แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปทายะ
(เสียงท่านพุทธทาส) ต่อไปนี้ขอความร่วมมือท่านทั้งหลายช่วยกันเงียบ ช่วยกันตั้งอกตั้งใจฟัง เพื่อเป็นกุศลแก่ผู้ที่มาร่วมการกุศลอีกส่วนหนึ่งด้วย ก็เพื่อให้เจ้านาคเขาไม่ฟุ้งซ่านด้วย จึงได้ขอร้องความสงบ ทีนี้สำหรับเจ้านาคผู้หวังจะบวชสมควรที่จะทำความรู้สึกในใจให้เหมาะสมกับการที่จะบวชจะได้สำเร็จประโยชน์เต็มที่ คือว่าให้เข้าใจในคำที่กล่าวไป แล้วก็ทำในใจไปตามนั้นด้วยเพื่อให้จิตใจของเราค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามคำที่อธิบายให้ฟังด้วย จึงต้องการความมีจิตใจที่ ที่เหมาะสมอยู่มากขอให้เตรียมตัว
บัดนี้เธอทั้งหลายมีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทก็ได้กล่าวคำที่แสดงความประสงค์ว่าใคร่จะบวชเพราะมีศรัทธา ก็ถือเอาพระพุทธเจ้าพร้อมทั้ง พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ แล้วก็แสดงความใคร่จะบวชอุทิศต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น นี่ได้กล่าวอย่างนี้ ๓ ครั้ง โดยส่วนตน แต่ละคน ๆ และก็ได้กล่าวขอบรรพชาโดยตรงว่าจง ขอจงทำการบรรพชาให้แก่ข้าพเจ้าด้วยผ้ากาสายะเหล่านี้ ด้วยความเมตตากรุณาและได้กล่าวอีกคนละ ๓ ครั้ง แม้จะกล่าวด้วยคำภาษาบาลีเพี้ยนไปบางคำ ก็เป็นอันว่า รู้กันว่าเธอกล่าวคำอะไร หมายความว่าอย่างไร สรุปแล้วก็ได้ใจความอย่างที่กล่าวนี้ เมื่อเราแสดงความประสงค์จะบวชอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วก็ขอบรรพชาโดยตรง จงรับรู้คำกล่าวที่ได้กล่าวไปแล้ว ยืนยันถ้อยคำเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา อยู่ในใจของเราทำอย่างนี้ เป็นการเสนอความประสงค์และคำขอเพื่อจะได้
ทีนี้เมื่อมีการขอบรรพชา ก็ควรจะแจ่มแจ้งอยู่ในใจด้วยว่าบรรพชาที่ขอนั้นคืออะไร บางคนก็ทราบ บางคนก็ยังไม่ทราบหรือทราบแต่สลัว ๆ หรือว่าลืมไปก็มี ฉะนั้นจึงต้องขอโอกาสพูดกันอีกทีหนึ่งว่าบรรพชานั้นคืออะไร บรรพชาโดยตัวหนังสือธรรมนี้ ก็แปลว่าไปหมด เว้นหมด เว้นหมด ไปหมดจากอะไร ก็จากเพศฆราวาส แล้วก็เว้นจากข้อศึกษาบทที่มีไว้สำหรับให้เว้นทุกอย่างทุกประการเพื่อความเป็นนักบวช ตัวหนังสือแปลว่าอย่างนี้ ทีนี้ความหมาย ก็คือว่า มีการปฏิบัติระบบหนึ่งที่ได้จัดไว้ ได้ทรงบัญญัติไว้โดยพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบุคคลปฏิบัติตามนั้นแล้วก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในจิตใจ นิสัย สันดาน คือเป็นการ ขูดเกลากิเลส ขูดเกลาความเคยชินในการเกิดกิเลส ถ้าเรารับปฏิบัติตามระเบียบนั้นแล้ว มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ ฉะนั้นขอให้ตั้งใจทำให้ดี ให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่านั้นจริง ๆ นับตั้งแต่ว่า เว้นหมดจากความเป็นฆราวาส นี้ก็ต้องขอเน้นสักหน่อย แล้วขอให้เป็นการเว้นกันจริง ๆ เมื่อบวชแล้วก็อย่าได้มีอะไรที่ยังเหมือนกับฆราวาส โดยเฉพาะเรื่องเล่น เรื่องหัว เรื่องการพูดจา การหยอกล้อซึ่งมักจะอดกันไม่ได้ เราจะต้องตัดสินใจปักใจลงไปเด็ดขาดว่าจะเว้นหมด จากความเป็นฆราวาส นับตั้งแต่การแต่งเนื้อแต่งตัวอย่างฆราวาส กริยาท่าทางอย่างฆราวาส พูดจาอย่างฆราวาส คิดนึกใฝ่ฝันอย่างฆราวาส ต้องเป็นอันว่าเว้นกันหมด เมื่อได้ตั้งใจว่าจะบวชแล้วก็ขอให้มันบวชจริง ๆ ที่ตรงนี้ตลอดเวลาที่บวชอยู่ เรียกว่า ภายนอกโดยส่วนใหญ่ก็เว้นจากความเป็นฆราวาส ทีนี้สำหรับข้อปฏิบัติที่ควรเว้นต่อไปต่าง ๆ นั้น ก็จะค่อย ๆ ศึกษากันต่อไป ซึ่งข้อปฏิบัติเหล่านั้น หรือรวมกันกับการเว้นจากความเป็นฆราวาสนี้ก็ดีจะต้องเป็นไปเพื่อความขูดเกลาหรือว่าขัดเกลา คนเรามีความเคยชิน มีนิสัยสันดานที่เป็นฆราวาส มันก็ต้องขูดเกลา มันก็มีความเจ็บเป็นธรรมดา เสร็จแล้วยังมีขัดเกลาให้สวยให้งามให้เกลี้ยงให้เกลาอะไรต่อไปอีก ก็เรียกว่าทั้งขูดเกลาและทั้งขัดเกลา ถ้าจะบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ก็ต้องยอมรับการขูดเกลาหรือขัดเกลาจากสิ่งที่เรียกว่าพรหมจรรย์ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงบัญญัติไว้ว่ามันเป็นอย่างนี้ มันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฉะนั้นอย่าได้ทำเล่น อย่าได้หลอกตัวเอง อย่าได้หลอกผู้อื่น อย่าได้หลอกญาติโยมทั้งหลายว่าเราบวชแล้วก็ไม่ทำจริง เพราะไม่ยอมรับการขูดเกลา จะต้องยอมทนที่จะเรียกว่าความเจ็บปวดก็ได้ เช่นหิวก็มา ทั้งยังกินไม่ได้ นอกเวลาก็กินไม่ได้ อยากเล่นอยากหัวขึ้นมา ก็เล่นหัวไม่ได้ อยากจะดูนั่น ดูนี่ ทำนั่น ทำนี่ ซึ่งมันไม่สมควรแต่มันอยากเต็มที่นี้ก็ต้องเว้นแม้จะรู้สึกเจ็บปวด ก็ต้องอดทน นี่ท่านจึงกล่าวว่าการอดทนมันเป็นกำลังของผู้ประพฤติพรต บำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ ไม่มีอย่างอื่น ถ้าว่าไม่มีความอดทนก็คือหมดกำลังแล้วก็ล้มละลาย ฉะนั้นเราต้องบังคับตัวเอง บีบคั้นตัวเองให้อดกลั้น อดทนต่อการที่กิเลสมันบีบคั้นเรา เราละจากความเป็นฆราวาสมาใหม่ ๆ ยังมีกิเลสไม่หมด มันก็บีบคั้นเราไปตามทางของกิเลส เรื่องกิน เรื่องเล่น เรื่องหัว เรื่องตามใจตนเอง แม้ที่สุดแต่เรื่องละการสูบบุหรี่ที่ได้เว้นมาหยก ๆ นี้ ถ้ามันเกิดหิวขึ้นมา เกิดยั่วขึ้นมา มันก็ต้องบีบคั้นตัวเองไม่ให้ไปทำเข้าเลยอดทนได้ การเป็นพระมันก็มี ถูกต้องผ่องใส ก็มันมีการบีบคั้นตัวเองอยู่ อดทนได้อยู่ นี่เรื่องอื่น ๆ ที่มันยิ่งไปกว่าเรื่องสูบบุหรี่นั้นมันยังมีอีกมาก ฉะนั้นถ้าเรื่องอย่างเล็ก ๆ ขนาดสูบบุหรี่ยังอดละไม่ได้ มันก็ไม่มีอะไรที่ละได้ มันเป็นคนโลเล นี้เป็นตัวอย่างที่จะต้องจำไว้สำหรับทุก ๆ เรื่อง จะต้องอดกลั้นอดทนจึงจะไม่เสียทีที่ได้บวช เพื่อให้บิดามารดาก็ได้รับความสบายใจ สรุปความว่าบรรพชานั้นคือไปหมดเว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในบุคคลนั้น เหมือนกับว่าเป็นคนคนละแบบ คนละโลก คนละชนิดเลยทีเดียว แต่ก่อนนี้ปล่อยไปตามกิเลส เดี๋ยวนี้บีบบังคับกิเลส มันก็ตรงกันข้าม
ทีนี้เพื่อที่จะให้ทนได้ ให้อดทนได้ ก็ควรจะทราบประโยชน์ ทราบอานิสงส์ของการบรรพชา และเราก็หวังที่จะได้อานิสงส์นั้นด้วย อานิสงส์มีมากจนเหลือที่จะนำมากล่าวให้หมดโดยรายละเอียด ก็กล่าวแต่ หัวข้อใหญ่หรือใจความสำคัญให้จำไว้ง่าย ๆ ว่ามีอยู่สัก ๓ ประเภทด้วยกันคืออานิสงส์ที่จะได้แก่ตัวเองนั้นประเภทหนึ่ง อานิสงส์ที่จะได้แก่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นนั้นประเภทหนึ่ง อานิสงส์ที่จะได้แก่ส่วนรวมทั้งหมดทั้งสิ้น คือทั้งพระศาสนา ทั้งโลกนี้จะพลอยได้ประโยชน์นี้ก็อีกส่วนหนึ่ง ถ้ามาคิดดูแล้ว เราคนเดียวนี้อดทน แม้อดทนจนน้ำตาไหล มันก็คุ้มกันแล้วกับประโยชน์อันมหาศาล นั่นถ้าเห็นอยู่อย่างนี้ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ อดทนได้เป็นแน่นอน ขอให้ผู้บวชทุกคน มุ่งหวังอานิสงส์เหล่านี้เป็นเป้าหมาย แล้วมันก็จะอดทนได้ แล้วเรื่องเพียงแต่ว่าจะไม่สูบบุหรี่เป็นต้นนี้ มันก็เป็นเรื่องเล็กน้อยไป ไม่มีความหมายอะไร คือ มันทนได้หรือมันเป็นไม่ต้องทนไป มันก็ละไปเองได้ นี้ส่วนเรื่องที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพานมันยิ่งกว่านี้ ขอให้หวังที่จะอดทนกันเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ คือให้เป็นว่ามันถูกต้องไปตั้งแต่นาทีหรือวินาทีแรก คือเมื่อบวชกันแล้ว ขอให้มันมีแต่ความถูกต้องเรื่อย ๆ ไปจนตลอดชีวิต หรือว่ากว่า จนกว่าจะละสิขาของภิกษุไปเป็นฆราวาสก็ให้มันเต็มไปด้วยความถูกต้อง ออกไปเป็นฆราวาสแล้วก็มีความถูกต้องอย่างฆราวาสอีก เกิดเป็นคนใหม่ มีแต่ความดี ความจริง ความถูกต้อง เอาความเหลวไหล โลเล เหลาะแหละ ไม่ถูกต้อง หรือที่เรียกว่ากิเกลสทั้งหลายนั้นออกไปเสีย การบวชมันจะมีอานิสงส์มากถึงอย่างนี้ หรือมันมีเรื่องใหญ่ เรื่องสูง เรื่องประเสริฐมากถึงอย่างนี้ นั้นอย่าได้ทำเล่นอย่าได้โลเล อย่าได้เหลาะแหละ หลุกหลิก หรือบวชเพียงสักว่าบวชหลอกคนว่าได้บวชแล้ว
ที่ว่าได้ประโยชน์แก่ตนโดยตรงนั้นก็คือว่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงขึ้นในตน ที่ไม่รู้จะรู้ขึ้นมา ที่ไม่เคยละได้ก็จะละได้ขึ้นมา ตลอดเวลามีแต่ละการบีบบังคับกิเลส ประพฤติวัดปฏิบัติทั้งหลายอยู่เป็นประจำมันก็ขูดเกลากิเลสอยู่เป็นประจำ นิสัยสันดานมันก็ค่อยเกลี้ยงเกลาขึ้นมา ยิ่งบวชนานเท่าไรมันก็ยิ่งเกลี้ยงเกลามากขึ้นเท่านั้น ถ้าผิดจากนี้แล้วก็ยิ่งบวชนานเท่าไร มันยิ่งสกปรกหมักหมมโลเลมากขึ้น มันอยู่ที่ว่าเราทำอย่างไร ถ้าเราทำถูกต้องมันก็เป็นการขูดเกลา ถ้าเราทำผิดพลาด มันก็เป็นการเพิ่มความเหลวไหลโลเลหรือเพิ่มความชั่วมากขึ้นไปอีก นั้นเป็นว่าเราได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ เพราะการประพฤติพรหมจรรย์นี้ เรียกว่าเป็นส่วนตน
ทีนี้อานิสงส์ที่ ๒ คือ อานิสงส์ที่จะได้แต่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดา เป็นต้น นี้ก็เรียกว่าบวชเพื่อสนองพระคุณของผู้มีพระคุณโดยเฉพาะเจาะจงบิดามารดาหรือผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นบิดามารดาว่าเรา เรามองเห็นว่าเรามันเกิดจากบิดามารดา เกิดเองไม่ได้ บิดามารดาให้ชีวิตมาคือให้ทั้งหมดมา จึงเป็นผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง นั้นต้องรู้ข้อนี้แล้วก็ตอบแทน จึงเห็นว่าการตอบแทนอย่างอื่นนั้นไม่มีอะไรสูงหรือประเสริฐเท่ากับการทำให้บิดามารดา เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น นี้เป็นสำนวนพูดตั้งแต่โบรมโบราณจนบัดนี้ก็ยังใช้ได้ ว่าทำให้เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นเพราะการบวชของลูกของหลาน ที่จริงบิดามารดาเขาก็เป็นญาติในพระศาสนาอยู่แล้ว แต่ถ้ามีลูกหลานได้บวชก็มีความเป็นญาติในพระศาสนาเพิ่มขึ้น หรือแม้ว่าบิดามารดาเป็นมิจฉาทิฏฐิมาก่อน ไม่เป็นญาติในพระศาสนา แต่ถ้ามีอะไรทำให้ลูกบวชก็อาจจะเปลี่ยนแปลงบิดามารดาได้ แล้วมันก็จะมีธรรมเนียมว่าลูกบวชแล้ว ก็ต้องมีการโปรดปรานบิดามารดาโดยตรงหรือโดยอ้อม ถ้าเรารู้อะไรมากกว่า ก็พูดจาให้ฟัง ชี้ทางที่ถูกต้องให้ แม้พูดอะไรไม่ได้ แต่การบวชเป็นประจักษ์พยานอยู่นี้ มันก็น้อมจิตใจของบิดามารดาไปทางของพระศาสนา โดยเพิ่มให้มีศรัทธามากขึ้น มีสัมมาทิฏฐิมากขึ้น มีอะไร ๆ ที่มันเป็นตัวธรรมะให้มันมากขึ้น มีธรรมะมากขึ้น นี้ก็เรียกว่าเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นนั้นเอง ถือว่าเป็นการสนองพระคุณยิ่งกว่าใด ๆ ยิ่งกว่าสนองพระคุณอย่างอื่น โดยวัตถุโดยเรี่ยวแรงโดยอะไรก็ตาม ไม่เท่ากับสนองโดยทางจิตหรือทางวิญญาณ ทำวิญญาณของบิดามารดาให้สูงขึ้น เพื่อให้สะอาด สว่าง สงบ ให้มากขึ้น ก็เป็นอันว่าได้สนองพระคุณ ท่านผู้มีพระคุณสุดความสามารถของเราแล้ว ก็ไม่มีที่ตำหนิอะไร ก็ได้เป็นผู้ที่มีความดีเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
นี้สำหรับอานิสงส์ประการที่ ๓ นั้น เป็นการบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา ขอให้การบวชนี้เป็นการบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา อย่าให้การบวชนี้เป็นการทำลายพระศาสนา ภิกษุสามเณรที่ประพฤติไม่ถูกต้องนั่นแหละคือผู้ทำลายพระศาสนา เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสไว้ชัด ๆ อย่างนั้น เพราะความอันตรธานแห่งพระศาสนานี้ไม่มีมาจากทางอื่นนอกจากพุทธบริษัททั้ง ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ถ้าเขาประพฤติถูกต้องมันก็อยู่ ศาสนาก็อยู่ ถ้าเขาประพฤติผิด ศาสนาก็อันตรธานไป ขอให้มองเห็นความสำคัญอย่างยิ่งว่าศาสนาจะล่มจมไปหรือจะยังอยู่ก็เพราะพวกเราผู้ที่บวชเข้ามา อย่าทำให้มันผิด ถ้าทำให้มันถูกอยู่ มันก็ยังมีอยู่ ฉะนั้นขอให้มีการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงนี้อยู่ และก็มีการสืบอายุพระศาสนาไปในตัวโดยอัตโนมัติ เราทำได้ประโยชน์เราด้วย ได้ประโยชน์ผู้อื่นด้วย และยังได้ประโยชน์แก่พระศาสนาเองด้วย ขอให้นึกให้มาก มันก็จะมองเห็นว่าได้ประโยชน์ได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก คือสืบอายุพระศาสนาไว้ในโลก ให้สัตว์โลกทั้งโลกนี้พลอยได้รับประโยชน์ นั้นอย่าได้ทำเล่น ๆ อย่าได้ทำเหลาะแหละ หลุกหลิก บวชแล้วมันก็ยังเหมือนกับไม่บวช ก็ไม่คุ้มกัน เขาเรียกว่ามันเสียผ้าเหลือง มันเสียอะไรต่าง ๆ หลายอย่าง หลายประการ ขอให้นึกไว้ว่าเพียงแต่ทำให้ดีเท่านั้น มันมีประโยชน์กว้างขวางทุกอย่างทุกทาง พอทำผิดเท่านั้นแหละ มันก็ทำลายหมดทุกอย่างทุกทาง
นี้เรียกว่า อานิสงส์ ๓ ประการที่จะพึงได้จากการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานี้ ตัวเองก็ได้ ญาติทั้งหลายก็ได้ มนุษย์ทั้งโลกก็ได้ก็ควรแล้วที่ว่าจะอดกลั้นอดทน แม้ว่าจะถึงกับน้ำตาไหลก็ต้องทนได้ เพื่อเห็นแก่พระศาสนา เห็นแก่เพื่อนมนุษย์ และเห็นตนเราเองนั้นไม่ต้องพูด เพราะมันก็เห็นอยู่แล้ว นี้เรียกว่าอานิสงส์ที่จะได้จากการบรรพชา อีกข้อหนึ่งก็คือว่า วัตถุที่ตั้ง ที่อาศัยอันแน่นแฟ้นเพื่อบรรพชา นี้เรียกว่าจะต้องมีฐานที่ตั้งด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าอะไร อย่างเราเห็นต้นไม้งอกอยู่ชั้นล่างไปในสถานที่นี้ก็เพราะมันมีที่ตั้งที่อาศัยคือแผ่นดิน ลองไม่มีแผ่นดิน ต้นไม้จะอยู่อย่างไร เมื่อเข้าใจข้อนี้แล้วก็ขอให้นึกถึงบรรพชานี้มันก็เช่นเดียว ถ้ามันไม่มีที่ตั้งที่อาศัย มันก็สลายตัวหมด ที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชาที่แท้จริงก็คือจิตใจของบุคคลนั้นเองที่ตั้งไว้ดี ตั้งไว้อย่างถูกต้อง มีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์ โดยคุณธรรมอยู่ในจิตใจนั้น นั้นต้องนึกถึงข้อที่ว่าเราบวชนี้ บวชเพื่ออุทิศ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่บวชเพื่อประโยชน์ เพื่อความสนุกสนานอะไรส่วนตัวของเรา บวชเพื่ออุทิศ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะฉะนั้นจิตใจทั้งหมดก็มอบให้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อจะปฏิบัติตามอย่างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยประการทั้งปวง สรุปแล้วก็คือให้มีจิตใจที่มุ่งหมายความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ปฏิบัติอยู่เพื่อเกิดความสะอาด ความสว่าง ความสงบนั้นแหละ เป็นตัวจิตใจที่จะเป็นเครื่องรองรับบรรพชา สรุปความสั้น ๆ ว่าจะมีจิตใจที่อุทิศต่อพระรัตนตรัยให้แน่นแฟ้นให้มั่นคงและบรรพชาจะงอก งอกงามลงไปบนจิตใจนั้นเป็นแน่นอน สรุปความแล้วก็คือว่าตั้งใจจริง อุทิศแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ชีวิตจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นนี้อุทิศแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง อย่าได้อุทิศให้แก่กิเลสเลยแม้แต่เพียงเล็กน้อย นี้เรียกว่า วัตถุ ที่ตั้ง ที่อาศัยของบรรพชา เมื่อได้ที่ตั้ง ที่อาศัยดีหรือถูกต้องอย่างนี้แล้ว บรรพชาก็จะเจริญงอกงามไปตามลำดับ คือบรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เหมือนว่าต้นไม้ที่มันได้แผ่นดินที่ดีก็เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปตามลำดับจนถึงลำดับสูงสุดจึง ฉะนั้นก็ขอให้เธอทั้งหลายรู้จักปรับปรุงให้จิตใจนี้ อยู่ในลักษณะที่เป็นที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชาอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งมุ่งหมายที่จะให้ได้อานิสงส์ ๓ ประการดังที่กล่าวมา ไม่เสียที่ได้เกิดมาแล้วได้บวชในพระพุทธศาสนา ถือเอาบรรพชานี้เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มา ซึ่งประโยชน์อันสูงสุดที่มนุษย์เราควรจะได้รับ เพียงเท่านี้ก็นับว่าเป็นการสมควรแล้ว และเป็นการสมควรแก่เวลาด้วย ที่เราจะเข้าใจเรื่องของบรรพชาก็จะได้ทำการบรรพชาต่อไป
ก็เหลือ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการเตรียมจิตใจที่ให้เหมาะกับการบรรพชายิ่งขึ้น คือการศึกษาในตจปัญจกกรรมฐาน เรื่อง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เพียง ๕ เรื่องเท่านั้น ถ้ารู้ข้อที่เราเคยประพฤติผิด กระทำผิดต่อสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นอันว่ารู้ทุกเรื่องได้ มันเหมือน ๆ กันหมด จึงเอามาพูดถึงเพียง ๕ เรื่อง คือเรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนังว่าตามธรรมชาติแท้จริงนั้นเป็นของปฏิกูล คือไม่สวย ไม่งาม เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เราก็ถูกหลอก ถูกหลอน โดยอะไรก็ไม่ต้องพูด ให้มันเห็นเป็นของสวยของงาม ประดับประดาตกแต่งไว้ อวดกันไว้ หลงใหลในสิ่งเหล่านี้ เป็นความโง่ เหมือนกับเด็กอมมือ หรือยิ่งกว่าเด็กอมมือ ถ้าพูดในทางธรรมมันเป็นความโง่เหมือนกับเด็กอมมือที่ไปหลงใหลในสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของงาม เดี๋ยวนี้จะต้องเลิกโง่อย่างเด็กอมมือนั้นเสียที รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร แล้วก็วางจิตใจไว้ให้ถูกต้อง ถ้ามีระเบียบเรื่องนี้ ก็คือให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สิ่งที่แรกที่สุดก็เรียกว่าผม โดยบาลีก็เรียกว่าเกสา ถ้าเราเคยหลงว่าสวย ว่าดีวิเศษ เคยหลงประดับประดาตกแต่งแล้ว เดี๋ยวนี้มาดูกันเสียใหม่ว่าตามธรรมชาติแท้ ๆ นั้น มันไม่ใช่ของสวยงามอะไร โดยรูปร่างของมันก็น่าเกลียด เส้นผมนี้มีรูปร่างน่าเกลียด มีสีสันวรรณะน่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด มีที่เกิดที่งอกบนหนังศรีษะ ก็เป็นที่เกิดที่งอกที่น่าเกลียด มีหน้าที่การงานคือไว้รับฝุ่นละอองบนศีรษะ นี้มันก็น่าเกลียดมีความน่าเกลียดอย่างนี้ จึงต้องเอาอะไรมาฉาบมาพรางตา ให้ดูสวยให้ดูหอม ให้มีกลิ่นหอม แล้วแต่จะโง่กันไปสักเท่าไร ถ้าเป็นฆราวาสก็ตามใจ แต่ถ้าเป็นบรรพชิตแล้วก็หยุดโง่ข้อนี้เสียก่อน พิจารณาเห็นโดยความเป็นของปฏิกูล สิ่งที่ ๒ คือขน ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่าโลมา พิจารณาอย่างเดียวกับผม คือปฏิกูลโดยรูปร่าง โดยสีสัน วรรณะ โดยกลิ่น โดยที่เกิด ที่งอก โดยหน้าที่การงาน มีอยู่ทั่วตัวสำหรับรับฝุ่นละออง หรือว่าไว้ทำหน้าที่ให้รูขน มันเป็นที่ถ่ายเทออกของความร้อนของเหงื่อ ของน้ำเหลือง มันไม่น่าเสน่หาที่ตรงไหนเลย เรื่องที่ ๓ เล็บ ซึ่งเรียกโดยภาษบาลีว่านะขา บางยุคบางสมัยก็หลงใหลกันมาก เสียเวลายิ่งกว่าเสียเวลา ฉะนั้นเราต้องรู้ว่ามันมีความเป็นปฏิกูลตามธรรมชาติ รูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดของมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานคือสำหรับ เกา ควัก จับนี้ก็น่าเกลียด ก็เลิกเลิกพยายามตกแต่งให้มันสวยมันงาม ทีนี้เรื่องที่ ๔ คือ ฟัน เรียกโดยบาลีว่าทันตา นี้เกือบจะไม่ต้องอธิบายอะไรนักว่า ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติแล้ว รูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกในเหงือกนั้นก็น่าเกลียด หน้าที่การงานสำหรับเคี้ยวบดนี้มันก็น่าเกลียด เราก็ยังหลงที่จะให้มันสวยมันหอม ไม่เอาแต่เพียงว่ามันสะอาดก็แล้วกัน สิ่งสุดท้ายที่เรียกว่าหนัง โดยภาษาบาลี เรียกว่าตะโจ ก็มีส่วนที่จะต้องพิจารณามากเป็น ๒ อย่าง คือว่านอกจากจะน่าเกลียดและยังเป็นที่ตั้งแห่งการสัมผัสสำหรับกิเลสยิ่งกว่าสิ่งใด ดูในแง่ของน่าเกลียดปฏิกูลก็คือว่า ผิวหนังนี้มันมีรูปร่างน่าเกลียด สีสีนวรรณะน่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด ที่เกิดที่งอกอยู่บนน้ำเหลืองเลือดหล่อเลี้ยงนี้มันก็น่าเกลียด และหน้าที่การงานสำหรับรับฝุ่นละอองนี้มันก็น่าเกลียด ที่ร้ายไปก็คือว่าสัมผัสทางโผฏฐัพพะนี้เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสโดยเฉพาะเรื่องระหว่างเพศ นี้ก็คืออันตราย ฉะนั้นคนจึงไม่หลงใหลบูชาเรื่องของผิวหนังหรือสัมผัสผิวหนัง พิจารณาอย่างนี้แล้ว จิตใจมันค่อยเปลี่ยนจากความหลง ความโง่ที่มีมาแต่เดิม เดิม ๆ ก็เปลี่ยนมาเห็นความสว่างแจ่มแจ้งหรือถูกต้อง นั่นแหละคือใจมันค่อยเปลี่ยนมาสู่สภาพที่เหมาะสมสำหรับจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ขอให้ทุกคนมีความเข้าใจอันนี้เห็นอย่างแจ่มแจ้งในข้อนี้ และพยายามที่จะปฏิบัติให้ตรงตามข้อนี้ ทั้งผู้ที่กำลังจะบวชและผู้ที่บวชแล้วทุกฝ่ายทุกพวกมีหน้าที่เสมอกัน ที่จะต้องทำให้ผู้นั้น ให้ตนของตนมีจิตใจเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะอยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ถ้ามันรู้จักจิตใจมันไม่เหมาะสมกับแก่การนุ่งห่มผ้ากาสายะ แล้วก็จะต้องเสียใจมาก มันเป็นเรื่องที่เสียหายร้ายกาจยิ่งกว่าสิ่งใด ในหมู่ชนผู้มีสติปัญญา ผู้รู้จักเรื่องสูง เรื่องต่ำทางจิตทางวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นความตาย เป็นความล้มละลายของความดีงาม จึงขอให้ชะล้างสิ่งที่ต้องชะล้างในขั้นแรกก่อนแต่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ คือ ความโง่หลง ในสิ่งทั้ง ๕ นี้ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง และเรื่องนอกนั้นเอ็นเนื้อกระดูกอะไรก็ตาม อาการ ๓๒ หรือมากกว่านั้นก็เรื่องอย่างเดียวกันหมด ก็ป็นอันว่าพอสำหรับที่จะปรับปรุงตนเองในขั้นต้นให้เหมาะแก่การนุ่งห่มผ้ากาสายะ แล้วก็จำไว้ปฏิบัติตลอดไปในฐานะเป็นเครื่องมือหรืออาวุธสำหรับต่อสู้ป้องกันกิเลสซึ่งจะจู่เข้ามาในโอกาสหลัง ๆ ต่อไปอีก ฉะนั้นกรรมฐาน ๕ ประการนี้ จึงสอนทั้งเมื่อแรกจะบวช และเมื่อบวชแล้วก็ใช้เป็นคู่มือสำหรับชำระจิตใจตลอดไป อย่าได้ประมาทเลย
คนสมัยใหม่นี้เขาโง่ เห็นว่าเรื่องเหล่านี้ครึคระก็ไม่สนใจ มันก็บวชไม่ได้หรือไม่อยากจะบวช หรือว่าบวชแล้วก็ไม่เป็นบวช มันก็เท่ากับไม่ได้บวช ฉะนั้นถ้าเราอยากจะให้มันเป็นการบวช ก็อย่าเห็นว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องครึคระหรือไม่มีประโยชน์หรือพ้นสมัย เล็งพิจารณาเห็นความเป็นปฏิกูลไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอัตตานี่เป็นเรื่องหัวใจที่จะทำให้เป็นพระอยู่ได้ เราก็เลยถือเอาที่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นจุดตั้งต้นสำหรับพิจารณาตลอดไป เมื่อได้เข้าใจในข้อนี้แล้วก็ขอให้จิตใจเปลี่ยนไปตามที่ว่านั้น มีความเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะต่อไปจริง ๆ
ที่ต่อไปนี้ก็จะต้องรับตจปัญจกกรรมฐานโดยภาษบาลีเพื่อการบรรพชานั้นเป็นลำดับ ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) เกสา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) เกสา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) โลมา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) โลมา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) นะขา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) นะขา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) ทันตา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) ทันตา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) ตะโจ
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) ตะโจ
(เสียงท่านพุทธทาส) นี้เป็นการว่าการลำดับ นี้ทวนลำดับคือ ตะโจ
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) ตะโจ
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) ทันตา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) ทันตา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) นะขา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) นะขา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) โลมา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) โลมา
(เสียงท่านพุทธทาสกล่าวนำ) เกสา
(เสียงผู้ชายกล่าวตาม) เกสา
(เสียงท่านพุทธทาส) ลองว่าดู
(เสียงผู้ชาย) เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
(เสียงท่านพุทธทาส) อีกที
(เสียงผู้ชาย) เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
(เสียงท่านพุทธทาส) อีกที
(เสียงผู้ชาย) เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
(เสียงท่านพุทธทาส) นี้เป็นการแสดงว่าจำได้เข้าใจและมีความปกติแห่งจิตใจในขณะนี้ มีสติสัมปัชชัญญะพอเพียงในขณะนี้ ฉะนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะทำการบรรพชา จึงจะทำการบรรพชาให้ขอให้เป็นผู้มีความเจริญในพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุก ๆ ประการเทอญ
(นาทีที่ คือ นิสัยหรือการถืออุปัชฌายะได้เป็นไปแล้ว เดี๋ยวนี้เราเป็นผู้มีนิสัยได้แล้ว มีอุปัชฌายะอันถือแล้ว พึงรู้ หน้าที่ที่จะต้องประพฤติในการมีนิสัยก่อน คือทำให้เกิดการเป็นภาระกันขึ้น ในระหว่างอุปัชฌายะกับสัทธิวิหาริก อุปัชฌายะก็มีภาระที่จะอบรมสั่งสอนคุ้มครองให้ปลอดภัย สัทธิวิหาริกก็มีภาระคือจะต้องเชื่อฟัง จะต้องปฏิบัติตามหรือต้องให้ความคุ้มครองแก่อุปัชฌายะด้วยเหมือนกัน เพื่อให้สำเร็จตามนี้ ก็จะต้องเป็นผู้อยู่ในการดูแลหรือในสายตาของอุปัชฌายะ อย่าทำอะไรโดยไม่ได้ปรึกษาก่อน ถ้าเรื่องธรรมดาที่รู้กันอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเรื่องแปลกออกไปต้องถามดูก่อนว่าควรหรือไม่ควร ผู้บวชใหม่จะไปทำอะไรอย่างนั้นอย่างนี้ จะควรหรือไม่ควร หรือความคิดที่เกิดขึ้นมาอะไรใหม่ ๆ ก็ต้องถามดูก่อนว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิหรือเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างนี้เป็นต้น ก็จะได้ให้ความปลอดภัยเกี่ยวกับการประพฤติ กระทั่งความคิดความเห็น อย่างนี้เขาเรียกว่าภาระหน้าที่ระหว่างอุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก เดี๋ยวนี้ก็เกิดหน้าที่ผูกพันที่จะต้องทำต่อกันและกัน และเธอจะต้องสำนึกตัวว่าจะต้องอยู่ในการดูแลให้ความสะดวกในการที่จะดูแลแก่การอุปัชฌายะ ให้อยู่ในสายตาที่จะดูแล หรือมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล
ทีนี้ก็มีการกล่าวปฏิญาณการมีภาระระหว่างกันเป็นภาษาบาลีตามวินัยนิยมอีกครั้งหนึ่ง คุกเข่าขึ้นว่าพร้อมกัน
(เสียงภาษาบาลี นาทีที่ 40:00) อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
กราบ
คำนี้แปลว่าตั้งแต่วันนี้เป็นไปพระเถระเป็นภาระของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นภาระของพระเถระ นี่อีกที
(เสียงพูดปักษ์ใต้ นาทีที่ 40:56) กรวดน้ำเป็นตามประเพณีขนบธรรมเนียมที่ดีและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รินน้ำให้เป็นสายเล็ก ๆ นั้นคือต้องบังคับจิตถึงสมาธิถึงจะรินได้ ด้วยจิตก็เป็นสมาธิ อุทิศส่วนกุศลย่อมมีความเป็นสำเร็จประโยชน์มากกว่า อุทิศให้ผู้ที่ใกล้คือที่ชิดที่สุด เช่น บิดามารดา เป็นต้น และจึงไปถึงญาติแค่ห่าง ๆ ถึงมิใช่ญาติ ถึงศัตรู ถึงสัตว์ทั้งหลาย ทั่วสากลจักรวาล ตามถ้อยคำที่พระอนุโมทนาว่า ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ อันมีใจว่าแบบนั้น ทำในใจชนิดนี้และขณะก็รินน้ำจนถึงขึ้น สพฺพีติโย แล้วเทหมดแล้วพนมมือรับพร
(เสียงสวดมนต์ นาทีที่ 41:53) ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว อภิวาทนสีลีสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
ตั้งใจให้พร ผู้บวชใหม่
(เสียงสวดมนต์ นาทีที่ 41:53) เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
ตั้งใจให้พรทายก ทายิกาทั้งหลาย
(เสียงสวดมนต์ นาทีที่ 44:36) อายุวัฒโก ธนวัฒโก สิริวัฒโก ยสวัฒโก พลวัฒโก วรรณวัฒโก สุขวัฒโก โหนตุสัพพทา ทุกขโรคภยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททวาอเนกาอัตรายาปิ วินัสสันตุ จ เตชสา ชีวสิทธิ ธนัง ลาภัง โสถิ ภาคยัง สุขัง พลัง สิริ อายุ จ วรรโณ จ โภคัง วุฒี จ ยสวา สัตตวษา จ อายู จ ชีวสิทธี ภวันตุ เต ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะสะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ