แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกันเด้อ พร่ำสอนตัวเอง ผู้อื่นสอนบ้างแนะนำบ้าง สมัยครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ คงจะพร่ำสอนภิกษุอยู่เสมอ ว่าให้มีสติอย่าประมาท เป็นการพร่ำสอนของพระตถาคตอยู่เช่นนั้น ความมีสติไม่ประมาท ก็อยู่กับเราได้ทุกโอกาส นำมาสอนตัวเราอยู่เสมอ เป็นกระจกส่องเงาตัวเอง เห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นจิต ดูกายก็เห็นจิต ดูชิดก็เห็นธรรม มันคิดมันก็เป็นธรรมแล้ว รึเป็นธรรมอันใดก็เป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ถ้าความคิดเป็นอกุศลก็คิดพยาบาทปองร้าย กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฐิ ปรุงๆ แต่งๆ ที่ว่าเป็นอกุศลก็ต้องละ เปลี่ยนอกุศล เป็นกุศลซะ ที่ว่าปฏิบัติธรรมก็ให้คิดดี คิดถึงศีลถึงธรรม คิดถึงพระพุทธเจ้า น้อมเอาคำสอนมาใส่เรา คิดเรื่องใดก็เป็นเรื่องนั้น คิดถึงพระพุทธเจ้าก็เกิดพระพุทธเจ้าในหัวใจ คิดถึงพระธรรมก็มีธรรมในใจ
ความหลงไม่เป็นธรรม ความไม่หลงเป็นธรรม ดูกายเห็นจิตดูชิดก็เห็นธรรม อยู่ในขณะเดียวกันแล้ว เราก็ดูแลตัวเรา สอนตัวเรา ใช้ชีวิตตามปกติ อย่าเคร่งเครียดเคร่งขรึม อย่าให้ยากอย่าให้ง่าย สนุกไปกับการงาน ทำงานด้วยความสนุกเป็นสุขเพราะทำงานไป ยิ้มแย้มแจ่มใส อย่ากระทบกระเทือนให้ผิดให้ถูก ผิดก็ผิดไม่ชอบ ถูกก็ถูกก็ชอบ ไม่ใช่อย่างนั้น ไม่สนุก เหมือนกับกระทบกระเทือนตัวเองอยู่เสมอ ไม่ราบเรียบ เหมือนกับพาหนะ ไม่เรียบ กระทบกระเทือน ม้าที่หัดไม่ดีก็วิ่งไม่เรียบ นั่งขี่หลังไม่สบาย ขับรถไม่ดีก็กระทบกระเทือน ทั้งเบรกหลุม ทั้งเบรก ทั้งเบรกคันเร่ง ทั้งพวงมาลัย พวงมาลัยก็เป็นเบรกอันหนึ่งทำให้กระทบกระเทือน หลุมอันหนึ่ง กระทบกระเทือนอันหนึ่ง คันเร่งก็เป็นหลุมอันหนึ่ง ไม่ราบเรียบ เพราะฝีมือไม่ค่อยดี เราก็ต้องมีฝีมือ สอนตัวเองให้เรียบๆ อย่าให้ผิดเป็นผิด ผิดถูกเป็นถูก ให้ผิดคือรู้สึก ให้ถูกคือรู้สึก มันเรียบดี ให้ทุกข์ก็รู้สึก ให้ไม่ทุกข์ก็รู้สึก มันเรียบดี ถ้าเรียบเราก็เรียกว่า สุขาปฏิปทา ก็เรียกว่าสะดวก รู้ธรรมะได้ง่าย ถ้าปฏิบัติไม่เรียบ กระทบกระเทือนผิดๆ ถูกๆ อยู่เสมอ ถ้าผิดก็ไม่ชอบ ถ้าถูกก็ชอบ มันเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก พูดได้ยาก กระทบกระเทือนอยู่เสมอ
เราจึงใช้ชีวิตตามปกติ อบอุ่นดี มีเพื่อน มีกัลยาณมิตร ใครก็หลงเราก็หลง ใครก็รู้เราก็รู้ เหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่างกัน พระพุทธเจ้าก็หลง พระพุทธเจ้าก็รู้ พระสาวกทั้งหลายก็หลงก็รู้เหมือนกัน อุบาสกอุบาสิกาก็หลงก็รู้ เหมือนกันหมด เห็นใจคนที่หลง เห็นใจคนที่ไม่หลง เราก็คนหนึ่งเหมือนกัน แม่เราเค้าสอนเราอยู่เสมอ มันก็ทำเป็นทำได้ ดีกว่าเก่า ระหว่างการใช้ชีวิตราบเรียบกว่าเก่า แต่ก่อนกระทบกระเทือนอยู่เสมอ เหมือนฝึกหัดม้า แต่ก่อนเคย เคยหัดม้า แล้วม้าตัวไหนมันวิ่งเก็บลู่วิ่งไม่ดี ก็ให้คนมีฝีมือนั่งหลังหัด มันก็วิ่งดีได้ หัดวัวหัดควายเทียมล้อเทียมเกวียนก็เหมือนกัน เวลามันลงโคลนลงขี้โคลนลงบึงลงห้วย ถ้าหัดขับไม่ดี มันก็ มันก็มีน้ำใจเหมือนกัน วัวเหมือนกัน เวลาหัดม้า เวลาเราขี่หลังเราก็รู้ มันเจ็บลูก วิ่งผิดเราก็ชักสายบังเหียนซักหน่อย แล้วเอาขาสอนมัน ไม่ใช่คำพูด เอาขา เอาท่อนขาสอนมันแล้วก็ชักสายบังเหียน เวลามันผิดทีไรก็ชักสายบังเหียนมัน มันก็เจ็บลูก วิ่งได้ดี ไม่กระทบกระเทือน แต่เวลามันผิด เราไปตีมัน ขนาบมันอะไรมัน มันก็ตื่น มันก็คอยระวังเสมอ ก็คอยจะผิดพลาด ไม่ใช่ปกติ วัวทำเทียมลงห้วยขึ้นหนองเหมือนกัน เวลามันดันหนักๆ ไปตีไปเฆี่ยนมัน มันก็ทั้งเจ็บทั้งหนัก มันก็ไม่เอา ไม่เอางาน ทิ้งไปเลย ถ้าเราใช้เป็นมันก็เอางานเอาใจเจ้าของ อย่าไปเฆี่ยนไปตีมัน เอามือลูบหลังลูบข้างมัน พูดดีๆ
เหมือนโคนันทวิศาล เจ้าของโคนันทวิศาล พูดซักหน่อยได้มั้ย โคนันทวิศาลเป็นโคที่มีกำลังมาก เจ้าของโคเป็นคนขี้ทุกข์ขี้ยาก แต่ว่าอาศัยโคนันทวิศาลไปใช้งานขนสิ่งของพอได้อยู่ได้กิน แต่มีกำลังมาก ก็ไปท่า กันกับเจ้าของ สิ่งของที่มากมาย ขอรับจ้าง บอกว่านันทวิศาลขนได้ เจ้าของของสิ่งของก็บอกว่าขนไม่ได้ มันมากมันมาย เจ้าของโคก็บอกว่าได้ๆ ก็มีคนพนันกันขึ้นมา มีคนอื่นมาพนัน เห็นเจ้าของโคคุยว่านันทวิศาลของเราขนได้ เขาก็บอกว่าขนไม่ได้ ก็ท้าพนันกันเสียเงินเสียทอง ทีนี้เจ้าของโคนันทวิศาลก็เอาของขึ้นเกวียนที่โคนันทวิศาลลาก ก็พูดไม่เหมาะ ไปๆ นันทวิศาล เธอจงไป เอาให้ไปให้ได้ อย่าโง่ ด่าทันที ทำท่าถือไม้เรียวหน้าตาบูดบึ้ง ตีนันทวิศาล นันทวิศาลก็ทำท่าดันก็ ทำท่าดันก็ทั้งเจ็บปวดทั้งเสียใจ ไม่มีกำลังใจ เจ้าของก็ด่า นันทวิศาลก็ทิ้งเกวียนไปเลย เจ้าของโคก็เสียเงินเสียทอง นั่งทุกข์ โคนันทวิศาลก็สงสารเจ้าของ ก็มาเลียขาเลียข้างเลียมือ ดมเจ้าของ สงสารเจ้าของ ทำท่าจะช่วยเหลือ นันทวิศาลก็อยากจะไปขนอีก อะไรไปอีก ไปขนอีก เอามาอีก ดันอีกสักครั้งหนึ่ง เจ้าของโคก็ขออีกสักครั้งหนึ่ง ทดลองอีก ก็เอานันทวิศาลเทียมเกวียนเข้า ไอ้ลูกพ่อ จงช่วยพ่อ พ่อเป็นคนทุกข์ยาก จงช่วยให้พ้นทุกข์พ้นยาก เจ้าจงดันของ เจ้าจงลากเกวียนนี้ไปให้ได้ ลูกพ่อนันทวิศาล มือลูบหลังลูบข้าง นันทวิศาลก็ลากไปได้เลย ถึงจุดหมายปลายทาง เจ้าของโคก็ได้เงินได้ทอง เป็นเศรษฐีขึ้นมาทันที แม้แต่สัตว์มันก็มีน้ำใจ
อันตัวเราก็ให้เชียร์กันบ้าง ไม่เป็นไรหลงไม่เป็นไร อย่าไปเอาแย่เอาผิดเอาถูก หลงแล้วหลงไปแก้ใหม่ได้อยู่ เข็ดหลาบ เวลามันหลงก็ชื่นใจ เหมือนแม่ดูแลลูก เวลาเห็นยุงจับลูก กำลังดูดเลือดลูกน้อยอยู่ เวลาไล่ยุงจากลูก แม่ก็ภูมิใจ น่าจะภูมิใจเวลาแยกผิดให้เป็นถูกเนี่ย เวลามันผิดไม่น่าจะให้ผิดเป็นผิด ให้ถูกเป็นถูก ผิดก็เหมือนกัน ถูกก็เหมือนกัน ทำใจให้เป็นปกติ เป็นศิลปะ ไม่ใช่กระทบกระเทือนผู้บรรลุธรรม ไม่เหมาะที่จะเป็นจิตแบบนั้น ผู้บรรลุธรรมเหมาะที่จะเป็นจิตเรียบๆ ไม่เป็นไร นิ่งๆ ยิ่มแย้มแจ่มใส อย่าให้ยากเป็นยาก เกลียดความยาก เกลียดความผิด อยากให้มันถูก ชอบความถูก ชอบความง่าย มันเป็นจิตที่ไม่เป็นกลาง การสอนตนก็มีศิลปะเหมือนกัน เพียร บางทีก็ไม่เป็นไร รู้ ได้ประโยชน์จากความผิด มันผิดเพื่อให้เราได้รู้ ถ้ามันถูกก็ทำให้เราได้รู้ เท่าๆ กัน ให้เรามองที่โลกเนี่ย เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือผิด เหนือถูก ใช้ให้เป็น อย่าให้ผิดเป็นผิดถูกเป็นถูก หลงเป็นหลง รู้เป็นรู้ ให้มันรู้ลักษณะเดียวกัน เหมือนเป็นกลาง ภาวะที่รู้เป็นกลางๆ ไม่เป็นซ้ายจัดขวาจัดเวลาสอบอารมณ์
ไปสอนเมืองจีนเขา เขามาพูดให้ฟัง ลักษณะพูด ท่าทางคนที่พูดคงมั่นใจ ดูหน้าตาก็มั่นใจ บางคนก็สุดโต่ง มีคนบางคนก็พูดขึ้น ว่าเขามั่นใจ อะไรๆ ก็เกิดจากความหลงที่มันคิด ที่มันคิดเพราะมันหลงนี่แหละ ถ้าเราไม่หลงก็ไม่คิด ถ้ามันหลงเราก็คิดน่ะ เป็นภพเป็นภูมิ เป็นชาติเป็นทุกข์ บางคนคิดที่ไม่ตั้งใจนั่นแหละ ว่าเรารู้ มันก็ไม่มี เขามั่นใจตรงนี้มาก เราว่าเขา เขาเข้าถึงจิตเดิมแท้ได้โดยวิธีนี้ เพราะว่าถ้ารู้มันก็เป็นภาวะที่เห็นจิตเดิมแท้ แต่บางคนก็บอกว่า จิตเดิมแท้ไม่ต้องทำอะไรไม่ต้องเคลื่อนไหวมือ ถ้าเคลื่อนไหวมือไม่ใช่จิตเดิมแท้ จิตมันต้องนิ่งๆ อะไรเอาผิดเอาถูก เราก็บอกเขา ไม่เอา สาธิตให้เขาดู ไม่เชื่อหลวงพ่อเทียนเพราะว่าเชือกขาด เอาดึง ถ้ามือข้างขวาเป็นสุขมาทางนี้ ถ้าเป็นทุกข์มาทางนี้ หันไปอย่างนี้ หันสุข หันทุกข์ ไปอย่างนี้ มันไม่แคล้วไม่ขาด สุขก็มาทางนี้ ทุกข์ก็มาทางนี้ เพราะมันมีไอ้นี่อยู่ ถ้าเป็นสุข มันสงบก็อยู่ อยู่นี่ นี่ถูกแล้วถูกแล้วถูกแล้ว แล้วก็สงบซะ มันไม่สงบก็ผิดแล้วผิดแล้วผิดแล้ว เป็นผู้ผิดเป็นผู้ถูก หลวงพ่อเทียนพูดว่าเชือกขาด เพราะว่าเรารู้เสมอๆ ผิด ผิดมันก็รู้ มันเป็นไง ถูกมันก็รู้ เชือกตรงนี้มันขาดแล้ว มันรู้ ไม่ให้ผิดเป็นผิดถูกเป็นถูก เพราะตรงนี้มันขาด ผิดมันก็ออกมานี่ ก็จะให้ผิดมันไม่ยอม พอจะให้ถูกมันก็ไม่ยอม จะให้ทุกข์มันก็ไม่ยอม จะให้รักมันก็ไม่ยอม จะให้พอใจไม่พอใจ มันไม่ยอม มันไม่เอา มันเป็นอย่างนี้ มันมาอยู่ตรงนี้แล้ว ใช้ไม่ได้
เหมือนน็อตเกลียวหวาน ถ้าจะให้ดึงมันดึงไม่ออก มันดึงไม่ได้ แต่มันเป็นรูปอยู่ มีกายมีใจอยู่ รู้ไหลอยู่ กินเดินนั่งนอน พูดจาปราศรัยอยู่ แต่จะให้หลงในความสุขหลงในความทุกข์ มันไม่หลง ถ้าให้หลงในความรักความชัง คนนี้น่ารักคนนี้น่าเกลียดชังนะ มันก็ขาดออก มันใช้ไม่ได้ ข่มขืนตัวเรา การที่มันเข้ามาโกรธ มันข่มขืนตัวเองมาก การมาก็ทุกข์ มันข่มขืน มันทำไม่ลง อันนี้เป็นจิตเดิมแท้ เราสอนแล้วนี่ ก็นั่นแหละ จิตเดิมแท้มันเป็นนี่ มันไม่ให้ใช้ จะใช้เป็นสุขไม่ให้ใช้ ใช้เป็นทุกข์ไม่ให้ใช้ ถ้าเป็นความรักก็รัก เพื่ออะไร เพื่อช่วยเหลือ ถ้าทุกข์ก็ช่วยเหลือทันที ถ้าสุขก็ช่วยเหลือทันที ไม่ให้สุขไม่ให้ทุกข์ อันนี้เป็นความรัก นะ พระพุทธเจ้าเป็นยอดนักรัก รักเพื่ออะไร เพื่อช่วยเหลือ รับผิดชอบไม่ให้เกิดความเดือดร้อน ถ้ารักแบบนี้ รักอมตะ อันนี้แหละจิตเดิมแท้
ถ้าเป็นสุขไม่ใช่จิตเดิมแท้ เป็นทุกข์ไม่ใช่จิตเดิมแท้ ผิดก็ไม่ใช่จิตเดิมแท้ ถูกก็ไม่ใช่จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้มันไม่ให้สุขมันไม่ให้ทุกข์ มันเดิมจริงๆ มันๆ อยู่เนี่ย แต่เวลาไม่ใช้อะไรก็อยู่เนี่ย จะใช้มันพอใจ จะใช้ไม่พอใจ มันไม่เอา มันไม่ถูกต้อง ความถูกต้องมันไม่เป็นอะไรกับอะไร ชีวิตของเรามันสอนได้อย่างเนี่ย เวลามันผิด รู้สึกตัว ตัวภาวะที่รู้เป็นสารถี อ่า สารถีเทวามนุสสานัง คือสอนบุรุษ สอนคนที่สอนได้ยิ่งกว่า ไม่มีใครที่สอนได้เหมือนสารถีตัวนี้ มันสุขก็รู้มันทุกข์ก็รู้ เป็นสารถีเหมือนฝึกม้าฝึกช้างฝึกวัวฝึกควาย ฝึกมนุษย์ ทั้งเทวดามารพรหมทั้งหลาย เหมือนกันหมด
สัตว์โลกทั้งหลาย เราจะมาฝึกตนสอนตน สิ่งที่เราเป็นเครื่องมือก็คือสติ แล้วก็มีกายมีใจ มีรูปเป็นรูปเป็นนามอยู่ นี่แหละที่ทำให้เราฝึกอยู่ตรงนี้ เรามากำหนดการเคลื่อนไหวให้รู้อยู่นี่ การที่มันจะรู้มันจะหลงไปทางอื่นก็ฝึกตรงนั้นแหละ สารถีถ้ามันหลงไปทางความคิดก็ฝึกเอา รู้สึกตัวแล้วสารถี สอนแล้ว หลงทีหนึ่งสอนทีหนึ่ง ให้รู้ สุขทีหนึ่งก็สอนให้รู้ ทุกข์ทีหนึ่งก็สอนให้รู้ ไม่ใช่เอาผิดไม่ใช่เอาถูก ไม่ใช่เอาได้ไม่ใช่เอาไม่ได้ ไม่มีอะไร มีแต่รู้ นี่สารถี ผู้ฝึกสารถีคือธรรมะเนี่ย มีอยู่กันทุกคน ทำให้เป็น ทำให้เป็น อย่าให้ยากอย่าให้ง่าย ไม่ใช่ยากไม่ใช่ง่าย ภาวะที่รู้เนี่ย ไม่ใช่ยากไม่ใช่ง่าย เพราะว่าหลงก็รู้ มันไม่หลงก็รู้ มันสุขก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ มันสงบก็รู้ไม่สงบก็รู้ นี่สารถี คิดเอาเอง ไม่มีใครเห็นเราหลง ไม่มีใครเห็นเรารู้ ไม่มีใครเห็นเราสงบ ไม่มีใครเห็นเราฟุ้งซ่าน
ถ้าเรามีสติเราเห็นเอง ไม่มีตรงไหนปิดบังอำพราง เป็นการเปิดของปิดออก เป็นการหงายของที่คว่ำไว้ขึ้นมา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ถ้าหลงเป็นรู้ พระพุทธเจ้าก็อยู่เฉพาะหน้านี่แล้ว เราก็เลยช่วยตัวเรา เราช่วยคนอื่นไปในตัวเสร็จ มีความรัก ช่วยตัวเราได้ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ทำให้ตัวเราเดือดร้อน ถ้าเราหลงก็เท่ากับเราไม่ช่วยตัวเอง ไม่ช่วยคนอื่น ถ้าเราทุกข์ก็เท่ากับเราไม่ช่วยตัวเอง ช่วยคนอื่นไม่เป็น ถ้าเราไม่ทุกข์แล้วนั่นแหละ คือช่วยกัน คือความรักมนุษย์ ยิ่งใหญ่ไพศาล ไม่ใช่รักแบบโลก รักแบบโลกุตระ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง รักเพื่อช่วยเหลือ เพื่อเคารพเชื่อฟัง เหมือนเรารักพ่อรักแม่ รักภรรยาสามี รักลูกรักเต้า รักเพื่อช่วยเหลือ เพื่อจะให้ อะไรเป็นความสุขความสงบ ไม่ตระหนี่ ไม่รบกวน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน นี่คือความรัก เป็นอมตะ เพราะฉะนั้นคือภาวะเนี่ย มันรู้อย่างนี้ ตามภาวะที่รู้สึกตัวเนี่ย ไปไกล เป็นมรรคเป็นผล ตัวที่หลงก็ไปไกล เป็นอบาย ภูมิต่ำ
ถ้าหลงเป็นหลงไปทางต่ำ มันจะแยกตรงนี้ ถ้าหลงเป็นรู้ไปทางนี้ ไปทางสูง ถ้าหลงเป็นหลงไปทางต่ำ เหมือนน้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ จิตของเราน่ะมักจะไหลสู่ที่ต่ำได้ง่าย สุขก็สุขได้ไปง่ายๆ แบบเนี้ย ทุกข์ก็ไปแบบเนี้ย มันต่ำ ถ้าสุขก็รู้ ไปทางเนี้ย ไปทางเนี้ย สุขก็รู้ทุกข์ก็รู้ มันไปทางเนี้ย มันแยกตรงนี้ ถ้าสุขเป็นสุขไปทางต่ำ ทุกข์เป็นทุกข์ไปทางต่ำ เรียกว่าคน เหมือนกันหมด ควงกันไป ในดวงจิตดวงเดียวเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นพอใจไม่พอใจ มันไปทางต่ำ ถ้ามันสุข รู้ มันทุกข์ รู้ มันก็เป็นมนุษย์ขึ้นไป มนุษย์เท่านั้นที่ได้บรรลุธรรม เป็นพระได้ คนไม่สามารถเป็นพระได้ สุขเป็นสุข ทุกข์เป็นทุกข์ หลงเป็นหลง เป็นคนธรรมดา ถ้ารู้เป็นมนุษย์ เป็นพระไปเลย เป็นมรรคผลนิพพานไปเลย มันไปทางสูงหมดเนี่ย ไม่รู้จะพูดอะไรเป็นอุบายให้ฟัง สัมผัสดูแล้วเป็นอย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้ จะให้ไหลไปทางต่ำ แล้วก็เคยชินแล้ว เหมือน เหมือนเป็นอัตโนมัติ มันหลงแท้ๆ ทำให้เรารู้ สูงกว่าเก่าขึ้นมา หลงทีหนึ่งสูงขึ้นมา ถ้าหลงทีหนึ่งก้าวออกไปเหมือนก้าวออกจากที่เก่า หลงก็ทำเราไปไกล หลงสองครั้งไปไกล รู้หนึ่งครั้งก็ไปไกล ถ้าหลง รู้น่ะไปไกล ไกลจากข้าศึก ต่อไปเนี่ยชำนิชำนาญ
อยากเห็นความหลง อยากให้เห็น อยากให้มันทุกข์ ทุกข์อยู่ที่ไหนมันกระตือรือร้น การเห็นทุกข์เนี่ย โอ้ย มันภูมิใจ จะได้แก้ไข ไม่ใช่เห็นทุกข์เรากลัว หดหู เศร้าหมอง ไม่ใช่ ทุกข์เนี่ยกระตือรือร้นมาก อย่างพระพุทธเจ้าเห็นทุกข์เนี่ย เห็นอันประเสริฐ การตรัสรู้เนี่ย เห็นอันประเสริฐ เห็นทุกข์ เหมือนเราไปเห็นงู พอเราเห็นก็ซึ้งใจ ก็ได้ช่วยตัวเองให้พ้นจากงูซะ พ้นจากภัยอันตรายซะ จนไม่มีภัย เพราะมันเห็น ในภาวะที่รู้เนี่ยมันเป็นดวงตาหน้ารอบ รู้รอบ ตื่นขึ้นมาให้ได้อะไรก็พยายามใช้ความรู้สึกตัวเกี่ยวข้อง ก่อนพูดก่อนทำก่อนคิด เหมือนกับขบเคี้ยว ธรรมวิจย เหมือนเคี้ยวอาหารที่กลืนลงไปในคอเรา ขบเคี้ยวถึงกลืนลงไป อะไรที่สัมผัสกับชีวิตเราเนี่ย เหมือนกับขบเคี้ยว
ความรู้สึกตัวเหมือนกอง ถ้าผ่านแล้วรู้สึกตัวเนี่ยมักจะไม่มีโทษมีภัย รู้แล้วนี่ ทุกข์ก็รู้แล้ว สุขก็รู้แล้ว เพราะฉะนั้นสุขไม่เป็นภัย ทุกข์ไม่เป็นภัยอีกแล้ว รู้แล้ว คำว่ารู้แล้วเนี่ย มันพ้นไปแล้ว จบแล้ว เอาไว้หลังแล้ว มาอยู่ข้างหน้าแล้ว เอาไว้หลังเรื่อยๆ ไป ผ่านไปเรื่อยๆ ไป โอ้ยมันผ่านความหลง ผ่านความทุกข์ ผ่านความพอใจ ผ่านความไม่พอใจนี้ คือทาง มันก็รู้เอง อะไรพ้นไปก็รู้ มันก็อยากตรงนี้แหละ อยากเห็นทุกข์ จะได้แก้ อย่างหลวงพ่อเทียนสอนอารมณ์ของกรรมฐานเนี่ย เห็นรูปธรรมเห็นนามธรรม เห็นรูปทุกข์เห็นนามทุกข์เนี่ย เจอเข้าไปจริงๆ น่ะ ไม่เคยช่วยเหลือเรา ไม่เคยจริงๆ ไม่เคยช่วยรูปไม่เคยช่วยนาม พอไปเห็นแล้วกระตือรือร้น ช่วยรูปช่วยนามอย่างขยันขันแข็ง จริงๆ ตัวเนี่ย มันเห็นรูปทุกข์เห็นนามทุกข์เนี่ย
แต่ก่อนเนี่ยโอ้ย ไม่ค่อยรู้จัก พอมาเห็นรูปธรรมเห็นนามธรรม เห็นรูปทุกข์เห็นนามทุกข์แล้วเนี่ย ไม่เห็นทุกข์หรอก ไม่เคยช่วยตัวเราเนี่ย เสียใหญ่มาก ชีวิตผ่านไปตั้งสามสิบปี น้ำตาซึมเลยสงสารตัวเองเนี่ย พ่อแม่ก็ไม่สอนเรื่องนี้ ไม่มีใครสอนเลย เกือบตายรึว่าตายไปก็ได้ กระตือรือร้นมาก เห็นทุกข์ เห็นรูปทุกข์เห็นนามทุกข์ เห็นรูปโลกย์เห็นนามโลกย์ มันเป็นสายไป เหมือนคุณหมอไปค้นพบโรค พบเชื้อโรค พอพบเชื้อโรคก็มียารักษาอย่างดี เห็นโลกสมมติ เห็นนามสมมติเนี่ย พอเห็นรูปสมมติเห็นนามสมมติ มันจะมีความยิ้มหน่อยๆ จากนั้นน้ำตาซึม โง่ไม่เคยเจอสมมติบัญญัติขึ้นมา
การสมมติไม่เคยจริงนะ ปรมัตถ์จริงกว่า เช่นความหลงไม่จริงน่ะ พอเห็นความไม่หลงจริง เรียกว่าสมมติ วัตถุก็มี นามธรรมก็มี แต่ก่อนเราก็เป็นหมอไสยศาสตร์ มีคาถามีสมมติบัญญัติ ถือมั่น ต้องบริกรรมคาถา ถ้าไม่บริกรรมรักษาคนไม่หาย คาถาบางบทบริกรรมให้ตัวใหญ่ คาถาบางบทบริกรรมให้หลอกตัวเอง บางทีก็เจอนิมิตหลอกตัวเอง แล้วก็ พอมาเห็นสมมติรื้อถอน เหมือนกับเปิดประตูธรรมแล้วก็ได้ตรงเนี้ย เห็นสมมติเห็นปรมัตถ์เนี่ย เหมือนกับประตูที่เปิดออก ปิดนาน เหมือนหน้าต่างที่เปิดได้ปิดได้ เหมือนประตูเปิดได้ปิดได้ เหมือนเราดูโทรทัศน์รายการต่างๆ วิทยุสื่อสารต่างๆ รายการที่มัน คนอื่นให้มา ปิดได้ ไม่ถูกต้อง เลิกได้ แล้ว บัดนี้ ชีวิตเลิกได้มาเนี่ย เนี่ยพอมาเห็นตัวนี้ล่ะ
หลวงตาอยากจะบอกว่าประตูธรรมอยู่ตรงนี้ด้วย เห็นสมมติ เห็นบัญญัติ เห็นปรมัตถ์ เห็นวัตถุอาการ เป็นอารมณ์เป็นทานไป ของการดำรงชีวิต ถึงจุดหมายปลายทาง สู่ความหลุดพ้น เห็นสมมติ เห็นบัญญัติ เห็นปรมัตถ์ เห็นวัตถุอาการต่างๆ ที่มันพร้อมที่สุดอยู่ในชีวิตของเราเนี่ย พอพอใจก็สมมติเอา พอไม่พอใจก็สมมติเอา บัญญัติเอา ชอบสมมติเอา ไม่ชอบสมมติเอา อันที่สมมติไม่ใช่ของจริง ปรมัตถ์จริงกว่า มันมีอยู่ด้วยกัน เช่นความไม่เที่ยง มันก็จริงแบบนั้น แต่มันไม่จริงแบบความเที่ยง คือมันทุกข์ก็จริงแบบทุกข์น่ะ มีจริงๆ เป็นทุกข์ก็มีจริงๆ เราไม่เสียใจ
แต่ความไม่ทุกข์อ่ะ ความไม่ทุกข์มันก็มีอยู่จริงๆ ในความทุกข์มันเป็นสมมติ ในความไม่ทุกข์มันก็เป็นปรมัตถ์ ของจริงของไม่จริงมันอยู่ด้วยกัน พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า เห็นความไม่เที่ยง เป็นนิพพาน เห็นความทุกข์เป็นนิพพาน มันคือเรื่องนี้แหละ พอมาเห็นสมมติ เห็นบัญญัติ เห็นปรมัตถ์ มันก็เลยเป็นสิ่งที่บ่งบอก มันไม่สามารถข่มขืนตัวเองได้ ความพอใจความไม่พอใจอ่ะ มันเลยอยู่เนี่ย มันขาดไป เห็นความพอใจเห็นความไม่พอใจ ละความพอใจละความไม่พอใจในโลกเสียได้ มีสติแล้วแลอยู่ มีสติแล้วแลอยู่ เลยไม่เป็นอะไรกับอะไร พระพุทธเจ้าปรินิพพานตรงนี้ ตั้งแต่วันเพ็ญเดือนหก แล้วยังใช้ชีวิตตามปกติ จนสอน มีคำสอนมากมาย แต่ทีแรกมีเท่านี้ มีสติปัฏฐานเท่านี้ ต่อมาเมื่อมีสั่งสอนอะไรมากขึ้น พบผู้พบคน สอนวัตร อะไรต่างๆ มากขึ้นก็บันทึกๆ ไว้จากพระอานนท์ก็เลยมากขึ้นมา มีการปกครองพระสงฆ์มากขึ้น ก็มีการปกครองกันอาศัยธรรมวินัยขึ้นมาเอง บัญญัติขึ้นมา ภิกษุก็มี ภิกษุณีก็มี อุบาสกก็มี อุบาสิกาก็มี ก็เลยบัญญัติเป็นวินัยขึ้นมา เป็นสิกขาขึ้นมา เป็นหมวดเป็นวรรคขึ้นมา
ทีแรกการบรรลุธรรมจริงๆ ไม่มีเลย มีแต่คู้แขนเข้าเหยียดแขนออก มีสติ รู้สึกตัว อยู่อย่างนี้เท่านี้ เท่านี้ก็พอแล้ว กำมือเดียว เนี่ยหลงเป็นรู้ หลงสุขเป็นรู้ นี่ เท่านี้ ไปได้เลย มีกันได้ทุกคน ทำกันได้ทุกคน ไม่มีเพศมีวัย ไม่เป็นเพศเป็นวัย ไม่มีลัทธิอะไร จะบวชได้บวช ไม่ได้เกี่ยว ถ้าทำอย่างเนี้ย เป็นพระได้ก่อนบวชก็มี อย่างพระปัญจวัคคีย์เนี่ย เป็นพระอรหันต์แล้วจึงบวชทีหลัง จึงค่อยเป็นโลกสงฆ์ขึ้นมา ทำได้ทุกคน ให้กระตือรือร้น อย่าไปมองอะไรเป็นเรื่องยากเรื่องง่าย ให้มองภาวะที่รู้เนี่ย พลิกมือขึ้นดูเลยก็ นั่นแหละหน่อโพธิมีอยู่กับเราแล้ว ไอ้เรามันหลงรู้ นั่นแหละหน่อโพธิ ปลูกลงไป สร้างลงไป มีความเพียรรดน้ำลงไป ขยันลงไป ขยันรู้ลงไปรับความเพียร มันจะงอกงามขึ้นมา นอนก็รู้ได้ หายใจก็รู้ได้ คนเฒ่าคนแก่นอนก็ได้ หายใจเข้าหายใจออก กระดิกนิ้วก็ได้ ว่าแต่รู้เนี่ย มันอยู่กับเราทั้งหมดเลย เอาไปเอามา ชีวิตทั้งชีวิตมีแต่รู้เข้าไป เราเป็น ทำให้เป็น ทำให้มันเป็น ไม่ใช่ให้มันรู้ ฝึกให้เป็น แต่ก่อนสอนอย่างนี้ มีปัญหาอะไรก็ พวกเราเป็นมิตรเป็นเพื่อนกัน จะไม่พาหลงทิศหลงทาง หลวงตาก็มีโอกาสจะเป็นเพื่อน แต่มีพลังน้อยๆ อาจารย์ทรงศิลป์ อาจารย์โน้ส อาจารย์อะไร ก็มีเยอะแยะ
จบเท่านี้แหละวันนี้ กราบพระพร้อมกัน