แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน แน่นอนที่สุดกับการศึกษาธรรมมะ ต้องมาจับหลักต้นๆ ของพุทธกาลของพระพุทธเจ้า เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการศึกษาธรรม พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตรัสรู้ตรงไหน ทำอะไร เราไม่ต้องไปศึกษาอะไรให้มันเสียเวลา เรามาศึกษาตอนที่พระองค์ได้เกิดผลขึ้นมา ปฏิบัติอย่างไร ทำให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้สิ้นชาติ ในวันเพ็ญเดือน ๖ หลังจากการศึกษา ทดสอบวิธีอื่นๆ ตามทฤษฎีของสมัยนั้น มีมากจากครูบาอาจารย์ และเราไปดูร่องรอย พอออกบวชก็ไปศึกษาที่ดาบสทั้งสอง ได้แก่ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส เป็นครูใหญ่ ๒ รูป ถ้าดูร่องรอยตามแผนที่เป็นภูเขา 2 ลูก ขี่ม้าจากกรุงกบิลพัสดุ์กว่าจะถึงแถบราชคฤห์ไม่ใช่ใกล้เลย ภูเขา 2 ลูก ไม่ห่างจากเนรัญชรามากนัก อาจารย์ทั้งสองอยู่ภูเขาคนละลูก อาจารย์รูปแรกคือ อาฬารดาบส อาจารย์รูปที่สองคือ อุทกดาบส เรียนกับอาจารย์รูปแรกจนได้ฌานสมาบัติ 7 ยังไม่พอใจ เรียนกับอาจารย์ที่ 2 ได้ฌานสมาบัติ 8 จบการศึกษาที่นั่น จนอาจารย์ทั้งสองไม่มีอะไรสอนอีก เจ้าชายสิทธัตถะไม่พอใจ ได้ฌานสมาบัติแล้วยังถือว่าไม่สำเร็จยังคงหมกมุ่นครุ่นคิดอะไรอยู่ เวลาอยู่ในฌานก็สงบดี เวลาออกจากฌานก็เหมือนธรรมดาต้องประคับประคอง มีกาลมีเวลาออกนอก เวลาอาจารย์ทั้งสองขอร้องให้อยู่ให้ช่วยกันสอนลูกศิษย์จำนวนมาก ช่วยกัน ไม่อยู่ จึงออกเดินทางไปรัฐเชภูเขาดงคสิริ ไม่ใช่ใกล้ จากภูเขา 2 ลูกไปดงคสิริ ต้นๆน้ำเนรัญชราแสวงหาด้วยตนเอง เอาตัวเองเป็นหลัก ลงมือศึกษาจากทางตัวเอง ไม่เหมือนศึกษาทางโลก ทางโลกต้องประท้วงอาจารย์โน่นอาจารย์นี้ ไม่พอใจคนนั้น ไม่พอใจคนนี้ สถาบันนั้นสถาบันนี้ แต่สิตทัตถะไม่มีแบบนั้น เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ท่านก็สอนของท่านอย่างนั้น เราก็เรียนอย่างนั้นก็เลยมาศึกษาด้วยตนเอง ตามที่เราได้สวดสาธยาย พระสูตรที่พระองค์ได้ลำดับ เกิดจากอะไรตรงไหน เอาความที่มันถูกต้องมาสอนสาวก เราได้ฟังพระสูตร ความเพียรชอบตั้ง ระลึกชอบปลายๆมาสอนพระ สอนสาวก พระองค์ได้ค้นพบที่นี่ เริ่มต้นก็ในพระสูตรก็ตรัสไว้ การคู้แขนเข้ามีสติ การเหยียดแขนออกมีสติ จากศึกษาครูบาอาจารย์ทั้งสองแล้วไม่ได้ทำตรงนี้ ให้เอาแต่จิตข่มลงไปจนได้ฌาณสมาบัติ บัดนี้มาเอากายเป็นตำรา เอาใจเป็นตำรา การคู้แขนเข้ามีสติ การเหยียดแขนออกมีสติ การเดินไปข้างหน้ามีสติ หายใจเข้า หายใจออก มีสติ ยืน เดิน นั่งนอนมีสติ เอ้า! อยู่ที่นี้แน่นอนล่ะมีสติ เอากายเป็นตำรา เอาจิตใจเป็นตำราเอาสติเป็นนักศึกษาเข้าไป ตั้งต้นตรงนี้ อะไรที่ทำให้เห็นตรงนี้ ส่วนประกอบก็คือมีความพอใจ ห้ามความพอใจให้เกิดขึ้นกับเรื่องนี้อย่าไปหลงตรงนี้ มีสติสัมปัชชัญญะหรือว่ามีความพอใจแล้วไม่พอ ต้องมีความพากเพียรเข้าไป ความพากเพียร เพียรประกอบ มีความพอใจแล้ว มีความเพียรประกอบ ให้มีสติไปในกายให้เป็นประจำ สิ่งใดที่ไม่ใช่กายไม่รู้กายเกิดขึ้นถอนออกกลับมาหากาย บางทีก็มีความพอใจ บางทีก็ไม่มีความพอใจเกิดขึ้น ถอนออก มีสติเข้าไปให้รู้เข้าไป เอาหลงเป็นรู้ไป มันก็มีคู่กันมีหลงมีรู้ มันจะหลงไปจากกายไปทางอื่น อาจจะคิดไปต่างๆ นานา ขณะที่มีความเพียรอยู่เนี่ย มีความพอใจอยู่นี้ ความพอใจก็มีบ้าง ไม่พอใจบ้าง ถอนออกให้กลับมารู้สึกตัว แล้วก็มีสติ มีสัมปัชชัญญะ เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ เพื่อยังอกุศลที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น มันก็เป็นไปได้ เวลามันหลงรู้ขึ้นมามันละไป เปลี่ยนหลงเป็นรู้ ความหลงเป็นอกุศล ความรู้เป็นกุศล เพื่อสร้างกุศลเกิดขึ้น พละกุศลที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างกุศลต่อไป มีจิตตะเอาใจใส่ เห็นอาการที่เกิดขึ้น ขณะที่ทำมันไม่ฟรี มันมีอะไรที่แสดงให้เห็นอยู่ เวลาใดมันหลงรู้ขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้ และก็มีจิตใจเอาใจใส่อยู่เสมออย่าปล่อยทิ้ง หลงร้อยครั้งรู้ร้อยครั้ง หลงพันครั้งรู้พันครั้ง เรียกว่าเอาใจใส่ การเห็นความรู้ เห็นความหลงขณะที่มีสติสัมปชัญญะ มันเป็นการตรอง การสัมผัส เรียกว่าวิมังสา ติตรองดู มันไม่ใช่เป็นภาษาคำพูด มันอยู่ในการกระทำนั้นเอง ในพระสูตร เราพูดแล้วก็คือ มาเขียนเป็นตัวหนังสือให้เรียนเป็นหลักสูตรนักธรรม เรียกว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ถ้าใครมีธรรม 4 อย่างนี้ เรียกว่ามีความสำเร็จ ธรรมที่ทำให้เกิดความสำเร็จ มันหลงรูปขึ้นมา เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้ มันก็สำเร็จ สำเร็จ ก็จบ อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายได้ ความหลงไม่เป็นธรรม ความรู้เป็นธรรม มันต้องกระตือรือร้นตรงนี้ ขณะที่เราปรารภความเพียร มันไม่ใช่ไม่มีงานมีการ งานมันดี งานอันชอบที่สุด เปลี่ยนหลงเป็นรู้เป็นงานชอบที่สุด โดยไม่ต้องไปถามใครเป็นสัจธรรม สัมผัสด้วยตนเอง ให้ใส่ใจสักหน่อยตรงนี้ มันมีรสชาติมาก ทำให้เรากระตือรือร้น จนสั่นนะ มันพอใจนะ ขณะที่เปลี่ยนความหลง ทีแรกก็พร่าๆ ไม่ชัด เหมือนเราด้านต่ออย่างนี้มานานเหลือเกิน เหมือนฝ่าเท้าของเราที่ไม่เคยใส่รองเท้าเหยียบอะไรก็ไม่เจ็บ ใจของเราที่มันด้านต่อความหลง ต่อความโกรธ ความโลภ ความทุกข์ เหมือนฝ่าเท้าหนาๆ การหนาในเรื่องนี้ เรียกว่า ปุถุ ปุถุชน ปุถุ แปลว่า หนา มืด ไม่เห็น เดี๋ยวนี้เราไม่เดินเท้าเปล่า มีรองเท้าใส่ อะไรก็สัมผัสได้ง่าย เจ็บก็รู้ ประสาทแห่งความรู้สึกตัวมันไวนะ ถ้าเราฝึกดีๆ ถ้าเราไม่ฝึกก็ด้าน หน้าด้านๆอยู่กับความหลงนะ บางหน้าด้านอยู่กับความโกรธ.ก็มี ไปโกรธให้คนเห็น ไม่น่าดูเลยนะ บางทีคนที่โกรธก็ไม่อาย หน้าด้าน ชี้ไม้ชี้มือ กำหมัด กัดฟัน แสดงความไม่งามออกมาให้คนเห็นได้ นี่เรียกว่าคนหน้าด้าน หน้าในของเรา ความหลงก็เหมือนกันความโกรธ ความทุกข์ก็เหมือนกัน ถ้าเราได้ฝึกแล้วมันไม่ด้านนะ ที่มันหลงก็รู้ขึ้นมา มันก็ถอนอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้เด็ดขาด ง่ายๆ เวลาที่มันหลง มันเปรอะเปื้อนมาก การเห็นความหลงที่เกิดขึ้น ที่เราปรารภความเพียร เหมือนกับเราเดินทางไปเปรอะเปื้อนอะไรมา แล้วเรามาอาบน้ำ มันสบาย ต่างกับที่ยังไม่อาบน้ำ เวลาเปลี่ยนหลงเป็นรู้มันต่างกันมาก แล้วการอาบน้ำก็คือการทำความสะอาด หรือเราแปรงฟัน กินข้าวอิ่มไม่แปรงฟัน มันรกรุงรังอยู่ เวลาแปรงแล้วมันเบาๆ มันอดไม่ได้ที่ไม่แปรงฟันเวลากินข้าวแล้ว สิ่งสกปรกเกิดขึ้นในร่างกายมันอดไม่ได้ที่ต้องอาบน้ำ หนาวเท่าไหร่ก็ต้องอาบเหนื่อยก็ต้องอาบ หรือเหมือนเรากินข้าวเวลาเราหิวต้องหากินให้ได้ มันมีวิญญาณ วิญญาณธาตุ ถ้าใช้ถูกก็เป็นพุทธะได้ ถ้าใช้ผิดก็เป็นพุทธะไม่ได้ ธาตุของเราปล่อยให้มันทำหน้าที่ดีๆ มันช่วยกันนะ ธาตุ 6 นะ ไม่ใช่ ธาตุ 4 นะ ธาตุ 4 มันยังเป็น พ่วงแพอยู่ แต่ธาตุ 6 มันขับเคลื่อนได้สู่จุดหมายปลายทาง เหมือนแพที่มีธาตุ 4 ยังไม่มีคนขับมันไปไม่เป็น แล้วแต่อะไรจะพาไปเหมือนลมพัดไปทางใด ถ้าถึงธาตุ 6 แล้ว เรามักจะพูดถึงธาตุ 4 ไม่ได้ต่อถึงธาตุ 6 เลย ธาตุ 6 ก็เติมไปว่า อากาศธาตุ ช่องว่างๆ ที่มันเกิดอะไรได้ เหมือนกับกล้ามเนื้อเรามีช่องว่าง มันเกิดไหลตรงนั้นได้ ไหลไปตามช่องว่าง แล้วก็วิญาณธาตุมันรู้อะไรได้ วิญญาณธาตุนะ มันเจ็บมันก็รู้ มันหิวมันก็รู้ มันผิดก็รู้ ถูกก็รู้ ถ้ามันไม่รู้ก็ไปติดอันอื่นจึงมีขันธ์ 5 มีหลงก็ติดหลง มีโกรธก็ติดโกรธ มีทุกข์ก็ติดทุกข์ มีรักก็ติดรัก มีเกลียดชังก็ติดเกลียดชัง ถ้าเราไม่ฝึกมันติดได้ ในวิญญาณธาตุเนี่ย ถ้าเราหัดมันไม่ติดเลยนะ มันเนื้อดี เหมือนผ้าเนื้อดีๆ ไม่เปรอะเปื้อน ไม่ซึมซับ การเนื้อดีกว่าเก่า เค้าเรียกว่าศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาธิขันธ์ ถ้าศีลธรรมดาเนื้อไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าเป็นศีลขันธ์แล้ว เนื้อดี รู้จักไหมขันธ์น่ะ ขันธ์คือผ้าดีฟืนขันมันคืออะไร รู้จักไหมคนสมัยเนี่ย เค้าเรียกว่าผ้าฟืนขัน ขันมันคืออะไรคำว่าขันน่ะ ไม่ใช่ขันธ์ 5 นะ ฟืนขันเอามาทอผ้า ถ้าฟืนไม่ขันได้เนื้อผ้าไม่ดี ถ้าฟืนขันเอามาทอผ้าได้ผ้าเนื้อดีห่อน้ำได้ ทอผ้าโสร่ง ทอผ้าไหม ฟืนขันเนื้อมันดี ไม่ค่อยเปรอะเปื้อนง่าย ไม่เหมือนผ้าเนื้อไม่ดี อะไรก็ซึมซับได้ง่าย มันพัฒนาขึ้น เหมือนมุ้งหลวงตาเนี่ยะ เค้าเรียกมุ้งแพร เค้าว่าเป็นมุ้งร่มของทหาร สมัยสงครามโลก สมัยสงครามอินโดจีน เค้าทิ้งโคมไฟลงให้มันสว่าง เพื่อปราบการก่อการร้ายอยู่ในป่า เห็นไปหมดเลย เอามาทำเป็นมุ้งเวลานอน เดินธุดงค์ในป่าในดงฝนตกก็นอนกับดิน น้ำฝนกับดินถูกมุ้งก็เปื้อน แต่ซักง่าย เอาไปใส่น้ำก็ไหลออกหมดไม่ซึมซับ นี่คือผ้าดี จิตใจที่มันดีที่ฝึกมา ฝึกมา มันเนื้อดีนะ ไม่เปื้อนง่าย การเปื้อนคือพอใจ ไม่พอใจ คือใจที่มันเปื้อน ถ้าใครพอใจไม่พอใจคือมันเปื้อนง่าย จึงหัดตรงนี้กัน
เวลาเรามีสติมันได้หัดกันตรงนี้กันจริงๆนะ มีไหมกำลังยกมือเคลื่อนไหว มีสติ การเคลื่อนแขนออก การคู้แขนเข้า การเหยียดแขนออก การที่รู้ตรงนี้มันคิดไป อย่าหลงตรงนี้เอาดีๆ สักหน่อย บางทีเราหลง 10 ครั้ง มันอาจจะดีได้ ถ้าคนไม่ใส่ใจหลงเท่าไหร่ก็ไม่ดี ความหลงเกิดขึ้นขณะที่เราทำความเพียรมีเหมือนกันนะ บางคนเวลาทำความเพียรหน้าบูดหน้าบึ้ง หมกมุ่น ครุ่นคิด คิดมาก ความคิดเอาไปหมดเลย เหมือนโบราณท่านว่า อาจารย์มหาจันทร์ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ เขียนไว้ที่ปากอุโมงค์ว่า อัศจรรย์แท้น้อ ดักไซไว้กลางนาได้นกแซว อัศจรรย์แท้น้อดักแฮ้วบนต้นไม้ได้ปลาขาว เป็นไปได้ไหม ดักไซไว้กลางนาทำไมได้นกแซว รู้จักนกแซวไหม ดักแฮ้วบนต้นไม้ได้ปลาขาว มันคืออะไร อาจารย์มหาจันทร์ พระเถระจันทร์ วัดอุโมงค์ เขียนไว้ที่ปากอุโมงค์จังหวัดเชียงใหม่ ไปอ่านดูก็ได้ ดักไซไว้กลางนาเพื้อหวังเอาปลา แต่ได้นกแซว นกแซวคืออะไร รู้จักนกแซวไหม นกแซวเดี๋ยวนี้แต่ไม่ค่อยร้องไม่ค่อยขัน อยู่ที่วัดนี้เยอะพูดกันเหมือนคน เจ๊าะแจ๊ะๆๆ แต่ไม่ค่อยแซวไม่ค่อยขัน ไม่พูดกันแล้วนกแซว มันเป็นอะไรไม่รู้ มันสิ่งแวดล้อมเพี้ยนไป โลกร้อนมากขึ้นอะไรก็เพี้ยนไปมากมาย ดักไซไว้กลางนาได้นกแซว เวลาเราดักไซต้องการปลา เวลาเรามีความเพียรต้องการความรู้ มันได้ความหลง อันนี้เรียกว่าได้นกแซว บางคนก็ให้ความหลงหอบหิ้วไป ทำความเพียรเดินจงกรมชั่วโมงหนึ่ง ถ้าเดินพอดีๆ วินาทีละก้าวจะได้ 3,600 ก้าว 3,600 รู้ ขณะที่เราเดินจงกรมอยู่ แทนที่จะได้ความรู้ 3,600 รู้ ไม่ได้เลย ได้นกแซว ได้ความหลง ในขณะที่เราทำความเพียรนั้น มีเหมือนกัน ให้อายตรงนี้ อายความหลง เอามือรูปหน้าอกทันที มันจะได้ชื่นใจ จะกระตือรือร้น ตรงไหนที่มันจุดอ่อนเข้มแข็งเข้าไป ตรงไหนที่มันกระด้างกระเดื่องให้อ่อนโยนหน่อย กระฟึดกระเฟียด ตัดสินใจง่ายๆ เวลานั่งทำความเพียรอยู่มันจะลุกก็ลุกไปเลย มันแข็งกระด้างเกินไป เวลาจะลุกก็อย่าลุกง่ายๆ ให้มีสติเข้าไป ใส่ใจสักหน่อย ลุกแบบอ่อนโยน ให้พอดีเหมือนแม่เลี้ยงลูกอ่อน เวลาจับลูกวางใส่เปลอย่างอ่อนโยน ไม่ใช่ทิ้งใส่ เวลาที่ลูกวิ่งมาหา อย่าแข็งกระด้างรับลูกอย่างอ่อนโยน ลูกจะไม่เจ็บ จับไม่เป็นลูกก็เจ็บได้ มือของเราที่มีความเพียรมันนิ่ม เวลาจะนั่งเดินอยู่มันรู้สึกตัว คิดจะนั่งก็นั่งตามความคิดมันแข็งกระด้าง จะแข็งให้แข็งเหมือนเพชร แข็งกับความไม่ดี ตัดไปเลย อ่อนให้อ่อนเหมือนไหม อย่าให้มันขาดง่าย ระหว่างอิริยาบถทั้ง 4 ยืนเดิน นั่ง นอน อย่าให้ขาดสติ ให้เหมือนไหม ใช้ความแข็ง ใช้ความอ่อนให้ถูกกาลเทศะ เวลามันหลงตัดได้ง่ายเหมือนเพชรตัดกระจก แข็งเหมือนเพชร ปาดง่ายๆ อย่าให้อาลัยอาวรณ์ในความหลง ความโกรธ กิเลสตัณหา มีรสชาติ อัสสาทะ มีรสชาติ สาทะมีรสชาตินะ อย่าอาลัยตรงนี้ ตัดไปเลย พระพุทธเจ้ายังเป็นสิทธัตถะ ตรงไหนควรตัดก็ตัด คิดถึงพิมพาตัดทันทีย่อมคิดถึงนะ มีลูกราหุลมาเกิดก็ย่อมคิด ตัดออกไป ทำชีวิตจิตใจเหมือนเพชร นอนอยู่ในป่าย่อมคิด แต่ก็ตัดได้เหมือนเพชร ไม่ใช่มานั่งคิดถึงพิมมา เรามาแสวงหาโมกขธรรม กลับมาคู้แขนเข้าเหยียดแขนออก ตัดไป ตัดไป อย่าอาลัยอาวรณ์ตรงนี้ เกิดจากความคิด เกิดจากอะไรต่างๆ ที่มันหลง อย่าให้ได้นกแซว ดักแค้วบนต้นไม้ได้ปลาขาว ต้นไม้มันไม่มีอะไร ทำแบบไม่มีอะไร ว่างๆ ไม่ใช่มียาก ถ้าเอายากเป็นความไม่ชอบ เอาง่ายเป็นความชอบ มันแห้ง ให้ความยาก ให้ความง่ายพาทำความเพียร ให้ความขยันพาทำ ให้ความขี้เกียจพาหยุดไม่ใช่ ให้มันแห้งๆ ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร มันผิดถูกก็ไม่เป็นไร อย่าไปเสียดายความถูก บางคนเสียดายอารมณ์ได้อารมณ์ดีๆ แล้วมันเสียไป บางคนร้องไห้นะ เคยสงบมาหลายปี เกิดกิเลสตัณหาขึ้นมาเสียใจมาก ถ้าประเมินตัวเองทำความเพียรมาหลายปี ไม่ค่อยได้ผลแล้ว เป็นบาปเป็นกรรมอะไรน้อ ซึ่งเป็นแค่อารมณ์ หลวงตาเลยพูดว่า เอ้า! หมานั่นน่ะ กิเลสเหมือนหมาตัวหนึ่ง สติเหมือนช้างจะหวั่นไหวทำไม หมามันเห่าช้างหวั่นไหวทำไม ไปฆ่ามันเลย ไปเสียใจกับมันทำไม เราไม่ได้ประโยชน์อะไร เราต้องสู้ เปลี่ยนทิศทางใหม่ ถ้าอ่อนแอ กลัวก็กลัวไปเลย กิเลสเหมือนหมา สติเหมือนช้าง ใส่ใจนะ มันดี๊ดี ชอบที่สุด สติภายในกายไม่มีอะไรที่จะเป็นส่วนตัวเท่านี้ อันอื่นยังเป็นส่วนคนอื่นอยู่
เดี๋ยวนี้เราใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น แม้เราอยู่คนเดียวก็เพื่อคนอื่น บางทีทำความเพียรไม่ใช่เราทำ ถ้าติดบุหรี่มาบุหรี่มันพาทำ ถ้าหิวบุรี่เอาบุหรี่มาสูบก็ดีหน่อย หิวหมากก็เอาหมากมาอมก็ดีหน่อย ไม่ใช่ความเพียรพาทำ บุหรี่พาทำ หมากพาทำ บางทีก็เป็นอย่างนั้น ตัดไปเลย แห้งไปเลย ความแห้งมันเข้มแข็ง ดักแฮ้วบนต้นไม้ได้ปลานะไม่ใช่ไม่ได้อะไรเลย ตัดไปเลย อดทน เวลามันปวดใช้ความปวดพาอ่อนแอมันย่อมปวด เห็นเวทนาในเวทนา เวทนาทำให้คนอ่อนแอ ถ้ามีจิตดีๆ มันจะเข็มแข็งตรงนี้ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตที่มันคิด เห็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นกุศล เป็นอกุศล ง่วง หงาว หาวนอน ต้องรู้แล้วถอนออกมา ถอนออกมา เข็มแข็งนะ ผ่านได้เลยนะ อะไรที่มันเป็น เกณฑ์ชี้วัดของเรา หลงตรงกายแก้ตรงกายได้ หลงตรงเวทนา สุข ทุกข์ มีนะเวทนาในกาย หลงตรงไปที่จิตคิด ที่ไม่ได้ตั้งใจ มีมาก รบกวนมาก ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจเนี่ยะ เรียกว่าเจ้าสังขาร หลงไปกับธรรมที่มันเปรอะเปื้อนอะไรมา โทสะจริต ราคะจริต โมหะจริต อันมีจริตมีนิสัยมา มันจะสวนทางกัน มันง่ายที่จะไปคิดกับความเคยชิน บอกคืนอะไรมามันก็บอกคืน เรียกว่าเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ถ้าไม่หลง 4 ด้านนี่ไปได้ มันเป็นด่านกักขังไม่ให้เจริญก้าวหน้า เอากรรมฐานเนี่ยะศักดิ์สิทธิ์นะ ศักดิ์สิทธิมาก ส่วนตัวๆ อยู่ที่ไหนก็ได้ อยู่กับเพื่อนก็ได้ อยู่คนเดียวก็ได้ อยู่คนเดียวไม่หลงยังไม่เข้มแข็งเท่าไหร่ อยู่กับคนอื่นคนอื่นทำให้หลงไม่หลงเคยฝึกตัวเองตอนใหม่ๆ ไปบิณฑบาต พระบางรูปชวนพูดชวนคุย เค้าหลง เราจะไม่หลงเหมือนเขา สอนตัวเอง ขณะที่เพื่อหลง บางทีเพื่อเราก็ชวนคุยเราก็ดูตัวเรา คนหนึ่งหลงแบบหนึ่ง คนหนึ่งหลงแบบหนึ่ง ชื่อว่าหลงเหมือนกันหมด ชื่อว่าโกรธก็เหมือนกัน ชื่อว่าทุกข์ก็เหมือนกัน มันมีอยู่ในเรา เราต้องหัดตัวเรา หัดทุกกรณี บางทีเพื่อนหลงมากๆ ทำให้เราได้บทเรียน เราจะไม่เป็นเหมือนเพื่อน บางทีหลวงปู่เทียนพาไปสอบอารมณ์ เห็นนักปฏิบัติหลง หลวงพ่อเทียนก็สอน ก็เลยบอกหลวงพ่อว่าผมไม่หลงแบบนี้ เรามีสติเราจะหลงได้อย่างไร ได้บทเรียน ไม่หลงเด็ดขาดในสิ่งที่คนอื่นหลง ไม่ทุกข์เด็ดขาดในสิ่งที่คนอื่นทุกข์ ไม่โกรธเด็ดขาดในสิ่งที่คนอื่นโกรธ มันจะล่วงพ้นทางเก่านะปฏิบัติธรรมเนี่ย มันเลื่อนชั้นเลื่อนฐานะ มันเปลี่ยนได้ มันทำได้ มันปฏิบัติได้จริงๆ เวลามันหลงรู้ เวลามันทุกข์รู้ สิทธิของเราร้อยเปอร์เซนต์ นี่คือการปฏิบัติมันศักดิ์สิทธิ์ เป็นความถูกต้องอยู่โดยชอบที่สุด ไม่ต้องมีอะไรมากเปลี่ยนหลงเป็นรู้ไปเถอะ หาเรื่องให้มันหลงก็ได้ การทำความเพียรมันมาเอง อยู่เฉยๆ ก็มาเอง มาสอนเรา เหมือนนิทานโบราณ อยู่ซื่อๆซิ้นกะแล่นมาหา อยู่ซื่อๆปากกะแล่นมาสู่มรู้จักไหม อยู่เฉยๆก็มีอะไรมาให้ อันปัญญามันได้จากตรงนี้หนา ไม่ใช่ไปเรียนในสถาบันที่ไหน มันมีอยู่ในกายในใจเรานี้ จนเป็นสูตรทำให้เกิดการตรัสรู้ ไปสอนสาวก ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มีเท่านี้. เอาเถอะพวกเรา สอนคนอื่นก็เหมือนกับสอนเรา สอนเราก็เหมือนกับสอนคนอื่น มันอันเดียวกันแท้ๆ ถ้าใครปฏิเสธตรงนี้ก็เท่ากับปฏิเสธตนเอง ให้เขาสัมผัสดูเราสัมผัสภาวะที่รู้ดู ไปสอนคนจีน เขาก็เหมือนเรา ใครๆก็เหมือนกัน มีความรู้สึกระลึกได้ ภาษาไทยเรียกว่ารู้สึกตัว ภาษาบาลี เรียกว่าสติสัมปชัญญะ ภาษาจีนว่าอะไรเค้าบอกอยู่จำไม่ได้ ภาษา ฝรั่ง เรียกว่า อะแวร์ๆ มีอันเดียวกันคือความรู้สึกตัว มันเป็นการครบวงจรนะ เริ่มต้นจากความรู้สึกตัว มันไปถึงที่สุด เบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนอาจารย์เว่ยหลางได้บรรลุธรรม จากพระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 ในขณะนั้นยังไม่ได้บวช บรรลุธรรมจนได้เอกลักษณ์เป็นส่วนตัวว่า ไม่อยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่อะไร ไม่ได้อยู่ที่ตรงไหน และไม่ได้เป็นอะไร จึงได้มาเขียนโศลก ได้เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 จึงไปบวช ... วัดของท่านสอนเรื่องนี้ หลวงตาไปดูกับอาจารย์โน้ต สังฆปรินายกองค์ที่ 6 สอนเรื่องนี้ เพราะไม่เป็นอะไร ไม่ได้อยู่ตรงไหน เห็นสักแต่ว่าเห็น มันก็ผ่านได้ตลอด สร้างดวงตาภายใน ตาภายในมันเห็น เห็นแล้วมันไม่เป็น ตาเนื้อเห็นแล้วมันเป็น ตัวธรรมมะรักษาใจ ยารักษากาย มีคู่กันไป มีคำถามเวลาเราไปสอนธรรมที่เมืองจีน เค้าถามว่าปฏิบัติธรรมรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เหรอ หลวงตาบอกว่าธรรมะรักษาใจ ยารักษาโรค มันมีโรคกายโรคใจ รักษาโรคใจได้เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย รักษาโรคกายได้ก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ยังมีการแก่ การเจ็บ การตายในอารมณ์ ในอายตนะ การมีสติมันรักษาโรคใจ เหนือการเกิดแก่ เจ็บ ตาย เบื้องต้น ท่ามกลาง สิ้นสุด ให้พากันศรัทธา ให้พากันทำความเพียรประกอบ พากันใส่ใจ และก็มีเหตุมีผล อย่าโง่เง่าต่อตัวเอง อย่าหลงต่อตัวเอง เวลาหลงอย่าให้หลงเป็นหลง ให้หลงเป็นรู้ เวลาโกรธอย่าให้โกรธเป็นโกรธ ให้โกรธเป็นรู้ เวลาทุกข์อย่าให้ทุกข์เป็นทุกข์ให้ทุกข์เป็นรู้ เวลาเจ็บอย่าให้เจ็บเป็นความเจ็บ ให้เจ็บเป็นความรู้ เวลาแก่อย่าให้ความแก่เป็นแก่ แต่ให้แก่เป็นรู้ เวลาคนตายอย่าให้ความตายพาให้ตาย ให้ความตายเปลี่ยนเป็นภาวะความรู้ มันเปลี่ยนไปได้หนา มันไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร