แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตอนเช้าก็ทานอาหาร ตอนเที่ยงก็ทาน ตอนเย็นก็ทาน อาหารกาย ส่วนธรรมะก็คืออาหารนั่นแหละ เห็นแต่เรื่องเก่าๆ ความไม่เที่ยงก็เห็น ความเป็นทุกข์ก็เห็น ความไม่ใช่ตัวตนก็เห็น เห็นรูป เห็นนาม ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นแล้วก็ถูกต้อง ถ้าเป็นแล้วไม่ค่อยถูกต้อง มันขวางทาง ไปไม่ได้ ไม่หลุด ถ้าเห็นเป็นรูป เห็นเป็นนาม ไม่มีอะไรขวางกั้นได้ เรียกว่า ผ่าน ผ่านได้ ไม่กัก ไม่ขัง ทีแรกก็เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม พอเห็นตามความเป็นจริง ก็เห็นรูปเห็นนาม เห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม เวทนากาย เวทนาจิตธรรมหมดไป เหลือแต่รูปนาม รูปนามก็ยังไม่สำเร็จประโยชน์ เป็นดุ้นเป็นก้อน เป็นรูปธรรมนามธรรม ก็ยังไม่มีประโยชน์ ถ้ารูปธรรมที่เป็นธรรมดี นั้นก็สำเร็จได้บ้าง นามธรรมที่เป็นการทำชั่ว ก็เสียหาย ธรรมมี 2 อย่าง ทำ ท ทหาร สระอำ เรียกว่า ทำ ทำดี ทำชั่ว ทำงานทำการ ทำผิดทำถูก ท ทหาร สระอำ จำแนกออกไปจากตรงนี้ มันจะดีก็แยกตรงนี้ มันจะชั่วก็แยกตรงนี้ เอาความชั่วความดี แล้วก็เอารูปเอานามนี้ไปทำ แต่ถ้าเราจะละความชั่ว ทำความดี ก็เอารูปเอานามนี้ไปทำ เป็นของส่วนตัว
แต่รูปธรรมอีกแบบหนึ่ง ธ ธง ร เรือ สองตัว ม ม้า อันนั้นเป็นธรรมชาติ มันก็ยิ่งใหญ่ เช่นความไม่เที่ยง เป็นรูปธรรม ธรรมตัวนั้น ธ ธง ร เรือ สองตัว ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน เป็นรูปธรรมอันนั้น ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครเหนือกว่ารูปธรรม นามธรรม แบบนั้น เรียกว่าจำแนกได้ แล้วถ้าเราไม่รู้ธรรมประเภทนี้ เราไม่เคารพธรรมอันนี้ เราประมาท เสียหาย ไม่เห็นธรรม ไม่เคารพธรรม มันเป็นธรรม เป็นธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ท่าทีของธรรมชาติ ไม่มีใครป้องกันได้ ไม่มีใครเป็นใหญ่ ในรูปนามนี้ ตกอยู่ในธรรมประเภทนี้ ถ้าไม่พัฒนา ถ้าพัฒนาก็มีประโยชน์ เอาธรรมที่เป็นธรรมชาติมาเป็นปัญญา ถ้าเอาธรรมที่เป็นธรรมชาติมาเป็นปัญหา มันก็เกิดทุกข์ เกิดโทษได้ ที่รูปธรรม ธ ธง ร เรือ สองตัว รูปทุกข์ นามทุกข์ มี มันเป็นทุกข์ มันเป็นรูปที่เป็นรูปธรรมเนี่ย มันมีรูปทุกข์ นามทุกข์ มันมีความไม่เที่ยง มันมีความไม่ใช่ตัวตน มีความเป็นทุกข์อันรูปอันเนี่ย ตั้งอยู่ได้ไม่นาน เกิดขึ้นแล้วแก่เจ็บจะตายไป ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่เรามองเห็นอยู่เนี่ย ที่เป็นดุ้นเป็นก้อน มาหาพุทธรูป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้จักกิน รู้จักขับ รู้จักถ่าย รู้จักหายใจ มีร้อน มีหนาว มีปวด มีเมื่อยอยู่ อันนี้มันทนไม่ได้ มันทนไม่ได้ มันเป็นเวทนา มันทนไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลง มันไหลเรื่อย ต้องหายใจเข้า หายใจออก ในรูปนี่ มันรูปเป็นทุกข์
ถ้านามอยู่กับรูปไม่รู้จักแยก มันก็สองต่อ แทนที่รูปจะทุกข์ นามก็ทุกข์เข้าไปอีก ถูกลูกศรสองดอก ดอกหนึ่งถูกรูป ดอกหนึ่งถูกนาม พระอริยเจ้าอกถูกลูกศรดอกเดียว ถูกเฉพาะรูป นามไม่ถูก เพราะมันเห็นรูปกับนามตามความเป็นจริง มันก็เจ็บ ก็รู้ว่ามันเจ็บ มันร้อนก็รู้ว่ามันร้อน มันหนาวก็รู้ว่ามันหนาว มันหิวก็รู้ว่ามันหิว ภาวะที่เห็น ไม่เป็นไปกับนาม นั่นเรียกว่า ธรรมแบบหนึ่ง เปลี่ยนความร้ายเป็นความดี เปลี่ยนความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา พัฒนาตรงนี้ รูปโลก นามโลก มันมีรูป มันเป็นก้อนรูป รูปเนี่ย นามก็เป็นก้อนโลก ถ้าเราไม่รู้ เกิดโรคอยู่บนรูป เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดรูปอยู่บนนาม เกิดโลภหลง รูปของนาม กิเลส ตัณหา ราคะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นนามรูป โรคอันนี้รักษาได้ รักษาได้เด็ดขาด พระพุทธเจ้าประกาศก้องดังสี่แพร่ง ห้าแพร่ง ว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คือโรคอันนี้ โรคของนามรักษาได้ ตั้งแต่อายุ พระชนมายุ 36 พรรษา อันนี้นามโรคแบบนี้ มาอาศัยธรรมะ เห็นแจ้งตามความเป็นจริง ธ ธง ร เรือ สองตัวเนี่ย อันนี้เป็นธรรม เปลี่ยนร้ายเป็นดี เปลี่ยนผิดเป็นถูก เปลี่ยนทุกข์เป็นไม่ทุกข์ อาศัยอันนี้ อาศัยปฏิบัติตรงนี้ เรียกว่าปฏิบัติได้ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นส่วนตัว อย่าสละสิทธิ์ มีอยู่ทุกกรณี ในความทุกข์ที่เป็นความโกรธ ในความโกรธก็มีความไม่โกรธ มันเปลี่ยนได้อย่างนี้ ในความทุกข์ก็มีความไม่ทุกข์ อย่าสละสิทธิ์ ใช้สิทธิของตนเอง ปฏิบัติได้อยู่ เปลี่ยนได้อยู่ ถ้าเปลี่ยนได้ก็เป็นเหนือโลก เหนือสุข เหนือทุกข์ได้ เรียกว่าอยู่เหนือโลก
อันนี้รูปโลก นามโลก รูปสมมุติ นามสมมุติ มันซ้อนทับมา ให้รูปแน่นหนาขึ้น ให้นามแน่นหนาขึ้น ทำให้เรามืด ทำให้เราไม่รู้ มีอีกส่วนหนึ่งที่เป็น เป็นเปราะ เป็นเครื่องกีดขวาง รูปสมมุติ สมมุติเป็นนามธรรม สมมุติเป็นวัตถุธรรม เอาสิ่งของวัตถุที่เป็นเห็นด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ มาเป็นสมมุติบัญญัติว่า อันนี้เราชอบ อันนี้เราไม่ชอบ ในลักษณะของรูป สมมุติต่างกัน เอามาทับถมรูป ให้รูปมันหลงซ้ำไปอีก อันนี้รูปสมมุติเป็นรูปธรรม แม้แต่เสียงก็เป็นรูป กลิ่นก็เป็นรูป รสก็เป็นรูป อารมณ์ที่เกิดกับใจก็เป็นรูป มันเจ็บปวดได้ ได้เห็นทางตา ก็เจ็บปวดทางใจ ได้ยินทางหู ก็เจ็บปวดทางใจ ได้กลิ่นทางลิ้มทางรส ก็เจ็บปวดทางใจได้ เป็นที่รองรับของรูปรสกลิ่นเสียงได้ อันนี้รูปสมมุติ เราเคยเป็นสุขก็สมมุติ เราเคยเป็นทุกข์ก็สมมุติ บัญญัติเอาเอง
การสมมุติบัญญัติเอาเองนั้นน่ะ มันไม่ใช่ตัวใช่ตน มันไม่เที่ยง อย่าหลงเอาสมมุติมาเป็นตัวเป็นตน ว่าเราชอบ เราไม่ชอบ สิ่งที่เราชอบก็ ปล้นเอา จี้เอา ข่มขืนเอา ขโมยเอา สิ่งที่ไม่ชอบก็ทำลาย ที่แท้มันเป็นสมมุติ เป็นคำพูด เป็นสมมุติบัญญัติที่เป็นรูปเป็นคำพูด ดีว่าไม่ดี ยกย่อง เป็นสมมุติ สรรเสริญเป็นสมมุติ สมมุติเอา อันนี้มันมีสมมุติ แล้วก็นามสมมุติ นามก็บัญญัติ ไม่มีรูป มีอะไรเลย บัญญัติขึ้นมา เป็นสุขเป็นทุกข์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไร ตาก็ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่ได้รส กายก็ไม่ได้สัมผัส แต่บัญญัติเกิดขึ้นทางใจ บัญญัติเอาว่าเราชอบ ว่าเราไม่ชอบ บัญญัติบางอย่างน้ำตาร่วงน้ำตาไหล บัญญัติไปมากๆ ถึงกับฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย ยิงตัวตาย ถ้าบัญญัติว่าไม่ดี บัญญัติว่าดีก็หลงใหล เพลิดเพลิน มัวเมา มืดมน ก็ถูกบัญญัตินี้หลอก เสียผู้เสียคน อันนี้สมมุติบัญญัติ มีอยู่ในรูป มีอยู่ในนาม สมมุติบัญญัติที่ใช้ไม่เป็น ใช้สมมุติไม่เป็น ใช้บัญญัติไม่เป็น เสียหาย ผิด ทำให้เสียหายได้ เสียหายส่วนรวมได้ เสียหายส่วนตัวได้ แทนที่จะมีประโยชน์เกิดเป็นโทษได้
วัตถุอาการ มีอยู่ในรูปในนามนี้ วัตถุคือ ตาก็เป็นวัตถุ หูก็เป็นวัตถุ จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นวัตถุ เมื่อมีวัตถุ มีภายนอก มีวัตถุภายใน รูป รส กลิ่น เสียง เป็นวัตถุภายนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นวัตถุภายใน วัตถุสองอย่างนี้ มันเป็นคู่กัน เมื่อเกิดวัตถุขึ้นมา สัมผัสวัตถุขึ้นมา กลายเป็นสมมุติบัญญัติตรงนี้ก็มีเยอะแยะ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส เนี่ยให้วัตถุ แล้วก็มีอาการต่อไปอีก ตาเห็นรูปพอใจ ไม่พอใจ นั่นเป็นอาการ เกิดขึ้นแล้ว อาจจะเป็นภพเป็นชาติตรงนี้ เรียกว่าอาการ วัตถุอาการ เป็นอาการมันมี ถ้าเป็นวัตถุเฉยๆ สมมุติแล้ว ลงไป จบลงไป ไม่เป็นไร มันมีอาการต่อไปอีก ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ เท่ากับปรุงแต่งไปเกิดกิเลสตัณหาได้ ตาเห็นรูป เกิดกิเลสตัณหาได้ ตาเห็นรูปรักได้ ตาเห็นรูปเกลียดได้ ตั้งแต่อาการไปยังหม่องนั้น ก็ไม่จบ ถ้าเราไม่รู้มัน มันก็ไปกันใหญ่ ไอ้อาการหลอกเรา หลงใหลไปเรียกว่าวัตถุอาการ ปรมัตถ์ มันจริงแบบสมมุติ เช่นเขาด่าเรา มันสมมุติเอา มันจริงแบบเขาด่า แต่มันไม่จริงแบบปรมัตถ์ เขาสรรเสริญเรา มันจริงแบบสรรเสริญของเขา ตามสมมุติของโลก
ความสมมุติของโลกนินทา สรรเสริญนี้ มันมีอยู่ก่อน ตั้งแต่เรายังไม่เกิด มีรูป มีนามนี้ มีได้ มีเสีย มีผิด มีถูก มันเป็นโลกธรรมมาก่อน เราเคยเป็นสุข เป็นทุกข์ เพราะโลกวัตถุ โลกธรรมนี้ครอบงำเรา ย่ำยีเรา เมื่อเรามาเห็นสมมุติบัญญัติ เห็นวัตถุอาการ ก็อาจจะดื้อได้ เราวาง แค่สมมุติเฉยๆ ไม่ใช่เป็นปรมัตถ์ ความโกรธเป็นสมมุติ ความไม่โกรธเป็นปรมัตถ์ มันมีอยู่ ในความไม่เที่ยง ก็จริงแบบไม่เที่ยง มันไม่จริงแบบเที่ยง ในความไม่ทุกข์ ก็จริงแบบเป็นทุกข์ แต่ว่าไม่จริงแบบไม่เป็นทุกข์ ในทุกอย่างมีปรมัตถสัจจะ ในความทุกข์ก็มีปรมัตถ์อยู่ มันจริงแบบนี้ ถ้ามีความทุกข์ก็ร้องห่มร้องไห้เสียใจ มันเป็นบัญญัติแบบนี้ สมมุติแบบนี้ แต่ถ้าเรามาเห็นปรมัตถ์แล้ว มันก็ไม่มีค่า ในความสุขความทุกข์นั้น มันก็เป็นสักแต่ว่า มื้อนี้แหละว่า มันรื้อไป สมมุติบัญญัติ ปรมัตถสัจจะ มันมีอยู่ ในความไม่เที่ยงมันก็เป็นแบบนั้น มันจริงแบบนั้น ไม่ไปตู่เอาความไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง ถ้าไปตู่ว่าเป็นของเที่ยง มันผิดปรมัตถ์ เสียหาย
ถ้าวางเห็นว่าความไม่เที่ยง ก็แค่นั้นเอง อาจจะได้ปัญญา อาจจะได้นิพพานตรงนั้นได้ ถ้าเห็นตามความเป็นจริง นี่แหละว่า เป็นหลักสูตรในรูปธรรม ในนามธรรม ถ้าจะอธิบายให้มากมาย ที่บังเกิดอยู่บนกองรูปกองนามนี้ มีมาก 84000 อย่าง เราไม่รู้ เราก็เลยหลง หลงกันอยู่ตรงนี้กัน เราจะมาดูมันซะ มันมีสติ ถ้าหลงย้อนให้ดู ให้เห็นกาย สมมุติว่ากายนี่มันแยกออกไป จนถึงแบบเห็นแจ้งทุกอย่าง อะไรเกิดขึ้นกับกาย เกิดขึ้นกับรูป อะไรเกิดขึ้นกับนาม รู้แล้ว รู้หมด รู้ครบ รู้ถ้วน ไม่มีตรงไหนจะปิดบังอำพราง ทะลุทะลวงไปหมดแล้ว เรียกว่า รู้แจ้ง การรู้แจ้งอย่างนี้ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น รุ่งเรืองปัญญา ปัญญาออกจากทุกข์ ปัญญามันเกิดรอบรู้ในกองสังขาร ในกองรูป กองนามนี้ อย่างเนี่ย ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากอะไรทีไหน รอบรู้ในกองสังขารเนี่ย มันเห็นกองรูป กองนาม เห็นตั้งแต่เริ่มต้นศึกษา ปฐม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นั่น เป็นหลักสูตร อย่าทิ้งหลักสูตร มันมีสูตรอย่างนี้ เอากายเอาใจนี้เป็นตำรา เอารูปเอานามเป็นตำรา เป็นหลักสูตร ถ้าเราได้หลักสูตรนี้ จบหลักสูตรไม่หลง เหมือนเราเรียนหนังสือ ถ้าหลักสูตรได้ไวยากรณ์ ได้ตัวอักษร ได้สูตรคณิตศาสตร์ สอง หนึ่ง เป็นสอง จะให้เป็น สาม เป็น สี่ไม่ได้ สองห้าเป็นสิบ จะให้สองห้า เป็นยี่สิบไม่ได้ มันมีหลักสูตร แต่หลักสูตรนั้นมัน มันปิดบัง ทำให้เราหลงก็มี เช่น ความไม่เที่ยง มันเป็นหลักสูตร ของรูปของนาม ถ้าเป็นทุกข์ มันเป็นหลักสูตรของรูปของนาม มันตกอยู่ในความไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ ไม่ใช่ตัวใช่ตน เป็นหลักสูตรของเขา อย่าหลงตรงนี้ ต้องให้มันกระจายออก ให้มันกระจายออก เรียกว่าผ่านได้ ไม่เป็นดุ้นเป็นก้อน ในความไม่เที่ยงแทนที่จะเป็นทุกข์ ในความไม่เที่ยงกลายมาเป็นปัญญาได้ ถ้าเห็นไปอย่างนี้
เมื่อวานนี้ไปแสดงธรรมให้พวกพี่น้องชาวจีน เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่ใครมารู้ให้เรา เรารู้เอง เราเห็นเอง เราใช้ได้เอง ในความไม่เที่ยงเอามาเป็นทุกข์ มันใช้ไม่ได้ ในความไม่เที่ยงมาเป็นปัญญามันใช้ได ใครเป็นผู้เห็น เราเป็นผู้เห็น เราก็ตอบเอาเอง เพราะถามเรา หลวงพ่อเทียนก็ไม่มีแล้ว ไม่มีใครไปพูด ที่จะบอกว่า แล้วหลวงพ่อเทียนเคยบอกไหม คนนั้นได้บรรลุธรรม คนนี้บรรลุธรรม หลวงพ่อเทียนเคยบอกไหม เดี๋ยวนี้หลวงพ่อเทียนไม่มี เราจะไปถามใคร และจะไปศึกษากับใคร แล้วก็ถามเรา ให้ตอบยังไงล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่า พระองค์นี้เป็นพระอรหันต์หรือ ไม่มีบอก เป็นปัจจัตตัง ไม่มีคำถาม บอกไม่ได้ ไม่เหมือนเรียนวิชาสมมุติบัญญัติ วิชาสูตรสำเร็จเขามอบใบประกาศให้ อันนี้ไม่มี รู้เฉพาะตนเอง ปัจจัตตัง รู้ด้วยตนเอง ไม่มีใครมายื่นให้ ว่ามันเป็นอย่างนี้จริงๆ ในความไม่เที่ยง เอามาเป็นทุกข์ไม่ถูก ในความไม่เที่ยงเอามาเป็นมรรคผลนิพพาน มาเป็นปัญญามันถูก ใครบอก ไม่มีใครบอก ในความเป็นทุกข์ เอามาเป็นทุกข์ มันไม่ถูก ในความเป็นทุกข์เอามาเป็นปัญญามันถูกต้อง ในความโกรธ เอามาเป็นความโกรธไม่ถูกต้อง ในความโกรธเอามาเป็นความไม่โกรธถูกต้องกว่า ในความหลงมาเป็นความหลงไม่ถูกต้อง ในความหลงมาเป็นความไม่หลงนี่ถูกต้องกว่า อย่างนี้ ใครเป็นคนเห็นเรื่องนี้ เป็นปัจจัตตังไหม รู้ไหม หรือหลงเป็นหลงจนตาย โกรธเป็นโกรธจนตาย ทุกข์เป็นทุกข์จนตาย มีประโยชน์อะไรชีวิตเรา มีการสอนกันโจ้งๆ อยู่
พระพุทธศาส พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ได้ยินไหม พร้อมทั้งพระธรรมคำสอน อันเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน มันมีแล้ว มันมีเรื่องอยู่บนความทุกข์ ของจริงคือทุกข์ อริยสัจ 4 เห็นของจริง คือ อริยสัจ 4 อย่างประเสริฐ เห็นแล้วมันก็มีทางออกได้ เมื่อเราเห็นงู งูจงอางอยู่นั่นน่ะ ไปถ่ายภาพมาให้หลวงตาด้วย แล้วไปให้งูกัดรึ งูจงอางน่ะ มันก็ไม่ใช่แล้ว เห็นไหม เห็นงูจงอางไหม เห็นงูพิษไหม อยู่ที่ไหนงูพิษน่ะ เป็นทุกข์เป็นโทษ เจียนตายนี่ล่ะ อยู่ที่เรานี่แหละ เห็นความโกรธ พ่ายความโกรธ ก็ให้โกรธ งูจงอางกัดเข้าแล้ว เจียนตายแล้ว พ่ายความโกรธ ให้โกรธ พ่ายความทุกข์ก็ให้ทุกข์ ถูกพิษสงแล้ว เคยไหม เคยทุกข์เพราะความทุกข์ไหม เคยทุกข์เพราะความโกรธไหม เนี่ยมันมีพิษอย่างเนี้ย เราจึงมารักษาเนี่ย ไม่ต้องมีพิษอะไร ทำไงจึงไม่ให้มันกัด เห็นแล้วออกมา พอเห็นแล้วก็ออกไป มันมีทางออกไปอยู่ เห็นทุกข์ ออกจากทุกข์ พ้นจากทุกข์อย่างเนี้ย เหมือนงูจงอางชูคออยู่ เห็น แล้วทำไงต่อไป เห็นงูจงอางชูคออยู่ เห็นแล้วนะ ไม่มีใครไม่เห็นหรอกทุกข์น่ะ บางคนประกาศ มึงไม่รู้จักกูทุกข์หรอเนี่ย มึงไม่รู้จักกูโกรธหรอเนี่ย มึงอย่ามาใกล้กูนะ เดี๋ยวมึงไม่มีนะ กูมองเห็นมึงเข้า เส้นผมเนี่ย แล้วก็ให้เห็นทุกข์ งูจงอางแผ่แม่เบี้ยอยู่ ออกไป ออกไปให้มันไกลสักหน่อย ออกไป ห่างออกไป ห่างออกไป ก็ออกไปไกลสิบวา ยี่สิบวา ก็พ้นไป ออกไปอีก จนมันพ้นที่สุด พ้นแล้ว ไม่แล้ว ไม่มีอะไรแล้ว
เห็นทุกข์ออกไปจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ พระพุทธเจ้าเห็นอย่างนี้ เรียกว่าปัจจยสาม เห็นทุกข์ ออกจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ เห็นสมุทัย ไม่พอ สมุทัย พ้นจากสมุทัยนะ เห็นวิธีออกไป ได้ออกไปแล้ว พ้นแล้ว เรียกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีอย่างนี้ อย่างละสามอย่าง รวมเป็นสิบสอง ปัจจัยอาการสิบสอง เลยทำเป็นธรรมจักรสิบสองซี่ เพราะมันหมุนออกไป แต่ละ มันทำไมมาสิบสองซี่ มาจากไหน มาจากอริยสัจสี่ เห็น ออกไป พ้นแล้ว เห็นออกไป พ้นแล้ว ออกได้ไหม เนี่ยออกได้ ถ้ามันหลง รู้ขึ้นมา พ้นจากความหลง มันรู้แล้ว ได้ไหม เวลามีสติอยู่เนี่ย พอมันหลงไป มันหลงไป เอ้า นี่กลับมารู้ใหม่ พ้นจากความหลงไปแล้ว มารู้แล้ว พ้นหรือยัง มีแต่พ้นอยู่เนี่ย มันทุกข์ มีไหม เห็นมันทุกข์ ออกจากทุกข์มารู้ มันก็มีอย่างนี้ เรียกว่า กัมมัฏฐาน มันลิขิตได้ เป็นที่ตั้งแห่งการกระทำ นี้มันจำแนกได้อย่างนี้ เรามาท่องไป สาธุแหม๊ ให้ผู้ข้าพ้นจากทุกข์เด้อ ไม่มีทาง ถ้าไม่ทำตรงนี้นะ ไม่มีทาง อ้อนวอนไม่ได้ ไม่ใช่ศาสนาอ้อนวอน เป็นศาสนาแห่งการกระทำ เปลี่ยนเอา บอกอยู่แล้ว ความหลง ไม่หลง เอ้า มันอยู่ด้วยกันนะ ให้ทำเอานี้ ทำให้มันเป็น ไม่ใช่เรียนรู้ไปจำเอา ทำให้มันเป็น เปลี่ยนไปเล็กน้อยๆ ไป เปลี่ยนหลงเป็นรู้ เปลี่ยนทุกข์เป็นรู้ไป ยิ่งทำอันนี้ให้มันชำนิชำนาญ ให้มันคล่องตัว มันไม่ต้องเปลี่ยนต่อไป มันต้องเปลี่ยนในตัว
หลวงพ่อเทียนสอนว่า เอาจิต เอาสติดูจิต เอาจิตดูจิต ในสติมันดูจิต ต่อไปจิตมันจะดูจิตเอง อันเดียวเลย ในหลงที่ไหนมีหลงมีรู้ ตรงนั้นเลย เนื้อมันในมัน ของอยู่ด้วยกัน ความทุกข์อยู่ที่ใด ความไม่ทุกข์อยู่ที่นั่นเลย ถ้าทำเป็นแล้ว มันก็ปั๊บทันที ปั๊บทันที ปั๊บทันที มีเจ็บที่ไหน ความไม่เจ็บ เห็นมันเจ็บ มีแก่ตรงไหน เห็นมันแก่ มีตายตรงไหน เห็นมัน ไม่ใช่เป็นกับมัน มันเปลี่ยนอยู่ทุกขณะ ไม่ใช่เวลาจะเจ็บ เราจะมามัวสร้างจังหวะ โอ๊ย จะเดินจงกรม มันจะเดินได้ยังไง ถ้าในจิตมันคิด ไม่ต้องทำอะไร ในตัวมันเอง ในความแก่ ก็มีความไม่แก่ ในความเจ็บก็มีความไม่เจ็บ ในความตายมีความไม่ตาย ฝึกให้ชำนิชำนาญเอาไว้ ยามสงบเราฝึก ยามศึกเรารบ อันเนี้ย จึงจำเป็น จำเป็น ก็ต้องทำแบบนี้ จะทำแบบอื่นไม่ได้ จะเอาเงิน เอาทอง เอาข้าว เอาของไปซื้อเอา ไม่ได้เลย
เหมือนพระโสณะโกลิวิตะ (โสณโกฬิวิสะ-ผู้ตรวจทาน) พูดแล้วพูดอีก จำได้ไหม โสณะโกลิวิตะ มีศรัทธามาบวช ปฏิบัติธรรม เดินจงกรม จนเท้าแตก ฝ่าเท้าเอาปลายย่องเดิน ปลายเท้าก็แตก เอาส้นเดินไปอย่างนี้ ส้นเท้าก็แตก เอาข้างเดิน ข้างเท้าก็แตก รอยเดินจงกรมมีแต่รอยเลือด ของพระโสณะ เพื่อนไปเห็นเข้า ไปทักท้วง ไปติพระโสณะ อยู่โน่น รอยเดินจงกรมมีแต่รอยเลือดเลย ทำไมล่ะ มีคนประท้วงก็ร้องไห้เสียใจ ว่าเราทำขนาดนี้ ไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลย หมดปัญญาแล้ว ถ้าปฏิบัติแบบนี้ ขอสิกขาลาเพศไป ทรัพย์สมบัติเรามีมาก โกลิวิตะ ทรัพย์เป็นโกฏ ไปขาย ไปทำบุญเอาเงินเอาทองไปทำบุญเอา ทำได้แบบนี้ล่ะ ร้องไห้มาพบพระพุทธเจ้า ขอลาสิกขา ไม่มีทางที่จะบรรลุธรรมได้แล้ว เจ้าข้าเอ้ย เดินจงกรมจนเท้าแตก พระพุทธเจ้าก็ถาม โสณะ นี่เป็นนักดนตรีใช่ไหม ใช่พระเจ้าข้า แล้วเวลาเธอทรงดนตรี ดีดพิณ สีซอ แล้วสายของเธอมันตึง เสียงเพราะไหม ไม่เพราะ แล้วหย่อนเกินไป มันเพราะไหม ไม่เพราะเจ้าข้า ถ้าเอาอย่างไง จึงจะพอดี เอาพอดี โน้ตมันก็ลา โด ลา ซอล ลา มี
หลวงตาเคยหัดนะ ลา ซอล มี มี ลา โด ลา ซอล อยู่ แล้วก็ฟังเสียงแล้วก็ได้อยู่ ซอล ซอล ซอล ซอล มี มี มี มี มันเข้ากัน ซอล กับ มี มันเข้ากันใช่ไหม เหมือนโด กับ ลา เนี่ย อะไร นับลูก โด่ มี๊ เหมือนกับเรียนภาษาไวยากรณ์ ไอ กับ อี มันอยู่ใกล้ๆ กันใช่ไหม ใช่ไหม ไอ อี ไอ อี ไอ อี เป็นสระไอด้วย เป็นสระอีด้วย ลา โด ลา ซอล เนี่ย โสณะ ก็ดนตรีอยู่แล้ว แต่ทำไงเสียงพิณเธอจึงจะได้เสียงที่เหมาะ ต้องพอดี ซอล ซอล มี มี ซอล ซอล มี มี ลา โด ลา ซอล เตาะเอา ไม่ใช่ไปเล่นเลยนะ เวลาเขาจะทรงดนตรี เขาต้อง ซอล ซอล ซอล ซอล มี มี มี มี ลา ลา ลา ลา ซอล มี ซอล ลา ลา มี เออ ใช้ได้แล้ว เล่นได้ไป เอาให้เสียงตามเสียงเพลงได้ ถ้ามันมีโน๊ตแบบนี้แล้ว แล้วทำไงเธอจึงจะได้เสียงพิณของเธอที่เหมาะสม ต้องพอดี ฉันใดก็ดี โสณะเอย การทำความเพียรอย่าตึงเกินไป ให้พอดี หลวงตาบอกว่า อมยิ้มไว้เสมอ อย่าไปเอาเครียด บางคนปฏิบัติธรรม หน้าบูด หน้าบึ้ง เอาให้ได้ เดินจงกรม บึ้ง มันไม่ มันตึงเกินไป ให้มันพอดี รู้ไป ความรู้มันจะบอก บอกนะ ความเอาจริง บังคับเนี่ย มันจะไม่ได้ ต้องทำสบาย มันหลงก็หัวเราะความหลง อย่าให้มันเปลี่ยนแปลง มันหลง รู้ มันรู้ รู้ มันทุกข์ รู้ มันสุข รู้ รู้ไป หมั่นไปหมั่นรู้ ดีใจ มันหลงเสียใจ ไม่ใช่ตึงแบบนั้น ไม่ใช่ ตึงแบบหย่อน ถ้ามันเสียใจ เสียใจ หย่อนแล้ว ดีใจ หย่อนแล้ว ก็มันรู้ ดี ดี ดี ดี นี่เรียกว่าตึงเกินไป แล้วมันหลง นี่ไม่ดี ไม่ดี อย่างนี้เรียกว่า ตึงแล้ว ไม่พอดี เห็นเท่าๆ กัน มันหลงเห็น มันรู้เห็น มันทุกข์เห็น มันสุขเห็น มันจะไม่มีอะไร นี่ว่า มัชฌิมา เสียงได้พอดีเลย
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้