แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เอาคำสอนพระพุทธเจ้า มาลำดับลำนำสู่กันฟัง เรียกว่าบทท่องจำ แต่ไม่ได้ลืมซะ ตามคำสอน พระพุทธเจ้าประกาศว่า มาเถิดๆ มาสู่ธรรมวินัยของเรา ธรรมวินัยของเราตรัสไว้ดีแล้ว ท่านจงเป็นผู้ประพฤติตามธรรมวินัยนั้นเถิด เพื่อเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง ถ้าผู้ใดสิ้นทุกข์แล้ว ก็บอกว่า จงปฏิบัติตามธรรมวินัยนั้นเถิดเท่านั้น แม้แต่ผู้สิ้นทุกข์ก็ตามธรรมวินัย ธรรมวินัยนี้เหมือนเส้นด้าย ที่ร้อยดอกไม้ ดอกไม้ต่างต้น ต่างเหล่าต่างพรรณ ต่างกลิ่นต่างสี เมื่อมาร้อยเข้าเส้นด้าย เอาเส้นด้ายไปร้อยเข้ากันได้แล้ว ก็ย่อมเป็นกลายเป็นพวงมาลัย ไม่กระจุยกระจายมีค่า พวกเราก็เช่นดอกไม้ ต่างต้น ต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างนิสัยใจคอ ที่เป็นมาอย่างไร ก็เมื่อเอามา เอาเส้นด้ายมาร้อยเข้ากันแล้ว ก็เป็นอันเดียวกัน อยู่ในลำดับอันเดียวกัน เป็นคน ๆ เดียวกัน อยู่ในเส้นอันเดียวกัน เช่นเรามีสติ เรานั่งอยู่นี้ ทั้งนักบวชทั้งฆราวาสอันเดียวกัน สติเหมือนเส้นด้าย สติเหมือนเส้นด้าย ถ้าเรามีสติก็อันเดียวกัน ถ้าไม่มีสติก็กระจุยกระจายกันอยู่
นี่พระพุทธเจ้าเชื่ออย่างนี้ เชื่อมั่นอย่างนี้ มาสู่ธรรมวินัยของเรา เมื่อใดเราอยู่ในเส้นด้ายมีสติ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์แน่นอน เพราะสติหรือเส้นด้ายนี้มันอยู่โดยชอบ ไม่กระจุยกระจาย นี่คือวัตรปฏิบัติที่เราเข้ามาสู่ธรรมวินัย เหมือนกับเรามานั่งอยู่บนพ่วงแพลำเดียวกัน ถ้าต่างคนต่างอยู่ในแพ ก็เป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ ไปสู่จุดหมายปลายทาง ถ้าเรารู้ มันก็ไปจากความหลง มันไปของมันเอง มันเป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ ธรรมชาติธรรมะกฎธรรมชาติ ทำอย่างนี้ มันเกิดอย่างนี้ ถ้าเรารู้ ความหลงก็หมด ก็น้อยลงหรือหมดไป ถ้าเราหลง ความหลงก็เพิ่มขึ้น ถ้าเราไม่มีสติ ความหลงเพิ่มขึ้น เหมือนกับแผ่นดินขาดน้ำ
ขึ้นปีนี้ ครึ่งปีแล้ว ก็แห้งแล้งไม่มีอะไรงอกงามขึ้น เราเกียจคร้านเราไม่มีสติ ชีวิตแห้งแล้ง ชีวิตแห้งแล้งคือเกิดปัญหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น อันพลิกชีวิตผู้ใดแห้งแล้ง ถ้าเรามีความเพียร มีสติเหมือนน้ำฝน ก็ชุ่มขึ้นมา มีได้ชุ่มขึ้นมาได้ ต้องทำเอาเอง ถ้าจะเปรียบเหมือนกับข้าวปลาอาหาร พ่อแม่หามาไว้ให้เราอยู่เรากิน เราไม่ต้องทำก็ได้ แต่ว่าความรู้สึกตัว อริยทรัพย์ภายใน ไม่มีใครหาให้เราได้ เราหลงเอง เราก็ทำบาปเอง ก็ย่อมเศร้าหมองเองไม่ทำบาปเอง ไม่หลงก็หมดจดเอง ความเศร้าหมองความหมดจดเป็นของ ของตน เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าของโคฉันนั้น มันไม่หนีไปไหน มันมีรอย รอยความหลง รอยความรู้ เท้าความรู้ก็มีรอย ไปสู่ทางหนึ่ง เท้าความหลงก็รอยไปสู่ทางหนึ่ง ไปคนละทางกัน
ถ้าชีวิตนี้ ถ้ามีภาวะที่รู้ ก็อุดมสมบูรณ์เป็นมรรคเป็นผล ความรู้เกิดมรรคเกิดผล ความหลงเกิดบาปอกุศล มันก็ไปแบบนี้ ถ้ามีความรู้ ไม่ต้องไปปรารถนามรรคผลนิพพาน มันเป็นไปเอง มันเย็นไปเอง มันหมดไปเอง ชีวิตมันก็จบเป็น มันแค่นั้น. เราฝึกหัดเอา อยู่ที่ไหนมีนิพพานอยู่ที่นั่น ไม่ใช่อยู่ที่ไหน มีแต่นรกอยู่ที่นั่น ถ้าเราผิดพลาดเรื่องนี้ก็เป็นไปอย่างนั้น ช่วยกันไม่ได้ บางคนมีความหลง บางคนไม่หลง บางคนมีความโกรธ บางคนไม่มีความโกรธ คนมีความหลง ก็มีความโกรธความทุกข์ คนไม่มีความหลง ก็ไม่มีความโกรธไม่มีความทุกข์ มันก็ต่างกัน ความรู้สึกตัว ทำให้เราไม่มีความโกรธ ความโลภ ความหลง ความทุกข์ ความหลงทำให้เรามีความโลภ ความโกรธ ความหลง ความทุกข์ มันเป็นอย่างนี้
ชีวิตของคนเรามันเป็นอย่างนี้ เราก็มีสิทธิที่จะต้องช่วยเหลือตัวเอง มีสติจึงมาดูแลกาย มาดูแลใจของเรานี้ให้มันคุ้ม ต่างคนต่างดูแลตัวเราเอง ชีวิตของเราก็ไม่มาก มีกาย มีใจ ปัญหาเกิดขึ้นที่กายที่ใจนี้ การแก้ปัญหา ก็แก้ที่กายที่ใจนี้ไม่ได้แก้ที่อื่น เย ธัมมา เหตุปัปภะวา เยสัง เหตุ ตถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มหาสะมะโณ พระพุทธเจ้าสอนเท่านี้ สิ่งทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ จะดับก็ดับที่เหตุ พระตถาคตสอนอย่างนี้ ครูของเราสอนอย่างนี้ ไม่ใช่ไปแก้ที่อื่น เหตุมันเกิดที่ไหน ว่ามีที่กายที่ใจ กายใจไม่มีสติ ก็เกิดหลง ป่าเถื่อน สำส่อน กายก็เถื่อน ใจก็เถื่อน เขาหอบเขาหิ้วไปไหนก็ได้ มาใช้ชีวิต ชีวิตมันต้องไม่เป็นอะไร ลองสัมผัสดู มีสติ มีสัมปชัญญะดู อย่าให้มันเถื่อน ให้กายมีเจ้าของ ให้ใจมีเจ้าของ
เจ้าของกาย เจ้าของใจ คือสติสัมปชัญญะ เหมือนสิ่งของวัตถุมีเจ้าของ สิ่งใดมีเจ้าของ สิ่งนั้นก็อยู่ได้ ไม่เสียหาย ถ้าสิ่งไหนไม่มีเจ้าของ สิ่งนั้นก็ เถื่อน สำส่อน สาธารณะ เกิดการเสียหายได้ ถ้าเป็นจิตก็เป็นจิตโสเภณี ต้องหอบหิ้วไปไหน กลางคืนว่าฝัน กลางวันว่าคิด ไหลเรื่อย ถ้าเรามีสติ มันก็ลิขสิทธิ์เป็นส่วนตัว มีสิทธิมันหลง มีสิทธิไม่หลง มันทุกข์ มีสิทธิไม่ทุกข์ มันโกรธมีสิทธิไม่โกรธ สิทธิเรื่องนี้เป็นธรรมาธิปไตย ธรรมาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องไปเรียกร้องจากใครอยู่กับเรานี้ จึงเป็นมนุษย์สมบัติ สมบัติของมนุษย์ สวรรค์สมบัติ สมบัติของมนุษย์ นิพพานสมบัติ สมบัติของมนุษย์ ถ้าเราไม่ใช้สิทธิ์ตรงนี้ มันก็เสียความเป็นมนุษย์ เสียชาติ เพราะเราไม่เคยดูแล ไม่เคยช่วย ไม่เคยขนส่งปัญหาออกจากกายจากใจ
เมื่อเราศึกษาปัญหา กลายเป็นปัญญา อย่างที่เราสวดพระสูตรติกรณคาถา ภารสุตตคาถา ถ้าเราไม่เอาของหนักออก ก็หนัก ไม่สลัดของหนักทิ้ง สุขก็หนัก ทุกข์ก็หนัก โลภโกรธหลงก็หนัก ยึดมั่นถือมั่นก็หนัก เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นผู้ด้อย เป็นผู้เสีย เป็นผู้อะไรๆ มันก็หนัก พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า สลัดของหนัก พระอริยเจ้าสลัดของหนักทิ้งลงแล้ว ไม่ยึดเอาของหนักขึ้นมาอีก ไม่ยึดเอาของหนักขึ้นมาอีก จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันเป็นไปได้แล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง คือถึงนิพพาน มันเป็นอย่างนี้ มันน่าที่จะเป็นสิทธิที่เราจะต้องใช้ให้เต็มที่ อัตตาธิปไตยเราก็อยู่ที่เนี่ย
อัตตาคือมีกายมีใจส่วนตัว มีสิทธิส่วนตัว กายนี้กายใจนี้ โลกาธิปไตยอยู่กับโลก มีสิทธิเท่าเทียมคน คนอื่น เป็นอธิปไตยของโลก ต่อไปก็ขนส่งไปถึงธรรมาธิปไตย ขนส่งเข้าถึงธรรม อาศัยวิทยาศาสตร์ ถ้าพูดปากเปล่าบอกไม่ได้ยิน วิทยาศาสตร์บังคับให้ได้ยิน พระพุทธเจ้าคงไม่มีอะไร แต่ว่าเราก็ชินเสียแล้ว ไม่ใช่อะไรต่าง ๆ ประกอบ
โดยเฉพาะหลวงตา นี่ก็เสียงไม่ค่อยมี อาภัพ พึ่งไม่ค่อยได้แล้ว เสื่อมหมด ไม่เต็มที่ การใช้ชีวิตไม่เต็มที่ อยากจะบอกจะสอน อยากจะทำอะไรต่าง ๆ ก็ทำไม่ได้ มันก็แค่นี้ชีวิตของเรา แต่ก็ได้ใช้ชีวิตมาในเพศของนักบวชเนี่ยพอสมควร คนมากราบมาไหว้ ไม่อาย อยู่กุฏิกินข้าวชาวบ้าน นุ่งห่มผ้าชาวบ้านที่นำมาให้ ก็ไม่ละอายเท่าไรแปลว่าคุ้มค่า เราใช้ชีวิตเพื่อแผ่นดินนี้ เพื่อโลกไม่ใช่ส่วนตัวเรา ทำอะไรเป็นของส่วนรวมเป็นสมบัติของโลก สมควรที่จะให้อยู่ในชีวิตแบบนี้ ต้องขออภัย แต่ว่าก็ทำอะไรไม่ได้เท่าที่ควร ล้มเหลวก็ว่าได้
สอนคนเกือบจะทุกวัน คนไทยก็ยังทะเลาะวิวาทกันอยู่ บางคนก็สอนไม่ให้กินเหล้า ก็ยังกินเหล้ากันอยู่ บางคนสอนไม่ให้สูบบุหรี่ ก็สูบบุหรี่กันอยู่ บางคนสอนไม่ให้โกรธ ก็ยังโกรธ ยังหลง ยังทุกข์ ปฏิบัติต่อหน้าต่อตา ไปถามดู ว่ายังทำไม่ถูก ดูหน้าบูด ๆ หน้าบึ้ง ๆ ตาแดง ๆ เหมือนกับหนัก เหมือนกับแบกช้างสักตัวหนึ่ง ไปถามดู เป็นยังไงหนู เขาเป็นหนุ่มสาว เขาก็พูดออกมาว่า “วันนี้หนูเครียด มันคิดมาก ง่วงก็ง่วง” หลวงตาก็บอกแล้วว่า ดูหน้าตาก็คงจะเป็นแบบนั้น ก็เลยบอก ก็เลยถามต่อไปว่า “ตอบใหม่นักปฏิบัติตอบอย่างนี้ไม่ถูกต้อง หลวงตาบอก ให้เห็นทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ ไม่ให้ไปเป็นไปกับมัน ตอบว่าหนูเครียด มันไม่ถูกต้องตามหลักของกรรมฐาน ถ้าเป็นการสอบก็ไม่ผ่าน สอบไม่ผ่าน เกรดไม่ดีต้องเรียนซ้ำ ถ้าเราเกรดดีก็ผ่านได้ง่ายๆ ตอบใหม่ จะตอบยังไง” “หนูก็เครียดจริง ๆ มันก็ง่วง” “หลวงพ่อบอกให้ หลวงตาบอกให้ดู เห็นอย่าเป็น มันเครียดเห็นมันเครียด มันง่วงเห็นมันง่วง เคยได้ยินไหม ก็ได้ยินทุกวัน ทำไมจึงไม่ทำแบบที่บอก ไปซุกซน ไปดื้อ ไม่รู้จักแก้ไขตัวเอง” ดูก็ทำท่าจะยิ้มขึ้นมา เปลี่ยนสีหน้าใหม่ แล้วตอบ “อ้อ วันนี้หนูเห็นมันเครียด” “เอออย่างนี้ใช้ได้ วันนี้หนูเห็นมันเครียดนั่นแหละ เห็นมัน อย่าเป็น มันเครียด มันไม่ใช่ชีวิตเรา” มันเป็นอาการอันหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับกายกับใจเรา แปดหมื่นสี่พันอย่าง ที่มันจรมา ทำให้เศร้าหมอง ทำให้หนัก ทำให้หลง ประสาอะไรความคิดเฉย ๆ มันขี่ช้างขี่ม้ามาไหม หลวงตาเลยบอกว่า “กิเลสเหมือนหมาตัวหนึ่ง สติเหมือนช้าง หวั่นไหวอะไร มันเครียด ก็คิดเป็นผู้เครียด หน้าบูดหน้าบึ้งเข้าไป มันง่วงก็ง่วง อ่อนแอไป เข้มแข็งในความอ่อนแอ” หลวงตาบอก เวลามันง่วงตื่นตรงนั้น ของหนักเป็นเบาขึ้นมา ของหลงเป็นรู้ขึ้นมา มันตรงกันข้าม ความหลงเป็นความรู้ตรงกัน ความโกรธความไม่โกรธตรงกัน ความทุกข์ความไม่ทุกข์ตรงกัน มันมาพร้อมกัน ปัญหามากับปัญญา ความทุกข์มากับความไม่ทุกข์ ถ้าไม่เปลี่ยนตรงนี้ มันก็ไปไม่ถึงไหน โกรธจนตาย หลงจนตาย ทุกข์จนตาย เราจะหลงจนตาย โกรธจนตาย ทุกข์จนตาย เราจะไม่แก้ไม่เปลี่ยนบ้างหรือ เราก็เปลี่ยนได้
เห็นกับเป็นมันต่างกัน เห็น พระพุทธเจ้าสอนให้เห็น มันมาให้เราเห็น ไม่ใช่มาให้เราเป็น ความหลงเราก็เห็น สติเหมือนดวงตาหน้ารอบ อุชุกายัง ปะริมุขัง สะติงทุกขัง อุปัฏฐะเปตวา ผู้ใดมีสติเป็นหน้ารอบ สติเป็นหน้ารอบ สติเป็นวินัยคือไม่เผลอ เหมือนพระขีณาสพผู้มีสติเป็นวินัยมีหน้ารอบอยู่เสมอไม่เผลอ เนี่ย พระขีณาสพ คือมีสติเป็นวินัย ขีณาสพคือพระอรหันต์อรหันต์น้อย ๆ นิพพานน้อย ๆ นิพพานชิมลอง มันหลงไม่หลง ความหลงหมดไปแล้ว เย็นลงแล้ว ความโกรธไม่โกรธ ความโกรธหมดไปแล้ว เหลือความไม่โกรธเย็นลงแล้ว มันเย็นในความร้อน ความโกรธมันร้อน ความทุกข์มันร้อน มันเย็นลงที่นั่น การเย็นแบบนี้ เราเรียกว่านิพพาน สัตว์ดุร้าย สัตว์พยศ สอนไปสอนมามันหมดพยศ เรียกว่าสัตว์นิพพาน ช้างมันพยศอยู่ในป่า ต้องหัดมัน มันหายพยศเอามาใช้งาน ม้าพยศเอามาฝึกให้ใช้ได้ เป็นช้างศึก เป็นม้าศึกรบได้ มันหมดพยศ ชีวิตเราหมดพยศ ถ้าม้าหมดพยศช้างหมดพยศ ก็เรียกว่านิพพาน เท้ามันหมดร้อน ก็เรียกว่าเข้านิพพาน
มันเย็นหมดทุกข์ หมดสุข หมดโลภ หมดโกรธ หมดหลง. เรียกว่านิพพาน ไม่ใช่ไปบ้านไหนเมืองไหน. มันอยู่ในกายในใจเรานี้ นิพพานที่ตรงนี้ อยู่ที่ไหนมีนิพพานอยู่ที่นั่น คืออยู่ที่กายที่ใจเรานี้ อย่าทำให้กายใจมีปัญหา หัด เวลามันหลง หัดให้มันรู้ ให้มันรู้ เป็นเจ้าของมันไว้ ความรู้นี้ไม่ใช่ไปขอคนอื่น จะรอไปทางไหน ไม่ใช่เอาอื่นมาต่อรอง ฉันป่วย ฉันแก่ ฉันเป็นหนุ่มฉันเป็นวัยรุ่น อย่าไปเกี่ยวข้องแบบนั้น
อันความรู้ความหลง ไม่เกี่ยวกับหนุ่มกับแก่ มันอยู่กับกายกับใจเรานี้ ทุกคนมีกายมีใจอันเดียวกัน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ต้องอ้างว่าเป็นนักบวช หรือไม่เป็นนักบวช เป็นสามัญลักษณะเสมอกัน แต่นักบวชก็ใช้ชีวิตแบบนักบวช หัดเพื่อเปรียบเหมือนกับนกมีปีกบิน นักบวชมีจีวร มีบาตรเป็นปีก พร้อมจะบินไปไหนมีเท่านี้ ไม่เหมือนกับญาติโยมมีลูกมีหลาน ต้องรับผิดชอบ ไม่ให้ทอดให้ทิ้ง การสอนเรื่องนี้ไม่ให้ทอดทิ้งลูกหลาน ให้ดูแลกัน ปล่อยวาง ไม่ใช่ให้ทอดทิ้ง วางใจเฉยๆ ก็ยิ่งดี มีลูกมีเมียก็ยิ่งดี จะได้เป็นแบบอย่างจะได้ช่วยกัน ยิ่งขยันกว่าเป็นนักบวช ใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ อยู่ด้วยกัน พูดด้วยกันได้ยิน ทำให้กันดู แล้วก็ทำให้ตัวอย่างอาจจะดีกว่าคำสอนด้วยซ้ำไป มีประโยชน์ เห็นหน้ากันด้วยนิพพาน
ภรรยาเห็นหน้าสามี ภรรยาได้นิพพาน เพราะหน้าสามีชุ่มฉ่ำ ไม่บูดบึ้งตึงเครียด เห็นหน้าก็ดีใจ เย็นใจ สามีเห็นหน้าภรรยาก็ได้นิพพาน ถ้าได้เห็นหน้าลูก ก็ได้นิพพาน มีแต่คนดี ๆ พูดออกมาเป็นเสียงดี ๆ ชื่นใจ ได้ยินเสียงลูกพูดกันมีความสุข ลูกเต้าได้ยินเสียงพ่อแม่พูดกันมีความสุข สามีภรรยาเห็นกันมีความสุข มันก็เป็นประโยชน์ อย่าทำให้กันเดือดร้อน อย่าทำให้กันหนักเป็นทุกข์ ให้มันเย็น เห็นหน้ากันมันเย็น จนพราหมณ์เห็นหน้าพระพุทธเจ้า ปัดโธ่ พระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต พราหมณ์กวาดบ้านอยู่หน้าบ้าน เห็นพระพุทธเจ้าอุ้มบาตรเดินไปบิณฑบาต มองแบบหลบไม่ได้ก็เลยวางถาดลง ปัดโธ่ ปัดโธ่อะไร หา..สวยหรือ ไม่เหมือนน่ะสาวสวยหนุ่มสวย มีแบบนั้นไหม ปัดโธ่ สาวสวยน่ะไม่ใช่แบบนั้น ปัดโธ่ ๆ ใครมีสามีอย่างนี้ภรรยาได้นิพพานเพราะอะไร หน้าตามันเย็น ใครมีภรรยาอย่างนี้ สามีได้นิพพาน ใครมีลูกอย่างนี้ พ่อแม่ได้นิพพาน ปัดโธ่ นี่ก็ดีมีครอบมีครัวจะได้ช่วยกัน ไม่สอนให้ทอดให้ทิ้ง อยู่ที่ไหนก็อยู่ในหน้าที่ของเรา เรามาปฏิบัติธรรม ก็มาเป็นคนดี ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ถ้าเป็นคนดีอยู่ที่ไหนก็ทำดี ถ้ารักกัน ไม่ใช่รักด้วยความคิดอาลัยอาวรณ์ รักพ่อรักแม่ก็ต้องเป็นคนดี รักภรรยาสามีต้องเป็นคนดี ไว้เนื้อเชื่อใจอันนี้แหละ ให้ปล่อยวางทางจิต ไม่ใช่ให้ทอดทิ้งกัน
ถ้าใครที่จะไม่เป็นทุกข์เดือดร้อนก็ไปได้ เช่นพระพุทธเจ้าสิทธัตถะไปบวช ไม่ใช่ทิ้ง ดูแล้วตกลงกันแล้ว พิมพาก็ไม่ลำบาก ราหุลก็ไม่ลำบาก มีสนมกำนัลในมากเลี้ยงดู พิมพาก็มีปราสาทสามฤดูอยู่กับพระเจ้าปู่พระเจ้าย่า ทรัพย์สินศฤงคารไม่ลำบาก พิมพาก็รักราหุล สิทธัตถะก็รักพิมพา รักความรักสองคน ความรักของเรามีเพียงสองคนไม่เพียงพอ ให้ความรักของเรารักคนทั้งโลก และรักคนทั้งโลกต้องช่วยคนให้พ้นการเกิดแก่เจ็บตายให้ได้ ถ้าคนยังมีการเกิดแก่เจ็บตายนี้ เราไม่มีประโยชน์ ถ้าเราไม่เสียสละใครจะเสียสละ ใครจะศึกษาเรื่องนี้
ตกลงกัน ไม่ใช่ทอดทิ้ง เคลียร์เลยเอาเลยเสด็จพี่ เอาเลยเสด็จพี่ ไม่ต้องห่วง อย่าห่วง เวลาไปทรมานก็ได้ ก็ไม่ได้ห่วงลูกห่วงเมีย เพราะพิมพาเคลียร์แล้ว เอาเลยเสด็จพี่ ไม่ต้องกังวล ขณะเสด็จออกบวชวันแรก พระเจ้า สุทโธทนะ พิโรธโกรธหนัก ด่าว่า อำมาตย์มาถามพิมพา พิมพาก็นั่งอยู่ในปราสาทอุ้มราหุลอยู่ พิมพาพูดคำเดียว เสด็จปู่ไม่ต้องไปตาม อย่าไปตามเลย ไม่ต้องเป็นห่วงพระองค์หรอก ไม่ต้องไปตาม ตามไปก็ไม่กลับมา พูดกันสุดความสามารถแล้ว ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง ให้สิทธัตถะเสด็จไปตามพระองค์ที่ได้ตั้งใจเถิด เสด็จปู่ก็หยุดนิ่ง ไม่พูดอะไร เงียบ พระเจ้าสุทโธทนะ เงียบ
อย่าไปคิดอะไร มาปฏิบัติธรรม ลาพ่อลาแม่มาบวช บอกลูกบอกเต้ามาบวช มาปฏิบัติ พ่อแม่เมื่อวานเขาบวชกันต้องเจ็ดลูก เสมือนว่าหว่านเมล็ดโพธิ คิดหวังว่าลูกชายจะเป็นคนดี ได้มาบวชได้มาอบรม มาปฏิบัติธรรมคงจะดี ปรารถนาให้ลูกเป็นคนดี ก็หว่านพืชลงไป ให้มันเกิดความดีขึ้นมา มาศึกษาปฏิบัติธรรม บวชคือ บอ.ใบไม้ วอ.แหวน ชอ.ช้าง เป็นภาษาบาลี ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็เรียกว่าปะวะชะ ปะวะชะแปลว่าดำริหนีจากความชั่วไปสู่ความดี ความชั่วมีเท่าไหร่หนีหมด พยายามหนี ความดีมีเท่าไหร่พยายามทำ มันต้องดีแน่นอน มันหลงไม่หลง เปลี่ยนหลงเป็นรู้ มันโกรธไม่โกรธ เปลี่ยนโกรธเป็นไม่โกรธ
เชื่อไหม ความโกรธดีไหม หา..แม่ชี ความโกรธดีไหม กินข้าวแซ่บบ่ นอนหลับบ่ จักฮู้จักข้อยเซ่าความโกรธเนี่ย คืนหนึ่งติ สองมื้อมีบ่ โกรธสองวันมีไหม(หัวเราะ) กูได้โกรธ ตายก็ไม่ลืมน่ะ เว้ายังไซเตอะ ถ้ากูได้โกรธ ตายก็บ่ลืมน่ะ ถ้ากูโกรธกูไม่ด่ามัน กูไม่ยอม เป็นอย่างนั้นซันบ่ มันดีปะนั้นติ หยั่งบ่ลืมมัน เปลี่ยนมันซะ ลองเปลี่ยนดูซิ เวลามันโกรธนั่นแหละลาภเกิดขึ้นแล้ว จะได้เห็น เห็นความโกรธ อู้ย...เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธ สมน้ำหน้าความโกรธ มันถูกต้องที่สุด เวลามันหลงเปลี่ยนหลงเป็นรู้นี่มัน อู้ย...ถูกต้องที่สุด ไม่เคยใช้ชีวิตแบบนี้เลย
เกือบจะ 30ปี มาศึกษาทางนี้ หลวงพ่อเทียนสอนเวลามันหลงคิดไป ไม่ได้ตั้งใจ รู้ขึ้นมา ปัดโธ่ มีรสชาติมาก ขยันดูนี่ เห็นมันหลงนี่ ปัดโธ่ มันได้บทเรียนดี๊ดีน่ะ ยิ่งเห็นมันโกรธนี่ยิ่งได้บทเรียนดี มันเคยโกรธมา เป็นรอย เหมือนรถเบอร์สองมือสอง ถูกชนมาเหมือนกัน รอยรักมีไหม มีไหมแม่ชี มีรอยรักไหม (หัวเราะ) รอยเกลียดมีไหม โกรธใครมาบ้าง มีเหมือนกัน ปัดโธ่ มันก็ต้องเห็นเนี่ย ปัดโธ่ ได้ช่วยตัวเองแล้ว ได้ช่วยตัวเองแบบนี้จริง ๆ น่ะ กางเก่าขึ้นเรื่อย ๆ ถ่างขึ้นมา เหมือนกับซัด เวลามันหลง เหมือนกับรู้สึกตัวมันซัดออกไป อยากจะเอามือมาลูบหน้าอก หา...เวลามันรู้สึกตัวขึ้นมา ขยัน อย่าให้มันหลง จะได้รู้มัน บางทีประมาททำท่าคิดไป ทำท่าคิดไป อ้าวโกรธดูสิ เราว่าอย่างนี้น่ะโกรธน่ะ เขาทำกับเราอย่างนี้น่ะน่าโกรธไหม โอ้ย อย่าให้โกรธเถอะ ข่มขืนตัวเราทำไม่ลง บอกให้มันโกรธ โกรธสิ เอาสิ น่าจะโกรธน่ะ ไม่โกรธก็เป็นหมาตัวหนึ่งล่ะ เคยพูดไหม ถ้าเขาว่าขนาดนี้ ไม่โกรธ เหมือนหมาตัวหนึ่งล่ะ บัดนี้โกรธ โอ้ย..อย่าให้โกรธเถอะ โอ้ย ข่มขืน ข่มขืนตัวเองไม่ลง อายตัวเอง ดูหัวก็หัวโล้น ๆ ดูผ้าจีวร เขาให้ข้าวมากิน เขาก็พ่อก็ไหว้แม่ก็ไหว้ มานั่งโกรธแบบนี้ มานั่งทุกข์แบบนี้ อะไรมันทำไม่ลง
อันนั้นมันดีที่สุด เปลี่ยนความโกรธเป็นไม่โกรธ เปลี่ยนความหลงเป็นความไม่หลง เปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ มันก็ไปเรื่อย ๆ ถ้าจะมีน้ำหนักสัก 100กิโล เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปเบา ๆ อุ๊บ..ปุ๊บเบาใหญ่สลัดไปเลย จ๊ะเอ๋ไปเลย(หัวเราะ) หมดไป 60กิโล เหลืออยู่ 40กิโล วัดดู อ้าวมันเป็นอย่างนี้หรือเนี่ย มันเป็นอย่างนี้หรือ เดินเหมือนกับไม่เหยียบดินน่ะ เคยไหม ไปหามของหนักๆ อ่ะ เวลาหาบของหนักเดินทางไกล ๆ มีคนมารับหาบออกจากบ่า เกือบจะเดินไม่เป็น หลวงตาเคยหาบหน่อไม้ มาเอาหน่อไม้บนภูเขาอยู่บ้านหนองแกโน่น มาหาบหน่อไม้ ยัดเอา เผาปลอกเปลือก ยัดใส่ตะกร้า ยกไม่ขึ้นต้องนั่งลง เอาไม้พายหาบ มีคนมารับหาบหน่อไม้ก็เอา เดินไม่เป็นเลย เซโซะเซโซไปเลย มันเบา กายลหุตาเบากาย จิตลหุตาเบาจิต มีได้กับผู้ปฏิบัติต่างเก่าล่วงภาวะเดิม หลงเปลี่ยนดูสิ อย่าประมาท เวลามันหลงรู้ เวลาเมื่อไรรู้ขึ้นมา นี่คือจึงจะเป็นการปฏิบัติ มันมีไหม ถ้ามีหลง มีไหม อย่าหยุด ถ้ามันหลง รู้สึกตัวเรื่อยไป เอาจนมันไม่มีน่ะ เรียบ ๆ ๆ น่ะ
เอานินทาสรรเสริญ สรรเสริญดีใจ นินทาเสียใจ ใช้ไม่ได้ คุ้มร้ายคุ้มดี ไม่ใช่ชีวิต ชีวิตมันไม่เป็นอะไร มันไม่เป็นอะไรแม่ชี หา..ไม่เป็นอะไรน่ะ เป็นอย่างนี้ มาตรฐานๆ ชีวิตของมนุษย์ ถ้าอันอื่นไม่เป็น มนุษย์เท่านั้นที่เป็นเรื่องนี้ สัตว์เดรัจฉานพัฒนาไม่ได้ มนุษย์พัฒนาได้ เรียกว่า กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นลาภอันประเสริฐ พวกเราเนี่ยเหมือนกับว่าลาภของเราแล้ว ยกมือขึ้นรู้ไหม รู้ไหม วางลงรู้ไหม นั่นแหละหน่อโพธิ หน่อโพธิ มือวางไว้พลิกขึ้นรู้สึก นี่แหละโพธิ มีโพธิ รู้ ๆ ๆ ไปนะ