แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ศาสนาก็ ถึงจะอยู่ได้ ต่อเมื่อฟังแล้วเอาไปทำ ไปปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมนี่ถือว่าเป็นกรรม กรรมคือการกระทำ แล้วมันก็จะจำแนกไปเอง อาศัยการกระทำเป็นเหตุ การกระทำก็จะจำแนกไป ไม่ต้องไปคิดไม่ต้องไปอ้อนวอน เช่น การเจริญสติเป็นคำพูดก็ได้ ธรรมเป็นอุปการะมากสองอย่าง สติคือความระลึกได้สัมปชัญญะคือความรู้ตัว จำเอา แล้วก็ไปพูดไปตอบอันนั้นไม่ใช่ เป็นภาคปริยัติ เป็นภาคทฤษฎี แต่ว่าไม่ต้องไปท่องเป็นเสียงเป็นคำพูด เอาการกระทำ เอากายไปต่อเอากายไปจุ่มเอาให้มันติดกับกาย ให้มันติดกับจิต สร้างตัวรู้ ให้รู้สึกให้ระลึกได้ ขนาดที่รู้สึกมันก็ระลึกได้ มันติดกันอยู่ สติสัมปชัญญะมันติดกันอยู่ ให้มีอันหนึ่งอันเดียว
เราต้องฝึกหัด ถ้าไม่หัดมันไม่เป็น มันอาจจะหลงมากกว่ารู้ เราจึงฝึกหัดให้มันรู้สึกตัวต่อเนื่องยาวๆก่อนที่มันจะเป็น มันต้องมีเวลา เช่น เวลาใดมันหลงหัดให้มันรู้ เวลาใดมันไม่มีอะไรก็หัดให้มันรู้เรื่อยไป ให้ความรู้เป็นเจ้าเรือน เป็นเจ้าของ เป็นผู้ดู เป็นผู้แล เป็นผู้ช่วยเหลือ เรามาหัดตัวนี้กัน เวลาใดที่มันหลงได้โอกาสที่จะได้เกิดความรู้ อะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นกับกายกับใจ ให้เราเอาความรู้สึกตัวไปเกี่ยวข้องไปเฉลย หัดเฉลย หัดมีความรู้สึกตัวไปเกี่ยวข้อง ให้ไปดูไปเห็นว่า เช่น เราเดินอยู่มันรู้อยู่มันคิดจะนั่ง ความคิดมันพาจะให้นั่ง เราก็ไปรู้สึกอย่านั่งตามความคิดอย่าลุกตามความคิด อย่าทำอะไรไปตามความคิดหมดทุกอย่าง ให้มีสิ่งทักท้วงตรวจสอบเหมือนกับคนทำงาน ก็ต้องมีผู้ดูผู้เห็นให้รู้ให้เห็นด้วย มันเป็นอย่างไร ให้เห็นกับตาเราดูเห็นกับตา ว่าเขาทำตรงนั้นเขาทำแบบนี้ ถ้าเราไม่เห็น เราก็ปลอมได้ งานก็เถื่อน ชีวิตเรามันก็อาจจะเถื่อนถ้าไม่มีผู้ดูแลไม่มีผู้ตรวจสอบ ความเถื่อนของชีวิตมันก็มี เช่น ความคิด มันคิดอะไรก็ไปตามความคิด คิดยังไงก็ได้มันไม่ได้เสมอไป ก็ทักท้วงดูก่อน หัดให้มันรู้เห็น เอาไปเอามาตัวคิดมันก็อายสติเหมือนกัน เพราะมันไม่ถูกต้อง บางอย่าง ในกายในใจเรานี้มันไม่ถูกต้องเสมอไป เราจึงมามีสติคอยดู คอยเห็น ให้มันคุ้นมันเคยหัดใช้สติมันเห็นเรื่องเดียวบ่อย ๆ มันเห็นเรื่องเดียวบ่อย ๆ หรือมันเกิดขึ้นไรก็ตาม มันเห็นบ่อย ๆ แล้วในกายในใจเรานี้มันก็มีเรื่องเดียวบ่อย ๆ มันเกิดอันเดียวบ่อย ๆ เหมือนกันทุกคน ความหลงก็เหมือนกัน ความโกรธก็เหมือนกัน ความทุกข์ก็เหมือนกัน อะไรก็ตามมันเกิดขึ้นเหมือนกัน นอกจากความรู้สึกตัว ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้ามันเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็ให้มันเกิดไปตามเรื่องตามราว มันก็ไม่ถูกเสมอไป
เช่น เราดูกายเนี่ย เราเห็นกายอยู่บ่อย ๆ เห็นกายอยู่บ่อย ๆ การเห็นอยู่บ่อย ๆ มันไม่ใช่เห็นเฉย ๆ ความเห็นมันก็พัฒนา ขึ้นมา เหมือนกับเราเห็นหน้าเห็นตากัน เห็นหน้าเห็นตากัน เห็นกันบ่อย ๆ มันก็จำกัน ก็รู้กัน รู้หน้ารู้ตาเรายังไม่พอ ยังรู้ถึงนิสัยใจคอ ของบุคคลที่เราเห็น เป็นบัณฑิตอย่างไร เป็นคนพาลอย่างไร ควรคบ เป็นมิตรแท้มิตรเทียมอย่างไร สิ่งที่เราเห็นเขาก็แสดงการพบกันนาน ๆ มันก็เห็นอะไรที่มันผิดมันถูก การพบชีวิตเราบ่อย ๆ มันก็เห็นแล้วมันก็แสดงให้เราเห็น เห็นกาย มันก็เห็นเป็นรูป ไม่ใช่เป็นกาย เห็นเป็นรูปเป็นนาม เห็นการเคลื่อนการไหวมันเป็นรูปเป็นนาม ไม่ใช่เห็นกายธรรมดาเพราะตัวดูเข้าไปดูแล้ว ออกมาดูแล้ว ภาวะที่รู้สึกมันออกไปดู เมื่อออกไปดูมันก็เห็นพบเห็น เห็นเป็นรูปธรรมเห็นเป็นนามธรรม แหม มันเห็นเมื่อเห็นเป็นรูปเห็นเป็นนาม มันก็แตกฉานแล้วบัดเนี่ย มันแตกฉานไปเองเป็น รูปทุกข์นามทุกข์ อย่างไร ธรรมชาติอย่างไร อาการอย่างไร มันก็จะบอก รูปนาม กองรูป กองนาม มันจะบอกเรา เราก็จะฉลาดอยู่บนกองรูปกองนาม มีปัญญา มีปัญญาเกิดขึ้นจาก กองรูป กองนาม
เราอย่าไปดูแบบจี้ แบบเพ่ง แบบจ้อง ดูเหมือนออกมาดู เหมือนเราดูหนังดูละคร อย่าไปแสดงกับเขา จึงจะเรียกว่าลักษณะของการดู ถ้าไปดูแล้วแสดงกับเขาไม่ได้ดู เป็นผู้แสดง เช่น เขาแสดงให้หัวเราะก็หัวเราะไปกับเขา เขาแสดงให้ร้องไห้ก็ร้องไห้ไปกับเขา เขาแสดงให้รักให้โกรธก็โกรธก็เคืองไปกับเขา อันนั้นไม่ใช่ดู การมาดูแลมาดูตัวเองก็เหมือนกัน เขาแสดงบททุกข์ก็ไปทุกข์กับเขา เขาแสดงบทยากก็ยากกับเขา เขาแสดงบทเจ็บบทปวดก็ปวดกับเขา เขาแสดงความหิวความร้อนความยากความง่ายก็แสดงกับเขา ไม่ใช่ดูนะ
ภาวะของสตินี่คือการดู ถ้าเขาแสดงความยากเราก็เห็นความยาก ความยากเห็นเขาไม่เป็นผู้ยาก เขาแสดงความง่ายก็เห็นความง่ายไม่ได้เป็นผู้ง่าย เขาแสดงความสุขก็ไม่ได้เป็นผู้สุขกับเขา เขาแสดงความทุกข์ก็ไม่เป็นทุกข์กับเขา เพราะว่าภาวะที่ดู ภาวะที่ดูมันเป็นอย่างนั้น เลยพูดแบบตรง ๆ ว่า เห็นมันสุขเห็นมันทุกข์ไม่ใช่เป็นผู้สุขไม่ได้เป็นผู้ทุกข์ เห็นมันยากเห็นมันง่ายไม่ได้เป็นผู้ยากไม่ได้เป็นผู้ง่าย เห็นมันผิดเห็นมันถูกไม่ได้เป็นผู้ผิดไม่ได้เป็นผู้ถูก จึงจะเรียกว่าการดู เป็นอย่างนั้น สติเป็นอย่างนั้น คุณค่าของสติ หน้าที่ของสติเป็นอย่างนั้น พาให้เกิดความบริสุทธิ์ พาให้เกิดปัญญา ก็เห็นหมู่นี้แหละเป็นปัญญา มันยกขึ้นกว่าเก่า มันล่วงข้ามกว่าเก่า ข้ามล่วงกว่าเก่า มันเป็นการข้ามล่วง มันเป็นการพ้นภาวะเดิม ๆ นะสติเนี่ย เราเห็นเห็นมันอะไรต่าง ๆ เขาแสดงอยู่นั้นแหละ เวลาเราไปดู มันก็ต้องแสดง เขาแสดงตลอดเวลาเรื่องของกายของจิตของใจเราเนี่ย เรื่องของชีวิตเราเนี่ย เช่น เราเห็นกาย เราต้องเห็นเวทนา กายเขาแสดงถึงความเป็นอย่างไร ความเท็จความจริงเป็นอย่างไร
ที่เราพูดวันก่อน กายานุปัสสนา มีสติเห็นกาย เห็นกายในกาย เห็นก้นบึ้งของกาย มันเป็นอย่างไร มันเป็นตัวเป็นตนอยู่ในกายอย่างไร ไม่มีตัวมีตนอยู่ในกายอย่างไร กายนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นภพเป็นชาติ เป็นกู การแสดงของกายเป็นปัญญา ไม่มีตนอยู่ในกาย เห็นเป็นปัญญา เรื่องของกาย ความร้อน ความหนาว ความปวด ความเมื่อย ความหิว ความเจ็บ ความปวดอะไรต่าง ๆ มันเป็นอาการที่มันเกิดขึ้นกับกาย ไม่มีตนอยู่ในที่นั้น ไม่มีตนอยู่ในอาการ เห็นเป็นอาการ เห็นเป็นธรรมชาติจึงจะเรียกว่าสติ ถ้าเรื่องของกายก็เฉลยได้ทุกอย่าง เห็นแบบลัด ๆ เห็นแบบตรง ๆ ไม่เนิ่นช้า ๆ ถ้ามันปวดก็รู้แล้ว ๆ เฉลยได้แล้ว เห็นแล้ว ภาวะที่เห็นนี่ไม่มีคำถาม ผู้ที่เห็นก็ไม่มีคำถาม พบเห็น ไม่ใช่คิดเห็น รู้เห็นพบเห็นมันอยู่กับตา พบกับตา รู้เห็นมันก็มีส่วนประกอบ ถ้าคิดเห็นไม่มีส่วนประกอบเลือน ๆ ลาง ๆ
การเจริญสติมันชัด ไม่มีอะไรที่หลอกเราโดยเฉพาะตัวเรานี่แหละมันหลอกตัวเรา ถ้ามีสติมันหลอกไม่ได้ความสุขมันก็หลอกไม่ได้ ความทุกข์มันก็หลอกไม่ได้ ความโกรธความโลภความหลงก็หลอกไม่ได้ เพราะความรู้สึกตัวมันเห็น ถ้าจะเห็นเป็นความสุขความทุกข์ก็เห็นเป็นอาการ เห็นเป็นความโกรธความโลภความหลงก็เห็นเป็นอาการ อาการของกายอาการของจิต ยิ่งไปเห็นรูปเห็นนามเข้าแล้ว มันเปิดเผยออกมาให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนอย่างไรที่มันเกิดอยู่กับรูปธรรมกับนามธรรม ทุกข์บางอย่างมันก็เกี่ยวข้องถูก ไม่ถึงจิตไม่ถึงใจ เฉพาะทุกข์ของรูปไม่ถึงจิตถึงใจ มันก็แยกออกเป็นส่วน ไม่จิตใจไม่ต้องไปรองรับ โดยเฉพาะตัวรู้สึกตัวนี่ก็ มันก็เป็นจิตแล้วล่ะ เป็นภาวะที่เป็นจิต เป็นภาวะที่เป็นความบริสุทธิ์ โดยเฉพาะภาวะที่เห็นเนี่ย มันเป็นภาวะที่บริสุทธิ์ จะเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ก็ตรงนี่แหละ ประพฤติพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ภาวะที่เห็นนี่เป็นพรหมจรรย์ไม่เปรอะไม่เปื้อน แต่ภาวะที่เป็นนี่มันเปรอะเปื้อนนะ เป็นสุขก็เปื้อนความสุข เป็นทุกข์ก็เปื้อนความทุกข์ เป็นผู้ผิดก็เปื้อนความผิด เป็นผู้ถูกก็เปื้อนความถูก เป็นผู้รักก็เปื้อนความรัก เป็นผู้ชังก็เปื้อนความชัง แต่ถ้าว่าภาวะที่เห็นนี่ไม่เปรอะเปื้อนกับอะไร เหมือนกับใบบัวที่มันแบนอยู่ ฝน น้ำฝนตกใส่ มันไม่เปื้อน ภาวะที่สัมผัสมันไม่เปื้อน มันเป็นคุณภาพ ชีวิตของเรามันก็มีคุณภาพ โดยเฉพาะความรู้สึก ความระลึกได้ พาให้เกิดเป็นคุณภาพ พาให้ชีวิตมีสมรรถนะภาพเป็นมาตรฐาน ภาวะที่ดูน่ะ ไม่เปรอะไม่เปื้อนกับสิ่งใด การเห็นถ้าเป็นแล้วเปรอะเปื้อนนะ
เราจึงมาดูออกมาดู เหมือนพระพุทธเจ้าแสดงว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกอันกว้างศอกยาววาหนาคืบ วิกฤตการณ์ ดุจราชรถที่คนเขาหมกกันอยู่ จมอยู่ แต่ผู้มีปัญญาหาข้องอยู่ไม่ ไม่ข้องอยู่ก็หลุดไปจากตัวนี้นะ การหลุดพ้นก็หลุดจากอันไหน หลุดจากภาวะที่เข้าไปเป็นอะไรต่าง ๆ หลุดไปแล้ว มีแต่เห็นแล้ว การเห็นมันก็ต้องพ้นตรงนั้นแหละ ภาวะที่เห็นมันก็พ้นแล้ว แต่ภาวะที่เป็นไม่พ้น ความหลุดพ้นก็เกิดอยู่กับการเห็น เหมือนกับเราเห็นงู งูก็ไม่ได้กัดเรา เห็นความหลง ความหลงก็ไม่มีประโยชน์สำหรับเรา ไม่มีโทษสำหรับเรา ถ้าได้เห็นแล้วก็ เอาไว้หลังแล้ว ความเห็นก็ออกหน้าไปพ้นไปแล้ว ถ้าสิ่งไหนที่เห็นเอาไว้ข้างหลังแล้วไม่ขวางหน้า ถ้าเป็นมันก็ขวางตลอดไป ไปเจอ ไปชน ไปเป็นปัญหา ขวางหน้าขวางตาไปไม่ได้ ไปไม่ได้
การเจริญสติเห็นไหม เห็นมันหลงพ้นจากความหลงไหม เห็นมันคิดพ้นจากความคิด ค่อย ๆ พ้นไปนี่นะ บางทีเห็นมันยาก ก็พ้นจากความยาก เห็นมันผิดก็พ้นจากความผิด ถ้ามีสตินะ มันปวดมันเมื่อยเห็น การเห็นการปวดการเมื่อย มีสติมันจะเยียวจะยาจะบรรเทา แล้วก็เกี่ยวข้องกับภาวะที่มันปวดมันเมื่อย ไม่มีตนอยู่กับภาวะที่มันปวดมันเมื่อย ถ้ารู้สึกตัว ยกออกไปแล้ว เขาเรียกว่าเห็นอะไร เห็นเวทนา เห็นมันปวดมันเมื่อย มันเป็นปัญญานะ ถ้าโอ๊ยไม่ไหว ๆ แย่ ๆ โอ๊ยไม่ไหวหรอก ฉันน่ะ ไปไม่รอด มันมีตัวมีตนอยู่ในความปวด บางทีถ้าเราเห็น เราก็ อื้อนี่คือภาวะของเวทนา แล้วก็เกี่ยวข้องโดยที่ไม่ถึงจิตถึงใจ แยกรูปแยกนามออก จิตใจไม่กระทบกับกระเทือนกับภาวะที่เจ็บที่ปวด มันก็ยกเป็นส่วนหนึ่ง ถ้ามันปวดร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าใจไม่กระทบกระเทือนมันก็ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าร้อยเปอร์เซ็นต์มันต้องถึงใจด้วย ถ้าไม่ถึงใจนี่ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ เยียวยาลงไป ถ้าหิวนั่นแหละเป็นผู้หิวเป็นทุกข์เพราะหิว เป็นสุขเพราะอิ่มก็ร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นภาวะของปุถุชน ปุถุชนคือร้อยเปอร์เซ็นต์
เหมือนกับพระพุทธเจ้าตรัสว่า ปุถุชนถูกศรสองดอกถูกกายแล้วถูกจิตด้วย อริยบุคคลถูกศรดอกเดียว เช่น ความร้อนก็ร้อนกาย ใจไม่ต้องร้อน ต้องเย็นอยู่นั่นแหละ มันก็ถูกเฉพาะกาย ความหิวก็เป็นกาย ใจไม่ต้องเป็นอะไรนะ ถูกศรดอกเดียว ทุกข์ของกายมันก็เป็นอย่างนั้น มันก็ต้องมีร้อนมีหนาวมีปวดมีเมื่อย มีหิว มีอะไรเยอะแยะ แต่ใจไม่เป็นไร เพราะมันดูมันเห็น ภาวะที่เห็นภาวะที่ดู มันยกออกไปแล้ว นี่การปฏิบัติมันต้องไปอย่างนี้ จำแนกไปแบบนี้ ว่าแต่เรามีความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวจะนำ จะเป็นใหญ่ จะเป็นผู้ดูแลตรวจสอบทักท้วง หลุดก็หลุดพ้นตรงนี้ หลุดพ้นเพราะความรู้สึกตัว ค่อยพ้นไปน้อย ๆ ไป เช่นมันหลง พ้นจากความหลงไหม มันคิดไป พ้นจากความคิดไหม หรือว่ามันขวางหน้าขวางตาอยู่ แล้ววิธีที่เราทำนี่มันก็มีจริง ๆ มันก็ช่วยได้ มันเป็นเครื่องมือที่ช่วยได้ เราเจริญสติกับการเคลื่อนการไหว พอมันคิดไปเราก็กลับมารู้สึกตัว อ้าว ความคิดก็หมดไปแล้ว กลับมารู้สึกตัว ไม่ต้องไปเอาความคิดไปแก้ความคิด หาคำตอบจากความคิด ไม่ใช่ กลับมา กลับมารู้สึกตัว พอมันคิดไปเรากลับมารู้สึกตัว คิดทีใดก็กลับมารู้สึกตัว กลับมารู้สึกตัว
การเคลื่อนการไหวก็เป็นเสาหลัก เป็นฐาน เป็นที่ตั้ง เรียกว่าฐาน กรรมฐานมันมีที่ตั้ง มันมีฐานอยู่ กลับมา เอากายเป็นนิมิต เอากายเป็นหลัก เอากายเป็นฐาน เป็นที่ตั้ง แล้วก็มีการกระทำอยู่ตรงนี้ มีความรู้สึกตัวอยู่กับการเคลื่อนไหว แล้วก็มีเจตนา มีความเพียร มีสติ กับการเคลื่อนการไหว เป็นการช่วยเหลือ เป็นรูปแบบ เป็นวิธีการ เป็นเครื่องมือ ความยากก็ง่ายขึ้นมา เราไปเอาความคิดแก้ความคิด ไปห้ามไม่ให้มันคิด ไม่มีเครื่องมือ มันไปชนเอา ไปชนเอากับสิ่งที่มันเกิดขึ้น ตาต่อตา กายต่อกายนั่นมันชน ไปห้ามไม่ให้มันคิด เอาความคิดไปห้ามความคิด เอาความผิดไปห้ามความผิด ไม่ใช่ ทำไมมันจึงคิด จะไปคิดทำไม เป็นก่อนที่มันจะคิดมันเป็นอย่างไร ไปหาความคิดมัน double คิดไปแล้ว สองคิดสามคิดไปแล้ว เพราะนั้นเราจึงกลับมา กลับมาตั้งไว้ให้รู้สึกตัว รู้สึกตัว มันคิดทีไรกลับมารู้สึกตัว ไม่กระทบกระเทือนเลย ถ้ามันสุขมันทุกข์มันผิดมันถูกกลับมารู้สึกตัว กลับมารู้สึกตัว อาศัยนิมิตนี้ไปก่อน อย่าไปทิ้งนิมิต
แล้วก็หัดใหม่ ๆ ต้องมีนิมิต ให้มันคุ้นมันเคย ให้มันชำนิชำนาญ ถ้าหัดเป็นแล้ว อาจจะไม่ต้องอาศัยนิมิต เพราะมันรู้แล้วทั้งหมด มันมีภาวะที่รู้เป็นเจ้าเรือน มันไม่มีอะไร ลมหายใจก็คือความรู้สึกตัว อิริยาบถต่าง ๆ ก็คือความรู้สึกตัว อาการต่าง ๆ คือความรู้สึกตัว สิ่งไหนที่มันแสดงกับกายกับใจ มันมีแต่ความรู้สึกตัว อาจจะไม่ต้องไปยกมือสร้างจังหวะ อาจจะไม่ต้องไปเดินจงกรมทั้งภพทั้งชาติ แต่นั่งสร้างจังหวะเคลื่อนไหวมืออยู่ที่ไหน ๆไม่จำเป็น เหมือนกับเราหัดเขียนหนังสือหัดอ่านหนังสือ แต่ก่อนนี้ กอ ไก่ ก็อยู่หน้ากระดาน ต้องเอาตาไปดู ต้องเอามือไปเขียนตามลักษณะของ กอ ไก่ ขอ ไข่ ขอ ขวด อะไรไป ถ้าไม่ดูกระดานเราเขียนไม่ถูก ครูก็ต้องเขียนใส่กระดานให้เราดู ต่อไป ๆ เมื่อเราได้เรียนได้รู้ มันก็ไม่มีแล้วอยู่ในกระดาน มันก็อยู่กับชีวิตจิตใจของเรา เราเขียน กอ ไก่ มันก็ออกไปทันทีเป็น กอ ไก่ ไม่ต้องไปคิดไม่ต้องไปดู มันเป็นทำให้มันเป็น ไม่ใช่รู้ ความรู้กับภาวะที่เป็น มันคนละอย่าง ทำให้มันเป็นเนี่ย ว่าจะเขียน กอ ไก่ ก็เป็น กอ ไก่ แล้วมันเป็นแล้ว ขอ ไข่ ก็เขียน ขอ ไข่ อะไรมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น มันจึงใช้ได้ ถ้าไปหัดอยู่ตลอดเวลามันก็ใช้ไม่ได้ เหมือนคนขับรถ เมื่อเขาหัดเป็นแล้วมันก็ไปของมันเอง ธรรมชาติไปเอง มือของมันอะไรต่าง ๆ ไปของมันเอง