แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พูดให้กันฟัง ลำดับลำนำการได้ยินได้ฟังเนี่ย ก็เป็นเรื่องดี ฟังอันที่มันถูกมันผิดให้มันเห็น บางทีเราก็ได้สัมผัส สะดุด ถ้าเรามีสติเป็นหน้ารอบ พระพุทธเจ้าสอนสาวกทั้งหลายจงมีสติทุกเมื่อ มัจจุราชจะตามไม่ทัน ผู้มีสติเหมือนอยู่ในมุ้ง ผู้มีสติเหมือนมีร่มในมือ อยู่ในมุ้งนอนฟังเสียงยุง ร่มในมือเวลาฝนตกมีร่มกั้น เวลาแดดออกมีร่มกั้น ก็ถ้าเป็นสุขเป็นทุกข์ก็ไม่มีสุขมีทุกข์เพราะมีร่ม ถ้าฝนก็คือ สุขคือทุกข์มันจะมีการสัมผัสสะดุด การสะดุดการสัมผัสนี่ ถ้าเรามีสติมันจะได้บทเรียนที่มีค่า
เช่น พระองคุลีมาร องคุลีมาลสะดุดกับคำพูดคำตรัสสอนพระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนเป็นแต่เพียงบอกตรงๆ ตรงกันข้าม แต่ก่อนองค์คุลีมาล คิดแต่จะฆ่าเพื่อจะให้ได้พันคน ฆ่าไปๆ จนเหลืออยู่เพียงคนเดียวจะพอพันคน เพื่อที่จะไปเรียนศาสตร์ที่อาจารย์จะสอนให้ คิดแต่เรื่องนี้ พอดีเห็นพระพุทธเจ้าก็ถือดาบวิ่งออกจากป่าจะตามฆ่า พระพุทธเจ้าก็วิ่ง องค์คุลีมาลก็ไล่ องค์คุลีมาลบอกพระพุทธเจ้าว่า “หยุดๆ” พระพุทธเจ้าบอกว่า “เราก็หยุดแล้ว” “หยุดอะไรยังวิ่งอยู่หยุด” “หยุด หยุดทำบาปทำกรรมเหลือแต่เธอยังไม่หยุด เธอยังถือดาบไล่ฆ่าไล่ฟันคนอยู่ เราหยุดแล้วเธอยังไม่หยุด” สะดุดคำพูดอย่างนี้ของพระพุทธเจ้า องค์คุลีมาลสัมผัสกับการได้ยินได้ฟัง เห็นเป็นการเห็นเกิดขึ้น เห็นการกระทำของตนยังไม่หยุดกับการบาปทำกรรม แต่พระพุทธเจ้าสวนทางไป “เราหยุดแล้วเธอยังไม่หยุด” องค์คุลีมาลได้ยินได้สะดุดกับคำตรัสสอนคำพูดอย่างนี้ ก็เลยสะดุดอย่างหลัก เหมือนสะดุดตอล้มลง วิ่งอีกไม่ได้เจ็บปวด เจ็บใจก้มลงนอนหมอบลง ทิ้งดาบเข้าป่า ไม่เคยได้ยินคำพูดอย่างนี้ นานเหลือเกิน อาจจะเป็นใครหนอเนี่ย อาจจะเป็นสิทธัตถะโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะที่ออกบวช ได้ยินว่าได้ตรัสรู้อาจจะเป็นองค์นี้หรือเปล่า อาจจะเป็นคนคนนี้หรือเปล่า อาจจะเป็นคนนี้แน่นอน เพราะคำพูดแบบนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อน รำพึงรำพันอยู่เสียใจเป็นอย่างเนี่ยมาก เพราะการกระทำของตน ไม่เคยปฏิบัติแบบไหนมาก่อนเลย มีแต่คิดจะฆ่าๆ ผลที่สุด พระพุทธเจ้าก็เห็น ก้มลง พระพุทธเจ้าก็เดินขึ้นมาเดินกลับมา มาจับลุกขึ้น ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน แก้ไขได้ แก้ไขได้ ตามเราไป ตามเราไป ตามเรามา เราจะพาไป พระพุทธเจ้าก็พาเดินไป เชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นใกล้บ้านขององคุลีมาล พระพุทธเจ้าก็สอนจนได้บรรลุธรรมขอบวช องค์พระพุทธเจ้าก็เลยบวชให้ บ้านองคุลีมาลกับบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี อยู่ใกล้ๆ กันหลังโตใหญ่เท่ากันฐานะเท่าเทียมกัน อยู่ใกล้ๆ เชตวันนั่น นั่นคือสะดุดไม่เคยได้ปฏิบัติ ไม่เคยได้เดินจงกรม ไม่เคยได้ฟังเทศน์ฟังธรรมอะไรทั้งหมดเลย มีแต่คิดจะฆ่าๆ อย่างนั้นก็มีการบรรลุธรรมอยู่เฉยๆ ถ้าสังเกตดีๆ
สะดุด การสะดุดเป็นการบทเรียนที่ดี สัมผัสความหลง สัมผัสความรู้ สะดุดลองดู สัมผัสความทุกข์ สัมผัสความผิด สัมผัสความถูก ให้สังเกตตรงนี้ เรารู้อยู่ มันสุขเห็นมันสุข มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ลองดู มันจะต่างกันกับเป็นผู้สุข เป็นผู้ทุกข์ ต่างกันอยู่ แล้วก็เลือกได้ อย่างองคุลีมาลเลือกทางที่จะต้องปฎิบัติต่อไป กับคนละอัน เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติในการกระทำ ตัดทันที ถ้าเป็นถเป็นแต่ก่อน ถ้าคิดจะทำบาปทำกรรมมีการกระทำเกิดขึ้นนับหนึ่ง สอง สาม นับหนึ่ง สอง สาม หนึ่งคน สองคน สามคนไป นับทีแรกมันก็ลืมเลยเอาเชือกมาร้อยข้อมือเอาไว้เป็นข้อ เป็นข้อ เป็นข้อ ฆ่าใครแล้วก็ร้อยไว้ ร้อยไว้แล้วเอามาคล้องคอไว้เพื่อจะนับดู แต่ก่อนไม่ได้ทำแบบนี้ ลืมนับไม่ได้ เลยเรียกว่า องคุลีมาล คุลีคือข้อนิ้ว ข้อนิ้วมือ คือฆ่า คิดแต่อย่างนั้น ตัดกรรมทันที หยุดทันที
เราจะทำอะไรมันมีวัฏฏะอยู่ 3 อย่าง กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรม วิบาก มีการกระทำเกิดขึ้นก็ชินในการกระทำนั้นเรียกว่ากิเลส วิบากก็คือทำลงไป เหมือนคนสูบบุหรี่ พอสูบ สูบเป็นกรรมเป็นกิเลส วิบากคืออยาก เพราะอยากถึงสูบ เพราะสูบถึงติด เพราะติดจึงอยาก เพราะอยากถึงสูบ เพราะสูบจึงติดเพราะติดจึงอยาก จะหยุดตรงไหนได้ เคยไปชวนคนเลิกสูบบุหรี่ มันติด มันอยาก จะไปห้ามตัวอยากไม่ได้ ไปห้ามตัวติดไม่ได้ เพราะสูบมันจึงติด เพราะติดมันจึงอยาก เพราะอยากมันสูบ เพราะสูบจึงติดพอติดจึงอยาก มันเป็นวัฏฏะต่อกัน เหมือนไก่ เหมือนงู เหมือนหมู ไก่คาบหางงู งูคาบหางหมู หมูคาบหางไก่ ไก่คาบหางงู งูคาบหางหมู ต่างคนต่างคาบหางกัน อย่างนั้นก็เป็นวงกลม เรียกว่าตัววัฏฏะมันมี 3 เท่านี้ มันไม่มากถ้าจะตัด จะตัดตรงไหน กรรม กรรมเป็นตัวสำคัญ กรรมคือสูบ ติดคือกิเลส วิบากคืออยาก อันกิเลส อันวิบาก มันเป็นผลจากกรรม ไม่ใช่เป็นผลมาตั้งแต่กำเนิดเกิดมา มีการกระทำมันจึงเกิดขึ้น มันจึงเป็นวัฏฏะ ถ้าตัดการกระทำซะมันก็ไม่มี กิเลสมันก็ไม่มีวิบาก เช่นคนไม่สูบ มันก็ไม่ติด พอไม่ติด มันก็ไม่อยาก เพราะไม่อยากก็ไม่สูบ เพราะไม่สูบก็ไม่ติด เพราะไม่ติดก็ไม่อยาก มันก็เวียนขึ้นมาเรียกว่า อนุโลม ปฎิโลม ถอยกลับ มันก็เลยเป็นอิสระ มันอยู่ที่กรรม
เวลานี้เรามาทำกรรม กรรมฐานที่ตั้งของการกระทำ มีสติตั้งไว้ อะไรก็มีสติ เป็นกรรมอยู่ มันก็ตัด มันทุกข์ ความทุกข์ เห็นมันทุกข์ มันตัดกรรม ตัวทุกข์มันเป็นทุกข์อันสุข ตัดกรรม สุขไม่เป็นสุข หลงไม่เป็นหลง รู้ไม่เป็นรู้ ผิดไม่เป็นผิดถูกไม่เป็นถูก อะไรที่มันเกิดวิบาก กิเลสกรรมวิบากมันจะตัดไป ตัดไป มันจึงเป็นกรรมตัวนี้เป็นการจำแนก เป็นการจำแนกสัตว์ เรียกว่าศักดิ์สิทธิ์ กรรมฐาน เป็นกรรมฐานเป็นการกระทำที่ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์มาก พอมันหลง...รู้ ถ้ามันได้รู้แล้ว มันก็ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนรู้เป็นอื่นได้ มันถูกต้อง มันชอบธรรม อยู่โดยชอบเป็นธรรม ง่ายๆ อย่างนี้ เราจะไปทำยากทำไม ไปหน้าดำคร่ำเครียดยังไง น่าจะยิ้มๆ แย้มๆ แจ่มใส เพราะมันทำมาถูกต้องแล้ว เราก็เห็นอยู่ เราก็มีงานทำอยู่ เรามีกาย เรามีใจ กายเป็นสังขาร ใจเป็นสังขาร เรียกว่าจิตตสังขาร กายสังขาร มันมีสิ่งที่ปรุงๆ แต่งๆ และก็เห็นมัน 84,000 อย่างเกิดขึ้นที่กายที่ใจนี้ เราก็เห็น เห็นอะไรก็มีสติ มันก็ง่ายๆ ไม่มีเครื่องมือแบบใด ถ้าเป็นเครื่องทุ่นแรงก็เพียงพอแล้ว
มีสติมันไม่ยาก ความหลง ความโกรธ ความทุกข์ มันก็ไม่ได้ขี่ช้างขี่ม้ามา มันเกิดขึ้นจากกายสังขาร จิตตสังขารนี้ เพราะเราไปคิด เราเคยพูด เราเคยทำ เราเคยใส่ใจ เพ่งเล็งจะเป็นกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เกิดจากการ กระทำเกิดจากการเพ่งเล็งเกิดจากการคิด เกิดจากการเอาใจใส่ต่อเรื่องนั้นๆ มันก็เลยเกิดปรุงแต่งไป เป็นภพ เป็นชาติ อยู่ในสังขารนั้น สุขก็เป็นภพเป็นชาติ ทุกข์ก็เป็นภพเป็นชาติ เกิดดับ เกิดดับ ความรัก ความเกลียดชังเป็นภพเป็นชาติ เกิดอยู่กับเรากี่ครั้งกี่หนเราไม่เคยเห็น ทำตามภพตามชาตินั้นไป เกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ ในความสุข ความสุขก็เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความสุขเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ดับไป ความทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ความโกรธเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ความหลง เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ความรักเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ความเกลียดเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ยินดียินร้ายเกิดขึ้นดับไป ดับไป เกิดแล้วหายไป มีแล้วหายไป
สังขารคือร่างกายจิตใจและรูปธรรมนามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป สังขารคือ รูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้นเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป สิ่งใดที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรไปยึดว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา เคยได้ว่าไหม เคยได้สวดไหม ห๊า.. เคยได้สวดไหม ได้สวดให้ใครฟัง ได้ยินตัวเองสวดไหม เอามาสอนตัวเองไหม เคยเอามาสอนไหม หรือว่าเป็น ภาษานกแก้ว นกขุนทอง กินพริก มันก็ว่ากินกล้วย แก้วจ๋า กินข้าวกับกล้วยบ่ แก้วจ๋ากินข้าวกับกล้วยบ่ เอาพริกให้มันกินมันก็บอกว่ากินกล้วยๆ เราเรียกว่าเอาว่าไปทำไม
ถ้าเรามาสะดุดลองดู มันมีค่ามาก ยิ่งเราเอามาประกอบ มาสัมผัส เอาสติมาไว้ในกายลองดู เวลามันคิด มีสติลองดู เวลามันสุข มีสติลองดู เวลามันทุกข์มีสติลองดู เวลามันผิดมันถูก มันโลภ มันหลง มันโกรธ ปรุง ๆ แต่ง ๆ เกิดขึ้นมีสติลองดู เนี่ยตัว ตัวหลัก ก็เลยน่าจะลัดนิ้วมือเดียวอ่ะ ไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ตัดกรรมเนี่ย มันตัดไม่ยาก ไปตัดกรรม ไปตัดกันยังไง เอาต้นคูนต้นยอ ไปค้ำต้นโพธิ์ มันตัดกรรมนะ ไปตัดแบบไหน ไปตัดตรงไหนหน้าวัว หน้าม้า หน้าหมา ไปตัดกรรม เสียเคราะห์ ไปเสียตรงไหน มันหลงผิดหลงเป็นรู้เสียเนี่ย เสียแล้ว เสียเคราะห์แล้ว ความหลงไม่ดีจริงๆ ความโกรธไม่ดี เปลี่ยนความโกรธ เป็นความไม่โกรธเนี่ย ตัดกรรมตรงนี้กัน อย่าให้ใครไปทำให้ เดี๋ยวนี้เราอาศัยคนอื่นตัดกรรมให้ เป็นเวรเป็นกรรม
เมื่อวานนี้ก็ หลวงตาไปดูคนป่วยเขาเห็นหลวงตาอยู่วัด เขาเลยไปเสียเคราะห์ (หัวเราะ) แล้วขี่รถมอเตอร์ไซค์แหกโค้ง หน้าตาเปรอะเปื้อนไปด้วยผ้าพลาสเตอร์ เป็นแผล ลูกชายก็เป็นแผล หัวแตกแขนขาถลอกปอกเปิกนะ แต่ยัง ยังไม่ตาย มาเสียเคราะห์ รถแหกโค้ง ให้หลวงตาเสียเคราะห์ให้ เอาสังฆทานมาถวาย มันเป็นอะไร ทำไมจึงขับแหกโค้ง เพราะการกระทำของตัวเอง ขับไว ประมาท ไม่รู้จักทางไม่ชินทาง มันก็เลยแหกไปเลี้ยวไม่ทัน ตัวเองก็น้ำหนักประมาณเกือบ 100 กิโล ผู้หญิงคงจะเป็นเหมือนกระสอบ ตกรถก็เลยโอ้..ไม่เจ็บหรอกคนอ้วนขนาดนี้ ห๊า..ลูกชายก็อ้วน แม่ก็อ้วน ก็ไม่เป็นไร ต่อไปอย่าขับไว มีสติ อย่าประมาท การตัดกรรมก็คือ มีสติ ใช้รถใช้เรืออย่าประมาท ใช้กายใช้ใจ อย่าประมาท เห็นสิ่งแวดล้อมอย่าประมาท มันก็ศักดิ์สิทธิ์ เราจะมั่นใจ เราจะเดินไปนี่ แล้วก็มีเครื่องมือเดิน มีตา มีขา เห็น อะไรที่มันไม่ใช่ทางก็อย่าไป ความหลงไม่ใช่ทาง ความรู้คือทาง ความทุกข์ไม่ใช่ทาง ความรู้สึกตัวคือทาง อวิชชาไม่รู้คือป่า ความรู้คือวิชชาคือทาง วิชชา อวิชชา อวิชชาคือป่ารก วิชชาคือทางโล่งเตียน เราเหยียบดูสัมผัสดู เราหลับตาเดิน บางทีก็เท้าเราก็ใช้ได้ เอาขาเอาเท้าต่อไป มันก็บอกได้ การสัมผัสเนี่ย เหมือนคนตาบอด สานกระติ๊บข้าว เอามือไม่มีตาดู สานกระติ๊บข้าวไวกว่าคนตาดี มันชินมันสัมผัส
หลวงตาไปอินโดนีเซีย เด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ไป ไป ไปตอก ไปตอกไม้แพถัก ถักเป็นข้อ เป็นข้อ หูก็ฟังครูสอน มือเขาถัก ถักใบตอกเพื่อไปสานชะลอม สานหมวก แล้วก็ แล้วก็ไปขายเป็นกิโล อุตสาหกรรมไม้ไผ่ อินโดนีเซียมากที่สุด เฟอร์นิเจอร์ มีแต่ไม้ไผ่ บ้านไม้ไผ่ หลวงตาตัดมันตายเข ตัดไปแช่ไว้น้ำ ไปสอนเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ หาคนมาสมัครก็ไม่มีใคร คนบ้านนี้เมืองนี้เกียจคร้าน บอกให้คนแก่อายุ 60 ปีมาตัดไม้ไผ่ไปใช้ได้ ก็ไม่มีใครมาเอาตายทิ้งปีละรถ ละรถ มันแก่ มันเฒ่า กองอยู่ ถ้าทำไม่เป็น มาเรียนเราจะสอน สอนเฟอร์นิเจอร์ สอนการจักสาน ในไม้ไผ่เราทำเป็นหมดทุกอย่าง อันไหนที่เกิดจากไม้ไผ่ สานกระติ๊บข้าว สานตะกร้า สานกล่องข้าว สานอะไรได้หมด ถ้าทำไม่เป็นมา มาเรียนจะสอนให้ก็ไม่มีใครมา (หัวเราะ) เนี่ยมือมันไปของมันน่ะ ถ้ามันเป็นแล้วมันไม่ลืม หัด การสัมผัสเนี่ยมันไม่ลืม
สติที่มันสัมผัส มันไม่ลืมเลย ไม่มีวันลืม หลงอะไรก็เป็นหลงอยู่นั่น รู้ก็เป็นรู้อยู่ โกรธก็เป็นความโกรธอยู่ ความโกรธก็ไม่ใช่มีพันธุ์ใหม่ ความทุกข์ก็ไม่ใช่พันธุ์ใหม่ ความหลงก็ไม่ใช่พันธุ์ใหม่ ไม่เหมือนเชื้อโรคพันธุ์เก่า น่าที่จะไม่ ไม่วนเวียนตรงนี้ หลงจนตาย ทุกข์จนตาย โกรธจนตาย มันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น มันก็หลงเกิดขึ้น จากเหตุปัจจัยมีอยู่ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้มันจึงมี เหตุที่มันหลงเพราะมันไม่รู้ เหตุที่มันไม่รู้มันจึงหลง แค่นี้ เหมือนหน้ามือหลังมือ พลิกมือให้ดู ก็ยังไม่ทำ ยังทำไม่ได้
ความหลงเหมือนหลังมือ ความรู้เหมือนหน้ามือ ความหลงเหมือนของปิดของที่คว่ำ ความรู้ตัวหงายของคว่ำขึ้นแล้ว เห็นแล้ว ความทุกข์เหมือนหลังมือ ความไม่ทุกข์เหมือนหน้ามือ มันก็มีอยู่อย่างนี้ตรงๆ อย่างนี้ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ไปทำอย่างอื่น ถ้าหลงอันเดียวเท่านั้นนะ เรียกว่ากุญแจดอกเอก ไขได้เปิดได้ มันหลงก็รู้ มันโกรธก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ อะไรๆ มันก็รู้ตรงเนี่ย ตัวเดียวเท่านี้ มีแต่สติเบื้องต้นท่ามกลางก็สติ ที่สุดก็สติ ไม่มีอะไรอีก มันอยู่ที่เรานี่ หายใจเข้ารู้ก็ได้ ไม่ยาก ความรู้สึกตัว เวลามันหลงรู้ก็ได้ อย่าให้หลงเป็นหลงอย่าให้โกรธเป็นโกรธ อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ ให้มันเป็นสภาวะที่รู้เต็มตัว ตาเต็มตัว ตารอบ หน้ารอบ เนี่ยมันทำได้จริงๆ เรื่องนี้ เสียดาย เสียดายมาก เสียดายคนที่หลง เสียดายคนที่ทุกข์ เสียดายคนที่โกรธ นิดเดียวเท่านั้นเอง เปลี่ยนซะๆ
อย่างพระพุทธเจ้าบอกองคุลีมาลตรงๆ “เราหยุดแล้ว เธอยังไม่หยุด” “ไม่หยุดอะไร ยังวิ่งอยู่ หยุดอะไรยังวิ่งอยู่” “เราหยุดทำบาปทำกรรมแล้ว เธอยังทำบาปทำกรรมอยู่ ยังถือดาบไล่ฆ่าเราอยู่ เราไม่ทำแบบนี้แล้ว เราหยุดแล้ว” ได้ยิน องค์คุลีมาลได้ยิน ทิ้งดาบเข้าป่าเลย สะดุด มีคนบอก
ประเทศไทยยังมีคำสอนคำบอก ถ้าไม่มีใครบอกก็ไปหาอ่านคำสอนพระพุทธเจ้าดู อยู่นี่ก็มีตู้หนึ่งเรียกว่าหอไตร ตั้งอยู่เนี่ย อยู่ศาลาหน้าก็มี 2 ตู้ ปีนี้เขามาถวายตู้หนึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปอ่านดู อ่านในหนังสือถ้าไม่รู้จัก ถ้ามาปฏิบัติธรรมไม่ต้องเอาหนังสือมาอ่าน ประกอบขึ้นเลย กายเป็นตู้หนังสือ ใจเป็นตู้หนังสือ เป็นตำราเล่มใหญ่เกิดขึ้นที่กายที่ใจนี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ไม่มีหนังสืออ่านสักตัวเลย ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระสาวกเกิดขึ้นเป็นหมื่นเป็นแสนไม่มีหนังสืออ่าน จนพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปประมาณ 300 ปี จึงมามีหนังสือ หนังสือก็เขียนใส่ใบลาน ไม่มีกระดาษ เขียนก็เขียนที่ประเทศลังกาโน้น หลวงตาก็ตามไปดู มีเขียนหนังสือเป็นเล่ม ยังมีคนนั่งเขียนใบลาน อยู่ที่นั้น เราไปดู ยังมีคนเฒ่าคนแก่ เขาเรียกว่า “จาน” แต่ไม่เรียกว่า “เขียน” เอาเหล็กจานคล้ายๆ แหลมๆ มาเขียนใบลาน ก็ไปหัดเขียนกับเขา เขาให้เขียนลองดู เอาก็สอนให้ เขียนเอา
เดี๋ยวนี้มันเจริญแล้ว ง่ายๆ จะเป็นคำสอน ม ดูตัวเรามาดูตัว กายสังขาร แต่ก่อนอยู่ในตัวเรานี้ ก็เลยไปร้อยกรอง เขียนลงไปในกระดาษ เอาไปอ่านดู มีหนังสือนี่เอามาจากใบลาน ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณ 300 ปี เนี่ยอยู่ในหนังสือเล่มนี้ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ มาตั้งแต่โน้น สังขารคือร่างกาย จิตใจ แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป มันก็มาแต่โน้น สังขารคือ ร่างกาย จิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป พูดกันมานานแล้ว 2,000 กว่าปีแล้ว
มาถึงเราทุกวันนี้ ถ้าเราอ่านหนังสือไม่ได้ก็มาดูที่สังขาร คือมันคิดไป มันทุกข์ มันสุข สุขทุกข์เป็นสังขาร ถ้าเป็นภาษาบ้านเราเรียกว่า สุขทุกข์ เป็นสังขาร ถ้าเป็นภาษาบาลี “ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร” “ปุญญาภิสังขาร” สังขารคือสุข “อปุญญาภิสังขาร”สังขารคือทุกข์ แต่ประเทศอินเดียเรียกว่า สุขว่าทุกข์อันเรียกว่าสังขาร แต่เราเรียกว่า สุขว่าทุกข์ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สังขารคือบุญ อปุญญาภิสังขารคือบาป คือทุกข์ ทุกข์คือบาป บุญคือสุข อันสุขอันทุกข์นี่ยังเป็นสังขารอยู่ อเนญชาภิสังขาร สังขารคือพร้อมที่จะเป็นบาปเป็นบุญ เป็นสุขเป็นทุกข์ ไม่น่าไว้ใจ อเนญชาไม่น่าไว้ใจ ยังที่จะเป็นสุขเป็นทุกข์อยู่
เราจึงมามั่นใจตรงนี้ เราจะไม่เป็นสุข เราจะไม่เป็นทุกข์ เราจะอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงไหน อยู่ตรงที่ไม่เป็นอะไร มีแต่สติเนี่ย มันจะเป็นยังไง มีสิทธิ มันสุขไม่สุข เห็นมันสุขนั้นล่ะ มันจะทุกข์ เห็นมันทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ นั่นล่ะ มันก็มีสิทธิอย่างนี้ จึงมั่นใจตรงนี้ เรียกว่าเป็นสถาบันตรงนี้ ปฏิบัติดีตรงนี้ ปฏิบัติตรงกับเรื่องนี้ ปฏิบัติออกจากมันเลยทีเดียวเรื่องนี้ ปฏิบัติสมควรเลย มั่นใจ เป็นสถาบัน เป็นสถาบัน มั่นคงตรงนี้มากที่สุดชีวิตเรา ปฏิบัติดี ดีคือไม่ผิด รู้อยู่เนี่ย ดูมันอยู่เนี่ย มันจะเหมือนเราดูลูก แม่ลูกอ่อนเลี้ยงลูกน้อย ตาดูอยู่เนี่ย มันจะผิดอะไร มันจะมีอะไร ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ลูกนอนก็ปลอดภัย กายใจของเรานี่มีสติเป็นเจ้าของ ดูมันอยู่เนี่ย มันอยู่ที่ไหนกาย ใจอยู่ที่ไหน ไม่ใช่อยู่ที่อื่น มันก็อยู่เนี่ย ไปไหนก็ไปด้วยเนี่ย รูปธรรมนามธรรม มีสติอยู่เนี่ย สติก็ไม่ได้ไปขอใครมา ไม่ได้ซื้อหามา กระพริบตาก็รู้ได้ หายใจก็รู้ได้ อยากรู้เวลาใดก็รู้ได้ ไม่มีกาลไม่มีเวลา ปฏิบัติได้ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ผู้ปฏิบัติย่อมรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ขยันรู้มากก็รู้มาก ภาวนาขยันรู้ ขี้เกียจก็ไม่รู้ วันหนึ่ง 24 ชั่วโมงหลงไปเสีย 20 ชั่วโมง รู้ 4 ชั่วโมง มันก็ไม่สมดุลกัน ขยันรู้ดู ไม่ให้ไปทำอะไรจะกินจะนอนจะให้โสตายลองดู
อีกไม่นานจะมี 40 วันกรรมฐานเข้มที่นี่ อย่าเพิ่งกลับบ้าน(หัวเราะ) มีแต่ขอห้ามไว้ เห็นหน้าอย่าเพิ่งไปนะ อย่าเพิ่งไปนะ ขอร้องไว้ เอาชีวิตของเราไปรับใช้อะไรมา เรื่องลูกเรื่องหลานเต็มบ้านเต็มเมือง ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง แล้วเราได้อะไร เรามีอะไรเป็นของส่วนตัว น่าจะหันมามองตัวเอง แต่ไม่ทิ้งอ่ะไปอยู่กับเขานั้นล่ะ แต่อย่าไปทิ้งเขา ถ้าพอที่จะวางได้ก็มาอยู่นี่ มันก็ต่างกันกับอยู่ที่บ้าน ไม่มีเสียงอะไรที่มันทำให้เราหลง ถ้าเรารู้ก็ดี ถ้าหลงจะได้รู้ ถ้าเราไม่ได้ฝึกหัด หลงก็จะเป็นหลง ถ้าเราฝึกหัดแล้ว...ไป เหมือนช้างฝึกไว้ดีแล้ว ขี่เขาเป็นเอาบ้าง ให้ลูกให้หลานเล่นได้ หมดพยศหมดพิษ ใจที่ฝึกดีแล้วไปอยู่ที่ไหน ไม่เป็นอะไร เหมือนเกลืออยู่ที่ไหนก็ต้องเค็ม ไม้จันทร์อยู่ที่ไหนก็หอม
บัณฑิตผู้ฝึกตนดีแล้ว อยู่ที่ไหนไม่ทิ้งธรรม ไม่ทิ้งสติ มันไม่เสื่อมนะ ไม่เสื่อม ถ้าไม่ฝึกมันจะฟูๆแฟบๆ ไม่ชำนาญ ไม่มีปริญญา มันหลงก็หลง คนหลงเป็นหลงเรียกว่าไม่มีปริญญา ถ้าหลงเป็นรู้เขามีปริญญา คนที่มีความรู้ เหมือนหลวงพ่อเทียน คนที่มีความรู้ เขาไม่พะรุงพะรัง ขายอ้อย ขายมัน ขายปอ เอารถ 10 ล้อ 18 ล้อ บรรทุกไปได้เงินน้อยๆ คนที่มีความรู้เขาไม่ถืออะไรไป นั่งกินน้ำชาถ้วยเดียวก็พอ ได้เงินล้านเงินแสน หลวงพ่อเทียนคุยให้ฟังหาเงินร้อย เงินพันหายาก หาเงินหมื่นเงินแสนหาง่าย(หัวเราะ) หลวงพ่อเทียนถามเรา “คุณทำงานเดือนหนึ่งได้เท่าไร” “ก็ได้แล้วหลวงพ่อ พันบาท” สมัย 40-50 ปีนะ เดือนละพันบาทได้อยู่ เพราะอะไร เพราะเป็นช่าง ช่างก่อสร้าง ช่างทุกอย่าง ไม้ไผ่ลำหนึ่งราคาสองบาท เอาไม้ไผ่ลำหนึ่งได้สองร้อยบาท ไปซื้อไม้ไผ่ลำหนึ่งราคาสองบาท มาจักมาสานมาขายได้สองร้อยบาท คิดแบบนี้ ประมาณอะไรก็ได้ ได้เดือนละพันบาท “อ้าวเธอปฏิบัติธรรมอยู่เนี่ย เดือนหนึ่งไม่รู้อะไรหลวงพ่อจะให้เดือนละพันบาท แต่ต้องทำอย่างนี้นะ ทำอย่างอื่นไม่ให้นะ ให้เดินจงกรมให้สร้างจังหวะเนี่ย ถ้าไม่ได้ไม่รู้อะไร จะเสียเงินให้เดือนละพันบาท สองเดือนสองพันบาท หนึ่งปีก็หมื่นกว่าบาท”
ญาพ่อหาเงินร้อยเงินพันหายาก ญาพ่อหาเงินแสนเงินล้านหาง่าย เพราะหลวงพ่อเทียนเป็นพ่อค้าใหญ่ ไปกินน้ำชากับพ่อค้าชั่วโมงเดียว ได้เงินแสนเงินล้าน ทำไมจึงได้ ก็ชาวบ้านแถวเชียงคานเขาทำไร่ฝ้าย หลวงพ่อเทียนเป็นพ่อค้าไปถามว่าที่นี่มีฝ้ายกี่หมื่น สองร้อยหมื่น สามร้อยหมื่น จะขายหมื่นละเท่าไร เขาให้หมี่นละเท่านั้น เดี๋ยวนี้ราคาเท่านั้น ถ้าให้อีกหมื่นละเท่านั้นจะขายไหม ขายถ้าได้เท่านั้นขาย อย่าขายใครนะ จะซื้อให้หมื่นละเท่านั่น ถ้าให้หมื่นละเท่านั้น ไปถามบ้านนั้น บ้านนั้น ได้ฝ้ายเป็นล้านๆหมื่น นัดพร้อมว่าจะมาซื้อให้ ฝ้ายเขาอยู่บ้านเขาโน้น แล้วหลวงพ่อเทียนก็ไปหาโรงงานหีบฝ้ายจะซื้อเท่าไหร่ เวลานี้ฝ้าย เขาให้ว่า สมมติว่าเขาซื้อละหมื่นละพันบาท เดี๋ยวนี้ซื้อหมื่นละพันบาท จะซื้อไหมหมื่นละพันยี่สิบบาท มีฝ้าย เท่านั้นหมื่นเท่านี้หมื่น ซื้อไหม ถ้ามันมากขนาดนั้นซื้อ หมื่นละพันยี่สิบบาทซื้ออยู่ เอ้าเอารถไปใส่นะ เงินไม่มีซักบาท บอกโรงงานเอารถไปใส่บ้านนี้ นี่สองร้อยหมื่นบ้านโน้นสามร้อยหมื่นบ้านนี้ร้อยหมื่น เอาไปบรรทุกไปๆ แล้วไปเอาเงินมา ให้เขา ซื้อฝ้ายให้เขา กินน้ำชาถ้วยเดียว ได้เงินแสนๆ ล้านๆ หาเงินร้อยเงินพันหายาก หลวงพ่อเทียนคุยอวด (หัวเราะ) มีเรือล่องหลวงพระบาง ปากเซ อัตตะปือ แม่น้ำโขง สองฝั่งไทยลาวหลวงพ่อเทียนวิ่งสมัยก่อน เรือใหญ่ เรือจักร บรรทุก สินค้า ตอนนั้นก็ยังมีเรืออยู่ หลวงตา หลวงพ่อไปอยู่กับหลวงพ่อเทียน ลูกชายเป็นคนคุมเรืออยู่ หลวงพ่อเทียน เนี่ยมาบวชอายุ 48 ปี เท่านั้นเอง เพราะงั้นเนี่ย อยากขายมัน ขายอ้อย ขายทองคำบรรทุกไป
อริยทรัพย์ภายใน ไปทำอะไรอยู่ มาเปลี่ยนความหลงเป็นความรู้เนี่ย ทรัพย์แท้ๆ แล้วเนี่ย ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะเป็นมาตรฐานเอา เหนือการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทรัพย์ของเราแท้ๆ เป็นของเรา เราเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานมาไม่ใช่ของเรา เป็นของแผ่นดิน หลวงตานี้ ก็มีอายุพอที่จะเห็นเรื่องนี้ บ้านหลวงตาเป็นคนสร้างเอง นาก็เป็นคนสับซ่าว(บุกเบิก)เอง ผลที่เกิดจากเราเป็นบ้าน เดี๋ยวนี้เป็นของใคร ต่อมาก็เป็นของแม่ แม่ตายไป แม่ตายไปก็มีลูก เป็นของลูก แบ่งให้ลูกสาว ลูกสาวเขาก็มีลูก เขามีผัว ลูกสาวตายไป สามีเขาเป็นคนครองสมบัติ เวลานี้บ้านที่เราสร้างเองไม่กล้าไป น้องสาวก็ไม่มี มีแต่น้องเขย แล้วก็มีแต่ลูกของเขา เขาไม่รู้จักเรา แต่ก่อนแม่ยังอยู่ ไปบ้าน เดินไปห้องพระ ห้องนอนของตัวเองได้ เดี๋ยวนี้ไม่กล้าไปเหยียบ กลัวเขาถามว่าหลวงตามาจากไหน(หัวเราะ) หลวงตามาจากไหน ทำไมป้วนเปี้ยนอยู่นี่ เขาจะว่าเอา ไม่กล้าไป ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของๆเรา มันเปลี่ยนเจ้าไป จากหยาดเหงื่อแรงงานของเราที่เหงื่อไหลอยู่ตรงนั้น กระดานทุกแผ่น ไม้ทุกชิ้นเกิดจากมือเราทำเอง นาก็เกิดจากเรา เดี๋ยวนี้เขาก็สบาย มันสบาย แต่เราอุตส่าห์ทำมาไม่ใช่ของเราเลย
อันทรัพย์ภายในนี้ ยอดเยี่ยมที่สุดเลย มีธรรมะ มีสติ มีมรรค มีผล เขาทุกข์เราไม่ทุกข์กัน คนที่เขามีทรัพย์สมบัติเขายังโกรธ ยังทุกข์กันอยู่ ไม่ทุกข์ ไม่มีอะไรที่จะเห็นให้มีปัญหา มีแต่ปัญญา ปัญหามาเป็นปัญญา ความหลง ความโกรธ ความทุกข์ความอะไร หมดไปซะ มันเป็นอิสระซะชีวิต ได้ชีวิต ชีวิตมันไม่เป็นอะไรกับอะไร ชีวิตมันไม่เป็นอะไร สุขไม่เป็นผู้สุข ทุกข์ไม่เป็นผู้ทุกข์ มันเป็นไรไม่เป็นกับมันเนี่ย เห็นมันอย่างนี้ไม่เป็นอย่างนี่ นี้คือชีวิต มันเจ็บเห็นมันเจ็บ มันตายเห็นมันตาย นี้คือชีวิต หัดให้เป็น หัดให้ได้อย่างนี้ไป
แน่นอนที่สุดเราต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มียกเว้นกัน อย่าหลงตรงนี้ อย่าให้เจ็บเป็นเจ็บ อย่าให้แก่เป็นแก่ อย่าให้ตายเป็นตาย ฝึกเอาไว้อย่างนี่ ถ้าเราไม่ฝึกกัน เจ็บปวดมากเรื่องเนี่ย ร้อยทั้งร้อยเป็นทุกข์เพราะแก่ เพราะเจ็บ เพราะตาย แล้วเราที่ไม่ตายก็ยังเป็นทุกข์กับเขาอยู่ แม่เพียรก็ร้องไห้เพราะหลานตาย เสียใจ เป็นทุกข์บ่ หลานตายเป็นทุกข์บ่ ทุกข์หลาย น้ำตาไหลยาวๆ บ่ว่าผู้ใด สิ่งที่เจ็บนั้นเป็นไร เรามาหัดเอาไว้ ให้มันเหนือ ให้มันเหนือเนี่ย มันผิดอะไร บอกอย่างนี้มันผิดอะไร จะเอาอย่างนั้นเหรอชีวิตเรา มีสิทธินะเนี่ย
นี่เป็นวัดวาอาราม มีพระสงฆ์ มีคำสอน คนไทยไม่ต้องต่อวีซ่า อาจารย์ยูกิยังต่อวีซ่าปีละครั้ง เสียเงินมาอยู่เมืองไทย คนจีนก็เสียเงินมาอยู่เมืองไทยต่อวีซ่า พาไปต่อวีซ่าได้ 3 เดือน ต่อไปก็ให้เป็นปี ถ้าเป็นพระให้เป็นปี ถ้าเป็นโยมให้เดือนหนึ่งสองเดือน ถ้าเป็นนักบวชให้เป็นปี นี่ เมืองไทยเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่อุ่นใจ ลองเดินขึ้นไปตรงทางดูซิ ไปเปิดห้องเสบียงดูพอจะอยู่กันได้ไหม มีข้าวสารไหม มีไหมแม่ชี (หัวเราะ) ไปดู ได้มาจากไหน คนไทยมีน้ำใจให้พวกเรามา ให้พวกเรามา หลวงตาไปหาผ้าไปปูโต๊ะเมื่อวานนี้ มีผ้าสีเหลืองๆ สำหรับปูโต๊ะวางพระประธานไหม เขาบอกว่ามี ไหนเอามาดู เขาเอาผ้ามาดู ได้มาจากไหน ซื้อมาจากไหน ไม่ได้ซื้อ มีคนเอามาให้ ไม่ได้ซื้อเลย โอ้โถ้..คนไทยเนี่ย หลวงตาก็ใช้ชีวิตนักบวชมาสี่สิบห้าสิบปี ก็ไม่ลำบากอยู่ที่นี่ก็อยู่ได้ อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ก็เลยกล้าชวนมา ถ้าไม่มีอยู่มีกิน จะรับผิดชอบเอง อาจารย์ตุ้มอยู่นี่ พระสงฆ์ก็อยู่นี่ ทุกคนชีวิตอยู่นี่ มาอยู่ด้วยกันนี่ มาปฏิบัติแบบนี้ ถ้าไม่ภาระอะไรมากมาย ยิ่งมีคนเฒ่าคนแก่ มีอายุชวนมา มาอยู่นี่ เราก็เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานมามากแล้ว มาพักด้วยกัน ต่างคนต่างแก่ หลวงตาก็แก่ ญาติโยมก็แก่มันจะสนุกดี คนแก่อยู่ด้วยกันไม่ทอดไม่ทิ้ง คนหนุ่มก็ได้ แม่ชีสาวๆ ก็มาได้ คนหนุ่มคนสาวก็มาได้เป็น อย่างนี้นะ ก็พูดให้ฟัง สมควรแก่เวลา