แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันนะ แก้หนาว มีสมาธิใส่ใจ สมาธินนี่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีอารมณ์เป็นหนึ่ง ลืมหนาว ลืมร้อนได้ เหมือนพระสิทธัตถะสมัยพระชนม์ 7 ขวบ ไปแรกนาสวน ก็อยู่ในต้นหว้านั่งสมาธิ แม้แดดจะเลื่อนไป ลมว่าวจะหนีจาก ก็ยังนั่งอยู่ได้ เพราะสมาธิ ความเจ็บ ความปวดเวทนาต่าง ๆ บรรเทาเบาบางลงได้ สมาธิเป็นอริยทรัพย์ของชีวิตของเรา อันหนึ่ง เก็บเอาไว้ให้แน่วแน่ อย่าหวั่นไหว คงเส้นคงวา หัดให้มันชำนิชำนาญ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญาเนี่ย เป็นทางของชีวิต ที่ไปถึงจุดหมายปลายทาง เรียกว่าอริยมรรค ก็ไหลออกไปเป็นอริยมรรค ครบถ้วนบริบูรณ์ ในการดำเนินชีวิต ไปสู่มรรคสู่ผล ถึงมรรคถึงผลได้ ไม่ว่าจะไปไหนต้องมีทาง ทางเดินของชีวิตจิตใจก็มีทาง หัดชำนาญทางเอาไว้ ชีวิตของเรา มันไม่จีรังยั่งยืน มีทางผ่าน ชีวิตนี้มันเป็นทางผ่าน ไม่ใช่มาอยู่ เกิดมานี่ ไม่ได้เกิดมาอยู่ในโลกนี้ เป็นทางผ่านไปเรื่อย ๆ บางคนก็เดินถึงตั้งแต่หนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็ยังโชคดี จะได้ปลอดภัย จะได้สะดวกในการดำเนินชีวิตของตนเอง จะได้แจกของส่องตะเกียง ช่วยคนอื่นได้ มีประโยชน์ เรามีอริยทรัพย์อย่างนี้อย่าจน แสวงหาโดยตามหลักของการศึกษาที่เป็นแผนที่เอาไว้ ให้ชำนาญ มีแต่แผนที่ไม่ได้เดินตาม มันก็ไปไม่ถึง ไปไม่เป็น หัดดำเนินชีวิตไป มีสติสัมปชัญญะ สอนกายสอนใจตัวเองให้ไปทางที่ถูก มันก็บอกผิดบอกถูกสัมผัสได้ ความผิดสัมผัสได้ ความถูกสัมผัสได้
การเปลี่ยนความผิดเป็นความถูก เป็นการหายใจอาศัยลมเข้า แก้ได้ อาศัยการเคลื่อนไหว แก้ได้ อาศัยความเห็นก็แก้ได้ ความคิดเห็นแก้ได้ เช่น สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ผ่านตลอด รุ่งอรุณ เห็นกระแสได้ เสริมไปด้วยสัมมาสังกัปปะ ดำริออกยิ่งสะดวก สัมมาวาจามีคำพูดออกไปอีก สนับสนุนเข้าไป เข้มแข็งเข้าไป สัมมากัมมันตา เข้มแข็งขึ้นอีก เป็นการแสวงออกทางกายทางใจ สัมมาอาชีวะ ทำให้ดำเนินชีวิต เลี้ยงชีวิตทางที่ชอบไปอีก สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ หนีจากความทุกข์ได้ ความเพียรเป็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนจะล่วงจากทุกข์ไปได้เพราะความพากเพียร สัมมาสติก็รู้รอบ ๆ ด้าน มาทางไหนก็รู้ เรียกว่ารู้รอบ สติเป็นดวงตาภายใน อาทิ เห็น อารมณ์ก็เห็น รู้ก็เห็น เสียงก็เห็น กลิ่นก็เห็น รสก็เห็น สัมผัสอะไรเกิดขึ้นก็เห็น ไม่ใช่เอาตาไปดูอย่างเดียว เอาหูไปฟังอย่างเดียว ความเห็นชอบ มันรู้รอบ สัมมาสมาธิวางลงแล้ว จบลงตรงนั้น จบลงตรงนั้น จบไปเรื่อย ๆ ผ่านไปเรื่อย ๆ บอกว่ารู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว เห็นแล้ว เห็นแล้ว รู้แล้ว แล้ว ไปแล้ว แล้วไปแล้ว แล้วไปแล้ว ไม่มีอะไรที่ขวางหน้า ก็เลยสะดวก ชีวิตสะดวก มีธรรมเป็นเครื่องมือ มีหลักปฏิบัติเป็นเครื่องมือ หัดใช้ เหมือน สินชัย สีโห สังข์ทอง แม้จะผ่านน้ำ กัดเหล็กกัดทอง ช้างซ่อนหน้า ปลาซ่อนเงี่ยง ก็ผ่านได้เนี่ย แดนงูซวงผ่านได้ สินชัย สังข์ทอง สีโห ตามหาสุมุณฑา ตามเอาสุมุณฑา นางสุมุณฑา ถูกยักษ์กุมภัณฑ์นำพาไป เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญาเนี่ย ส่วนท้าวทั้งหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่สามารถไปได้ กลัว แล้วจำเป็นต้อง สินชัย สังข์ทอง สีโห สุมุณฑาคือจิต มณฑาคือจิตบริสุทธิ์ สุมุณฑาคือจิตที่บริสุทธิ์ ถูกยักษ์พาไป ไปอยู่ในอ้อมมือของยักษ์ กิเลสพันห้า ตัณหาปัญหาร้อยแปด ยักษ์ แต่ว่าสินชัย สังข์ทอง สีโหนี่ ตามเอาคืนมาได้ แม่น้ำกัดเหล็กกัดทองก็ผ่านได้ ช้างก็ซ่อนหน้า ปลาซ่อนเงี่ยง แดนงูซวง ผ่านได้ ก้อนหินที่ยักษ์กุมภัณฑ์เอาปิดประตูถ้ำของสุมุณฑา ก็งัดออกมาได้ ตามถึงตัวเลยทีเดียว ได้จิตบริสุทธิ์คืนมา ก็ยากพอสมควร ได้ขึ้นมาแล้วยังกลับขึ้นไปอีกก็มี เหมือนสุมุณฑา ออกจากถ้ำมาแล้ว ยักษ์กุมภัณฑ์ไปหากินยังไม่กลับ ขอให้สั่งพี่ยักษ์ก่อน สินชัย สีโห สังข์ทองก็บังคับ แล้วก็ลืมนั่นลืมนี่ เพื่อรอเวลาให้ยักษ์กลับมา เมื่อยักษ์ไม่มีอำนาจ ตัดแขนซ้ายเอาแขนซ้ายมาต่อ ตัดแขนขวาแขนขวามาต่อ ตัดคอเอาคอมาต่อ ตัดขาเอาขามาต่อ รบก็สู้อย่างนั้น ยักษ์กุมภัณฑ์น่ะ เหมือนบางทีเราละความโกรธได้แล้ว บางทียังมีไออุ่น ยังมีความโกรธอยู่ มันเอามาต่ออีกได้ มีกิเลสละไปได้แล้ว มันก็ยังมาต่ออีก ตัดแขนออกไปแล้ว ยังเอามาต่อได้อีกในที่สุดสินชัย สีโห สังข์ทอง ปราบได้เลย ตามจิตบริสุทธิ์คืนมา ได้มรรคได้ผล
เราจึงต้องคงเส้นคงวาดี ๆ อย่าท้อแท้ มีความเพียรไป แม้จะผิดแล้วผิดอีกก็ช่างหัวมัน ต้องถูกทุกครั้งที่มันผิดหลงครั้งใดรู้ครั้งนั้น เนี่ยทุกข์ที่ใดรู้ที่นั่น อะไรเกิดขึ้นที่ไม่ใช่จิตบริสุทธิ์ก็กลับไปรู้ที่นั่น คืนมาได้ๆ ก็ย่อมถึงจุดหมายปลาย ย่อมสำเร็จได้ ทำบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ เรามาใช้เวลาที่นี่เพื่อทำเรื่องนี้ อย่าแย่งเวลากันให้โอกาสกันเต็มที่ มีผู้ปรุงอาหาร มีผู้ที่ทำธุระให้แล้วบางอย่าง แล้วก็อย่าฉวยโอกาสเห็นแก่ตัว จะได้มีโอกาสได้ทำงานส่วนตัวให้ลุล่วงไป ได้บุญทั้งสองฝ่าย เกิดกุศลสองฝ่าย นี้เราต้องมีหมู่มีคณะ มิตรดี เพื่อนดี สหายดี ผู้แวดล้อมดี ก็สะดวกในการละความชั่วทำความดี เจ็บไข้ได้ป่วยก็หายได้ เศร้าโศกก็หายได้ ทุกข์ก็หายได้ แม้แต่หนาว เราเดินจงกรมด้วยกันก็ยังลืมไป ถ้าหนาวนั่งอยู่คนเดียว ก็อาจจะไม่สู้ เพื่อนก็นั่งอยู่นี่ ทำวัตรสวดมนต์สามสิบนาที ลืมไปซะแล้วความหนาว มันมีสมาธิ กล่าวพระสูตรออกมาแต่ละคำมีแต่ล้วน ๆ เป็นหลักฐานสัมผัสได้จริง กับคำพูดออกมา สัมผัสถึงจิตใจ จึงมีกิจวัตร วิธีวัตรที่ยอดเยี่ยมที่สุด ยิ่งมีกรรมฐานยิ่งยอดเยี่ยมเข้าไปใหญ่ สำเร็จศักดิ์สิทธิ์เข้าไปอีก จึงใช้สิทธิ์เรื่องนี้ หาโอกาสใช้เรื่องนี้ ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน ผ่านความยุ่งเหยิงสับสน ผ่านอาการต่าง ๆเข้ามาเป็นอันเดียวกัน ไม่ทะเลาะกัน ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่อิจฉาเบียดเบียนกัน ช่วยกันมาถึงจุดนี้ จุดไม่มีอะไร หมดไป ๆ รู้ไป ๆ รู้แล้ว ๆๆ เหมือน อญฺญาสิ วต โภ โกญฺฑญฺโญ อันเนี่ย รู้แล้วหนอ ๆๆ หัวใจ เห็นความหลง ได้เปลี่ยนหลงเป็นรู้ มันสมน้ำหน้า ความหลง เห็นความทุกข์ ได้ เปลี่ยนความทุกข์เป็นความรู้ สมนำหน้าความทุกข์ มันมีจริง ๆ รู้ความจริงว่าเป็นอย่างนี้จริง ๆ แม้อริยสัจสี่ มีปัจจยาการ มีอะไร มีปัจจยาการสาม อาการสิบสอง กล่าวคือไม่ต้อนรับ ไม่ฆ่า ไม่มีที่อาศัย อะไรเกิดขึ้น ทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ก็ดี ทำให้รู้ก็รู้แล้ว รู้ได้แล้ว กำหนดรู้ได้แล้ว สมุทัยเหตุที่เกิดทุกข์ ก็ละแล้ว ละได้แล้ว นี่ปัจจยาการสาม อาการสิบสอง นิโรธทำให้แจ้งแล้ว ทำได้แล้ว แจ้งแล้ว เนี่ย มรรค รู้จักดำเนินไปตามชีวิต สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบขึ้นมา คิดชอบขึ้นมา ดำริชอบขึ้นมา พูดจาชอบขึ้นมา ไปกันใหญ่เลย หนทางทะลุทะลวงไปได้เลย แล้วมันจะเหลืออะไร ของทำได้อยู่นี่แหละ เราไม่ทำเฉย ๆ ทำมันส่งเดชไปเลย ปล่อยไปเลย มันไม่ใช่ขี่ช้างขี่ม้า มีศัตราอาวุธมาเป็นอารมณ์เฉยๆ อาการเฉย ๆ เกิดขึ้นกับกายกับใจเราเนี่ย มันก็มีอำนาจ สั่งให้เราทำผิดพลาดมา เดือดร้อน ตัวเองและคนอื่น เสียดายอยู่ จึงมาช่วยกันแก้ตรงนี้ให้ได้เป็นคน ๆ เดียวกัน อยู่ด้วยกัน ด้วยความสงบร่มเย็น ช่วยตัวเองบ้าง ช่วยคนอื่นบ้าง กิจกรรมต่าง ๆ ช่วยกันบ้างเพื่อความสะดวกแก่หมู่คณะ ในการนี้ เช่น พระอรหันต์สมัยก่อนปวารณา ท่านผู้ใดประสงค์จะปะผ้าขาด เอาผ้าจะเย็บผ้าปะผ้าให้ จะย้อมผ้า ก็เมตตาได้บอกจะได้ย้อมให้ กุฏิรั่ว กุฏิผุพัง ก็ให้เมตตาบอกจะไปซ่อมให้ มีพระอรหันต์หลายรูปที่ปราวารณากิจการงานต่าง ๆ ของสงฆ์ เนี่ยมีได้ ไม่ใช่เห็นแก่ตัว
เคยไปฝึกที่สวนโมกข์ พระหนุ่ม ๆ มาของานทำ อาจารย์มีงานไหนให้ทำ มาหาทำงาน ปลูกกุฏิคนละหลังละหลัง เหมือนที่พวกเราอยู่นี่ ห่างไกลกันในเนื้อที่สามร้อยไร่ ของเราเป็นห้าร้อยไร่ ก็อยู่คนเดียว ทำโน่นทำนี่ไปก็เสร็จ ๆ ไป ก็คิดอยากจะทำงานเป็นกิจสงฆ์บ้าง ขอทำงาน มาขอทำงาน เราก็แจกงานให้ เห็นมีความพร้อม ผ้าอาบน้ำพันเอวมา ใส่ชุดทำงานมา ใส่ถุงมือมา เราบอกยกก้อนหิน ยกที่นั่น งัดก้อนหินที่นี่ งานหนัก ๆ สร้างโรงมหรสพทางวิญญานยังอยู่เท่าทุกวันนี้ บางคนก็หัดเขียนภาพ หัดปั้นรูป นั่นชีวิตของนักบวช ของพระบางรูป ผู้มีฝีมือก็จับพู่กันเขียนรูป บางทีผู้มีฝีมือในการปั้น ปั้นรูปต่าง ๆ ซ่อม โรงไฟฟ้า ทั้งปั่นไฟเองใช้กัน ซ่อมแซมถนนหนทาง ซ่อมแซมกุฏิด้วย แม่ชีจัดเตรียมอาหาร รถเข็นอาหารมา มาแจกถึงเวลามาแจก ตีระฆังมา ให้พระมาฉัน พระก็ช่วยกัน แบ่งกันนับพระทุกวัน กล้วยก็ถ้าพระมาก ลูกกล้วยมีน้อยลูก ก็ตัดเป็นท่อน เป็นท่อน ใส่ภาชนะนับพระทุกวัน ท่านละชิ้น ท่านละชิ้น เขียนติดไว้ เขียนป้ายติดไว้ รับคนละชิ้นเท่านั้น พอรับสองชิ้นมัน ...... (20.29) คนอื่น ท่านละชิ้นเดียว
ท่านละชิ้นเดียว เราก็นับเอา วันละ ละชิ้นไป มันก็เพียงพอ ถ้าโลภมากก็เอาไปสองสามชิ้น ก็ขาดคนอื่น คนอื่นก็ไม่ได้ฉัน กลายเป็นความเสียสละไปในตัวเสร็จ มีระเบียบมีการแบ่งปันในชีวิตจิตใจ เผื่อคนอื่นบ้าง อยู่นี่ มีแต่น้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยิ่งเราปฏิบัติธรรม ได้ทำอะไรสำเร็จบ้าง บางทีเห็นเพื่อนหรือเห็นคนอื่น คิดเห็นพ่อเห็นแม่ทันทีแหละ เพราะเรามีสังคม มีตระกูล มีพ่อ มีแม่พี่น้อง เหมือนแม่เหมือนพ่อ ได้อะไรมาถึงลูกก่อน ห่วงใยยังงั้น ความรักกัน เมื่อเราได้อะไร ก็คิดถึงคนอื่น อันนี้ บางทีได้สัมผัสกับรสพระธรรม คิดถึงพ่อถึงแม่ อันนี้พ่อก็ไม่ได้สอน แม่ไม่ได้สอน อยากจะไปสอน จะได้ไม่ผิดโอกาสจะได้ไม่พลาดอย่างน้อย ค่อยมีคนบอกคนสอน สักหน่อย ไปสอนแม่ สอนพี่ สอนน้อง สอนเพื่อน สอนมิตร อย่างพระโมคัลลาสารีบุตรนี่ พระสารีบุตรได้ฟังธรรมพระอัสสัสชิ คิดถึงเพื่อนทันที วิ่งไปบอกเพื่อน ลาอาจารย์อัสสัชชิไป ชวนโมคัลลา เห็นอาจารย์ ได้อาจารย์แล้วๆ ไปด้วยกันๆ ชวนกันไป จนเป็นสาวกซ้ายขวาบอกเพื่อนรักกันรับใช้พระศาสนาเราก็มี ระบบของสารีบุตร โมคคัลลา ทุกวันนี้ อานนท์ อนุรุทธะบ้าง พระสูตรที่เราได้
สาธยาย เนี่ย อานนท์ สารีบุตร โมคคัลลานะ อนุรุทธะ โกณฑัญญะ มหากัสสปะ ล้วน ๆ แต่มี มรดกธรรมให้เราได้อาศัย เอามาศึกษาปฏิบัติตามทุกวันนี้ พระสูตร พระพุทธภาษิต สาวกภาษิต แม้แต่ของพระองค์คุลีมาลก็ยังมี โจรดุร้ายขนาดนั้น ก็ยังมีภาษิตที่น่ารัก ...... ( 23.43) ขององค์คุลีมาล แล้วก็ ไม่ใช่ จำไม่ได้ ยังเป็นน่ารักอ่านภาษิตของสาวกแต่ละรูปนี่ ล้วนแต่เป็นทรัพย์มาใช้ได้ มีค่า แม้แต่ของภิกษุณี ผู้หญิงก็ยังมีค่าหลายรูป ของพระพุทธเจ้าล้วน ๆ ก็เยอะแยะ ไม่มีอะไรที่บกพร่องเลย ไม่น่าจะจนใจ ชีวิตของเราเนี่ย จนทำไม มีทางเยอะแยะจนใจ ๆ ทำใจไม่ได้ ๆ บางทีก็ร้องห่มร้องไห้เสียใจ เคยไปสอนคนป่วยที่เป็นโรคไต ก็นอนโรงพยาบาล ให้หลวงพ่อมาบอก ซะหน่อย ทำใจไม่ถูก ทำใจ จนไม่รู้จะทำยังไง เหมือนจะตาย หายใจไม่เป็น เคยฝึกหัดให้บ้าง แต่ว่าเวลาเอาจริง ๆ ทำไม่เป็น เราต้องไปบอก เปลี่ยนทำไม จะไปเปลี่ยนอะไรที่ไหน หยุด อย่าไปคิดเรื่องจิตใจ มาทางนี้แล้ว วาง วางเลย ๆๆ ไม่มีอะไรหรอก ไม่เป็นไร อย่าไปหาทาง ไม่มี วางไปเลยๆ กลับมาอยู่ที่รู้สึกตัว ลมหายใจกลับมา อย่าไปหาแก้ตรงไหน กลับมารู้สึกตัว ๆ พอบอกปั๊บเดี๋ยวก็เงียบทันที นั่งนอนนิ่ง ฟังลมหายใจเข้าออก ดูท่าทางก็ดีขึ้น ๆ รอดมาได้ อย่างนี้ ก็เลยเป็นครูสอน อยู่โรงพยาบาลตลอด ผู้หญิงคนนี้ ป่วยเป็นโรคไต สามสิบปี รักษาหาย เห็นคุณเห็นค่า เห็นธรรมะ เห็นโทษของการป่วยแล้วนี่ ไปช่วยคนที่เป็นโรคไตโรงพยาบาลสุรินทร์ สละเลยเป็นเพื่อนของคนป่วย เราก็อยาก เป็นเช่นนั้นเหมือนกันนะ ทำไมไปทุกข์ทำไม ไปโกรธทำไม ไปหลงทำไม อยากเป็นเพื่อนคนที่เป็นทุกข์เนี่ย เวลาเรานอนอยู่ในโรงพยาบาล ยังคิดอยากจะไปบอกคนไหน คนนอนอยู่ในโรงพยาบาลจุฬานี่ เป็นหลายร้อยหลายพันคน เค้ารู้จักทิศทางบ้างไม๊หนอ อยากจะไปบอก แต่มันก็ไปไม่ได้ เพียงแต่คิดไป อยากจะช่วยคนนั้น คนนี้ไปจริง ๆ ทำไมต้องทุกข์ ทำไมต้องไปเดือดร้อน เพราะฉะนั้น จึงได้ยินได้ฟังเอาไว้ ตกกระไดก็กระโจนแล้วจะได้ เคยได้ยินพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เมื่อคราวที่เราเป็น ตรงกันข้าม เอามาแก้ ๆ มาเปลี่ยนตามคำสอน เอามาปฏิบัติตามลองดู อาจจะตกกระไดก็กระโจน เหมือนพระเจ้าสุทโธทนะ ได้มรรคผลนิพพาน เมื่อใจจะขาดห้านาทีเท่านั้นเอง ลูกชายพระพุทธเจ้าไปนั่งสอนอยู่ ทำใจทำตามไป อันนั้นก็ดี ตรงนี้มีพระพุทธเจ้าไปนั่งสอน เนี่ยเราก็จำไว้ เนี่ยเป็นผู้ฝึกสักหน่อย ได้ยินได้ฟัง เรียกว่าเป็นมงคล เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก เป็นมงคลอันสูงสุด หาฟัง ใครบอกผิด บอกถูก เรียนทั้งนั้น จะได้รู้ มาปฏิบัติตัวเอง ผิดเราก็ไม่ทำตาม ถูกก็ทำตามไป แม้บางทีเรามีเอกลักษณ์ของตัวเองได้ เน้นหนัก ปฏิบัติเป็นเอกลักษณ์ ดำเนินชีวิต ชั่วไม่ทำเด็ดขาด ดีทำไปใจบริสุทธิ์ นี่เป็นขีดเส้นชีวิต จะมีกี่เดือน กี่ปี กี่นาที กี่วินาที จะใช้ชีวิตอย่างนี้ ชั่วไม่ทำ ดีทำไป ใจบริสุทธิ์ ง่าย ๆ อย่างนี้ นี่เป็นอย่างนี้ ชีวิตของคนผ่านอยู่เช่นนี้ นี้จึงไม่ใช่ปูด้วยพรม ด้วยอะไร บางทีขรุขระ เราก็ตั้งอยู่อย่างนี้ เราอยู่กับโลก อยู่กับรูป รส กลิ่น เสียง อยู่หลายสิ่งหลายอย่าง กับผู้ กับคน กับสิ่งแวดล้อม ชั่วไม่ทำ ดีทำไป ใจบริสุทธิ์ไปเลย ผ่านได้ตลอด ไม่มีอะไรขวาง หน้าได้ ยิ่งใหญ่ เป็นกองทัพธรรม ผ่านที่ไหนได้ทั้งนั้น ชั่วไม่ทำ ดีทำไปใจบริสุทธิ์ อย่างนี้ เอาละหนอ พอสมควรแก่เวลา กราบพระพร้อมกัน