แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เราก็ปฏิบัติธรรมกัน สอนตัวเราเองบ้าง คนอื่นสอนบ้าง การสอนตัวเองได้มันดีที่สุด ดีกว่าคนอื่นสอน การเจริญสติก็ ไม่ใช่สอนเฉยๆ จะเกิดการพบเห็น จะเกิดการพบเห็นโดยไม่ต้องสอน การปฏิบัติมัน เป็นการพบเห็นไม่ใช่คิดเห็น การสอนนี่ ทำให้เกิดการคิดเห็น การคิดเห็นมันอยู่ไกล ยังเอามาใช้ไม่ได้ แต่ว่าการพบเห็นนี่ใช้ได้ทันที ใช้ได้ทันที แล้วก็เป็นของที่อยู่ใกล้ๆ ฉะนั้นจึง มีการปฏิบัติธรรม แล้วการปฏิบัติธรรมนี่ ต้องทำให้มันดีๆ นะ ทำให้มันถูก เช่นเราเจริญสติอย่างเนี้ย ไม่ใช่ไปหา เป็นแต่ดูทันทีเลย ไม่ได้ไปหา ไม่ได้ไปจ้อง ไม่ได้ระวัง มันจะเห็นอะไร อะไรมันจะเห็น ไม่ใช่ ดูกายมันก็เห็นกาย การเจริญสติเนี่ย การปฏิบัติธรรมเนี่ย มันเกิดการพบเห็นเข้า เมื่อของที่เราทำอยู่ มันก็มีแล้ว มีแล้ว เราก็ใช้ให้มันรู้สึกตัวได้ ต้องการใช้ให้มันรู้สึกตัวเมื่อไร ใช้ได้ทันที
แต่ความหลงเอาไปใช้มากกว่าความรู้สึกตัวเอาไปใช้ เช่นเรามีกายมีใจเนี่ย ความหลง เอากายไปใช้ ความหลง เอาใจไปใช้ เมื่อความหลงเอากายไปใช้ เอาใจไปใช้ พอเราจะมีสติเราจะใช้กายใช้ใจเนี่ย ก็จะมีปัญหาบ้าง ความหลงมันจะแสดงออกมาจนสุดความสามารถของเขา เราก็มีหลักของเรา รับรองว่าชนะ ถ้าความหลงกับความรู้สึกตัวเนี่ย ความหลงเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะความรู้สึกตัว ให้มันหลงลงไป ว่าแต่เรารู้สึกตัว มีอิริยาบถ มีนิมิตร มีที่ตั้ง มีกรรม มีฐาน มีความเพียร อย่าทิ้ง อย่าทิ้งหลัก ใครๆ ก็ตามที่จะเก็บอารมณ์ การปฏิบัติอย่าทิ้งหลัก อย่าไปหา ทำใหม่ๆ ก็จงอย่าไปรู้ อย่าไปคิดรู้นู่นรู้นี่ อย่าไปคิดเอาถูกเอาผิด คิดว่าจะได้ คิดว่าจะไม่ได้ ไม่ต้องใช้ความคิดอะไรเลย เป็นการปฏิบัติล้วนๆ รู้สึกตัวก็รู้สึกตัวซื่อๆ อย่ามีอะไรที่มาร่วมมากเกินไป อยากรู้จึงทำ ไม่อยากรู้ก็ไม่ทำ ถ้าทำเวลาใดก็เกิดความอยากขึ้นมา แต่เมื่อความอยาก มันก็เป็นอะไรมาอีก เมื่อไรมันจะรู้ เมื่อไรมันจะรู้ ทำไมมันจึงไม่รู้ หนึ่งวันแล้ว สองวันแล้ว มันต่อไปอีก ถ้าอยากรู้ ก็มีอะไรที่มาร่วมเยอะแยะไปหมดเลย ดีไม่ดี อยากรู้ก็กลายเป็นความหลงไปเลย เพราะว่าตั้งต้นไม่ถูก
การฏิบัติไม่ต้องมีอะไรมากงการ เป็นการเจริญสติล้วนๆ นะ มันผิดมันถูกไม่เป็นอุปสรรค มันเป็นประสบการณ์ มันเป็นบทเรียนไปด้วยซ้ำไป มันรู้มันไม่รู้ แต่เรารู้สึกตัวอยู่ก็ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องไปรู้อันที่เราไม่ได้ทำ สิ่งที่มันรู้สิ่งที่เราไม่ได้ทำ อย่าไปสนใจ แล้วอย่าไปหามันด้วย ให้มันรู้ในสิ่งที่เราทำ ให้มันรู้ในสิ่งที่เราทำ เราทำอะไร เราทำกรรมฐาน เราเดินจงกรม ให้มันรู้ในการกระทำของเรา เดินก็ให้รู้สึก เราเดินเพื่อให้เกิดความรู้สึก ไม่ได้เดินเพื่อหา เพื่อจะเอาอะไรจากการเดิน ถ้าไปอะไรจากการเดิน นอกจากความรู้สึกแล้ว ไม่ใช่ เดินมันรู้สึกตัวก็ใช้ได้แล้ว เดินให้มันรู้สึกตัว สร้างจังหวะยกมือเคลื่อนไหวไปมา ให้มันรู้สึกตัว เท่านั้นเอง การปฏิบัติธรรม เริ่มต้นตรงนี้ แล้วก็อย่าไปหา มันจะเกิดอะไรขึ้น ไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องไปลำดับลำนำอะไร มันจะเกิดต่อเมื่อมันเกิด มันไม่เกิดมันก็ไม่เกิด เกิดน้อยเป็นไร ไม่เกิดก็ไม่เป็นไร อะไรต่างๆ เรารู้อยู่นี่ เรารู้อยู่นี่ เรารู้อยู่ เรารู้อยู่ รู้ว่าถูกต้องแล้ว เรายกมือสร้างจังหวะ รู้สึกตัว ใช้ได้แล้ว ถ้าเดินจงกรมเรารู้สึกตัว ใช้ได้แล้ว ถ้ามันเกิดไม่รู้สึกตัวเวลายกมือสร้างจังหวะ เราก็หาวิธีอื่นช่วยเพื่อจะให้มันรู้ เช่นอย่างว่าสี ภาษาอะไร เหมือนกับเขาเขียนหนังสือ เขาเน้นตัวไหนที่ให้เราสนใจ เขาเน้นสี สีนี่ก็ เช่นเราพลิกมือ รู้สึกตัว รู้สึกตัว สองสามอิริยาบถ มันก็กลับมาได้ ให้มันชัด เพื่อให้มันชัดกับอิริยาบถที่เราสร้าง กระดิกหัวใส่ด้วยก็ยิ่งดี ถ้ามันไม่ชัดนะ ถ้ามันพร่าๆ มันเป็นสิ่งที่เราทำได้ ไม่มีใครหรอก ที่ยกมือสร้างจังหวะไม่รู้ ไม่มี ถ้าเราอยากรู้ เพราะเขาไม่อยากรู้ต่างหาก เขาก็ปล่อยให้ความคิดพาหลงไป หลงไป เพราะไม่อยากรู้ เขาหาอะไรมา เขาก็เอาไอ้โน่น เอาไอ้โน่นไป แล้วก็เสียเวลา ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเจริญสตินี่ มันมีให้เห็นทันที มันรู้ได้ทันทีอยู่แล้ว ตาก็ไม่ต้องดู อะไรก็ไม่ต้องไปหามันหรอก เพียงแต่เรายกมือสร้างจังหวะนี่
นี่ถ้าจะเก็บอารมณ์ หรือเก็บเอาอย่างนี้ ตั้งต้นอย่างนี้ ตั้งต้นตรงนี้ แล้วมันจะไปได้สะดวก อย่าไปเอาเหตุเอาผล เอาความชอบ เอาความไม่ชอบ ไปเอาผิด ไปเอาถูก ไม่ต้อง ผิดจะถูกจะได้ จะผิดจะได้ หรือจะไม่ได้ ไม่เกี่ยว เกิดเท่าไหร่ไม่มีประโยชน์สำหรับเรา คำว่าได้ คำว่าไม่ได้ ไม่มีประโยชน์สำหรับเรา เราทำที่เราเจตนาที่จะให้มันรู้ต่างหาก ต่างหาก อันอื่นบอกคืนไปทั้งหมดเลย ตามความรู้สึกตัว สร้างความรู้สึกตัว เอาของน้อยๆ ไปก่อน ของน้อยๆ นั่นแหล่ะ มันจะเป็นของมาก ความรู้สึกตัวนี่ ไม่เห็นมีอะไร ไม่เห็นมีอะไร ก็อย่าเพิ่งไปให้ความเห็น อย่าไปเอาความเห็นมาแย่งกับความรู้สึกตัว มันไม่ใช่ ความรู้สึกตัวถ้ามันรู้ มันจบแล้ว มันรู้ มันรู้ มันจบแล้ว ความรู้สึกตัวมันไม่ใช่จะหาเหตุหาผลมาประกอบ มันเป็นความรู้สึกตัว ที่มันเป็นความรู้สึกตัว มันถูกต้องแล้ว แล้วเราก็ทำถูกต้องแล้ว จังหวะที่เราทำเนี่ย เหมาะแก่การรู้สึกตัวที่สุดแล้ว ไม่มีอริยบถไหนที่จะทำให้เกิดความรู้สึกตัวแบบพอดี พอดี ไม่ช้าไม่นาน ไม่สั้นไม่ยาว ไม่ช้าไม่ไว ไม่สั้นไม่ยาว พอดี พอดีกับความรู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว มันเป็นความพอดีกับอิริยาบถที่เราสร้าง ความรู้สึกตัวกับอิริยาบถที่เรากำหนดขึ้นมานี้ มันก็มีจังหวะของเขา บางทีมันก็ไว บางทีมันก็ช้า มันพอดีของเขา เวลามันไว มันก็พอดีที่จะต้องการความรู้สึกตัว เพื่ออะไร เพื่อ เหมือนเราวิ่งหนีรถนั่นหละ เวลารถมันวิ่งมา เราจะเดินทอดน่องอยู่มันก็ไม่ได้ เราก็ต้องใช้อริยบถวิ่ง เพื่อให้รถไม่ถูกชน บางทีความหลงที่มันไม่ใช่ความรู้ มันก็มีบ้างเหมือนกัน เราก็เอาความพอดีของเราที่สร้างความรู้นี่ ให้มันเหมาะสมกับความหลงที่มันจะเกิดขึ้นมา ไวบ้าง ช้าบ้าง อย่าไปเอาถูกเอาผิดกับความไวความช้า
การเดินจงกรมก็เหมือนกัน บางทีเราไปคิดว่า เดินหนึ่งชั่วโมง ก็นั่งหนึ่งชั่วโมง อาจจะไม่ถูกเสมอไป บางทีอาจจะเดินมากกว่านั่ง นั่งน้อยมากกว่าเดิน อาจจะไม่ถูกเสมอไป ความถูกมันก็เป็นความถูกของมัน ตามสภาพธรรม สภาพธรรมมันจัดสรรมา โดยเฉพาะการปฏิบัติเนี่ย มันถูกจัดสรรให้เกิดความพอดีอยู่แล้ว การยกมือสร้างจังหวะ การเดินจงกรม แล้วเวลาด้วย เวลาที่มันรู้สึกตัว มันก็มีเวลา ที่ เหมือนกับมีโอกาส เหมือนรถที่มันวิ่งแพร๊บเดียว มันก็ได้เวลาเหมือนกันบางครั้ง เมื่อมันได้เวลา มันได้ทาง มันวิ่งเอาวิ่งเอา แต่เวลาไหนที่มัน จราจรคับคั่ง มันก็รู้จักช้าบ้าง ไม่ใช่วิ่งเอาตะพึดตะพือ มันก็เกิดความไม่ปลอดภัยได้ การเจริญสติก็เหมือนกัน จะเอาเหมือนเมื่อวานนี้ มันก็อาจจะไม่ได้ จะเอาเหมือนเมื่อเช้านี้ มันก็อาจจะไม่ได้ เมื่อเช้ามันดี ตอนนี้ทำไมมันไม่ดี มันก็ไม่ใช่ ชีวิตของเรามันมีอะไรที่มันเกี่ยวข้องมากมาย แต่ว่า เมื่อมันเกี่ยวข้องในสิ่งที่ไม่สะดวก นั่นแหล่ะอาจจะเป็นสิ่งที่มีบทเรียนที่ดีกว่า เหมือนคนที่วิ่งรถในทางจราจรคับคั่ง อาจจะตั้งสติได้ดีกว่าการวิ่งแบบทางเปลี่ยวๆ ดีไม่ดีง่วงนอน ประมาท หลับในไปเลย
เรื่องการปฏิบัติธรรมเนี่ย ถ้าจะให้พูดนะ ถ้ามันมีปัญหาล่ะดีที่สุด ให้มันง่วงลงไป ให้มันคิดลงไป ให้มันไม่หลง ให้มันไม่รู้ลงไป มันจะได้เก่งตรงนี้แหล่ะ เก่งที่มันไม่รู้นี่แหล่ะสติ เวลาใดมันไม่รู้ มันรู้น่ะ มันเก่งมากแล้ว ใช้โอกาสตั้งให้มาก แล้วมันก็มีโอกาสนั้นอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติธรรม ใช่ไหมวิ พอดีง่วงเหงาหัวฟัดหัวเหวี่ยง (หัวเราะ) มันก็เก่งจากนั้นแหละ ถ้าหลวงพ่อคิดนะ ไม่ใช่คิดนะ ไม่มีใครที่ไม่ง่วงนอน ไม่มีใครที่จะไม่คิด หมกมุ่นครุ่นคิด คิดทุกคน แต่เวลานี้ ถ้าจะให้หลวงพ่อพูด หลวงพ่อเก่งตรงนั้นแหล่ะ เก่งตรงที่มันง่วงนั่นแหล่ะ เก่งตรงที่มันหลงนั่นแหล่ะ จึงมีความองอาจแก้วกล้าอยู่กับสิ่งนี้ตลอดเวลา เก่งในตรงที่มันโกรธ เก่งในตรงที่มันทุกข์แล้ว เลยไม่กลัว เลยไม่กลัว จะกลัวอะไร มันไม่ประสีประสา นี่บางทีเราไม่รู้ เราก็ถือว่าเป็นปัญหาเสียแล้ว ไม่ใช่ มันมีโอกาสเสียแล้ว อาจจะมองให้มันมากกว่า โอกาสดีนาทีทองสำหรับเราแล้วมากกว่า กระตือรือร้นมากกว่า เมื่อใดมันปกติ ก็ค่อยเป็นค่อยไป โอ๊ย ไม่มีรสมีชาติ เหมือนกับคนขับรถ แม่นบ่ พ่อทายจง ถ้าขับช้า ๆ มันง่วงนอนแม่นบ่ เพราะงั้นร้อยซาวแม่นบ่ พู้นแล้ว มันจึงไม่ง่วงเหงา ความกระตือรือร้น บางทีมันแอ็คทีฟ เขาว่าภาษาอะไร วิ (หัวเราะ) มันก็เก่งนั่นนา การปฏิบัติธรรมก็อย่างนั้น อย่างนั้น จะไปกลัวอะไรพวกเรา เก็บอารมณ์ลงไป อยู่คนเดียวลงไป อยู่กับหมู่ลงไป บางที หนูจะมาปฏิบัติ หนูจะเก็บอารมณ์ หนูจะไปทำวัตรหรือเปล่า หนูจะเก็บอารมณ์ หนูจะไปทานข้าวหรือเปล่า ผมจะไปทำยังไง ก็ไม่ต้องถามหรอก มันจะมีคำตอบอยู่ในตัวนั่นแหล่ะ ถ้าไปก็ไม่ผิด ถ้าไม่ไปก็ไม่ผิด ถ้ามันมีคำตอบ เห็นคำตอบ ถ้าไม่มีคำตอบ ไปก็ไม่ถูก ไม่ไปก็ไม่ถูก มันอยู่กับเราแท้ๆ การปฏิบัติธรรม บางทีมันก็ต้องมีการท้าทายบ้าง นะ เหมือนกับสมัยก่อน ไปเรียนไสยศาสตร์ เขาก็ฟันกัน ฟันให้ดูจริงๆ เขามีการท้าทาย ไม่รู้ว่าฟันแบบไหนหรอก ฟันกันจริงๆ จนหลังเอนไปนั่นล่ะ ปั้ง ท้าทายกัน แต่ก่อนที่จะฟันกันน่ะ มันก็ต้องมีอะไร ที่มันพอเพียง หลวงพ่อก็เคยฟันหัวแม่เหมือนกันนะ นะแม่สุดเนอะ(ถาม) เหอ ตกใจเลยอาจารย์วรเทพ (หัวเราะ) ขอให้ได้พูดสักหน่อย ก็ทิ้งไว้ตรงนี้ เสียหายมากนะ หลวงพ่อไปเรียนไสยศาสตร์มา เป็นหมอ แม่หลวงพ่อเนี่ยเป็นผี ใช่ไหมแม่สุด ถือผี ถือผีอะไรเยอะแยะไปหมดเลย เอ้าแม่สุดดู แม่หลวงพ่อไม่พอใจหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกให้เลิก เลิกได้แล้วเรื่องผีเรื่องสาง ไม่ต้อง อย่าไปพึ่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด จะไปที่ไหนที่ไหน หยุด แม่ก็ไม่ชอบ เห็นหน้าหลวงพ่อ หลับตาเลยเอาผ้าคลุมหัว เอาแต่นา เวลานี้ ฤดูนี้แหล่ะ ไปทำนามา กำลังจะนอนนี่แหล่ะ คลานออกมาหาหลวงพ่อ คลานออกมา มึงไม่รู้จักกูหรือ บักน้อย ๆ นี้ (หัวเราะ) กูนี่แหละ มเหสักข์หลักเมืองว่าซั่น แม่นบ่แม่สุดเนอะ มึงจะมาข่มมางายกูหรือ ท่านว่า คราวนั้นก็ไม่รู้อะไร เคยท่องคาถาใช่ไหม ไล่ผี (คาถา) มันก็สู้กับผีแล้วบัดนี้ คว้าได้ดาบขึ้นมา โอ้ มเหสักข์หลักเมืองหรือเนี่ย ฟันหัวแม่เลย (หัวเราะ) ล้มก๊อยลงไป โอ๊ยมึงมาฟันหัวกูจังได๋ หัวกูบ่แม่นแตกแล้วเหรอเนี่ย โอ๊ย บ่ได้ฟันหัวแม่ดอก ฟันมเหสักข์หลักเมืองแหล่ะ มันค่าอยู่เนี่ย โอ๊ยบ่แม่นหัว เช้าขึ้นมา ผมขาดเลย บางทีมันก็เป็นอย่างนั้น มันก็โชว์ฝีมือเหมือนกัน เหตุที่มันจะเกิด ทำให้เราสู้ ก็ต้องสู้ ประสาอะไรความหลง เนาะ ความทุกข์ประสาอะไร หือ ไปกลัวอะไร ไปกลัวทำไม ก็ต้องสู้นี่แหล่ะ มันค่อยเก่งนะ ตัวความง่วงเหงาหาวนอนนั่นแหละ เนี่ย เราเห็นอะไร เราเดินจงกรม เราสร้างจังหวะ มันมีแต่ความง่วง ริบหรี่ ๆ โอ๊ย จิ๊บจ๊อย มีแต่ความคิดฟุ้งซ่าน อะไร๊อะไรต่างๆ สู้ไม่ไหว สู้ไม่ไหว มันไม่ใช่หรอก มันไม่ใช่สติพูด มันเป็นกิเลสมันพูด มันเป็นกิเลสมันพูด อย่าไปเข้าข้างมัน ยึดความรู้สึกตัวเอาไว้ ตบขาลงไป รู้สึกตัวลงไป รู้สึกตัวลงไปเนี่ย
เพราะฉะนั้น อย่าไปพูดว่าหลวงพ่อฟันหัวแม่นะ มันมีเหตุอย่างนี้ ต้องเข้าใจกัน ฟันมเหสักข์หลักเมือง ฟันมามากแล้ว เรื่องผีเรื่องสางสมัยก่อนนะ เป็นอย่างนั้นสมัยเป็นหมอ พอมีสติมันจืดหมดเลย จืดหมดเลย ไม่มีแล้วแบบนั้น ไปเสกดาบ โดนดาบมันอ่อนเหมือนกับใบหญ้า จืดไปหมดเลย สติดีกว่า ไม่เอาอีกแล้ว นั่งหนังหนาแบบเนี่ย มันก็ไม่เอาอีกแล้ว มันต้องปกติ หนังอะไรจะมาหนา มีดดาบอะไรจะเป็นใบหญ้า มันมอมเมาตัวเอง ถ้าฟันเอาบ่อย ๆ จะหัวแม่ขาดก็ได้ มันก็ประมาทไปแล้ว หลายคนที่เรียนไสยศาสตร์ผิดพลาด มีเหมือนกันนะ ที่เขาเฮ็ดกันสมัยก่อนเนาะ พอได้ดาบฟันขาตัวเองนะ ขาขาดเลย นึกว่าตัวเองฝึก ไม่เหนียวซะแล้ว(หัวเราะ) มีเหมือนกันนะ เหออย่าไปเชื่อนะ ถ้ามองมีดเป็นใบหญ้า ผิดแล้ว โอ๊ย ขวัญเสียเลย พอมารู้ธรรมะเนี่ย โอ๊ย อาจารย์ทำไมสอนเราอย่างนั้น พอมาปฏิบัติธรรมกลับไปบ้าน อาจารย์บอกว่า มาๆๆ มานั่ง ปรกพระด้วย ปีนี้จะเอาพระออกหลายร้อยรูป คงจะดีแล้ว มึงหายาก หาพระมานั่งทรง พูดออกไปเลย ไม่ได้อะไร โอ๊ย อาจารย์ อาจารย์จะนึกว่าคนในโลกโง่เหมือนเราหรือ (.....) “ทำไมพูดยังงั้น อะไร๊(อาจารย์ถาม)” จะให้นั่งปรกพระ อาจารย์จะนึกว่าคนในโลกโง่เหมือนเรา คนเขาฉลาดกว่าเราก็มี ให้มันจืดนะ จะไปให้หลงโง่ หลงงมงายไม่เอา เอาความรู้สึกตัวเป็นสัจธรรม ไม่ใช่มีดดาบปลิวเหมือนใบหญ้า มันไม่ปลิว เหล็กมันไม่ปลิว มันหลอกเรา หลอกเราให้ทำผิดนะ อันนี้ ความจริงต้องอันนี้แล้ว ความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวนี่แล้ว เอาแต่พวกเรามาทางนี้กันเถอะ อย่าไปลองที่ไหนเลย มารู้สึกตัว มารู้สึกตัว นะแม่เพียรเด้อ (จ้า แม่เพียรตอบ) มันไปทางใด กลับมา ไปไหนก็กลับมา ไปไหนก็กลับมา ไปไหนก็กลับมา จะเป็นจะตาย จะร้ายจะดียังไง ก็ให้กลับมา ถ้ารู้สึกตัว ตบขาเลย รู้สึกตัว รู้สึกตัว ต่อไปมันไม่ได้ต้องตบขาตบแขนหรอก มันเป็น ถ้าทำให้ได้ ทำให้เป็น ไม่ใช่รู้ มันเป็น ทำให้มันเป็น ไม่ใช่รู้ ถ้าเรียนเพื่อรู้ เรียนง่าย ง่าย บอกเดี๋ยวนี้ก็จำได้
ธรรมมีอุปการะมากสองอย่าง สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะความรู้ตัว ตอบได้ รู้จำ ได้ใบประกาศมาห้อยฝา แต่ยังโกรธอยู่ไม่ใช่สติ ยังหลงอยู่ ก็ไม่ใช่สติ เอาใบประกาศเป็นวุฒิบัตร เอาไว้หลอกกัน คนเราก็ชอบหลอกกัน มันไม่ใช่ของหลอก สัจธรรมไม่ใช่ของหลอก เป็นของที่ใช้ได้ทันที ไม่ต้องมีเวลาหลอก ใช้ได้ทันที ใช้ได้ทันที เป็นของใช้ ไม่ใช่เอาไปโอ้ไปอวด เป็นของใช้ จะเวลาใดที่จำเป็นต้องใช้ ใช้ได้ทันที แล้วก็เป็นสมบัติของกายของใจ สติเนี่ย เป็นสมบัติของกายของใจ ความหลงไม่เป็นสมบัติของกายของใจหรอก สตินี่แล้ว สตินี่แหล่ะ สร้างเอา สร้างเอา กำลังพอมี ลู่มีทาง ไม่มืดไม่มน ไม่หลง กำลังเดินได้ นั่งได้ ยืนได้ นอนได้ กินได้ ถ่ายได้ สติสัมปชัญญะนี่ก็ต้องสร้าง พอๆ กันกับใช้ชีวิตส่วนอื่น หรือมากกว่าอันอื่นด้วยซ้ำไป เมื่อมันเป็นแล้ว มันก็เป็นไปทั้งหมดนั่นแหล่ะ ชีวิตทั้งชีวิตจะมีแต่ความรู้สึกตัว มีแต่ความรู้สึกตัว จะเข้าเก็บอารมณ์ หรือไม่เข้าเก็บอารมณ์ หลักมันก็อยู่ตรงนี้นะ อย่าหลงไปทางอื่น บางทีมันตกแหล่งความรู้ มีเหตุมีผล โอ๊ย บางทีก็ทะนุถนอม บางทีก็ มีอสัสาทะ พอใจ อย่าไปหลงมัน หลักมันก็คือการเคลื่อนไหว หลักของกรรมฐาน ต้นมันอยู่ตรงนี้ มันจะไปไหนมันต้องกลับมา อย่าไปเอายอดมา ต้องมีต้น มันจึงมียอด บางทีเช่น ความรู้ มีสติ มีปัญญา ปัญญามันเป็นผลของความรู้สึกตัว จะไปเอาปัญญาเลยมันก็ไม่ได้ ไม่ได้สร้างฐาน มีความรู้ มีความสุข ความสุขมันเกิดจากการที่สร้างสติ อย่าไปทิ้งตัวนี้ ถ้าไปเอานู่นเลย อยู่ไม่ได้กี่วัน หายหมดไปเลย จืดไปเลย เราอย่าทิ้งฐาน เหมือนเราเอาข้าวสาร เอาข้าวสุกมากิน แต่อย่าไปทิ้งข้าวเปลือก เราไม่ได้กินข้าวเปลือก แต่เรารักษาข้าวเปลือกไว้ เรากินข้าวสุก ข้าวสาร ข้าวสุก ถ้าทิ้งข้าวเปลือก มันก็มีกินไม่กี่วัน แม่นบ่พ่อทายก คือพ่อเปรมเฮ็ดนานี่ล่ะ ที่แท้ข้าวเปลือกพู่นเด้น้อ แม่นบ่น้อ กรรมก็คือการกระทำของเราเนี่ย มันจึงจะมีผล มันมีมรรคก่อน มันจึงมีผลนะ การปฏิบัติธรรมต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน อย่าไปทิ้งนะ อย่าไปทิ้งหลัก อย่าไปทิ้งฐาน เคลื่อนไหวมืออยู่เสียก่อน เคลื่อนไหวมืออยู่เสียก่อน ลำดับลำนำดูเสียก่อน จะเป็นยังไง จะสุขจะทุกข์ จะรู้หรือไม่รู้ อย่าเพิ่งโดดเข้าไปอยู่กับความรู้ อย่าเพิ่งโดดไปอยู่กับความสุข อย่าเพิ่งโดดอยู่กับความทุกข์ อันนั้นอย่าโดดไปโน่น หลักมันอยู่ตรงนี้ นิ่งไว้ นิ่งไว้ เกาะไว้ เกาะไว้ ยึดไว้ จนมันออกรากออกต้นจนแน่นหนา เป็นอเสขธรรม ไม่เสื่อม เหมือนต้นไม้ที่เราปลูกไว้ อย่างป่าไม้ที่เราปลูกไว้ พอที่จะยึดได้แล้ว ยึดพื้นที่ได้แล้ว ยึดพื้นที่ได้แล้ว เป็นไปได้แล้วที่จะเป็นป่าขึ้นมา พอมันเกิดราก เกิดลำต้น แข็งแรง ไม่ต้องรดน้ำแล้ว ต่อไปก็อาจจะไม่ต้องดายหญ้าแล้ว พอมันก็สร้างตัวของมัน ความถูกต้องมันก็สร้างความถูกต้อง ถึงคราวมันสะดวกมันก็ไปได้เลย การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน มันต้อง ถ้ามันไปได้ มันก็ไม่ต้องทำอะไรหรอก มันเป็นอเสกขาธัมมา ได้ยินไหม เคยได้ยินไหม เสกขาธัมมา อเสกขาธัมมา เคยได้ยินบ่พ่อยกว่าหลวงพ่อสวดให้ผีตายว่าซั่นเด้ล่ะ สวดให้คนเป็นๆ ฟัง เขาบ่ฟังเลย ไปเคาะกะโหลกโป๊ก โป๊ก โป๊ก โป๊กเอาบุญเด้อพ่อเด้อแม่เด้อ หลวงพ่อก็ กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพ๎ยากะตา ธัมมา สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวทนา บอกคนเป็น บ่แม่นสอนคนตาย เสกขาธัมมา อเสกขาธัมมา อะหีนาธัมมา อัชฌัตตาธัมมา ปะริตตา ธัมมา อัชฌัตตารัมมะณา ธัมมา พะหิทธารัมมะณา ธัมมา (บทสวด) รู้จักไหมล่ะ อัชฌัตตาธรรม ธรรมที่เป็นภายใน แก้ตัวนี้ อัชฌัตตาธรรม ธรรมภายใน ที่มันใช้ได้ มันหลงก็ต้องรู้ แก้ตัวเอง พะหิทธาธัมมาไปแก้ภายนอก เขาว่ากะกู เขาว่ากะกู นั่นแหล่ะ พหิทธาธรรม มึงมาว่ากะกูทำไม มึงว่ากะกู กูไม่ลืม มึงอย่าว่ากะกู พหิทธาธรรม ภายนอก ทำไม่ได้หรอก อัชฌัตตาธัมมา เข้าหาตัวเอง แก้ตัวเอง มันโกรธอยู่ รู้สึกตัวเอง หยุด อัชฌัตตาธรรม หยุดได้ทันที ได้ทันที เพราะเป็นเรื่องของเรา เรื่องของคนอื่นทำไม่ได้