แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
หลังจากเราได้สาธยายพระสูตรเรื่องพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเป็นศาสนา ศาสนาถ้าจะให้เกิดประโยชน์ต้องนำมาปฏิบัติที่ตัวเรา เราก็ปฏิบัติได้ด้วยวิธีปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 ก็คือเรื่องกายเรื่องใจเรานี้ มันก็คือมีสติ มีสติไปในกาย มีสติไปในจิตใจ อันสิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจมีมาก ให้มีสติเห็น ถ้าสติได้เห็นอาการที่เกิดขึ้นกับกายกับใจตามความเป็นจริง เห็นหลง ความหลงเป็นอย่างไร สัมผัสดู เห็นรู้ ความรู้อย่างไร สัมผัสดู เป็นทางอยู่ตรงนั้น ตรงที่มันหลง ตรงที่มันรู้ มันก็เห็นทางเป็นทางไปอยู่ ภาวะที่หลงภาวะที่รู้กาย ภาวะที่หลงใจภาวะที่รู้ใจ ในอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ เห็นเป็นกาย เห็นเป็นใจ เมื่อเห็นมากๆ ก็เห็นเป็นรูป เป็นนาม
ความหลงเป็นอาการ เห็นจิตที่มันคิด หรือว่าเห็นนามที่มันมีอาการ มันมีนามเหมือนกับไมค์ มันมีสัญญาณอยู่ที่นี่ เวลาเสียงอะไรมา มันก็เก็บเสียงขยายไปอีก ให้มันไปไกล สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับใจเรียกว่านามรูป นามนั้นมันก็ไปไกล ไปบวกกันเข้ากับรูป ไปเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ เป็นสุขเป็นทุกข์ก็นาม ถ้าเรามีสติเห็น อาการที่เกิดขึ้นกับนาม มันก็ไม่เป็นสุขเป็นทุกข์ได้ เป็นอาการ ไม่ต้องเรียกว่าสุขว่าทุกข์ ความสุขความทุกข์มันเป็นอาการของนามธรรม ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ใช่นาม เหมือนไมค์ไม่มี ไม่เก็บเสียงก็ใช้ไม่ได้ ที่มันสุขมันทุกข์เป็น ที่เกิดกับนามนั้น มันบอกถึงความเท็จความจริงอย่างไร เป็นตัวเป็นตนอย่างไร เราก็มีสติเห็น
นี่มันคืออันนี้ ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับนามนั้น มันก็ไม่เที่ยง มันไม่ใช่ตัวตน จะเป็นความสุขความทุกข์ ก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ความรักความชัง ก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็เห็นไปจนจบในลักษณะอาการ อันความไม่เป็นอะไรอยู่ในความเป็นอะไร มันก็ต่างกัน เหมือนกับเราวิ่ง เวลาเราหยุดก็ต่างกันกับการวิ่ง อาจจะเหนื่อย ถ้าเดินธรรมดาก็ไม่เหนื่อย เหนื่อยกายเหนื่อยใจ ถ้าเหนื่อยกายนี่ก็ยังรู้จัก กายมันรู้จักแต่ใจไม่ค่อยรู้ ก็มันมีสติ นึกว่าตัวว่าตนไปซะ เหนื่อยกายมันบอกอยู่ ถ้าร้อนก็อาบน้ำ ถ้าหนาวก็ห่มผ้า หิวก็กินข้าวจนได้
อันใจเมื่อมีทุกข์มันไม่หาทางออก เพราะมันเป็นนามธรรม ยิ่งหมกมุ่นเข้าไป จึงมีสติเต็มที่ อย่าวิ่งตามอาการที่มันเกิดขึ้น สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง ที่เกิดขึ้นกับนามนั้น มีสติเนี่ย การที่เรามาอยู่ในภาคปฏิบัติ ก็เห็นสิ่งเหล่านี้ต่อหน้าต่อตาอยู่ ก็ได้ศึกษาเรื่องนี้ อย่าปล่อยทิ้งไป เวลามันสุขก็เห็นมัน อย่าให้สุขเป็นสุข อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าสติ
ดังที่เราสาธยายพระสูตร วิตกวิจารณ์ ปิติสุข เอกัคคตา หมายถึงตรึกตรองในธรรม บางทีเมื่อมันเห็นแล้ว มันสุข เออ..มันเป็นอย่างนี้ ทุกข์มันเป็นอย่างนี้ ก็ตรึกตรองไป แต่ไม่ใช่ปรุงแต่ง จิตเป็นหนึ่งที่มันเห็นต่อหน้าต่อตา เห็นความทุกข์ก็ไม่ใช่ความทุกข์ มันเห็นแล้วมันตรึกตรองไป มันชื่นใจนะถ้าเห็นดีๆ ถ้าเห็นน่ะ ลักษณะเห็นของสติเนี่ย ไม่ใช่เหมือนตา มันตรึกตรอง มันชื่นใจ โอ... เป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ เป็นเช่นนั้นเอง ไม่เป็นไรน้อ มันตรึกตรองไป เรียกว่าวิตกวิจารณ์ มันก็มีปิติ
เช่น เราเห็น ถ้าเห็นนะ เห็นแม่ตาย เห็นแม่ตายตอนใจจะขาด มันไม่ใช่เรื่องทุกข์ แต่มันเป็นลึกซึ้ง มันเห็นอย่างนี้ ซึ่งเป็นวันที่แม่ของเราหมดไปแล้ว เราก็เห็นลักษณะการตายมันเป็นอย่างนี้ เราก็ลึกซึ้ง มันไม่ใช่ทุกข์นะ มันเป็นปิติแบบหนึ่งที่มันเห็นแจ้งตามความเป็นจริง อะไรก็เป็นเช่นนี้ เรียกว่าชีวิตมันเป็นอย่างนี้ สัตว์โลกเป็นอย่างนี้ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนมันเป็นอย่างนี้ มันลึกซึ้งแบบปิติ มันไม่ใช่ความทุกข์ มันเห็นแจ้ง ลำดับลำนำมันเห็นแจ้งในคำสอนพระพุทธเจ้าด้วย อย่างนี้เรียกว่าปิติ แล้วก็มัวแต่เพลินอยู่อย่างนี้ได้ไง ละออกไป ถอนวิตกวิจารณ์เสียได้ เข้าถึงฌานที่ 2 ที่ 3 มีอุเบกขาวางๆ
อุเบกขาไม่ใช่อุเบกขาที่ไม่ อยู่ๆ ไปอุเบกขาที่มันวาง มันทำแล้ว มันทำแล้ว แล้วจะมีเมตตาก็ทำลงไปแล้ว สงสารแล้ว ช่วยหมดความสามารถแล้ว ช่วยแม่จนหมดความสามารถแล้ว ไปหาหมอก็พาไปหมดแล้ว ยาอะไรก็รักษาหมดแล้ว แล้วก็มีเมตตาอยู่ กรุณาก็ช่วยเหลืออยู่ ทุกอย่างเพื่อไม่ให้แม่ตาย แต่มันก็ทำแล้ว เมตตากรุณาก็ทำแล้ว มันก็ไม่ไหว มันก็ตายลงไป เขาเรียกอุเบกขา อุเบกขาแล้วแลอยู่ วางอยู่ มันเห็น มันทำ มันแสดง มันทำ มันอะไรที่มันทำมาแล้ว แต่มันมาวาง อันนี้ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน ที่แท้คือสตินั่นแหละ
ต่อไปก็เป็นฌานที่ 3 ที่ 4 มันก็มี สุขในฌานนี่มันยิ่งกว่าสุขในกิเลส ตัณหา ราคะ โทสะ ความสุขของโลก สุขของโลกเขาว่าเป็นความสุข แต่สุขในฌานมันยิ่งกว่านั้น มันก็ละไป มีสติ มีแต่สติ จิตเป็นหนึ่ง จิตเป็นเอก ละสุข ละทุกข์ได้ จิตเป็นหนึ่ง มีสติแล้วแลอยู่ มีสติแลอยู่ สรุปลงที่สติ สติคือชีวิตอย่างนี้ เราจึงมาฝึกหัดกัน การฝึกหัดอย่างนี้ก็ได้มาจากโน่นล่ะ ได้มาจากศรัทธาโน่น เราเชื่อ เมื่อเรามีศรัทธา เราก็มีความเพียร ประกอบความเพียร ละความชั่ว ทำความดี ละความชั่ว ขยันละ ความดีขยันทำ เรียกว่าความเพียร แล้วก็มีสติ มันก็เป็นมาตั้งแต่เริ่มต้น เรียกว่าสัมมาทิฎฐิ มันก็เลยทำมา มีสติ
มีสมาธิ สมาธิคือใส่ใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดเฉพาะเรื่อง เวลาเรายกมือสร้างจังหวะ มันเฉพาะ มันไม่หลายอย่าง เวลาเราหายใจก็เฉพาะลมหายใจ เวลาเราเดินก็เฉพาะการเดิน มันเฉพาะ ตลอดทั้งเวลาขับเวลาถ่าย เวลาขบเวลาฉัน ทำอะไรก็เฉพาะ กวาดบ้าน ถูเรือน ล้างถ้วย ล้างชาม เฉพาะๆ มันก็เรียกว่าสมาธิ สมาธิคือมันเรื่องเดียว ไม่ใช่ไปนั่งหลับหูหลับตา ทำอะไรก็เป็นเรื่องเดียว มันก็เข้มแข็งเป็นความรู้ ก็มีแต่ความรู้ หายใจเข้า รู้สึก หายใจออก รู้สึก กายก็เห็นกายเคลื่อนไหว เห็นแต่กายมันเคลื่อนไหว ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ มันก็ละความชั่ว ทำความดี จิตก็บริสุทธิ์ไป มันก็เป็นกอบเป็นกำขึ้นมา หลง มันรู้ เรียกว่าปัญญา อันได้ปัญญาจากปัญหาจากความหลง ไปเรื่อยๆ ไป
อย่างที่เราสาธยาย ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ เรียกว่าศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นพละ เป็นกำลัง พละ5 ศรัทธาพละ-เชื่อว่าทำอย่างนี้มันเกิดอย่างนี้ วิริยะพละ-เพียรประกอบ สติพละ-ขยันรู้ให้มาก สมาธิพละ-เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ ปัญญาพละ-ก็ได้ความหลงหมดไป ความทุกข์หมดไป ความวิตกกังวลหมดไป มันก็หมดแล้ว เรียกว่าปัญญา ปัญญามันเป็นตัวสุดท้าย เป็นวงเล็บปิดสุดแล้วถ้าถึงปัญญา ถ้าหลงก็ได้รู้แล้ว ถ้าทุกข์ก็รู้แล้ว ถ้าโกรธก็รู้แล้ว ถ้าวิตกวิจารณ์ก็รู้แล้ว ปิติก็รู้แล้ว อุเบกขาก็รู้แล้ว สุขก็รู้แล้ว ทุกข์ก็รู้แล้ว มันก็เป็นปัญญาจนถึงที่สุด เรียกว่าผล ทุกข์เป็นมรรค ละทุกข์เสีย วิธีละทุกข์ ทุกข์เป็นผล วิธีที่ละทุกข์เป็นมรรค ละทุกข์ได้แล้วเป็นนิโรธ ก็มีอยู่อย่างนี้ อย่างที่เราสวดสาธยายพระสูตร เราก็ทำอยู่นี้
เหมือนเราอ่านตำรานั่นแหละ เอากายเป็นตำรา เอาใจเป็นตำรา ตำราก็เป็นรูปเป็นนาม รูปมันก็ทำ นามมันก็ทำ อาการที่เกิดขึ้นกับรูป ที่เราเรียกว่าสุขว่าทุกข์ มันก็เป็นอาการ ไม่ใช่สุขคือทุกข์ ภาวะที่เห็น เห็นไปเรื่อยๆ เลยไม่เป็นกับอะไรตั้งแต่ต้น ทั้งๆ ที่หลงก็เป็นรู้ สุขก็เป็นรู้ ทุกข์เป็นรู้ ภาวะที่รู้นี่คือชีวิต ภาวะที่ไม่เป็นอะไรคือชีวิต เราถึงต้องศึกษาคนเดียว ปฏิบัติคนเดียว แต่ลี้อยู่คนเดียวเพื่อให้มันเป็นเอตทัคคะ เราจึงทำยังไง เราจึงจะอยู่ในรูปอย่างนี้ได้
พระพุทธเจ้าบอกเรา ภิกษุทั้งหลายเธอจงจาริกไปผู้เดียว เธอจงปฏิบัติผู้เดียว เธอจึงรู้ผู้เดียว ผิดถูกไม่มีใครรู้ ถ้าเราหลง เราก็รู้ผู้เดียว เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เราก็ทำผู้เดียว จงปฏิบัติผู้เดียว ให้พึ่งตัวเองอย่างนี้ เวลามันสุขปฏิบัติผู้เดียว เวลามันทุกข์ ปฏิบัติผู้เดียวให้เห็น อย่าปิดบังไว้ ให้เราเห็น ได้แก้ได้เปลี่ยน เธอจงยินดีอยู่ป่าผู้เดียว ยินดีอยู่ป่า แม้เราจะอยู่ที่นี่ เราก็อยู่ผู้เดียว ให้อยู่ผู้เดียว จาริกอยู่ผู้เดียว เรานั่งอยู่กับหมู่ ก็เราอยู่คนเดียว เราเดินกับหมู่ ก็เราเดินอยู่คนเดียว เราฉันข้าวอยู่กับหมู่ ก็เราฉันคนเดียว เราก็เปลี่ยนคนเดียว อย่าหลง ตกหมู่แร้งอย่าเป็นแร้ง ตกหมู่กาอย่าเป็นกา อะไรควรวิดออกก็วิดออก เอาออก อย่าหมักหมม สละออก
พระพุทธเจ้าก็บอกทุกวิถี เธอจงวิดเรือของเธอให้มันเบา อะไรมันหนัก อุปทานไปยึดอะไรมา ยึดความรักความชัง มันหนัก ยึดความผิดความถูก มันหนัก ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต มันหนัก เธอจงวิดออก วิดน้ำในเรือออก เรือของเราคือจิตเป็นนาย กายเป็นเรือ สติเป็นหางเสือ ปัญญาเป็นผู้พาย ถ้ามีแต่ปัญญาพาย มันก็หนักอยู่ สุขมาแล้ว ทุกข์มาแล้ว รักมาแล้ว เกลียดมาแล้ว ก็ยังหนักอยู่ เห็นเท่าไหร่ก็ไม่ถึงง่าย ถ้าเราวิดออกตั้งแต่หลงเป็นรู้ สุขเป็นรู้ ทุกข์เป็นรู้ รักเป็นรู้ อะไรต่างๆ เป็นรู้ มันก็เบาไป เบาไป แล่นถึงจุดหมายปลายทางได้ไว ไม่หนัก
เหมือนม้ามีฝีเท้าดี ม้ามีฝีเท้าไม่ดี ก็ละกันไกล ผู้หลงแล้วหลงอีกเรียกว่าฝีเท้าไม่ดี ถ้าเป็นม้าก็เรียกว่าฝีเท้าไม่ดี สุขแล้วสุขอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก อันทุกข์เรื่องเก่ายังเอามาทุกข์อยู่ โกรธเรื่องเก่ายังเอามาโกรธอยู่ รักเรื่องเก่ายังเอามารักอยู่ ดีใจเสียใจ ได้เสียแล้วยังเป็นแผลเป็นรอยอยู่ เรียกว่าม้าฝีเท้าไม่ดี ถ้าวิ่งยังไม่ถึงไหน แต่ม้ามีฝีเท้าดีก็วิ่งได้ไกลกว่า มันอยู่กับเราคนเดียว ปฏิบัติคนเดียว ทำคนเดียว แก้ไขคนเดียว ยินดีอยู่คนเดียว อย่าคิดอะไรที่มันหมกมุ่น กับหมู่กับมิตรกับเพื่อนเกินไป ดีเกินไป
ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ประมาท ในเมื่อผู้อื่นประมาท เขาหลง เราไม่หลง เขาสุข เราไม่สุข เขาทุกข์ เราไม่ทุกข์ คนอื่นจะมาให้เราเป็นทุกข์ด้วย เขาคนอื่นจะให้เป็นสุขด้วย เขาสุขเพราะเขาคิดอย่างนั้นคิดอย่างนี้ เราก็ไม่หลง ไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท ตื่นอยู่ในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละคนโง่ไปไกล เหมือนม้ามีฝีเท้าดี ละม้าที่ไม่มีกำลังฉันนั้น มันก็ไปไกล
วันหนึ่ง 12 ชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง 3,600 วินาที ถ้าเรารู้ ภาวนา ขยันรู้ ขยันรู้นะ หายใจเข้าวินาทีหนึ่ง หายใจออกวินาทีหนึ่ง ไม่เกินไม่ไวไม่ช้ากว่านั้น เดินแต่ละก้าวก็วินาที บางทีจะไวกว่านั้น ถ้าตั้งใจเดิน บางทีเราก็เดินแบบผสมผสานหลายอย่าง สนุก อย่างหลวงตาเดินนี่แกว่งแขนด้วย ให้มันสนุกไปกับภาระ โยคะ กรรมฐาน โยคะ โยคะกรรมฐานไปพร้อมกัน เราสุขภาพไม่ดี แล้วแต่เราจะเอามาใช้ วินาทีหนึ่ง 2 ก้าว ถ้าเดินธรรมดาก็อาจจะวินาทีละก้าว พอดีๆ แต่หลวงตาเดินนี่วินาทีหนึ่ง 2 ก้าว แกว่งแขนด้วย ก็พออยู่ได้เพราะเรื่องนี้ ก็นับว่านี่ขยันรู้ ใครจะรู้มาก แล้วแต่เราจะเก็บเอาคนเดียว จะไปเป็นคณะไม่ได้ ศาสนาเกิดขึ้นจากปัจเจกชน นับหนึ่งคนเดียว ให้เอาคนเดียวก่อน เอาหมู่ไม่ได้ บางทีเรารู้อะไร บางทีก็คิดถึงหมู่ คิดถึงพ่อคิดถึงแม่ อยากไปบอกพ่ออยากไปบอกแม่ อันนั้นก็เอาไว้ก่อน
เหมือนปิงคิยะมานพไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า มีมานพ 16 คนไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พอได้ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ปิงคิยะมานพคิดถึงลุง แต่ 15 รูป 15คนนั่นไม่ได้คิดถึง ฟังไปๆ แล้วปฏิบัติไปตาม ความเห็นไปตาม ทำความเห็นถูกต้องไปตาม ได้เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด 15 คน แต่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์คนหนึ่ง คือปิงคิยะมานพ ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าแล้ว มันไพเราะ มันซาบซึ้งใจ อยากให้ลุงมาฟัง คิดถึงแต่ลุง คิดถึงแต่ลุง ผลที่สุดไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลย ต้องปฏิบัติต่ออีกนาน
บางทีเราก็มีเหมือนกัน เรียกว่าไปคนเดียวก่อน รู้คนเดียวไปก่อน อะไรก็ให้เป็นส่วนตัวไปก่อน ละความชั่วทำเองไปก่อน ทำความดีก็ทำไปก่อน ให้มันไปก่อน ให้ถึงจุดหมายปลายทางแล้ว มันถึงก็บอกถึงความถึง มันจบก็บอกถึงความจบ เราไม่ต้องไปพูดอะไร บางทีเราก็ลำดับตามที่เราไป ภิกษุประพฤติเช่นใด ได้ผลเช่นใด ไปสอนคนอื่นก็สอนตามผลที่เคยปฏิบัติทำเช่นนั้น สอนตนอย่างไร สอนผู้อื่นอย่างนั้น ในธรรมวินัยนี้เป็นอันเดียวกัน อันเดียวกัน คิด สติก็อันเดียวกัน ความหลง ความโกรธ ความทุกข์อันเดียวกัน เปลี่ยนความหลงเป็นความโกรธ ความโลภ ความทุกข์ก็เปลี่ยนอันเดียวกัน เราก็เปลี่ยนได้ก็เป็นอันเดียวกัน เปลี่ยนหลงเป็นรู้ก็อันเดียวกัน เรียกว่าธรรมวินัย
ธรรมคือธรรมชาติ กว้างๆ บาปก็เรียกว่าธรรม บุญก็เรียกว่าธรรม แต่ถ้าจะแยกก็เรียกว่ากุศล อกุศล ความหลงเป็นอกุศล ความรู้เป็นกุศล ความหลงเป็นอกุศลเป็นอธรรม ความรู้เป็นกุศลเป็นธรรมเหมือนกัน แต่มันเป็นกุศล มันดี มันถูกต้อง อันหนึ่งไม่ถูกต้อง ความโกรธเป็นอกุศล ความไม่โกรธเป็นกุศล สิ่งที่เปลี่ยนให้มันเป็นระเบียบอันเดียวกัน เรียกว่าวินัย วิคือวิเศษ นัยยะ-นำไป นำไปสู่ความวิเศษ เปลี่ยนร้ายเป็นดี ให้มันเป็นระเบียบ เอาความผิดเป็นความถูกเป็นระเบียบไปแล้ว เหมือนดอกไม้ที่อยู่ในชามปนกัน เอามาเรียงเข้ากันให้มันเป็นระเบียบ มันก็มีค่า มันมีค่าเพราะมันเป็นระเบียบ เรียกว่าวินัยยะ นัยยะ-นำไป วิคือวิเศษ นำไปสู่ความวิเศษ นำไปสู่ความดียอดเยี่ยม เรียกว่าธรรมวินัย
มันอยู่ที่คนเรานี้ ไม่ใช่บังคับให้ปฏิบัติอย่างนั้น บังคับให้ทำอย่างนี้ ความหลงไม่ใช่วินัย ความไม่หลงเป็นวินัย ความโกรธไม่ใช่วินัย ความไม่โกรธเป็นวินัย มันดีอย่างนี้ ความทุกข์เป็นอธรรม ความไม่ทุกข์เป็นธรรม เราก็มีธรรม มีความเป็นธรรมในชีวิตอย่างนี้ เราก็ได้ไปๆ ปัญหาเป็นปัญญาเรื่อยไป เมื่อเรามีความเป็นธรรมในตัวเรา สังคมก็มีความเป็นธรรม ไม่ใช่ไปเรียกร้อง จึงปฏิบัติคนเดียว เปลี่ยนคนเดียว ศึกษาคนเดียว เที่ยวไปคนเดียวก่อน ทุกคนต้องทำอย่างนี้ มันก็เป็นอันเดียวกันได้ ไม่ใช่ไปเกณฑ์กัน บังคับผลักไสด้วยศาสตราอาวุธ บางทีต้องบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มันก็ไม่สำเร็จ ถ้าเราไม่เริ่มต้นที่เรา อย่างรัฐบาลจะพยายามให้คนไทยทั้งชาติใช้กฎหมาย มาทำที่ตัวเรา มันก็ไม่ใช่คนบังคับ แม้จับไปติดคุกติดตาราง ออกมาก็ยังเป็นโจรผู้ร้ายอยู่ แต่ถ้าเรามาเปลี่ยนอย่างนี้ มันจะเป็นกฎหมาย เป็นธรรมวินัยทันที สันติสุขสันติภาพเกิดขึ้นทันที
มันจึงมีศรัทธามากๆ ในเรื่องนี้นะ ศรัทธาพละไม่ท้อถอย สติพละไม่ท้อถอย ความเพียรไม่ท้อถอย ขยัน ละความชั่ว ขยันทำความดี อยากเห็นมันทุกข์ อยากเห็นมันสุข อะไรที่เป็นตัวทุกข์นี่มันขยัน แม้แต่หายใจไม่ได้มันก็ขยัน ไม่เห็นมันทุกข์ตรงไหน หายใจไม่ได้ มันเจ็บก็ไม่เห็นทุกข์ตรงไหน มันไม่มีจะให้เปลี่ยนเลยว่าทุกข์เนี่ย มันถึงแผ่นดินสุด มันมีอยู่ในชีวิตของคนนี้ ถ้าไม่มีทุกข์ไม่เป็นอะไรมันก็คือชีวิต ชีวิตแบบนี้ ไม่ได้แก่ ไม่ได้เจ็บ ไม่ได้ตาย มันอยู่ในรูป ในนามนี้ ไม่ได้ไปหาที่อื่น
จากการศึกษาเรื่องนี้ศรัทธาพละ มีศรัทธา สัมผัสความหลง สัมผัสความรู้ มีศรัทธาตรงนี้ ทำอย่างนี้มันรู้ ทำอย่างนี้มันหลง รู้จักเข็ดหลาบ เหมือนเราเดินทางผิดก็กลับทางใหม่อย่างนี้ ถ้าผิดตรงไหนมันก็มีปัญญาตรงนั้น เหมือนเดินทาง ถ้าตรงไหนมันหลง มันจะไม่หลงตรงนั้น อย่างเราเรียนอะไรที่มันสอบตกตรงไหน มันจะเก่งตรงนั้น เหมือนกับพระนักเทศน์ ไปเทศน์ปุจฉา อยากให้มันติด อยากให้คนถามให้มันติด ลองดู จะได้มาศึกษาหาตำรา ถ้าเขาถามมันติด แล้วแก้ไม่ได้ จะมาหาอ่านตำรา มันตอบยังไง ตามโวหารของโลก ถ้าปุจฉา วิสัชชนาไม่ได้ เขาปุจฉามา เราวิสัชชนาไม่ได้ นั่นแหละมันดี เราจะได้เลื่อนฐานะของเรา จะได้แจ้ง จะได้ขยันตรงนั้น ไม่รู้สิ่งใด ให้ไต่ถามท่านผู้รู้ ไม่เข้าใจสิ่งใดทำให้เข้าใจ ไม่แจ้งสิ่งใดทำให้มันแจ้งขึ้นมา ไม่ต้องยอม สอบมันไม่ผ่าน มันตรงไหนที่มันไม่ผ่าน วันนี้เราไปสอบข้อเขียน เราสอบยังไง เราเขียนยังไง มาเปิดตำราดู มันผิด มันก็ผิด ก็สอบตก เราไม่เสียใจ เวลามันสอบตกมันยิ่งดี จะได้แจ้งตรงนี้ ตรงมันผิด แต่ข้อสอบมันตกตามบัญญัติสากล แต่ว่าเราไม่ตก เรารู้อย่างเนี่ย
ที่มันหลงน่ะบทเรียนดี ที่มันทุกข์บทเรียนดี อย่าไปหน้านิ่ว อย่าไปหน้าบูดหน้าบึ้งเวลามันทุกข์ แทนที่ยิ้มหัวเราะมันน่ะ สติเป็นเช่นนั้นนะ ไม่ใช่ไปหน้าบูดหน้าบึ้ง ไม่ใช่ไปเศร้าหมอง อยากจะกระชากออกมา ไม่สบายใจๆ ไหนใจมันอยู่ไหนนะ เอามานี่แหละใจ ล้างให้มันสบาย ให้มันดี เอามา เอาใจมา เราจะทำให้มันดี มันก็ไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเอง อุปทานมันหลงของตัวเราต่างหาก มันไม่มีอันว่า ไม่สบายใจๆ มันไม่สบายตรงไหนล่ะ จะมาแต่งให้ มันไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเอาเอง มันไม่สบาย เป็นอุปทานที่มันหลง เห็นมันไม่สบายนั่นน่ะ มันจะดี รักษา เห็น
หรือว่าอย่างที่เราสาธยายพระสูตร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิเห็นอะไร เห็นทุกข์นั่นน่ะ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์นั่นล่ะ เห็นวิธีดับทุกข์ ดับทุกข์ได้แล้วนั่นล่ะ สัมมาทิฐิน่ะเป็นรุ่งอรุณ เหมือนแสงเงินแสงทอง มีหวังจะสว่างขึ้นมา ถ้ามองเห็นแสงเงินแสงทองขึ้นแล้วก็ ไม่กี่นาทีจะสว่าง ถ้าเห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ วิธีดับทุกข์ ดับทุกข์ได้แล้วนั่นน่ะ มันเป็นรุ่งอรุณ รุ่งอรุณของผู้ปฏิบัติ
ถ้าเรามีสติ เห็นมันหลงนี่ ดีแล้ว เห็นมันทุกข์ ดีแล้ว มันก็มีวิธีอยู่ หลวงตาก็บอกง่ายๆ เห็น-อย่าเป็น นั่นล่ะอริยสัจ 4 ทั้งหมดเลย เห็นทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์นั่นล่ะ ทุกข์เป็นผล หลงเป็นเหตุ ไม่หลงเป็นมรรค เมื่อไม่หลงก็ไม่ทุกข์ เป็นผล เป็นมรรค เป็นผลในคราวเดียวกันทันที ไม่ใช่ชาติหน้า นานตายไปแล้ว มันไม่ใช่ มันหลงเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เป็นผลเดี๋ยวนี้ เป็นมรรคเป็นผลเดี๋ยวนี้ อะไรที่มันเกิดขึ้นเป็นอกุศล เปลี่ยนเป็นกุศลมาในคราวเดียวกันน่ะ เพราะเห็นเกิด มันจึงมีไม่เกิด เพราะเห็นแก่ มันจึงมีไม่แก่ เพราะเห็นเจ็บ มันจึงมีไม่เจ็บ เพราะเห็นตาย มันจึงมีไม่ตาย มันเป็นอย่างนี้ มันง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ายากพระพุทธเจ้าไม่สอน
พระพุทธเจ้าสอนในสิ่งที่เราทำได้ ปฏิบัติได้เห็นผลได้ไม่จำกัดกาล มันหลงตอนเที่ยง ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ค่ำคืนดึกดื่นเวลาหลับเวลานอน มันหลงนั่นแหละ จะได้บรรลุธรรม นอนอยู่จะได้บรรลุธรรม อยู่ที่ไหนมีนิพพานอยู่ที่นั่น อย่าให้มันไกลเรา ในความร้อนมีความเย็น เย็นในเตาหลอมเหล็กนั่นมันดีที่สุด ถ้าเย็นในห้องแอร์ไม่ดี เย็นในเตาหลอมเหล็กน่ะ ตรงไหนที่มันร้อนน่ะ เย็นที่สุด ลองดูซิ อย่าให้ร้อนเป็นร้อน ถ้าร้อนก็ไม่ไหวๆๆ ตายแน่ ตายๆๆๆ ถ้าเขาพูดอย่างนั้นล่ะก็ เราก็พูดในใจ ไม่ตายๆ ไหวๆๆๆ ไม่ตายๆ มันจะเย็นในเตาหลอมเหล็ก เย็นใจ มันเย็นได้ทุกกรณี อันเย็นกายมันเย็นไม่ได้ แต่ใจมันต้องเย็นไปก่อน ร้อนกายใจเย็น โลกมันร้อน
แม้ว่าแผ่นดินมันจะไหว ยังคิดสนุกนะ ถ้าแผ่นดินมันแยกมันแตก ไปดูหนังโลกที่นิวยอร์ค ไปดูโลกน่ะ มันแตกแล้ว ไปดูโลกที่เขาฉายให้ดู มันแตก เพราะเราคนใช้ มันน้ำหนักไม่ไหว ทนน้ำหนักไม่ได้ แตกไปหลายช่วงแล้ว แผ่นดินไหว อ้าว ถ้ามันแตกแล้ว กระโดดไปแน่ สนุกนะ คิดเล่นๆ ไป ถ้ามันแตก จะโดดไปนั่น โดดไปนั่น โดดไปนี่ อู้ สนุกดีนะ โลกมันแตก (หัวเราะ) กลัวอะไร
มันทุกข์จะไปไหนล่ะ เอ๊อ หายใจไม่ได้เลยทุกข์หรือไง โอ๊ย ไม่เห็นทุกข์ตรงไหน มันไม่มีอ่ะ ทุกข์น่ะ มันเปราะบางเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค ทุกข์เป็นทุกข์ เป็นว่ากามสุขัลลิกานุโยค อ่อนแอ สุขเป็นสุขเรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยค ผิดทางเส้นนี้ ทางเส้นนี้ไม่ควรเสพ ผู้ที่จะเป็นบรรพชิตไม่ควรเสพ คำว่าเสพคือเป็น สุขเป็นสุข เสพสุข ทุกข์เป็นทุกข์ เสพทุกข์ เรียกว่าทางนี้ สิ่งนี้ไม่ควรเสพ บรรพชิตไม่ควรเสพ บรรพชิตคือผู้เห็นภัย ไม่ใช่หัวโล้นห่มผ้าเหลือง ถ้าใครเห็นภัย อย่าไปเสพ เสพสุขเสพทุกข์ มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยค โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง รักเป็นรัก เกลียดชังเป็นเกลียดชัง พอใจไม่พอใจน่ะเสพ เสพคือใช้ชีวิตแบบนั้น มันผิดไปไม่ถึงไหน
เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง ... ปัญจะวัคคิ ภิกขะเว ตัต๎ระ โข ปัญจะ ภิกขะเว อามันเตสุ ...กามะสุขัลลิกานุโยโค อัตตะกิละมะถานุโยโค มัชฌิมา ปะฏิปะทา พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดปัจวัคคีย์น่ะ ในวันเพ็ญเดือนแปด ทางนี่ไม่ใช่ควรเสพ บรรพชิตผู้เห็นภัยในวัฏฏะ เราจะต้องเกิดแก่เจ็บตายอยู่เช่นนี้หรือ ชีวิตเรา เกิดมาทำไม ร้องไห้เสียใจ สุขๆ ทุกข์ๆ อยู่ทำไม เขาไปไกลแล้ว หลวงตาพูดแล้วพูดอีก ทุกวันนี้เขาไม่หลง ทุกวันนี้เขาไม่ทุกข์ ทุกวันนี้เขาไม่โกรธ เราจะมาหลง มาโกรธ มาเศร้า มาทุกข์อยู่ทำไม มันมีเหรอ มันขี่ช้างขี่เสือมาหรือ อันสุขอันทุกข์เนี่ย มันเกิดเป็นอารมณ์ มันเป็นอาการเกิดขึ้นกับกายกับใจเราเฉยๆ นิดเดียว เส้นผมบังภูเขา เปลี่ยนมันนะ มันหลงเป็นรู้นี่ มันไม่ต้องเหงื่อไหลไคลย้อยอะไร นอนอยู่ก็เปลี่ยนได้ นั่งอยู่ก็เปลี่ยนได้ เดินอยู่ก็เปลี่ยนได้ เวลาใดมันหลง รู้ขึ้นมานี่ แทนที่จะหัวเราะ แทนที่ชื่นใจ ตรงนี้
งานของเราอยู่เนี่ย นี่เป็นงานของเรา แต่ทำยังไงเราจึงจะมีโอกาสต่อหน้าต่อตาแบบนี้ วิธีที่มันต่อหน้าต่อตาเนี่ย มานั่งยกมือสร้างจังหวะเนี่ย เหมือนพระสิทธัตถะในวันเพ็ญเดือนหก คู้แขนเข้า มีสติ เหยียดแขนออก มีสติ คู้แขนเข้า มีสติ ต่อหน้าต่อตาเนี่ย กายก็มีอยู่จริงนี่ คู้แขนเข้า มีสติ เหยียดแขนออก มีสติ ให้มันต่อหน้าต่อตา มันหลงก็หลงต่อหน้าต่อตาเนี่ย มันไม่ลับไม่ลี้หรอก มันโง่ๆ ความหลงเนี่ย ผุดขึ้นมาเลย มันไม่ใช่ฉลาดนะ ยุงมันฉลาดกว่าความหลง มันกัดตรงที่เราไม่เห็นมันนะ ต้องมองหา ยืนรดน้ำอยู่ มันก็รู้ว่าตาเราไปทางนี้ มันไม่กัดตรงนี้ มันมากัดเอาตรงน่องของเรา มันก็ยังฉลาดกว่าความหลงนะ ยุงมันฉลาดกว่าความหลง ต้องเอามือไปไล่มัน
อันความหลงที่มันเกิดขึ้นกับชีวิตเราไม่ต้องเอามือไปไล่ เพียงแต่มีสติเท่านั้นเอง มันก็หายไปแล้ว แล้วมันอะไรมันยากที่ไหนล่ะ มันยากเหรอ ทำแค่นี้มันยากเหรอ ทำไม่ได้ๆ กามสุขัลลิกานุโยค ทำไม่ได้ อะไรก็ยาก อะไรก็ยาก คนไม่มีศรัทธา ผู้มีความเพียรเห็นดงเป็นทุ่ง ผู้ไม่มีความเพียรเห็นทุ่งเป็นป่าเป็นดง ยาก อะไรก็ยาก โบราณท่านว่าใจมีความเพียรประสงค์สาง กลางดงก็ว่าดง ขี้คร้านแล้วกลางบ้านก็ว่าดง