แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จากที่เราได้สาธยายพระสูตร นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็ให้มีการย้ำลงไปอีก ในการศึกษาปฏิบัติ อย่าได้ประมาท ชีวิตของเรานี้ ความชราแก่เฒ่านำเข้าไม่ยั่งยืน ใกล้เราไปทุกขณะ ๆ เราจะมีอะไรที่เป็นแก่นสารในการที่เรามีชีวิตผ่านมานี้ หลวงตาเดินจากกุฏิมานี้ก็ ก็เหนื่อยแล้วทุกวันนี้ เดินมาทำวัตร ตอนกลับไปก็เหนื่อย มันก็หมดไปอย่างนี้ ต่อไปอาจจะย้ายมาอยู่แถว ๆ กุฏิดิน ทิศตะวันตกของหอไตร มันหมดสภาพไปเรื่อย ๆ อย่ามัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว อย่ามัวเมาในเพศในวัย อย่ามัวเมาในทรัพย์สินศฤงคารอะไรมากเกินไป เตรียมเอาไว้ เตรียมใจก่อนตาย เตรียมกายก่อนแต่ง เตรียมน้ำก่อนแล้ง โบราณท่านว่า เตรียมแล้งก่อนเดิน เวลาเราไม่เตรียมเราจะไปไหนไม่ใช่เราจะอยู่นี่ ต้องมีการเตรียมอะไรไว้บ้าง
สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงตายังมี ได้พบเห็น กำลังเป็นเด็ก ๆ แม่จะนึ่งข้าว สุกแล้วก็ตากแห้งไว้ ใส่ถุงใส่ไท่ไว้ เวลานอน แม่มักจะเอาข้าวแห้งมาแขวนเอวให้ แนะนำวิธีกินข้าวแห้ง แต่บางคืนก็ แม่ก็หอบลงไปนอนในหลุมฝากล้วยในบ้าน ตื่นขึ้นมานอนอยู่ในหลุม ร้องไห้ก็ไม่ได้ จุดตะเกียงก็ไม่ได้ ห่อข้าวแห้งแขวนเอวตลอดเวลากลางคืนน่ะ เวลาพ่อแม่เอาไม่ทัน ถ้าหิวให้เอาข้าวแห้งมาอม อย่าเคี้ยว อมเอา อมแล้วค่อย ๆ กลืนน้ำ มันจะค่อยอ่อนลง เวลามันอ่อนก็มีน้ำลายกลืนลงไป มันมีน้อยอย่าไปเคี้ยวกลืน ค่อย ๆ กลืนน้ำมันเอา มันจะได้หลายชั่วโมงกว่าที่จะได้พบเห็นกัน กว่าที่จะมีคนมาช่วยเหลือ
อันนี้ก็เตรียม เหมือนที่เราจะเดินทางไกล ต้องมีอะไรที่เตรียมไว้ เวลาหนาวมีผ้าห่ม เวลาร้อนมีน้ำดื่ม เวลามีปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วยก็มียาบรรเทาอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เวลาเราเจ็บทำไง เวลาเราแก่ทำไง เวลาเราจะตายทำไง อย่าให้จนเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการเกิดแก่เจ็บตายนี้ ไม่ใช่วัตถุอันอื่น เป็นเรื่องธรรมะ มีสติ มีสัมปชัญญะ เห็น ให้มันเห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันเป็นสิ่งที่ครอบงำเราแล้ว เราทำไฉน การทำที่ สิ่งเหล่านี้ให้มัน ไม่มีแก่ มีเจ็บ มีตาย อันนี้สำคัญ ไม่ใช่วัตถุ ซื้อหาเอาไม่ได้ ต้องเอากายเอาใจนี้ไปศึกษาเอา มีสติสัมปชัญญะ ให้เห็น แล้วก็อย่าประมาท อะไรที่มันเกิดขึ้นให้รู้ มีสติรู้ไป ๆ เฉพาะการที่มันเกิดขึ้น แล้วก็เจอความหลง เห็นหลงเห็นรู้คู่กันไป เห็นทุกข์เห็นไม่ทุกข์คู่กันไป เห็นตัณหาเป็นปัญญาคู่กันไป มันมีอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่กับชีวิตเรา มันมีการบ้าน เราจะมีสติเป็นที่ตั้งเอาไว้ ไม่ใช่ไปหาทรัพย์สมบัติ เงินทองมากมาย มีสติเป็นอริยทรัพย์ภายใน มองการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ทรัพย์ภายนอก ป้องกันร้อน หนาว หิว เจ็บไข้ได้ป่วยส่วนร่างกายได้ ส่วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีวัตถุอะไร ใครก็ช่วยเราไม่ได้ ตัวใครตัวมัน เจ็บไข้ได้ป่วยก็มีคนอื่นช่วย เช่นวันนี้หลวงตาก็มีหมอนัดให้ไปหา หมอก็ช่วย แต่ว่าเวลาเจ็บ เวลาแก่ เวลาตาย ใครจะช่วยเราได้ นอกจากเราหัดเอาไว้ แต่มันก็หัดได้นะ ที่ว่าเป็นทุกข์ มันไม่ต้องทุกข์ ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์นี้
ทุกข์อันนี้คือทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่ อย่างน้อยความไม่เที่ยง ความไม่ทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน ที่เราอาศัยอยู่นี่ เราอาศัยความไม่เที่ยง อาศัยความเป็นทุกข์ อาศัยความไม่ใช่ตัวตนที่มันทำให้เรามีปัญหาตรงนี้ ถ้าเราศึกษา จะได้ปัญญาตรงนี้ ความไม่เที่ยงเป็นปัญญา ความเป็นทุกข์เป็นปัญญา ความไม่ใช่ตัวตนเป็นปัญญา ถ้าเราไม่ศึกษาก็เป็นปัญหา เมื่อความไม่เที่ยงเกิดขึ้น เสียใจร้องไห้ อกหัก ถ้าความเป็นทุกข์เกิดขึ้น เสียใจ ร้องไห้ อกหัก เจียนตาย เมื่อความไม่ใช่ตัวตนเกิดขึ้นเสียดาย ยึดมั่นถือมั่นไว้ นึกว่าตัวเราของเรา หลงวัตถุ หลงตรงนี้กันจำนวนมาก เราจึงมาศึกษาดู มันคืออะไรกันแน่ สิ่งที่มีโทษมันมีประโยชน์ สิ่งที่มีประโยชน์มันมีโทษ ถ้าเราใช้ไม่เป็น เป็นดาบสองคม คุณอนันต์ โทษมหันต์ สุขก็มี ทุกข์เป็นคู่ อะไรที่มัน ไม่ใช่เป็นตัวของตัวมัน มาพร้อมกัน ในสัจธรรม พุทธธรรม มันเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม พุทธธรรมเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก ชีวิตของเราเป็นสัตว์ประเสริฐในโลก อย่าให้ขาดพุทธธรรมนี้ มาเป็นคู่ชีวิตเรา ชีวิตไม่ใช่หายใจได้ เดินได้ ยืนได้ ทำอะไรได้ ไม่ใช่ชีวิตแบบนี้ ชีวิตแบบที่มีชีวิตจริง ๆ มันไม่เป็นอะไร มันเห็น เห็นหลงไม่เป็นผู้หลงเนี่ยเป็นชีวิต เห็นทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ เห็นความโกรธไม่เป็นผู้โกรธ เห็นความร้อนไม่เป็นผู้ร้อน เห็นความหนาวไม่เป็นผู้หนาว เห็นความหิวไม่เป็นผู้หิว เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย ไม่เป็นผู้แก่ ผู้เจ็บ ผู้ตาย นี่คือชีวิต ชีวิตไม่ใช่หายใจเข้าหายใจออก ถ้าหากว่าเจ็บเป็นเจ็บ ชีวิตไม่มีแล้ว เจ็บเป็นเจ็บ ร้อนเป็นร้อน กูร้อน กูหนาว เอากูไปฝากไว้กับอาการที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนาม มีตัวมีตนอยู่ตรงนั้น อันตนแบบนั้นไม่ใช่ชีวิต มีแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นภพเป็นชาติ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ภพภูมิอย่างนั้นไม่จีรังยั่งยืน สุขก็เป็นภพหนึ่ง ทุกข์ก็เป็นภพหนึ่ง เวทนา สัญญา สังขารเป็นภพหนึ่ง มันเกิดดับ ชีวิตเราก็ถูกอาการเกิดดับเหล่านี้ครอบงำ เกิดทีไรเป็นทุกข์ทุกที เกิดทีไรเป็นทุกข์ร่ำไป เมื่อเรามีสติเห็น เห็นสิ่งเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนาม เราก็เกิดปัญญาได้ รู้แล้ว ในความไม่เที่ยงรู้แล้ว เหมือนกับถังขยะ การที่มันทุกข์ความไม่เที่ยง เอาไปทิ้งในความไม่เที่ยง มันเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ทุกข์เป็นทุกข์เอาไปทิ้งในความเป็นทุกข์ มันจริงแบบนั้น ไมใช่เรา ในความไม่เที่ยงก็ไม่ใช่เรา ในความเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวตน เอาไปทิ้งเหล่านั้นแหละ เป็นถังขยะอันใหญ่ สามารถเอาไปทิ้งลงได้ ถ้าเอาความไม่เที่ยงทิ้งลงความไม่เที่ยง เอาความไม่ทุกข์ทิ้งลงไปในความเป็นทุกข์ เอาความไม่ใช่ตัวตนทิ้งลงในความไม่ใช่ตัวตน มันก็สะอาดเป็นพรหมจรรย์ ไม่เปรอะเปื้อนความไม่เที่ยง ไม่เปรอะเปื้อนความเป็นทุกข์ ไม่เปรอะเปื้อนความไม่ใช่ตัวตน เหมือนหน้าบ้านที่มีถังขยะ ในวัดสุคะโตที่มีถังขยะ ไม่มีที่ทิ้ง ถ้าไม่ทิ้งมันมีขยะในหัวใจ ในความเป็นทุกข์ก็มี ในความเป็นทุกข์ทีไรเป็นทุกข์ทุกที ในความไม่เที่ยงเกิดขึ้นทีไรมีความเป็นทุกข์ทุกที เรียกว่าขยะเต็มไปหมด ก็ไม่หัดไม่ทิ้ง ยึดไว้ ถือไว้ นึกว่าเรา มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวใช่ตนของเรา ทั้ง ๆ ที่มันเป็นทุกข์ก็ยังเอามาเป็นทุกข์ เส้นผมบังภูเขา พุทธธรรมตื่นออก มีธรรมในตรงนี้ พุทธธรรม พุทธะ รู้ ตื่น เบิกบาน ธรรมะ ขนส่ง ขนส่งออก ขนส่งตัวเองออก ธรรมะเป็นเรื่องขนส่ง ให้พ้นปัญหาเหล่านี้ พระอรหันต์บางรูป จนอุทานออกมาว่า ชิตังเม ชิตังเม ชิตังเมพ้นแล้ว พ้นแล้วโว้ย พ้นแล้วโว้ย น่าจะให้เขียนไว้ที่โพธิธรรม ขี่เสือน่ะ ขี่เสือ คำว่าขี่เสือนี่คือพ้นแล้ว พ้นแล้วโว้ย พ้นแล้วโว้ย แต่ก่อนเสือมันดุ หลวงตาไปเห็นเสือที่สิบสองปันนา ก็มาแสดงละครได้ ขึ้นฟุตบอล ฟุตบอลใหญ่ ๆ มันก็ขึ้นนั่งบนฟุตบอล มันก็กลิ้งไป ไปข้างหน้า อยข้างหลัง ถอยเป็นวงกลม อยู่บนเวที มันขึ้นอยู่นั่งอยู่บนฟุตบอลนั่น ฟุตบอลเท่ากันกับโอ่งน้ำแน่ะ เสือมันก็ตัวใหญ่ สิงโตก็ตัวใหญ่ ขึ้นนั่งอยู่บนฟุตบอล นั่งสี่ขา ไม่ได้เหยียบพื้น มันก็นั่งอยู่บนนั้น กลิ้งไปกลิ้งมา ไปหน้าไปหลัง วนเวียนอยู่ คนบอกกลิ้งไปไหน มันก็กลิ้งไป นั่นเอามาแสดงละคร มาเล่นให้คนดู เสือมันดุ มันยังหัดได้ เรานี่มันก็อาจจะดุกว่าเสือ อารมณ์นี่มันร้ายกว่าเสือ อารมณ์เป็นคู่กับใจ มีนาม มีรูปมีนาม อารมณ์เป็นคู่กับรูปนามนี้ ครอบงำมนุษย์ มันร้ายกว่าเสือ ทำลายคนมามากกว่าเสือ เสือไม่ค่อยมีการทำลายเท่าไหร่ นี่อารมณ์มันร้ายกว่าเสือ ถ้าขี่มันได้ ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อารมณ์ก็ไม่มีพิษภัย ตั้งแต่เราศึกษาก้าวแรก ผ่านตรงนี้กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา สุขทุกข์ ที่เรียกเวทนาก็สักว่าเวทนา หรือสุขทุกข์นั่นไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ธรรมที่มันเป็นสิ่งที่อารมณ์มาครอบงำ ทั้งรูปทั้งนามก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เช่นความโกรธก็สักว่า ความทุกข์ก็สักว่า ความหลงสักว่า ความรักความชังสักว่า ความดีใจเสียใจสักว่า ธรรมทั้งหมด พูดง่าย ๆ เลยว่าธรรม ถ้าเป็นความดีก็เป็นกุศล ถ้าเป็นความชั่วก็เป็นอกุศล ให้รู้จักแยก กุศลควรทำ อกุศลควรละ เหมือนกับเราเดินทางผิด อะไรผิดก็กลับใหม่ ไปทางที่ถูก ความหลงไม่ถูก ความไม่หลงถูก อย่าหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ บางทีกลางคืนหาเรื่องมาหลงหาเรื่องมาคิด เป็นสุขเป็นทุกข์เพราะความคิด นั่นแหละกุศลอกุศลอยู่ด้วยกันนั้น เอาเลย ถ้าไม่เปลี่ยนตรงนั้นก็ยังหลงอยู่ หลงจนตาย มันหลงรู้ขึ้นมา ให้มีสติเป็นเจ้าบ้านเจ้าเรือนดูแล หัดเอาไว้ เวลามันหลงมีความรู้ เวลามันสุขมันทุกข์มีความรู้ ให้ได้ตลอด สารพัดนึก สารพัดประโยชน์ มาเป็นเพื่อนกัน ใคร ๆ ก็มีสติ ง่าย ๆ ไม่ยาก ถ้ามีสติ มันก็เป็นระเบียบเรียบร้อย สงบร่มเย็น ถ้าหลงก็วุ่นวาย ไอ้ตัวเราก็วุ่นวาย เมื่อเราวุ่นวายคนอื่นก็วุ่นวาย ไปอยู่ที่ไหนก็วุ่นวาย เหมือนหมาขี้เรื้อน ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข ถ้ารักษาหายแล้วมันก็ไม่วุ่นวาย รักษาได้ ความหลงรักษาได้ ความโกรธรักษาได้ ความทุกข์รักษาได้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักษาได้ เหมือนการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ทำได้ ทำได้อยู่ สังขารเปลี่ยนเป็นวิสังขาร
สังขารคือทุกข์ สังขารคือทุกข์ สังขารคือโกรธ โลภ หลง เปลี่ยนได้อยู่
“อนิจฺจา วต สังฺขารา” สังขารเกิดขึ้นแก่เราแล้วหนอ เกิดขึ้นแก่ท่านแล้วหนา
“อุปฺปาทวยธมฺมิโน” มันอุปาทานยึดไว้เฉย ๆ อย่าไปยึด
“อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ” วางซะ ๆ วางมันซะ นึกว่าตัวเราซะ ไม่ใช่ วางลง
“เตสํ วูปสโม สุโข” เมื่อเปลี่ยน วางมันได้ มันก็มีความสุข แทนที่ด่ากันทะเลาะกัน แทนที่หมกมุ่นครุ่นคิด กลายเป็นเย็นขณะเดียวกันทันที
สัมผัสเอาบัดนี้ โอ้โธ่ พุทธธรรม พุทธธรรม ปัดโธ่ ๆ ตื่นทุกข์ หน้ามือเป็นหลังมือ อย่างนี้ ถ้าไม่ใส่ใจตรงนี้ มันก็ปิดบัง จุดไฟในที่มืด ส่องแสงสว่างในที่มืด คือลักษณะแบบนี้ พระอาทิตย์สว่างในกลางวัน พระจันทร์สว่างในกลางคืน ธรรมะสว่างทั้งกลางวันกลางคืน สว่างกลางคืนคือมันมืด สว่างกลางวันคือความสุขความทุกข์มืดสีขาว อย่าหลง รู้ขึ้นมา ไม่หลงทั้งสุข ไม่หลงทั้งทุกข์ ทุกข์ก็เป็นสังขาร สุขก็เป็นสังขาร อย่าหลง เรียกว่าพุทธธรรม มีอยู่ในชีวิตเรานี้ เอามาใช้ เอามาใช้
วิธีใช้อริยทรัพย์นี้ก็มี หายใจเข้ารู้สึก เคลื่อนไหวรู้สึก อย่าไปใส่ใจอันสุขอันทุกข์ กลับมาหาตัวเอง นอนอยู่ก็หายใจเข้า หายใจออก นั่งอยู่ก็หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ไม่จนเรื่องนี้ อย่าจน เอามาใช้ ถ้าใช้ยิ่งมาก รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ ต่อความรู้เอาไว้ ความหลงก็สั้นลง ถ้าต่อความหลงความรู้สั้นลง จนหมดไป บอดไปเลย โกรธจนตาย หลงจนตาย ทุกข์จนตาย ไม่มีใครตาบอดเท่ากับคนที่ไม่รู้จักเปลี่ยน ไม่มีใครหูหนวกเท่ากับคนที่ไม่ฟังเสียงตัวเอง เสียงสงบมันมีกว่าเสียงอะไร
อาจารย์พุทธทาส “ตบมือข้างเดียวเสียงดังก้อง มือท่านตบสองข้างเสียงดังได้ เสียงมือฉันดังก้องทั้งโลกา เสียงมือท่านดังไกลไม่กี่วา”
ความสงบมันดัง ความวุ่นวายมันนิดหน่อยได้ยินแต่ตัวเอง วุ่นวายแต่ตัวเอง แต่เสียงสงบมันสงบไปทั่ว สักแต่ว่า มันสงบ กายสักแต่ว่ากายมันดังมาก ไม่ใช่สุขทุกข์ เวทนาสักเวทนามันดัง ดังกว่าที่จะเป็นสุขเป็นทุกข์ จิตก็สักว่าจิต มันดังกว่าที่จะหมั่นฟุ้งซ่าน ธรรมสักว่าธรรมมันดังกว่าที่ไปปรุง ๆ แต่ง ๆ เป็นสุขเป็นทุกข์ คุ้มร้ายคุ้มดี ถ้าเราไม่มี ฝึกเอาไว้มันก็จนตรงนี้ ถ้าจนตรงนี้ก็จนไปเรื่อย ๆ ไป โซ่ไม่แก้ กุญแจไม่ไข ติดไปเรื่อย อะไรก็ติดถ้าผ่านตรงนี้ไปก็ง่าย ง่ายเหมือนขาขึ้น ถ้าลงก็ง่าย ถ้าเราขึ้นมาสุคะโต ถ้าขาลงไปก็ไม่เปลืองพลังงาน เหมือนรถเอียงไปไหลไป ถ้าผ่านตรงนี้ก็เอียงไปไหลไป ผ่านไตรลักษณ์ก็ไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน ถ้าผ่านตรงนี้เอียงไปไหลไป สู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย เหมือนทะเล มหาสมุทร ที่สูงไหลลงสู่ที่ต่ำ ไม่มีอะไรขวางกั้น น้ำจากลำปะทาวนี้ ที่เกิดจากภูหลง ไหลไป ไหลไป ไหลไป ผ่านบ้านนั้นเมืองนี้ มาหน้าวัดเราไปโน้นไปนี้ไปตาดโตน ตกลงแม่น้ำชี แม่น้ำชีตกลงแม่น้ำมูล แม่น้ำมูลตกลงแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงตกสู่ทะเล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลก็ถูกมหาสมุทร ถ้าเปลี่ยน ถ้าเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง เห็นกายสักว่ากาย เวทนาสักว่าเวทนา จิตสักว่าจิต ธรรมสักว่าธรรม เอียงไปไหลไป เทไปสู่มรรคสู่ผล เริ่มต้นเห็น เห็นไม่เป็น ไปแล้ว หลุดโซ่ไปแล้ว หลุดหลักหลุดตอไปแล้ว เห็น ไม่เป็น พ้นไปแล้ว พ้นจากสุขไปแล้ว พ้นจากทุกข์ไปแล้ว พ้นจากความพอใจความไม่พอใจไปแล้ว เอียงไปไหลไปแล้ว ถ้าเป็นเนี่ยะ ไปไม่ได้ สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ ไปไม่ได้ ต้องเปลี่ยนตรงนี้ให้ได้ มันมีให้เราเปลี่ยนอยู่ เวลาเรามีสติมันก็เห็นความหลงอยู่ ให้มันเป็นคู่กันไป หลงทีไรรู้ที่นั่น สุขทีไรรู้ที่นั่น แรก ๆ ก็เห็นกายมันจะหลงกาย สิ่งที่มันเกิดกับกายมักจะเป็นตัวเป็นตน เช่น ความร้อน ความหนาว ความปวด ความเมื่อย ความหิว ความอะไรต่าง ๆ มันจำเป็น มันเคยชิน มันเป็น บางทีอาจจะร้อง โอย ปวดเข่า เวลาร้องโอยหน้าตาก็โอย โรย ๆ ไป ร่วงโรยไป ถ้าเห็นมันจะยิ้ม ๆ สักหน่อย เห็นมันปวด หัวเราะมัน ยิ้ม ๆ ไม่โอย มันก็เปลี่ยนลักษณะ วิถีชีวิต ถ้าโอยนี่หนัก ถ้าเห็นนี่เบา ๆ ไม่เป็นนี่ยิ่งเบา ที่เกิดกับกาย ที่เกิดกับใจก็เหมือนกัน โอยเหมือนกัน ไม่ไหว ๆ ตาย ๆ ๆ แย่อย่างนี้ อย่างนี้ไม่ไหว อย่างนี้ไม่เอา อย่างนี้เอา มันก็ยังติดโซ่อยู่ ถ้าเห็นสักว่าจิต มันก็ไปแล้ว อันที่เกิดจากจิต ความรักความชัง ความโกรธ ความอิจฉาพยาบาท อะไรที่มันเกิดขึ้นมา เห็น ไม่เป็น มันก็เบาไป อาจจะหัวเราะความโกรธ หัวเราะความทุกข์ หัวเราะความหลง หัวเราะความเจ็บ ความชัง ดีใจเสียใจ มันเป็นอาการ ไม่ใช่ใจ มันเป็นอาการของนามธรรม ความร้อน ความหนาว ความปวด ความเมื่อย ความหิวเป็นอาการของรูปธรรม มันเป็นรูปธรรม มันเป็นนามธรรม
อันความสุขความทุกข์ที่เกิดจากรูปธรรม นามธรรม เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์สัจจะ พูดแล้วพูดอีกเช่นความหลงเป็นสมมุติ เป็นสมมุติบัญญัติ ความหลงไม่เป็นความรู้เป็นปรมัตถ์สัจจะ มันจริงกว่ากัน ความหลงไม่จริง ความไม่หลงจริง ความโกรธไม่จริง ความไม่โกรธจริง ความทุกข์ไม่จริง ความไม่ทุกข์จริง ปรมัตถ์ วัตถุอาการ กายก็เป็นวัตถุเรียกว่ารูป นามก็เป็นวัตถุเรียกว่านาม มีรูปมีรสมีกลิ่นมีเสียงเป็นวัตถุ เมื่อตาเห็นรูปเป็นอาการเกิดขึ้น เกิดการเห็นเป็นอาการ ถ้าเห็นแล้วพอใจไม่พอใจเป็นสมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติเอาอาการที่เห็น เมื่อมีการสมมุติบัญญัติ ก็มีอุปาทานยึดว่าเรา ว่าเราว่าของเรา เป็นภพเป็นชาติตรงนั้น มีอุปาทานยึด สุขของเรา ทุกข์ของเรา มันต่อเนื่องกันไปอย่างนี้ มันเป็นสูตรอย่างนี้ สูตรรื้อถอนเป็นอย่างนี้ สูตรไม่รื้อถอนก็เป็นอย่างนี้
พระพุทธเจ้าจึงเห็นว่าโครงเรือนทั้งหมด เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว ยอดเรือนเรารื้อเสียแล้ว โครงเรือนทั้งหมดเรารื้อเสียแล้ว คือรื้อจากที่นี่ รื้อจากวัตถุอาการเหล่านี้ ต่อไปทุกข์ สุขทุกข์จะไม่มีอะไรเจอเราอีกแล้ว จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพอะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันถึงพระนิพพาน มันก็ไปอย่างนี้ ไม่ใช่อยู่ ๆ จะเหาะหิ้วไปที่ไหน ความทุกข์เย็นลง ความโกรธ ความโลภ ความหลง อาการต่าง ๆ เย็นลง สักแต่ว่า ตาเห็นรูปสักแต่ว่า หูได้ยินเสียงสักแต่ว่า จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส จิตใจคิดนึก สักแต่ว่า มันจะไม่มีอะไร ถ้าเราไม่มีสติ มันจะไม่สักแต่ว่า เป็นภพเป็นชาติ เกิดแต่เหตุ ดับแต่เหตุ ก็อยู่ตรงนี้ อย่างในปฏิจจสมุปบาท ธรรมที่ทำให้เกิดทฤษฎีที่ยอดเยี่ยม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรมผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นอย่างนี้
ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร คือความไม่รู้ อวิชชา เมื่อมีอวิชชา ก่อให้เกิดสังขาร ปรุงแต่งไป สังขารเกิดนามรูป สุขทุกข์เป็นนามรูป ดีใจเสียใจเป็นนามรูป นามรูปก่อให้เกิดอายตนะ มันก็ต่อกันไป อายตนะเกิดผัสสะ ผัสสะเกิดเวทนา เวทนาเกิดตัณหาอุปาทาน เกิดภพเกิดชาติ ชรา มรณะ โสกะปะริเทวทุกข์ เกิดดับ เกิดดับ ตายตรงนี้ มันก็เพราะมีวิชชา มีสติ มันก็เป็นวิสังขาร มันก็ทวนกลับขึ้นมา เมื่อไม่มีสังขารก็ไม่มีนามรูป มีแต่รูปนามธรรมดา นามรูปที่เกิดดับ เกิดดับ ไม่มี อายตนะก็ไม่มี สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มี ชาติภพไม่มี เรียกว่าสิ้นภพสิ้นชาติตรงนี้ มันไม่ใช่ไม่มี อะไรที่มันไม่เห็น ธรรมเห็นอยู่ เหมือนเราจะรื้อบ้าน วิธีรื้อทำไง ถ้าศาลาหลังนี้จะรื้อมันจะทำยังไง จะไปขุดเสาออกเลยหรือ มันทำไม่ได้ ต้องเอาแปมันออกก่อน หลังคาก่อน ค่อย ๆ รื้อลงมา ๆ จนเอาเสาออกเป็นครั้งสุดท้าย เพราะมันรู้ความหลงเป็นครั้งสุดท้าย เพราะมันรู้ความโกรธเป็นครั้งสุดท้าย เพราะมันรู้ความทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย อย่างนี้ เรียกว่ามันมีสูตรแบบนี้ สูตรของคน ไม่ไปที่ไหนอันเดียวกัน ความหลงก็อันเดียว ความโกรธ ความทุกข์อันเดียว เป็นทุกข์ก็แบบเดียวกัน ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตนเป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์เป็นทุกข์ และความไม่เที่ยงไม่เป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนไม่เป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์ อันเดียวที่นี่ ไม่ใช่คนละอัน อย่าเอาเพศ เอาวัยมา มาขวางกั้น นักบวชฆราวาสคนหนุ่มคนแก่ ไม่เกี่ยว ชาติใดนุ่งผ้าสีใดลัทธิใดไม่เกี่ยว อ่านหนังสือได้ไม่ได้ไม่เกี่ยว ความรู้ความหลงมีอยู่ทุกคน อ่านตรงนี้แก้ตรงนี้ เปลี่ยนตรงนี้ ถ้าไม่อ่านตรงนี้ อ่านไม่ออก จนตรงนี้ มืด หลงเป็นหลง ปุถุชนมืดหนา มืด ปึก(โง่)หนาสาโหด ถ้าหลงเป็นรู้ดูว่า มีปริญญาแล้ว ใครก็ทำได้ อย่าไปอ้างมันสมอง ไม่ต้องไปใช้มันสมองความคิดเหตุผล เหตุผลไม่ใช่สัจจะธรรม ความหลงความไม่หลง เหนือเหตุเหนือผล ความทุกข์ความไม่ทุกข์เหนือเหตุเหนือผล แม่นบ่ล่ะ ห่ะ ความหลงกับความไม่หลง ใครเป็นคนบอก ใครเป็นคนเห็น เรานี่เป็นคนเห็น ใช่ไหมแม่ชี