แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พวกเราก็ได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร เป็นเรื่องของแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา อุ่นอกอุ่นใจที่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ เหมือนกับว่ามีหวัง เพราะเห็นทางดำเนินชีวิต เหมือนเห็นแสงเงินแสงทองขึ้นฟากฟ้า ว่าทิศทางตะวันออกคือทางนี้ ก็ต่อไปก็จะได้รู้ทิศรู้ทาง ดำเนินไปตามทิศทาง ที่ผิดที่ถูกได้ แต่สิ่งเหล่านี้มันก็อยู่ที่ตัวเรา แม้แต่เป็นธรรมเทศนา 2600 ปีมาแล้ว ก็อยู่กับคน อยู่กับคนทุกคนเป็นสูตรอยู่กับตัวเราทั้งหมด น่าจะสรรเสริญพระอานนท์ จำมา มาร้อยกรอง สังคายนา พระสงฆ์รูปหนึ่ง ที่เป็น พุทธอุปัฐากของพระพุทธเจ้า ได้ขอพรจากพระเจ้า เมื่อได้รับเป็นธุระ พุทธอุปัฐากจากสงฆ์ จากพุทธเจ้าให้เป็นพุทธอุปัฐากของพระพุทธเจ้า คือพระอานนท์ อานนท์ก็ได้ขอพรจากพระพุทธเจ้า เมื่อพุทธองค์ไปแสดงธรรม ณ. ที่ใด ก็ให้ข้าพเจ้าติดตามไปด้วย เพื่อจะได้ยินได้ฟัง พระพุทธเจ้าก็ถามว่าเธอทำไมถึงขอพรเช่นนั้น ก็เพราะว่าในอนาคตการณ์ เมื่อมีใครมาถามว่าพระพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ใด เรื่องใด ถ้าไม่รู้มันก็จะเป็นเรื่องไม่ดี จะได้จำไว้ จะได้บอก พระพุทธเจ้าก็อนุญาตให้ ถ้าอย่างนั้นก็ได้ สาธุ
จนเรามาจดจำมา ในคราวสังคายนา พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว พระอานนท์จำได้แม่น มันเห็นความเท็จความจริงอยู่กับเราแท้ๆ เนี่ย มันแม่นยำมาก แต่จำได้เฉยๆ ยังไม่เป็นพระอรหันต์เลย พระอานนท์จนพระพุทธเจ้าปรินิพานไปก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อมาทำสังคายนา ครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องให้พระอรหันต์ ทั้งหมด มาร้อยกรอง จำมา มาบอกกัน แต่พระอานนท์นี้ไม่เป็นพระอรหันต์ หมู่สงฆ์ทั้งหลายมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้ให้อานนท์ไปปฏิบัติธรรมให้สำเร็จเรื่องนี้ แล้วมาสังคายนา คือพระอานนท์รูปเดียวขาดไม่ได้ คือเป็นพระหูสูตร ผู้ได้สดับตรัสฟังมามาก จึงได้บรรลุธรรม และมาทำสังคายนา อันนี้อานนท์ก็จำได้เฉยๆ แต่ว่ามาประกอบให้เกิดขึ้นแก่เรา สำคัญคืออยู่ที่กับการปฏิบัติ แน่นอนก็นำมาปฏิบัติ เมื่อคนมีความรู้ ก็มีความมั่นใจเห็นแผนที่ต้องไปทางนี้ ต้องไปทางนี้ เห็นแสงเงินแสงทองที่ต้องออกจากตรงนี้ ชี้ไปตรงนี้ เรามันหลงก็ชี้ไปถึงความไม่หลง แน่นอนหล่ะ หลงๆ ไว้ถูกต้อง ความไม่หลงถูกต้อง ชี้ไปทางนี้ก็ดำเนินชีวิตไป ทุกครั้งที่มันหลง มีสติเป็นดวงตาภายในเห็น เรามันทุกข์ก็ชี้ไปถึงความไม่ทุกข์ มีหวังอย่างนี้พระอานนท์จึงเอาเรื่องนี้มาดำเนินไป ในคราวเดียวกันนั้น เปลี่ยนความหลงเป็นไม่หลง เปลี่ยนความทุกข์เป็นไม่ทุกข์ คือสติ คือรู้สึกตัว รู้สึกตัวเนี่ย การรู้สึกตัวการรู้สึกตัวก็เป็นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจเนี่ย มันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย อยู่ในองค์มรรคข้อที่ 8 ด้วย แหนะ 8 ข้อเนี่ยมันก็คืออันเดียวกัน เป็นการปฏิบัติลงไป ที่กายที่ใจนี้ทั้งนั้น บอกผิดบอกถูก เห็นเหตุ เห็นสิ่งที่มันผิด เห็นเหตุที่ทำให้ถูกได้ ก็นำมาปฏิบัติ ก็ ความเพียรนั้น ชอบ สติเนี่ยเป็นความเพียรชอบ เพียรละความชั่วคือสติเนี่ย ถ้าเวลามันหลง เห็นได้รู้เนี่ย เพียรชอบแล้ว ความเพียรชอบแล้ว เพื่อละอกุศลแล้ว ที่มันเกิดขึ้น ถ้าไม่เกิดขึ้นก็มีสติอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น เนี่ยแหละคือความเพียร เมื่อมันเกิดขึ้นมาก็พร้อมแล้ว เพียรละได้ มันทุกข์ก็ความพร้อมที่จะรู้สึกตัว คือไม่ทุกข์แล้ว นี่คือความเพียรในหลักอริยสัจจ์๔ มีปริวัติ 3 มีอาการ 12 เพื่ออริยสัจจ์ทั้งนั้นหล่ะเนี่ย ให้ได้มรรคมีองค์ 8 เป็นของอริยสัจจ์ 4 ขยายออกไป มีสติมันก็บอกคืนแล้ว ปริวัติ3 แล้ว เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง รู้จักความหลงเนี่ย เป็นปริวัติ๓ เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ พ้นจากความทุกข์เนี่ยคือปริวัติ๓ เห็นอาการต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น กิเลสตัณหา เกิดขึ้นมีปริวัติ 3 คือเห็นมันไม่เป็นไปกับมัน ก็จับเอาอันที่เห็นก็อยู่ใน อริยสัจจ์๔ ทำให้แจ้ง ทำได้แล้ว แจ้งแล้ว แจ้งจริง ๆ ตรงนี้ ไม่สงสัยแล้ว ว่าทุกข์ไม่จริง เพราะไม่ทุกข์มันจริง มีอยู่ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ความหลงไม่จริง ความไม่หลงมีอยู่ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ทำให้แจ้งแล้ว ทำได้แล้ว ละได้แล้ว หลงที่ใด ไม่หลงที่นั่น ทุกข์ที่ใดไม่ทุกข์ตรงนั้น ละได้แล้วอย่างเนี้ย นี่ปริวัติ 3 อาการ 12 เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ จึงเกิดญาณขึ้นมา ว่าเห็นแจ้ง มีอยู่กับคนเหล่านี้เอง เมื่อเรานำมาปฏิบัติ จึงเห็น เห็นทางพบทาง ทางพาไป เหมือนเรานั่งรถเดินทางมิตรภาพ เดินทางหลวง ที่มีป้ายจราจร บอกทิศบอกทาง ทางหันบอก ตรงไหน ป้ายมันบอกเหมือนเป็นอย่างนั้น แล้วทางเดินด้วยเท้า ทางบก ทางเดินจิตใจก็เช่นเดียวกัน ผิด บอกให้ บอกไม่ให้ผิด ให้ถูก ตรงไหนที่มันทุกข์ก็ไม่ทุกข์ตรงนั้น ทางมันบอก เลยไม่จนคนพบทาง ไม่เข้ารกเข้าพง นี่คือตัวปฏิบัติ มีความเพียรชอบ ถ้ามีสติก็ตั้งมั่น ความงอกงามในสติ ความไพบูลย์ ความเต็มรอบ ความเจริญ มันก็เป็นไปเอง มันต้องมากขึ้นมากขึ้น โดยรูปแบบของกรรมฐานเนี่ย 14 จังหวะ เคลื่อนไหว รู้ทีละรู้ เนี่ย มันก็มากคู่จริง ๆ ว่าจะมีความรู้สึก อะไรที่เกิดขึ้นมามีความรู้สึก ต้อนรับเป็นนายทวารบาล อะไรก็ปลอดภัยได้ จึง เป็นกรรมฐานที่เป็นวิชา ที่ศักดิ์สิทธิ์ ประสบการณ์ จากวิชากรรมฐานนี้ ประทับใจผลของการปฏิบัติ เหมือนกับเป็นอริยทรัพย์ภายใน มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้านก็ซื้อไม่ได้ อันนี้คือ ประทับใจ ผลกรรมฐาน แล้วก็ชี้ ชี้ได้ ชี้ ชี้ ชี้กับตัวเองได้ ตรงไหนที่ไม่ทุกข์มีปัญญาตรงนั้น ตรงไหนที่มีปัญหามีปัญญาตรงนั้น ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา นิพพานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นได้ทุกชีวิต ของจริง ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นธรรมะ เป็นอย่างนี้เป็นตถตา เป็นเช่นนั้นเอง พระพุทธเจ้า เทศนากัณฑ์นี้ มีโกณฑัญญะพราหมณ์ปัญจวัคคีย์ ผู้มีอายุได้ดวงตาเห็นธรรม รู้แล้วหนอ รู้แล้วหนอ อัญญาสิวัตตโภโกณฑัญโญ อัญญารู้แล้วหนอ พราหมณ์อัญญาผู้มีอายุรู้แล้วหนอ ก็ต้องรู้จัก เหมือนที่รู้แสดงอะไร รู้แล้ว รู้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า แน่นอนแล้ว แน่นอนแล้ว ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นธรรมดา สิ่งนั้นต้องมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้ผลแล้ว ได้ผลแล้ว จึงเรียกว่าแน่นอนแล้ว ยกโป้แล้ว(ยกนิ้วโป้ง) สอนคนรู้ตามได้แล้ว แต่ว่าของจริงต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าของไม่จริงคนอื่นรู้ด้วยไม่ได้ เป็นของอันเดียวกัน ตถตามันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนั้นเอง ก็ไม่เที่ยงมันก็เป็นเช่นนั้น มันจะให้เป็นเที่ยงได้ยังไง พวกไม่ทุกข์มันก็เป็นเช่นนั้น จะให้เป็นสุขได้อย่างไร เป็นเช่นนั้นเอง การแก่มันก็เป็นเช่นนั้นเอง จะให้ไม่แก่ได้ไง สังขารคือร่างกายจิตใจ รูปธรรม นามธรรม ทั้งหมด ทั้งสิ้น เกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป เป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง สังขารคือร่างกายจิตใจ รูปธรรม นามธรรม นี้เกิดขึ้นแล้วหายไป มีแล้วหายไป เป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง
แล้วก็ เป็นอย่างงี้แหละ ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง ตถตา ตถตา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ในชีวิตนี้ได้มรรค ได้ผลแก่ มีจิต มีใจ มีเดินได้ หลงได้ ทุกข์ได้เนี่ย ได้ประโยชน์จากความหลง ได้ประโยชน์จากความทุกข์ เรียกว่าเห็นของจริงอันประเสริฐ คือทุกข์เนี่ย ถ้าไม่เห็นมันมันก็ทุกข์ ถ้าเห็นมันมันก็ไม่ทุกข์ พอพ้นจากทุกข์ได้ เหมือนเราเห็นงู งูก็ไม่ได้กัดเรา คนที่ไม่เห็นงูต่างหาก งูจึงกัด ตายไป คนที่เห็นหละก็ไม่ได้กัดหล่ะ เหมือนบอกพูดกับนักปฏิบัติอย่าให้ความคิดมันหลอกได้ เห็นมันคิดเดี๋ยวก็ไปอยู่ในความคิด ห้วงความคิด ความคิดที่เป็นสมุทัยเป็นสังขาร ไม่อยากคิดมันก็คิดเนี่ยเป็นสมุทัยเป็นสังขาร เห็นแจ้งไหม ละได้แล้วไหม เห็นแจ้งไหม ทุกข์เป็นอีกกำหนดรู้ได้ไหม ทุกครั้งที่มันทุกข์ รู้อะไรเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องละ รูปเป็นสิ่งทำให้แจ้ง สมุทัยเป็นเหตุที่ต้องให้ละ เหตุให้เกิดทุกข์ ละได้หรือยัง ไม่ต้องดำเนินไม่ต้องให้มันอีก บอกคืนไว้แล้ว ไม่ต้อนรับ ไม่มีที่อาศัย ไม่ให้ค่า นั่นแหละว่าละได้แล้ว สมุทัยละได้แล้ว ละอันเดียว ความหลงก็อันเดียว ความโกรธก็อันเดียว ความทุกข์ก็อันเดียว ทำไมจึงละไม่ได้ โกรธกันร้อยพันหน ไม่เคยละซักทีเวลาเรามาปฏิบัติเนี่ย จับมันขึ้นเขียงได้เลย นี่คือตัวหลง นี่คือที่ทำให้เกิดความหลง ที่ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้แจ้งจริงๆ เรียกว่าวิปัสสนา ทำให้แจ้ง แจ้งแล้วจริงๆ เห็นทิศเห็นทาง เห็นกระแส ผู้ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ต้องได้กระแสแห่งพระนิพพานทันทีเลยทีเดียว ถ้ามันหลงให้รู้เนี่ย ไปทางนี้แล แม้มันริบหรี่ ก็ทางอยู่ตรงนี้ ให้แหวกออกไป ให้รู้ และก็อาศัยกรรมฐาน เป็นเครื่องทุ่นแรงให้รู้เพิ่มขึ้น น้ำหนักของความรู้เพิ่มขึ้นในความไม่รู้ นี่การฝึกตน สอนตน ไม่มีใครช่วยเราได้ อาศัยความพากเพียรคือประกอบ อย่าปล่อยทิ้ง หลงที่ใดรู้ที่นั่น หลงร้อยครั้งรู้ร้อยครั้ง เรียกว่าความพากเพียร มันจะค่อยเป็นค่อยไป ความกล้าหาญ กล้าหาญ ถ้าหลงก็รู้ในความแกร่งกล้า ถ้าทุกข์ก็รู้เป็นความแกร่งกล้า ถลาได้ไกล กระโดดได้ไกล ตอนนี้ มีกำลัง ถ้าความไม่รู้แน่ หลงก็อ่อนแอไปเลย โกรธก็อ่อนแอไปเลย เป็นกามสุขัลลิกานุโยค ไปตามอาการ เรียกว่ากาม หรืออ่อนไปตามอาการ พอใจก็เป็นไปตามความพอใจ ไม่พอใจก็ไปตามไม่พอใจ หลักการปฏิบัติเจอเอาอย่างนี้จริงๆ จ๊ะเอ๋ จริงๆ สอนความพอใจและความไม่พอใจออกมา เจ้าสอนอย่างนี้ตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มเดินทาง มีสติไปในกายเป็นประจำ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกเสียได้ มันก็จะมีความพอใจความไม่พอใจ การมีสติเนี่ย เกิดขึ้นกับกาย อาการของกายเกิดขึ้นมาที่ใด ก็พอใจไม่พอใจ และการที่จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์ ก็พอใจมั้ย พอใจเรียกว่าเวทนา สุขก็เป็นสุข ทุกข์ก็เป็นทุกข์ เรียกว่าเวทนา สักว่าเวทนา คือถอนออกมา เห็นแล้ว เห็นแล้ว ไปได้แล้ว ผ่านไปได้แล้ว กลับไม่ได้ ด่านนี้ผ่านไปแล้ว ถ้าเราไม่รู้ ด่านนี้ก็กักเอาน่ะ เอากายมาเป็นตัวเป็นตน จำอยู่ตรงนี้ไปไม่ได้ เอาสุข ทุกข์ มาเป็นตัวเป็นตน เอาความคิดมาเป็นตัวเป็นตน ให้ความคิดมาเป็นสุขเป็นทุกข์ นี่เรียกว่าเอาความคิดมาเป็นตัวเป็นตน สักแต่ว่าจิต สักแต่ว่าจิตเป็นเช่นนั้นเอง วิญญาณธาตุมันรู้อะไรได้ ขอบคุณมัน มันไม่ใช่มาลงโทษเรา เราได้ปัญญา ธาตุที่รู้อะไรได้หล่ะ วิญญาณธาตุ เรียกว่าจิตวิญญาณ ได้สอนมัน สอนก็สักแต่ว่า เป็นอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ตัวลบ ละอกุศล เป็นธรรมที่เป็นกุศล เป็นธรรมขาว ขึ้นฝั่ง ขึ้นฝั่งเพราะมันมีฝั่ง เพราะมันมีน้ำ และไม่มีน้ำ มันก็ไม่มีฝั่ง มันจึงมีสุขมีทุกข์ ชีวิตของรุปของนามนี้ เรียกว่ารูปทุกข์ นามทุกข์ ทุกข์ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนา เมื่อกี้นี้ ชี้ไปตั้งแต่ทุกข์ มันมีอยู่จริง ทุกข์เนี่ย ความเป็นจริงมีอยู่ ชาติปิ ทุกขา ความเกิดก็เป็นทุกข์, ชะราปิ ทุกขา ความแก่ก็เป็นทุกข์ พยาธิปิ ทุกขาความเจ็บก็เป็นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง ความตายก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์ อ้าวเปรอะเปื้อนไปหมดเลย ถ้าเราไม่ได้ศึกษา ถ้าเราศึกษาก็จะเกลี้ยงเกลาบริสุทธิ์ ไม่เห็นอย่างนี่ก็น่ากลัว รูปทุกข์จริงๆ รูปมันเป็นทุกข์จริงๆ เป็นก้อนทุกข์จริงๆ เกิดขึ้นแล้วแก่เจ็บตายไปจริงๆ แก่ไม่แก่เฉยๆ เจ็บไม่เจ็บเฉยๆ เป็นทุกข์ด้วย ตายก็ไม่ตายเฉยๆ เป็นทุกข์ด้วย เตรียมตัวทุกข์อยู่ตรงนี้กัน ยอมรับ จำนน อยู่ทุกคน ทำไมเราไม่ศึกษาเรื่องนี้ เมื่อศึกษาเรื่องนี้ดูถ่องแท้แล้ว พระสิทธัตถะ มาศึกษาเรื่องนี้ได้คำตอบจึงได้ประกาศเรื่องนี้ว่า ถ้ามีความแก่ก็มีความไม่แก่ เมื่อมีความเจ็บก็มีความไม่เจ็บ เมื่อมีความตายก็มีความไม่ตาย ตั้งแต่เป็นสิทธัตถะ พระชนม์มายุ ๑๖ พรรษาโน่น เห็นคู่ๆ อย่างงี้ จะหาคำตอบหาหนทาง ถามพระเจ้าปู่เจ้าย่า อย่างนี้ไม่มีใครตอบได้ ก็เลยดำริออกบวช เพื่อศึกษาเรื่องนี้ พอได้คำตอบก็ประกาศเป็นธรรมะ เป็นศาสดา เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนใครในโลก จนมาถึงพวกเราทุกวันนี้หนา มีอยู่จริงอย่างนี้ สติอยู่กับเราตอนนี้ก็อยู่กับพระพุทธเจ้าเหมือนกัน จึงมีหน่อมีพืช อย่าปล่อยทิ้งมาทำให้เกิดประโยชน์ มีสติไปในกาย ดูกายเคลื่อนไหว เห็นใจมันคิด ทุกคนต้องเห็นอย่างนี้ มีสติรู้กายเคลื่อนไหว ก็รู้ได้ทุกคน แล้วก็เห็นใจที่มันคิดก็รู้ได้ทุกคน มันคิดเป็น เห็นความคิด ที่ไม่ได้ตั้งใจ ชีวิตนี้ก็ไว้ห้อยไปแขวนกับความคิด ความคิดพาให้เป็นสุขเป็นทุกข์ พาให้รักพาให้ชัง พาให้เกิดกิเลสตัณหาได้ โดยหลักตัวใหญ่มันคือ ตัวคิดเนี่ย ตัวจิตเนี่ย บำเพ็ญทางจิตก็คือมีสติเห็นมันคิดนี่แหละ คิดที่ใดก็รู้ที่นั่น นี่คือบำเพ็ญทางจิตสอนจิต ส่วนกาย วาจา เป็นจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมตัวใหญ่ที่สุดคือจิต มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายๆ มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นสิ่งที่สำเร็จ ทดลองไม่ได้ ทดลองให้โกรธ ก็โกรธไปแล้วจริงๆ เอาคืนไม่ได้ ทดลองให้ทุกข์ ก็ทุกข์จริงๆ เอาคืนไม่ได้ เวลาเรามาฝึกกรรมฐาน จะได้ช่วยเนี่ย ช่วยจิตเนี่ย อย่าให้ไปถึงนู่นซะ อย่าให้เป็นตัวเป็นตนไปกับความคิด อย่างน้อยก็ต้องเวทนา คืนมาซะ ให้รู้ซะ เวทนาสักว่าเวทนา คิดสักว่าคิดซะเนี่ย คืนมา มันไม่เปรอะเปื้อน มันจะสะอาดบริสุทธิ์ อะไรที่มันเปื้อนจะได้รู้ที่นั่น มันจะบริสุทธิ์ ต่อไป จิตจะดูจิตเอง จิตจะดูจิตเอง จะสรุปไว้ การปฏิบัติ สติตัวนี้แหละเป็นเจ้าของกายเป็นเจ้าของใจ อย่าลืมไปอยู่ที่ใด ให้มีสติเป็นผู้ดูแลกายใจอยู่เสมอ อย่าไปมอบหมายให้อะไร อะไรก็รู้ รู้ ต่อไปมันจะรู้ไปเอง ไม่ได้ตั้งใจ อยากหลงก็ไม่หลง อยากโกรธก็ไม่โกรธ อยากทุกข์ก็ไม่ทุกข์ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันเห็นอยู่แล้ว จะบังคับให้โกรธมันเป็นไปไม่ได้ คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่เป็นธรรม ความเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วแก่กายแก่ใจ ธรรมก็รักษาเอง ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นนิจ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกลงไปในที่ชั่ว อย่างนี้ วันนี้พวกเราก็มา ที่สมาทานกันมา กรรมฐานเข้ม ๑๐ วันก็จบลงวันนี้ ก็อยากจะพับใส่กระเป๋าให้ทุกคน อย่าเอาทิ้งซะ เอาติดตามไปด้วย ไม่หนัก ไม่กินที่ ไม่กินเนื้อที่ อยู่กับกายกับใจเรานี้เอง เปลี่ยนสมบัติเป็นแหล่งทรัพย์ภายใน เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฝึกไป ก็จะชำนาญมากขึ้น มากขึ้น วันนี้ก็จะมีกลุ่มเข้ามาอีก แทนพวกเรา พวกเราก็พอใจ ต่อชอบเป็นครูสอน ครูสอนอย่างอื่นก็ไม่เอา สอนกรรมฐานนี่ มันถูกต้องจริงๆ อยากจะบอกผู้คนทั้งหลาย มันหลงไม่หลงเนี่ย มันทุกข์ไม่ทุกข์เนี่ย มันถูกต้องจริงๆ ถ้าไม่หลงไม่ทุกข์หยุดอยู่ที่กายที่ใจเราก็ดีไปเอง อนึ่งก็ดีไปเอง เป็นมาเป็นพวง มาเป็นพวง ความดีเกิดขึ้นเป็นพวงๆ ในโลกนี้ก็อาศัยคนดี เหมือนเขียนไว้ที่โรงทาน ว่าดีน้ำ ดีดิน ดีอยู่ที่ไหน กว่าจะดีนั้น ดีอยู่ที่คน คนดีอยู่ที่ไหน คนดีก็อยู่ที่เราเนี่ย ที่มาที่เราทุกคน เสนอเข้าไป เราซักคนอาสาขอมีส่วนร่วมในความดี อยู่ที่ไหนก็ทำความดีก็จะได้เป็นทีพึ่งซึ่งกันและกัน อ้าว วันนี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา กราบพระพร้อมกัน