แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ก็มันมีเครื่องขยาย ปรากฏว่า มีโยมหลายคนที่..ที่ว่า นี่คือของจริง เขาบอกว่า การใช้เครื่องขยายพูด เขา..เขาก็บอกว่าเขาไม่ชอบ มันไม่สัมผัสกับธรรมะชาติจริง ๆ แม้การเสียงที่ออกมาดัง ๆ ไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้…ไม่…ในตัวเขาก็ไม่สู่ธรรมชาติได้ ถูกบังคับ ในเสียงอะไรต่าง ๆ เสียงก็ไม่ใช่เสียงธรรมชาติ เป็นเสียงที่ปรุงแต่งไป เพี้ยนไป เขาก็บอกว่า...นี่คือของจริง นี่คือของจริง ญาติโยมคนนั้นเขาเป็นพัฒนากรจังหวัด เขาเกษียณ เขามาปลูกบ้านอยู่ในป่า เขาชอบป่าชอบธรรมชาติ และบ้านเขาก็...ยังมุงใบตอง ในป่ามีเห็ด มีอะไรต่าง ๆ มีชาวบ้านไปสอนเก็บเห็ด ไปสอนเก็บมะขามป้อม สอนเก็บสมอ สอนเก็บผัก ลูกชายจบ...สูง ๆ ทั้งนั้น มาขอสร้างบ้านให้พ่อ พ่อก็ไม่ยอมให้ลูกชายสร้างให้ เวลาลูกชายพาเพื่อนมาเยี่ยมพ่อ เยี่ยมบ้าน ก็นั่งอยู่ใต้ต้น...ร่มไม้อะไรต่าง ๆ นี่คือธรรมชาติ อำเภอสันป่าตองเขาก็เอาสันป่าตอง...เป็น...เอกลักษณ์ เอาใบตองมุงเอาใบตองทำฝา และรถจักรยานเขาตั้งแต่เขาเป็นนักเรียน จน...ทำงาน เขาเอาจอดไว้ใต้ถุนบ้าน ยังมีอยู่ ยังใช้ได้อยู่ ดูท่าทาง 70 80 ปีแข็งแรง นี่คือธรรมชาติ ที่มัน...ช่วยชีวิตเราได้
เราอยู่ที่นี่ หลวงพ่อก็มาอยู่ที่นี่ ก็รู้สึกสู่ธรรมชาติ...ได้ดี ความดันก็ไม่ค่อยจะมี เมื่อเช้าตื่นขึ้นมาตีสามวัดได้ 140 62 52 แสดงว่าปกติ ยังไม่กินยา ถ้ากินยาละก็ไม่ถึง 120 30 เพราะ...เป็นธรรมชาติ ช่วยเรา นอนโอบกอดกับธรรมชาติ รักธรรมชาติ ที่ภายนอกสนับสนุน(เน้นเสียง)ให้เราได้ อิสรภาพจากภายนอก ไม่มีอะไรบังคับ ยิ่งเรามีธรรมชาติภายใน มีสติเป็นลูกตุ้มให้สู่ธรรมชาติ ก็ยิ่งจะ...ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามากเท่านั้น พยายามกอบโกยเอา(หัวเราะ) กอบโกยธรรมชาติ...นะ ดูดดื่ม(เน้นเสียง)ธรรมชาติให้ได้ อย่าไปอยู่ที่อื่น อยู่กับธรรมชาติ หายใจในธรรมชาติ เห็นอะไรเป็นมิตร เห็นต้นไม้ใหญ่ ๆ ก็ถือว่าปู่ ย่า ตา ยาย เห็นต้นไม้ที่...ลงมาหน่อย ก็ถือว่า ป้า ลุง อาว(อาผู้ชาย) อา เห็นต้นไม้ที่พอเป็นพ่อ ก็ถือว่าเป็นพ่อเรา เห็นต้นไม้พอเป็นเพื่อนก็เป็นพอเป็นเพื่อนกัน เห็นต้นไม้พอจะเป็นลูกเป็นหลาน ก็เป็นลูกเป็นหลาน เป็นเหลน เป็นโหลน และมีน้ำใจ เห็นเขา...เหมือนกับพูดกันรู้เรื่อง ช่วยกันได้ โอบกอดกันได้ เป็นมิตรเป็นเพื่อนซึ่งกันและกันได้ อะไรก็...จะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับ...การใช้ชีวิตผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม
ยิ่งสติ(เน้นเสียง)...สติ สัมปชัญญะ ก็ยิ่ง(เน้นเสียง)เป็นลูกตุ้มใหญ่ ดึงเรามาสู่ปกติธรรมชาติภายใน เมื่อสู่ธรรมชาติภายในมาก ๆ ก็ไม่มีอะไรปรุงแต่งที่ผิดเพี้ยนไป ถ้าไม่มีสติเป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายใน ตามันก็ดึงไป หูก็ดึงไป จมูก ลิ้นกายใจก็ดึงไป หลาย ๆ อย่าง ก็ขาดกันธรรมชาติภายใน เราจึงสร้างขึ้นมาประกอบขึ้นมา อาศัยหลักกรรมฐาน ตามที่พระพุทธเจ้า...ทรงสั่งสอนเอาไว้ อาศัยธรรมชาติหลาย ๆ ส่วนมา มาทุ่มเทใส่...ความรู้สึกตัว สติสัมปชัญญะ...การเคลื่อนไหว เอาความคิด กายใจ ตาหูจมูกลิ้น ให้ดึงลงมารวมกับธรรมชาติ ให้มันมีพลัง ให้มันงอกงามได้ไว อย่าให้มันแบ่ง...ไปคนละอัน เวลาตา...ถูกแบ่งก็มีแต่ตา ถ้าไม่ดึงมาให้เป็นความรู้สึกตัวมันจะแบ่งไป วิธีที่ดึงมาคือกรรมฐานนี่ ถ้าเรามีสติไปในกาย มันก็จะดึงมา หลาย ๆ อย่าง พร้อมกับละความชั่ว ทำความดีไปในตัวเสร็จ...สมบูรณ์แบบ...ที่เป็นธรรมชาติ ก็มาสู่ความปกติของชีวิต จึงพยายาม...อย่าให้สูญ...เสียเวลาเรื่องนี้ กับธรรมชาติภายนอกกับธรรมชาติภายใน ให้มันคุ้นเคย ถ้าไม่มีธรรมชาติภายในคุ้นเคยแล้วก็...ธรรมชาติภายนอกก็...ไม่เต็มร้อย ช่วยไม่ค่อยได้ ดีไม่ดีก็โง่(เน้นเสียง)ไปเลย อยู่ป่าก็...เพราะโง่ อยู่ป่าเพราะเกียจคร้าน อยู่ป่าเพราะ...ไม่มีปัญญา ก็ไปแบบนั้นเลย
บ้านเราอยู่ป่าธรรมชาตินี่มันได้ประโยชน์ แต่ธรรมชาติหลายอย่างก็เสียไป...หมดแล้ว เสียงสัตว์ สาราสิงห์...ไม่ค่อยมีทุกวันนี้ แต่ก่อนมีนะ เต็มไปหมด เสียงสัตว์ร้องกลางคืน บางทีก็ยังเห็นมาอยู่ มาเล่นด้วยกับเราด้วย หนูแข็ง พวกเม่น พวกลิ่ม พวกนี้มันหากินกลางคืน พวกอีเห็น พวกชะมด บางทีก็มีกลิ่นมีเสียงร้อง แต่ก่อนเรานอนอยู่ แถวน้ำซับ เสียงร้องผีกองกอย ก๋อย ๆ ก๋อย ๆ ที่แท้มันเห็นอ้ม(ชะมด) บางทีก็ร้องว่า แจ้งแล้ว...นะพ่อแจ้งแล้ว แจ้งแล้ว นะพ่อแจ้งแล้ว(หัวเราะ) ถ้าเกิดฟัง...ฟังหลอก ๆ ก็เหมือนคนมาเรียก...นะ ที่จริงมันไม่ใช่ มันก็มาร้อง...ใส่เราใกล้ ๆ จริง ๆ เราก็...สังเกตดู มันคืออะไรอะนะ บินไปบินมาแถวนั้น แต่ตัวใหญ่ มันมาอะไรล่ะ...มันก็มาเป็นเพื่อน(เน้นเสียง) บางทีก็...ลิ่นมาเป็นเพื่อน ลิ่น...ลิ่นภาษาอีสานเรียกว่า ลิ่น ภาษากลางว่านิ่ม(เน้นเสียง)ไม่ใช่นิ่มนะ นิ่มชื่อนิ่มไม่ถูกต้องนะ มันไม่ใช่นิ่มนะ เกล็ดมันแข็งเหมือนเหล็กนะ...ลิ่นเนี่ย นอนหันหัวใส่กอไผ่ มันเอาหางมา...ทิ่มหัวเรา ทีแรกก็นึกว่างูมากัดหัว มันถอยหลังมาเอาหางเด่มาใส่เรา...มันก็...หัวเราก็ชนกับกอไผ่อยู่ แต่มันมีมุ้ง เราก็...เอาขอน...เอาขอนไม้มา มันติดกับ...กอไผ่ มันไม่...ออกกันไม่ได้ ห่างกันไม่ได้ ที่แท้มันนิ่ม นึกว่างูมากัด พอนั่งดู...ลุกขึ้นนั่ง แต่ก่อนก็นอนอยู่ ทิ่มหัว ปุ๊ก ปุ๊ก ๆ อย่างนี้ อ้าว...อะไรมากัดหัวนี่ ยังไม่ฉายไฟ...ไม่ชอบฉายไฟ ผัวะผะ ผัวะผะ ก็เลยสังเกตดูก่อนว่ามันคืออะไร ลุกขึ้นดู ก็เห็น...ตัวดำ ๆ แต่มันเด่หางมา นึกว่าคองู หรือว่ามากัดเรา...เราคลำหัวดูก็ไม่มี...ไม่มีอะไรเจ็บปวด พอดีก็...มันเอาเด่มาอีก ไม่ถูกเรา เรานั่งอยู่แล้ว แล้วก็...ปีนขึ้นไปอีก เวลามันปีนขึ้นใบไผ่เราจึงรู้จักว่าเป็น...เป็นลิ่น(เน้นเสียง) คลานขึ้นไปกินใบไผ่ แล้วมันก็ลงมา พอลงมาอีกก็...คลานลงมาอีก มันหันก้นลงมา เอาหางเด่ใส่เรา เราก็...เปิด...มุ้งออกจับหางในมุ้ง จับหางมันได้ มันขดเข้าไป มันก็ขด...หางก็ดึงไม่อยู่ เลยเปิดมุ้งออก จับมันมาวางไว้ เวลานั้นใกล้ทำวัตร ไม่ให้เลื้อย เวลามันเลื้อยก็ตบมันไว้ มันขดอยู่ พอล้างหน้าแปรงฟันเสร็จก็...ไปทำวัตร พอไปทำวัตรก็อุ้มไปด้วย วางไว้...บันไดอย่างนี้ ศาลาไก่สมัยก่อน...มันก็บันไดขึ้น...ใต้ถุนก็ว่าได้ คนมาทำวัตรมาก็...เขาก็เห็นว่าเป็นของอะไรวางอยู่ กลม ๆ เหมือนกับ...อะไร...ก็ไม่สนใจ ทำวัตรไปทำวัตรมามันก็เลื้อยออก พาลมารบกวนคนก็แตกไปเลย ตัวอะไร ตัวอะไร เราก็...ทำวัตรเฉย คนก็โวยวายเราไม่สนใจ เพราะเรารู้ว่ามันเป็น...ลิ่นที่เราจับมาวางไว้ มันบอกเรานะธรรมชาติสมัยก่อนนะ ตอนนี้ก็เงียบไปแล้วเสียดาย สัตว์บางประเภทหากินกลางคืน สัตว์บางประเภทหากินกลางวัน แต่ก่อนสัตว์...สัตว์ป่า พวกช้าง พวกกวาง พวกหมูนี่หากินกลางวัน ตั้งแต่คนไม่มาก พอคนมากขึ้นก็หากินกลางคืน ธรรมชาติพวกนี้หมดไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็ไม่ค่อยสนุกเหมือนเมื่อก่อน ได้เจออากาศเย็น ๆ เงียบ ๆ เพราะงั้นเราจึง...พยายามให้เป็นเกลอ(เน้นเสียง)กับธรรมชาติ...ภายนอกภายในให้ได้
อาศัยธรรมชาติภายนอก...มาฝึกภายใน ถ้ามันคิดอะไรมากก็...บอก(เน้นเสียง)...ตัวเองว่า ดูต้นไม้นี้เขายืนอยู่นี่ ชั่วนาตาปีก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร แดดมาก็เห็นยืนอยู่นี่ ฝนมาก็ยืนอยู่นี่ เอามาสอนตัวเรา ก้อนหินบ้าง แล้วก็เรานี่ก็...ถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ(เน้นเสียง) ต้องประเสริฐ...ต้องดีกว่าต้นไม้ ก้อนหินนี่ พัฒนาได้ อะไรไม่ดี เรารู้ได้ อะไรดีเรารู้ได้
ฝึกหัดตัวเองให้...ตามวิชากรรมฐาน ก็เรียน ก ไก่ ข ไข่ ไปก่อน คู้แขนเข้าเหยียดแขนออก คู้แขนเข้าเหยียดแขนออก ให้รู้สึกตัว เหมือนเรามาเรียนหนังสือ ตาดูกระดาน มือหัดเขียน ชินเข้าชินเข้า ก็เขียนได้ รู้จักจำได้ ติดกันได้ เพราะตาคนมันพัฒนาได้ ตัวหนังสือมาเป็นคำพูด มาเป็นภาษาเขียน สื่อสารกันได้ รู้ความหมาย รู้เรื่องรู้ราว บอกผิดบอกถูก
เรามาเปรียบ...ชีวิตของเรานี่ก็เช่นเดียวกัน ออกไปเมื่อฝึกทีแรกก็เหมือนกับเรียนหนังสือชั้นอนุบาลหรือประถม ก็...อาศัยส่วนประกอบ ต้องดูต้องสัมผัส ถ้าดูเฉย ๆ ไม่สัมผัสก็ทำไม่เป็น ก ไก่ เขียนยังไง ทีแรกก็ไม่อยากจะเขียน พอจะเขียนมือมันสั่น พอหัดเขียนไปเขียนมา มันก็คล่องขึ้น คล่องขึ้น ก็เขียนเป็น เขียนสวยเขียนงาม รู้...เขียนถูกด้วย
การฝึกตนสอนตนตามวิชากรรมฐานก็เหมือนกัน มีสติไปในกายอาศัยการเคลื่อนไหว พอมันหลงก็รู้ เพราะมันเคยรู้อยู่แล้ว มันก็ต้องเห็นตัวที่ไม่ใช่ความรู้เกิดขึ้นกับกายกับใจ ก็ได้ใช้ความรู้ไปเฉลย ทีแรกก็...เห็น...มันหลง เห็นมันหลงเนี่ย ใช้ได้แล้ว เปลี่ยนหลงเป็นไม่หลงนี่แสดงว่า...เลื่อนขั้น(เน้นเสียง)...ออกจากอนุบาลได้แล้ว เป็นมัธยมไปแล้ว เห็นมันหลงไม่เป็นผู้หลง พ้นจากความหลงอาจจะเป็นชั้นอุดมเลยก็ได้ ชำนาญมากขึ้น ชำนาญมากขึ้น เลย...จบ...ได้แล้วนี่ จบ เรื่องที่เคยเป็นมันก็จบได้ มีแต่รู้ แต่รู้ไป เหมือนคนมีปัญญา มีแต่ปัญญา ไม่ต้อง...ถืออะไรไปทำมาหากิน เหมือนคนมีปัญญา ทำงานมีปากกาเล่มเดียวปักกระเป๋าเสื้อไป...ก็หากินได้ แต่คนไม่มีปัญญาก็...เอาใส่รถไป มีเลื่อย มีค้อน มี...อะไรต่าง ๆ เข็นไป จึงจะทำงานได้ คนมีปัญญาทางปริญญาทางจิตวิญญาณนี่ มันไม่มีอะไร มันก็อยู่ที่นี่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพะรุงพะรัง ภาระ...หนัก ไม่ต้องไปคิดไปอ่าน เอาเหตุเอาผล เขียน ขีด มันเป็นไปแล้ว มันเป็นแล้ว มันมาอะไรก็เป็นแล้ว มันก็รู้แล้ว รู้แล้ว ๆ รู้แล้ว(เน้นเสียง)ในโลกนี่ ในกายในใจเนี่ย รู้ทั้งหมด ไม่มีคำว่า ทำไม อะไร ไม่ได้ไปหัวเราะ ร้องไห้กับเรื่องที่เกิดกับกายกับใจ ไม่ได้ไปเป็นสุขเป็นทุกข์กับเรื่องที่เกิดกับกายกับใจ ไม่ได้เกิดกิเลสตัณหาที่เรื่องที่เกิดกับกายกับใจ เพราะมันรู้แล้วมันอันเก่า ไม่ได้มีปัญหากับเรื่องทุกข์ เรื่องโกรธ โลภหลง เหมือนคนเรียนจบก็เป็นอย่างนี้ เหมือนคนมีปัญญา...รู้แล้ว รู้แล้ว...ปัญญาพุทธะนี่มันเป็นอย่างนี้...คือรู้แล้ว เรียนจากผู้รู้ ได้รู้แล้ว
เหมือนพระอัญญาโกณฑัญญะ อัญญาสิ อัญญาสิ นี่รู้แล้วนะ รู้แล้วนะ พระพุทธเจ้า...อุทานออกมา อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ รู้แล้วหนอ รู้ได้แล้ว รู้แล้วรู้ รู้แล้วหนอ รู้แล้ว รู้แล้ว ๆ นี่ อะไรเกิดกับกายกับใจรู้แล้ว พ้น(เน้นเสียง)ทั้งความแก่ความเจ็บความตายก็รู้แล้ว ตัวรู้...ภาวะที่รู้แล้วเนี่ย ก็แล้วไปแล้ว ไม่ได้มีการบ้าน ไม่มีมาร มีภัยอะไร เหมือนคนเรียนจบ...ปริญญาด๊อกเตอร์ชำนาญในความว่ารู้แล้ว ที่มันเกิดกับกายกับใจนี่ไม่มีอันอื่นเกิดขึ้นมา มันเรื่องเดียวเท่านั้น แม้ว่ากิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด มันก็มีเท่านี้ คือรู้แล้ว เท่านี้
มันถึงต้อง...เรียนนะเรื่องนี้ ไม่ใช่ไม่ได้เรียน ไม่ใช่เป็นการเรียนจากผู้รู้ มันอยู่ในตัวเราเอง ผู้รู้มันอยู่ที่ไหน ไม่เหมือนเรียนหนังสือ...ผู้รู้ต้องเป็นครูยืนหน้ากระดาน มีเขียนเราต้องดูกระดานมีคำพูดให้ฟัง แต่ว่าผู้รู้ที่เป็นพุทธะนี่อยู่ในตัวเรา ประกอบขึ้นมาได้ ถ้าไม่ประกอบก็ไม่มี ประกอบก็คือกรรมฐาน วิชาประกอบให้เกิดผู้รู้ขึ้นมาในชีวิตเรา เป็นตัวประกอบ กรรม...คือการประกอบขึ้นมา ฐานคือที่ตั้งการกระทำ กรรมก็จะจำแนกไปเอง ทีแรกก็คู้แขนเข้า เหยียดแขนออก อาศัยกายอาศัยนิมิต อาศัยกายเป็นวัตถุอุปกรณ์เป็นนิมิต เอามาประกอบขึ้นมา ถ้ามันเป็นแล้วมันก็ต้องอาศัยมันกายนี่แหละ มันมีความรู้แล้ว อาศัยที่...อาศัยกาย อาศัยจิตใจที่มันเป็นรูปเป็นนามให้เป็นที่ตั้งความรู้ ทีแรกเนี่ย แต่ก่อนมันไม่ได้ตั้ง...ความรู้ไม่ได้ตั้งที่กายที่ใจ นั่นแหละเป็นงานของเรา ความหลงตั้งไว้ ไม่ได้ มันใช้ผิดมา 20 30 ปี ใช้ผิดมา แล้วก็มีอะไรหลาย ๆ อย่าง สำส่อน ป่าเถื่อน เกิดความโลภ ความหลง กิเลส ตัณหา ความรัก ความชัง ความพอใจ ไม่พอใจ อาจจะอยู่ก่อนความรู้สึกตัว...มาก มันเป็นความหลง น่าจะมากกว่าความรู้ด้วย เพราะไม่เคยฝึก พอมาฝึกก็ได้...ประสบการณ์ได้บทเรียนจากสิ่งเหล่านี้ ที่ว่าที่ทุกข์แท้ ๆ เนี่ยทำให้เป็นพระพุทธเจ้าได้ แต่ถ้าไม่ฝึกทุกข์ก็เป็นทุกข์ หลงก็เป็นหลง โกรธก็เป็นโกรธ ถ้าฝึกแล้ว...หลงก็เป็นพุทธะ รู้ขึ้นมา อะไรก็เป็นรู้ขึ้นมา ก็ได้...ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ อย่าไปถือว่ามีปัญหาให้เป็นสูตร ให้ศึกษา อะไรก็ตามก็เป็นหลักสูตรของการรู้ทั้งนั้น การอยู่ การกินอาหาร การกินเป็นสูตร สูตรความรู้ เอามาเป็นหลักสูตรให้เกิดความรู้ ความรู้ที่เป็นพุทธะนี่ มันเป็นสูตรทั้งหมดในกายในใจเรานี่ ไม่ได้ไปเรียนที่ไหน หลาย ๆ อย่างเป็นหลักสูตรแห่งความรู้ อาหารการกิน ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม การไป การมา กิเลส ตัณหา ราคะ โกรธ โลภ หลงเป็นหลักสูตร แห่งความรู้ อย่าให้เป็นอื่นไป ผู้ศึกษาจะต้องทำอย่างนี้ นี่เราศึกษาอยู่
เคยสอนว่า มีนักปฏิบัติถาม เนี่ยวันนี้หนู...มันเป็นอะไรล่ะ มันฟุ้งซ่าน มากที่สุด แล้วไปเดือดร้อนอะไรล่ะ นั่นแหละ(เน้นเสียง) คู่แข่งอะ มันไม่มีความฟุ้งซ่านก็ไม่มีความสงบ นั่นแหละ ไม่ใช่ตัวเราหรอก นั่นแหละ(เน้นเสียง) ไม่ใช่หนูเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่นแหละ มันเป็นอาการเกิดกับจิตใจ คิดมาก...นั่นแหละ นั่นแหละ คู่ชกคู่ซ้อมนั่นแหละ บทเรียนที่ดี ประสบการณ์ที่ดี ให้มันฟุ้งซ่านลงไปจะได้รู้มัน ถ้ามันสงบก็จะได้รู้มัน มันสุขก็จะได้รู้มัน มันทุกข์ก็จะได้รู้มัน เป็นสูตรทั้งหมด การฝึกผู้รู้ ภาวะที่รู้ให้เกิดขึ้นมาเนี่ย มันไม่ได้ยากอะไร ไม่ได้ไปเอาอันอื่นมาแก้ เหมือนกับเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโรค มันคนละเชื้อ คนละอย่าง คนละขนานกัน แต่ว่า...ศึกษาเรื่องพุทธะนี่ ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนมีแต่รู้ ผู้รู้เท่านั้น หาที่อื่นไม่พบ อยู่ในตัวเรานี่ แล้วพยายามใช้ชีวิตให้มันสอดคล้องกับธรรมชาติที่เราอยู่อาศัยนี่ และก็พยายามเป็นเพื่อนเป็นมิตรกัน ให้สู่ธรรมชาติ อะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ลงที่ตรงนี่ มาลงที่ตรงนี่ ลงที่ภาวะที่รู้ ให้วางไว้ ให้ปักไว้ ให้หว่านไว้เลย ปลูกไว้ ปลูกพืชโพธิคือภาวะที่รู้นี่ ปลูกลงไปในธรรมชาติ ปลูกลงไป...ธรรมชาตินอกตัวในตัว โพธิ...เป็นหน่อต้นกล้า ปลูกลงไป ปลูกลงไป มันก็จะต้องงอกงามขึ้นมาในวันหนึ่ง เป็นโพธิปัญญาแห่งการตรัสรู้ บรรลุธรรมขึ้นมา เป็นบทเรียนจากทุกสิ่งไม่ดีนั่นแหละ อย่าไปเอามันเป็นปัญหาอุปสรรคอะไร อย่าว่าหนูอย่างงั้น หนูอย่างงี้ คิดมาก เจ็บไข้ได้ป่วยสุขภาพไม่ดี ไม่เกี่ยวเลย(เน้นเสียง) เป็นหนุ่มเป็นสาว คนแก่คนเฒ่า ไม่เกี่ยวเลย ผู้รู้...มีทุกโอกาสกับชีวิตเราที่มีรูปมีนามนี่ ถ้าไม่มีรูปมีนามมันไม่มีผู้รู้ จึง...ปลูกลงไป มาต่อยอดลงไป ต้องให้อาจารย์ตุ้มเป็นผู้นำพา ในการศึกษาเรื่องนี้ แต่ตัวเราเนี่ยแหละเป็นตัวนึงที่จะต้องทุ่มเทมาที่ตัวเรา แม้คนอื่นจะพูดอะไร พิธีกรรมต่างๆ มันก็คือตัวเรานี่ วางได้ รู้ได้บทเรียนมาทุกอย่าง ได้ยินบ่(เสียงสูง)