แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมต่อ เพื่อให้เป็นส่วนประกอบ กับการศึกษาปฏิบัติธรรม ให้ได้ยินหลายๆอย่าง เราได้สาธยายพระสูตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แม้เรายังทำไม่ได้ก็เห็นทิศทางเห็นทิศเห็นทาง เป็นสูตรที่หลีกทิศทางนี้ไม่ได้ สักวันหนึ่งเราอาจจะทำได้ ก็เป็นไปได้ ถ้าเราไม่ค่อยเห็นทิศเห็นทางก็งม มันก็ไม่ชัดเจนเสียเวลาล่ำเวลา
พระสูตรนี้ น่าสรรเสริญพระอานนท์ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมพระเทศนากัณฑ์นี้ อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นเทศนากัณฑ์แรก อานนท์ยังไม่ได้บวชเลย ตั้งเกือบปี ที่ไปตั้งวัดเวฬุวัน จึงสถาปนาพุทธศาสนาเกิดที่นั่น พระอานนท์มาบวชที่นั่นในวัดแรก เมื่อบวชแล้วพระอานนท์ก็ได้ตั้งให้เป็นพุทธอุปัฏฐาก เมื่อตั้งเป็นพุทธอุปัฏฐากแล้ว เพื่ออะไร ก็เลยรับผิดชอบว่าต้องรู้เรื่องธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้หมด ถ้าไม่รู้เรื่องนี้ ไม่รู้ว่าเป็นพุทธอุปัฏฐากไปทำไม เมื่อมีใครมาถาม จะได้ไม่ขาดตรงบกพร่อง เก้อเขิน จึงศึกษา ศึกษาก็กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระองค์ไปแสดงธรรม ณ ที่ใด พระอานนท์ไม่ได้มีโอกาสไปด้วย ขอให้มาเล่าให้ฟังด้วย ทวงถาม ตั้งแต่เทศนากัณฑ์แรกเทศน์เรื่องอะไร พูดเรื่องอะไร พระพุทธเจ้าก็เล่าให้ฟังหมด ที่ไหนๆ เป็นอย่างไร อานนท์ก็จำเอา ใส่ใจ อาจจะไม่มีคอมพิวเตอร์ อาจจะไม่มีกระดาษดินสอ แต่ก็จำไว้ในหัวใจของพระอานนท์
จนมาทำสังคายนาครั้งแรก พระพุทธเจ้าปรินิพานไปตั้ง 7 เดือน พระอานนท์ก็ยังแม่นยำจำได้ทั้งหมด สาธยายพระสูตรต่างๆ ให้สงฆ์ทั้งหลายได้ฟัง มีพระมหากัสสปะเป็นประธานในที่นั้น ได้มีมา จนเป็นพระสูตร เป็นพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์แบบ แล้วธรรมจักรที่เราได้ฟังมาเนี่ยเรามาศึกษาดูก็เป็นความจริง เป็นความจริงอยู่ในชีวิตเรานี้ ขัดแย้งไม่ได้ ตัดทิ้งก็ไม่ได้ ต่อเติมก็ไม่ได้ เป็นเรื่องที่ปฏิบัติโดยตรง เป็นไออุ่นอยู่ ยังมีไออุ่นในธรรมจักร ถ้าเราศึกษาปฏิบัติ มีสติตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในอริยมรรค มีสติเห็นของจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรค มรรค มันยังมีอยู่ในชีวิตเรานี้ เราทำกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร แค่ไหน เพียงไร เวลาเราเจริญสติ เพียงแต่มันหลง เราก็รู้แล้ว ทำได้แล้ว ทำแล้ว ทำลงไปแล้ว แม้ความหลงยังไม่หมด ยังมีอยู่อีก ก็ได้ทำแล้ว เราได้ทำทำแล้ว รู้แล้ว ทุกข์ก็รู้แล้ว เหตุให้เกิดทุกข์ เราทำได้แล้ว ละได้แล้ว บางทีก็ถึงขนาดนั้น อาจจะมีอะไรที่เราได้ชนะมาบ้างแล้ว หรือไม่ชนะก็เบาบางลงบ้างแล้ว เยียวยาลงไปบ้างแล้ว จะเป็นทุกข์ เป็นสมุทัย เป็นนิโรธ เป็นมรรค มรรคก็ทำอยู่มากแล้วนิโรธทำให้แจ้งแล้ว สมุทัยก็ละได้บ้างแล้ว ผลคือมันทุกข์ก็รู้แล้ว นี่คือทุกข์ไม่สงสัย นี่คือความไม่ทุกข์ก็ไม่สงสัยแต่ยังทำไม่ได้ นี่คือความหลง นี่คือความไม่หลง รู้แล้ว เป็นทิศเป็นทางไปแล้ว
แม้ยังทำไม่ได้ก็รู้แล้ว มีหวังได้ มันเกิดขึ้นทีไรก็เรื่องเก่า ทำแบบเก่า สิ่งที่เราได้เคยผ่าน ผ่านมือ ผ่านตา ผ่านชีวิตเรามาแท้ๆเหมือนเราเคยผ่าน ณ ที่ใด เราก็รู้ว่า โอ้นี้...ตรงนี้เคยผ่านมาแล้วเคยเห็นแล้ว เช่น ไปท่องเที่ยว ไปอินเดีย ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงธรรม ที่ปรินิพพานแต่ก่อนเราไม่เคยเห็น พอเราเห็นก็ขยายไปในหัวใจเรา มโนภาพเป็นจริงขึ้นมา ตามรูปที่มันปรากฏมีอยู่ ในสถานที่ประสูติ ในสถานที่ตรัสรู้ ก็มีมโนภาพทั้งที่นั่น สัมผัสกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่นั่นบ้าง ในสถานที่แสดงธรรมก็ไปสัมผัสดูที่นั่น มโนภาพที่นั่น มีอะไรเกิดขึ้นที่นั่น อย่างเป็นรูปธรรม
ที่แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรก็ยังมีอยู่ คำนวณอยู่ มโนภาพลองดู ยสกุลบุตรคงจะเดินมาจากพาราณาสีมาที่นี่ ประตูตรงนี้ พระพุทธเจ้าก็ประทับอยู่ที่นี่ มีจงกรมอยู่ที่นี่ ระหว่างที่จงกรมกับประตู อิสิปตนไม่ห่างไกลกันนัก ในครานั้น ยสกุลบุตรอาจจะอุทานร้องออกมาที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่เป็นทุกข์หนอ ทุกข์เหลือเกิน ทุกข์เหลือเกิน คงได้ยินพระพุทธองค์ก็ตอบว่าที่นี่ไม่มีทุกข์ ที่นี่ไม่วุ่นวาย มาที่นี่ ในครานั้นก็จะเป็นใกล้รุ่งใช่ไหม ยังไม่สว่างดี ยสกุลบุตรก็เข้าไป ยังมีรูปธรรมเห็นอยู่ เราก็ประทับใจในสถานที่ปรินิพพานแล้วก็ไปนั่งอยู่ที่นั่น สัมผัสดูมโนภาพลองดูเป็นเช่นไร อาจจะมี ปิติ อาจจะมีปัสสัทธิ ในไออุ่น ในสถานที่ต่างๆ ในสังเวชนียสถาน ยังสัมผัสในชีวิตเราทุกวันนี้ถ้าเราไปอีกคราวหลังเราก็เคยเห็น ไปอีกเจ็ดเที่ยวก็เคยเห็นสถานที่นั้นเหมือนเดิม ในการปฏิบัติธรรมนี้ก็เช่นกัน สิ่งที่เราเคยผ่าน เราก็ย่อมแจ่มแจ้งขึ้น ชำนาญมากขึ้น
ทีแรกก็ตั้งใจดูสถานที่ประสูติ ดูทุกแง่ทุกมุม อ่านคำนวณดู ไปเที่ยวหลังไม่ต้องคำนวณอะไรจบง่ายๆ ผ่านง่ายๆ แป๊บเดียวก็ดูได้ง่ายๆ ไม่ได้คำนวณไม่ได้พิสูจน์ ไม่ได้หาข้อเปรียบเทียบอะไร ที่ตรัสรู้ก็ง่ายๆ ที่แสดงธรรมก็ง่ายๆ ที่ปรินิพานก็ง่ายๆ อาจจะยืนอยู่ให้คนเข้าไปซะ อาจจะยืนอยู่รอบนอกเพราะเราได้ศึกษาแล้วง่ายๆ จบง่ายๆ แต่ถ้าผู้ไปใหม่จะต้องนาน ยังไม่อิ่มดูโน่นดูนี่ไป แล้วเราได้เห็นเราก็ง่าย เห็นความหลงทีแรกก็ไม่ค่อยง่ายนะ เห็นความทุกข์ไม่ค่อยง่าย เห็นตัณหา เห็นกิเลสตัณหาไม่ค่อยง่าย ติด มันเป็นยางเหนียว เราเห็นไปเห็นไปตามหลักอริยสัจ 4 ก็ง่ายขึ้น การที่จะให้เป็นมันยาก แต่ที่จะไม่ให้เป็นให้หลุดมันง่ายขึ้นแต่ก่อนมันยากในปัญหาในกิเลสกรรมทั้งหลาย ที่เกิดที่มันมี ที่เรามีที่เราเคยเพ่งเล็ง เคยใส่ใจเคยสัมผัส แต่เราเคยทำไปแล้วก็ง่ายขึ้น นิดเดียว ลัดนิ้วมือเดียว แค่นี้ แค่นี้ แค่นี้ ปะสาอะไรความหลง ง่ายนิดเดียว ความไม่หลงยิ่งใหญ่ ปะสาอะไรเหตุให้เกิดความทุกข์ ไม่ยิ่งใหญ่อะไร ความไม่เหลือแห่งทุกข์นี่มันง่ายๆ มันดูดเหมือนกับแม่เหล็ก ชะเง้อขึ้นมาสักหน่อยก็ไม่ได้มันดูดไป ยามทุกข์ มันก็มีความไม่ทุกข์ดูดไป ยามเจ็บ มันก็มีความไม่เจ็บ ยามแก่ ก็มีความไม่แก่ ความตาย มีความไม่ตายดูดไป ชะเง้อชะแง้นิดหน่อยไม่ได้มันดูดไปที่โน่น มันก็เป็นเช่นนี้
เมื่อเราฝึกหัดสิ่งใด มันก็จะมีโอกาสชำนิชำนาญ ในเรื่องชีวิตของเรานี้ มันเป็นเท็จเป็นจริง ไม่มีคำถาม เรามีสติ มีความหลงอย่างเนี่ย ความหลงมันจะจริงอย่างไร ความไม่หลงมันจริงกว่าอย่างเนี่ย มันจะไปข่มขืนให้ตัวเองหลงได้ยังไง เพราะว่าความถูก ความผิดมันเป็นอยู่อย่างนี้ เห็นอยู่สัมผัสได้อยู่ นี่ใครจะทำให้ตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษได้ ต้องพบการรักษา จนสุดความสามารถในการปฏิบัติธรรมเนี่ย มันเป็นกอบเป็นกำขึ้นมา ในการใช้ชีวิตของเรา มันเป็นเห็นของจริงอันประเสริฐ ได้พบของจริงอันประเสริฐ ที่มันจะให้ทุกข์ไม่เป็นทุกข์ ที่มันให้โทษไม่มีโทษ อันนี้ที่ว่าอันประเสริฐ ไม่มีสิ่งใดที่ประเสริฐเท่ากับสิ่งเหล่านี้
มีความภูมิใจยกมือไหว้ตัวเองได้ สิ่งที่เป็นทุกข์ไม่เป็นทุกข์ สิ่งที่ทำให้โกรธไม่โกรธ ยกมือไหว้ตัวเองได้ สิ่งที่เคยเป็นไม่เป็นอีก ต่างเก่าพ้นภาวะเดิมอย่างนี้ หลักปฏิบัตินั้นเป็นอย่างนี้โดยตรง ตรงต่อ ปฏิบัติตรงต่อ สิ่งที่ ระหว่างสิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูก เห็นสิ่งที่ผิด ตรง เห็นสิ่งที่ผิด ไม่มืดมนในสิ่งที่ผิด ตรงต่อสิ่งที่ถูก สว่างไสวในสิ่งที่ถูก นี่เรียกว่าปฏิบัติตรง ไม่มีอะไรที่ปิดบัง ถ้ามีสตินะ สติเป็นในกาย เป็นทุน เหมือนกับเปิดของที่คว่ำ หงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด จุดแสงสว่างขึ้นในที่มืด บอกการหลงทิศหลงทางของผู้หลง เพียงพอในการเจริญสติ ของที่มันปิดอยู่เปิดออกแล้วเห็นแล้ว เห็นไหม มือวางบนเข่าเห็นรู้เห็น แล้วมืออยู่ที่ใด ถามใครไหมไม่มีคำถาม มืออยู่ที่ไหนตอบได้ไหม ตอบได้ สิ่งที่เห็นมืออยู่ที่เข่านั่น มันเป็นอะไร นั่นแหละเรียกว่าเปิดของที่ปิด
เคยบ้างไหมชีวิตของเราพลิกมือขึ้นรู้สึก ยกมือไปรู้สึกให้รู้อยู่นี่นะ ให้มันรู้อยู่นี่นานๆลองดู มันจะเกิดอะไรขึ้น เห็นหลง มันหลงไม่ได้ตั้งใจ มีความรู้ขณะที่มันหลงเคยบ้างไหม นี่เรียกว่าบอกคนหลงทาง บอกการหลงทาง แต่ก่อนหลงเป็นหลง บัดนี้หลงเป็นรู้ จะเป็นอย่างไร จะไม่เรียกว่าจุดแสงสว่างขึ้นในที่มืด ความหลงเป็นของมืด เห็นมันหลงเป็นแสงสว่าง ความหลงเป็นคนหลง เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลง เป็นคนที่หลงทางรู้จักทางในคราวเดียวกัน ต่างเก่า นี่เปลี่ยนหลงเป็นรู้ หนึ่งครั้ง ร้อยครั้ง พันหนมันก็ชำนาญเป็นปริญญา
ทีแรกอาจจะไม่ชำนาญ แต่เพียรพยายามยิ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่ไม่ใช่สติ แต่สติใช้มากเท่าไหร่เป็นศิลปะเหมือนมีดนายช่าง เหมือนสิ่วนายช่าง เหมือนเลื่อยนายช่าง ทีแรกก็งานไม่ละเอียด เพราะใช้มีดยังไม่ชำนาญ สิ่วก็ใช้ไม่ชำนาญ ฝีมือไม่ชำนาญต้องขีดต้องเขียน ใช้ไปใช้ไป เครื่องมืออันเก่างานปราณีตขึ้น มันชำนาญ สติอันเดียวเนี่ยมันชำนาญขึ้น เป็นญาณ เป็นปัญญา เป็นปริญญา อย่างเห็นอาจารย์ตุ้มเขียนใบสั่งธรรมจักร ออกแบบธรรมจักร ให้ทำแบบนี้ทำแบบนี้เขียนไป เราต้องไปกลุ้มต้องขีดมือสั่นๆ ทำไม่ได้ แต่ผู้ที่ชำนาญแล้วก็แป๊บเดียวเป็นธรรมจักรไปเลย มันชำนาญ เพราะอะไร เพราะเขาจบสถาปัตย์ จบสถาปัตย์ มันก็ต่างกันผู้ที่ชำนาญผู้ที่เล่าเรียนมา
การปฏิบัติธรรมมันก็มีโอกาสชำนาญได้ ปะริญเญยยันติ.... , ....เมภิกขเว อิเมสุสัจเจสุ(ที่ถูกคือจะตูสุ)อะริยะสัจเจสุ ปะริญเญยยันติ รู้ง่ายๆ หลงยาก รู้แล้วล่ะไปตลอด รู้แล้วล่ะ ทำได้แล้วง่าย จะให้เป็น หลงเป็นหลงยาก ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก ถ้าชำนาญนะ ถ้าไม่ชำนาญทำชั่วได้ง่าย ทำดีได้ยากเช่น ความง่วงเหงาหาวนอนเนี่ย เวลามันง่วง ตื่นขึ้นมา รู้ขึ้นมา หนึ่งครั้ง ง่วงทีไร รู้หนึ่งครั้ง ตื่นขึ้นมาทั้งหมดเลย หาแนวร่วม มันก็ง่าย มันคนละอย่าง ชี้หน้าอันนี้ ไม่ใช่มิตรของเรา เป็นสิ่งที่ขวางกั้น จิตฟุ้งซ่าน คิดเหมือนไก่เขี่ย นี่ไม่ใช่ ต้องแน่วแน่อย่างนี้ ยกมือใส่ลงไปปั๊บ ๆ ลงไปมันบอกทาง ผิดมันบอกทางให้มันถูก ปัญญาญาณเป็นอย่างนี้ ไม่ปล่อยตัวเองทิ้ง ไม่เหมือนปัญญาแบบโลกโลก รู้อยู่ว่าโกรธไม่ดียังโกรธ รู้อยู่ว่าทุกข์ไม่ดียังทุกข์ แค่ปัญญาญาณเนี่ยไม่ต้องรู้ว่าไม่ดี สัมผัสได้แล้วไม่ใช่รูปมันเป็นมันเป็นนี่ปัญญาญาณ ทะลุทะลวง ไม่ตัน ไม่เป็นหน้าผา ไม่เป็นป่องที่มันขึ้นยาก เรียบถ้ามีสติเนี่ยทำให้เรียบ เคยเปรียบเทียบอยู่เสมอ สติเหมือนไม้กวาด ไม้กวาดผ่านไปที่ใดที่นั่นก็สะอาด มีอานิสงส์ ทำดี ยิ่งเรามีสติไปในกาย กายมันอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้สัมผัสเหมือนพื้นศาลาเรานี่เรายังไม่ได้สัมผัสมันสกปรก
อาจจะไม่ได้ใส่ใจแต่ว่าถ้าเรามีสติไปในกายนี้มันปราณีตมาก มันเอาไม่ได้ มันมีสิ่งสกปรก รกรุงรังไม่ได้ ถ้าเรารู้ ถ้าเรามีสตินะมันก็มีสิ่งที่ทำได้อยู่ไม่ปล่อยทิ้ง กระตือรือร้น ในความหลงเปลี่ยนหลงทันที เหมือนเรารับผิดชอบ เราปลูกต้นไม้ ต้นไม้มันเหี่ยว ต้องหาโอกาสให้น้ำต้นไม้ทันทีมันจึงจะทันกาลทันเวลา มันหลงรู้ทันที เรียกว่าการงานชอบ มันหลงเปลี่ยนหลงเป็นรู้ เรียกว่าความเพียรชอบ มันหลงเปลี่ยนหลงเป็นรู้ด้วย ตั้งสติไว้ชอบ ทั้งหมด ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ในคราวเดียวกันเพื่อให้เกิดความชอบทั้งหมด คิดชอบ พูดชอบ ทำชอบ การงานชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจชอบ หมดสุดถึงจุดหมาย ปลายทางจบ ทำอะไรมันจบ มันหลงจบลงไปแล้ว ความหลง ความทุกข์ จบลงไปแล้ว ถ้ามันมีทำให้จบ ทำให้มีที่ตั้ง ไม่มีที่ให้วาง ไม่มีที่ให้อาศัย ไม่ให้ค่า จาโค นิสสัคโค ปฏินิสสัคโค ตลอดคืนไม่มีที่ให้อยู่ ไม่ให้ค่า สนุกนะแม่ชีน้อยไม่มีสนุกอะไรเท่ากับละความชั่ว ทำความดี เป็นกอบเป็นกำกับชีวิตของเรา
โตวันโตคืนขึ้นมาโตวันโตคืนขึ้นมาเหมือนเราทำงานทำการทำนาแปลงใหญ่ ถ้าเป็นการปักดำก็เพิ่มขึ้น ๆ วันนั้นได้ที่นั่น วันนี้ที่นั่น ครึ่งค่อนไปแล้ว คำนวณได้อีกสี่ห้าวันก็เสร็จมีใครถามก็บอกได้เหมือนกับพระอานนท์ เมื่อมีความจัดเจนในการงาน ก่อนที่ทำสังคายนาพระอานนท์ยังไม่เป็นพระอรหันต์ พระมหากัสสปะให้พระอานนท์ทำความเพียรเพื่อจะทำสังคายนาถ้าทำสังคายนาไม่เป็นพระอรหันต์ใช้ไม่ได้ เหลือพระอานนท์รูปเดียว แต่ขาดไม่ได้ เป็นพหูสูต ผู้รู้อะไรมากมาย เพื่อสาธยายให้สงฆ์ฟัง เมื่อมีการซักถามขึ้นมาพระอานนท์ก็มั่นใจ ชั่วโมงสองชั่วโมงผ่านไป พระมหากัสสปะอาจจะถามเป็นอะไรอานนท์ อืม...เดี๋ยวๆในที่สุดก็หมดเวลาแล้ว อีกชั่วโมง อีกสามสิบนาที มันก็มีความประทับ มีการสัมผัสได้ เหมือนเราทำงานที่ใกล้จะเสร็จ ความหลง ผ่านไป ความทุกข์ผ่านไป อะไรที่มันผ่านไป ผ่านไป เอาคืนมาไม่ได้ เหมือนบ้วนน้ำลายทิ้งไป เอาคืนไม่ได้ มันก็เป็นอย่างนี้ปฏิบัติธรรม ทำไมเราจึงไม่ช่วยตัวเอง เสียดาย เกิดมา 30 ปี ไม่มีใครสอนแบบนี้ ปล่อยกายปล่อยใจทิ้ง เมื่อหลวงพ่อเทียนมาสอน ให้เห็นกาย เห็นจิต เห็นมันคิด แต่ก่อนก็มันคิดก็ปล่อยมันคิดไป ไม่รู้จักมีสติ ไม่กลับมา ไหลอยู่เช่นนั้น คิดเรื่องนี้ต่อเรื่องโน่น คิดเรื่องนั่นต่อเรื่องนี้ เป็นทุกข์ ไม่รู้จักช่วยตัวเอง เป็นความคิดเฉย ๆ ก็มาเป็นทุกข์ได้ กินไม่ได้นอนไม่หลับ น้ำตาซึมน้ำตาไหลได้ คิดถึงความทุกข์ มี ไม่เคยช่วยไม่เคยดูแลจิตใจของตนเอง ไม่เคยเห็นจิต ไม่เคยเห็นความคิด ไม่เคยเห็นความทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับจิตใจ พอหลวงพ่อเทียนมาบอก ลองทำดู กระตือรือร้นมาก ในเรื่องของความคิดที่จะให้เป็นทุกข์เนี่ย ไม่ปล่อยทิ้งเด็ดขาด พอรู้จักช่วยตัวเองอย่างนี้แหล่ะ คิดสงสารตัวเองแหล่ะ เห็นรูปเห็นนามนี่...โอ๊ย 30 ปีไม่รู้จักช่วยตัวเองเลย ปล่อยทิ้งมา จนมันเจียนตาย
มากระตือรือร้นกอบกู้ขึ้นมา กอบกู้ได้ เอาคืนมาได้ กายรูปก็เอาคืนมา ไม่เฉพาะที่จำเป็นใจที่เป็นนามที่มันรู้อะไรได้ คืนมา ได้ช่วยมันคืนมา ในที่มันผิดน่ะได้กระตือรือร้นตรงนี้ ช่วย เวลามันคิดมันคิดโดยไม่ได้ตั้งใจเนี่ย นี่แหล่ะจำเลยหมายเลขหนึ่งแหล่ะ กระตือรือร้นตรงนี้ เพราะอะไรเป็นเกณฑ์ เรามีเกณฑ์อยู่ เรารู้อยู่เนี่ย ทำไมมันคิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ สนใจมาก ๆ ตรงนี้ กลับมาได้ การคิดไม่ได้ตั้งใจ ตั้งใจคิด ไม่รู้จะคิดทำไม เวลานี้ไม่ได้มาตั้งใจคิดเรื่องใด มาปฏิบัติ มามีสติ มันเป็นงานอันหนึ่งอยู่เนี่ย แล้วก็เป็นกอบเป็นกำขึ้นมา ส่วนคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ อันนั้นพิเศษเลยแหล่ะ อันคิดที่ตั้งใจคิดเอาไว้ก่อน เอาไว้ก่อน เวลานี้เราก็มาอยู่นี่แล้ว มาโกนผมห่มผ้าเหลืองแล้ว ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยบ้านด้วยเรือนแล้ว ไปคิดเรื่องอะไร ถ้าคิด ก็คิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์คิดถึงศีลของตน เอามือลูบหัวดู คิดถึง ธรรมของตนที่พึ่งอาศัยได้ เป็นเรื่องอะไร ขวนขวาย หมายเลข 1 คือ ตัวหลงตัวคิด มันจึงมีคำออกมาตรงที่อารมณ์หมายเลข 2 ความโกรธ หมายเลข 2 คำพูด หมายเลข 3 กายกระทำ หมายเลข 4 จำเลยสุดท้าย คือกาย จำเลยที่ 1 เหมือนตัวหลงคือความคิดเนี่ย สนใจ กระตือรือร้น แม่นยำ ชัดเจน ชำนิชำนาญ
มันก็ไปไม่ได้หรอก เหมือนกับตัดรากแก้วมันซะ มันก็เหี่ยวไปหลายอย่าง บางทีเราไม่ได้ไปสู้กับกิเลสตัณหาเลย เอาภาวะที่หลงเป็นรู้เนี่ย มันก็ มันอ่อนล้าไปหมดเลย เห็นรูปเห็นนามเห็นอาการ เห็นธรรมชาติของรูปของนาม กระทบกระเทือนถึงความโกรธ ความโลภ ความหลง อ่อนล้าลง ไม่มีกำลัง กิเลสตัณหาก็อ่อนล้าลง เราจับมันได้ จับหลักมันได้ สมุทัย สังขาร ตัวหลงตัวคิด ปรุงๆ แต่งๆ เป็นเหตุ พอทำเหตุมันได้ มันก็อ่อนล้าลง เคยเปรียบเทียบเหมือนต้นไม้ หมากไม้ ผลไม้ บางต้น ถ้าสมมุติว่าเราไปเขย่านิดหน่อย หล่นลง บางลูกหล่นลง บางลูกไม่ค่อยหล่น อันนั้นใส่ใจเป็นพิเศษ บางลูกไม่หล่นหลอด(ลีบ)ไป เคยพูดให้ฟัง(...) เขียบหลอด หมากเขียบหลอด รู้จักละเมียบ(ลูกน้อยหน่า)ไหมโบราณท่านว่า เป็นฝีเอามะเขียบหลอดไปฝน เอามาทา ฝีแตกดูดออกได้เป็นยานะ บางทีมันหลอดเลยมันใช้ไม่ได้
หลวงปู่เทียนพูดว่า อาการเกิดดับอาการดับไม่เหลือไม่มีค่า ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว มันหลอดแล้ว ไม่ดูดไม่ซึม ไม่มีผลกระทบต่ออะไรแล้ว เหมือนลูกปืน บางลูกเขาไม่เอาออก มันอยู่ในที่ๆลับๆ ไปอยู่ในระหว่างกล้ามเนื้อ ไม่ไปฝังในเนื้อ ไม่ต้องผ่าออก ให้มันฝังอยู่ในเนื้อนั่นก็มี เคยมีคนถูกปืน แล้วทำงานด้วยกัน มีคนหนุ่ม 2 คน เล่นปืนเล่นปืนแล้วมันก็ไปถูกกัน และฝังอยู่ข้างในนี่ ไม่ออกเขาเอ็กซเรย์ดูแล้ว มันหลอดแล้ว มันไม่มีประโยชน์ หมากเขียบหลอดก็เหมือนกัน ในชีวิตของเรานี้บางอย่างมันหลอด มันใช้ไม่ได้ จับมาใช้ยังไงก็ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลกระทบต่ออะไร ทำท่าจะดุจะด่า ปากอย่างหนึ่ง ใจมันอย่างหนึ่ง มันใช้ไม่ได้ ด่าพระ ด่าเณร ตีเณร เคยตีเณรนะ ลงโทษเณร วันหนึ่ง ขอเล่าให้ฟังเสียซะหน่อย ฝนตกพรำๆ กุฏิก็หลังไม่โต ให้เณรท่องหนังสือในกุฏิ แล้วก็ไม่ค่อยได้ยินเสียง แล้วเงียบลงๆๆ พอเงียบลงๆ ไม่มีเสียงในกุฏิ เราไปดูไม่เห็นเณรสักรูปเลย เราก็ตามไปดู มันไปไหนน้อเณรเนี่ย ก็ตามไปยังมีรอย รอยเดินไปร่มมะขามในป่า ไปต่อยมวยกันอยู่ในร่มตึ๊กตั๊กๆ เราก็ไปชะเง้อเห็นแล้วก็กลับมาอยู่กุฏิ มาอยู่กุฏิ อีกหน่อยพากันมา(...) มานั่งกราบ มาอะไรเณร พวกผมทำผิดครับ ทำผิดอะไร พวกผมต่อยมวยกับครับ อ้าว เณรอะไรไปต่อยมวยกัน เณรนี่แหละชวนผม เณรนี่ชวน เณรนั่น ต่างคนต่างโทษกัน
ทำยังไงล่ะทีเนี่ยทำผิดแล้ว มาให้หลวงพ่อลงโทษ ลงโทษอะไร ให้เฆี่ยนให้ตี ตียังไงตีมันก็เจ็บ เจ็บก็ทนเอา เพราะมันทำผิดแล้ว จะให้ตีกี่บาทล่ะ บาทเดียวก็พอ ไปเอาไม้เรียวมา ไม้เรียวเอาไม้ยอดต้นนั่น กะซะแค่นี่อ่อนๆ ไม่เอา ตีบาทเดียวมันก็ขาด หามาใหม่ หามา 2 ข้าง 3 ข้างไม่ได้เลย ได้ ต้องเอามาดีๆกว่านี้ ไปหามา ไปทั้งหมดหาไม้เรียวมาหามา พากันได้มาทีนี้ เอา..นี่ครั้งเดียวนะ ไม้เรียวลองตี เอี๊ยบลงไป เลือดเขียงเลยฝีแข้งพอเณรบางรูปเห็นแผลเฆี่ยนลงไป น้ำตาไหลเลย ให้มานี่ ตีนี่ พอตีแล้ว ทำโทษแล้ว เอายาหม่องมาทา หลวงพ่ออาจารย์ไม่ได้ตีเณร เณรทำโทษตัวเอง ไปทำผิด มันก็เป็นอย่างนี้ ต่อไปอย่าทำนะสอนไป ทีแรกก็ทั้งร้องไห้ทั้งหัวเราะทั้งตี หัวเราะสนุกสนานกันไป ปากอย่างหนึ่งใจอย่างหนึ่ง มันหลอด จะให้โกรธจริงๆ ไม่โกรธ แต่บางครั้งก็ชี้โทษลงโทษเป็นอย่างนี้ ลงโทษด้วยตัวเอง ก็สมน้ำหน้ามึง แค่นี้มึงโกรธหรือ ด่าตัวเอง เป็นพระ ถ้านี่ เป็นอย่างนี้ เป็นพระได้ไง คนกราบคนไหว้ นั่งให้คนกราบคนไหว้ เปรตนะเนี่ย ไม่ใช่สมณะอ้างตนเป็นสมณะ เป็นคนแล้วไหนเปียกแฉะ ด่าตัวเอง ฮู้ว...สนุกนะด่าตัวเอง สอนตัวเองเหมือนกับราชสีห์มันด่าตัวเองว่าไอ้ชาติหมา ด่าตัวเอง
เวลาลุกขึ้นมาที่นอนไม่เรียบร้อย ว่าตัวเองไอ้ชาติหมา ไม่ใช่เป็นศักดิ์ศรีของราชาสัตว์ เราก็น่าจะด่าตัวเอง ยิ่งมันหลงเนี่ย โอ.... ยิ่งมันทุกข์ ยิ่งมันเกิดไรขึ้นมา สติ เป็นอย่างนี่ เป็นรักษา ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นนิจ ไม่ปล่อยทิ้งแน่นอน นี่คือความรักที่ยิ่งใหญ่คือความรักตัวเอง ไม่ปล่อยตัวเองเป็นทุกข์เป็นโทษ เมื่อรักตัวเองเป็นก็รักคนอื่น มันเหมือนอันเดียวกัน เราเคยหลง เราช่วยตัวเองได้แล้ว เห็นคนอื่นหลง ก็สงสารเขาอยากให้เขาไม่หลง ขอเป็นเพื่อน เห็นคนอื่นทุกข์ หัวอกของเราเคยทุกข์ ก็อยากจะช่วยคนที่เป็นทุกข์ เป็นเพื่อน ไม่วิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่โกรธก็ได้น้า... ไม่ทุกข์ก็ได้น้า... หาวิธีเปลี่ยน ไม่ปล่อยกันทิ้ง รักทุกสิ่งทุกอย่าง
ยอดรักยิ่งใหญ่คือพระพุทธเจ้า เป็นยอดนักรักที่สุดในโลก คือธรรมะ นั่นเราจะไม่ใช่ใครที่ไหน เราเป็นคนๆเดียวกันแท้ๆ เคยเจอะเคยตาย เห็นอกเห็นใจ เบียดเบียนกันทำไม มาช่วยกันดีกว่า มันหลง เขาบอกว่าไม่หลงก็ได้ การโกรธ ไม่โกรธก็ได้ มันทุกข์ ไม่ทุกข์ก็ได้ เห็นมันเจ็บไม่เป็นผู้เจ็บ เห็นมันแก่ ไม่เป็นผู้แก่ เห็นมันตายไม่เป็นผู้ตาย ทำได้ ทำได้จริงๆ ภาวะที่รู้เนี่ยยิ่งใหญ่ เห็นไม่เป็นเห็นไม่เป็นเนี่ย ชำนิชำนาญถึงนู่นน่ะ นี่ก็มากแล้ววันนี้นะ สมควรแล้ว