แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
หลวงปู่เทียนสอน ให้มีสติสัมปชัญญะโดยการสร้างจังหวะ 14 จังหวะ เราก็ทำดูแล้ว ก็อยากบอกอยากสอนให้ อยากชวนให้ทำดู ให้สัมผัสดู หลวงพ่อเทียนสอนให้เรารู้จักรูปธรรมนามธรรม สอนให้พวกเรามารู้จักรูปธรรมนามธรรม มันมีค่า และเป็นรสชาติของชีวิต เสมือนเราได้กินอาหารดี ๆแล้วคิดถึงญาติพี่น้องบุตรภรรยาสามีของตน หลวงปู่เทียนสอนเราให้เห็นความคิดที่มันลักคิด มีสติมันเกิดรสชาติตรงนั้นอีก มันเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ มันมั่นใจ ก็อยากบอกอยากสอนคนอื่น ให้เห็นเรื่องนี้กันบ้าง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นของเอาไปฝากกัน เป็นการชวนให้ทำ ถึงจะพบเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่เหมือนอาหารดี ๆ นำไปฝากกัน อันนั้นก็ทำได้แต่ว่าเรื่องนี้มันทำไม่ได้ ก็มีวิธีเดียวคือ จะต้องมาอยู่ในสภาพอย่างนี้ มาทำอย่างนี้ มีผู้พูดให้ฟัง มีผู้ทำมันจึงเกิดขึ้น
อะไรก็ตามเถอะถ้าเรามีสตินี่ จะเป็นความยากก็ช่างหัวมันถ้าเรามีสติ จะเป็นความง่ายช่างมันถ้าเรามีสติ เป็นความสุข ความทุกข์ ความโลภ ความหลง ช่างหัวมัน จะเป็นความยากจนมั่งมีอะไรก็ตามช่างหัวมัน ว่าแต่เรามีสติ หรือจะเปรียบเหมือนว่า ถ้าเราขยันหมั่นเพียรจะจนช่างหัวมันจะรวยช่างหัวมัน ไม่ต้องกลัวถ้าเราขยันหมั่นเพียร ไม่สุรุ่ยสุร่าย มีความเห็นชอบ ตั้งใจชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ทำงานชอบจะเป็นเรื่องใดก็ตาม มันก็มีหลักอยู่ตรงนี้ชีวิตเรา นี่คือสูตรสำเร็จเป็นหลักถูกต้อง เหมือนเราสวดเมื่อกี้นี้ “กาลามชน”
ในหมู่บ้านกาลามชนนี้ เป็นทางผ่านของนักสอนศาสนา ครูทั้ง 6 ก็ไปที่นั่น ปกุธกัจจายนะ อชิตเกสกัมพล สนชัยเวลัฏฐบุตร อาสันธิสาปราโมทย์ ผ่านบ้านตรงนี้ เพราะเป็นทางผ่านของนักสอนศาสนาสมัยต้นๆ ที่พระพุทธเจ้าก็เคยไปผ่านทางนี้ หมู่บ้านพวกกาลามชนก็มาหาพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นครูคนสุดท้าย ครูทั้งหกเกิดก่อนพระพุทธเจ้าของเรา คือว่าสอนกันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเดินผ่านไป ก็ไปสอนสัมมาทิฐิ มีความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ตามใจชอบอะไรต่าง ๆพวกหมู่บ้านกาลามชน มาฟังก็โวยวายขึ้นก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี อาจารย์อาสันธิสาปราโมทย์ก็สอนอย่างนี้ อาจารย์สนชัยเวลัฏฐบุตร ก็สอนอย่าง อธิกกำพล ก็สอนอย่างนี้ ปกุธกัจจายนะก็สอนอย่างนี้ ท่านมาก็มาสอนอย่างนี้จะให้เราเชื่อใคร พระพุทธเจ้าก็ตรัส อย่าเชื่อขึ้น 10 อย่าง อย่างที่เราสวดเมื่อกี้นี้ จะเชื่อใครล่ะ เชื่อการกระทำของเรา มันมีสติ มันเป็นยังไง มีความหลงมันเป็นยังไง มีสติจะทุกข์ก็ช่างหัวมันเป็นอย่างนั้น มีสติจะสุขก็ช่างมัน มันจะเหนือทุกสิ่งทุกอย่างไปเลย อันนี้ไม่ต้องมาเชื่ออะไรกันเอาไปทำดูเอาไปประกอบดู เราหิวข้าวเราต้องกินข้าว ขณะกินข้าวอยู่นั้นนะ จะอิ่มก็ช่างหัวมัน จะไม่อิ่มก็ช่างหัวมัน เราเคี้ยวอาหารกลืนลงไปทุกคำทุกคำ ตอนอิ่มจะต้องถามใครมั้ย ฉันอิ่มแล้ว ไม่ต้องมีคำถาม ถ้าเราเคี้ยวอาหารกลืนไป แต่อย่าไปคิดว่าอันนี้ อันนี้ไม่อร่อย อันนี้ชอบ เอาความหิวพาให้กินอาหารอาจจะไม่ย่อย เพราะอารมณ์มันเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารก่อน หรืออาจจะไม่กินไม่ได้
สมัยเป็นเด็กเลี้ยงควาย ชื่อว่าไอ้เต็ม หิวข้าวมาก ไม่ห่อข้าวไปเลี้ยงควาย กลับมาบ้านหิวข้าวร้องไห้ เวลากินข้าวถือค้อนไว้ อย่ามากวนนะ โกรธเวลากินข้าวนะห้ามใครมากวน ห้ามใครมารบกวน เพราะเขาหิว ความหิวก็อาจทำให้เกิดศึกสงครามได้ หิว หึง หวง เกิดศึกสงครามได้ เพราะฉะนั้นเนี่ยถ้าเรามีสติเนี่ย มันจะเป็นยังไง เรากินข้าวไม่ใช่เอาความหิวมากิน เรามีสติอย่างพระฉัน จะไม่เป็นไร เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน อะไรต่าง ๆ ที่พระท่านฉันพิจารณาก่อน พิจารณาแล้วจึงเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วจึงเล่นของอันหนึ่ง พิจารณาแล้วจึงบริโภคของอย่างหนึ่ง การย่อย การเคี้ยว ชีวิตเราต้องขบต้องเคี้ยว การที่ขบเคี้ยวคืออะไร คือสติสัมปชัญญะ เรารู้สึกก่อนพูดก่อนทำก่อนคิด มันตรองดีแล้ว นั่นก็ใช้ประโยชน์ได้ การพูดก็ใช้ได้ การคิดก็ใช้ได้ การกระทำก็ใช้ได้ ถ้าเราขาดสติมันก็หลุดไปแล้ว พูดผิด ทำผิด คิดผิดไปแล้ว นี่แหล่ะคือกรรมฐาน เราจะต้องมาฝึกหัดกัน คำถามต่าง ๆ อาจจะไม่มี แม้มันเกิดขึ้นขณะที่เราปฏิบัติธรรม เจริญสติ เห็นนี่มันยาก มันง่าย จะทำยังไง จะทำยังไง ไม่เป็นไรถ้าเรามีสติ ช่างหัวมัน มันยากช่างหัวมัน มันง่ายช่างหัวมัน มันผิดช่างหัวมัน มันถูกช่างหัวมัน เรารู้ไป รู้ไป มันเฉลยไปเอง ปัญหาต่าง ๆ มันจะเฉลยไปเอง
เหมือนเราเดินทาง เหมือนหลวงตาพูดเมื่อวานนี่ หลวงตาก็เป็นนักเดินทางสมัยยังเป็นหนุ่ม เพราะไม่มีรถมีเรือ เกี่ยวข้องกับญาติพี่น้อง ซึ่งก็ไปขอนแก่น หลาย กม. เมื่อไหร่จะถึง เมื่อไหร่จะถึง ไม่ต้องไปคิดมัน เดินไปเรื่อย ๆ เดินเหนื่อยๆ ก็ช่างหัวมัน ร้อนก็ช่างหัวมัน ปวดเท้าปวดฝ่าเท้าก็ช่างหัวมัน สมัยก่อนเขาไม่ใส่รองเท้านะ เดินก็ทางดินทรายบ้าง ร้อนบ้าง แดดบ้าง กะโหยกกะเหยกเข้าไปในตรงไหนที่มีหญ้า พอรองฝ่าเท้าเหยียบไป ถ้าเหยียบดินทรายเนี่ยมันร้อนมาก ฝ่าเท้าก็บวมแดง แต่ว่าทราบไหมฝ่าเท้าของเราก็พัฒนาตัวมัน เดินหลายวันๆ มันก็ด้านขึ้นมา ไม่มีรองเท้าหรอกสมัยโบราณตั้งแต่สี่สิบห้าสิบปีไป เวลาไปป่าหนามเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไปตัดไม้มาไผ่หญ้าเอาต้นหนามด้วย ไม่มีรองเท้าใส่ เหยียบไป เพราะมันฝ่าเท้ามันหนา เหยียบเข้าไปเหยียบหนามหักคา ไม่รู้สึกเจ็บ มันก็พัฒนาตัวมัน อะไรก็ตามมันเป็นทุกสิ่งๆ เกิดแต่เหตุ จะดับก็ที่เหตุของมันไป ให้ปรับตัวของมันไปเอง ถ้าเรามีสตินะ ถ้าเป็นความรู้สึกตัว ความถูกต้องก็มาเป็นพวง เป็นไปเอง ถ้ามีความหลง ไม่ถูกต้องก็มาเองเป็นพวงเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะตะกุกตะกิดตรงนั้นตรงนี้
โบราณท่านว่าหรือ คณะสอน นักสอน ครูสอนว่า เหมือนจับปูใส่กระด้ง ถ้าเวลาเราเจริญสติมันหลง ยากหรือมันหลง ไปตะครุบความหลง แล้วเรามีสติมันคิดไป ไปตะครุบความคิดแหล่ะ มันยากอย่างนั้นแหล่ะ ไม่ใช่ ไปไล่ความคิด ไปห้ามไม่ให้มันคิด เอาผิดเอาถูกกับการกระทำของตนเอง ไม่ใช่เลย ไม่ใช่จับปูใส่กระด้ง มันมาเป็นพวง มันผิดมันก็รู้สึกตัวมันจะถูก มันผิดทำให้ถูกได้ ความทุกข์ทำให้รู้ได้ จึงเป็นเรื่องที่ง่าย เป็นเรื่องสะดวกกว่าการกระทำอื่นใด
การเจริญสติเนี่ย บางทีเราก็ไปออกไปข้างนอกเกินไป เรื่องอย่างนี้มันเกิดกับใคร เกิดกับเราเอง ไม่ใช่ไปใครมาสอน ประสบการณ์ เอาผิดเอาถูกกับผู้กับคนมาก ใครทำไรคนนั้นผิดคนนี้ถูก เราชอบคนนั้นเราไม่ชอบคนนี้ เลือก บ้า ไปอยู่กับหลวงปู่เทียนเนี่ย ครูอาจารย์ท่านอยู่ก่อน เขาก็ดูแล้วก็ไม่ชอบ ดูใครก็ไม่ชอบเปรียบเทียบ “ท่านเป็นพระเราเป็นโยมยังสู้เราไม่ได้เลย” เออ..มันบ้า ๆบอ ๆ ไปนะ อุปาทาน สำคัญดีกว่าเขา เขาเลวกว่าเรา เปรียบเทียบเอาผิดเอาถูก ขณะที่ไปอยู่กับหลวงปู่เทียนก่อน เป็นผู้สอนเราก็มีบางครั้งบางคราว แต่การกระทำคนละอย่างกัน เอาเป็นบ้า เอาผิดเอาถูกกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ “กุฏิหลังนั้นดี กุฏิหลังนี้ไม่ดี คนนั้นดี คนนี้ไม่ดี” อะไรก็เลือกเอาดีเอาไม่ดี เพราะสิ่งเหล่านั้นมันทำให้เราบุกเบิกผ่านไป
หลวงปู่เทียนสอนเรามีสติ เอ้า..เดินอยู่นี่มีสติ เอาอะไรมาคิดเล่า นั่งยกมือรู้สึกตัว โอ้..มารู้สึกตัวเนี่ย เสียเวลากับความคิด หาผิดหาถูกกับสิ่งอื่นคนอื่น แม้บางทีหลวงปู่เทียนไม่ได้อยู่ เอ้า..หลวงปู่เทียนช่วยเราได้แหล่ะ บางทีสมัยก่อนจะตามหลวงปู่เทียนไปก็ไม่มีปัญญา ค่ารถค่าเรือไม่ค่อยมี ไม่ค่อยมีปัจจัย จำเป็นต้องรับกรรม ตกอยู่ที่นั่น แล้วก็ต้องอยู่ที่นั่น อดอยากก็อยู่ที่นั่น อดจนกินผักหนอกกับน้ำพริก เห็นอาจารย์สมหมาย ทีไรนี่ชื่นใจ พากันหิวข้าวเอาผักหนอกมาจิ้มน้ำพริก เอาผักหนอกมาจิ้มน้ำอ้อยอิ่มเหมือนกินข้าวเลย เป็นกะละมังๆเลย
เอ้..เราไปดู เราไปอยู่ไต้หวัน เนี่ย อาจารย์ที่ดังๆ อยู่ไต้หวันนะ ที่เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ที่เยยอะแยะเนี้ย ประวัติของท่าน ท่านมาอยู่ในถ้ำไม่กินอาหารหลายเดือน ก็เลยดังขึ้นมา เราไปดูว่าตรงที่ท่านอยู่น่ะมีถ้ำเล็ก ๆ บริเวณถ้ำก็มีน้ำซับน้ำซึม ผักหนอกเต็มไปหมดเลย งามด้วย โอ้ย..ท่านอาจจะกินผักหนอกด้วย เราเคยกินผักหนอกด้วยเหมือนกัน ฮ่ะฮ่ะฮ่า.. อยู่ได้นะ ความยากความจนทำให้เราเข้มแข็งได้ เพราะประสบการณ์ ในการปฏิบัติก็เหมือนกันน่ะ ความทุกข์ความยากก็เหมือนกันน่ะ ความสะดวกก็เหมือนกัน จะไปเอาผิดเอาถูก เอาไปหาอันเป็นใหญ่กว่าความรู้สึกตัว จะร่ำรวยก็ช่างหัวมัน ว่าแต่เรามีสติ จะทุกข์จนช่างหัวมันถ้าเรามีสติ จะยากจะง่ายช่างหัวมันถ้าเรามีสติ อะไรก็ตามลุยตรงนี้ด้วย เขาจะนินทาเขาสรรเสริญ จะได้จะเสียอะไรก็ตาม ช่างหัวมัน ถ้ามีสติไปเลย ผ่านไปเลย ใช้สตินี้ไปเลย สติมันใช้ได้ทุกกรณี ไม่ใช่เฉพาะมายกมือสร้างจังหวะ กับเดินจงกรมไม่ใช่เท่านี้ ใช้ทุกอย่าง ภายนอกภายใน ก่อนพูดก่อนทำก่อนคิด ขณะที่พูด ขณะที่ทำ ขณะที่คิด เวลาเห็นรูปทางปากทางหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นใช้ไปเลย รู้สึกตัวให้มันกว้างใหญ่ไพศาลรอบ รอบ หน้ารอบ
ผู้ที่มีหน้ารอบ ถ้ามันเป็นหน้ารอบได้น่ะ เรียกว่า “พระขีณาสพ” ได้ ขีณาสพคือพระอรหันต์นะ ผู้มีสติเป็นหน้ารอบ มาเถอะอะไรจะมาในโลกนี้ ถ้ามีหน้ารอบ รู้ได้ทั้งนั้น จนเก่งกล้าสามารถ มันออกไปทางนี้เลยล่ะ เห็นกายสักว่ากาย เวทนาสักว่าเวทนา เห็นจิตสักว่าจิต เห็นธรรมสักว่าธรรม เหนือในกายไปแล้ว เหนือในตัวในตนไปแล้ว ไม่มีตัวมีตนในกายในเวทนาในจิตในธรรม ออกไปแล้ว เหมือนเราปล่อยโคมขึ้นท้องฟ้าออกไปแล้ว หลุดมือไปแล้ว
ปีหนึ่งที่วัดภูเขาทอง ปล่อยโคมลม ไปตกอยู่แม่ฮ่องสอน เขาเขียนมีหนังสือผู้ดูผู้เป็นไปด้วยฮ่ะฮ่ะฮ่ะ.. ติดไปกับโคมใหญ่ อาจารย์ทองขาลทำ เขาจดหมายตอบมา โอ้...มันออกนอกไปแล้ว ถ้ามันเป็นวัตถุก็ไปตกได้ ถ้าเป็นนามธรรมไม่ลงตรงไหนล่ะ เหนือการเกิดแก่เจ็บตาย มันออกไปแล้ว ออกไปแต่กายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เวทนาสักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา จิตที่มันคิดสุขทุกข์ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เราเขา ธรรมที่มันเป็นคู่กับจิตใจ คู่กับตากับหู คู่กับจมูกลิ้นอะไรต่าง ๆที่มันเกิดธรรมขณะที่มันสัมผัส เป็นความรักความชัง เป็นความดีใจเสียใจ เป็นความรู้ความหลง ช่างหัวมัน สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ออกไปแล้วออกนอกไปแล้วออกนอกโลก คือกายอันกว้างศอกยาววาหนาคืบ มีสัญญาคือจิตใจ อันรูปอันนามมันเกิดมันแก่มันเจ็บมันตาย เราใช้นามเหรอ ก็ไม่ใช่อยู่แล้ว นามธรรมมาให้เรารับใช้ ไม่ใช่นามธรรมใช้เรา อาศัยไม่ได้ แต่ว่าเป็นนาย จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตเป็นนายกายเป็นเรือ สติเป็นหางเสือ ปัญญาเป็นผู้พาย แหม..เป็นนาย นายแบบป่าเถื่อนก็มีอ่ะ เอาจริง ๆแล้ว ทิ้งหมดเลยเหนือการเกิดแก่เจ็บตาย คืออะไร คือญาณทัศนะ เกิดจากการเจริญสติ ไม่ใช่เกิดจากอะไรที่มีฤทธิปาฏิหาริย์เลย เกิดจากเรามีสติมันเกิดเป็นญาณ มันรู้ตัวนี่ รู้ตัวนี่ รู้ตัวนี่ขนส่ง ถ้ารู้แล้วขนส่ง รู้ทุกข์พ้นทุกข์ รู้ผิดพ้นผิด รู้สุขพ้นสุข รู้อะไรก็ตามขนส่งไป ลักษณะขนส่งแบบนี้เป็นจิตหนึ่ง เป็นนามธรรมหนึ่ง ไม่ใช่เป็นตัวรู้เป็นตัวอย่าง มันเห็น ไม่ใช่จะมาบำเพ็ญจิตนิ่ง... ไม่หวั่นไหวอะไร อันนั้นไม่ถูกล่ะถูกแบบนั้นล่ะ แต่ถ้าไม่รู้เลย ไม่รู้เนี่ยมันไม่ได้ เวลาปฏิบัติธรรมมันจะนั่งสงบไม่ต้องรู้อะไรเลย อันนั้น ถูกแบบนั้น มีมาก่อนพระพุทธเจ้า นั่งเสี้ยนนอนหนาม ไม่นุ่งผ้าอะไรเขามีมาแล้ว เก่งที่สุดเลย บวชกันเรื่องอย่างนั้นเลยมีฤทธิปาฏิหาริย์ อยู่ยงคงกะพัน ถ้าไปคิดอย่างนั้น อันนั้นทำได้เป็นบางคน แต่ไม่ใช่สากล แต่ความรู้สึกตัวทุกคนทำได้ ปฏิบัติได้ แต่ทำแบบไม่นอนเลย สามสิบปีแล้วไม่นอนเลยก็ทำได้บางคน แต่เอาเก่งเรื่องนั้นหรือ ถ้าเก่งเรื่องนั้นเรื่องเดียวมันต้องเป็นผู้มีสติอีก เหนือมันอีก นอนเนี่ยไม่ถูก ไม่นอนถูกกว่า ไม่กินข้าว กินข้าวไม่ถูก แต่จะทำคือภาวะเรื่องความรู้สึกตัวมันจะ..มันจะพรากออกไปเลย ไม่ต้องไปจัดสรรเรื่องนั้น มันจะค่อยเป็นไป เช่นตาไม่เป็นใหญ่ หูไม่เป็นใหญ่ จมูกลิ้นกายใจเป็นใหญ่ เมื่อมีสติแล้ว สติมันเป็นใหญ่กว่า ไม่ใช่เรื่องนั้นเป็นใหญ่เลย นี่คือของจริง ต้องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ ของจริงไม่ใช่คนละอย่าง เรามีความรู้สึกตัวนี่ เป็นคนหนุ่มก็รู้สึกตัว เป็นคนแก่ก็รู้สึกตัว เป็นพระก็รู้สึกตัว เป็นญาติโยมก็รู้สึกตัว เป็นญี่ปุ่นก็รู้สึกตัว เป็นชนไหนชาติใดภาษาใดรู้สึกตัวได้ทั้งนั้น ความรู้สึกตัวไม่ใช่จะมาสร้าง ไม่ใช่จ้องมาใช้เป็นยามเฝ้า ใช้ความรู้สึกตัวสิทธิร้อยเปอร์เซ็นต์ มีให้เราใช้ทันทีเลย ยกมือขึ้นพลิกมือขึ้นรู้ได้ทันที ไม่ต้องสร้าง แต่ถ้าเราใช้เอามาต่อเอากายไปต่อเอาจิตใจไปต่อ ไม่ได้สร้างอยู่ในจิตก็มีสติ อยู่ในกายก็มีสติ อยู่ในตาก็มีสติ อยู่ในหูรูปรสกลิ่นเสียงมีสติทั้งนั้น ไม่ใช่ตาไปสร้างสติ ไม่ใช่ ไม่ใช่หูไปสร้างสติ ไม่ใช่กายไปสร้างสติ สร้างได้จึงดูได้ ไม่ใช่ ลืมตาขึ้นก่อนพูดก่อนทำก่อนคิด มีความรู้สึกตัว ขณะนี้เพราะว่าสติเนี่ย เป็นอุปการะมากเหมือนพ่อเหมือนแม่ เวลาลูกป่วยลูกเจ็บ ต้องขอร้องไหม “แม่ช่วยผมด้วย พ่อช่วยผมด้วย” ไม่ต้องขอ พ่อแม่ก็โดดช่วยทันที สุดหัวใจสุดฝีมือ ความรู้สึกตัวเนี่ย สติสัมปชัญญะเหมือนพ่อเหมือนแม่ พระพุทธเจ้ายังเรียกว่าอุปการะคุณ เสมือนพ่อแม่ ยิ่งกว่าพ่อแม่ พ่อแม่พอล้มหายตายไปแล้ว อย่างหลวงตาก็พ่อแม่ก็ตายไปแล้ว แต่ว่าความรู้สึกความระลึกได้อยู่กับเราทุกโอกาส ไม่น่าที่ต้องขาดแคลนเรื่องนี้พวกเรา อันอื่นยังขาดแคลนได้ แต่เรื่องนี้ไม่สมควรที่ขาดแคลนเลย ให้มั่งมีซะ อย่าจน ถ้าจนเรื่องนี้แล้วมีค่าอะไรล่ะชีวิตเรา อะไรที่เรายกมือไหว้ตัวเองได้ คือเรื่องนี้ คือความรู้สึก ตัวแหล่ะ