แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว สาธยายพระสูตร แล้วก็ฟังคำพูดที่เป็นส่วนประกอบอีก สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรงสั่งสอน เอามาเป็นการกระทำในชีวิตของเรา มีศรัทธา ฟังแล้วต้องมีศรัทธา มีความเพียร มีสติ มีปัญญา เอามาประกอบ ถ้าไม่มีศรัทธาก็ทำไม่ได้ จะมาฝึกหัดมาตั้งอยู่ เพื่อไม่ให้ความเลอะเลือนเกิดขึ้นกับชีวิตเรา โดยเฉพาะจิตใจกาย ที่มันเป็นรูปเป็นนาม มันก็ต่างแสดงออก รูปก็แสดงออก นามก็แสดงออก เพราะมันมีธรรมชาติมีอาการ มันจะตั้งอยู่นานไม่ค่อยได้ บางทีเป็นธรรมชาติ บางทีก็เป็นอาการเพราะเหตุปัจจัย ถ้าเราไม่ตั้งอยู่ไว้ก่อน มันก็เลอะเลือนไปได้ตามเหตุตามปัจจัย สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง มีเหตุปัจจัยที่มันทำให้เกิดขึ้น เราจึงดูแลมันดูซิ ให้มันเห็น เหมือนกับว่ามันโชว์ให้เราเห็น รูปมันโชว์ นามมันโชว์ รูปมันโชว์กลายเป็นอาการ ถ้าเราไม่รู้ กลายเป็นสุข จะสุขเป็นอาการ ทุกข์เป็นอาการ เช่น เวทนา เวทนาทั้งหลาย สุขก็เรียกว่าเวทนา ทุกข์ก็เรียกว่าเวทนา เจ็บปวดก็เวทนา หิวร้อนหนาวเป็นเวทนา
ทั้งหลาย ๆ ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นไปตามสิ่งที่มันเกิดขึ้น ก็มันก็ไม่ได้ตั้งอยู่แล้ว มันก็เลอะเลือนไปแล้ว สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ไปแล้ว โกรธเป็นโกรธ หลงเป็นหลง ถ้าเรามีความเพียรตั้งอยู่ มันก็ไม่ไป เราก็เห็น ได้ปัญญา ได้ความฉลาด รูปมันโชว์ มันบอก มันเตือนอย่างนี้ ถ้ามันหลง แทนที่จะหลง มันหลง เราก็รู้ซะ เพราะเราตั้งอยู่แล้ว มีความเพียร มีสติ มีศรัทธา กล้า กล้าเปลี่ยนความหลงเป็นความไม่หลง เปลี่ยนทุกอย่างให้ที่มันเป็นร้ายเป็นดี เปลี่ยนให้มันที่เป็นผิดให้เป็นถูก มีอยู่จริง รูปมันแสดงจริง ถ้าให้มันแสดงไป ซัดไป เป็นเหมือนกับคลื่นที่มันซัดไป เราก็ เพราะมันจะเสื่อมลง ให้รู้ หลงก็ไม่รู้ โกรธก็ไม่รู้ ทุกข์ก็ไม่รู้ มันก็สนุกซัดไป ไม่ได้ตั้งอยู่ กลายเป็นเรื่องมากมาย เป็นสุขเป็นทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ในความหลงก็มี ภพชาติเกิดแก่เจ็บตาย ในความโกรธก็มี ความเกิดแก่เจ็บตาย เรียกว่าเกิดดับ เกิดดับ อาการเกิดดับของรูปนาม ในความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่เที่ยงนี่ซัดให้เรามีเป็นความทุกข์ ความเป็นทุกข์ก็ซัดพาให้เราเป็นความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนก็ซัดเราไปให้เกิดความเป็นทุกข์
ถ้าเรามีความเพียร มีศรัทธา ก็ได้ประโยชน์ แต่ความทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ก็เลยฉลาด กลายเป็นมรรคเป็นผลได้ ถ้าเราไม่มีความศรัทธา ไม่มีความเพียร เลอะเลือนไปหมดเลย รูปก็เลอะเลือนไป นามคือจิตใจ ความรู้ระลึกได้ก็เลอะเลือนไปหมด แต่ไม่ได้ประโยชน์ มีรูปก็เป็นทุกข์ มีปัญหา มีนามก็มีปัญหา ปัญหาในตัวเองไม่พอ ปัญหาคนอื่น สิ่งอื่น วัตถุอื่น ถ้าเรามาศึกษา มาปฏิบัติ มีศรัทธา มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มันก็ใช้งานได้ ได้ประโยชน์จากรูปจากนาม ถ้าเราไม่ศึกษาก็มีแต่ทุกข์แต่โทษ ถ้ารูปถ้านามมันโชว์ ให้เห็นเนี่ย มันสนุก มันเป็นทัศนานุตริยะ เห็นเมื่อเห็นแล้วก็มีปฏิปทานุตตริยะ เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าไปทำสิ่งร้ายเป็นดี มีปฏิปทาไม่ปล่อยทิ้ง ความหลงก็ไม่ฟรี ได้ประโยชน์จากความหลง ได้บทเรียนจากความหลง เพราะเรามีศรัทธา มีความเพียรตั้งอยู่ก่อนแล้ว อะไรที่มันเกิดขึ้น มีความเพียรเปลี่ยนได้ แก้ได้ เปลี่ยนได้ เราหลงกลายเป็นความรู้ได้ เราโกรธกลายเป็นความรู้ได้ ความทุกข์กลายเป็นความรู้ได้ ต่อยอดได้ ได้ยอดใหม่ ความโกรธเป็นความไม่โกรธ ต่อยอดใหม่ ความโกรธเป็นความโกรธ ไม่ได้ ไม่ได้ประโยชน์ ความทุกข์ได้ยอดใหม่ คือความไม่ทุกข์ มีสติ เห็นแจ้ง เมื่อรูปนามมันแสดงจนหมดเปลือก แล้วก็เรียนเป็นจบได้
อะไรที่มันเกิดขึ้น ผ่าน ศรัทธาผ่าน ความเพียรผ่าน สติผ่าน สร้างสมาธิผ่านปัญญา เหมือนกับกลั่นกรอง เป็นเครื่องกรอง ให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนเครื่องกรองน้ำ ผ่านไปจนไม่เหลือหลอความสกปรก ไปจรดความสะอาดหมดจดให้ได้ มีคุณค่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้จากการกลั่นกรอง เรียกว่าชีวิตใหม่ ได้น้ำใหม่ เรียกว่า “นวชีวัน” ชีวิตใหม่เอี่ยม เรียกว่าพรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง อรรถลึกซึ้งในหัวใจของผู้ปฏิบัติเป็นปัจจัตตัง พยัญชนะมาพูดสู่กันฟัง ว่านี้มันเป็นอย่างนี้ ความหลงเป็นอย่างนี้ ความรู้เป็นอย่างนี้ จนมาแสดงเป็นกรรมฐาน ยกมือเข้ารู้สึก ตั้งมือออกรู้สึก เป็นการสาธิต เป็นรูปธรรม จนนามธรรม ไม่มองไม่เห็นกัน จะไปนั่งดูกันเฉย ๆ ก็ไม่มีนิมิตร ไม่มีเครื่องหมาย เหมือนเราไปเรียนหนังสือ ถ้ารู้หนังสือเป็นสากลก็เขียนออกไป ให้คนได้เห็น นี่ กอไก่ ขอไข่ ขอไข่ ขอขวด อ่านได้ อ่านออก ได้ประโยชน์ มีความหมาย ความหลงมีความหมาย ความโกรธมีความหมาย อ่านออกแล้ว นี่คือหลง ไม่เหมือนรู้ ตัวรู้มันต่างหาก ตัวหลงมันต่างหาก เหมือนเราเขียน เหมือนเราทำคณิตศาสตร์ ห้าสอง เป็นเก้า มันไม่ถูก ห้าสอง มันต้องเป็นสิบ ใช่มั้ย ห้าสองมันต้องเป็นสิบ มันก็มีถูกอยู่แล้ว นี่มันบอก ผิดถูกมันบอก ผิดถูกที่มันเป็นปรมัตถ์สภาวธรรม ไม่ใช่ความคิด ไม่มีคำถาม มีแต่คำตอบ ตัวเองต้องตอบเอง หลงกับรู้ เป็นยังไง โกรธกับไม่โกรธ เป็นยังไง โกรธกับรู้ เป็นยังไง เรียกว่า ทำได้ ทำเป็น
สิ่งใดที่มันเกิดจากรูปจากนาม ทำเป็นหมดเรียนจบได้ จนมันไม่มีโอกาสแสดง แสดงที่ไรก็แก้ได้ พิพากษาได้ จืดได้ เหมือนโจทก์เหมือนจำเลย ถ้าโจทก์แข็ง จำเลยอ่อนแอ ก็ติดคุก มีคดี ตกจากพรมกรงขัง หรือลงโทษทั้งประหารชีวิต ตายไป ตายเพราะความหลง ตายเพราะความโกรธ ตายเพราะความทุกข์ ความไม่ทุกข์ ความไม่หลง ความไม่โกรธ มีอยู่ แต่ว่าไม่มีปัญญา เหมือนกับจำเลยอ่อนแอ ไม่แก้ต่าง การแก้ต่างเรียกว่ากรรมฐาน มันมีวิชาอยู่ หลงเราก็รู้ซะ มีหลักฐาน นี่มือเราเคลื่อนไหวอยู่นี่ กลับมาได้ มันคิดไป มันสุขไปก็กลับมาได้ อ้าว มันคิดไป อ้าวมันไปทางตา ตามเขากลับมา เวลานี้ไม่ใช่มานั่งคิด เวลานี้มามีศรัทธา มีศรัทธามาแล้ว ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยบ้านเรือนแล้ว ออกจากบ้านมาแล้ว เราไม่ใช่มานั่งคิดถึงใคร รู้สึกตัวกลับมา มันก็ไม่มีอะไร ถ้ามันไม่รู้สึกตัว มันก็เป็นตัวป็นตน หอบหิ้วเราไป เป็นกิเลสตัณหาราคะได้ ความโกรธโลภหลงได้ มันเกิดดับ เกิดดับ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมานั้นไม่จริง ไม่ใช่ตัวใช่ตน หอบหิ้วไป ไม่ใช่ตัวใช่ตน ทำตาม บางทีก็ผิดพลาดเสียผู้เสียคน เสียเปรียบ เสียเปรียบความหลง เสียเปรียบความทุกข์ เสียเปรียบความโกรธ ทั้ง ๆ ที่มันไม่มีอะไร มันไม่มีอะไร เราเห็นอะไรแล้วก็จบคือไม่เป็นอะไร ความโกรธไม่ได้มี ความหลงไม่ได้มี ความทุกข์ไม่ได้มี
อันที่มันไม่มีไม่เป็น มันมีอยู่ คือทำอย่างไร ทำตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเห็น เราเห็นแล้ว เห็น มีความรู้ตามความเป็นจริง เราเห็น เรามีความรู้ตามความเป็นจริง เราทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทุกข์เราเห็นแล้ว รู้แล้ว เห็นแล้ว เราไม่เป็นไปกับความทุกข์ เราทำได้แล้ว ทำได้ เราก็ทำแล้ว ทำได้แล้ว ทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ พ้นจากทุกข์ เราทำได้แล้ว มัน..ความจริงเป็นอย่างนี้ หลง เห็นมันหลง ไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลง ทำได้แล้ว นี่มันเป็นจริงอย่างนี้ ถ้าหลงเป็นหลง ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ ไม่จริงเลย เสียเวลา อะไรที่มันเกิดขึ้นกับรูปกับนามเนี่ย มาเถอะ จะพิพากษาให้ดู เปลี่ยนได้ใช้ได้ทั้งหมด จนไปถึงความเกิด ก็มีความไม่เกิด มีพลัง ความแก่ก็มีความไม่แก่ ความเจ็บก็มีความไม่เจ็บ ความตายก็มีความไม่ตาย คล้าย ๆ ว่า มันขาดแป๊บไปเลย อ้าวอะไรที่มันโชว์อีก ขันธ์ห้าโชว์แล้วบัดนี้
บางสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูปกับนาม ที่มันเป็นอาการธรรมชาติ หมดเปลือกแล้ว ดีดไปแล้ว เหมือนเห็นมันเล่นกล เห็นคนเล่นกล แต่ก่อนเราไม่รู้ลึกซึ้ง เชื่อน้อมไปตาม เหมือนเขาแสดงละครนิยายต่าง ๆ ใจเราก็โอนอ่อนไปตามเขา เขาหัวเราะก็หัวเราะกับเขา เขาร้องไห้ก็ร้องไห้กับเขา บางทีถ้าเราไม่ฝึกหัดเป็นจริตนิสัย อยู่ใกล้อะไรก็เป็นไปตามสิ่งเหล่านั้น เป็นจริตนิสัยไป นี่ถ้าเรามารับใช้อะไรมาก ราคะจริต กลายเป็นราคะจริต ง่ายที่จะหลงก็เป็นโมหะจริต ง่ายที่โกรธก็เป็นโทสะจริต ถ้าง่ายที่จะรู้ก็เป็นพุทธจริต มันรู้หรือมันหลงเนี่ย เราฝึกหัดอย่างนี้ ถ้ามันโชว์มันก็หมด เหนือทุกอย่าง เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง มันก็โชว์จนหมดเปลือก รูปนามขันธ์ห้าก็โชว์ สุดท้ายก็แสดงถึงขันธ์ห้า มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหมือนคนห้าคนทำงาน ขยันคนละแบบ รูปก็เป็นรูป แสดงออกถึงความเป็นรูปอยู่เสมอ มีรสชาติรูป ตาเห็นก็เป็นรูป หูได้ยินก็เป็นรูป จมูกได้กลิ่นก็เป็นรูป รูปมันไม่ใช่รูปมหาภูตรูป รูปที่เป็นอุปทาน อุปาทายรูป มันก็ทำหน้าที่ของมัน เวทนาก็แสดงถึงออกให้เป็นเวทนา มันจะแสดงสุขให้เป็นสุข ทุกข์ให้เป็นทุกข์ สัญญาก็ขยันแบกเก็บข้อมูล บันทึกไว้ ในความสุขมันก็บันทึก ในความทุกข์ก็บันทึก ในความรักความชัง มันก็บันทึกไว้ สังขารก็ขยันปรุงหมด ปรุงเหมือนช่างปั้นหม้อ หยุดไม่เป็น ปรุงอยู่เรื่อย วิญญาณก็ติดเข้าไป ทั้งหมดต่างกัน ต่างทำ ขยันเหมือนกับก้มหน้าใส่กัน เราเห็นความขยันของขันธ์ห้าตามความเป็นจริง แต่เราเป็นผู้ดู แต่ก่อนเราไม่เห็นมันเลย มหาภูตรูป เห็นในรูปในนาม แต่อุปาทายรูป เห็นขันธ์ห้ามันโชว์น่ะ เราก็ดู ดูมันก็ว่า คิดว่ามันจะหลอกเราได้ รูปมันจะหลอกเรา เวทนามันจะหลอกเรา สัญญามันจะหลอกเรา สังขารมันจะหลอกเรา วิญญาณจะหลอกเรา เราก็ดู กลายเป็นเรื่อง..กลายเป็นเรื่องโมฆะ มันหลอกไม่ได้ แสดงแล้วแสดงอีก มันก็หลอกไม่ได้ สนุก มีสุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ เป็นไปไม่ได้ เห็นมันมีอยู่ ก็เห็นจาโกธา
ขันธ์ที่เป็นอุปทาน เรียกว่า อุปาทายรูป เป็นรูปที่เกิดจากขันธ์ห้า เห็นแจ้ง ตามความเป็นจริง หมดท่า หมดท่า หยุด ดีดเข้าสู่ คล้ายๆ ว่าหดเข้าสู่ คลายสู่ตัวมันธรรมชาติ วางลง เหมือนกับเราเอายางมารัด ดึงออก มันขาด มันก็หดเข้าไปสู่ต้น เราดึงมันก็มีสองทาง ใช่ไหม ดึงยางออกก็มีสองทางใช่ไหม เมื่อมันขาดแล้วไปไหน หดเข้าตัว(หัวเราะ) สู่ธรรมชาติ ไม่ ไม่เป็นอย่างนี้ หด มัน มันเลิก เลิกลากัน ใช้ไม่ได้ หรือเปรียบประหนึ่ง แก้วมันแตก มันก็ใส่น้ำดี เอาน้ำใส่ก็เป็นรูปแก้ว เอาอะไรใส่ก็เป็นรูปอันนั้น อ้าวนี่มันแตก ภาชนะมันแตก ภาชนะมันแตกออก อ้าวก็ใส่น้ำมาอยู่ พอจะใส่น้ำ อยู่ๆ มันก็แตกออก เวลานั้นมันหดเข้าตัวเอง ของใครของเรา เราจะมาใช้มันแตก มันใช้ไม่ได้ มันใช้ไม่ได้ เหมือนกับว่า มันใช้ไม่ได้แล้ว ขันธ์ห้าที่เป็นอุปทาน ใช้ไม่ได้แล้ว เลิกรากันเถอะ
เหมือนหลวงปู่เทียนพูดว่า “เชือกมันขาด” วัดกันนี่ แต่ก่อนสุข ก็สุขไปทางนี้ ทุกข์ไปทางนี้ โกรธไปทางนี้ ไปอย่างนี้ ก็ไม่พันกัน มันขาดออกจากกัน แล้วก็ใช้ไม่ได้ จะให้สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ โกรธเป็นโกรธ รักเป็นรัก เกลียดเป็นเกลียด เจ็บเป็นเจ็บ แก่เป็นแก่ ตายเป็นตาย เป็นไปไม่ได้ มันใช้ไม่ได้ มันไม่เป็นอะไรชีวิตเนี่ย เวลามันไม่ไม่ใช้มันก็อยู่เนี่ย แต่เวลามันใช้มันก็อยู่เนี่ย มันใช้ไม่ได้ ข่มขืน คนนี้น่ารักน่ะ ข่มขืน คนนี้น่าเกลียดน่ะ ข่มขืน มันไม่ใช่ มันไม่เป็นอะไรชีวิตเนี่ย มันไม่เป็นอะไร ชีวิตจริง ๆ ไม่เป็นอะไร สิ่งที่มันเป็นเราทำมันขึ้นมา ความหลงเราทำมันขึ้นมา มันก็ไม่มีความหลง ความโกรธเราก็ทำมันขึ้นมา ความทุกข์เราก็ทำมันขึ้นมา มันไม่มี มันก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ กิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด มากมาย
นัตถิตัณหาสมานที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี เพราะมันทำมันขึ้นมา เหมือนน้ำที่มันมีคลื่น คลื่นไม่ใช่น้ำ เรารู้ตามความเป็นจริง คลื่นไม่ใช่น้ำ น้ำไม่มีคลื่น ชีวิตมันไม่เป็นอะไร ไม่ใช่มีความเกิด มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ชีวิตจริง ๆ มันได้ยอดใหม่ ได้ยอดใหม่ มันเลยไม่ต้องเป็นอะไร นี่คือชีวิต นี่คือชีวิต พระพุทธเจ้ายังว่า มันมีอยู่ความดับไปด้วยแห่งทุกข์ มีอยู่ มันมีอยู่ เรารู้ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ที่แท้มันก็ไม่มี แต่มันมีไปให้รู้ กลับคืนมา ไม่มีอะไร ก่อนที่ไม่มีอะไร ต้องมี ต้องมีการกระทำ ไม่ใช่ว่านั่งอยู่ ไม่มีอะไรเลย ว่างไม่มีการกระทำ มีศรัทธา มี เพราะมันอะไรล่ะ ที่มันมีแล้วในชีวิตเราแล้ว มีความหลง หลงคือหลง ร้อนเป็นร้อน หนาวเป็นหนาว หิวเป็นหิว ปวดเป็นปวด แล้วจึงมาเห็น แต่หลงเป็นหลง ร้อนเป็นร้อน หนาวเป็นปวด หนาวปวดเป็นปวด อะไรต่างๆ ที่มันมีอยู่ มันเป็นอยู่ เราจึงมามีการกระทำ มันจึงกลับมาสู่ มันก็ทำแล้ว ได้ทำแล้ว ได้ทำแล้ว ทำได้แล้ว เห็นแล้ว รู้แล้ว แจ้งแล้ว มันก็เลย จึงว่าไม่เป็นอะไร เพราะมันทำแล้ว มันจึงไม่มีอะไร เหมือนมือที่เรากำอยู่ เราวางแล้ว ก็ไม่มีอะไร แต่ก่อนมันก็สุขเป็นสุข สุขคือทุกข์ อะไรเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งหมด
บัดนี้ มีแต่เห็น ไม่เป็น เลยบอกว่า ไม่เป็นอะไรกับอะไรแล้วเนี่ย เพื่อนปัญญาทั้งหลายลองศึกษาดู มีสิทธิร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกชีวิต ถ้าพลิกมือขึ้นรู้สึก คว่ำมือรู้สึก เรียกว่าใช้แล้ว ใช้ได้แล้ว ใช้ได้แล้ว ถ้าพลิกมือไม่รู้สึก ยกมือไม่รู้สึก อาจจะเป็นบอดไปเสียแล้ว แต่ไม่ค่อยจะมี เว้นไว้แต่คนบ้า ที่มันทำไม่ค่อยรู้ คนบ้า แต่แล้วก็ดีกว่าเราหลายอย่าง งูกัดก็ไม่ตาย กินน้ำจากคลอง น้ำเน่าๆ ในตลาด มันก็ไม่เป็นอะไร ใช่ไหม หลวงตาเห็นคนบ้าไปกอบกินในคลอง จกน้ำขึ้นมากิน เขาก็ไม่เป็นอะไร มันมีเลือดที่มันที่มันบ้าอยู่แล้ว มันก็ไม่เป็นอะไร พ่อใหญ่เนี่ยเป็นบ้า สมัยเป็นเด็กเลี้ยงควายด้วยกัน ไปจกรู งูเห่ามันอยู่ในรู เก็บผักบุ้ง เลือดอาบไป งูกัด งูกัด งูกัดซะ งูกัดเพราะเราเล่นเด็กไปขุดดูมีงูเห่าอยู่ในนั้น ได้เป็นคนไม่บ้าไม่ปวด ปวดแต่ก็อยู่เฉย คนบ้า อยู่เฉย ไม่เป็นไรเลย ไปเลี้ยงควาย กอบกินน้ำขุ่นๆ น้ำเหม็นขี้วัวขี้ควายก็กินเลย บางทีได้กบได้เขียดมา เอาใส่ไฟทั้งเอามากิน ทั้งเอาใส่ไฟ กินข้าวกับกบเขียดที่เอาใส่ไฟแล้ว บิเอามากิน บิ ๆ มากินได้ แต่เราเป็นคนดี กินไม่ได้
นี่แหละเราจะทำเป็นอย่างงั้นไม่ได้เด็ดขาด หลงแค่เป็นหลง มันรู้อะไรไม่ได้ มีทุกข์มีโทษ ไปกินน้ำเน่าๆ ก็ต้องตายแน่นอน งูเห่ากัดต้องเจ็บปวดมือขาด หรือตายไปก็ได้ เราหลง ถ้าหลงเป็นหลงน่ะ ไม่ได้แล้ว ที่เป็นชีวิตของเรา ถ้าหลงก็พาไปไกล คนบ้าก็หลงอยู่แล้ว ถ้าคนดี ถ้าหลงก็ไปไกลหน่อย เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์นรก เป็นเดรัจฉานไปแล้ว ทุกข์เป็นทุกข์ ก็ไปเป็นนรก ไปโน้น มันมีภูมิอย่างนั้น มนุสสเปโต หน้าตาเป็นมนุษย์ แต่ชีวิตจิตใจมันเป็นเปรต มนุสสติรัรจฉาโน หน้าตาเป็นมนุษย์ แต่จิตใจไม่พัฒนา โง่เง่า เป็นอสูรกาย มนุสสเทโว หน้าตาเป็นมนุษย์ ผูกจิตใจเจ็บเป็นเทวทัต วิหารธรรมเป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นพระ น่าฝึกหัดน่ะ ถ้าไม่ฝึกหัดก็ไปทางต่ำ
จึงมีศีลมีธรรม มีความผิดความถูก มาฝึกหัดให้ได้ประโยชน์จากความหลง มาเป็นความรู้ ถ้ามันหลงน่ะ ไม่เคยรู้ ให้มันได้ความรู้ขึ้นมา ปฏิบัติธรรมคือดูแลตัวเอง ให้มันคุ้ม อย่าไปทำให้มันยุ่งยาก การดูแลตัวเองเนี่ย มันน่าจะนั่งยิ้ม ๆ ดูมัน อาจจะเคลื่อนมือเล็ก ๆ น้อย ๆ มันหลงเห็นมันหลง มันง่าย ๆ ถ้าหลงเป็นหลง โอ้ยไม่ชอบแล้ว ไม่อยากให้หลงก็หลงอยู่ มันฟุ้งซ่านเป็นความยาก ไม่ชอบอยากให้มันสงบ มันมีผิดมันมีถูก ไม่ใช่นักปฏิบัติน่ะ ถ้าเป็นเช่นนั้น มันกลิ้งครกขึ้นเขา มันช้า ให้เห็นเฉย ๆ นี่น่ะ อยู่เฉย ๆ ยิ้ม ๆ ดูมัน มันหลงเห็นมันหลง ไม่ได้หลงไปกับความหลง มันผิดเห็นมันผิด ไม่ได้ผิดไปกับความผิด มันถูกเห็นมันถูก ไม่ได้ถูกไปกับความถูก มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่ได้ไปกับความทุกข์ มีแต่รู้อยู่เนี่ย มันง้ายง่าย กลิ้งครกลงเขา ไม่ใช่ผิด ไม่ชอบ ถูกจึงชอบ หลงไม่ชอบ รู้จึงชอบ สงบ เป็นทั้งชอบ ไม่สงบไม่ชอบ ไม่จะให้มีความชอบไม่ชอบ เรียกว่าปฏิบัติธรรมเป็น ดูเป็นมรรค มันเป็นกลาง ๆ เนี่ย ไม่มีอย่างนี้ มันมีสั้นไปกว่านี้ เห็นมันหลง เห็นมันไปแล้ว มันผิด เห็นมัน ไปแล้ว ตรงปฏิบัติตรงแล้ว ไปแล้ว ไม่มีน่ะ การที่มันไปขวาไปซ้ายนี่น่ะ ถ้าถูกก็ไปทางขวาซะ ชอบ ถ้าผิดก็ไปทางซ้ายซะ ไม่ชอบ
ชีวิตบวกลบอย่างเนี่ย เป็นอารมณ์ของปุถุชนน่ะ ถ้าจะบอกว่าปุถุชนน่ะ ถ้าอย่างเนี่ย เป็นบวกเป็นลบอยู่เนี่ย ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีบวกมีลบอย่างนี้ สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ ปุถุชน ให้สุขมีอำนาจ ให้ทุกข์มีอำนาจ ไม่ใช่อะไร ให้หลง ให้รู้ หลงเห็นมันหลง ไม่ได้มีอะไร ไม่มีรสชาติอะไรในความหลงของมัน มันมีแต่เห็นไปเนี่ย ยิ่งใหญ่น่ะ ภาวะที่ปฏิบัติธรรมมันอาศัยได้จริง ๆ มันเป็น ทำเหมือนกับพ่อแม่ บ้านพ่อบ้านแม่อยู่กับความรู้สึกตัว เห็นเนี่ย เหมือนอยู่กับบ้านพ่อบ้านแม่ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปที่ชั่ว ธรรม ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข อยู่ไปเถิดไม่เป็นไร ผ่าน มันมีแต่ผ่านไป การผ่านนี่มัน มันเป็นจุดหมายปลายทางที่ว่า วิมุต พรมจรรย์ของเราคือวิมุต การหลุดพ้น การผ่านไปน่ะ ไม่ใช่อันอื่น เพราะฉะนั้นการผ่านตรงไหน มันหลง เห็นมันหลง ไปแล้ว ไปแล้ว มันโกรธเห็นมันโกรธ ไปแล้ว ไม่โกรธ ไม่เป็นผู้โกรธ มันทุกข์เห็นมันทุกข์ ไปแล้ว ไปจากไหน ไปจากข้าศึก อะระหังผู้ไกลจากข้าศึก ไปไกล
วิถีที่ปฏิบัติธรรม มันไป มันรู้นี่ มันก็ไปอยู่แล้ว กว่าจะมาถึงความรู้สึกตัวเนี่ย มันผ่านอะไรมาแล้ว กว่าที่มารู้สึกตัว มันผ่านอะไร ความรู้สึกตัวคืออะไร มันทำอะไร มันละอะไรมา มันเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาแล้ว ให้มีความรู้สึกตัว เป็นศีลสิกขา ถลุงแล้ว ย่อยแล้ว ไม่ใช่ศีลสมาทาน เป็นศีลสิกขา ถลุง ความหลงย่อย รู้แล้ว ย่อยแล้ว ได้ความรู้ เหมือนถลุงแร่ พอมันเคลื่อนมา ถลุงออก ได้เนื้อแล้ว ความหลงได้ไม่หลง ความโกรธได้ไม่โกรธ ได้ความรู้ ความทุกข์ได้ความรู้ ความอะไรต่าง ๆ ปัญหาได้ปัญญาไปเลย เรียกว่าสิกขาและธรรม เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ชีวิตของเราก่อเกิดอยู่บนนี้ ได้สิกขาและธรรมเลี้ยงชีวิตพรหมจรรย์ ชีวิตที่เป็นรูปเป็นนามได้จากข้าวปลาอาหาร กพฬีการาหาร อาหารคือคำข้าว ผัสสาหาร อาหารผัสสะ โตมาทางไหน วิญญาณอาหาร อาหารวิญญาณ ป้อนวิญญาณอาหาร สิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ภิกษุคือผู้เห็นภัยในวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิด หลงกี่ครั้งกี่หน โกรธกี่ครั้งกี่หน เวียนอยู่ตรงนั้น ได้ขึ้นฝั่ง
ผู้เห็นภัยต้องขึ้นฝั่ง หลงต้องไม่หลง เป็นสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ มีสตินี่แหละ ที่ทำให้ไม่เป็นอะไรคือสติ ไม่มีไม่เป็นอะไรคือสติ ฌานอันสูงสุดคือสติ วิมุตอันสูงสุดคือสติ ที่เป็นสติปัฏฐานไม่ใช่สติธรรมดา มันไป สติปัฏฐาน สิ่งเหล่านี้ต้องมีศรัทธา มีความเพียร มีสติ มีส่วนประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่จู่ ๆ จะมาทำเป็น บางทีทำไม่เป็น มันหลง รู้ไม่เป็น มันโกรธรู้ไม่เป็น มันทุกข์รู้ไม่เป็น ทำไม่เป็น ต้องมาหัดให้มันเป็นซะ ทีแรกถ้ามันเป็นแล้วก็ไม่ต้องหัด เหมือนเราหัดวัวหัดควาย ทีแรกก็ต้องหัด มันหลงไปกลับมา ด้วยวิชากรรมฐาน อาศัยวิชากรรมฐานนี้ เป็น จะเรียกว่าทฤษฎีหรือว่าปฏิบัติ “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” พิจาราณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ เมื่อเห็นกาย มีสติเห็นกาย ก็เห็นสุขเห็นทุกข์ ไม่ต้องไปว่าก็ได้ เวทนา จิต ธรรม ไม่ต้องไปว่าก็ได้ ถ้าเห็นกายอยู่ในกาย ถ้าเห็นมันสุขก็เห็น นั่นอะไรก็ได้ เวทนาแล้ว มันคิดก็เห็น มันสงบ มันฟุ้งซ่านเห็น มันเป็นนิวรณ์ ง่วงหงาวหาวนอนเห็น น่ะเห็นธรรมทั้งหลาย กุศลก็มี อกุศลก็มี ถ้าอยู่ตรงนี้มันก็เห็นอันโน้น ไม่ต้องรู้ว่ากายสักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เวทนา สักว่าเวทนา ไม่ใช่ไล่แบบนั้น
ถ้าเป็นภาคปฏิบัติมันสรุปมาทั้งหมด มีสติเห็นกายอยู่เนี่ย รู้อยู่เนี่ย มันปวดเห็น มันสุขเห็น มันร้อนเห็น มันหนาวเห็น มันทุกข์เห็น เวทนาทั้งนั้น กลับมานี่ มันรู้ไม่คิดอะไรหรอก มันสุขกลับมา เรียกว่าทำแล้วกับเวทนา มันคิดไป กลับมา ทำแล้วกับจิต มันง่วงหงาวหาวนอน มันคิดฟุ้งซ่านอะไร กลับมา ทำแล้วกับธรรมทั้งหลาย ทั้งหลายๆ มันเป็นธรรม เป็นความรู้สึกตัวทั้งหมด รวมมาอยู่ตรงนี้ทั้งหมดเลย ไม่ใช่คนละอัน เหมือนกับยารักษาโรค ปวดท้องต้องใช้อันนี้ ปวดหัวต้องใช้แบบนี้ แต่ว่าปฏิบัติมันอันเดียวเนี่ย กลับมาเนี่ย มันสุขกลับมารู้ มันคิดกลับมารู้ ทั้งหมดคือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นทฤษฎี แล้วปฏิบัติง่าย ๆอย่างนี้ กรรมตัวเดียวอันเนี่ยรวมอยู่ที่นี่ งานกรรมฐานจึง จึงเป็นวิชาที่ทำให้เกิดพระพุทธเจ้า คือเนี่ย คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก เรามาทำตามพระพุทธเจ้า ที่ทำมาอย่างนี้ ไม่ใช่เรามาสร้างขึ้นมาเอง พิสูจน์กันดูน่ะ