดตามให้ส่งตัวกลับ ดัง ๆ ทั้งนั้น เราก็ไปเชื่อคนอื่นแต่ไม่เชื่อตัวเอง เขาดีเป็นเรื่องของเขา เขาชั่วเป็นเรื่องของเขา เรามาฝึกเราเนี่ย พระพุทธเจ้าสอนให้พึ่งตนเอง อย่าเชื่อเพราะบุคคลที่ควรเชื่อ อย่าเชื่อเพราะสิ่งที่เล่าลือ อะไรสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตนให้คนเห็น ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เราจึงทำให้มันถูกซะ
ดูแลกายใจของเรานี้ มีสติเนี่ย สอนกายสอนใจเรานี้ วิธีใดที่มันจะสอนตัวเรา หาโอกาส มีสิทธิ มาอยู่วัดวาอารามวันหนึ่งคืนหนึ่ง หัดฝึกตนสอนตน อยู่ในความสงบ ปฏิบัติตน หาปลีกวิเวก สามารถเลือกได้วัดนี้ แล้วก็ใส่ใจสักหน่อย หาเวลาที่สอนตัวเองให้ได้ เห็นช่องว่างเห็นจุดอ่อนมันอยู่ที่ใด มีสติเป็นหน้ารอบ ถ้ามีสติก็เห็น เหมือนป้อมปราการ สตินี้เป็นป้อมปราการ ข้าศึกมาทางใดก็รู้ ถ้าข้าศึกมาก็ปราบแม่....กำลังพล สติเป็นสติเป็นกำลังพลปราบข้าศึกได้ มาทางความคิดก็รู้ มาทางกายก็รู้ มาทางตาก็รู้ มาทางหูก็รู้ มาทางจมูก ลิ้น กาย ใจก็รู้ เรียกว่ากำลังพล สามารถคุ้มครองได้ ถ้าไม่มีสติก็แสดงว่าไม่มีกำลังพล ข้าศึกเข้าถึงตัว อะไรเกิดขึ้นก็พอใจไม่พอใจ ข้าศึกเข้าถึงตัวแล้ว เราก็เป็นอยู่อย่างนั้นมานานแล้ว รู้สึกตัวซะ เปลี่ยนมาเป็นความรู้สึกตัวซะ ตาเห็นรูปก็รู้สึกตัว หูได้ยินเสียงก็รู้สึกตัว จมูก ลิ้น กาย ใจ คิดนึก รู้สึกตัว เมื่อกำลังพลปราบข้าศึก ข้าศึกก็อ่อนล้า ถ้าหลงเมื่อใดรู้ขึ้นมา ข้าศึกอ่อนล้า ถ้าทุกข์เวลาใดรู้สึกตัวขึ้นมา ข้าศึกก็อ่อนล้า โกรธเมื่อใดก็รู้สึกตัวเสีย ข้าศึกก็อ่อนล้า เกิดกิเลสตัณหาก็รู้สึกตัวเสีย ข้าศึกก็อ่อนล้า พ่ายแพ้ไปเอง ก็ได้ชัยชนะ ชิตังเม ชนะแล้วโว้ย ชนะแล้วโว้ย มีเหมือนกัน พระอรหันต์อดทนต่อเรื่องนี้จนชนะ บอกตัวเองแล้วว่า ชิตังเม ชิตังเม ชนะแล้วโว้ย ชนะแล้วโว้ย (หัวเราะ) นี่แหละที่น่าภูมิใจ ชีวิตของเราเกิดมามันยกมือไหว้ตัวเองได้ คุ้มค่าแล้วที่แม่ให้กำเนิดเกิดมา พ่อให้กำเนิดเกิดมา ลูกพ่อลูกแม่ ไม่เลวแล้ว ไม่เลวแล้ว ภูมิใจ ภูมิใจแล้ว ขอเป็นกองเชียร์ ทำได้ทุกคน เวลาหลงไม่หลงก็ได้ เวลาทุกข์ไม่ทุกข์ก็ได้ ขอเชียร์
ปีนี้หลวงตาอาจจะอยู่ที่ใดก็ไม่รู้นะ แต่นั่งอยู่นี่นะ (หัวเราะ) วันนี้มาต้อนรับโยม บวชได้สามวันนี้แล้ว วันนี้ก็ถือบวชอีก บวชเสร็จแล้วก็จะไปไหนไม่รู้นะ หมู่สงฆ์จะปลดงานให้ ให้ทำอะไร ให้ไปอยู่ภูหลง ดีไหม (หัวเราะ) ให้บริหารงานทั้งหมด เราไม่อยากจะทำอะไร ให้สอนอะไร สอนก็สอนไม่ได้แล้ว มีเสียงไหมเนี่ย ได้ยินไหม ไม่เหมาะแล้ว การสอนคนไม่เหมาะแล้ว ไม่ทำอะไรแล้ว ญาติโยมนิมนต์ไปสวดไปฉันที่ใดไม่ไปแล้ว อยู่ที่นี่ก็มีโยมนิมนต์ไปรัสเซีย ไปดูลูกอุกาบาตตกที่นั่น ไม่ไปแล้ว ไปไม่ไหว ไปไหนก็ไม่ได้แล้ว ไปได้แค่นี้สองสามวัน ไปแค่นี้นะ วันหน้าไม่ไปอีกแล้ว
ฉะนั้นปีนี้อาจจะไปอยู่ภูหลงก็ได้ ก็อาจจะมาดูงานที่นี่บ้าง ยังดูแลศาลาประชาคม ช่วยซาตง(อ.ตงหมิง) ข่วยหัวหน้าดำ หลวงพ่อดำ จะดูแลให้เสร็จเลย ไม่ต้องลำบากญาติโยม วันนี้ก็หมดแค่นี้นะ หมดกำลังเท่านี้นะ ญาติโยมก็พากันสมาทานศีลตามกำลัง พวกเรากราบพระก่อน