แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ได้กล่าวคำ...ขอบรรพชา (กระแอม)เป็นสำนวนเอกวจนะ (เอกะวะจะนะ) นี่เฉพาะคน เฉพาะคน เฉพาะคน ไม่ผูกพันกันเป็นหมู่ นี่เราต้องการอย่างนี้ ไม่ได้ผูกพันกัน เฉพาะของใครของมันจึงได้ว่าสำนวนเอกวจนะอย่างนี้ ขอให้เจ้าตัวรับรู้ไว้ด้วย ทุกคนก็รู้ไว้ด้วย เดี๋ยวจะเห็นว่าแปลกไป ทีนี้ก็ ทุกคนนะทั้งเจ้านาคทั้งญาติโยมทั้งหลายทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ในการที่บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานี้มีความประสงค์อย่างไร จะได้ทำให้เต็มตามความประสงค์อันนั้น ญาติโยมทั้งหลายก็จะร่วมมือด้วยดี ไม่ทำให้มันเกิดฝืนหรือขัดแก่ความประสงค์
การบรรพชานี้ ถ้าเป็นของผู้ที่ยังหนุ่มคือยังไม่ได้ครองเรือน ก็เป็นการออกบรรพชาเพื่อ ศึกษา ฝึกฝน อบรมจิตใจ ในการบังคับตัวเอง บังคับราคะ โทสะ โมหะ ให้มากเท่าที่จะมากได้ เมื่อออกไปเป็น คนหนุ่มหรือจะครองเรือนก็ตามมันต้องบังคับตัว ได้ดีมาก นี่ก็คือบังคับราคะ โทสะ โมหะ นั่นแหละ เพราะฉะนั้นในระหว่างบวชเราก็ฝึกฝน เพื่อการบังคับ ให้เป็นคนหนุ่มที่ดี กระทั่งว่าเป็นสามีที่ดีเป็นอะไร..พ่อบ้านที่ดี เพราะได้ฝึกฝนการบังคับตัว บังคับจิตมาแล้วอย่างเพียงพอ
ถ้าเป็นการบรรพชาของผู้ที่ผ่านโลกมาแล้ว สูงอายุแล้ว มันก็เป็นเรื่องของการพักผ่อน หรือจะเรียกอีกทีว่าเลื่อนชั้นให้ตัวเอง ไอ้ความสุขอย่างโลก ๆ ธรรมดาสามัญนั้นมัน เป็นสิ่งที่จืดชืดหรือเป็นธรรมดาไปแล้ว เรียกว่า มันเท่านั้นเอง แค่นั้นเอง ต้องการจะเลื่อนชั้น สำหรับแสวงหาความสุขที่สูงขึ้นไป อย่างนี้มันก็มีเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณกาลนู้นแล้ว ก็เรียกว่าชีวิตโวหาร ในความเป็นฆราวาสสำเร็จแล้ว ก็คือทำการค้าด้วยชีวิต เอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อการค้าเพื่อประโยชน์อะไรก็ทำได้เสร็จไปแล้ว ทีนี้ก็ยังเหลือแต่จะเลื่อนขึ้นไปสูงกว่านั้น เขาจึงออกบรรพชาอย่างนี้ก็มี นี่เพื่อแสวงหาความสุขที่สูงขึ้นไป ไม่มีผิดไม่มีถูกอะไร ที่ยังไม่มีครอบครัวก็เพื่อจะเป็นผู้มีครอบครัวที่ถูกต้อง ที่ถูกต้องที่สุดในการเป็นมนุษย์ มีครอบครัวผ่านเรื่องโลกไปแล้วก็ไปเสวยชีวิตในอันดับที่สูงขึ้นไปอีก จะอยู่ที่บ้านก็ได้ จะบวชเขียนอ่านก็ได้ ทีนี้เราก็นิยมการบวชกันก็มี ก็ต้องศึกษาฝึกฝนให้ได้รับประโยชน์อันนั้นเต็มที่ ตามความมุ่งหมายด้วย นี่เรียกว่าความมุ่งหมายของการบรรพชา ที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ครั้งกระไหน เอ่อ,ครั้งไหนมาก็ไม่รู้แต่ว่ามันมีมาแต่, แต่ดึกดำบรรพ์ คนหนุ่มออกฝึกฝนตนเพื่อเป็นผู้มีความเหมาะสมที่จะเป็นมนุษย์ในโลก เช่นว่าเป็นคนแก่แล้วผ่านมาหมดแล้วก็สำหรับจะเลื่อนชั้น ให้แสวงหาความสุขที่สูงขึ้นไป ต่างคนต่างทำให้สำเร็จประโยชน์ ตามขั้นตอนของตนของตน
ทีนี้ก็มารู้จักคำว่าบรรพชา คำนี้แปลว่าไปหมด เว้นหมด คือไปหมดเว้นหมดจากความเป็นฆราวาส อากัปกิริยา ความคิด ความนึก รสนิยมอะไรก็ตามที่มันเป็นอย่างของฆราวาสนั้นเป็นว่าเลิกกันหมด เลิกกันหมดไปสู่ความเป็นบรรพชิต เรียกว่าบรรพชา ผู้ที่ได้บรรพชาเรียกว่าบรรพชิต จงดำรงชีวิตให้เว้น ขาดจากความเป็นฆราวาส เพื่อศึกษาฝึกฝนเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้รับ นี่ขอให้เตรียมตัวพร้อมเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ทีนี้ตัวการบรรพชา มันมีอยู่ว่า มีพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัย เราจะต้องมีพระรัตนตรัยมาอยู่ในจิตใจของเรา เพราะจิต, พระรัตนตรัยโดยแท้จริงนั้นเป็นคุณธรรมไม่ใช่เป็นวัตถุ ไม่ใช่เป็นบุคคล คุณธรรมคือ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ สามอย่างนี้เป็นคุณธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ใคร่ครวญดูเถิด ในพระพุทธเจ้าก็มีความสะอาดสว่างสงบถึงที่สุด พระธรรมก็คือ ตัวความสะอาดสว่างสงบ พระสงฆ์ก็คือ ผู้ที่มีความสะอาดสว่างสงบตามพระพุทธเจ้านั่นแหละ คุณธรรมคือความสะอาดสว่างสงบนั่นแหละเป็นตัวแท้ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรพชาอาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ดังนั้นเราจงพยายามทำจิตใจให้มีความสะอาด สว่าง และสงบ ก็ชื่อว่าบรรพชานั้นมั่นคง มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ตั้งที่อาศัย ก็ควรจะทราบไว้และทำให้สำเร็จประโยชน์ในจิตใจ
ทีนี้ก็มาดูถึงอานิสงส์ของการบรรพชา โดยกว้างขวาง โดย..ความมุ่งหมายมาแต่เดิมเพื่ออานิสงส์ ๓ ประการคือว่าผู้บวชเองก็ได้อานิสงส์ ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดาเป็นต้นก็ได้รับอานิสงส์ โลกทั้งโลก สัตว์ทั้งปวง ก็พลอยได้รับอานิสงส์ นี่ข้อนี้ก็จะต้องทำไว้ในใจว่าเราจะได้รับอานิสงส์ เป็นการเกิดใหม่ที่เรียกว่าเกิดโดยอริยชาติ เมื่อมาทำตนเป็นพระสงฆ์นี่มัน มันเหมือนกับการเกิดใหม่ในส่วนนี้ และเราก็มีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง ทางกายทางวาจาทางใจมีการเปลี่ยนแปลง ได้รับ..สิ่งที่ไม่เคยได้รับโดยเฉพาะไอ้คุณธรรมที่เป็นไอ้ความสะอาดสว่างสงบนี้ก็ได้ชีวิตใหม่ ซึ่งมีค่าสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ข้อนี้ต้องอาศัยการที่ว่าบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง ก็จึงจะได้รับ ขอให้พยายามให้ได้รับอานิสงส์ที่ผู้บวชจะพึงได้รับ
อานิสงส์..เอ่อ,ที่ ๒ ก็ที่ญาติทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นจะได้รับ ก็นี่ก็โดยอาศัยตามธรรมเนียมมีหลักว่า บวชนี้เพื่อทดแทนพระคุณของบิดามารดา การทดแทนพระคุณอย่างอื่นอย่างใดก็ตามไม่ ๆ ไม่ ไม่สูงเท่า คือการบวชนี้ดึงจิตใจของบิดามารดามาสู่ความเป็นสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา ทำบิดามารดาให้ใกล้ชิดพระศาสนา โดยจิตใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม เป็นการให้สิ่งสูงสุดแก่บิดามารดา เป็นการทดแทนพระคุณของบิดามารดาอย่างสูงสุด ญาติทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน นี่อานิสงส์ที่ ๒ ที่จะได้กับญาติทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นเป็นประธาน
อานิสงส์ที่ ๓ ได้แก่ คนทั้งหลายทั้ง,ทั่วไปทั้งโลก ได้แก่โลกทั้งโลกก็ได้ บางทีอาจจะไกลไปถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลกด้วยก็ได้ ถ้าว่าปฏิบัติถูกต้องสมบูรณ์ทุกอย่างทุกประการ การบวชนี้เพื่อว่าสืบอายุพระศาสนา เราบวช ๑ ปีก็สืบไว้ ๑ ปี บวชหลายปี บวชตลอดชีวิตก็เป็นการสืบอายุพระศาสนาไว้ให้ยังคงมีอยู่ด้วยการปฏิบัติของเรา ถ้าไม่มีคนบวช คนเรียน คนปฏิบัติ หรือคนสอนต่อ ๆ กันไป มันก็ไม่มีการสืบอายุพระศาสนา อายุพระศาสนาก็สิ้นสุดลง ทั้งโลกก็ไม่ได้รับประโยชน์ แต่นี่ทำให้พระศาสนายังคงมีอยู่ในโลก ไอ้โลกทั้งโลกก็คอยพลอยได้รับประโยชน์จากพระศาสนา ถึงว่าการบวชนี้เมื่อทำถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์เป็นอานิสงส์แก่คนทั้งโลก ที่ว่าจะเกื้อกูลไปถึงเทวโลกพรหมโลกนั้นก็จะ, ก็จะมีผู้ไปเกิดในพรหมโลกเทวโลกไม่ขาดตอนนั้นแหละ นี่เป็นการได้รับประโยชน์ทั้งโลกนี่เป็นข้อที่สาม
ข้อที่หนึ่ง ผู้บวชได้รับ ข้อที่สอง ญาติทั้งหลาย บิดา มารดา เป็นต้นได้รับ ข้อที่สาม คนในโลกทั้งโลกที่ได้รับประโยชน์จากธรรมะที่มีอยู่ในโลกได้รับ เมื่อพิจารณาถึงอานิสงส์อันนี้แล้ว มันก็เรียกว่ามากมากทีเดียว คุ้มค่าที่จะต้องอดทน อดกลั้น เสียสละ ประพฤติพรหมจรรย์ให้ดีที่สุดเพราะว่ามันมีประโยชน์ มีอานิสงส์มากเหลือเกิน ขอให้ทำในใจถึงอานิสงส์เหล่านี้เป็นเบื้องหน้าแล้วก็จะเกิดกำลัง เกิดความกล้าหาญ เกิดความเชื่อ เกิดทุกอย่างที่จะทำให้การบวชนั้นจริงจัง ถูกต้อง สมบูรณ์ได้ ด้วยหวังเอาอานิสงส์ทั้ง ๓ ประการนี้ แม้ว่าเราจะบวชชั่วคราวก็ขอให้การบวชชั่วคราวเท่าไรเป็นการสืบอายุพระศาสนาเท่านั้น อย่าให้เป็นการบวชชนิดที่ทำลายพระศาสนาเลย บวช ๓ เดือนก็ต้องสืบ ๓ เดือน ก็เหมือนรับสืบต่อ ๆ ต่อ ๆ กันไปไม่ขาดตอน บวชได้ตลอดไปก็เป็นการสืบตลอดไป อย่าลืมว่ามันต้องเป็นการสืบอายุพระศาสนาด้วยแม้จะบวชกันสักเดือนหนึ่ง สองเดือน สามเดือน นี่เป็นอานิสงส์อันใหญ่หลวง และเป็นอันว่าความมุ่งหมายของบรรพชาคืออะไร การบรรพชาคืออะไร ที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชาคืออะไร ประโยชน์อานิสงส์ของบรรพชาคืออะไร ท่านทั้งหลายก็ได้ฟังได้เข้าใจพอสมควรแล้ว ก็เป็นการง่ายที่ทำจิตใจให้เป็นไปตามนั้น ให้สำเร็จประโยชน์ตามนั้น แล้วก็จะได้ดำเนินการบรรพชาสืบต่อไป
การบรรพชานี้ตามธรรมนิยมในเบื้องต้น ขอให้บอกสอนตจปัญจกกรรมฐาน (ตะจะปันจะกะกำมะถาน) ข้อนี้เป็นการเตรียมจิตใจของท่านที่จะบรรพชานั้นให้มีความถูกต้องเหมาะสมสำหรับการบรรพชา ถ้าเผื่อว่าเรา เรายังมีจิตใจหลงใหลอยู่ในเรื่องของฆราวาส ยังมีความหลงใหลในเรื่องสวยเรื่องงาม เรื่องกามารมณ์ เรื่องอะไรต่าง ๆ ติดอยู่ในจิตใจ ก็เป็นการจำเป็นที่จะต้องกวาดล้างออกไปให้หมดสิ้น ในบัดนี้ ให้เกิดความถูกต้องเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะที่เป็นเครื่องหมายของบรรพชา ดังนั้นท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดีให้สำเร็จประโยชน์ในตอนนี้ว่า เราจะต้องรู้จักที่เราเคยโง่เคยหลงในเรื่องสวยเรื่องงามเมื่อเป็นฆราวาสมาแต่กาลก่อนนู้น มีเรื่องสวยเรื่องงามโดยเฉพาะระหว่างเพศ ที่เราจะมาศึกษาข้อนี้ให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ เป็นเรื่องมายา เป็นเรื่องหลอกลวง ไม่มีความจริงอะไร ท่านจึงให้ยกตัวอย่างมาสัก ๕ อย่างก็พอ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เคยสง เอ่อ,หลงใหล ๆ ว่ามันสวยมันงามนั่นเอามาคิดกันเสียใหม่ว่ามันไม่มีความเป็นจริงอย่างนั้น มันเป็นความโง่ของเราเองที่ไปหลงว่าสวยว่างาม ถ้าความโง่อันนี้ยังเหลืออยู่ยังไม่เหมาะที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะนี้ เพราะฉะนั้นจงขจัดออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่อาลัยอาวรณ์กับเรื่องสวยเรื่องงามในทำนองที่เป็นมาแล้ว
เรื่องผม เอามาพิจารณาดู เรื่องเส้นผมซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการประดับสวยงามหรือว่ามันเป็นเพียงอะไร โดยรูปร่างก็เป็นเส้นยาว ๆ มีสี น่าเกลียดนี้ กลิ่นน่าเกลียดนี้ ธรรมชาติน่าเกลียดที่งอกที่เกิดในหนังศีรษะหล่อเลี้ยงไว้ด้วยเลือดด้วยน้ำเหลือง มีหน้าที่สำหรับรับฝุ่นบนศีรษะ แต่เราก็เอามายึดถือเป็นที่ตั้งแห่งความสวยความงาม ตกแต่งกันอย่างยิ่งจนให้มีผมสวยงามแล้วก็หลงใหลกันไป นี่ความโง่อันนี้ ต้องหมดไปก่อนที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
นี้ขน มีไปทั่วทั้งตัว มันก็เหมือนกับขน เอ่อ,กับกับผม รูปร่างลักษณะ กลิ่น สี อะไรก็ล้วนแต่ปฏิกูลคือน่าเกลียดงอกอยู่ที่ผิวหนังที่ทำให้มีการระบายเข้าออก ทางรูของขน เนี่ยเป็นหน้าที่ระบายถ่ายเทของสกปรกอย่างนี้เต็มทั่วไปทั้งผิวหนัง ก็ยังเห็นว่าผิวหนังเป็นของสวยของงาม ทีนี้มาเห็นว่ามันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ไม่ควรจะหลงกันถึงขนาดนั้น ก็เลิกความคิดชนิดนั้นเสีย ก็มีจิตใจเหมาะสมกับการนุ่งห่มผ้ากาสายะ
นี้เล็บ ที่มีอยู่ปลายนิ้ว เคยเป็นที่ตั้งแห่งการประดับประดาตกแต่ง ว่าสวยว่างามไว้อวดกัน ทีนี้ก็มาดูว่าไอ้รูปร่างมันน่าเกลียดสีสันมันน่าจะน่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกเนี่ยก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของเล็บก็คือควักหรือเกา เนี่ยเป็นหน้าที่ที่น่าเกลียด จะมาสวยกันอย่างไร เลิกเห็นความสวยงามในเรื่องของเล็บ ก็พ้นจากไอ้ความเขลาความหลงอันนั้น มีจิตใจพอที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ทีนี้เรื่องฟันในปาก เป็นที่ตั้งแห่งการประดับประดาตกแต่งด้วยอย่างหนึ่งเหมือนกัน ขอให้พิจารณาว่าเรามันเคยโง่เคยหลงไม่ได้ใคร่ครวญดูว่าโดยเนื้อแท้แล้วรูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกในเหงือกนี่ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันก็น่าเกลียดคือเคี้ยวบดอาหาร เลิกเห็นความงามหรือหลงว่างามในฟันเสีย ก็จะฉลาดขึ้นแล้วก็จะมีจิตใจเหมาะสำหรับจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
พอที่สุดมาถึงผิวหนัง ที่เคยประดับประดาตกแต่งกันแพง ๆ นั้น เดี๋ยวนี้ไม่ เอ่อ,ไม่ต้องมีความรู้สึกอย่างนั้นเหลืออยู่แล้ว มันเป็นความโง่เกินไป โง่เกินกว่าที่จะมานุ่งห่มผ้ากาสายะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระอรหันต์ได้ จงพิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูล สีสันมันก็น่าเกลียด รูปร่างมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกหุ้มตัวนี้มันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานก็สำหรับรับฝุ่นละอองถ่ายออก,เข้าถ่ายออกความร้อนของร่างกาย ล้วนแต่เป็นอาการที่น่าเกลียด ก็จะเห็นกันว่าเราเคยโง่เคยหลงกันมามากน้อยเท่าไหร่ ถ้ายังโง่ยังหลงชนิดนั้นอยู่ก็ไม่เหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะเลย
เพราะฉะนั้นขอให้มองเห็นความจริงข้อนี้ แล้วสลัดไอ้ความโง่ความหลงเหล่านั้นออกไปเสียให้หมด ยกตัวอย่างมาเพียง ๕ อย่างเท่านั้น แต่ทุกอย่างกี่ ๑๐ อย่างก็เหมือนกันนั้น เอามาเป็นเรื่องแรกที่มาซักฟอกจิตใจให้เปลี่ยนไปมีความเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ นี่ขอให้..กำหนดจดจำไว้ให้ดี ท่านถือกันเป็นหลักว่าถ้ายังกำหนดกรรมฐาน ๕ ประการนี้อยู่อย่างไรแล้วจะเป็นเครื่องคุ้มครองอย่างมาก โดยเฉพาะคนหนุ่ม ๆ ที่บวชจะต้องไม่ละเลยจากปัญจกกรรมฐานนี้ จะพิจารณาอยู่เป็นประจำ แล้วทีนี้ก็จะต้องรับตจปัญจกกรรมฐาน นี้โดยภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง
(กระแอม)...เข้า ๆ มาใกล้หน่อย ... จงรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
(ผู้บรรพชา ๑)
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นะขา (นะขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ) นี่เรียกว่าเรียงลำดับ
ทีนี้ทวนลำดับก็ ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นะขา (นะขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ถ้าจำได้ลองว่าดู ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
อีกที ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
เพื่อความแน่นอนอีกเที่ยว ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
(กระแอม)...เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ามีสติสัมปชัญญะดี จำได้แม่นยำทั้งอย่างอนุโลมและปฏิโลม นี่สติสัมปชัญญะดีจำได้แม่นยำดี มีแค่ข้อความที่กล่าวที่อธิบายมาแล้วว่าเป็นอย่างไรในตจปัญจกกรรมฐานนี้ ถือเอาความข้อนั้นเป็นหลักประจำใจอยู่ แล้วก็ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ท่านได้พิสูจน์ความเหมาะสมความถูกต้องสำหรับการบรรพชาแล้ว มีความยินดีที่จะทำการบรรพชาให้
(คั่นด้วย..เสียงพูดเบา ๆ ไม่เข้าไมค์)
จงตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
(ผู้บรรพชา ๒)
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นะขา (นะขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ) นี่เรียกว่าตามลำดับ
ทีนี้ทวนลำดับ ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นะขา (นะขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
เอ้า,จำได้ก็ลองว่าดู ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
อีกที ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
อีกทีเพื่อความแน่นอน ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
นี่แสดงว่าจำได้และแสดงว่ามีสติสัมปชัญญะพอที่จะกล่าวทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม นี่ใจความปกตินี่ตจปัญจกกรรมฐาน ทั้ง ๕ นี้มีอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับประพฤติปฏิบัติต่อไป เธอมีความเหมาะสมที่จะบรรพชา มีความยินดีที่จะทำการบรรพะ,บรรพชาให้ ขอให้เจริญงอกงามในพระศาสนาตามความมุ่งหมายของบรรพชานั้น ทุก ๆ ประการเถิด
...ก้มลง...ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
(ผู้บรรพชา ๓)
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นะขา (นะขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ)
ทีนี้อย่างปฏิโลม ทวนลำดับคือ ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นะขา (นะขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ถ้าจำได้ลองว่าดู ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
อีกที ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
อีกที ( เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา )
ดี มีความจำได้ดี มีสติสัมปชัญญะดี (กระแอม)คงจะประพฤติปฏิบัติตามคำอธิบายที่ได้กล่าวให้ฟังแล้วได้ ทั้งโดยอรรถะทั้งโดยพยัญชนะ พอใจในความเหมาะสมที่เธอมีอยู่ อ่า,ขอให้มีความเจริญงอกงามในพระศาสนาตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุก ๆ ประการเถิด
...
แล้วจงสนับสนุนให้มีความตั้งอกตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ อย่ารบกวนอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าทำให้ยุ่งยากลำบาก ที่ให้กำลังใจให้กล้าหาญให้เข้มแข็งให้แน่วแน่ในการประพฤติพรหมจรรย์ และทุกคนที่มานี้เมื่อเข้าใจความประสงค์ของการบวชแล้ว ก็จะได้บุญได้กุศล คือมีปิติปราโมทย์เข้าใจพระพุทธศาสนาถูกต้อง เข้าใจชีวิตจิตใจถูกต้อง ก็สามารถจะดำเนิน ใช้ชีวิตนี้ให้ถูกต้อง เรียกว่าได้บุญได้กุศลอย่างยิ่งในการที่มาร่วมกันในการบรรพชาอุปสมบทของลูกของหลาน (กระแอม)และก็ช่วยส่งเสริมกำลังใจไว้เรื่อย ให้เข้มแข็งมั่นคง อย่าชักชวนหรือรบกวนในเรื่องที่มัน..มันไม่ถูกต้อง ให้เข้าใจกันไว้ด้วย ศึกษาระเบียบวินัยของพระกันไว้บ้างอย่าได้ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นการรบกวน (กระแอม)และที่สุดนี้ขอขอบใจทุกคนที่เงียบกริบ ไม่เทศน์ซ้อน บางแห่งการบวชบางแห่งนะประชาชนพูดกันแซ่ดไปเลย จนเจ้านาคจะฟังไม่รู้เรื่อง นี่ก็นับว่าดีมากล่ะที่เงียบกริบแล้วก็ฟังฟัง ฟังเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นขอให้รักษาขนบธรรมเนียมอันนี้ไว้อย่างเคร่งครัดด้วย เมื่อทำการบรรพชาอุปสมบทนั้นขอให้เงียบ เงียบ เงียบ แล้วก็ตั้งใจฟัง ฟัง ฟัง ฟังให้เข้าใจ เข้าใจ เข้าใจ ก็เป็นการศึกษา ศึกษา พร้อมกันไปในตัว ก็ได้บุญได้กุศล ถ้ามาพูดให้หนวกหูรำคาญ มันไม่ได้แล้วมันจะได้ตรงกันข้าม คือมันได้อกุศลหรือได้บาป ก็ช่วยกัน บอกกัน ตักเตือนกันว่าในขณะที่ประกอบพิธีอย่างนี้นั้นจะต้องช่วยกันรักษาความสงบ เพื่อตัวเองจะได้ยิน ได้ฟัง จะได้ศึกษา (กระแอม)จะได้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องไปตามสมควรด้วย เขาจึงพูดว่ามาบวชพระบวชเณรน่ะมาร่วม ไม่ใช่มาร่วมการบวชพระบวชเณรให้ได้บุญ ได้กุศล ได้อานิสงส์ (กระแอม)ท่านจะได้บุญ ได้กุศล ได้อานิสงส์ก็ต่อเมื่อทำอย่างที่ว่า ทำความเข้าใจ ศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้องด้วยกัน เหมือนกับผู้บวชเองนั้น และก็จะใกล้ชิดพระศาสนายิ่งขึ้น ญาติโยมทั้งหลายจะใกล้ชิดพระศาสนายิ่งขึ้น จะมีสัมมาทิฏฐิมากขึ้น ๆ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จะมีศรัทธาในพระศาสนาเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจของสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นั่นล่ะอานิสงส์ที่แท้จริงที่ควรจะได้..(กระแอม)
(ผู้บรรพชา เปล่งวาจาขอสรณะและศีล)
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
(คณะสงฆ์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตาม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ - ๓ จบ
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ - ๓ จบ)
(เสียงคณะสงฆ์ รับด้วยผู้บรรพชา)
ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ (อามะ ภันเต)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ( พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ )
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ( ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ )
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ( สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ )
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ( ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ )
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ( ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ )
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ( ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ )
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ( ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ )
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ( ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ )
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ( ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ )
ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ( อามะ ภันเต )
ปาณาติปาตา เวรมณี (ปาณาติปาตา เวรมณี)
อทินนาทานา เวรมณี (อทินนาทานา เวรมณี)
อะพรหมจริยา เวรมณี (อะพรหมจริยา เวรมณี)
มุสาวาทา เวรมณี (มุสาวาทา เวรมณี)
สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี (สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี)
วิกาละโภชนา เวรมณี (วิกาละโภชนา เวรมณี)
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี (นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี)
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี (มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะ
วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี (อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี)
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี (ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ
สมาทิยามิ อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ )
(39:05 เสียงท่านพุทธทาส)
(สำเนียงใต้)... ว่าพร้อมกัน ว่ามิ นะไม่ต้อง ว่ามะ เพราะมันไม่ผูกพัน ขอให้เข้าใจว่าเราพูดกันเฉพาะคน ๆ ไม่ได้รวม ๓ คน เราพูดคนเดียวเองนะ ไม่ผูกพัน
(เสียงผู้บรรพชา)
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
(เสียงท่านพุทธทาส รับด้วยผู้บรรพชา)
ปะฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
ปะฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
ปะฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
(เสียงผู้บรรพชา)
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
(เสียงท่านพุทธทาส)
เธอทั้งหลายเป็นผู้มีนิสสัย(?40:30 เขียนตามที่ได้ยินท่านออกเสียง)อันได้แล้วตามระเบียบวินัย คือมีการถืออุปัชฌายะแล้ว จึงจะขออุปสมบทได้ ถ้าไม่มีอุปัชฌายะก็ขออุปสมบทไม่ได้ ที่นี้การถือนิสสัยนี้คือทำให้มี การถืออุปัชฌายะ เราจึงสามารถที่จะขออุปสมบทต่อไป ใจความสำคัญของการถือนิสสัยคือการผูกพันซึ่งกันและกัน อุปัชฌายะ มีหน้าที่ที่จะดูแลความปลอดภัย ความถูกต้อง ให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาเพราะว่าเป็นผู้รับประกันต่อสงฆ์โดยพฤตินัยโดยนิตินัย ว่าจะดูแลเธอทั้งหลายให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ไม่ทำลายสงฆ์ แล้วก็เธอทั้งหลายก็มีหน้าที่ที่จะสนองความประสงค์อันนั้นให้เป็นไปตามนั้น แล้วก็ผูกพันกันในการที่จะช่วย..เหลือซึ่งกันและกันในความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ความเป็นสุข นี่เรียกว่า(กระแอม)ถือนิสสัย (กระแอม)จะต้องถือนิสสัยตามบทสิกขาบทของการถือนิสสัยอย่างอื่น (กระแอม)ซึ่งจะได้ศึกษาต่อไป แต่รวมความว่าทำตนให้อยู่ในการคุ้มครอง ให้อยู่ในสายตาของอุปัชฌายะ อย่าให้เกิดการผิดพลาดขึ้นมาได้ ถ้าจะต้องห่างออกไปต้องขออนุญาต ต้องบอกให้รู้อย่างนี้ เป็นต้น นี่เรียกว่าถือนิสสัย
(กระแอม) บัดนี้ก็มีการถือนิสสัยแล้วเป็นผู้มีนิสสัยแล้ว (กระแอม)ก็จะต้องมีการศึกษา เกี่ยวกับบางอย่าง (กระแอม)เนื่องด้วยกรรมวาจา คือจะต้องรู้จักชื่อของตนเองโดยภาษาบาลี (กระแอม)ชื่อของอุปัชฌายะโดยภาษาบาลี เพราะในการสวดประกาศนั้นใช้ภาษาบาลีไม่ใช้ภาษาไทย
สามเณรสุธรรม มีชื่อโดยภาษาบาลีว่า สุธัมโม
สามเณรศรีศักดิ์ มีชื่อโดยภาษาบาลีว่า สิริสักโข
สามเณรปัญญาพร มีชื่อโดยภาษาบาลีว่า ปัญญาภะระโน ไม่ใช่ภา ปัญญาภะระโน
ฉะนั้นจงจำชื่อของตนไว้ว่ามีชื่อโดยภาษาบาลีอย่างนี้ ในการสวดกรรมวาจาก็ต้องออกชื่อเหล่านี้ และเราต้องรู้ว่าหมายถึงเรา อุปัชฌายะมีชื่อโดยภาษาบาลีว่า อินทปัญโญ ต้องรู้ไว้สำหรับตอบคำถาม และเมื่อฟังสวดก็จะรู้ว่าเขาพูดถึงใคร เขาเล็งถึงใคร เขาหมายถึงใคร นี่ก็จะต้องรู้จักชื่อโดยภาษาบาลีของคำว่าบาตรปัตโต(43.57) อุตตะราสังโค จีวร สังฆาฏิ สังฆาฏิ อุตตะราสังโค อันตะระวาสะโก ก็เป็นสิ่งที่จะต้องทำพิธีกรรม เช่นการอธิษฐานเป็นต้นโดยภาษาบาลี ฉะนั้นจึงต้องบอกชื่อโดยภาษาบาลี สอนซ้อมเป็นภาษาบาลี ซึ่งจะได้ดำเนินการต่อไป
(44:32 เสียงคณะสงฆ์ รับด้วยผู้บรรพชา)
อะยันเต ปัตโต (อามะ ภันเต)
อะยัง สังฆาฏิ (อามะ ภันเต)
อะยัง อุตตะราสังโค (อามะ ภันเต)
อะยัง อันตะระวาสะโก (อามะ ภันเต)
คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
(คั่นด้วย..เสียงพูดเบา ๆ ไม่เข้าไมค์)
อะยันเต ปัตโต (อามะ ภันเต)
อะยัง สังฆาฏิ (อามะ ภันเต)
อะยัง อุตตะราสังโค (อามะ ภันเต)
อะยัง อันตะระวาสะโก (อามะ ภันเต)
คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
(คั่นด้วย..เสียงพูดเบา ๆ ไม่เข้าไมค์)
(เสียงคณะสงฆ์) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
(46.27 – 48.50 เสียงคณะสงฆ์)
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สุธัมโมจะ สิริสักโขจะ ปัญญาภะระโนจะ, อายัสมะโต อินทปัญญัสสะ
อุปะสัมปะทาเปกขา, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, อะหัง สุธัมมัญจะ สิริสักขัญจะ ปัญญาภะระนัญจะ
อะนุสาเสยยัง,
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, สุธัมโมจะ สิริสักโขจะ ปัญญาภะระโนจะ, อายัสมะโต อินทปัญญัสสะ
อุปะสัมปะทาเปกขา, อะนุสิฏฐา เต มะยา , ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สุธัมโมจะ สิริสักโขจะ ปัญญาภะระโนจะ , อาคัจเฉยยุง , อาคัจฉะถะ
(เสียงผู้บรรพชา)
สังฆัมภันเต , อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปายทายะ
ทุติยัมปิ ภันเต , สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต , สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ , อุลลุมปะตุ มัง ภันเต , สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(เสียงท่านพุทธทาส)
(กระแอม) (สำเนียงใต้)..ทับ(? 48:54 )กันเลยก็ได้ จะได้นั่ง จะได้นั่ง เข้ามาให้ได้หัตถบาสเสียเลย ให้ได้หัตถบาสเสียเลย
(สำเนียงใต้) ขอเผดียงให้พระสงฆ์ใช้สิทธิของตนของตนในการที่จะรับอุปสัมปทาเปกข์เหล่านี้หรือไม่
(เสียงท่านพุทธทาส)
อิทานิ โข อาวุโส อะยัญ จะ สุธัมโม นามะ สามะเณโร ,
อะยัญ จะ สิริสักโข นามะ สามะเณโร , อะยัญ จะ ปัญญาภะระโน นามะ สามะเณโร,
มะมะ อุปะสัมปะทาเปกขา อุปะสัมปะทัง อากังขะมานา, สังฆัง ยาจะติ,
อะหัง สัพพะมิมัง สังฆัง อัชเฌสามิ, สาธาวุโส สัพโพยัง
สังโฆ, อิมัญจะ สุธัมมัง นามะ สามะเณรัง, อิมัญจะ สิริสิกขัง นามะ สามะเณรัง
อิมัญจะ ปัญญาภะระนัง นามะ สามะเณรัง , อันตะรานิเก ธัมเม ปุจฉิตวา,
ตัตถะ ปัตตะกัลลตัง ญัตวา, ญัตติจะตุตเถนะ กัมเมนะ อะกุปเปนะ
ฐานาระเหนะ อุปะสัมปาเทมาติ, กัมมะสันนิฏฐานัง กะโรตุ,
(เสียงคณะสงฆ์) (สาธุ , ภัณเต)
(50.38 - 51.38 เสียงคณะสงฆ์) ภุมมา ภุมเม ภันเต สังโฆ อะยันจะ สุธัมโม อะยันจะ สิระสักโข อะยันจะ ปัญญาภะระโน อายัสสะมะโต อินทปัญญัสสะ อุปสัมปทาเปกขา ยะทิสังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง อาหัง สุธัมมัญจะ สิระสักขันจะ ปัญญาภะระนันจะ อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง , สุณะสิสุธัมมะ สุณะสิสิริสักขะ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล ยัง ชาตัง ตัง ปุจฉามิ สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง สันติ เต เอวะรูปา อาพาธา
(51:40 เสียงคณะสงฆ์ รับด้วยผู้บรรพชา)
กุฏฐัง (นัตถิ ภันเต)
คัณโฑ (นัตถิ ภันเต)
กิลาโส (นัตถิ ภันเต)
โสโส (นัตถิ ภันเต)
อะปะมาโร (นัตถิ ภันเต)
มะนุสโสสิ (อามะ ภันเต)
ปุริโสสิ (อามะ ภันเต)
ภุชิสโสสิ (อามะ ภันเต)
อะนะโณสิ (อามะ ภันเต)
นะสิ ราชะภะโฏ (อามะ ภันเต)
อะนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ (อามะ ภันเต)
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ (อามะ ภันเต)
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (อามะ ภันเต)
กินนาโมสิ (อะหัง ภันเต สุธัมโม นามะ) กินนาโมสิ (อะหัง ภันเต สิริสักโข นามะ)
โก นามะ เต อุปัชฌาโย (อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา.. [ติดขัดก่อนเริ่มใหม่] อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา อินทปัญโญ นามะ)
โสนาสิ ปัญญาภะระนะ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล, ยัง ชาตัง ตัง ปุจฉามิ สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง สันติ เต เอวะรูปา อาพาธา
กุฏฐัง (นัตถิ ภันเต)
คัณโฑ (นัตถิ ภันเต)
กิลาโส (นัตถิ ภันเต)
โสโส (นัตถิ ภันเต)
อะปะมาโร (นัตถิ ภันเต)
มะนุสโสสิ (อามะ ภันเต)
ปุริโสสิ (อามะ ภันเต)
ภุชิสโสสิ (อามะ ภันเต)
อะนะโณสิ (อามะ ภันเต)
นะสิ ราชะภะโฏ (อามะ ภันเต)
อะนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ (อามะ ภันเต)
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ (อามะ ภันเต)
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (อามะ ภันเต)
กินนาโมสิ (อะหัง ภันเต ปัญญาภะระโน นามะ )
โก นามะ เต อุปัชฌาโย (อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา อินทปัญโญ นามะ)
(54.32 –เสียงคณะสงฆ์)
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัญจะ สุธัมโม อะยัญจะ สิริสักโข อะยัญจะ ปัญญาภะระโน อายัสสะมะโต อินทปัญญัสสะ อุปะสัมปทาเปกขา อะนุสสิขา... ปะริสุทธา(เสียงท่านพุทธทาส) ปะริสุทธา อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ,
ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง,
สุธัมโม จะ สิริสักโข จะ ปัญญาภะระโน จะ สังฆัง
อุปะสัมปะทัง ยาจันติ อายัสมะตา อินทะปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ
ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง
สังโฆ สุธัมมัญ จะ สิริสักขัญ จะ ปัญญาภะระนัญ จะ
อุปะสัมปาเทยยะ อายัสมะตา..(ติดขัดนิดหน่อย)... อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ เอสา ญัตติ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ
อะยัญจะ สุธัมโม อะยัญจะ สิริสักโข อะยัญจะ ปัญญาภะระโน
อายัสมะโต อินทปัญญัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา
ปะริสุทธาอันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง สุธัมโม จะ สิริสักโข จะ ปัญญาภะระโน จะ
สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ
อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ
สังโฆ สุธัมมัญ จะ สิริสักขัญ จะ ปัญญาภะระนัญ จะ
อุปะสัมปาเทติ อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ
สุธัมมัสสะ จะ สิริสักขัสสะ จะ ปัญญาภะระนัสสะ จะ อุปะสัมปะทา
อายัสมะตา อินทะปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ
โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โส ภาเสยยะ
ทุติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ
อะยัญจะ สุธัมโม อะยัญจะ สิริสักโข อะยัญจะ ปัญญาภะระโน
อายัสมะโต อินทะปัญญัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา
ปะริสสุทธัง ปะรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง
สุธัมโม จะ สิริสักโข จะ ปัญญาภะระโน จะ สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ สังโฆ สุธัมมัญ จะ สิริสักขัญ จะ ปัญญาภะระนัญ จะ
อุปะสัมปาเทติ อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ
สุธัมมัสสะ จะ สิริสักขัสสะ จะ ปัญญาภะระนัสสะ จะ อุปะสัมปะทา
อายัสมะตา อินทะปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โส ภาเสยยะ
ตะติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ
อะยัญจะ สุธัมโม อะยัญจะ สิริสักโข อะยัญจะ ปัญญาภะระโน อายัสมะโต อินทปัญญัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา
ปะริสุทธาอันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะจีวะรัง
สุธัมโม จะ สิริสักโข จะ ปัญญาภะระโน จะ สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ สังโฆ สุธัมมัญ จะ สิริสักขัญ จะ ปัญญาภะระนัญ จะ
อุปะสัมปาเทติ อายัสมะตา อินทะปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ สุธัมมัสสะ จะ สิริสักขัสสะ จะ ปัญญาภะระนัสสะ จะ อุปะสัมปะทา
อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ
โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โส ภาเสยยะ
อุปะสัมปันนา สังเฆนะ
สุธัมโม จะ สิริสักโข จะ ปัญญาภะระโน จะ
อายัสมะตา อินทปัญเญนะ อุปัชฌาเยนะ ขะมะติ สังฆัสสะ
ตัสมา ตุณหิ เอวะเมตัง ธาระยามิ
(คั่นด้วย..เสียงพูดเบา ๆ ไม่เข้าไมค์)
(เสียงท่านพุทธทาส) (1:02:20) กราบ..บาตรต่อ
เธอทั้งหลายได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ในเฉพาะหน้าพระสงฆ์ผู้ประชุมกัน ในนามของพระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ขอให้เข้าใจว่าพระสงฆ์ที่ไม่กี่องค์นี้ที่มานั่งประชุมกันอยู่นี้ ประชุมกันในนามของพระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาตามวินัย ก็เป็นอันว่า..เธอเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดนี้รับเข้ามาในนามของพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา นี่พึงรู้ความหมายของสังฆกรรมว่าเป็นอย่างนี้ ทีนี่ก็ต่อไปนี้ก็มีหน้าที่ที่ว่า จะต้องประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง การเป็นภิกษุโดยวินัย..โดยวินัยบัญญัติดูที่วิธีกรรมนั้นเสร็จไปแล้ว เป็นภิกษุโดยวินัยแล้ว แต่ว่าต่อไปนี้ยังจะต้องเป็นภิกษุโดยธรรมะ คือ ปฏิบัติธรรมะ ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์แก่การดับทุกข์ ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ นั่นละบรรพชา อุปสมบทเสร็จไปแล้ว แต่ว่ากิจที่จะต้องทำนั้น เอ่อ,สำหรับการบรรพชานั้นยังมีอยู่ต่อไป นั่นคือปฏิบัติละกิเลสเรื่อยไปจนกว่าจะหมด จนกว่าจะจบพรหมจรรย์
นี่เบื้องต้นท่านให้ สอนเรื่องนิสัย เรื่องกรณียกิจเป็นข้อแรก ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในฐานะที่ต้องอาศัย ในฐานะที่ทำไม่ได้ ใช้ตั้งใจฟังให้ดี
(01.05.08 – 01.05.33 ) ภาษาบาลี อนุญญาภิกโข................................................................
(สำเนียงใต้) บรรพชาอาศัยก้อนข้าวที่ได้ด้วยลำแข้ง คือว่าขอทานนั่นเอง แต่..แต่ขออาหารด้วยลำแข้ง ให้ถือเป็นพื้นฐาน ที่ต้องเนี่ยมีเป็นพื้นฐาน ส่วนอดิเรก(? 1:05:50) เป็นพิเศษจะว่าสังฆทาน ทานต่าง ๆ แต่ถวายกันเป็นพิเศษแล้วนั่นเป็นของแฝง(? 1:05:57) เป็นของพิเศษไม่ใช่พื้นฐาน ตั้งใจอาศัยพื้นฐาน คือการขออาหารด้วยลำแข้งเหมือนกับคนขอทาน
(01.06.12 – 01.06.24 ) ภาษาบาลี บังสุกุล.............................................................
(สำเนียงใต้) ชีวิตบรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เปื้อนฝุ่น ที่ทิ้งอยู่ตามที่..ที่ทิ้งต่าง ๆ เอามาทำเป็นจีวร อาเป็นจีวร อาศัยนี้เป็นจีวรพื้นฐาน ที่ต้องมีโดยพื้นฐาน ไปขวนขวาย(? 1:06:45)ไป เอ่อ, จีวรพื้นฐาน แต่ถ้าว่ามีพิเศษ คหบดีจีวรถวาย(? 1:06:52) ทำด้วยผ้า ผ้าฝ้ายเป็นต้น นั่นน่ะก็รับได้เหมือนกัน แต่อย่าให้ถือว่าเป็นพื้นฐาน โดยพื้นฐานแท้จริงอยู่ต้องอาศัยผ้าบังสุกุล
(01.07.05 – 01.07.19 ) ภาษาบาลี รุกขมูละเส.....................................................
(สำเนียงใต้) บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นที่อยู่เป็นพื้นฐาน ให้พยายามเสพครบเสนาสนะเห็นปานนั้น(? 1:07:25)กันตลอดชีวิตของบรรพชา แต่ถ้ามีพิเศษเป็นวิหารเป็นต้นก็มี อยู่กุฏิวิหารกัน ก็รับได้เหมือนกัน แต่รู้ว่าในฐานะมันพิเศษไม่ใช่พื้นฐาน
(01.07.45 – 01.07.58 ) ภาษาบาลี พูทิมูตะ?? ....................................................................
(สำเนียงใต้) บรรพชาก็ยากจะรู้(? 1:07:58) คือเภสัช คือประกอบ, ประกอบกันด้วยน้ำมูตร น้ำมูตรเน่า นี่เป็นพื้นฐาน หวังในเภสัชเห็นปานนี้(? 1:08:08) เป็นพื้นฐาน เพราะถ้ามันมีหยูกยาอย่างอื่นเยอะ ไม่ใช่นี้..ไม่ใช่ ไม่ใช่น้ำมูตรเน่านี่ก็รับได้ในฐานะพิเศษ จะไม่ใช้ในคนเป็นต้น หรือหยูกยาปัจจุบันเป็นต้น (กระแอม) นี่เรียกว่า เอ่อ, กรณี เรียกว่านิสัยที่จะต้องอาศัย ๔ ประการ ทีนี้ก็พระกรณียกิจ
(01.08.40 – 01.09.19 ) ภาษาบาลี อุปะสัมปะเน ...............................................................
(สำเนียงใต้) ผู้ใดอุปสมบทแล้วไม่พึงประกอบเมถุนธรรม แม้ในสัตว์เดรัจฉาน ถ้าประกอบเดี๋ยวหมดความเป็นภิกษุ เปรียบเหมือนบุรุษมีศีรษะอันขาดแล้ว ไม่อาจจะมีชีวิตได้ด้วยร่างกายอันนั้นอีกต่อไป ไม่พึงทำตลอดชีวิตของบรรพชาอุปสมบท
(01.09.43 – 01.10.17 ) ภาษาบาลี อุปะสัมปะเน...................................................................
(สำเนียงใต้) ผู้ใดอุปสมบทแล้วไม่พึงประกอบอทินนาทาน คือถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้ แม้ที่สุดแต่หญ้าสักกำมือเดียว ภิกษุกระทำอทินนาทาน ทั้งมีมูลค่าบาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาทก็ดี เทียบเท่ากับบาทก็ดี ย่อมไม่มีความเป็นภิกษุ เหมือนใบไม้เหลืองหล่นจากต้นแล้วไม่อาจจะกลับเป็นใบไม้เขียวได้ฉันใดก็ฉันนั้น ไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิตของบรรพชา
(01.10.50 – 01.11.10 ) ภาษาบาลี อุปะสัมปะเน ...................................................................
(สำเนียงใต้) ผู้ใดอุปสมบทแล้วไม่พึงกระทำ การ..ห้ามทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง คือมนุษย์ แม้ที่สุดแต่มดดำมดแดง ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย แม้แต่สัตว์ในครรภ์ก็ย่อมไม่มีความเป็นภิกษุ เหมือนกับใบไม้ เหมือนกับ เอ่อ, (มีเสียงแนะขึ้น "หิน") หิน แบ่งครึ่งหักเป็น ๒ ก้อน ๒ ท่อนแล้วไม่อาจจะกลับเป็นก้อนเดียวดังเดิม คือไม่พึงกระทำซึ่งตลอดชีวิต
(01.11.47 – 01.12.28 ) ภาษาบาลี อุปะสัมปะเน ...................................................................
(สำเนียงใต้) ผู้ใดอุปสมบทแล้วไม่พึงอวดอุตริมนุษธรรม คือธรรมเกิน ยิ่งกว่ามนุษย์..มนุษย์ธรรมดาจะพึงมี แม้ที่สุดแต่จะอวดเพียงว่าเราเป็นผู้ชอบเสนาสนะสงัดแลนี้(? 1:12:43) ก็ยังไม่ควรจะอวด ภิกษุอาศัย ปรารถนาไม่ถูกต้อง อวดอุตริมนุษธรรมว่าบรรลุ สมาธิสมาบัติ บรรลุฌาน มรรคผล เป็นต้น ย่อมหมดความเป็นภิกษุ เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดที่ยอดคอนั้นแล้วย่อมไม่อาจจะงอกงามได้อีกต่อไปฉันใดก็ฉันนั้นจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
ทีนี้ก็อานิสงส์ของไตรสิกขา เป็นผู้ที่บวขแล้วจะต้องสมาทานจะต้องศึกษา
(01.13.22 – 01.14.17) ภาษาบาลี อะเนกะ....................................................................
(สำเนียงใต้) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เอ่อ,...ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ตรัสรู้โดยชอบได้กล่าวไว้ โดยปริยายเป็นอันมาก(? 1:14:25) ในเรื่องศีล ในเรื่องสมาธิ ในเรื่องปัญญา ทั้งนั้นทั้งนี้ก็เพื่อจะตัดเสีย เอ่อ,ซึ่งจะตัดเสียซึ่ง สิ่งอันไม่พึงมีอยู่ ความมึนเมาในวัฏฏะ ใน..เอ่อ,ในความ เอ่อ, และเป็นไปเพื่อศีลทั้ง๕ และเป็นไปเพื่อนิโรธ เป็นไปเพื่อวิราคะ เป็นไปเพื่อนิโรธเป็นไปเพื่อนิพพาน เพื่อจะตัดเสียสิ่งควรตัด มีความมัวเมาใน...ความหลง และก็เพื่อทำให้แจ้งในสิ่งที่ควรจะทำให้แจ้ง มีพระนิพพานเป็นต้น
(สำเนียงใต้) เธอได้บวชแล้วในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ จงมีความเคารพเอื้อเฟื้อหนักแน่นในอธิศีลสิกขา ในอธิจิตสิกขา ในอธิปัญญาสิกขา แล้วเป็นผู้ถึงความเจริญงอกงามอยู่ในพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา ตลอดทุกทิพาราตรีกาลเถิด
(สำเนียงใต้) การบรรพชาอุปสมบทได้ถึงที่สุดแล้ว เธอจงกำหนดตนว่าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าได้เผลอ อย่าได้สติ อย่าได้ลืมตัว ไม่ว่าค่ำมืดกลางคืน เอามือลูบศีรษะดู ว่ามันมีศีรษะคืออย่างนี้ก็จะรู้, รู้สึกได้ว่า เป็นพระแล้ว เป็นพระแล้ว เดี๋ยวแรกบวชใหม่ ๆ ลืมหลับ นอนหลับแล้วมืด ลืมตัว จะลืมความเป็นภิกษุของตัว แนะนำว่าเอามือลูบหัวรู้ทันที รู้สึกทันที ก็จะพึงมีสติสัมปชัญญะ ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์อานิสงส์ ๓ ประการดังที่กล่าวมาแล้ว แล้วเป็นผู้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ
(เสียงผู้บรรพชา) (สาธุ)
ต่อไปนี้จะอนุโมทนา ญาติโยมทั้งหลายฟังอนุโมทนา หรือที่เรียกว่า รับพร ผู้บวชใหม่ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลที่ได้กระทำในวันนี้ แก่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น เป็นประธานแล้วให้ ออกไป ออกไปจนถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไม่ยกเว้น สัตว์ใด ๆ นี่ก็เรียกว่า เอ่อ,แผ่ส่วนกุศล ขอให้ตั้งใจอย่างนั้น แต่อย่าลืมว่าการบวชนี้เป็นการสืบอายุพระศาสนาไว้สำหรับคนทุกคนในโลก ตลอดกาลนาน
(เสียงท่านพุทธทาส)
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ
(คณะสงฆ์รับ)
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง