แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ศึกษาปฏิบัติ ได้ยินได้ฟังเอาไว้ วันนี้อาจจะไม่ได้สัมผัส เพียงแต่ได้ยินได้ฟัง ต่อไปอีก นานหลายปี สิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง เราอาจจะเอาไปทำ ได้สัมผัสกับธรรมอันใดอันหนึ่ง เช่น ที่สุดของชีวิตเรา คือ วิมุตติ หลุดพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่าง “ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง ให้ลุถึงนิพพานเทอญ” เราก็ว่าอย่างนี้แหละ แต่ถ้าเราไปถึงจริงๆแล้วนะ โอ ... แต่ก่อนเราเพียงแต่เป็นคำพูด ต่อมามันไม่ใช่คำพูด มันประสบ มันสัมผัส เอาจริงๆ หนอ ของสิ่งที่พูดกลายเป็นของสิ่งที่สัมผัสได้ ในชีวิตจิตใจของเรา จิตใจนะมันสัมผัสกับบุญ กับบาป กับกุศล กับอกุศล บางทีถ้าเป็นปุถุชนนี่ ครึ่งบุญ ครึ่งบาป ถ้าเป็นมนุษย์อาจจะแบ่งสัก 3 ส่วน บุญสัก 2 ส่วน บาปซะส่วนหนึ่ง เราเป็นพระแล้วก็ไม่มีบาป ไม่ทำบาปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในชีวิตของเรานี้ เราเป็นปุถุชนมันก็เสี่ยงมาก ความร้าย ความดี มีชีวิตก็ไม่มั่นคง ง่อนแง่น คลอนแคลน ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เราจำเป็นจึงต้องศึกษา เราจำเป็นจึงต้องปฏิบัติ ยังไงๆ ก็หยุดไม่ได้แหละ อยู่เฉยๆ ไม่ได้แล้ว ต้องดู ต้องเห็น สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น พอยึดได้ ก็ให้มันยึดได้ สิ่งไหนมันวางก็ให้มันแล้วๆ ไป สิ่งไหนที่ยึดไว้เพื่อเอามาใช้ ก็ยึดไว้ มีสิทธิอย่างนี้
เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยมีสิทธิกับกายกับใจ กับชีวิตของเรา อันอื่นเอาไปใช้ มารเอาไปใช้บ้าง กิเลสมาร ขันธมาร เอาชีวิตเราไปใช้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เอาชีวิตเราไปใช้ ความรัก ความชัง ความวิตกกังวล เศร้าหมอง เอาชีวิตเราไปใช้ เราอาจจะไม่ได้ใช้เลยชีวิตของเรา มีแต่เรารับใช้มัน คอยรับใช้ เรื่องของกายก็ รูป รส กลิ่น เสียง อะไรต่างๆ เรื่องของจิตใจก็ธรรมารมณ์ คอยรับใช้แต่ธรรมารมณ์ เมื่อธรรมารมณ์ก็ต้องการอะไรก็ไปหมด ยินดียินร้าย ฟูๆ แฟบๆ อาจจะไม่ได้ใช้เลยชีวิตของเรา ถ้าเราไม่มีฐาน มีที่ตั้ง ยึดให้ได้หลัก ได้ฐาน ให้ได้หลัก ได้ฐาน เหมือนเรามีหลักฐาน ไร่นาของเรา สวนเรา บ้านเรา โฉนดของเรา มีหลักฐานอ้างอิงได้
การปฏิบัติธรรมนี้ก็เหมือนกัน เพื่อได้หลักฐาน เห็นโลกธรรม เห็นนามธรรม เนี่ยะ มันได้หลักฐาน เอาบัดนี้ละ ส่วนที่เป็นรูป ส่วนที่เป็นนาม อย่างรูปกับนามมันเป็นธรรมชาติ เป็นอาการเท่านั้นเอง ไม่ใช่รูปเพื่อรับใช้ความสุข ความทุกข์ เพื่อรับใช้ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ ตามสภาวะทุกข์ของเขา เมื่อเป็นความสุขก็เป็นความสุขที่เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ความสุขเกษม สุขแบบปีนป่าย แล้วก็ตกลงมา ปีนขึ้นไปอีกเพื่อจะได้ แล้วก็ตกลงมา สุขที่เป็นสุขแบบปุถุชน สุขแบบปีนป่าย จริงๆ แล้วมันก็ไม่มี สุขมันก็ไม่มีทุกข์มันก็ไม่มี มันมีแต่ธรรมชาติ มีแต่อาการ แล้วเราไปต่อเอา ธรรมชาติก็ไปต่อเอา ธรรมชาติมันเป็นสุข มันเป็นทุกข์ ธรรมชาติก็ไปต่อเอาเป็นความรัก ความชัง จริงๆ มันแค่นั้น มันแค่ธรรมชาติ แค่อาการอย่างนี้
เราจึงมาศึกษาให้มาเห็น ได้ฐาน ได้หลักยึด ได้ยึด ยึดรูปธรรม ยึดนามธรรม ส่วนที่เป็นรูป มันถึงไหน เพียงไร เราไปเกี่ยวข้องกับรูปนามขนาดไหน สิ่งที่เป็นนามเราไปเกี่ยวข้องกับนามอย่างไร แค่ไหน เพียงไร มันก็มีขอบ มีเขต ไม่ใช่เอามาเป็นสุข ไม่ใช่เอามาเป็นทุกข์ ไม่ใช่เอามาเป็นความชอบ เป็นความไม่ชอบ ส่วนที่เป็นรูปธรรม ส่วนที่เป็นนามธรรม เราเห็นแจ้ง การเห็นแจ้งในรูป ในนาม ท่านเรียกว่า วิปัสสนา ก็นี่แหละ ที่เราทำอยู่นี่ ตรงเป๊ะ ตรงเข้าไปในรูป ตรงเข้าไปหานาม เราเห็น เราดูอยู่นี่ มันเห็นในของที่มันเห็น ที่มันมีอยู่ เห็นในของที่มันไม่มีอยู่ เห็นในของที่เป็นจริง เห็นในของที่ไม่เป็นจริง ความเป็นจริงมันก็บอกเรา ความไม่เป็นจริงมันก็บอกเรา อย่างเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมนั้นแหละ ว่ามันจริงขนาดไหน จริง กายสักว่ากาย มันก็สักว่ากาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมนั้นแหละ ว่าจริงขนาดไหน กายสักว่ากาย มันก็สักว่ากาย มันมีอยู่ แต่มันไม่เป็นบุคคลตัวตนเราเขา เวทนาที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ มันก็เป็นแค่เวทนา เป็นเรื่องของแค่เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา จริงแบบเวทนา แต่ไม่จริงแบบตัวตน เขามีแค่นั้น เขามีแค่เวทนา ไม่ถึงกับเป็นผู้สุข เป็นผู้ทุกข์ ที่มันเกิดขึ้นกับรูป กับนาม กับกายกับใจ ความคิด สิ่งที่มันคิดแล้วคิดอีก เราก็เห็นมันนี่แหละ ไม่มีใครไม่เห็น ถ้ามีสติกำหนดกายเคลื่อนไหวจะต้องเห็น 4 อย่างมันผ่านหน้า ผ่านตาอยู่ เหมือนเราเดินจากศาลาหอไตรไปศาลาหน้า ทางที่เราเดินก็ต้องผ่านอะไรที่อยู่ทางเราเดิน 2 ข้าง พอเป็นนิมิตหมายไว้ ถ้าถึงกุฏิอาจารย์กำพล ก็แสดงว่า ครึ่งแล้ว เช่น แม่ อ.กำพลมาทำวัตรที่หอไตร พอเดินไปถึงกุฏิคุณวรรณ ก็แสดงว่าต้องนั่งตรงนั้นก่อน นี่ครึ่งแล้ว ให้นั่ง นั่งครึ่งเดียว ถึงครั้งที่ 2 ลุกขึ้น ก็ไปถึงบ้านทันที่ พอเดินจากศาลาหน้ามาก็มานั่งแถวต้นประดู่ แถวกอไผ่ ก็ลุกไปครั้งสองก็ถึงบ้าน
นิมิต นิมิตเครื่องหมาย การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน สิ่งที่เราเห็นอยู่ ก็คือกาย คือเวทนา คือจิต คือธรรม เราเห็นแล้วเราก็เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร รู้ไหม หรือว่าไม่ค่อยดู กายก็ฟรี มันหลอกเราได้ เวทนาก็ฟรี หลอกเราได้ ความคิดก็ฟรี หลอกเราได้ อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ ก็หลอกเราได้ อย่างนี้ ถ้าเราไม่เห็นก็หลอก กลบเกลื่อน สิ่งที่มันไม่จริง ก็หลอกให้เป็นสิ่งที่จริงได้ ถ้าเราไม่เห็น สิ่งที่ไม่จริง ก็หลอกให้เห็นเป็นของไม่จริงได้ ถ้าเราไม่เห็น ถ้าเราไม่ดู มาดูเข้าชัดๆ จังๆ เข้าไป จนเห็นแบบลึกซึ้ง คล้ายๆ กับว่า อืม อย่างนี้แหละ คำว่า “อืม” ก็คือ วิปัสสนา คำว่า อืม เป็นวิปัสสนา ถ้าเรียกว่า ไม่ไหว แสดงว่ายังไม่ใช่ วิปัสสนา ไม่ไหว โอ๊ย อย่างนี้ โอ๊ย ไม่ไหว อย่างนี้เรียกว่า ไม่ใช่วิปัสสนา เวทนา บางคนก็โอย ไม่ไหว บางคนก็อืม อย่างนี้ คำโอ๊ย แสดงว่ามันบังเราแล้ว เป็นตัว เป็นตน อยู่กับเวทนา ถ้า อืม เรียกว่าไม่บังแล้ว เปิด เปิดเผย เห็นแจ้งแล้วบัดนี้ ลักษณะของ โอ๊ย กับลักษณะของ อืม มันต่างกัน ต่างกันไหม คำว่า โอ๊ย กับ อืม อย่างนี้มันต่างกันไหม เหมือนกับว่าไม่ไหว เหมือนกับว่าไม่เป็นไรอย่างนี้ ต่างกันไหม ของอันเดียว บางคนว่าไม่ไหว ของอันเดียว บางคนบอกว่าไม่เป็นไร อย่างนี้ ต่างกันไหม เช่น หิวข้าว ไม่ไหว คนหนึ่งว่า ไม่ไหว อีกคนหนึ่งว่าหิวข้าว อืมไม่เป็นไร บางทีเราก็สมมุติบัญญัติ มันต่างกัน
ถ้าเรามีสติ คอยดู ไม่ว่าจะสุข มันจะทุกข์ มันจะโกรธ มันก็อันเดียวที่จะต้องเห็นมัน ก็อืม อืม เข้าไป ให้เข้มแข็งอย่างนี้ การปฏิบัติธรรม มันก็เลื่อนฐานะมาเป็นอย่างนี้ จากโอ๊ย ไม่ไหว มันก็ออกมา อืม อืม ไม่เป็นไร มันจะออกมาทำนองนี้ มันจะต่างกันไหม พ้นภาวะเดิมไหม คำว่า อืม ไม่เป็นไร กับโอ๊ย ไม่ไหว มันพ้นออกมาได้บ้างไหม มันก็พ้น พ้นล่วงเกินภาวะเดิม ล่วงเกินภาวะเดิมนั่นแหละ เขาเรียกว่า วิปัสสนา วิปัสสนาน้อยๆ วิปัสสนาด้วยเวทนา วิปัสสนาด้วยกาย วิปัสสนาด้วยความคิด วิปัสสนาด้วยธรรม เอากายมาเป็นตัววิปัสสนา เอาเวทนามาเป็นตัววิปัสสนา เอาตัวจิตใจที่มันคิดมาเป็นวิปัสสนา เป็นสิ่งที่รู้แจ้งต่างเก่า ล่วงภาวะเดิม อย่างนี้นะ มันไปทางนี้นะปฏิบัติธรรม ก็เริ่มต้นจากนี่แหละ
ตัวรู้สึกตัว มันก็คือกายไปเป็นตัวดู มีโอกาส เป็นตัวดู พอมีโอกาสเป็นตัวดู ก็มีโอกาสเป็นภาวะที่เห็น ถ้ามันเห็นแล้ว อาจจะยังไม่แจ้ง แต่ก็ยังดี เห็น มันเป็นคนละอันกัน ภาวะที่เห็น กับภาวะที่มันเป็นนั้น เห็นกายอย่างนี้ เห็นเวทนาอย่างนี้ เห็นความคิดอย่างนี้ เห็นธรรมอย่างนี้ แต่ก่อนมันเป็น พอมาดูเข้า ดูเข้า มันเห็น พอมันเห็นแล้ว มันก็แจ้งขึ้น แจ้งขึ้น จนทักท้วงโต้ตอบ กับสิ่งที่เห็น เกี่ยวข้องแค่ไหน เพียงไร อย่างนี้เนี่ย ตัวภาวะที่เห็น ถ้าเห็นมันก็ไม่เข้าไปเป็นกับสิ่งที่เห็น ถ้ายังไม่เห็น มันก็จะบอกว่า ยังมืด เหมือนกับไม่มีแสงสว่าง เลยไม่เห็น ความมืดนี่เขาเรียกว่า ปุถุชน คือคนหนา คนมืด มนุษย์ก็เกิดแสงสว่าง เกิดแสง เป็นไปได้กับแสง เห็นแสงสว่างเกิดขึ้น ไปทางสติ ทางปัญญา พอเราศึกษาเรื่องนี้ มันก็จะสัมผัสทันที มีสติ เห็นกาย อย่างนี้ แล้วก็มีอยู่จริงๆ มันไปพร้อมๆ กัน ที่เราเดินจงกรม มันก็รู้ขณะที่เท้าเหยียบพื้นพอดี ไปรู้จุดอื่นก็ไม่ดี เท่ากับรู้เวลาเท้ากระทบ พื้น รู้ รู้นี่ไปอย่างนี้ มันพอดี ภาวะที่รู้ กับภาวะกายกับการเดิน มันพอดีกัน มันเป็นวรรคพอดี มันเป็นจังหวะพอดี ไม่ช้า และไม่ไว การยกมือสร้างจังหวะ มันก็รู้ ขณะที่มันมี 14 รู้ ยกขึ้นสำเร็จ พลิกมือขึ้นสำเร็จ ตั้งไว้แล้วรู้ ยกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รู้ ยกมาอีกครั้งหนึ่ง รู้ มันรู้เป็นจังหวะ พอให้เรารู้เป็นครั้ง เป็นครั้งพอดี ไม่ทื่อ ไม่เหมือนเหล็กเส้น มันไม่ทื่อเหมือนเหล็กเส้น วิธีที่เราทำอยู่นี้ เขาเรียกว่า เจริญวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่สมถะกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน นี่ก็เหมือนเหล็กเส้น ทำให้ทื่อไปเลย ไม่ต้องมีอะไรละ ทำไมมันทื่อหรือ สมมุติว่าเราดูลมหายใจเข้าออก มันยังไม่ทื่อ ก็บริกรรมเข้าไปอีก หายใจเข้า ก็จะว่าพุทธ หายใจออกก็จะว่า โธ หลับตาลงไปอีก เพื่อให้มันทื่อ เงียบไปเลย ไม่มีกระดุกกระดิกไปเลยบัดนี้ เอาพุทธลงไป โธลงไป กับลมหายใจเข้า หายใจออก เหล็กเส้นแล้วบ๊าดเนี่ย สงบแล้วบ๊าดเนี่ย นิ่งแล้วบ๊าดเนี่ย กายอยู่นั่นแหละ นักกรรมฐาน ไม่รู้แจ้ง เวลาออกจากกรรมฐานแล้วก็เหมือนเดิม เหมือนศิลาทับหญ้า เมื่อเอาศิลาออกแล้ว หญ้ามันก็เกิดขึ้นมาเหมือนเดิม ขวนขวายที่จะเข้ากรรมฐาน อ่อนแอ เมื่ออยู่ในความสงบ เหมือนศิลาทับหญ้า อินทรีย์มันก็ไม่แก่กล้า มันยังอาศัยอันอื่นอยู่ หวั่นไหวง่าย พวกกรรมฐานประเภทนี้ จะต้องหลบลี้หนีผู้หนีคน อยู่เรื่อยๆ แต่ที่เราทำอยู่นี่ มันเป็นวิปัสสนาภาวนา มันไม่ให้ทื่อ มันเป็นจังหวะ มันรู้ มันรู้ มันก็ออกมาดู มันออกมาดูนะ ไม่ใช่อยู่ ภาวะที่เราทำนี่ มันรู้เนี่ย รู้หนึ่ง รู้อีก จากรู้กลายเป็นดูอีก เห็นอีก ๆๆ แล้วเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น พบเห็น รู้เห็น พบเห็น เห็นกับตาในจริงๆ ฝ่ามืออยู่ตรงไหน รู้ เวลาเราเดินก็รู้ เวลาเราหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ รู้เห็น พบเห็น เห็น ๆ ทำไมก็มันมีแต่เห็น ก็เห็นเข้าไป ภาวะที่เห็นก็แก่กล้าขึ้น แก่กล้าขึ้น ตาก็คมขึ้น เหมือนกับเขาใช้เลนส์ โฟกัสที่มันคมๆ เพ่งกระจก ไปใส่แสงแดด แล้วหมุนโฟกัสที่มันเป็นวน ที่มันเป็นแสง เอาไปส่องในนุ่น เอาไปแดดกล้า ๆ เอาไปส่องในนุ่น เม็ดนุ่นมันอยู่ในร่ม แต่ว่าเอาโฟกัสที่มันเป็นเงาจากแสงอาทิตย์ เอาไปบาดนุ่น ถ้าทิ้งอยู่นั่น นานๆ น่ะ จะเกิดไฟทันที โฟกัสมันคม การปฏิบัติธรรมนี่ก็เหมือนกัน ถ้าดูมันเห็นนานๆ ก็เกิดไฟเผากิเลส มอดไปเหมือนกันนะ เขาเรียกว่า ฌานเพ่งเผา ฌาน แปลว่า เพ่งเผา เผาอะไร เผาสิ่งที่มันเป็นซาก เป็นศพ ความโกรธ ก็เป็นซากศพ ความโลภ ความหลง ก็เป็นซากศพ ทำให้เน่า ทำให้เหม็น ทำให้บูด ทำให้เสียหาย จะเผา ความโลภ ความโกรธ ความหลง หายไปโดยไม่รู้สึกตัวก็มีบางคน คิดหาไม่เห็นเลยก็มี แต่บางคนก็หลุดโป๊ะๆ ออกไปก็มี แต่บางคนไม่หลุดที่นั่น หายไป เป็นไปโดยไม่รู้สึกตัวก็มี จนถึงกับว่า อ้าว ทำไม มันเป็นอย่างนั้น ก็อ้าว มันเป็นยังไง หลงส้น(พลาด)ไปเลย ดูตรงไหนไม่ใช่ตัว ใช่ตนไปเลย บางทีต้องเอามือมาลูบดู เพราะว่ามันเห็นสมมุติ บางทีเห็นสมมุติ นี่มันก็โลดโผนเหมือนกันบางครั้ง ทั้งๆ ที่มือมันมีอยู่ เคลื่อนไหวอยู่ มันก็ไม่รู้ว่าเป็นมือ มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ มันไม่มีสมมุติ ต้องเอามือหนึ่งมาจับกับอีกมือหนึ่ง แต่ก่อนมันไม่มีอะไร หายหมดเลย ต้องเอามือมาจับ มือนี่ มือนี่ ลูบไปตามขา ตามคอ ตามหัว ตามตัว โอ ถ้าเห็นสมมติ บางทีมันโลดโผนไปก็ ถึงกับทำให้หลงก็มี บางทีนะ หรือว่ากายลหุตา เบา จิตลหุตา เบาจิต กายลหุตา เบากาย เดินนี่เหมือนไม่ได้เหยียบดินเลย จิตก็เบา ไม่มีอะไร ไม่มีน้ำหนักอะไร ไม่มีที่ตั้ง ลอยหมดเลย นั่นเรียกว่า กายลหุตา จิตลหุตา อย่าไปกลัว อย่าไปหลง แล้วก็มีความรู้สึกตัว อย่าไปเร่งความเพียรเข้าไปนะ อยู่เฉยๆ ไว้ก่อน ดูไป มันก็รู้อยู่นั่นแหละ ที่มันมีอันนั้นไปหาอีก ไปหาอีก หาอีก ไปหาสิ่งที่มันไม่มี มันจะผิดอีก มันจะกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลส จะกลายเป็นวิปลาสไป เช่น เราสตาร์ทรถ ตรึม มันติดแล้ว มันยังหมุนต่อไปอีก มันก็ข้ามไปอีกแล้ว มันไม่อยู่ในภาวะที่มันจะต้องใช้ได้
อารมณ์ของนักกรรมฐานก็มีเหมือนกัน ผู้ที่สอนก็ต้องรู้ เวลาเขาพูดอะไรให้ฟัง เวลาเขาพูดอะไรฟัง บางทีเขารู้ของจริง เราก็โอ ใช้ได้ๆ นั่นแหละๆ ไปพูดอย่างนี้ ก็ไม่ได้นะ บางทีก็ดีอกดีใจเกินไป โหวกเหวกโวยวาย โลดโผนไปเลย กระตือรือล้นไปก็มี เหมือนกับคนหนึ่งไปติดคุก แล้วก็พ่อใหญ่หลวงพ่อเป็นกำนัน แล้วก็มีตำรวจพามาส่งบ้าน บ้านกำนัน บ้านหนองแกนะ สมัยนั้นหลวงพ่อเป็นเด็กน้อย เขาก็ใส่กุญแจมือมา สมัยก่อนขี่ม้านะ ตำรวจพ่อผู้ใหญ่กำนันก็ขี่ม้า นักโทษก็เดินตามก้นม้า แต่ใส่กุญแจมือ พอถึงบ้าน พอมาถึงบ้านก็นัดให้ลูกให้เมียบ้านโนนโคนมารับ พอลูกเมียมารับ ตำรวจพ่อใหญ่กำนัน ก็เปิดกุญแจออกจากมือ พอเปิดกุญแจออกจากมือนี่ กระโดดโลดเต้นไปเลยบัดนี้ เต้นกระโดดข้ามหัวคนนั่งอยู่ คนไม่รู้ กระโดดไปเลย ชื่อ ตามี ตามี คนทั้งหลายหัวเราะ นึกว่าเป็นบ้า มันเป็นบ้าโซ่เหมือนกันนะ เหมือนหมาเลย ใช่ไหม หมาที่เราผูกโซ่หลายๆ เดือน พอแก้โซ่นี่ โอ๊ย มันบ้าเลย กระโดดโลดเต้นวิ่งอ้อมบ้าน อ้อมเมือง ตามีก็เหมือนกัน กระโดดโลดเต้นไปเลย
คนผู้มีธรรมถ้าเราไปยกย่องเกินไป ก็ไม่ได้ ต้องรู้จัก อืม นี่อะนะ ทำอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้หรือ หือ จะผิดจะถูกก็ดูไปนะ พูดค่อย ๆ เหมือนกับตามาย พระมายบ้านเกิ้ง อำเภอวังสะพุง ไปปฏิบัติธรรมด้วยกันสมัยนู้น แต่ว่าเขามาอยู่หลังหลวงพ่อ พระมายนี่ หลวงปู่เทียนมักจะพูดล้อ เอาดีๆ นะคุณมาย ถ้าคุณมายรู้ธรรมแล้ว มันจะดี ไปปฏิบัติ ไปสอนบ้านเกิ้ง เอาดีๆ เน้อ อะไรก็พูดเข้าไปกับตามาย คุณมายๆ แล้วๆคุณมาย รู้จักรูป รู้จักนามแล้วเน้อ คุณมายเน้อ เออ อย่างนั้นเน้อ ไปๆ มาๆ พูดคำ 2 คำ ก็คุณมายๆว่ากันเป็น พูดเล่น แต่คนก็ไม่ค่อยจริงจังอะไรหลอก เอาไปเอามา ก็ดังเองแล้วบัดนี้ สร้างภาษิตขึ้นมาว่า เขาว่าเขามีปัญญา เขาตั้งภาษิตกันมา “นัตถิ โกโธ ถ้ายังมีความโกรธอยู่ ไม่ดีเลย” “นัตถิ โมหะ ถ้ายังหลงอยู่ ไม่ดีเลย” เขาก็ตั้งขึ้นมา ตั้งขึ้นมา ไม่ใช่ตั้งเฉยๆ พวกเขา เอาไปพูดด้วย เรียกว่า ภาษิตโคก บาลีโคก เราก็ต้องช่วยกันแก้ บอกเขาก็ยังไม่เชื่อ เขาว่ามันถูกนะ นัตถิ โกโธ เธอยังโกรธอยู่ จะดียังไง เขาว่าอย่างนี้ มันก็ใช่ถูกของเขา แต่ว่าไม่ ไม่ถูกแบบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โกโธ ฆัตวัง สุขัง เสติ ฆ่าความโกรธ เสียได้อยู่เป็นสุข” แต่พระมายนี่ นัตถิ โกโธ ก็ยังมีความโกรธอยู่ ไม่ดีเลย ก็ต้องแก้กัน อดีตก็หลง ถ้าไปยกยอเกินไป บางคนมันก็โลดโผน บ้าโคก กบโคก ตื่นเต้นก็มี บางทีเขาถึงที่สุดแล้ว เราก็รู้ ค่อยพูด ค่อยเล่นกันไป แล้วเขาทำอะไร เขาก็มาบอก ไม่มีอะไรหลอกหลวงพ่อ มันไม่มีอะไรแล้ว ไม่มีอะไรก็นี่ คือรูป นี่ก็คือ ใจที่มันคิดโน่น คิดนี่ นั่นแหละมันก็ไม่มีอะไรแล้ว มันเป็นแต่รูปธรรมชาติ มันเป็นแต่นามตามธรรมชาติ มันรู้ มันตั้งอยู่เฉพาะรูป ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์อยู่ในรูป นามก็ตั้งอยู่ เฉพาะนาม ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ เรื่องนาม เป็นธรรมชาติ เป็นอาการธรรมดา รูปก็เป็นธรรมชาติ รูปก็เป็นอาการ นามก็เป็นธรรมชาติ นามมันก็เป็นอาการธรรมดา อย่าให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงไปตั้งอยู่บนรูป มันไม่มีที่ตั้ง จะให้ความรัก ความชังไปตั้งอยู่ในรูปในนาม มันไม่มีที่ตั้ง ไปตั้งตรงไหน มันก็ไม่มี ถ้าไปตั้ง ก็เป็นสมมุติ เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ ตั้งไม่ตรง ตั้งไม่ติด ฝืนตั้งเมื่อไหร ก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนกับเอาก้อนอิฐไปตั้งอากาศ หล่นลงไป หล่นลงไป ตกลงไป ความโกรธไปตั้งอยู่บนรูป ก็หล่นลงไป ความโกรธไปตั้งอยู่บนนาม ก็หล่นลงไป คนนี้น่ารักนะ มันก็หล่นลงไป คนนี้น่าชังนะ มันก็หล่นลงไป จะให้ไปมันติดเป็นความรัก ความชัง มันก็ไม่มี จะให้มันไปติดเป็นความทุกข์ ความสุข ความอะไรมันก็ไม่มี มันหล่นลงไป ง่ายๆ เหมือนเหว เหวฝังกิเลสทั้งหลาย มันหล่นลงไป หล่นลงไป ก็ไม่รู้จะทำยังไงอีกบัดนี้น่ะ เอาไปตั้งที่ใด มันก็หล่นลงไป จะให้มันรัก มันก็หล่นลงไป จะให้มันชัง มันก็หล่นลงไป จะให้มันสุข มันก็หล่นลงไป จะให้มันทุกข์ มันก็หล่นลงไปอย่างนั้น แล้วไปทำอะไรบัดนี้ มันก็ไม่มีอะไรที่จะทำแล้ว อ้อ ชีวิตของเรา ก็แค่นี้หรือ มันก็แค่นี้แหละ กำมือเดียว เส้นผมบังภูเขา ก็แค่นี้แหละ จากสิ่งมากๆ มันก็ไม่มีอะไร เป็นความรู้สึกตัว มันไม่มีอะไร เราถูกหลอกมานาน
เราถูกหลอกมานาน เรื่องรูปก็หลอกเรา เรื่องนามก็หลอกเรา ความรัก ความชัง ก็หลอกเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็หลอกเราให้รู้เอาไว้นะ คุณหมอ ถ้าเวลาใดคุณหมอโกรธๆ ถูกหลอกแล้ว เรียกว่าเป็นของดี คิดว่าเป็นของจริง เวลาใดที่มีทุกข์ ก็ถูกหลอกแล้ว เวลาใดที่มีความรัก ความชัง ก็ถูกหลอกแล้ว ต้องพอดีนะ ในการปฏิบัติธรรมนะ หลวงพ่อไม่ได้พามาทำเหลวไหล พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้หลอกเรา วิปัสสนาภาวนา การเจริญสติปัฏฐานนี้ พระพุทธเจ้าของเรายกโป้งเลย ยกนิ้วเลย นี่แหละหมายเลย 1 เอกะมัคโค วิสุทธิยา เป็นทางหมายเลข 1 อะไรนะ ไฮเวย์ อะไรนะอ.ตุ๊ม ถนนบ้านเรานะ ไฮเวย์เหรอ ด่วนที่สุดแล้ว ไฮเวย์ แต่สหรัฐนี่ฟรีเวย์นะ ฟรีเวย์มันเป็นยังไง มันวิ่งเฉพาะรถนั่ง ของเราไฮเวย์นี่รถบรรทุก 10 ล้อยังวิ่งได้นะ ใช่ไหม แต่ที่สหรัฐนี่ไม่มีเลย มีแต่รถนั่ง รถเก๋ง รถนั่งส่วนตัว เขาเรียกว่า ฟรีเวย์ เขาแบ่งรถบรรทุกก็วิ่งสายหนึ่ง รถโดยสารก็วิ่งสายหนึ่ง รถนั่งก็วิ่งสายหนึ่งอย่างนี้ ทั่วประเทศเขาไม่ต้องจอดก็ได้ ถ้าจอดก็จอด ที่พักรถ มีอนามัย มีโทรศัพท์ มีร้านอาหาร มีห้องน้ำ พักนอนได้สบาย ร้านอาหาร ตู้โทรศัพท์ เตียงพยาบาล 2 เตียง ที่พักรถบ้านเขานะ บ้านเราไม่มีอะไรเลย มีแต่ร่มไม้ ของเขามีนะ พวกไฮเวย์ของเขา มีเตียงพยาบาล 2 เตียง ตู้โทรศัพท์ 2 ตู้ ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ห้องน้ำ 2 ห้อง ห้องอาบน้ำ 2 ห้อง ห้องอาบน้ำของเขาก็ น้ำอุ่นด้วยนะ ไปอาบน้ำเย็นนี่ไม่ได้หรอก มันลวก มันหนาวจนลวกนะคุณหมอ ถ้าไปอาบน้ำเย็น น้ำอาบลวกเลย ดำปรื๋อเลย (หัวเราะ)มันเย็นจริงๆ ไม่ใช่เย็นนะ มันร้อนนะ เพราะฉะนั้น เขาสร้างไว้ เรียกว่าฟรีเวย์ ถ้าชีวิตของเราเจริญอยู่ตรงนี้ มีความรู้สึกตัวนั่นแหละ มันเป็นฟรีเวย์ผ่านได้ตลอด ว่าแต่เราจะผ่าน หรือไม่ผ่าน ถ้าเราไม่อยากผ่าน มันก็ไม่ผ่าน เช่น เห็นกายอยู่เนี่ยะ เช่นเห็นเวทนาอยู่นี้ เราผ่านไหม ง่ายไหม เช่นเห็นความคิดนี่ ง่ายไหม อยากผ่านหรือว่าอยากอยู่ตรงนั้น บางทีก็มีอาสาทะ (อัสสาทะ-ความยินดี,ความพอใจ) นะ เรื่องของกายก็มีอาสาทะนะ เรื่องของความคิดก็มีอาสาทะนะ คือ ชอบ มีรส เวทนาก็มีรสชาติ ความคิดก็มีรสชาติ บางทีคิดดื่มด่ำพอสมควรกับความคิด ไม่อยากผ่านมีอาสาทะ ติดก็มีนะ บางคนน่ะ พอปฏิบัติธรรมไปติดความคิดก็มี เป็นจินตญาณ เป็นวิปัสสนูไป เอาหนังสือ เอาปากกาขึ้นมาเขียน ก็มีบางที อย่าไปติด รู้เรื่อยไปๆ ถ้ามันรู้มากๆ แล้วรู้สึกตัวนะ ไม่ใช่รู้นะ ความรู้มันก็มีรสชาตินะ เขาเรียกว่า วิปัสสนูเหมือนกัน ความรู้ ความสุขพวกนี้น่ะ ทำให้พระโยคาวจรทั้งหลาย ติดได้เหมือนกันนะ ถ้าเรายังผ่านตลอด ผ่านตลอด รู้สึกตัว กลับมาๆ รู้สึกตัว กลับมา รู้สึกตัว นี่หลักของเรา อย่าซุกซน อย่าตะกละตะกลาม ไปเอาสุข ไปเอาทุกข์ ไปเอารู้ บางทีมันตกแหล่งความรู้ มันก็มีนะ ตกแหล่งความสุขก็มีนะ นั่งยิ้มอยู่ 2 วัน 3 วัน ไม่กินข้าวเลย กลืนน้ำลายก็แซบที่สุดแล้ว อิ่มมากๆ กลืนน้ำลายตัวเองเนี่ย อิ่มเขาเรียกว่าอะไร เขาเรียกว่า ปิติ ปัสสัทธิ ใจก็สงบ มีรสชาติในความสงบ อิ่มอกอิ่มใจ ก็อย่าไปอยู่อย่างนั้น กลับมา พอเราด่วนนี่ ถ้าไม่ด่วนก็ไม่เป็นไร อ้าว อยู่นั่นก็ได้สัก 2-3 ปีเดี๋ยวก็หมดหรอก ไปนั่งยิ้มอยู่สัก 2 ปี ไม่เกินนั้น วิปัสสนูนะ เดี๋ยวก็จืดไปเอง แล้วพวกนี้ หาไปอีก หาไม่เจออีกแล้ว คำพูดที่พูดฉอดๆๆๆ ไปไหนนะ โอย มันจะ 2 ปีเท่านั้นแหละ ไปหมด หมดจ้อยเลย หมดไปเลย ต้องมาเริ่มต้นใหม่ มาเรียน ก.ไก่ ใหม่ ถ้าใครไม่กลับ ถ้าเรากลับตอนที่เราเป็น มันต่อไปเลย พอมันสุข ก็เห็นมันสุข พอมันทุกข์ ก็เห็นมันทุกข์ พอมันรู้ก็เห็นมันรู้ต่อ ต่อยอด การปฏิบัติ ถ้าสุขก็สุข ไม่มียอดเลย ห้วนไปเลย มีแต่จะห้วนลงๆ ไม่เกิน 2 ปี วิปัสสนูนี่ ไม่ต้องไปแก้ เขาก็จะเป็นไป 2 ปีเท่านั้น มีเพื่อนคนหนึ่งพอปฏิบัติรู้จักรูปนาม เข้าไปถึงวิปัสสนูเลย คิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้ จะไปเทศน์ให้คนนั้นฟัง จะไปเทศน์ให้คนนี้ฟัง เราห้ามเขาไม่อยู่ โน่น ไปหนองหานโน่น ไปหนองหานก็ไปพูด นึกว่า จะเป็นพวกคนคิดไปเอง พอไปพูด พอไปเห็นคนสูบบุหรี่ ก็ไปบอกเขา ไปเห็นคนกินเหล้า ก็ไปด่าเขา ไปเห็นคนกินหมาก ก็ไปด่าเขา ตัวเองคิดยังไงก็พูดไปตามความคิดทั้งหมด ในที่สุด เขาพูดยังไง เขาไม่เชื่อเลย อะไรก็รู้ๆ เหล้าก็ไม่ดี บุหรี่ก็ไม่ดี ปากก็ไม่ดี สูบบุหรี่เหมือนกับอมขี้ หรือว่ากินหมากมันก็อมขี้ ดูดบุหรี่ก็เหมือนกับ อะไรก็ว่าอย่างนั้น เขาก็บอกว่า เขาบอกว่ายังไง อาจารย์ๆ กลับเมืองเลย บ่ต้องขี่รถเด้อ เหาะไปโลด เขาว่า(หัวเราะ) เขาก็โกรธเลย ไปพูดอะไร วิปัสสนู พูดตามอารมณ์ของตนเอง ก็อย่าพูด ก็อย่ารู้ ถ้ามันรู้มากๆ ก็อดไว้ก่อน อย่าพูดในความรู้ รู้สึกตัวมาสร้างสติขึ้นไปก่อน มาต่อยอดตรงนี้ มันต่อได้ดี๊ดี ถ้ามันรู้ เห็นมันรู้ ต่อแล้ว ถ้ามันรู้เป็นผู้รู้ ไม่ต่อแล้ว ไม่ต่อแล้ว ยอดไม่มีแล้ว ไม่เป็นมรรคเป็นผล ถ้ามันรู้ เห็นมันรู้ มีโอกาสจะเกิดมรรคเกิดผล เป็นยอดขึ้นไป ออกดอกออกผลได้ ถ้ามันรู้ เป็นผู้รู้ ไม่มียอดแล้ว บัดนี้ ห้วนลงๆๆ ถ้ามันสุขเป็นผู้สุข ไม่มียอดแล้ว ถ้ามันสุข เห็นมันสุข มียอดไปแล้ว ความสุขก็กลายเป็นปัญญา เป็นญาณไปเลยนะ อย่าทิ้งตรงนี้นะ นักปฏิบัติธรรม หลวงพ่อบอก หลวงพ่อบอก ที่บอกอย่างนี้ ไม่ใช่จำจากอะไรมา ประสบพบเห็นมาอย่างนี้ แล้วมันก็เป็นความเท็จ เป็นความจริง ความสุข ความทุกข์ ความรู้ ความสงบ อย่าไปหลงมัน มีสติท่าเดียว พวกเรา มีความรู้สึกตัวท่าเดียว เคลื่อนไหวมือช่วย เดินจงกรมช่วย ให้รู้สึกตัวพอประมาณ อย่ารีบตัวเอง อย่าอยากรู้จนเกิดผิดปกติ อย่าไม่อยากรู้ จนผิดปกติ เป็นกลางๆ นักปฏิบัติ วางตัวเป็นกลางๆ วางตัวเป็นกลางๆ ไม่ไปสุข ไม่ไปทุกข์ ไม่ผิด ไม่ถูก ผิดถูกอยู่อันหนึ่ง เห็น เราก็เห็นอยู่นี่ สะดวกดีนักปฏิบัติ