แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ฟังธรรมกัน ถ้าไม่ศึกษา มันก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ เหมือนแร่ที่อยู่ในก้อนหิน อยู่ในดิน ยังไม่มีประโยชน์ แต่ต้องเอาแร่นั้นมาถลุง เอาก้อนหินมาถลุง เอาก้อนดินมาถลุง ให้มันเป็นคนละส่วน อันหนึ่งเป็นก้อนดิน ก้อนหิน อันหนึ่งเป็นแร่ เอาประโยชน์แร่ไปทำอะไรได้ แร่ดีบุก แร่สังกะสี แร่เงิน แร่ทอง แร่ต่างๆ มันก็ยังเป็นประโยชน์ ชีวิตเราก็เช่นกัน เรามีชีวิตอยู่เป็นไฉน ใช้ชีวิตอย่างไร ถ้าไม่ถลุง มันก็จะสูญเปล่า มีรูป มีนาม ได้รูปได้นามมาแล้ว เหมือนกับก้อนแร่ ก้อนดิน ก้อนหิน แร่เหล็ก แร่ทอง เหมือนรูป เหมือนนามนี่เป็นก้อนอยู่ เมื่อเรามาถลุงคือมามีสติ เห็น มันคืออะไร พอมันถลุงไปถลุงมา ก็เห็นเป็นสัดเป็นส่วน อันหนึ่งเป็นส่วนรูป อันหนึ่งเป็นส่วนนาม ที่เราเรียกว่ากาย ว่าใจ มันก็แยกได้ เห็นเป็นรูป เห็นเป็นนาม มันก็ต่างกันกับเป็นดุ้นเป็นก้อน เหมือนกับก้อนหิน
เมื่อมาถลุงก็เป็นคนละส่วน เป็นส่วนแร่ เป็นก้อนหิน เลือกได้ เอามาทำประโยชน์ ถ้ามันเป็นก้อนดิน ก้อนหิน ก็เป็นอันเดียว เป็นสุขเป็นทุกข์ ถ้าถลุงแล้วไม่ใช่สุขใช่ทุกข์ เป็นอาการ เป็นเพียงอาการ สุขทุกข์เป็นอาการ มันจะสุขไม่ได้ มันจะทุกข์ไม่ได้ เป็นอาการเกิดกับรูป เป็นอาการเกิดกับนาม จะให้สุขไม่ได้เด็ดขาด จะให้ทุกข์ไม่ได้เด็ดขาด มันผิดประเภท เราใช้รูปใช้นามผิดประเภท เอามาเป็นตัวเป็นตน มองข้ามซะ รูปมาเป็นตัวเป็นตน ก็เลยเกิดแก่เจ็บตาย ทิ้งไปเปล่าๆ เป็นทุกข์ ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
รูปก็เป็นทุกข์ เวทนาก็เป็นทุกข์ สัญญาก็เป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ไปเสียแล้ว ถ้าเป็นกายเป็นใจเป็นแบบนั้น มีการเกิดแก่เจ็บตายเป็นอย่างนั้น เรียกว่ากายใจ แต่ถ้าเห็นมันถลุง มันก็ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น แต่ก่อนมันเป็นทุกข์ บัดนี้มันเห็นทุกข์ อันความเป็นกับความเห็นคนละอันกัน ลองให้ดีๆ ดูให้ดีๆ อย่าเพิ่งเชื่อ อย่าเพิ่งปฏิเสธ เอาไปทำดูก่อน ต่างกันไหม
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจเป็นทุกข์ เมื่อเห็นเป็นรูปเป็นนาม เห็นไม่สบาย เห็นไม่อะไรไม่ใช่เป็น ความคับแค้นใจไม่เป็นทุกข์ รูปไม่เป็นทุกข์ เวทนาไม่เป็นทุกข์ สัญญาไม่เป็นทุกข์ สังขารไม่เป็นทุกข์ วิญญาณไม่เป็นทุกข์
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจไม่เป็นทุกข์ เนี่ย ตรงนี้แหละเป็นกอบเป็นกำขึ้นมา เข้าสู่วงในของอริยสัจ ให้เห็นแล้วเนี่ย เกิดจากตรงนี้ เพราะว่าของจริงเป็นอย่างนี้ มีจิต มีเจตสิก มีรูป มีนิพพาน มันเป็นปรมัตถ์
จิตนี่ก็เหมือนฆ้อง รูปก็เหมือนฆ้อง เจตสิกเหมือนเสียง ที่มันเกิดจากฆ้อง เมื่อมีสิ่งสัมผัส ถ้าฆ้อง เวลาสัมผัสไม่มีเสียง มันไม่ใช่ มันมีรูป มีเจตสิก มีนิพพาน มันจึงมีเสียงขึ้นมา เสียงมันก็จบเป็น เสียงมันเป็นอาการ ไม่ใช่ตัวฆ้อง ฆ้องไม่มีเสียง แต่มีเหตุเกิด ปัจจัยเกิดขึ้นก็มีเสียงได้ เหมือนจิตของเรานี่ ถ้ามีอะไรสัมผัสก็เกิดขึ้นได้ เพราะมันรู้อะไรได้ เหมือนฆ้องมีเสียง แต่เสียงนั่นไม่ใช่ฆ้อง เป็นอาการเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย เช่นกาย เช่นใจ เช่นรูป เช่นนาม มันมีรูปมันมีนาม มันจึงมีอาการ ไม่ใช่ตัวใช่ตน
ถ้ารูปถ้านามไม่มีอาการ ถ้ามีแต่รูป ไม่มีนาม อาการก็ไม่มี เช่น คนตาย อาการร้อน อาการหนาว ไม่มี คนตายสมัยโบราณ เมื่อเวลาตายสมัยก่อนไม่มียา ยาอะไรที่เขาไว้ฉีดให้คนตาย ไม่ให้เน่า แต่ก่อนไม่มียาประเภทนี้ มีแต่น้ำมันก๊าซ เวลาตายเอาน้ำมันก๊าซกรอกคอ ถ้าหมดไม่ถึงขวด ยังไม่ยอม ต้องเอาขวดหนึ่งพยายามกรอกไป ยกคอขึ้น ให้ยกตัวขึ้นตั้งไว้ เอาน้ำมันก๊าซกรอก ไม่รู้อะไร เพราะคนตายไม่มีนาม มีแต่รูป ถ้าเป็นๆอยู่ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะมันมีแต่รูป นามไม่มีแล้ว เหมือนก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนต้นเสา ท่อนซุง ไปเผาไฟก็ไม่เจ็บ ชีวิตของเราเป็นอย่างนั้น ขณะที่มันเป็นรูปเป็นนาม เราจะทำอย่างไร ก็มีรูปธรรม นามธรรม รูปมันทำดี รูปมันทำชั่ว เห็น ใช้รูปไปทำดี ใช้นามไปทำดี ใช้รูปละความชั่ว ใช้นามไปละความชั่ว มันก็ทำได้ ก็เห็นอย่างนี้ เป็นคนละส่วน ก็มีชีวิตล่ะตอนนี้
พอเห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม เห็นรูปทุกข์ เห็นนามทุกข์ รู้จักช่วยรูป รู้จักช่วยนาม แต่ก่อนไม่รู้จักช่วย บุหรี่ก็สูบ เหล้าก็กิน โกรธโลภหลงเอาทั้งนั้น อะไรที่ไม่รู้น่ะแสวงหา ล้มเหลวมา สะดุดอะไรมาเยอะแยะ ไม่ต้องไปถามไม่ต้องไปบอก ใครๆก็ผ่านมาเป็นอย่างไร ตั้งแต่วันที่เราเกิดมา ได้รูปได้นามมานี้เป็นอย่างไร อยู่ตรงไหนกัน ดู มองดูข้างหลัง ลองดูซิ อันนี้เป็นยังไง ถ้าเราไม่รู้ ก็เป็นอันเดียว ยิ่งหนักเข้าไปอีก ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่มีใครที่จะได้ประโยชน์จากกาย จากใจ มีแต่มีโทษ ถ้าเราศึกษาแล้วได้ประโยชน์ เมื่อไม่เห็นประโยชน์ เห็นรูป เห็นนาม เห็นรูปทุกข์ เห็นนามทุกข์ มันก็รู้จักช่วย มีชีวิตขึ้นมา มันทุกข์ ไม่เป็นทุกข์ นี่คือชีวิต มันสุขไม่เป็นสุข คือชีวิต มันโกรธ ไม่เป็นโกรธ คือชีวิต ชีวิตคือไม่เป็นอะไร มันก็ต่างเก่าอยู่ เหมือนชีวิตอยู่ในผอบ เหมือนนอนอยู่ในมุ้ง ฟังเสียงยุง ผอบ รู้จักผอบมั้ย ใส่ทองคำ ใส่เพชร ใส่แหวนเพชร แหวนทอง ผอบเก็บไว้ให้ดีมันมีค่า ของมีค่าไปเก็บไว้ แต่ว่าโจรลักได้ ไฟไหม้เสียได้
อันชีวิตจริงๆมันไม่เป็นแบบนั้น มันไม่ใช่คนลักได้ มันเป็นสมบัติ เรียกว่า อริยทรัพย์ ไม่ใช่เพชร ใช่ทอง อันนั้นมันลักได้ขโมยได้ เนี่ยเป็นอริยทรัพย์ เรียกว่าได้ชีวิต ถ้าเห็นไม่เป็นเหมือนกับชีวิตอยู่ในผอบ ไม่เปรอะเปื้อนกับสิ่งใด เป็นเช่นนี้ จึงเรียกว่าชีวิต ชีวิตที่เป็นอย่างนี้ ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย ต้องรู้อย่างนี้ ถ้าเห็น ต้องเห็นอย่างนี้ จึงได้ประโยชน์จากชีวิต ได้ชีวิต ศึกษาชีวิต ตื่นขึ้นเรื่องชีวิต คือส่วนนี้ ไม่ใช่ข้าวปลาอาหาร อันเป็นส่วนหนึ่ง กินข้าวลงไป กินน้ำลงไป กินผักลงไป กินอาหารลงไปยังเฒ่ายังแก่ แต่ว่าชีวิตนี่น่าดื่มเหมือนยอดโอชาแห่งโอรส รสแห่งพระธรรมจากรสทั้งปวง คือชีวิตแบบนี้ ไม่ใช่รสเผ็ด รสอะไรที่เราหลงๆกันอยู่ ไม่ใช่แบบนั้น เป็นรสอันเดียว
รสของโลกมันมีหลายรส เสียงก็มีรส กลิ่นก็มีรส ลิ้นก็มีรส กายก็มีรส จิตใจก็มีรส หูก็มีรส อะไรต่างๆมากมาย หกรส แต่ละรส จนอยู่เสมอไม่รู้จักอิ่ม รสของโลก ไม่รู้จักอิ่ม เรียกว่า กวฬิงการาหาร อาหาร คือ คำข้าวกลืนลงไปในลำคอ ก็มีหลายรส ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มโนสัญเจตนาหาร อาหารทางจิตวิญญาณ ไปเสพอะไรมา ไปติดอะไรมา เป็นยอมเป็นทาสสิ่งเสพติด เพราะอาหารของโลก เหมือนปลาติดเบ็ด นักตกเบ็ดก็มีเยอะแยะ ทางตา ทางหู เราก็หลงกันล่ะ เท่าไหร่แล้ว อิ่มเป็นไหม เพื่ออะไร ได้ชีวิตอย่างไหน
พระพุทธเจ้าเคยโต้กับพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิในเรื่องนี้ ขณะที่พระองค์ไปบิณฑบาต เพื่อจะไปโปรดมิจฉาทิฏฐิ พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิเศรษฐี เดินไปอุ้มบาตรอยู่หน้าบ้านของเศรษฐี เศรษฐีบอกไปๆ ที่นี่เขาไม่ให้ พระพุทธเจ้ายังไม่ไป อุ้มบาตรยืนอยู่ เศรษฐีก็บอกสองครั้งๆ ก็ไม่ไป ก็ด่าพระพุทธเจ้า เป็นวันไหนถือแต่หม้อดินขอข้าวกิน ไม่ทำมาหากินอะไร ธรรมะหัวโล้น
พระพุทธเจ้าก็ดูก่อนพราหมณ์ เราก็ทำนาอยู่ อะไร สมณะอะไรโกหก ไม่เห็นมีนาที่ไหน ไม่เห็นมีคราดมีไถอยู่ที่ไหน ไม่เห็นมีข้าวปลูกข้าวพันธุ์อยู่ที่ไหน มีแต่มาขอข้าวขอกินน่ะ โกหก ไปกันใหญ่แล้ว อะไรต่างๆ ดูก่อนพราหมณ์ นาของเรา คือ ศรัทธา เราเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วต้องชั่ว เราจะพยายามละความชั่ว ทำความดี นี่คือนาของเรา เรามีศรัทธาที่ทำความดี ไม่ท้อถอย เรามีศรัทธาที่ละความชั่ว ไม่ท้อถอย ความดีเท่าไหร่มี เราจะพยายามทำ ความชั่วเท่าไหร่ที่มันมี เราจะพยายามละ เรามีความหนักแน่นเรื่องนี้ เรียกว่าคันคราดไถเปลี่ยนความร้ายเป็นความดีเหมือนไถ แต่ก่อนเป็นหญ้า พลิกมันลงไปให้เป็นปุ๋ย เปลี่ยนร้ายเป็นดี เป็นคันไถของเรา
เรามีน้ำฝน คือ ความเพียร มีฉันทะ มีวิริยะ มีความเพียร บากบั่น เรามีข้าวปลูก คือสติ หว่านลงไป รู้ลงไป อะไรที่มันเกิดขึ้นรู้ รู้เห็น มีสติ ไม่หลง มันทุกข์ไม่หลง มันโกรธไม่หลง มันทุกข์ไม่หลง มันโลภไม่หลง มันรัก มันเกลียดชังไม่หลง มันหิวไม่หลง มันอิ่มไม่หลง นี่คือข้าวปลูกของเรา ไม่หลงทุกกรณี นี่เม็ดพันธุ์พืชของเรา เม็ดหน่อแห่งโพธิของเรา เรารู้จักไขน้ำเข้ารู้จักไขน้ำออก เวลามันท่วมเราก็เปิดออก เวลามันแห้งเราก็ไขน้ำเข้า หมายถึงชีวิตของเรา เราต้องดูแลอยู่เสมอ ไม่ให้ท่วมไม่ให้แห้ง ในลักษณะต่างๆ บางทีอะไรมันท่วม ความพอใจ ความไม่พอใจ มันท่วมทับ ความพอใจก็บ่รู้จักอิ่ม มันท่วมเอา ความไม่พอใจก็เหือดแห้งไป เราจะไม่ให้มันเป็นเช่นนั้น เราจะถอนความพอใจ และความไม่พอใจออกไป มีสติแล้วแลอยู่ ให้เป็นหน่อโพธิอยู่ตรงนี้ เราได้ผลเกิดขึ้นมา ได้กิน ไม่มีการเกิดแก่เจ็บตาย พราหมณ์ทำนายังได้ข้าวมากิน ยังแก่ยังเจ็บยังตายอยู่ แล้วพราหมณ์ก็ยืนฟัง หน้าบูดหน้าบึ้ง
พอพระพุทธเจ้าพูดมาถึงตอนนี้ สลดใจ นั่งลง อะไร ได้ข้าวมากิน ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย เรากินข้าว ลูกเราก็ตาย หลานเราก็ตาย พ่อแม่เราตาย ปู่ย่าตายายเราตาย เหมือนกับเป็นความจริง ก็เลยเปิดประตูบ้านออกไปรับบาตร นิมนต์ขึ้นไปบนบ้าน ไปพูดเรื่องนี้ให้คนอยู่บนบ้านฟัง มีบุตร มีภรรยา ขึ้นไปก็ปูที่นั่งให้ เขาให้นั่งลง ให้พูดเรื่องนี้ ชวนลูกชวนเมียมาฟัง พระพุทธเจ้าพูดเรื่องนี้ จากพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพระพุทธเจ้า ขอถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มีอีกแล้ว อาศัยสรณะเหล่านี้ ข้าพเจ้ามีสติปัญญาเกิดขึ้นพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ พาลูกพาเมียแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เอาข้าวมาใส่บาตร ไปส่งบาตรพระพุทธเจ้า
นี่เห็นไหม กินข้าว มีเงินมีทอง ยังแก่ยังเฒ่าอยู่ อะไรที่มันเป็นชีวิตจริงๆน่ะ ได้หรือยัง หรือจนกันอยู่ มันสุขก็จนไปในความสุข แค่นั้นหรือ มันทุกข์ก็จนไปในความทุกข์ มันพอใจก็จนไปในความพอใจ มันไม่พอใจ ก็จนไปในความไม่พอใจ ให้เขาบังคับขับไสเรา อาศัยเอาคิด ไปห้อยไปแขวนไว้กับสุขกับทุกข์ เกิดขึ้นจากกายจากใจ แค่นั้นหรือคือชีวิต ไม่ใช่เด็ดขาด เสียชาติ ไม่มีใครที่สอนเรื่องนี้ มีแต่เรานั่นแหละ อาจารย์โน่นดี อาจารย์นี่ดี ก็เชื่อ ดีทุกคนล่ะ อาจารย์น่ะ ท่านเรียนมาท่านรู้มา แต่ตัวปฏิบัติคือเรานี้
งั้นหลงอยู่ที่ไหน ไม่ใช่หลงอยู่ที่นี่ ทุกข์อยู่ที่ไหน ไม่ใช่ทุกข์อยู่ที่นี่ มันอยู่กับเรา อยู่ที่รูป อยู่ที่นาม อยู่ที่กาย ที่ใจ เปลี่ยนตรงนั้น สอนตรงนั้น ง่ายๆ ทำได้ หายใจก็รู้ได้ เดินก็รู้ได้ เคลื่อนไหวก็รู้ได้ อย่าให้มันฟรี เราใช้ชีวิตฟรีมาเท่าไหร่แล้ว หลงจนหน้าด้าน ทุกข์จนหน้าด้าน ไม่อาย ถ้ามีสติแล้ว มันอายนะ เนี่ย จะไปให้ใครสอน ไม่มี มีแต่เรานี่แหละ เพียงแต่เราเป็นเพื่อนกันเฉยๆ หลวงตาก็พูดอยู่เนี่ย นั่งพูดอยู่เนี่ย มานานเหลือเกิน จนจะตายไปแล้ว ตายไปแล้วก็ไม่ว่า เป็นหนี้บุญคุณของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีแต่คนดีๆ ร่องรอยแห่งคนดี ตั้งแต่เกิดมาเนี่ย ไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณใคร ที่ทำได้เวลานี้ การตอบแทนโลก แผ่นดินนี้ที่เรามีชีวิตอยู่เนี่ย ก็มีการพูดอย่างนี้แหล่ะ ไม่มีสิ่งไหนที่มีค่าเท่าสิ่งนี้ คือ มันชีวิต เป็นชีวิตจริงๆ
นอกจากนั้นก็รดต้นไม้ มันก็มีชีวิตชีวาน่ะ รดต้นไม้ มันเหี่ยว เอาน้ำไปรดมัน มันสดชื่นขึ้นมา มันตอบสนอง สอนญาติสอนโยมยังไม่ตอบสนอง สอนคนก็ไม่ได้ตอบสนอง เหมือนกับการช่วยต้นไม้ อย่าให้ด่านะ (หัวเราะ)
หลวงตาสอนพระที่วัดภูเขาทอง ใช้เครื่องขยายไม่เป็น พังไป ซ่อมมาให้เราใช้ พังไปอีก ก็บอกทุกอย่าง น้ำวัดนี้อยู่ที่ไหน ไฟวัดนี้อยู่ที่ใด ถ้าไฟไหม้จะทำอย่างไร รู้หรือยังพวกเรา ต้นของไฟกำเนิดของไฟอยู่ที่นี่มาจากไหน ถ้าสมมติเราอยู่ในศาลานี่ ถ้าไฟไหม้ศาลาจะทำยังไง รู้จักไหม ถ้าน้ำมันไม่ไหล น้ำมันไหลมาจากไหน น้ำแห้งมันเพราะอะไร ให้รู้จัก
เครื่องขยายมันมีระบบของมัน 500 วัตต์ มันก็มีลำโพงที่เป็นลูก ใช้ให้น้ำหนัก 500 ถ้าต่ำกว่านั้นไม่ได้ สูงกว่านั้นก็ไม่ได้ เหมือนเด็กน้อย ถ้าเอาหาบหนักๆไปให้เด็กน้อยหาบ มันจะหาบไหวไหม เหมือนลูกหลานคุณหมู เขาเอาย่ามหลวงตาไปให้มัน(สะ)พาย โอ๊ยหนักๆๆ มันจะร้องไห้ ถ้าไม่เอาออก โอ๊ยๆ ไม่เอาออก เด็กน้อยพิการเลย ทำไม หลังหัก ขาหัก มันก็บอกน้ำหนัก อันลำโพงที่มันร้องโอ๊ยๆ ได้ยินมั้ย เวลาเปิด อย่างที่เปิดนี่ ร้องอี๊ๆนี่ โอ๊ย หนักแล้วๆ (หัวเราะ) ก็ต้องช่วยมัน เอามอเตอร์ลดลงซะหน่อย มันหนักเกินไป รู้จักไหม บอกอย่างนี้ อย่าใช้เกินกำลัง เครื่องมันเนี่ย 500 วัตต์ เมื่อมันออกไปสู่คนอื่นก็ 500 วัตต์ เครื่องที่รับน้ำหนักได้ต้อง 500 วัตต์ จึงจะรับได้ ถ้าใช้ไม่ถูก เครื่องขยาย 500 วัตต์ ลำโพงเพียง 30-40 วัตต์ เครื่อง 500 วัตต์ ลำโพง 1000 วัตต์ มันก็หนักตรงนี้อีกล่ะ ตรงนี้ก็พังอีก รู้ไหมจับตามาดู เปิดตรงนี้ ปิดตรงนี้ ใช้ตรงนี้ ใช้ไม่เป็น พังแล้วพังอีก สอนยากสอนคน สอนวัวสอนควายยังง่าย ไปๆ ซ้ายๆ บอกให้ไปขวา ถ้าไปซ้าย ขวาๆ ถ้าไปตรงอือ ตรงไปๆ หยุด บอกให้หยุด มันก็หยุด ไปมันก็ไป สอนวัวสอนควาย เทียมคราดเทียมไถ เทียมล้อเทียมเกวียน สอนมันแล้ว มันเป็น ทิ้งไปปีหน้าฟ้าใหม่มาทำอีก มันก็มาเป็นอีก ไม่ได้หัด คนนี่ต้องบอกอยู่เรื่อยเช่นนั้นหรือ เรียกว่าคนประเสริฐตรงไหนกัน คนเราเนี่ย ถ้าไม่สอนตัวเองอยู่เนี่ย จะทำอย่างไร
มันหลงก็รู้เนี่ย มันยากไหม ถ้ามันทุกข์ก็รู้นี่มันจะยากไหม มันทำได้อยู่ ง่ายกว่าหลง ง่ายกว่าทุกข์ ถ้าทุกข์เป็นทุกข์ มันยาก ถ้าทุกข์เห็นมันทุกข์ ไม่เป็นผู้ทุกข์ มันง่ายๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง สงสารตัวเอง ไม่ต้องสูบบุหรี่ได้ไหม ไม่ต้องกินเหล้าได้ไหม
เมื่อวานไปซ่อมเครื่อง ร้อนๆ ลงไปมนุษยโลก (หัวเราะ) อยากจะบอกว่า ลงเขาไปเมืองมนุษยโลก นี่ เมืองเทวโลกมันสูง เย็นหน่อย ไปเห็นช่างเขา เถ้าแก่เขา เหลืองๆ เต้อๆ เป็นอะไร เขาว่าเป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่เฉย
เบาหวานเนี่ย 1 อย่ากินแป้งมากนะ กินผัก กินปลาอย่างเดียว อย่ากินแป้ง เป็นข้าว เป็นอะไรที่เป็นแป้งๆ ไขมันมาก บุหรี่ก็อย่าสูบ ถ้าจะให้มันหาย ถ้าจะรักชีวิตของเรา เรามีลูกมีเมีย นี่เมียของเรา ลูกของเรา ถ้าเรารักลูกรักเมียก็ต้องหยุดสูบบุหรี่ ถ้ารักตัวเองเนี่ย ถ้าไม่รักตัวเองก็สูบแล้วมันจะตายง่ายเข้าไป เบาหวานก็รักษาไม่หาย รักษาไม่ได้ ซองบุหรี่เต็มกระเป๋าอยู่ มีมั้ย (หัวเราะ) เอามา ส่งบุหรี่มาให้ จะเอาไปทิ้งหน้าผา แกบอกตรงๆ หนา เขาบอกมันเลิกไม่ได้ พยายามละอยู่ หมอก็บอกอยู่ แล้วเราจะรักบุหรี่ รักชีวิตเราล่ะ รักชีวิตครับ เขาบอกรักชีวิต รักชีวิตมา บุหรี่มาให้เรา เขาก็เอาซองบุหรี่ให้หลวงตา เอาไปทิ้งน่ะ หยุดนะ อย่าสูบนะ ว่าจะมาที่นี่ก็เอาคืนให้เขา (หัวเราะ)
บอกอย่างนี่เขาไม่พอใจนะ ใช่มั้ย พอใจมั้ย อย่ากินหมากนะ โอ๊ย บ่ให่กินหมาก บ่ให่กินข้าวซะดีกว่า ได้ยินคำพูดแบบนี้ มีเยอะแยะเลย ไม่ชอบ ไม่ค่อยชอบ เหมือนการขูด ธุดงค์ แปลว่า ขูดเกลา ทำไมขูดมัน นี่อยากจะขูดเกลา หลวงพ่อขาวอยู่นั่น มันพ่นสีขาว เอาสีขาวออก ขูดออก จะพ่นสีทองใหม่ ยังหาศรัทธาไม่ได้ หาผู้ที่ทำให้ไม่ได้ อาสาสมัครมีมั้ย (หัวเราะ) หลวงพ่อขาวอยู่เนี่ย สวยงามน่ะ พระพุทธรูปองค์นี้ เอาขูดสีขาวออก ธุดงค์ แปลว่า ขูดออก สีขาวมันเป็นสนิม มันไม่ทนหรอก ขูดออกพ่นสีทองใหม่ เจ็บปวดนะ เจ็บปวด ขูดเนี่ย เหมือนอะไร สนิมคือยา ติดอยู่ในนิโคติน อยู่ในเส้นเลือด อากาศ นิโคตินมันอยู่เนี่ย มันติดแล้ว เวลาอดทน มันเจ็บปวดหน่อยนึง ทนเอา ปวดนิดหน่อย เจ็บนิดหน่อย เหมือนกับเราเป็นโรคขี้ไคล แม่ถูคอ โอ๊ย! ร้องไห้เลย แต่แม่ไม่ยอม ถูๆๆ แต่ลูกร้องไห้นะ เพราะมันไม่ถูมันไม่ออก ขี้ไคลสลึง ใช่มั้ย เป็นเด็กน้อย น้ำมูก แขนนี่เช็ดน้ำมูก แล้วก็มาเช็ดกางเกง เป็นมันหมดเลยตรงนี่ พ่อแม่ก็ซัก ซักที่ถู เช็ดน้ำมูกเช็ดออก ลูกร้องไห้ หารู้มั้ยว่า ขณะที่แม่เช็ดเนี่ย มันเจ็บปวด แต่มันสะอาด
หลวงตาบอก หยุดอย่าไปสูบ เขาไม่พอใจ ไม่ได้จนเพราะเงินซื้อบุหรี่หรอก บุหรี่มวนหนึ่งก็บาทกว่าๆเท่านั้นเอง เราหาเงินได้เยอะ มันก็คิดไปแบบนั่น ไม่ค่อยพอใจ การขูดเกลาเนี่ยต้องอดทนเอาเสียก่อน ความอดทนเป็นเครื่องเผา เป็นตบะ เครื่องเผากิเลส ถ้าไม่อดซะหน่อย มีค่าอะไรเรา ทนสักหน่อย อย่าเป็นคนเปราะบาง ใจเสาะ ใจหมาใน เป็นคนใจสิงห์ซะหน่อย รู้จักหมาในมั้ย ใจเสาะ ปลาทะเล ปลาทะเล ไม่ใช่เหมือนปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็ม ใจเสาะ
ตอนหนึ่งหลวงตานั่งเรือจากเกาะสมุยไปนครศรีธรรมราช อยู่กลางทะเล แล้วเรือน้อย เรือประมงเขามาเทียบ มาขออาศัยเรือใหญ่ มาขออาศัยไปด้วย มันก็จับไป แล้วเขาก็ได้ปลาตัวใหญ่ขึ้นมา วางบนหัวเรือ ปลาตัวใหญ่วางบนหัวเรือนะ ดีดหางแป๊บเดียวตายแล้ว ใจเสาะ ปลาน้ำเค็ม ปลาน้ำจืดเอามาวางหัวเรือ มันจะเป็นยังไง โดดน้ำลงไปเลย (หัวเราะ) โดดน้ำไป ไม่ตายง่าย
อะไรก็ทุกข์ อะไรก็สุข เรียกว่าใจเสาะเกินไป ไม่ทนซักหน่อย มานั่งแป๊บเดี๋ยว โอย ปวด ตายๆๆๆ ไม่ไหวๆ กลับบ้านดีกว่า (หัวเราะ) ไม่ไหวๆ แย่ๆๆ ตายๆๆ ไม่ต้องพูดเลยภาษาไทย ศัพท์เนี่ย ได้มั้ย ถ้าคิดว่าไม่ไหวๆ ไม่ต้องพูด แย่ๆ ไม่ต้องพูด ตายๆ ไม่ต้องพูด
หลวงตาได้คตินี้มาสมัย (พ.ศ. 2527) 27 ไปดูสังเวชนียสถาน ที่ร่องรอยพระพุทธเจ้า เห็นเขาสร้างถ้ำอชันตาเนี่ย ภูเขาเป็นรูปตัวยู เป็นตัวยูแบบเนี่ย เป็นช่องมา น้ำตกระหว่างภูเขา ก็ทำกุฏิ ทำเป็นศาลา 9 หลัง ใหญ่กว่านี้ สองชั้น สามชั้น อชันตา เจาะภูเขาทั้งลูกเป็นศาลา เรียงกันไป ตั้งไว้เนี่ย มันเรียกว่าอะไร 9 หลัง มีแต่หลังใหญ่ๆ เจาะเข้าไปเป็นภูเขา เจาะพระพุทธรูป เจาะต้นเสา สลักต้นเสาที่เป็นหิน เป็นดอกบัว เอาพระพุทธรูป เจาะเอาภูเขาลูกนี้ อยู่ในหินนะ แล้วก็เจาะห้องนอน เป็นห้องนอนในศาลา เจาะเป็นหมอนสำหรับหนุนหัว เป็นก้อนหิน เจาะเป็นช่องสำหรับวางผ้าสังฆาฏิ ในศาลาแต่ละหลัง 9 หลัง แล้วมนุษย์เนี่ย ไม่มีเครื่องยนต์กลไก ไม่มีระเบิด เอาสกัดตีไปมันจะเท่าไหร่ ทำไมจึงเก่งขนาดนั้น คนโบราณพันๆกว่าปีเนี่ย เนี่ยเรานี่ บอบบางขนาดไหน อะไรก็ทำไม่ได้
หลวงตาไปวัด จะหาพระมาใช้??? ปิดประตูนอน ไม่อยากไปไหน อย่าทำแบบนั้นเป็นบาป ไม่ทำอะไร ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์แก่โลก ประโยชน์แก่พระศาสนา มีประโยชน์มาก เราทุกคนก็มี มีพ่อมีแม่ มีภรรยา สามี มีลูก มีหลาน มีเพื่อน มีมิตร อย่างน้อยเราอยู่เนี่ยให้สงเคราะห์กัน อย่าทะเลาะวิวาทกัน อย่างเนี่ย ธรรมวินัยเป็นอย่างเนี่ย ไม่ต้องไปบรรลุธรรม ว่าแต่ใจดีๆ อย่าทะเลาะกับใครๆ หนึ่ง ไม่เบียดเบียนตัวเองเอาไว้ก่อน สอง ไม่เบียดเบียนคนอื่นเอาไว้ก่อน สาม ไม่เบียดเบียนสิ่งอื่นเลยในโลกเนี่ย เอาอันนี้ไว้ก่อน เหมือนกับลาดขึ้นไป จะเอาวันนี้บรรลุธรรมเลย อาจจะไม่ได้นะ(หัวเราะ) อาจจะไม่นั่งไม่นอนเลยไม่ได้ แต่ว่าใจยังหมกมุ่นอยู่นี่ มันยังไม่พร้อม ต้องลาดไว้ก่อน
มองอะไร เมตตาออกหน้า มองอะไร กรุณาออกหน้าไปก่อน อย่าให้ความพอใจ ความไม่พอใจไปก่อน เราใช้ชีวิตอย่างไร เราเนี่ย เราใช้ชีวิตแบบไหน มันเหมาะที่จะบรรลุธรรมได้ไหม เกลียดคนนั้น รักคนนี้ พอใจสิ่งนั้น ไม่พอใจสิ่งนี้ อันนั้นไม่ใช่ชีวิตหนา อันนั้นเป็นอาภัพที่สุดเลย ไม่รู้ว่าชีวิตไปห้อยไปแขวนที่ไหน แล้วแต่อารมณ์จะพาให้เป็นไป เหมือนฆ้องเขามาตีก็มีเสียง เสียงมันเสียงเหตุปัจจัยต่างๆ ดังขึ้นมา พอใจ ดังขึ้นมา ไม่พอใจก็ดัง เช่นตีกลองเพลนี่ ท่านว่าเป็นบาปนะ กลองเพลเนี่ย ทำไมกลองเพลจึงเป็นบาป
สมัยเป็นเณรน้อยนะ ถ้าใครท่องยะถาปัจจะยังไม่ได้ ถ้าใครยังท่องปฎิสังขาโยไม่ได้ เป็นบาป ตายไปเป็นควายตู้ แล้วก็ตายจากควายตู้ไปไถนาให้เขา ควายตู้ต้องไปไถนาให้เขา กินข้าวเขา ไมใช้เขา เป็นหนี้เขา ตายไปเป็นควายตู้ ไปรับใช้ไถนาให้เขา ควายตู้ตัวนั้นตายไป เขาเอาหนังมาห่อกลองเพล เขาว่านี่นะ เวลาตีทีใด กลองเพล อิหยังล่ะ อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตฺวา (หัวเราะ) ตีทีไร เสียงกลองเพล อัชชะ มะยา ปัจจะเวกขิตฺวา (ยัง ปิณ ทะ ปาโต ปะ ลิ ฉา โร) ตีทีไร ก็ เราจะพิจารณา อัชชะมายา ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ ไปเรื่อย ยาวะเทวะ อิมัสสะ (หัวเราะ) เสียงครางของกลองเพล สมัยเป็นเณรนะ ขู่กันนะ ถ้าเวลาไปบิณฑบาต ต้องว่า ยะถาปัจจะยังนะ ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง... ให้จบ โยมใส่ข้าวก้อนหนึ่งลงถึงบาตรต้องจบ ให้คล่องที่สุดนะ เวลาโยมใส่บาตร ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง... อยู่นี่ ต้องมองในบาตร เดี๋ยวนี้เวลาว่า ยะถาปัจจะยัง ก็มองหน้า โอ้ คนนี้สวยหนอ โอ้ คนนี้ไม่สวยเนาะ (หัวเราะ) หนุ่มๆฟังให้ดีเถอะ ตายเป็นควายตู้ (หัวเราะ)
บางทีมองคำข้าว ฉันข้าว เขาก็ โอ๊ย ข้าวงามน้อ คิดอยาก เห็นปิ้งไก่ เอาไว้กินก่อน ซ่อนไว้ก่อน มีไหม สมัยอยู่พุทธยานนะ ไปบิณฑบาต มีพระอาจารย์ไปสายนี้ มีพระหัวหน้าไปสายนี้ ไปกับเณรน้อย เดี๋ยวเล่าให้ฟังสักหน่อย พุทธยานสมัยบวชใหม่ๆนานมาก พูดเรื่องพระนะ ไม่บาปนะ เป็นตัวอย่าง อาจารย์ก็ได้ปิ้งไก่ ตก เณรน้อยก็เห็น ปิ้งไก่ตกใส่บาตร เณรน้อยเป็นคนจกอาหารออกจากบาตร เวลาบิณฑบาตมาถึงศาลาแล้ว ก็มีหวังว่า วันนี้จะได้ปิ้งไก่แบ่งกันฉันล่ะ อาจารย์วางบาตร เณรก็วางบาตร ไปล้างเท้า ขึ้นศาลา ไปจกบาตรอาจารย์ เปิดบาตรออกไม่เห็นปิ้งไก่เลย อ้าว ปิ้งไก่หายไปไหนน่ะ ไปจกบาตรตัวเองยังเห็น ปิ้งไก่ในบาตรอาจารย์หายไปไหนหนอเนี่ย มาถามใคร นี่เอาปิ้งไก่ออกหรือยังเนี่ย ยัง ปิ้งไก่หายไปไหน ผมเห็นปิ้งไก่ตกมาบาตรอาจารย์บักใหญ่เลย ก็ไม่รู้
เณรน้อยก็วิ่งไปถามอาจารย์ อาจารย์ๆ ปิ้งไก่ไปไหน (หัวเราะ) เณรก็ปิ้งไก่ไปไหนๆๆ อาจารย์ก็เฉย ปิ้งไก่ไปไหนอาจารย์ เอามาสิถามอิหยั่งกะด้อเณร เดี๋ยวสิตีแม่มันจักบาด (หัวเราะ) วิ่งมา บอกอาจารย์ๆ อาจารย์ไม่ให้หรอกปิ้งไก่ ถามก็บอกมีแต่จะด่าผม ตีผม เฆี่ยนผม วิ่งมา เอ้า อย่าไปถาม ช่างหัวเขา เณรก็ยัง.แต่ก่อนพุทธยานนี่บิณฑบาตมา ต้องแบ่งกัน มีกล้วยลูกหนึ่ง มีดซอย ตอนนั้นเราไม่มีโรงทานกันเท่าไหร่ แบ่งกันจริงๆ ตอนนั้น ไม่มียะถาปัจจะยัง ทุกวันนี้กูเอาปิ้งไก่แล้ว กูเอาปิ้งไก่ไปกินคนเดียวพู่นว่า เป็นอย่างงั้นเลย จะตายไปเป็นควายตู้ เณรน้อยสมัยก่อนกลัวกันนักหนา มีอะไรแบ่งกันเลย เพราะฉะนั้นนี่คือ ธรรมวินัยเป็นอย่างเนี่ย มีธรรมวินัยนี่บรรลุธรรมเลยนะ ถ้าถือปฏิบัติตามจริงๆ ถ้าไม่ปฏิบัติตามธรรมวินัย เท่าไหร่ก็ไม่ได้ดอก ไม่บรรลุธรรมดอก เช่นว่าศีล สมาธิ ปัญญา เนี่ย มันต้องเกิดขึ้นมา มีสติขึ้นมา ก่อนพูด ก่อนทำ ก่อนคิด มีสติ เท่านี้แหละ ก็ลงมาสู่สติ พูดมานี้ 40-50 ปีก็เรื่องสตินี่แหละ มีทุกคนหนอ ได้ยินบ่