แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อ้างว่าหนาวนัก ไม่ปฏิบัติธรรม หรือว่าคนเกียจคร้าน มักอ้างว่าร้อนนัก ไม่ปฏิบัติธรรม หรือว่าคนเกียจคร้าน มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ ไม่ลุกขึ้นทำความเพียร หรือเกียจคร้าน มักอ้างว่าเหนื่อยนัก มักอ้างว่าหิวนัก ไม่ทำการทำงาน ลักษณะของคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ บัณฑิตย่อมฝึกตนอยู่เสมอ บัณฑิตย่อมฝึกตนอยู่เสมอ ถ้าไม่ฝึก มันก็ใช้ไม่ได้ กายใจของเรา พอเราฝึกวัว ฝึกควาย ฝึกม้า เทียมรถ เทียมคราด เทียมไถ เฉพาะตัวมันเอง มันก็ไปตามเรื่องตามราว จะหยุดตรงไหน จะไปข้างซ้าย ข้างขวา มันก็ไปตามเรื่องของมัน แต่เรามาฝึกเทียมรถ เทียมคราด เทียมไถ ต้องให้แบกภาระให้หนักสักหน่อย เวลาหนักก็ต้องดันให้เป็น เอางานเอาการให้เป็น จึงจะเรียกว่าฝึกหัด บางทีม้าบางตัว วัว ควายบางตัว พอหนักก็ไม่สู้ ทิ้งคราด ทิ้งไถ ทิ้งล้อ ทิ้งเกวียน ไม่เอาการเอางาน บางทีก็วิ่งหนี ไม่ยอมเข้ารับแอก รับล้อ บางทีเหนื่อยก็ร้อง ไม่ทน ไม่มีความทน
เห็นม้ากะจ้อนของแขกอินเดีย รถม้าแขกอินเดีย ตัวเล็กๆ เทียมรถวิ่งขึ้นดอยเขาคิชกูฏ ซึ่งเป็นเนินขึ้นไป ขึ้นไป แต่พอมันดันเฉยๆ มันไปไม่ได้ คนนั่ง 5, 6, 7 คน ม้าตัวเล็กๆ มันก็กระโดดใส่ กระโดดใส่แอก กระโดดใส่ กระโดดใส่ กระโดดทีไรล้อรถก็กลิ้งไป มันก็กระโดด กระโดดไปเรื่อย กระโดดไปเรื่อย ถามเขา ทำไมเอาตัวเล็กเหลือเกิน เขาบอกตัวใหญ่ มันสู้ตัวเล็กไม่ได้ เพราะว่าตัวเล็กมันเอางานเอาการ แขกเขาชอบตัวเล็กๆ เขาเรียกม้ากะจ้อน
อันนี้ก็ ชีวิตของคนเรานี่จะรู้สึกว่าตัวเองมีความอดทน เอาการเอางาน ก็ต่อเมื่อเราปฏิบัติดู มันก็เกิดการ เกิดงาน เกิดความยากลำบาก ถึงคราวมันง่วงเหงาหาวนอน ก็ต้องทน ต้องสู้สักหน่อย ถึงคราวที่มันหมกมุ่นครุ่นคิด มันเครียด มันทุกข์ ก็ต้องสู้ อย่าเปราะบาง ทนสักหน่อย สู้ความยาก สู้ความลำบาก มันจะทำให้เข้มแข็ง เห็นความง่วงเหงาหาวนอน ถ้าเราไม่ปฏิบัติตรงนี้ ก็กลายเป็นปราชัย พ่ายแพ้ ยอม ไม่ผ่าน ถ้าเราเห็น เราเจริญสติไปมา เกิดความง่วงขึ้นมา เราก็ เออ นี่หรือภาระของเรา ต้องดันไป ให้มันผ่านพ้นไป เหมือนวัวดันล้อ ดันเกวียน ตกหล่ม ตกโคลน ก็ดัน แล้วก็ผ่านไปได้ ช่วยเจ้าของ อยากได้ อยากได้ยิ่งกว่าเจ้าของ วัวเทียมเกวียนบางคู่ อยากได้มากกว่าเจ้าของ มันเดิน ดันไม่ไหว มันคุกเข่าลง เวลามันขึ้นเขา ขึ้นมอ ก็ดัน ดันไม่ได้ ก็คุกเข่าดันเอา เดินเข่าเอาขาหลังยันไป ขาหน้าคุกลง เดินเข่าขาหน้าจนสะเมน (คะเมน) ร่างกายจนสั่น หายใจจนโยกตัว เหนื่อยหมดแรง มันก็ไม่ทิ้งล้อ ทิ้งเกวียน แต่วัวบางตัว บางคู่ ก็ทิ้งเลย ไม่เอา ทิ้งแอก บิดแอก เชือกขาด แอกหัก วิ่งหนีไปเลย บางวก็นอนเลย บางคู่ก็นอนลง ตีเท่าไหร่ก็ไม่เจ็บ อยากดื้อ
ชีวิตของเรา ฝึกใส่งานใส่การ ลองดู ก็ไม่ถึงกับว่าทำไม่ได้ พระพุทธเจ้าเคยผ่าน เคยผ่านตรงที่เราผ่าน เห็นความง่วงเหงาหาวนอน ความคิดฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย พยาบาท กามราคะ ทิฐิ ความเห็นต่างๆ อย่าท้อแท้ อย่าท้อถอย มันเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ต้องเป็นงานของคนนั้นไป ได้ประสบการณ์ ได้บทเรียน ไปเรื่อยๆ ไป เห็นกายตามความเป็นจริง ไม่ใช่เห็นเป็นตัวเป็นตน
สตินี่ ถ้าอยู่ตรงหน้ากับสิ่งใด มักจะเกิดปัญญา ท่านจึงเรียกว่าสติปัญญา เมื่อสติเห็นกาย นานๆ เข้าก็กลายเป็นปัญญารู้แจ้ง ทักท้วง เฉลย เฉลยหลุดออกไป เห็นกายเฉพาะกาย ไม่มีตัวตน ไม่มีตนอยู่ในกาย บางทีก็ไปชนกับเวทนา ความปวด ความเมื่อย ถ้าดูดีๆ นะ เวทนานี่มันมีรสชาติลึกซึ้ง อยู่ดีๆ มันปวดขึ้นมา มันสุข มันทุกข์ขึ้นมา มันทำให้เราได้บทเรียนตรงนี้ได้ เยอะแยะไปหมดเลย สนใจมาก สนใจเวทนา เวทนานี่ อย่ากลบเกลื่อน ถ้ากลบเกลื่อนเวทนา ไม่เห็นเวทนาชัดเจน จะตอบไม่ได้ว่าเวทนา สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
ถ้าเรากลบเกลื่อน กลบเกลื่อนแบบไหน อริยาบท อิริยาบถต่างๆ บังเวทนาไว้ ไม่เห็น ไม่เห็นเวทนาเพราะอิริยาบทกลบเกลื่อนบังเอาไว้ ทุกข์ก็ไม่ค่อยเห็น อิริยาบทบังทุกข์ เราจึงอดจึงทนให้มันโชว์ออกมาให้เราเห็น เห็นเรานั่ง เราเดิน พอเดินเหนื่อย เราก็เอาความเหนื่อย เป็นจุดที่เราจะต้องหยุด ต้องเลิก บางทีอาจจะไม่ถูก ความเหนื่อย ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่จะต้องให้เราเปลี่ยน ทิ้งงานทิ้งการ ความเหนื่อยถ้ามันเหนื่อย เมื่อยล้า เราก็รู้สึกตัวขณะที่มันเหนื่อยเมื่อยล้านั่น เราก็เกี่ยวข้องกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั่นให้ถูกต้อง ไม่ใช่พอเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แล้วก็ไปมีอำนาจแล้วก็สั่งเราให้เลิกทำการทำงาน เลิกความเพียร เลิกปรารภความเพียร เราก็ไปจบลงอยู่ตรงนั้น ให้มันเกินความเหนื่อยเมื่อยล้าไปสักหน่อย ถ้าจะหยุด ก็หยุดด้วยสติปัญญา
แม้แต่ความคิดก็เหมือนกัน มันคิดขึ้นได้เมื่อใดก็เชื่อตามความคิดไปทั้งหมด ก็ไม่ถูกเสมอไป อย่าให้มันเป็นใหญ่เกินไป หัดให้สติเป็นใหญ่ ให้สติอินทรีย์เป็นใหญ่ เรามีกรรมฐาน กรรมฐานก็หมายถึงมีสติเป็นใหญ่ เป็นผู้ที่จะลิขิต อย่าให้ความคิดลิขิต การใช้ชีวิตประจำวันเรา ให้สติลิขิตไป จะหลงบ้าง ผิดบ้าง ไม่เป็นไร แต่ว่าให้ ให้รู้จักทิศทาง รู้จักเงื่อนไข รู้จักหลักของการ ของงาน ของการใช้ชีวิต จึงจะเรียกว่าฝึกตน จึงจะเรียกว่าบัณฑิต มีสิ่งที่ทำให้เราฝึกหัดเยอะแยะ มันเกิดขึ้นกับกายกับจิตใจเรา จนฝึกทุกแง่ทุกมุม ทุกฉาก ทุกขั้น ทุกตอน ที่มันแสดง ที่มันเกิดขึ้นมา อาการต่างๆ ธรรมชาติต่างๆ ที่มันแสดงให้เราเห็น เราต้องฝึกตรงนั้นด้วย เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น แล้วก็เชื่อ น้อมใจเชื่อ คำสอนพระพุทธเจ้า
เห็นกายก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไปเสียก่อน สร้าง สร้างกระแส ทวนกระแสไปเสียก่อน ปากอย่าง ใจอย่าง ก็ไม่เป็นไร แต่ว่าเรามองสองแง่ สองมุม ไว้เผื่อเหนือ ตก ใต้ เห็นเวทนาก็เหมือนกัน ใช้ความเห็นน้อมใจเชื่อเหมือนกัน สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา คิดก็เหมือนกัน ที่มันคิดขึ้นมา คิดอะไรก็ทำตามความคิดได้ทั้งหมด มันก็ไม่ถูกต้อง ทำตามความคิดทั้งหมดไม่ถูกต้อง ปฏิเสธบ้าง เป็นคนละเรื่องกับสติ มองเป็นคนละอย่าง อย่าให้มันครอบงำสติ เปิดมันออก พลิกมันออก ให้สติอยู่หน้า เอาไว้ข้างหลัง แม้มันคิดแล้วคิดอีกก็ไว้ข้างหลัง ให้มีสติออกหน้าไป อย่าให้มันขวางกั้น ทำขวางกั้น เขาเรียกว่าเดรัจฉาน เดรัจฉานคาถา การขวางกั้นอะไร ขวางกั้นสติสัมปชัญญะ อะไรก็ตามที่มันขวางกั้นสติสัมปชัญญะ เรียกว่าไปทางขวางๆ แบบนั้นเรียกว่าเดรัจฉานคาถา เดรัจฉานวิชา อย่าไปสนใจ อย่าไปรู้ เหตุผลต่างๆ ที่ไม่ใช่สติ เอาสติไว้ก่อน อย่าทิ้งหลัก อย่าทิ้งเงื่อนไขที่เราสร้าง ที่เรียกว่ากรรมฐาน
อาการต่างๆ อารมณ์ต่างๆ บางทีก็เกิดความสุข เกิดความทุกข์ เกิดความรู้ เกิดความมืดมน ไม่รู้ เกิดเป็นกุศล เกิดเป็นอกุศล อกุศลบางอย่างก็ทำให้เราหลงได้ กุศลบางอย่างก็ทำให้เราเจริญได้ อกุศลบางอย่างก็ทำให้เรามีปัญญา อกุศลบางอย่างก็ทำให้เราเป็นภาระ ต้องเปลี่ยนอกุศลเป็นกุศล อกุศลบางอย่างที่มันเกิดขึ้นมา มันได้ประโยชน์ เพราะเราได้บทเรียนจากมัน เอามาเป็นของดี เอามาใช้ให้มันเกิดสำเร็จประโยชน์ เช่น ความโกรธ มันเกิดประโยชน์ถ้าเกิดความไม่โกรธ ความทุกข์ที่เป็นอกุศล ทำให้ได้ประโยชน์ ทำให้เกิดความไม่ทุกข์ได้
อกุศลคือกิเลส ตัณหา ราคะ ที่มันนอนเนื่องอยู่ในชีวิต จิตใจของเรา ก็ต้องละ ไม่งั้นมันจะเป็นจริตนิสัย เราต้องละ รอเวลา รอเวลาเปลี่ยนแปลง ละไป ละไปเรื่อยๆ อย่าใส่ใจ อย่าเพ่งเล็ง ละไปเรื่อยๆ ความทน ความเพียร การละ มันต้องมีความเพียร ไม่ใช่แต่คล้อยตาม มีความอดทนอยู่ขณะที่ละ มีความเพียรขณะที่ละ มีสติปัญญาขณะที่ละ อกุศลให้เป็นกุศล อาศัยหลายเหตุ หลายปัจจัย ไม่เหมือนความโกรธ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นกิเลสอย่างหยาบๆ ไม่เป็นอนุสัย เป็นกิเลสอย่างหยาบ มันเปลี่ยนตรงกันข้ามได้ทันที
อย่างพระพุทธเจ้าสอนว่า รากเหง้าของอกุศลมี 3 อย่าง คือโลภะ โทสะ โมหะ1 2 3 ก็ดีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญมากขึ้น นั่น มันไปทางนั้น รากเหง้าของกุศลมูลมีอยู่ 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ 1 2 3 มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญมากขึ้น ตรงกันข้าม กุศล อกุศล เปลี่ยนปั๊ป เหมือนหน้ามือ หลังมือ ไม่ต้องมีเหตุปัจจัยอะไร อันนี้ง่ายๆ ถ้าเป็นภาคปฏิบัติ เป็นภาคปฏิบัติที่ง่ายๆ ไม่เหมือนอนุสัย นิสสัยปัจจัย ทิฐิมานะ อนุสัยทิฐิมานะ อันนั้นอาจจะยาก ยากกว่าอกุศล ก็ขอให้มีชนะบ้าง การปฏิบัติธรรม ทำได้บ้าง จนบอกกับตัวเองว่า ชิตังเม ชิตังเม ชนะแล้วเอ๊ย ชนะแล้วเอ๊ย ให้มียกมือไหว้ก็ยังได้ ยกนิ้วให้กับตัวเองได้บ้าง
การปฏิบัติธรรม ไปเห็นความง่วง โง (ยกหัวขึ้น) ขึ้นมาก็ชื่นใจ เมื่อเราเห็นงานที่มันทำให้เสียหาย มันจะทำให้เสียหาย เช่น บ้านเรามีท่อน้ำ ท่อไฟ ถ้าเห็นไฟมันขาด เห็นไฟมันรั่ว เห็นไฟมันช็อต “ปั๊บปิ๊บ ปั๊บปิ๊บ ปั๊บปิ๊บ” โอ๊ย มันทิ้งไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีที่จะแก้ไข ปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ มันเกิดการเสียหาย หรือได้ยินเสียงน้ำไหล “ซู่ ซู่ ซู่” วันหนึ่งหลวงพ่อมาจากที่อื่น ค่ำมืด เดินเข้ามาวัด ศาลาหน้า เสียงมัน “ซู่ ซู่ ซู่ ซู่”” แต่ก่อนก็หูมันดี ก็ตามเสียงมันไป มันเสียงอะไร “ซู่ ซู่ ซู่” ฉายไฟ ฉายไฟไป ฉายไฟไปตามเสียง ฉายไฟไปตามเสียง ก็เห็นท่อมันหลุด ที่ล้างถ้วย อ่างล้างถ้วย มันหลุด มันก็ “ซู่ ซู่ ซู่” น้ำกระเด็น
ตอนนั้นเราก็เปลื้องผ้าเพื่อจะทำงาน ก็เข้าไปทำงาน การทำงานก็ไปแก้น้ำที่มันไหลอยู่ ไม่ให้มันไหล ก็ต้องมีความสุขุมรอบคอบ แล้วก็เปียกด้วย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่สบายๆ ความเปียกน้ำที่มันเป็นการเป็นงาน เราหยุดมันไหลได้ เราหยุดมันไหลได้ จนมั่นใจว่ามันไม่ไหล ตรงนั้นมันทิ้งไม่ได้ ในชีวิตของเรา การงานบางอย่างมันควรที่จะเป็นอย่างนั้น อย่าปล่อยทิ้ง มันเกิดให้เราได้ มันเกิดขึ้นมาให้เราได้ ปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้อง แล้วก็มักจะถูกต้องทั้งหมด
อาการที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ ที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ไม่ใช่ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความง่วงเหงาหาวนอน เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ความคิดฟุ้งซ่าน มันเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ความลังเลสงสัย มันเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน พยาบาท ราคะ ทิฐิ มานะเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน สามารถที่จะเกี่ยวข้องกับมันได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องไปหาใคร ไม่ต้องให้ใครมาช่วย มันเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา อย่าทิ้งส่วนตัว อย่าทิ้งงานส่วนตัว จำเป็นมากๆ การปฏิบัติธรรม แต่ถ้าหากว่าเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดท้องอย่างแรง ถ้าปวดท้องอย่างแรง ลองเอาหัวแม่มือกดลงไปขาหนีบ ตรงนี้ เอานิ้วกลางมาจดสะดือ เอาหัวแม่มือมาเหน็บเข้าระหว่างขาตรงนั้นทั้งสองทาง เอามือ 2 ข้าง เอาหัวนิ้วกลางมาจดสะดือ หัวนิ้วแม่มือมาจดตรงนี้ ถ้ากดลงไป ถ้าเจ็บมากๆ แสดงว่าไส้ติ่ง ไส้ติ่งอักเสบ ก็ต้องหาหมอ ปล่อยไว้ไม่ได้ ต้องเรียกร้องหาความช่วยเหลือ
เคยมีอยู่สมัยหนึ่ง คุณสมชายเนี่ยะ ปวดท้องอย่างแรง แล้วก็ทำวิธีนี้ เออ สมัยนั้น ไม่ใช่คุณหมอกัมพลนะ คุณหมอกัมพลก็เป็นคนอื่น เค้าก็เอาไปโรงพยาบาล พอไปผ่าไส้ติ่ง เลือดไม่หยุดเลย ตกใจเลย เพราะว่าคุณสมชายติดเฮโรอีน กำลังจะมาเลิกใหม่ๆ เลือดมันไม่แข็งตัวเป็น หมอก็หมดปัญญา ทำไง ทำไง ทำไง เลือดไหลไม่หยุดเลย เหมือนน้ำไหลออกจากท่อ ตึ๊ง ตึ๊ง ตึ๊ง ไปๆ มาๆ ก็หยุด อันนี้ก็ต้อง ต้องรู้ ไม่ใช่อารมณ์ของกรรมฐาน แล้วก็มีปัญญาด้วย อะไรที่สุขภาพมันเป็นยังไง ดูออก เรียนรู้มันไปเรื่อยๆ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทำแล้วมันโง่นะ มันฉลาด แม้กระทั่งสุขภาพ มันก็ฉลาด
ที่เรานั่ง หัดใหม่ๆ นั่งนานไม่ได้ ต่อไป ต่อไป มันจะนั่งนานได้ มันก็วิวัฒน์พัฒนา เดินนานไม่ค่อยไหว ปวดเข่า ปวดคอ ปวดแขน ปวดขา หัดไปหัดไป มันเกิดความเข้มแข็ง เดินได้หยอยๆๆ ไปได้เลย มันวิวัฒน์พัฒนา วิชากรรมฐานเป็นวิชาพัฒนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ไม่มีอะไรเสียหาย ไม่เหมือนวิชาอื่นๆ เช่น เล่นกีฬา บางทีขาหัก ได้บาด ได้แผล ได้ทะเลาะวิวาทกัน วิชากรรมฐานทะเลาะกับตัวเอง การทะเลาะกับตัวเองเป็นเรื่องดี แล้วก็พยายามเอาชนะตัวเอง วิชากรรมฐานเป็นวิชาที่เอาชนะตัวเอง วิชาอื่นๆ เป็นวิชาเอาชนะคนอื่นสิ่งอื่นๆ เหมือนกีฬา เอาชนะคนอื่น วิชากรรมฐานเป็นวิชาที่เอาชนะตัวเอง ถ้าแพ้ก็แพ้ตัวเอง ไม่มีใครเป็นคู่ต่อสู้กับเรา
แม้คนอื่นเขาทำให้เราโกรธ เราก็เป็นเรื่องส่วนตัวเรา อย่าไปโทษคนอื่น คนอื่นทำเราทุกข์ เราก็อย่าไปโทษคนอื่น ถ้าเป็นนักกรรมฐาน ต้องมาแก้ไขตัวเอง มาห้ามตัวเอง นับ 1 ที่ตัวเรา แก้ไขปัญหาที่ตัวเรา มันจึงจะถูกต้อง ถ้าไปแก้ปัญหาที่คนอื่น ไม่จบไม่สิ้น วิชากรรมฐานเป็นวิชาแบบนี้ เป็นวิชาที่แก้ตัวเอง ชนะตัวเอง แพ้ตัวเอง ถ้าแพ้ตัวเองนี่ก็น่าอายมาก ถ้าชนะตัวเอง โอ ประเสริฐนะ คนเขาส่วนมาก เค้าชนะคนอื่น ถ้าแพ้ตัวเองนี่ เค้ากลบเกลื่อนเอาไว้ แต่ถ้านักกรรมฐาน ถ้าแพ้ตัวเอง มันสกปรก มันน่าเศร้าหมอง มันเบื่อหน่าย มันเหมือนบ่อขยะที่หมักหมมเอาไว้ เช่น สูบบุหรี่ สูบบุหรี่นี่ สูบทีไร ไปลักไปลอบสูบ มองดูมันน่าเกลียด แต่มันอดไม่ได้ ก็น่าเห็นใจเหมือนกัน ไปแอบสูบในส้วม คนไม่เห็น เหม็นมากที่สุด ถ้าจะแอบสูบบุหรี่จริงๆ ขออย่าไปสูบในส้วม มันอยู่ในส้วมเป็นชั่วโมง 2 ชั่วโมง กลิ่นมันก็ไม่หนีไปไหน ไปสูบที่อื่นได้ กินแหนงแคลงใจตัวเองมาตั้งแต่เลิกใหม่ๆ ก็เลิกยาก ก็ละอายตัวเองอยู่ บางครั้งก็ละอายตัวเอง ก็พยายามจะเอาชนะมัน จนเราเอาชนะมันได้
การแพ้ตัวเองมันทิ้งไปไม่ได้ การเอาชนะตัวเอง มันเป็นของประเสริฐ อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย ชนะตนนั่นแลประเสริฐที่สุด ชนะคนอื่นร้อยครั้งพันหนไม่เท่าชนะตนครั้งเดียว พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ลองดู ชีวิตของนักกรรมฐาน ชีวิตของเรา บัณฑิตต้องมองกลับมาหาตัวเรา อะไรก็ตาม ต้องมองกลับ ถ้าจะเป็นนักปฏิบัติ ต้องมองกลับ มันจึงได้เงื่อนไขที่ดีที่ถูกต้อง อย่าไปโทษอะไรออกไปข้างนอก เราไปข้างนอก มันนิสัยของคนพาล เราต้องมองตัวเรา มองตัวเรา นับ 1 จากตัวเรา เริ่มต้นจากตัวเรา ให้เรียกว่าบัณฑิตต้องฝึกตนอย่างนี้ บัณฑิตต้องฝึกตนเหมือนกับพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ช่างศรต้องดัดลูกศร ช่างถากก็ต้องถาก ตรงไหนมันคดมันงอก็ต้องถากให้มันตรง จ้างดัดลูกศรก็ดัดลูกศร บัณฑิตก็ต้องฝึกตน ฝึกตน ฝึกตน โดยเฉพาะวิชากรรมฐานการเจริญสตินี่ มันครบวงจรทั้งหมดเลย วิชาการฝึกตน เห็นรอบตัว รอบด้าน มาทางไหนรู้หมด เรียกว่ามีหน้ารอบ อุชงกายัง ปริมุขขัง มีสติเป็นหน้ารอบ ไม่เผลอ ไม่เผลอ เราหัดตรงนี้ เราหัดตรงนี้กัน