แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้พูดทั้งวัน เป็นเพราะอยากบอก อยากสอน ความเท็จความจริง เพราะว่าเวลาเหลือน้อยแล้ว จะไม่พูดฟุ่มเฟือย ภาษาฟุ่มเฟือย ให้มันตรง ๆ เข้าไป เวลามันหลงรู้ มันหลงกับความรู้ คนละมุมพอดีเหมือนหน้ามือหลังมือ มันทุกข์ รู้ ไม่ทุกข์ มันโกรธไม่โกรธ ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติออกจากทุกข์แล้ว เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ ตรงที่สุด เป็นก้าวแรกของเดินทางออกจากทุกข์ “อะระหัง” เป็นผู้ไกลจากทุกข์
ก้าวแรกคือหลงเป็นรู้ ไม่ทุกข์ มันโกรธเป็นไม่โกรธ มันทุกข์เป็นไม่ทุกข์ ถ้าทุกข์เป็นทุกข์เป็นปุถุชน ถึงห่มผ้าจีวรอยู่ เขาเรียกว่า ปุถุชน ถ้ามันหลงเป็นหลงเป็นปุถุชน เห็นมันหลงเป็นมนุษย์ ไม่เป็นผู้หลง เป็นพระ เห็นมัน มันทุกข์เป็นปุถุชน เห็นมันทุกข์เป็นมนุษย์ เป็นมรรค หลงตัวทุกข์เป็นทุกข์ เห็นมันทุกข์มันสูงกว่า สูงกว่าความทุกข์ มนุษย์มักจะไปสูง ๆ ถ้าเห็นทุกข์เป็นมรรค ไม่ทุกข์เป็นผล มรรคผลน้อยๆ ถ้าโกรธ เป็นทุกข์โกรธเป็นปุถุชน เห็นมันโกรธเป็นมรรค ไม่เป็นผู้โกรธเป็นผล ตรงกันข้ามทุกอย่างเป็นมรรคเป็นผลไปเลย ปฏิบัติได้ให้ผลได้ ก็จะเห็นตัวเราเป็นลักษณะแบบไหน อยู่กันยังไง ชีวิตของเรา มันอยู่กับการกระทำ การฝึกตนสอนตน ไม่เกี่ยวกับเพศกับวัย เกี่ยวกับลัทธินิกาย อย่างเนี้ย ซื่อ ๆ ตรง ๆ ไม่ลับไม่ลี้ ลึกซึ้ง ๆ ลองดูก็ได้
เรื่องฐานะลองดู ฐานะคนบางคน เป็นมนุษย์ เราก็มนุษย์เป็นพระ อย่างเนี้ย คือดู เหมือนทุกข์ เห็นเหมือนทุกข์ ดูมัน ผลเป็นผู้ไม่ทุกข์ เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นทุกข์ ความทุกข์ เห็นมันโกรธไม่เป็นโกรธเพราะความโกรธ เป็นมรรคเป็นผลอยู่ตรงนี้ ไม่รีบไม่รับ เข้าข่ายโลกอริยมรรค เจริญสติปัฏฐาน มีสติละความชั่วทันที มีสติทำความดีทันที มีสติจิตบริสุทธิ์ทันที ไม่ต้องไปรอ ไม่ได้รอเสี้ยววินาทีเดียว มีสติก็เป็นการรักษาศีล ศีลจะเกิดได้เพราะมีสติ เป็นหน้ารอบ ไม่เผลอ เรียกว่า อริยบุคคล ก็ได้ โยคาวจร ก็ได้ พระขีณาสพ ก็ได้ พระขีณาสพเป็นผู้มีสติเป็นหน้ารอบ มีสติเป็นศีล มีสติเป็นวินัย นี่เรียกว่า ขีนาสพ ไม่ใช่ตั้งกันลอย ๆ มันหลง มันรู้ มันสุข มันทุกข์ รู้หมด จากที่เรามีสติ มันยากเห็นมันยาก มันง่ายเห็นมันง่าย มันผิดเห็นมันผิด มันถูกเห็นมันถูก มันสงบเห็นมันสงบ มันไม่สงบเห็นมันไม่สงบ ไม่เป็นอะไรกับอะไร
พอมีสติก็เป็นกลางไปทันที ทำให้เกิดความเป็นกลาง นี่ความเป็นกลางก็มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นขณะปฏิบัติ ถ้ารู้สึกตัวมาก ๆ เป็นธรรมชาติ ไม่หลง เป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ เมื่อไม่หลงนานวันมีสติมากขึ้น เป็นธรรมดา ความหลงน้อยลง สติมากขึ้น เรื่องความหลงน้อยลง ความไม่มีโอกาส ไม่มีเหยื่อ สุขไม่มีรสชาติ ทุกข์ไม่มีรสชาติ ดีใจ เสียใจไม่มีรสชาติ ยินดียินร้ายไม่มีรสชาติ เมื่อไม่มีรสชาติมันก็เหือดแห้งได้ เหมือนข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉาง ไม่ได้กลิ่นไม่ได้อายฝนไม่ได้สัมผัสกับความชื้น ไม่สัมผัสกับอากาศ เก็บไว้ ปีสองปี เอาไปหว่านไม่เกิด หมดเชื้อ เราก็ไม่ได้ปล่อยให้มันสุข ไม่ปล่อยให้มันทุกข์ เวลามันอะไรก็รู้เรื่อยไป
ความรู้สึกตัวเป็นการคุมกำเนิดของสังขาร สังขารคือการปรุง วิสังขารคือไม่ปรุง มีความรู้สึกตัวเป็นวิสังขาร คุมกำเนิดของชาติ เป็นความคุมกำเนิดของชาติ ชาติคือสุข ชาติคือทุกข์ ความสุขความทุกข์เป็นชาติ ที่เป็นภพเป็นชาติ เกิดดับ เกิดดับ ถ้ารู้ มันสุขไม่เป็นผู้สุข เห็นมันสุขไม่เป็นผู้สุข ชาติสุขไม่มี มันทุกข์เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ ชาติแห่งความทุกข์ไม่มี มันโกรธเห็นมันโกรธ ไม่เป็นผู้โกรธ ชาติแห่งความโกรธไม่มี เรียกว่า วัตตะ ไม่มี จะเกิดไรขึ้นพิสูจน์ลองดู 1 วัน 7 วัน 1 เดือน 7 เดือน 1 ปี 7 ปี อย่าไปเชื่อกายสัมผัส เอาการกระทำ มีการกระทำกรรมฐาน มันศักดิ์สิทธิ์ ทันทีทันใด ทุกคนทำได้
เวลามันหลง ทุกคนรู้ได้ ไม่หลงก็ได้ มีสิทธิ เวลามันโกรธทุกคนไม่โกรธได้ มีสิทธิไม่โกรธ เวลามันทุกข์มีสิทธิไม่ทุกข์ ใช้สิทธิของตัวเอง ใช้สิทธิของตัวเราเอง เป็นอิสระ สัมผัสดูแล้วความโกรธไม่เป็นธรรม ความไม่โกรธเป็นธรรม ความหลงไม่เป็นธรรม ความไม่หลงเป็นธรรม ความทุกข์ไม่เป็นธรรม ความไม่ทุกข์เป็นธรรม ความสุขไม่เป็นธรรม ความไม่สุขเป็นธรรม อะไรต่าง ๆ ดีใจ เสียใจ ไม่เป็นธรรม ไม่ใช่ที่อยู่ของจิตใจ ไม่ใช่เป็นบ้านของใจคือปกติ จิตใจมีบ้านคือปกติ ถ้าใจไม่มีบ้าน ใจก็เถื่อนเป็นสุขเป็นทุกข์ เอาความสุขความทุกข์เกิดจากใจ ให้ใจพาให้สุขให้ทุกข์ พึ่งไม่ได้ ถ้าเป็นจิตใจมันไม่เป็นอะไร สุขทุกข์มาทีหลังถ้าเรามีสติ มีสติไปนานพอความสุขเกิดขึ้นตื่นความสุข ถ้ามันทุกข์เกิดขึ้นตื่นความทุกข์
พุทโธ คือตื่นทุกข์ตื่นปัญหาที่เกิดกับจิต จนเรียกว่า “พุทโธ” ถ้าภาษาบ้านเรา "ปัดโธ่" ประเทศอื่นว่า "พุทโธ" ตื่น ไม่หลับในตรงนี้ ไม่อ่อนแอในความอ่อนแอ เข้มแข็งกว่าอ่อนแอ ไม่หลับในความหลับ ตื่นตัวในความหลับ เมื่อตื่นเบิกบานในความเศร้าหมอง นี่เราฝึกตัวเรา เป็นไปได้ ตรง ๆอย่างนี้ พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ พร้อมทั้งพระธรรมคำสอนอันเป็นไปเพื่อทางออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน เรียกว่า คำสอน คำสอนคือการกระทำไม่ใช่ให้รู้ หัดทำคำสอน ความรู้สึกตัวก็มีความรู้สึกตัว ไม่ใช่ไปท่องเอา การที่มันหลงก็รู้สึกตัว รู้สึกตัวได้ทุกกรณี
คำว่า "รู้สึกตัว" ไม่มีที่ ไม่มีกาล ไม่มีเวลา รู้สึกได้ทุกโอกาส ในความหลงรู้สึกตัว ในความรู้รู้สึกตัว ในความสงบรู้สึกตัว ในความฟุ้งซ่านรู้สึกตัว ในความสุขความทุกข์รู้สึกตัว ถ้าเป็นสติปัฏฐานไม่เป็นอะไรกับอะไร มาเหนือ ๆ มาเหนือ ๆ เหนือทุกอย่างที่เรียกว่า "ชิตังเม" ชนะสิบทิศ ชนะทุกอย่างในสิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ สติสัมปชัญญะเป็นตัวเฉลยได้ทุกอย่าง สากลแห่งธรรม ก็รู้สึกตัว ผู้ใดมีก็รู้สึกตัวเป็นของผู้นั้น ผู้ใดไม่มีก็ไม่เป็นของผู้นั้น เป็นของผู้รู้สึกตัว
ความรู้สึกตัวไม่มีเพศ ไม่มีวัย ไม่มีลัทธิ ไม่มีนิกาย เป็นความรู้สึกตัวล้วน ๆ ซื่อ ๆ ความรู้สึกตัวอยู่กับเราเวลานี้ เรารู้สึกตัวอยู่กับพระพุทธเจ้า 2,000 กว่าปีอันเดียวกัน ความรู้สึกตัวอยู่กับคนหนุ่ม ความรู้สึกตัวอยู่กับคนแก่ อยู่กับพระสงฆ์ อยู่กับฆราวาส ญาติโยมอันเดียวกัน จึงเป็นสากลแห่งธรรม ความโกรธก็เหมือนกัน ความไม่โกรธก็เหมือนกัน จะต่างกัน ถ้าคนหนึ่งโกรธ คนหนึ่งไม่โกรธ วัตถุอันเดียวกัน คนหนึ่งพอใจ คนหนึ่งไม่เป็นไร ต่างกันตรงนี้ เมื่อหัดแล้วก็เป็นเหมือนกัน เรานั่งอยู่นี้ ถ้ามีสติเป็นคนคนเดียวกัน ถ้าเราหลงก็เป็นคนละคนกันไป ถ้ามีสติเป็นคนคนเดียว ละความชั่วทำความดีขณะที่มีสติได้ทุกคน
คนโบราณสมัยอินเดีย แถบตอนเหนือของประเทศเขา ในกรุงเดลี เด็กเห็นกันจะมักถามว่ามีสติรึเปล่า มีสติแล้ว มีสติแล้ว เห็นกันแต่ถามเรื่องสติ รู้กันเรื่องสติ ง่ายที่สุด ถ้าคนหนึ่งพูดหลง คนหนึ่งก็เตือน หลงไปแล้วเพื่อนหลงไปแล้ว ลองดูซิ มันจะเป็นกัลยาณมิตร ยิ่งเราอยู่เป็นสังคมครอบครัว ลองดูจะเป็นอย่างไร ไม่มีญาติเขาบอกให้ฟัง
แม่บ้านโกรธให้ลูก พ่อบ้านบอกลูก อย่าเข้าไปใกล้นะ ไม่ใช่แม่นะ ยักษ์ พากันหนีไป เป็นยักษ์ เดี๋ยวถ้าเมื่อใดให้แม่เป็นแม่จะเข้าไปหา เดี๋ยวนี้กำลังเป็นยักษ์อยู่ เข้าไปอาจถูกลูกหลงได้ แม่ได้ยินได้เห็นตัวเอง แสดงออก คำพูดก็ไม่ดี ทักษะท่าทางก็ไม่ดี แล้วก็รู้สึกตัวขึ้นมาแก้ไขได้ทันที คิดหัวเราะ เรื่องที่โกรธสามี เกิดความรักสามีเข้ามาเตือน ไม่ได้เตือนโดยตรง บอกโดยอ้อม นี่คนเขาทักท้วงกันแบบนี้ ถ้าเป็นผัวเป็นเมียเป็นครอบครัวเดียวกัน ดูแลกันด้วย ถ้าสร้างต่อไปอีก ผัวเมียธรรมดากลายเป็นกัลยาณมิตร กลายเป็นกัลยาณมิตร ลึกซึ้งกว่าเป็นผัวเป็นเมีย ผัวเมียกันนี้มันขาดง่าย ต่อไปอีกให้มันยาว ๆ ลึกซึ้งเข้าไป
พระพุทธเจ้าเคยสอนเรื่องนี้ เป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นพ่อ เป็นแม่ สามีเป็นสามี ภรรยาเป็นภรรยา ภรรยาเป็นน้องสาว สามีเป็นน้องชาย ภรรยาเป็นพี่สาว สามีเป็นพี่ชาย สามีเป็นเพื่อน ภรรยาเป็นเพื่อน สามีเป็นพ่อ ภรรยาเป็นแม่ เรียกได้ตั้ง 4-5-6 อย่าง จะเรียกแม่ก็ได้ เพราะเขาเป็นแม่ของลูก เรียกน้องสาวใดเวลางอแงเหมือนน้องของเรา อย่าถือสาหาเรื่อง ถ้าเห็นภรรยางอแง เห็นสามีงอแง เห็นภรรยาเหมือนน้องสาว สามีเหมือนน้องชาย เราใหญ่กว่าเขา เราไม่เป็นเหมือนเขา ช่วยเขา เวลาเห็นเขาดีกว่าเรา เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ก็สามีพี่ชาย ภรรยาพี่สาว ถือว่าพี่สาว เขาดีกว่าเรา มีอะไรเขาช่วยเหลือ เป็นเพื่อน ก็เรียกว่าสามีเป็นเพื่อน ภรรยาเป็นเพื่อนกัน เวลาใดที่เขาดูแลเราเหมือนลูก เจ็บไข้ได้ป่วยเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวให้ ก็เรียกว่าสามีเป็นพ่อ ภรรยาเป็นแม่ก็ได้ เขาก็เป็นแม่ของลูกเรา มันลึกซึ้ง ดีกว่าสามีภรรยาธรรมดา ต่อเข้าไปมันลึกซึ้งเข้าไป ดูแลกันดี ๆ จะมีประโยชน์มาก ถ้าจำเป็นต้องดูช่วยกันก็ดี
บางอย่างสมัยเราปฏิบัติ ก็มีมิตร มีเพื่อน มีพระอานนท์ กราบทูลพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตรนี้ดีนะ ถือว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทักท้วงว่า ไม่เช่นนั้น อานนท์ อย่าพูดเช่นนั้นเลย กัลยาณมิตรเป็นที่สุด เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ถ้าใครเป็นกัลยาณมิตรกัน ถือว่าเป็นพรหมจรรย์ได้ทั้งหมด ทั้งหมดของพรหมจรรย์ ไม่ทุกข์พ้นทุกข์ ไม่มีปัญหา บริสุทธิ์ ทั้งหมดของพรหมจรรย์คือกัลยาณมิตร ไม่เกี่ยวกับอะไรทั้งสิ้น ลึกซึ้งกว่าญาติ ญาติสายโลหิตยังมีโอกาสทะเลาะกันได้ ถ้าญาติให้เป็นญาติต่อเข้าไปอีก เรียกว่ากัลยาณมิตร เป็นญาติสองต่อ ลึกซึ้งกว่าสายโลหิต เครือญาติ ถ้าเป็นกัลยาณมิตรแล้ว ไม่มีทางทะเลาะว่ากันเหมือนญาติธรรมดา ญาติธรรมดาทะเลาะว่ากันได้ ฆ่ากันได้ ถ้าเป็นกัลยาณมิตรไม่มีโอกาสที่จะทะเลาะกันได้
เช่น ถ้าเราเห็นกาย เห็นใจธรรมดา มักจะจนง่าย โกรธง่าย ทุกข์ง่าย หลงง่าย เป็นตัวเป็นตนได้ง่าย ถ้าเห็นเป็นรูปธรรม นามธรรม โกรธไม่ลง หลงไม่ลง ทุกข์ไม่ลง ทะเลาะกันไม่ลง เห็นเป็นรูปธรรมนามธรรมแล้ว ทะเลาะกันไม่ขึ้น ความทุกข์ไม่มีค่า ความโกรธไม่มีค่า ถ้าจะโกรธข่มขืนตัวเอง ถ้าจะทุกข์ก็ข่มขืนตัวเอง ทำไม่ลง เพราะเห็นเป็นรูปธรรมเห็นเป็นนามธรรม เป็นความโกรธไม่ใช่เป็นความโกรธเป็นอาการ เบา ๆ ไม่หนัก ไม่มีรสชาติ เห็นความทุกข์เป็นอาการ เกิดกับนามกับรูป ถ้าเห็นเป็นกายเป็นใจเป็นตัวเป็นตน หลงง่าย ถ้าเห็นเป็นรูปธรรม นามธรรม ไม่ค่อยหลง แล้วก็ไม่ค่อยทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่ลง เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องถูกต้อง คนทะเลาะกันเพราะความหลง คนทะเลาะกันเพราะความโกรธ เพราะเห็นรูปธรรมนามธรรมแล้ว มันหลงก็จะให้หลงเป็นไปได้ยาก มันโกรธจะให้เป็นความโกรธเป็นไปได้ยาก ทำไม่ลง ไม่มีรสชาติ ก็ไม่เฉพาะทะเลาะกัน ถ้าเห็นรูปธรรมนามธรรมแล้ว
ถ้าทุกข์เป็นผู้ทุกข์ เป็นรูปเป็นกายเป็นใจ ถ้าเห็นมันทุกข์ไม่ใช่กายใช่ใจ เป็นรูปเป็นนาม เป็นอาการ มันก็พูดแบบนี้ ต่างเก่าอย่างนี้ วิธีปฏิบัติแบบนี้ มันรู้ไปอย่างนี้ มันมีสูตรอย่างนี้ จะได้เห็นกายเห็นใจ เคลื่อนไหวอยู่นี้คืออะไร คือกาย อันที่มันรู้การเคลื่อนไหวคืออะไร คือใจ ตอบอย่างนี้ ตอบแบบไม่รับผิดชอบ ให้เห็นตัวนี้ ถ้าตอบแบบนี้ก็ถูก แบบกำปั้นทุบดิน แต่ไม่ถูกทั้งหมด มันคับแคบ ถ้าเห็นเป็นรูปเป็นนาม มันแตกฉาน มันแตกฉานไม่จน กว้างใหญ่ไพศาล เห็นทุกข์ไม่ใช่ทุกข์เป็นอาการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ทุกข์ เห็นมันร้อน ไม่ใช่ความร้อน เป็นอาการเกิดขึ้น จากรูปจากนาม ถ้ารูปไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มีปวด ไม่มีหิว ไม่ใช่รูป ขอบคุณความร้อน ขอบคุณความหนาว ขอบคุณความเจ็บปวด ถ้าเราไม่เห็นรูปนาม เห็นกายเห็นใจจะเป็นทุกข์ จะเป็นทุกข์ง่าย
ความร้อน คือผู้ร้อน เป็นตัวเป็นตนได้ง่าย ถ้าเห็นรูปธรรมนามธรรมแล้ว ตัวตนลักษณะแบบนี้ไม่มี ตัวตนที่เกิดเป็นทุกข์ไม่มี เห็นแต่เป็นอาการธรรมชาติ ธรรมดา เบา ๆ ถ้าปวดเห็นมันปวดเป็นอาการของรูป มันโกรธเห็นมันโกรธเป็นอาการของนาม ไม่ใช่ความโกรธจริง ๆ ความโกรธจริง ๆ ไม่มี เพียงแต่เป็นอาการเราไปตู่เอา อาการไม่ใช่ตัวใช่ตน เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ไม่ใช่อยู่ที่นั่นตลอดไป เช่น ความโกรธ เป็นอาการเกิดขึ้น แล้วก็หายไป มีแล้วหายไป เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่เราไปถือเอาว่าเป็นตัวเป็นตน
ถ้าเห็นรูปธรรมนามธรรมแล้วจะไม่มีตัวตน เป็นไปเพื่อทางออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน จบง่าย ๆ อะไรที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ 84,000 อย่าง กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด เห็นเป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งหมด เห็นแต่อาการทั้งหมด รูปมันทำดี นามมันทำดี รูปมันทำชั่ว นามมันทำชั่วทั้งหมด ใช่รูปใช่นาม ให้ทำดี แต่ก่อนรูปนามมันใช้เรา เพราะเราเห็นเราใช้รูปใช้นาม ว่าเราเห็นเราใช้วัตถุ เห็นวัตถุอาการ วัตถุคือตา คือหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นวัตถุภายใน วัตถุภายนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง เรียกว่า วัตถุอาการ เมื่อมีหูได้ยิน ก็มีอาการได้ยิน มีตาเห็นรูปก็มีการเห็นเกิดขึ้น เห็นเป็นรูปธรรมนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน ถ้าตาไม่เห็นเรียกว่าไม่มีวิญญาณทางตา หูไม่ได้ยินก็ใช้ไม่ได้ จมูกไม่ได้กลิ่น กายสัมผัส ใจคิด ไม่เป็นไม่ใช่ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับรูปกับนามตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวใช่ตน
รูปธรรมนามธรรม มันทำดีทำชั่ว รูปทุกข์นามทุกข์ มันเป็นทุกข์ หายใจเข้าหายใจออกเป็นทุกข์ หิวเป็นทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์ ถ้าไม่เห็นรูปเห็นนามมีแต่ทุกข์ ถ้าเห็นแล้วเป็นอาการ ความทุกข์ไม่ใช่ทุกข์จริง ๆ เป็นอาการของรูปของนาม อย่างนี้ มันบอกไปอย่างนี้ รูปมันบอก นามมันบอก อย่างนี้ แต่ความหลงกลายเป็นปัญญาไปอย่างนี้ ได้สูตรได้หลักฐาน เหมือนกับพิพากษาตุลาการ ฟ้องเข้าไป เราเป็นจำเลยของความหลง ความโกรธ ความโลภ ความทุกข์ เมื่อมีหลักฐานเข้าไป ไม่มีหลักฐาน ที่ถ้ามันเกิดมันรู้เป็นทุกข์ได้ เลื่อนลอย พิพากษาตุลาการ ขี้ขลาดได้ เดี๋ยวนี้เกิดแก่เจ็บตาย ตัดสินใจเราแล้ว ก็ต้องยอมเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความเจ็บ เรียกว่าเราตัดสิน เราเป็นจำเลย เขาพิพากษาเรื่องนี้ แบบป่าเถื่อน
เมื่อเรามาเห็นแล้ว สติสัมปชัญญะเป็นตุลาการ เกิดความเป็นธรรม ความทุกข์ไม่เป็นธรรม ความไม่ทุกข์เป็นธรรม ได้อิสระ เป็นอิสระ ไกลจากข้าศึกอย่างนี้ พิพากษาตุลาการ ความเกิดไม่เป็นทุกข์ ความแก่ไม่เป็นทุกข์ ความเจ็บไม่เป็นทุกข์ ความตายไม่เป็นทุกข์ สิทธิของเราอย่างนี้ เวทนาไม่เป็นทุกข์ สัญญาไม่เป็นทุกข์ สังขารไม่เป็นทุกข์ ถ้าเราไม่เห็นไม่รู้ มีแต่ทุกข์ ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉนกัน ทำที่สุดแห่งกองทุกข์ จะปรากฏชัดแก่เราได้
เราจึงอุทิศ สะหันตัง สัมมาสัมพุทธังอุทิศตามพระพุทธเจ้า ทำตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร อุทิศแปลว่าทำตาม เมื่อเราทำตามจึงรู้อย่างนี้ว่า เวทนาก็ไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
เมื่อเรารู้อย่างนี้ ในความที่ไปคิดว่าเราว่าของเรา แต่ก่อนความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ความไม่ทุกข์เป็นทุกข์ ถ้าเรามาเห็น หลังจากเราสวดพระสูตรเมื่อกี้นี้ ติลักขณคาถา ว่าได้ไหม สวด ติลักขณคาถา อีกสักรอบลองดูว่าเป็นอย่างไร ได้ไหม เปิดตำรา
หันทะ มะยัง ติลักขะณาคาถาโย ภะณามะ เส
สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
พอ ๆๆ พอแล้ว ๆ ใช่ไหม ทำไมไม่เที่ยง ทำไมเป็นทุกข์ เพราะไม่รู้ เพราะมารู้แล้ว เป็นปัญญา เป็นนิพพานเป็นไร เห็นความไม่เที่ยงเป็นนิพพาน แต่ก่อนความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ พอเราดูตามความจริงน่ะเป็นนิพพาน ความเป็นทุกข์เป็นทุกข์ พอมารู้เห็นความเป็นจริงแล้ว เป็นนิพพาน เปลี่ยนสังขาร เป็นวิสังขาร เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ ลองดู เปลี่ยนหลงเป็นรู้ ลองดู ถ้าไม่มีก้าวตรงนี้ก็ไม่ถึงที่นั่น
เมื่อเปลี่ยนมันก็ไม่มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ไม่ตายเพราะความตาย ไม่เจ็บเพราะความเจ็บ ไม่ทุกข์ความทุกข์ เป็นไปได้ในชีวิตเรานี้ เก็บไว้เตรียมใจก่อนตาย เตรียมไว้จะได้รู้วิธีเจ็บทำไง วิธีตายทำไง เจ็บให้เป็นตายให้เป็น นี่เรียกว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้ จึงได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เมื่อสอนคนอื่นรู้ตาม ชื่อว่า สัมมาสัมพุทโธ ได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ได้วิเศษไปเรื่องอื่น มาเห็นเรื่องนี้ เรียกว่าเหนือการเกิดแก่เจ็บตาย
เริ่มต้นมาจากหลงเป็นรู้ โกรธเป็นไม่โกรธ ทุกข์เป็นไม่ทุกข์ จนเห็นกายเห็นใจว่าเป็นรูปธรรมนามธรรม สัมผัสกับความรู้ความหลง รสชาติของความทุกข์เป็นไง เห็นมันทุกข์ ไม่ทุกข์เป็นยังไง ไม่เป็นผู้ทุกข์ห่วงทุกข์เป็นยังไง มันจะเปลี่ยนตรงนี้ จิตใจเราเปลี่ยนตรงนี้ ถ้าจะพูดออกจากปากเราได้ แต่ก่อนเราเคยเป็นสุขเป็นทุกข์ ความคิด เป็นสุขเป็นทุกข์ ความคิด ต่อนี้ไป จะกี่ภพกี่ชาติก็ตาม จะไม่เอากายเอาใจมาเป็นสุขเป็นทุกข์เด็ดขาดเลย อย่างนี้จะว่าได้ไหม ออกมาจากหัวใจของเราเนี่ย ต่อนี้ไป อันที่ว่าทุกข์ที่เกิดกับกายกับใจ จะไม่มีอีกแล้ว หลวงพ่อเทียนบอกเชือกขาดแล้ว เป็นเชือกถ้าจะดึงจะลากอะไรไปมันไม่ไปมันขาด แก้วเป็นแก้วอยู่แต่มันแตกแล้ว จะเอามาใช้ให้เป็นแก้วมันไม่สำเร็จประโยชน์
เวทนาเป็นทุกข์ ไม่ทุกข์เพราะเวทนาเป็นทุกข์ ไม่ได้หรือ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ เวทนาไม่เป็นทุกข์ สัญญาไม่เป็นทุกข์ สังขารไม่เป็นทุกข์ วิญญาณไม่เป็นทุกข์ ความไม่เที่ยงไม่เป็นทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นทุกข์ อย่างเนี้ย ถ้าบอกตรง ๆ ก็บอกอย่างเนี้ย แต่มันทำไม่เป็นไปหัดเอา หัดเอา เวลามันโกรธ เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธ เวลามันทุกข์เปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ มันหน้ามือหลังมืออย่างนี้ เรียกว่าปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติออกจากทุกข์แล้ว ปฏิบัติเป็นสถาบันแล้ว เรียกได้ว่าเปลี่ยนหลงเป็นรู้ เป็นโสดาปัตติมรรค
ใครเป็นผู้รู้อย่างนี้ คู่แห่งบุรุุษ 4 คู่คือใคร พระสงฆ์เกิดจากพระสัทธรรมคือใคร มีการปฏิบัติดีเป็นต้น ใครปฏิบัติ ไม่ใช่พระสงฆ์เกิดจากอุปัชฌาย์ หลวงตาเป็นอุปัชฌาย์เป็นสมมุติสงฆ์ พระสงฆ์ที่เป็นสงฆ์รัตนตรัย สงฆ์ของพระพุทธเจ้าที่ชี้บอกว่า มีบุรุษ 4 คู่นับเพียงได้ 8 บุรุษ คือใครบ้าง เขาทำอะไรจึงเป็นบุรุษเป็นสงฆ์ขึ้นมา แล้วปฏิบัติยังไงปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ว่าดูซิ
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
อยู่ที่ไหน เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ มันใครเปลี่ยนให้เรา คนอื่นช่วยเราได้มั้ย เราต้องช่วยตัวเราเอง หัดเปลี่ยน หัดเปลี่ยนร้ายเป็นดี เรียกว่า ปฏิบัติธรรม อย่างนี้ แล้วมันจริงขนาดไหน อย่าไปเชื่อ ถ้าเราทำดูก่อนแล้วจึงเชื่อ โอ้เป็นอย่างนี้ โอ้เป็นอย่างนี้ ไปกรรมมฐาน วิปัสสนา โอ้ โอ้ เขาบอก อื้มมม มันหลง อื้มมม มันรู้ อื้มมม มันสุข อื้มมม มันทุกข์ อื้มมม มันโกรธ อื้มมม มันไม่โกรธ อื้มมม ไม่มีแปลก อึ้ม ดี อึ้ม ไม่ดี อย่างนี้ชอบ อย่างนี้ไม่ชอบ ไม่ใช่ปฏิบัติดีแล้ว
ปฏิบัติดี มันหลงเห็นมันหลง มันรู้เห็นมันรู้ ไม่เป็นผู้รู้ มันทุกข์เห็นมันทุกข์ มันสุขเห็นมันสุข มันโกรธเห็นมันโกรธ มันรักดีใจเห็นมันรักดีใจ มันเสียใจเห็นมันเสียใจ ไม่ได้ไปอย่างนี้ ไม่ได้ไปอย่างนี้ อย่างนี้คือไม่เป็นไร คืออะไร เป็นกลาง กลางคืออะไร คือมรรค มรรคเป็นกลางอยู่นี้ ถ้าดีใจเป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นกลาง เสียใจไม่เป็นกลาง ไม่อยู่ตรงนี้ เหมือนเข็มมิเตอร์ มิเตอร์เวลาเราวัด มันจะปั๊บขึ้นมา ถ้ามิเตอร์อันไหนมันไปอย่างนี้ระหว่างเครื่องช็อต ไฟช็อต มันไม่ขึ้น เหมือนปั้ม ปั้มมันมีทองแดง อันนี้ก็มีทองแดง มันหมุนนาทีละ 1,200 รอบ ถ้าไม่หมุนเมื่อกี้นี้ ไหม้ มันทำไมจะหมุน ตัวนี้ก็ดูด ตัวนี้ก็ดูด มันไม่ไป มันหมุนอยู่เนี่ย ภาวะที่เป็นมอเตอร์ ถ้ามันไปอย่างนี้เสร็จเลยใช่มั้ยล่ะ
ถ้ามันสุขช่วยไม่ได้ ถ้ามันทุกข์ช่วยไม่ได้ เป็น ไม่เป็นมรรค ถ้ามันเป็นอย่างนี้ มันเห็นอย่างนี้ มันทุกข์ ไม่เป็น ไม่เป็นไร เขานินทาอย่างนี้ เขาสรรเสริญ อย่างนี้ เขานินทา สรรเสริญ รู้ รู้เห็นไม่เป็น นั่นน่ะ อยู่ที่ไหน อยู่ที่เนี่ย อยู่ที่ใจเราเนี่ย ทุกคนทำได้ นี่ก็พูดตรง ๆ แบบนี้ ไม่ยาก อย่าคิดหนัก ง่าย ๆ มือ เรายกมือขึ้น มีหลังมือมั้ย มีหน้ามือมั้ย ถ้าหลงเหมือนคว่ำมือ ไม่หลง หงายมือ เหมือนกระจกเงาทางนี้ อย่าโกงเอา เหมือนส่อง เหมือนบัณฑิตมองตน ถ้าหลงส่องได้มั้ย หลังหน้ากระจก ไม่เห็น ถ้ารู้ไม่หลง เห็น เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง บัณฑิตมองตนอย่างนี้ คนพาลมองคนอื่น คุณไม่ดี เราดี ไม่ใช่ บัณฑิตมองมาหาตัวเรา คนพาลมองไปข้างนอก
เราจึงฝึกตนสอนตนเต็มที่ ไม่ต้องไปทำอะไรอยู่ที่นี่ ไม่ต้องไปคิดว่าจะกินอะไร ใช้ชีวิตยังไง โสตายลองดู คงไม่ตายนะ ถ้าจะตาย เรื่องอะไรเจ็บ ไม่สะดวกเรื่องอะไรบอก พระอาจารย์ตุ้ม อาจารย์โน้ต อาจารย์ทรงสินธ์ น้ำตาไม่มีเรี่ยวมีแรง ไม่มีเรี่ยวมีแรงหลายรูป เพราะฉะนั้นวันนี้ ไม่ได้อยู่นี้หลายวัน อยากจะบอก เวลานี้ขยันบอกเหมือนใกล้จะตายไปแล้ว ห้ามไม่ได้ ไม่รู้วันนี้ ชาติหน้าถึงจะรู้ ว่าแต่มีคนบอกอย่างนี้ เมื่อมันหลงไม่หลง เมื่อมันโกรธไม่โกรธ มีจริง ๆ เมื่อมันทุกข์ไม่ทุกข์ มีจริง ๆ ไม่เป็นทุกข์เพราะความทุกข์ มีจริง ๆ ไม่ได้โกรธเพราะความโกรธ มีจริง ๆ ในโลกนี้ มันก็เป็นอย่างนี้ ตรงกันอย่างนี้ ปฏิบัติตรงแบบนี้