แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน ก็มีเสียงพูดว่า อีกไม่นานคงจะไม่มีเสียง หมดไปเรื่อยๆ ชีวิตก็หมดไปเรื่อยๆ กาลเวลาก็หมดไปเรื่อยๆ พวกเราก็ไม่ค่อยจะพบกันเรื่อยๆ มีผู้ใหม่ มีผู้เก่าตลอดเวลา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็เสียดาย เสียดายคนที่มีทุกข์ที่ไม่เคยได้บอก ไม่เคยได้ยิน คนทำผิด บางคนก็ไม่เคยบอก เขาก็ไม่เคยได้ยิน ไม่รู้ คนหลง เสียดายเขาไม่ได้มีใครบอกเขา เขาก็เลยหลงซะ ในตัวของเรานี้ก็เหมือนกัน ในพุทธะเป็นแก้วใจ เป็นดวงใจ สว่างไสว ใสกระจ่าง เหมือนพระอาทิตย์พ้นจากเมฆ แต่มีอยู่ แต่มันก็มีโอกาสมืดเพราะมีเมฆมาบัง ทำให้มองไม่เห็น การที่จะใช้แสงแดด แสงอาทิตย์เพื่อตากผ้า ผ้าก็มู่หมด เสื้อก็มู่หมด ฝนตกถูกฝนเปียก เพราะเมฆมาบังซะ ไม่ได้แสงแดด บางทีฤดูหนาว หาผิงแดดได้ยาก ในวัดเรา มีแต่ร่มไม้ ต้องออกไปผิงแดดที่ไม่มีต้นไม้ มีอยู่แสงแดด ความมืดก็มีอยู่ในแสงแดด แสงอาทิตย์ แสงสว่างก็มีอยู่ในแสงอาทิตย์ เพราะมีเหตุปัจจัย ในใจเรานี้ก็เหมือนกัน บางทีก็รู้แจ้ง บางทีก็มืด ความหลงพาให้มืด ความไม่รู้พาให้มืด ความรักความชังพาให้มืด ความผิดความถูกพาให้มืด ความโกรธโลภหลงพาให้มืด กิเลสตัณหาพาให้มืด
เหมือนองคุลีมาล อาจารย์สอนผิด พาให้หลง ตัวเองก็คิดผิด พาให้มืด พาให้หลง ต้องรอให้ฆ่าคนตั้งหลายคน หลง อาจารย์สั่งให้ฆ่าคนให้ได้พันคน จึงจะมาเรียนศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมได้ หาคนเรียนได้ยาก ฆ่าไปฆ่าไปก็หลง นับเรื่อยๆ เอานิ้วมือมาแขวนคอ ก็เลยได้ชื่อว่า องคุลีมาล คุลีคือ นิ้วมือ แต่ก่อนก็ไม่ชื่อคุลีมาล เขาชื่อ อหิงสกะ กว่าที่จะได้ยินพระพุทธเจ้าพูด ก็นานเหลือเกิน ฆ่าคนตายมาจำนวนมากแล้ว มาได้ยินพระพุทธเจ้าโปรด องคุลีมาลก็ตรัสคาถาขึ้นว่า แต่ก่อนนี้มืดบอดไม่รู้อะไร เหมือนก้อนเมฆบังแสงอาทิตย์ บัดนี้ก้อนเมฆหมดไปแล้ว สว่างไสวแล้ว เหมือนกับจิตใจที่พ้นจากเมฆหมอกแล้ว ยังคาถาองคุลีมาล เรียกว่าภาษิต โย จะ ปุพเพ ปะมัชชิตวา ปัจฉา โส นัปปะมุจจะติ, โสมัง โลกัง ปะภาเสติ อาภา มุตโต จะ จันทิมา นี่เป็นคาถาบาลี
เราก็มองเห็นส่วนนี้ เป็นชีวิตชีวา อยากจะบอกจะสอน ให้มีพระพุทธเป็นแก้วใจ พระธรรมเป็นแก้วตา ให้เห็นแสงสว่างไสว เวลามันหลงความไม่หลงก็มี เวลามันทุกข์ความไม่ทุกข์ก็มี เวลามันโกรธความไม่โกรธก็มี อะไรต่างๆมีอยู่ ให้มีดวงใจแบบนี้บ้าง ตรงกันข้าม เมื่อมีแก่ก็มีไม่แก่ เมื่อมีเจ็บต้องมีไม่เจ็บ เมื่อมีตายก็ต้องมีไม่ตายอยู่ อย่าพลาดตรงนี้ อันที่เราสวดชาดก สังขารไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด ในความไม่เที่ยง มองเห็นว่านั่นคือความไม่เที่ยง เบื่อหน่ายความไม่เที่ยง เสียเปรียบความไม่เที่ยง หลงในความไม่เที่ยง เป็นสุขเป็นทุกข์กับความไม่เที่ยง ต่อมาเมื่อมันเห็นแจ้ง เบื่อหน่ายเป็นนิพพาน นี่คือแก้วตา เห็นไม่ใช่ตาเนื้อ ตาใน สติปัญญาเป็นดวงตาภายใน ให้มีมาก แก้วหูได้ยินเอาไว้บ้าง ได้ยินเอาไว้บ้าง มีผู้พูดอยู่ ให้คิดได้ว่า เคยได้ยินมาอย่างนี้ เมื่อได้ยินมาอย่างนี้เอาไปทำดูบ้าง มันก็จะเป็นประโยชน์ จึงมีตา มีหู มีใจ เพื่อเอามาใช้ให้เป็นเครื่องมือในการเอาตัวรอดว่าจะเอามาเป็นทุกข์เป็นโทษ นี่คืออาศัยการได้ยินได้ฟัง เรียกว่า สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยินได้ฟัง เอามาทำเรียกว่าภาวนามยปัญญา สิ่งไหนเป็นความไม่ดี เอามาทำ หนีจากความไม่ดีให้มันเกิดขึ้น สิ่งไหนที่มันเป็นทุกข์เอามาทำ หนีจากความเป็นทุกข์ให้มันเกิดขึ้นกับมือกับใจเรานี้ เอามาทำ ไม่เคยได้ยินซะเลยมันก็ไม่รู้ กว่าจะคิดได้ก็ผิดพลาดไปแล้ว จนความผิดมันลงโทษ ความทุกข์มันลงโทษ บางทีคนบางคนก็เข็ดหลาบ เพราะมันโกรธ เพราะมันทุกข์ กลายเป็นคนดี แต่ว่ามันก็สูญเสียไปมากแล้ว
เช่น สมัยหลวงตาอยู่เมืองเลย 40 ปีก่อน ลูกชายฆ่าพ่อ รักเมีย พ่อด่าเมีย เมียอยู่บ้านกับปู่ ลูกชายไปทำไร่ ปู่ก็บ่นให้ลูกสะใภ้ ธรรมดาพ่อกับลูก ก็ไม่มีใครจะบอก ถ้าไม่บอก อะไรที่ควรจะถูก อะไรที่ถ้ามันถูกควรทำ อะไรที่มันผิดควรเลิก เมียก็โกรธให้ปู่ ขี่รถมอเตอร์ไซค์ออกไปหาผัวที่อยู่ในไร่ ไปพูดข้างเดียว ผัวก็โกรธ ขี่มอเตอร์ไซค์เข้ามาในบ้าน สะพายปืนลูกซองมาด้วย พ่อกำลังสานกระติ๊บข้าวอยู่ ก็เดี่ยวปืนจากข้างล่าง จอดมอเตอร์ไซค์ไว้ เดี่ยวปืนขึ้นใส่ปู่ใส่พ่อของตัวเอง พ่อก็เพียงเอาฝ่ามือไว้ อย่ายิงๆ ลูกชายก็ไม่ฟัง ก็ยิง ทะลุมือถูกหน้าผากของพ่อ ล้มตายลง เห็นพ่อตายแล้วจึงคิดได้ ลูกขึ้นรีบขึ้นไปบนบ้าน เสียใจกอดพ่อร้องไห้ว่า พ่อตายแล้วๆ เช็ดเลือด เช็ดอะไร เก็บพ่อไว้แล้วรีบขี่มอเตอร์ไซค์เข้าไปหาสถานีตำรวจในเมือง เข้ามอบตัว ผิดพลาดใหญ่ ก็เลยเป็นคนดีตั้งแต่บัดนั้นมา เป็นคนดี พอฆ่าพ่อแล้วจึงเป็นคนดี เข็ดหลาบ จนได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านก็ยกย่อง เหมือนพระเจ้าอชาตศัตรู ฆ่าพ่อ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพ่อ พ่อเป็นคนดี แต่ต่อมาลูกพระเจ้าอชาตศัตรูก็ฆ่าพระเจ้าอชาตศัตรูอีก ฆ่ากันมาหลายชั่วคน จนประชาชนเบื่อหน่ายกษัตริย์ทั้งหลาย มีแต่ฆ่าพ่อ มีแต่พ่อฆ่าลูก ลูกฆ่าพ่อ อยู่เช่นนี้ เบื่อหน่าย ปฏิวัติ ในพระพุทธศาสนานี่ถ้าไปอ่านดูตามตำรา
นั่นเสียหายแล้ว กว่าที่จะเป็นคนดี ฆ่าพ่อตาย กว่าที่เราจะคิดได้ เป็นทุกข์เป็นโทษแก่ตัวเองและคนอื่น จึงมารู้ไว้ซะ ว่าอย่าเป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วันที่ ๒๒ กันยายน มีได้ยินคนบอก อย่าเป็นทุกข์เพราะความไม่เที่ยง อย่าเป็นทุกข์เพราะความเป็นทุกข์ ถ้ามีทุกข์อยู่ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะความเป็นทุกข์ เอาความเป็นทุกข์มาเป็นนิพพานเลย หัดทำๆๆ ดีใจเห็นมันทุกข์ แก้วตา เห็นแล้ว นี่คือทุกข์ เหตุให้มันเกิดทุกข์ วิธีดับทุกข์ ออกหนีไป เห็นแก้วตา เป็นดวงตาภายใน มีสติสัมปชัญญะ วางลง อย่าไปยึด ว่าทุกข์ คือเราทุกข์ อย่าทำตามความทุกข์ อย่าไปยึดเอาความทุกข์ว่าเป็นตัวเป็นตน
อุปาทานขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยึดมั่นไม่ได้ มันจะทำให้เราหลง แล้วก็ทำตามขันธ์ห้า ยึดเอาไว้ว่าเป็นตัวเป็นตน นี่เรียกว่าวางลง วางลงแล้ว พระอริยะเจ้าสลัดทิ้งของหนัก คืออุปาทานลงแล้ว ไม่ยึดเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก มันก็สิ้นไปแล้วความทุกข์ทั้งปวง มีผู้ทำอย่างนี้ พระพุทธเจ้ารู้เรื่องนี้ สาวกทั้งหลายรู้เรื่องนี้ พวกเราโง่จนมาถึงบัดนี้ ก็รู้เรื่องนี้จริงๆ ดังที่เรามาสวดพระสูตร มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า มีความทุกข์หยั่งเอาแล้ว การทำที่สุดแห่งกองทุกข์นี้ ควรจะมีเกิดขึ้นได้แล้ว ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ คืออะไร ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ ได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ได้ยินไหมความไม่เที่ยง อันเป็นทุกข์ มีไหมทุกข์เพราะความไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน นั่นไปยึดไม่ได้ วางลง ปลงไว้ พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว ทิ้งอันนี้ลงไปแล้ว ไม่ยึดเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก เป็นผู้สิ้นแล้วแห่งทุกข์ทั้งปวง มีเท่านี้ ถ้าใครมีทุกข์ ก็เรียกว่า มีเหตุ มีปัจจัย ที่ทำให้เห็นแล้ว เหมือนเราเป็นหมอ เห็นโรค ตรวจโรคพ่อ โรคภพ ให้หยูกให้ยา โรคหาย โรคแห่งทุกข์หาย โรคแห่งความโกรธหาย เรียกว่า อโรคยา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ก็หมายถึงโรค คือความทุกข์ ความโกรธ ความโลภ ความหลงนี้
อันโลกสังขารร่างกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง อันนี้เรียกว่า รูปโลก นามโลก มีอยู่ในรูป คือกาย อันกว้างศอกยาววาหนาคืบ มีอยู่ในนาม คือมันคิดอะไรได้ เรียกว่านามรูป รูปทุกข์ นามทุกข์ ทุกข์ของรูปมีมากมาย อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ ให้ทุกข์เป็นปัญญา ทุกข์ของนามมีมากมาย เพราะว่าเรามาเห็นแจ้งในวิปัสสนา เห็นเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่ทุกข์ เป็นอาการที่เกิดกับรูป เป็นอาการที่เกิดกับนาม ก็รู้จักแยกรูปกับนาม รู้จักแยกรูปนามออกจากกัน ความทุกข์ของรูป อย่าเอามาเป็นทุกข์ของนาม ถ้าเราไม่รู้ ไม่ศึกษา รูปเบียดเบียนนาม นามเบียดเบียนรูป หมายถึงกายเบียดเบียนใจ ใจเบียดเบียนกาย หิวข้าวใจเป็นทุกข์ ปวดท้องใจเป็นทุกข์ ถ้าใจคนโกรธกลายเป็นทุกข์ กระเพาะไม่ยืด กินข้าวไม่ลง ถ้าเกิดความโกรธ มันก็เบียดเบียนกัน เราจึงมาศึกษากรรมฐานเนี่ย
มีคนถามเมื่อวานนี้ว่า กรรมฐานคืออะไร ภาวนาคืออะไร สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
กรรมฐาน คือที่ตั้งของการกระทำ เอาสติมาตั้งไว้ที่กายให้มีความรู้สึกตัว ถ้ารู้กายมีความรู้สึกตัว กายมันเป็นภาวนาได้อย่างไร ภาวนาคือการเคลื่อนไหว ขยันรู้ คำว่าขยันรู้ คือภาวนา 14 จังหวะ รู้ทุกจังหวะ มือที่เคลื่อนไหว รู้ไปกับการเคลื่อนไหวของกาย เพราะว่ามีฐานคือกายตั้งไว้ ให้มันสมกับว่ากรรมฐาน คือการกระทำ มีที่ตั้งของการกระทำ 14 จังหวะให้รู้ ขยันรู้ วินาทีหนึ่งรู้ทีหนึ่ง วินาทีละรู้ จนความรู้มันมากไปกับกาย เมื่อกายมีความรู้ ความรู้มีอยู่ในกาย ในกายก็เป็นตัวรู้ไปเลย แต่ก่อนกายเป็นตัวหลง ถ้าเรามีกรรมฐาน กายจะเป็นตัวรู้ไปเลย
หลวงตาเดินตอนเช้า ทำวัตรเสร็จเนี่ย ชั่วโมงหนึ่ง ไม่ใช่วินาทีละรู้ วินาทีหนึ่งได้สองรู้ เอาบัดนั้น ทำไมเราจึงทำอย่างนี้ เรามันแก่ จะไปงอเท้างอแขนอยู่ไม่ได้ ต้องวิ่งเอา ไม่ใช่เดินธรรมดา วิ่งเอา วิ่งก็ไม่ใช่วิ่งเฉยๆ แกว่งแขนไปด้วย วินาทีหนึ่งได้สองรู้ ถ้าเราทำอย่างนี้ วินาทีละรู้ หลวงตาชำนาญแล้ว สร้างภาวนามา กรรมฐานมาสี่สิบกว่าปีแล้ว รู้ได้ง่าย ผู้ที่เฮ็ดหน่อยก็รู้ยาก มันหลงง่าย หลงมากกว่ารู้ ไม่เป็นไร เปลี่ยนหลงเป็นรู้นั่นแหละ มันดี ถ้าไม่หลง ไม่ได้จ๊ะเอ๋ความหลง จะไม่เห็นความหลงชัดเจน ให้มันรู้เนี่ย
ภาวนา คือขยันรู้อย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ในตำรา เขาก็ถามว่า พุทโธๆใช่ไหม ไม่ใช่ พุทโธๆเป็นบริกรรม เป็นปากพูด เป็นบริกรรมเข้าไป ไม่มีความรู้ก็ได้ว่าพุทโธ ตัดบริกรรมออก ไม่ต้องว่า ให้รู้เข้าไปเลย ในกายไปเลย อย่าเอาพุทโธมาเป็นภาวนา อย่าเอายุบหนอพองหนอมาเป็นภาวนา อย่าเอาสัมมาอรหังมาเป็นภาวนา บริกรรมอย่าให้มีมาขวางกั้น ให้ตัวรู้เข้าถึงกาย ถ้ารู้ถึงกายก็รู้ถึงใจ นั่นเรียกว่าภาวนาแล้ว อะไรรู้ไปหมด เวลามันคิดก็รู้ เห็นมันคิด ไม่อยู่ในความคิด มันรู้ ก็ไม่อยู่ในความรู้ เห็นแล้ว นี่คือความรู้ มันสงบ เห็นแล้วนี่คือความสงบ ไม่เข้าไปอยู่ในความสงบ มันโกรธมันหลงก็เห็นแล้ว ไม่เข้าไปอยู่ในความโกรธ นี่คือภาวนา มีแต่เห็น มีแต่รู้เข้าไป มันจะมีอะไรเหลือแล้ว อะไรจะเป็นใหญ่
แต่ก่อนไม่มีภาวนา ความหลงเป็นใหญ่ ความสุขเป็นใหญ่ ความทุกข์เป็นใหญ่ ความโกรธเป็นใหญ่ ความรักความชังเป็นใหญ่ ความดีใจเสียใจเป็นใหญ่ เราทำตามความรักความชัง ทำตามความดีใจเสียใจ จนฆ่าพ่อตาย ความโกรธเป็นใหญ่ ถ้ามีความรักก็เสียเปรียบ เสียตัว เสียผู้เสียคนเพราะความรัก อกหักเสียอกเสียใจ ไปเป็นทุกข์ความรักเหมือนกัน ไปเป็นสุขเพราะความรักเหมือนกัน ให้ความรักมาเป็นสุข ให้ความเกลียดให้ความโกรธมาเป็นทุกข์ ไม่ใช่เลย สิ้นซากไปแล้ว
เราเห็นมันแล้วบัดนี้ มีแก้วตา เห็นแล้ว ตาภายใน ความสุขหลอกไม่ได้ นี่คือความสุข ชี้หน้ามันสักว่าสุข นี่คือทุกข์ ชี้หน้ามันสักว่าทุกข์ เห็นแล้วเป็นปัญญาแล้ว ปัญหาเคยเป็น ปัญหาแต่ก่อน บัดนี้ปัญหาเป็นปัญญาไปแล้ว จบไปแล้ว มันมีความจบเป็น ความหลงเป็นการจบเป็น ความโกรธเป็นการจบเป็น ความทุกข์เป็นความจบเป็น เรียกว่าสิ้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า สิ้นแล้ว ชาติแห่งความทุกข์สิ้นแล้ว ไม่มีอีกแล้ว สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว ชาติแห่งความโกรธหมดแล้ว ไม่มีอีกแล้ว ก็เป็นอิสระ
มันจะขนาดไหนชีวิตของมนุษย์ ถ้าเราไม่ศึกษาไม่รู้ มันก็เวียนว่ายตายเกิด โกรธแล้วโกรธอีก กี่ครั้งกี่หน ทุกข์แล้วทุกข์อีกกี่ครั้งกี่หน รักแล้วรักอีก เกลียดแล้วเกลียดอีก กี่ครั้งกี่หน ของอันเก่า บางทีมันรัก บางทีมันเกลียด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่สัจธรรม คนผู้เห็นแจ้ง จะเห็นเรื่องนี้ชัดเจน นี่คือภาวนา
สมถะคืออะไร สมถะคือ กดทับเอาไว้ บริกรรมเอาไว้ หายใจเข้า ตามลมหายใจเข้าไป ไม่เอาเฉพาะลมหายใจ บริกรรมไปด้วย หายใจเข้าพุท... สูดลมเข้า หายใจออกยาวๆ โธ... หนีไปไหนไม่ได้เลย มันหนีไปไหนไม่ได้ มันมัดมือแล้ว พุท...โธ... หลับตาเข้าไปอีก นี่สมถะ เกิดมาก่อนพระพุทธเจ้า ห้าพันปี ไม่มีคำว่าวิปัสสนาสมัยก่อน มีแต่ว่าสมถะ บีบบังคับเข้าไป จนนิ่งเหมือนศิลาก้อนหิน เอาก้อนหินมาทับหญ้า เอาก้อนหินมาทับหญ้า ในแผ่นดินที่นี่เคยมีหญ้าเกิด เอาศิลาเอาก้อนหินมาทับไว้ หญ้าก็ไม่เกิด แต่มันไม่เกิดเพราะธรรมชาติมันมีเครื่องทับอยู่ เมื่อเอาก้อนหินออก หญ้าก็เกิดขึ้นมาอีก
หลวงตาเสียเวลาไปกับสมถะนี่ตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึงอายุเกือบ 30 ปี จึงมาเจอหลวงพ่อเทียน นอกจากความสงบแล้ว ก็เล่นไปอีกกับไสยศาสตร์ไป ทำน้ำมูกน้ำมนต์ ทำเครื่องรางของขลัง เป็นหมอไสยศาสตร์ ไล่ผีไล่สางไป นึกว่าตัวเองวิเศษซะแล้ว ไม่รู้วิปัสสนา สมถะคือทำให้สงบ วิปัสสนา ทำให้รู้แจ้งทะลุทะลวง เห็นตามความเป็นจริง ความหลงไม่จริง ความรู้สึกตัวจริงกว่า นี่คือวิปัสสนา ความทุกข์ไม่จริง ความไม่ทุกข์จริงกว่า นี่คือวิปัสสนา ความโกรธไม่จริง ความไม่โกรธจริงกว่า นี่คือวิปัสสนา ความแก่ไม่ใช่ชีวิตเรา ความไม่แก่มีอยู่ในความแก่ นี่คือชีวิตเรา ความเจ็บไม่ใช่ชีวิตเรา ความไม่เจ็บคือชีวิตเรา อย่าเจ็บเพราะความเจ็บ อย่าแก่เพราะความแก่ อย่าตายเพราะความตาย อย่าทุกข์เพราะความทุกข์ อย่าโกรธเพราะความโกรธ นี่คือวิปัสสนา เห็นมันทุกข์ เห็นมันโกรธ เห็นมันแก่ เจ็บ ตาย เลยไม่ต้องเป็นอะไร
หลวงพ่อเทียน มีคนถาม อธิบาย ไม่เข้าใจ คำว่าหลวงพ่อเทียนพูดว่า เชือกขาด หมายถึงอะไร จะเป็นคำพูดไม่ได้ เรื่องนี้เป็นปรมัตถสัจจะ ถ้าพูดก็เอาสมมติมาพูด มีคนจะแปลหนังสือหลวงพ่อเทียน จากภาษาไทยเป็นภาษาจีน คำว่าเชือกขาด มีคนถามมา คำว่าเชือกขาดคืออะไร อธิบายยังไง มันไม่มีคำพูด ถ้าเอาคำมาพูดก็เป็นสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถสัจจะ เชือกขาด ไม่มีอะไรมาสมมติเลย หลวงพ่อเทียนเลยพูดว่า เชือกมันขาด เหมือนกับนิ้วมือ อธิบายได้ไหม ถ้าสุขไปทางสุข บวกเข้าไป ถ้าทุกข์บวกเข้าไป ถ้าโกรธบวกเข้าไป ถ้ารักบวกเข้าไป ดีใจบวกเข้าไป เสียใจบวกเข้าไป ความดีใจเป็นหนึ่ง บัดนี้เชือกมันขาด ถ้าสุขเห็นมันสุข ไม่ใช่เป็นผู้สุข ถ้าทุกข์เห็นมันทุกข์ จะให้เป็นสุขมันไม่เป็น มันคืนตัว หดตัวไว้ ถ้าสุขเห็นมันสุข มันหดตัว สู่ธรรมชาติ อันไม่เห็น เห็นมันสุขเนี่ย มันอิสระ อิสระมาก ถ้าเป็นผู้สุขกำไว้แล้ว อิสระเห็นมันสุข ฟ้อนรำก็ได้ (หัวเราะ) ใช่ไหม มันเป็นอิสระอย่างเนี่ย ไม่ติดหลวงตาเลยพูดแบบภาษาหลวงตา ไม่เป็นผู้สุข ไม่เป็นผู้ทุกข์ ไม่เป็นอะไรกับอะไร เอาเลยทีนี้ นี่อันเดียวกัน หลวงพ่อเทียนพูดเชือกขาด แต่ว่ารูปเชือกมันมีอยู่นะ ตาก็เห็นอยู่ มองเห็นแม่ชี มองเห็น ตาเห็นอยู่ แต่จะให้เกลียด มันไม่เอา ถ้าจะให้รัก มันก็ไม่เอา หูก็ได้ยินอยู่ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว หูหนวกแล้ว (หัวเราะ) ก็ได้ยินเขายกย่อง สบายใจ มันไม่เอา ถ้าคนนินทา เสียใจ มันไม่เอา อันรสของโลก ตัดขาดแล้วนะ มีอยู่ทุกคนเลย เขาเลยถามว่าใครจะอธิบายเรื่องนี้ได้ ก็แล้วแต่ หลวงตาไม่มีปัญญาที่จะอธิบายแล้ว มีคนถามเยอะแยะ หลวงตาพูดอันเดียวกันไหม หลวงพ่อเทียนบอกเชือกขาด หลวงตาพูดว่าไม่เป็นอะไรกับอะไร อันเดียวกันๆ มันสุขเห็นมันสุข ไม่เป็นผู้สุข มันสุขไม่เป็นสุข มันจะให้เป็นสุขไม่ได้ ขาดออก สู่ธรรมชาติ ความสุขไม่ใช่ธรรมชาติ มันฝืนธรรมชาติ ถ้าเห็นมันสุขไม่เป็นสุข เชือกมันขาด มันออกมา นี่จิตใจเป็นอิสระ แก้วใจแก้วตาแก้วหู มีอยู่แล้วทุกคน เรียกว่ารัตนะ รัตน 3 เหมือนแม่สอนลูก ลูกเอ๋ย เจ้ามีรัตนตรัยแล้วนะ ตั้งแต่อายุหกเดือนโน้น พอลูกโตขึ้นมา แม่บอก เจ้ามีรัตนตรัยแล้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่หกเดือน แม่พาไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้าเกิดศรัทธา ว่า “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ” ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ข้าพเจ้าถือพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ข้าพเจ้าถือพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพเจ้าจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ แม้แต่ลูกอยู่ในครรภ์ของข้าพเจ้า พึ่งเกิดได้หกเดือน ขอถึงพระรัตนตรัยด้วย เป็นที่พึ่ง
นี่คือรัตนะ แปลว่าแก้วอันประเสริฐ อยู่ในชีวิตเรานี้ เคยว่าไหม อย่าเป็นนกแก้วนกขุนทอง แก้วจ๋ากินข้าวกับกล้วยไหม แก้วจ๋ากินข้าวกับกล้วยบ่ กินกับพริก มันก็ว่ากินกล้วยๆ มีโกรธถึงว่าพุทธังอยู่ ไม่ใช่ พุทธังจริงๆมันรู้ตื่นเบิกบาน เห็นความทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ไม่เป็นอะไรเลย เห็นพระพุทธเจ้า เห็นมันสุข ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นพระธรรม เห็นอาการ อาการที่เกิดขึ้นกับกายกับใจเรา นี่เราพูดอย่างนี้ ให้ได้ยินเอาไว้ อย่าจน เสียดาย คนเรามันหลงตรงที่ ให้หลงเป็นหลง แทนที่มีปัญญาตรงนั้น คนที่ทุกข์ ให้ทุกข์เป็นทุกข์ เสียดาย แทนที่จะมีปัญญาตรงนั้น คนที่โกรธเป็นผู้โกรธ เสียดายมาก แทนที่จะมีปัญญาตรงนั้น ได้ยินไหม มีผู้บอกเราแล้ว มีคนบอกแล้ว มีพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาพูดอย่างนี้ ไม่ใช่ดนตรี ไม่ใช่นิยาย ให้ท่านทั้งหลายหลง ให้ท่านทั้งหลายได้เห็นแยก เรียกว่า เทศนามัย แจกแจง ชี้แจงออก นี่ก็ต้องมีบ้าง ที่นี่เขาสอนกันอย่างนี้ นอกจากนั้นก็พาทำ ยกมือซ้ายสร้างจังหวะ เดินจงกรม เอาให้หมดเลย