แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เราก็มีการงาน คือ ครึ่งชีวิตของเรา อย่าทอดทิ้ง ไม่ประกอบการกระทำ ชีวิตเราได้มาเหมือนกันหมด มีกาย มีใจ มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ แต่รูปร่างต่างกัน แต่ลักษณะธาตุขันธ์กายใจอันเดียวกัน มีสภาพเช่นเดียวกัน ตามลักษณะ แต่จะต่างอยู่ที่มีการกระทำให้เกิดขึ้นกับชีวิตเรา อันนี้ก็สำคัญ อันไหนก็สำคัญ แต่การใช้ชีวิตประจำวันอย่าให้เวลาล่วงไปเลยเปล่าโดยไม่ทำอะไร วันคื่นล่วงไป ๆ ภูตวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่ทำมันเกิดขึ้น ให้เกิดประโยชน์แก่ตน ให้เกิดประโยชน์แก่โลก ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม แก่ญาติ แก่ทุกสรรพสิ่ง เราก็ทำได้พร้อมอยู่แล้ว วัฒน์พัฒนาตัวเองจึงจะเป็นชีวิตที่มีคุณค่า แต่ถ้าเราเกิดอยู่ต่างกัน ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน บางทีสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เราประมาทอ่อนแอก็อาจจะมีได้ สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เราเข้มแข็งก็มีได้ เป็นคนยากคนจนเกิดมาอยู่กับท้องทุ่งป่าไม้ อดอยาก บางคนก็เกิดมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ลำบาก มีต่างกัน อาจจะได้นิสัยต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อมได้ แต่ถ้าเรามามองชีวิตจริง ๆ นั้น อย่าให้สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเป็นใหญ่เป็นโตให้เรานี่แหละลิขิตชีวิตของเรา พยายามศึกษาเราก็ทำได้ มีมือ ๕ นิ้ว ๑๐ นิ้ว มีกายมีใจ ทำความดีละความชั่ว ได้อยู่
อย่าให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยคุ้มร้ายคุ้มดี แม้แต่เด็กละอ่อนตัวเล็ก ๆ เราก็พัฒนา เด็กน้อยเวลามันตื่นขึ้นมานอนอิ่มแล้ว ก็เตะขาเตะแขนทั้งวันเล่นอยู่ ยกไม้ยกมือ จนวิวัฒน์พัฒนาไปจนแข็งแรง แต่เด็กบางคนไม่ยอมพัฒนา เขาอ่อนแอ ปัญญาอ่อน เหล่านี้ถ้าเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราไม่ถูกต้องก็อ่อนแอทุกอย่าง ก็ถูกโลกครอบงำได้ ไม่คุ้มค่าเราก็ต้องมองชีวิตเรานี้อะไรควรจะเป็นยังไง เราก็เคยศึกษามาแล้ว อะไรที่เป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตเรา ที่เราได้ชีวิตมานี้ เราก็ได้สัมผัสมาแล้ว มีความสุขเป็นยังไง ความทุกข์เป็นไง ความสะดวกสบายเป็นไง ความยากลำบากเป็นไง หลงไหม สุขไหม ทุกข์ไหมกับสิ่งต่าง ๆ การสุขการทุกข์มันผิวเผิน ตื้น ๆ แต่สิ่งที่ลึกเข้าไปอีกยังมี เหนือสุขเหนือทุกข์ยังมี เหนือยากเหนือง่ายยังมี เหนือผิดเหนือถูกยังมี แต่มันตื้นชีวิตเราให้มันลึกอย่าให้อะไรถูกง่าย มันลึกซึ้ง ถ้าเราเบาบางผิวเผิน ตื้น ๆ อะไรก็สัมผัสได้ เปราะบาง ต้นไม้ในดงเปลือกบาง ๆ ต้นไม้ในป่าโคกเปลือกหนา ๆ เปลือกหยาบ ๆ ต้นไม้ในป่าดงมันอ่อนแอ อยู่ในความอ่อนแอ เวลาถูกไฟลวกนิดหน่อยก็ตายไปแล้ว ไม่รักจริง ไม่เกิดหน่อ ผุพังไปเลยเพราะมันอยู่สะดวกสบาย ต้นอื่นโอบอุ้มไว้ลมพัดมาก็ไม่ถูก เวลาไฟไหม้มาก็ตายหมด ตายแล้วเกิดหน่อไม่เป็น เกิดป่าหญ้าคาป่าพงขึ้นมาแทน ต้นไม้ในป่าโคกดูเปลือกหนา ๆ จิตก็มี ต้นไม้ในป่าดงไม่มีจิต มีแต่เปลือกห่อเอาไว้ ก็ต่างกันกับสิ่งแวดล้อมด้วย ชีวิตเราก็เหมือนกันอ่อนแอเกินไป สะดวกเกินไป มักง่ายเกินไป ไม่มีอะไรที่ทำให้เกิดขึ้นกับตัวเราได้ เช่น มันหลง ก็หลงเรื่อยไป มันทุกข์ก็ทุกข์เรื่อยไป คนที่จะเข้มแข็งบ้าง ถูกสัมผัสทำให้เข้มแข็ง ถูกสัมผัสทำให้อ่อนแอไม่ได้ สิ่งสัมผัสก็ต้องมีอยู่ มีตา มีหู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีโอกาสที่พัฒนาชีวิตของเราตลอดเวลา สิ่งที่ลึก ๆ มันมีอยู่ คุณค่าของชีวิตเรามีอยู่ อย่าไปเอาสุขเอาทุกข์เป็นสิ่งขวางกั้นเกินไป เหนือสุขเหนือทุกข์ยังมีอยู่ เหนือยากเหนือง่ายยังมีอยู่ เหนือเจ็บแก่ตายยังมีอยู่ เราคอยแต่สิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดสุขทุกข์อยู่มันไม่ใช่แล้ว ไม่คุ้มค่าชีวิตเราเกิดมาเหมือนมะพร้าวลูกมะพร้าว ผลมะพร้าว พอศึกษาเรื่องมะพร้าว เอามีดฟันไม่เห็นมีอะไร มีเปลือกผุ ๆ แต่ฟันไปอีกซักหน่อย ก็จะเจอกะลาแข็งโอ๊ยไม่เห็นมีอะไร ก็ทิ้งไป บางคนฟันเปลือกแล้วไปเจอกะลาแข็ง ๆ ก็ฟันเข้าไปอีกสักหน่อย แต่ไปเจอเนื้อมะพร้าวโอ้มันมีอยู่ แต่บางคนก็ทิ้งแค่นั้น มะพร้าวก็คงมีแค่นี้ แต่บางคนเพียรพยายามเข้าไปอีก เจาะเข้าไปในเนื้อที่อยู่ในกะลาแข็ง ๆ ก็ไปเจอน้ำ เจอน้ำในมะพร้าวได้ โอ้อันนี้คือมะพร้าว มะพร้าวมีผลตรงนี้เราก็ดื่มน้ำมันได้ แก้กระหายแก้หิวได้ แต่บางคนก็ไปเจอเพียงผิว ๆ นอก ๆ แค่เปลือกกะลา แค่แก่น การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ไปเจอแค่เปลือกที่สุข ๆทุกข์ ๆ เอายากเอาง่าย เอาพอใจเอาไม่พอใจ เหมือนเปลือกมะพร้าว ใช้ชีวิตประจำวันทีไรก็ตกอยู่ในสภาพแบบนี้ สุข ๆทุกข์ ๆ ก็หลงอ่ะ แล้วก็หลงสุข หลงทุกข์ด้วย สุขก็หลงทุกข์ก็หลงด้วย ไปเจอยากก็หลงในความยาก และหลงในความง่าย เหมือนไปเจอแก่น อะไรที่ทำให้มันมี มันก็มี ในกายเรานี้ในใจเรานี้ก็มี มีสุขมีทุกข์ มียากมีง่าย มีผิดมีถูก ผ่าความผิด ผ่าความถูก ผ่าความยาก ผ่าความง่ายเข้าไป มันมี เหมือนเนื้อมะพร้าว พอถึงเนื้อเราก็ไปมีพอใจในงานในการของเรา ผ่านไป 3 ขั้นตอน เจอเปลือก เจอกะลา เจอเนื้อมะพร้าว ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ไปมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เท่านั้นยังไม่พอ ไปมีแค่ศีลสมาธิปัญญาที่เป็นความรอบรู้ เอาความรู้เหตุรู้ผล เป็นญาณ เป็นปัญญา อย่างวิปัสสะโนน่ะมีนะ ปัญญา ความสงบก็มี บางทีไปหลง ติดแหล่งความรู้ ติดแหล่งความสุข ติดแหล่งความสงบ อาจจะไม่กินข้าวกินน้ำเลย ปิติปัสสัทธิ มีเหมือนกัน ในพระโยคาวจรผู้ความเป็นพรต ทำความเพียร สงบนิ่ง แต่มันก็มีเข้าไปอีก มันเหนือ มันดี ถึงน้ำ ถ้าพูดเราคือมรรคผลนิพพาน ไปถึงตรงนั้นแล้วก็เหนือกาลทุกอย่าง เหนือทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องสุขเรื่องทุกข์ เหนือสุขเหนือทุกข์เข้าไป การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน มองอะไรให้ทะลุทะลวงสักหน่อย อย่าไปจน เจอกำแพงเจอหน้าผา หน้าผานั่นล่ะมันจะเรียบลงได้ เหมือนฝั่งน้ำมันจะเรียบลงได้ มันมีโอกาสตามความยาก ตามความทุกข์ ถ้าเห็นความทุกข์นั่นล่ะถูกต้องแล้ว ความทุกข์ที่มันเกิดเคลือบใจ มันไม่เหมือนวัตถุสิ่งของ สามารถราบลงได้ เหมือนกับเครื่องมือ สติ สัมปชัญญะเหมือนเครื่องมือ เคยพูดอยู่เสมอว่า เหมือนใบมีดของรถแทรคเตอร์ ถ้าใบมีดผ่านไปตรงไหนมันก็เรียบตรงนั้น วิ่งตามเดินตามหลังใบมีดมันก็เรียบไปเลย ไม่กระทบกระเทือน สติก็เหมือนใบมีดนั่นแหละ เป็นเครื่องนำให้เกิดความเรียบขึ้นมา รู้แล้ว เห็นแล้ว สุขก็รู้แล้ว ทุกข์ก็รู้แล้ว อะไรเกิดขึ้นกับกายกับใจรู้แล้วทั้งหมด ถ้ารู้แล้วทั้งหมดอันนั้นก็เรียบลง ไม่เป็น เห็น ไม่เป็น มันก็ทำงานแบบนี้ วิชากรรมฐานทำแบบนี้กัน ไม่ได้เหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ได้กำหมัดจัดฟัง ตามความเห็น มีสติสัมปชัญญะเป็นการงานของพระโยคาวจร พวกเราก็ต่างประสบชิวิตกันมามากแล้ว แต่เมื่อมาศึกษาธรรมะเป็นงานอีกอันหนึ่ง งานที่เป็นงานลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องกายเรื่องใจที่จะได้ผลจากกายกับใจ ได้ผลจากการกระทำ มันคืออะไร เราก็มีแบบนี้ มีสูตรแบบนี้ พระพุทธเจ้าสมัยเป็นเจ้าฟ้าชายเขาศึกษาเรื่องนี้จนพบเห็นเรื่องนี้เข้าไป ประกาศจนมาถึงพวกเราก็ไม่ควรจะทอดทิ้ง ชีวิตของเรามีความสำคัญทุกวัน ไม่ใช่ไม่มีงานมีการก็นอนเล่นไม่ใช่ ภายในยังมีอยู่ ยังมีความหลงยังมีปัญหาภายในอยู่ มีความหลง ความสุข ความทุกข์ มีความโกรธ โลภ หลง อันนี้เป็นงานของพวกเรา จึงพากันมาศึกษา มันก็มีเงื่อนมีไข ในกายในใจนี้มีอะไร มันคิดมันชินยังไง มันจะบอกว่าจะมีสติเป็นสูตรที่ย่อยที่แยก รื้อถอน เห็นกายเข้าไปเถอะ เห็นเวทนาเข้าไป เห็นจิตเข้าไป เห็นธรรมเข้าไป เห็นรูปเห็นนามเข้าไป มันมีเลื่อนฐานะไป เหมือนชั้นไป เป็นหมวดเป็นหมู่ไป ก็รู้นี่เข้าไปรู้นั่นไป มันมีหมู่ มีหมวด หมวดบาป อกุศล หมวดกุศล หมวดบุญ หมวดศีล หมวดสมาธิ หมวดปัญญา เป็นเขตเป็นแดนไป ข้ามอันนั่น ผ่านตรงนี้ไป มันไม่ใช่ธรรม ไม่มีอะไรพบเห็น มีสติ ก็มีสติ สติมันมีอะไร สติพอเห็นอะไรที่มันเกิดขึ้นที่ไม่ใช่สติขณะที่เราสร้างสติก็มีอันไม่ใช่สติอยู่ เราก็เปลี่ยนอันที่ไม่ใช่สติให้เป็นสติเรื่อยไป รู้สึกตัวเรื่อยไป นี่งานของเรา ถ้ายังมีหลง ก็ยังมีงานอยู่ ถ้ายังมีความทุกข์ ก็ยังมีงานอยู่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ถ้ายังมีความโกรธ ก็ยังมีงานอยู่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้มันเสร็จไปซะ ผ่านไปซะ จนถึงถ้ามีอะไรที่มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดทุกข์เกิดโทษ ก็รู้แล้ว ทำแล้ว เห็นแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เราจะมาศึกษา ศึกษาคือถลุงคือย่อยคือแยกออก อย่าให้ความทุกข์เป็นความทุกข์ อย่าให้ความโกรธเป็นความโกรธ อย่าให้ความผิดเป็นความผิด อย่าให้ความสุขเป็นความสุข มันมีอยู่ มันก็เห็นแต่ก็บอกเราไป เห็นความหลงรู้สึกตัว ก็เห็นความหลง ความหลงก็เป็ประโยชน์ทำให้เรามีสติรู้สึกตัวขึ้นมาได้ เห็นความทุกข์รู้สึกตัว ในความทุกข์ก็มีประโยชน์ มันทำให้เราเกิดปัญญาได้ เนี่ยะ อย่าไปจน มันแสดง เราตัวเฉลยมันมีโจทย์ เราเป็นผู้เฉลยแก้ต่างให้มันล่วงพ้นไป ความเท็จมันก็ต้องเป็นความเท็จอยู่เสมอไป ความจริงก็เป็นความจริงอยู่เสมอไป สนุกดี เห็นความเท็จเป็นความไม่เท็จ เห็นความทุกข์ เป็นความไม่ทุกข์ อะไรจะดีเท่ากับกรรมฐานมันไม่มีแล้ว ต่างกันวิชาอื่น นี่คือศึกษา ๘๔,๐๐๐ อย่าง เกิดขึ้นกับกายกับใจเรานี้ เราก็รู้ทั้งหมด มันเข้าแถวให้เราเห็น เหมือนเราเห็นช้าง รู้ว่าช้างคือยังไงคืออะไร ถ้าคนตาบอดไปดูช้างเอามือคลำเอาก็เห็นช้างต่าง ๆ กันไป เห็นสุขก็คือสุข คนตาบอดเขาไม่ดูเข้าไปอีก ในสุขก็มีไม่สุข ถ้าเราเห็นมาแล้ว เราก็เห็นอยู่ เขาสุขเขาก็เห็นเขา เขาบอกว่าอันนี้คือสุข อันนี้คือทุกข์ เหมือนคนตาบอดคลำช้าง อันนี้ผิด อันนี้ถูก บางคนได้ความผิดไปบางคนได้ความถูกไป แต่คนตาดีมีอยู่ แต่เห็นช้างเป็นยังไง การเห็นช้างเป็นช้าง เห็นความสุขเป็นความสุข เห็นความทุกข์เป็นความทุกข์ เห็นความสุขเป็นความไม่สุข เห็นความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ ตาดี ตาภายในมันดี เห็นรูปเห็นนามตามความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นกับรูปกับนามเห็นตามความเป็นจริง มีเยอะแยะเหมือนแผ่นดินนี้มีต้นไม้มีภูเขามีแม่น้ำมีสัตว์สาหลายสิ่ง เหมือนกับรูป รูปของเราคือกาย มันก็มีสิ่งที่ตั้งอยู่ในนี้ มีตามีหูจมูกลิ้น มีใจด้วย และก็มีต่อไปอีก มีรูปมีรสกลิ่นเสียงเข้าไปอีกต่อเข้าไปอีก มีรสชาติการสัมผัสในรูปในรสในกลิ่นในเสียงต่อเข้าไปอีก เป็นอาการต่าง ๆ มีอาการเข้าไปแล้วไม่พอ มีอะไรเข้าไปอีก มีอุปทานยึดไว้ เข้าไปอีก ในอาการที่เกิดขึ้นเข้าไปอีก มันไม่หยุดแค่สัมผัส มันต่อเข้าไป เกิดกิเลส ตัณหา ราคะขึ้นมา เข้าไปอีก แล้วก็เป็นภพเป็นชาติ ในภพนั้น ๆ เข้าไปอีก เกิดดับ เกิดดับ เกิด แก่ เจ็บ ตายเข้าไปอีก เกิดหลอก เกิดหลอนตัวเราอยู่เสมอ เป็นสุข เป็นทุกข์ เกิดดับ เกิดดับอยู่เช่นนั้น ยังไม่สิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่เกิดจากนี้ก็เป็นทุกข์แล้ว เสียใจร้องไห้แล้ว ถ้าเราเห็นมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โต เป็นอาการธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ หน้าที่ของธรรมชาติที่มันเป็นอย่างนี้
แต่เราก็ไม่ได้อยู่ตรงนี้เห็นความเป็นจริงของเขา ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ในกระดูก น้ำ หัวใจ ตับ ไต ผัง ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สิ่งเหล่านี้ก็มีโรคของเขา มีอะไรก็มีโรคในร่างกายนี้ ตาก็เป็นโรค หูก็เป็นโรค ตับไตไส้พุงเกิดโรค มันไม่จีรังยั่งยืน ตามความเป็นจริง เนี่ยเหมือนกับแผ่นดินนี้มีอะไรหลาย เนี่ยอย่างรู้หมด สิ่งไหนที่เกิดขึ้นกับกายรู้หมด รู้กับความรู้เนี่ย ความรู้สึกตัวที่มีเห็นแจ้งเป็นวิปัสสนาญาณอย่างนี้ มันจบเป็น มันแสดงอันเดียวเท่านั้น เราจะต้องไปแสดงกับมันทำไม เราเป็นผู้ดูมัน ไม่เป็นอะไรไปกับมัน นี่การเกิดมาของเรา ให้มันจบซะ เกิดขึ้นมาเพื่อไม่เกิด มันหลง มันเกิดหลงเพื่อไม่หลง หยุดเกิดมันเกิดทุกข์เพื่อไม่ทุกข์ พ้นจากการเกิดเป็นทุกข์ อะไรที่มันเกิดจากกองรูปกองนามนี่ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะจำนนตามมันทุกอย่าง เห็นแจ้งตามความเป็นจริง มันก็มีอยู่กันอยู่ทุกคน ศึกษาให้เป็น เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กับกายกับใจ ให้เป็นมีค่ามาก ถ้ายอมทุกอย่าง รับใช้มันทุกอย่างก็วนเวียนอยู่ เหมือนห้วงน้ำ โภคะ ข้ามไม่พ้น เราเกิดมาเพื่อข้ามให้พ้น ร่างกายจิตใจเหมือนพ่วงแพ มีการขับเคลื่อนไปได้ใช้ไปเพื่อข้ามพ้น มีกายทำความดีให้ถึงความดี ละความชั่วให้พ้นจากชั่ว เหมือนพ่วงแพ ไม่ใช่ล่องลอยอยู่ อยู่กับมัน คราวที่มันใช้ได้ เราก็ใช้ประโยชน์แล้ว เราใช้ข้ามทุกเวลา ร่างกายเหมือนพ่วงแพเพื่อข้ามฝั่ง เหมือนสะพานวัดป่าสุคะโต เพื่อให้ข้ามจากฝั่งอรัญวาสี ไปฝั่งคามวาสี ไปมาวันหนึ่งเราก็ต้องข้ามตรงนี้ อรัญวาสี คือ เขตป่า คามวาสี คือ เขตบ้าน ที่เกี่ยวกับบ้านก็มีที่คามวาสี คาเม คือ หมู่บ้านเป็นที่อยู่ของหมู่บ้าน ชาวบ้านมาเกี่ยวข้องที่นี่ก็เพียงถึงแค่ที่นั้น อรัญวาสี คือ เขตป่าที่มีมาใช้ฝึกฝนตนเอง ข้ามไปข้ามมา ถ้ามันคิดแบบโลก ๆ รูป รส กลิ่น เสียง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หลงในรูปในรส ในกลิ่น เสียง เหมือนอยู่ในบ้านเหมือนโลกทั่วไป ก็ข้ามมาแต่มันอยู่ในกายในใจเรานี้ ข้ามให้เป็น มันหลง เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ข้ามได้แล้ว มันทุกข์เปลี่ยนความทุกข์เป็นความรู้ ข้ามได้แล้ว แต่ยังไม่ขึ้นฝั่งนะ เพียงแต่เห็นมันทุกข์ยังอยู่ในเรืออยู่ ถ้าจะขึ้นฝั่งก็ต้องไม่เป็นผู้ทุกข์ขึ้นฝั่งได้ง่าย ๆ ถ้ายังเป็นผู้สุขก็ยังขึ้นฝั่งไม่ได้ เป็นผู้ทุกข์ก็ยังขึ้นฝั่งไม่ได้ เป็นผู้รู้ก็ขึ้นฝั่งไม่ได้ ให้เห็นมัน ถ้าเห็นมันก็ขึ้นง่าย ๆ เห็นมันแก่ ไม่ใช่เป็นผู้แก่ เห็นมันเจ็บ ไม่ใช่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันตาย ไม่ใช่เป็นผู้ตาย นั่นล่ะขี้นฝั่งใช้พ่วงแพสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าได้เห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่อายุ ๓๖ ปี ขึ้นฝั่งได้แล้ว แต่ยังใช้พ่วงแพใช้เพื่อการนี้โดยตรง แล้วก็เอาแพนี้ใช้กายใช้ใจนี้ไปบอกคนอื่น ขับเคลื่อนไป บอกคนอื่น ท่านทั้งหลายก็เหมือนเราตถาคต เราตถาคตก็เหมือนท่านทั้งหลาย เหมือนกับพ่วงแพอันเดียวกัน แล้วก็ท่านทั้งหลายก็เป็นเหมือนเราตถาคตนี้อันเดียวกัน สิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือ ขึ้นฝั่งได้ สิ่งที่คนไหนทุกข์พระพุทธเจ้าก็ไปบอกขึ้นฝั่งหลายคน เพราะไม่ใช่ใครดีกว่า เลิศกว่า
เราเคยทุกข์ มันเปลี่ยนทุกข์ เห็นทุกข์ อย่างพระยสกุลบุตร ทุกข์หนอ ๆ พระพุทธเจ้าที่นี่ไม่มีทุกข์ มาที่นี่ แล้วก็สอนยสกุลบุตร จนขึ้นฝั่งได้ บวชหลังปัญจวัคคีย์หน่อยนึง ในช่วงนี่แหละสิงหาเนี่ย นี่ก็ไม่ใช่วิเศษอะไร เป็นตัวอย่างอยู่ แก่ก็แก่เหมือนกัน รุ่นราวคราวเดียว อายุเท่ากันแก่เท่ากัน คือพระมหากัสสปะ แก่เหมือนกัน จะเรียกว่าเพื่อน สหาย หลายชีวิตที่เป็นพระอรหันต์ รุ่นราวคราวเดียวกัน ชิดไหล่กันได้ เอาอย่างกัน บางทีก็เป็นเพื่อน ปรับสุข ปรับทุกข์ด้วยกัน อย่างราหุลกับพระสวัส รุ่นราวคราวเดียวกัน เณรราหุล เณรสวัส เวลาพระพุทธเจ้าขนาบราหุล ราหุลก็เสียใจ น้อยใจ ด่าเก่ง คนอื่นไม่ค่อยด่าเท่าไหร่ อานนท์ก็ด่าเก่ง ถ้าราหุลงอแงไม่มาฉันข้าว สวัสก็ไปปรับปรุงว่า พระพุทธเจ้าขนาบดุด่าอยู่เสมอ บางทีก็โกรธได้ สวัสก็ต้องไปแก้ เพื่อนอย่างนั้น เพื่อนอย่างนี้ ราหุลก็ดี ในที่สุด บางทีพระพุทธเจ้าก็บอกเพื่อนสวัสไปเพื่อนราหุลมากินข้าวฉันข้าว มาหาหน่อย ก็ไปเป็นเพื่อนกัน เนี่ย เป็นกัลยาณมิตรกัน ช่วยกันได้ พวกเราที่อยู่นี่ก็คล้าย ๆ กัน เป็นเพื่อนกันรุ่นราวคราวเดียวกันก็มี แก่เฒ่า ๆ ก็มี สหายธรรม กัลยาณมิตร มิตรดี เพื่อนดี สหายดี เป็นส่วนประกอบเข้าไป แล้วอยู่นี่เราก็ไม่ใช่อยู่คนเดียว มีมิตร มีสหาย มีเพื่อน อุ่นใจ แม้ไม่มีใครอยู่ ก็เราก็อยู่ มีเพื่อนอยู่ ไม่เปลี่ยวเดียวดาย นี่มีงานอย่างนี้ งานของเรามีอยู่ตลอดเวลา ถ้ายังมีความหลงก็มีงานอยู่ ทำลงไปให้มันรู้ในความหลงนั้น ถ้ามีทุกข์อยู่ก็ทำลงไป ให้เห็นทุกข์มีความรู้ในทุกข์นั้น จะให้เป็นการบ้าน มาทีไร เปลี่ยนได้ ทุกที ๆ ไป นี่เป็นงานของเรา งานชีวิต คือ ได้ชีวิต ถ้ามันหลงเป็นหลงไม่มีชีวิตดีแล้ว ถ้ามีการเจ็บ เป็นเจ็บ ไม่มีชีวิตแล้ว ไม่มีการแก่ การตาย ไม่มีชีวิตแล้ว ชีวิตหมดไปแล้ว ไม่มีค่าแล้ว ชีวิตของเราจริง ๆ เนี่ย ไม่เป็นอะไร กับอะไรเนี่ย ต้องหัด มันทุกข์ เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์เริ่มไปจากที่นี่ มันมีอะไร เริ่มต้นตรงนี้ไปเรื่อย ๆ ไป มันจึงจะไปชำนาญ เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานเริ่มต้นตรงนี้ ไม่ใช่บ้านใช่เมือง จะต้องไปให้ถึงบ้านเป็นเมือง ดำดินบินบนไป ฤทธิปาฏิหาริย์ไป ฤทธิ คือมันหลงให้ความหลงกับความรู้ไป เห็นมันหลงเนี่ย ฤทธิน้อย ๆ นี้ไป ฤทธิอันนี้ถึงมรรคถึงผล ไม่ใช่ดำดินบินบน อยู่ยงคงกระพัน ฤทธิปาฏิหาริย์อันอื่น เห็นไปอย่างนี้ ทุกคนก็มีอย่างนี้ให้ชำนาญเรื่องนี้ เป็นงานที่ชำนาญ เป็นงานที่มีศิลปะเรื่องนี้กัน อย่าไปโง่ อย่าไปแสดงกับสิ่งเหล่านี้ไม่เป็น ดีแล้ว เห็นทุกข์ เห็นหลงน่ะ มันเป็นของจริงอันประเสริฐ พระพุทธเจ้าเลยว่า เห็นอันประเสริฐ ตาที่เราใช้เห็นอันประเสริฐ เห็นผิด เดินไปถูกทิศถูกทาง เห็นอันประเสริฐแล้ว เอาชีวิตรอดได้ พ้นจากความหลงนั่นล่ะประเสริฐแล้วเราพ้นจากความหลงน่ะ พ้นจากความทุกข์ นั่นละประเสริฐแล้ว พ้นจากความทุกข์น่ะ พ้นจากความโกรธนั่นแหละประเสริฐแล้ว ถ้าโกรธเป็นโกรธหลงเป็นหลง ทุกข์เป็นทุกข์ไม่ใช่ประเสริฐเลย ถ้ามีอะไรมาอวดมาอ้างก็ไม่ใช่มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ มันก็มีอย่างนี้ที่เรามามีชวิตเพื่อการนี้โดยตรง ไม่ใช่มาอ้างรูปพรรณสัณฐาน ฐานะ อฐานะ ไม่ใช่ฐานะอะไร ของเราก็นี่แหละอฐานะ อฐานะ คือ มันหลงเป็นหลง อฐานะมันทุกข์เป็นทุกข์ อฐา คือ จน จนต่อความหลง จนต่อความทุกข์ ฐานะ คือ ไม่จน มันหลงไม่หลง มันทุกข์ไม่ทุกข์ มันโกรธไม่โกรธ มันมีอะไรที่ มันเป็น มันเป็น ๆ มันไม่มี ไม่เป็น ๆ นี่แหละฐานะ ผู้มีฐานะก็มีชีวิต มันก็ต่างกันอย่างนี้ อันอื่นไม่ใช่ต่างกัน แล้วแต่จะสมมติบัญญัติเอา ถ้ามีฐานะแบบนี้ ฐานะอันอื่นที่เป็นภายนอก ก็ใช้ได้ เป็นวงจรที่ดี เหมือนเราอยู่ที่นี่ฐานะภายนอกของพวกองค์กรมาช่วยเรา สร้างศาลาให้ สร้างกระแสไฟฟ้าให้ สร้างน้ำสร้างอาหาร ให้เครื่องนุ่งห่มผู้มีฐานะ ผู้ไม่มีอฐานะก็ช่วยอะไรไม่ค่อยได้ มันก็มีส่วนวงจรเป็นส่วนประกอบ ส่วนภายในของเราต้องมีฐานะ เรื่องนี้กัน อย่าจนไม่ควรจนเด็ดขาด ฐานะเรื่องชีวิตเนี่ย ถ้าสุข เป็นสุขไม่มีชีวิตแล้ว ทุกข์เป็นทุกข์ ไม่มีชีวิตแล้ว เราได้ชีวิตมาเพื่อไม่มีชีวิต ชีวิตเรามาเกิดเพื่อเกิด แก่เพื่อแก่ เจ็บเพื่อเจ็บ ตายเพื่อตาย ไม่ใช่ชีวิตเราตามความเป็นจริง ชีวิตจริง ๆ ต้องพ้นจากเรื่องนี้ไป ดีแล้วเราจะได้ชีวิตอยู่รอดทุกวัน ทุกนาที มันเกิดให้เราเห็นต่าง ๆ เราก็รู้มันทุกครั้ง เปลี่ยนได้ทุกครั้ง ไม่เป็นไปกับมันทุกครั้ง นี่เรียกว่าชีวิตที่เราได้มาเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้มีสิทธิ ๑๐๐% สิทธิอย่างอื่นอาจจะไม่ ๑๐๐% เทียบเท่ากันไม่ได้ แต่สิทธิอันนี้เสมอตามลักษณะอันเดียวกัน จึงไม่ควรพลาดโอกาสที่เราได้มีชีวิตอยู่ มีกายมีใจมีรูปมีนาม ไม่ประกอบอย่างนี้ให้เกิดขึ้น ไม่มีค่าเลย พ่อแม่เกิดเรามาก็ไม่มีประโยชน์ ความทุกข์ ความยาก การเกิดของเราเนี่ย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายมา ๒ คน ๒ คน มีความเสี่ยงตาย คือ แม่กับเราอยู่ในครรภ์ ๒ คนเนี่ย ๒ ชีวิตเนี่ยเอาชีวิตเสี่ยงเอา สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตที่มันได้มา มันมีอะไรประกอบ มีพ่อมีแม่มีความรักความเมตตา อยากได้ลูกมีส่วนประกอบจนเลี้ยงลูกใหญ่โต แม่ก็มีนมให้กิน มีมดลูกให้อยู่ ถ้าคนเราไม่มีอย่างนี้มันก็ไม่ถึงร้อยปีหมดไปแล้ว บางคนผู้หญิงไม่มีมดลูก ไม่มีนมให้ลูกนะ มันจะเท่าไหร่ชั่วอายุของคนทุกวันนี้ก็ไม่ถึงเกิน ๑๐๐ ปี ก็หมดไปแล้ว นี่มันก็มีอย่างนี้ เพื่อการนี้โดยตรง ถ้าเรามองดูถึงสิ่งแวดล้อมที่เราได้ชีวิตมามันเป็นเรื่องใหญ่มาก เราจะปล่อยทิ้งให้สุข ให้ทุกข์อยู่ไม่ได้ เกิดมาเพื่อการนี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพ่อแม่ของเรา ๑๐๐% ถ้าเรามาถึงจุดหมายปลายทาง เปลี่ยนไปได้จนไม่เป็นอะไรกับอะไรเนี่ยคุ้มค่า เกิดมาคุ้มค่าแล้ว ต้องเป็นหนึ่งในเรื่องนี้กัน อันอื่นเป็นรอง อย่างพระสิทธัตถะ เกิดขึ้นมา ชี้นิ้วขึ้นเลยเราจะเป็นหนึ่งในโลก คือ เรื่องนี้ แต่เป็นชาติสุดท้ายในโลกเลยทีเดียว จะเป็นหนึ่งศึกษาในเรื่องนี้กัน ก็หลงเป็นครั้งสุดท้าย เริ่มไปจากนี้ ความทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย ความโกรธเป็นครั้งสุดท้าย ชาติภพเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีชาติอีก ไม่มีภพอื่น กามภพ รูปภพ กามสวะ สวาสะวะ วิชชาสวะ สิ้นไป ไม่มีปัญหา มีแต่ชีวิตล้วน ๆ อันเนี่ย มันเริ่มต้นจากตรงนี้ ก้าวแรกจากตรงนี้ คือ มีสติ เห็นไปเรื่อย ๆ ไป มันก็มีให้เราเห็นมีงานให้เราทำอยู่ ถ้าว่าแก่ ว่าหนุ่มสาว ว่าเพศว่าวัย ว่าลัทธิ สำคัญว่าตัวเลิศกว่าเขา สำคัญว่าเราเร็วกว่าเขา
ไม่ต้องเอามาวัดในด้านนั้น เอาวัดในกายในใจเรานี้ มันก็อันเดียวกันอยู่ ก็มีสติ คนก็มีสติได้ สติอยู๋กับเราเวลานี้ กับสติอยุ่กับพระพุทธเจ้าอันเดียวกัน สติอยู่กับพระสงฆ์ กับสติอยู่กับแม่ชี สติกับญาติโยม หญิงชายอันเดียวกัน ความหลงก็เหมือนกัน ความไม่หลงก็เหมือนกันความทุกข์ก็เหมือนกัน ความไม่ทุกข์ก็เหมือนกัน เหนือสุขเหนือทุกข์ก็เหมือนกันอยู่ ไม่ใช่อ๋อ วรรณะเพศอะไรมาที่มาวัด หากปฏิบัติดีมีศีล พระท่านมีศีลกว่าเราไม่ใช่อันเดียวกัน เราก็เคารพสมมติบัญญัติ อย่าไปโทษที่สมมติ พระก็นั่งอยู่ที่นี่ แม่ชีก็นั่งอยู่ที่นู่น ญาติโยมก็นั่งอยู่ที่นู้น มันก็ต้องมีระเบียบแบบนี้ เพื่อฝึกตนสอนตน หล่อหลอมเป็นเบ้าเป็นแบบ เพื่อเข้าแบบเข้าพิมพ์ไปตามฐานะ นี่เป็นสมมติบัญญัติ เป็นปรมัตถ์สัจจะอันเดียวกัน ความหลงไม่หลงก็เป็นปรมัตถ์ ความหลงเป็นสมมติ ไม่หลงเป็นปรมัตถ์ มีสิทธิเท่าเทียมกัน มันทุกข์ ความทุกข์เป็นสมมติ ความไม่ทุกข์เป็นปรมัตถ์ มีสิทธิเหมือนกัน ความโกรธอะไรต่าง ๆ เหมือนกัน เป็นสมมติเป็นปรมัตถ์ ของเท็จ ของจริงอย่าไปหลงของเก่า อย่าไปเมาของใหม่ ให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง นี่คือการงานของเรา ชีวิตของเราได้มาเพื่อการงานอันนี้ งานอันนี้โดยตรง ถ้าหลงเป็นหลง ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ เจ็บเป็นเจ็บ แก่เป็นแก่ ตายเป็นตาย เสียใจทุกข์ใจ เพราะอาการเหล่านั้นไม่ใช่ชีวิต ชีวิตเราต้องเหนือแก่ เหนือเจ็บ เหนือตาย เห็นมันแก่ เห็นมันเจ็บ เห็นมันตาย ไม่ใช่เป็นผู้แก่ ไม่ใช่เป็นผู้เจ็บ ไม่ใช่เป็นผู้ตาย ไม่เป็นอะไรกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นตามสมมติ ตามบัญญัติ ตามอาการ ตามสามัญลักษณะที่มันไหลไปของเขา เราก็เห็นแล้ว เนี่ยก็คืออันนี้ ชีวิตของเราที่มันได้มาเนี่ย ในวันหนึ่ง ๆ เพื่อการนี้ เป็นเพื่อนกันอยู่ด้วยกัน