แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในหัวข้อธรรม ที่มันแน่นอนตายตัว ชัดเจนอยู่ในตัว เป็นข้อๆๆๆเรื่องเหมือนๆกับที่เราได้พูดกันมาแล้ว มันมีความสำคัญมาก ว่าจะช่วยตัวเองหรือว่าจะช่วยผู้อื่น มันก็ต้องอาศัยไอ้หลักธรรมที่มันถูกต้องเหล่านี้ โดยเฉพาะในการช่วยตัวเองยิ่งต้องมีหลักธรรมที่แน่นอนที่สุด ไอ้หลักธรรมที่เป็นหลักอย่างนี้ หมายความว่าอาศัยได้พึ่งพาได้อย่างนี้ มีชื่อเรียกตามที่พระพุทธเจ้าท่านเรียก เรียกว่าธรรมาธาตุ ธรรมาธาตุ ทา-ตะ ธาตุนะ ธรรมาธาตุ ธรรมาธาตุนี้มันความหมายหนึ่ง เป็นธาตุของธรรมะ จะไปใส่สระอาก็เป็นธรรมา แล้วก็ธาตุ ธรรมาธาตุ มันก็มีความหมายหนึ่ง ธรรมะ แล้วก็ อา-ธา-ตะ ธรรมะ อา-ธา-ตะ รวมกันเป็นธรรมาธาตุ แต่ว่า กระจกเงาของธรรม ของธรรม ที่มันส่งให้เห็นธรรม มันเหมือนเมื่อจะเขี่ยผงออกจากตาตัวเอง จะเขี่ยผงออกจากตาตัวเอง มันต้องมี กระจกเงา มันจึงจะเขี่ยได้ สะดวกหรือง่าย หรือสำเร็จ แม้แต่คนที่จะแต่งหน้าแต่งตาก็ยังมีกระจกเงา มันเป็นเรื่องยากที่จะเขี่ยผงออกจากในตา เพียงแต่มีกระจกเงาที่ดี ถูกเรื่อง ถ้าอย่างนั้นเราต้องศึกษามันให้ชัด ไอ้ข้อธรรมะต่างๆอย่างที่พูดไปแล้ว และก็ให้ชัดสรุปเป็นข้อสั้นๆๆๆไม่ถึงบรรทัด ถ้าเขียนเป็นตัวหนังสือต้องไม่ถึงบรรทัด มันเป็นใจความสั้นๆสรุปลงไปได้สั้นๆ ว่าอะไรว่าอย่างไร นี่ก็เป็นกระจกเงาอันหนึ่งๆๆๆๆ ใช้ในเมื่อจัดการกับเรื่องมีปัญหานั้นๆ ที่จะต้องทำให้ชัดเจนให้ดี อย่าไปทำเล่นกับมัน มันจะยุ่งหมด ก็ตั้งใจจะพูดกันทุกเรื่อง ทุกเรื่องดีกว่า จะให้จับจความให้ได้เป็นหัวข้อสั้นๆๆๆๆๆ
มันก็มีหลายข้อเหมือนกัน ท่าที่จริง เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องมาก มีข้อต่อไป ที่จะพูดว่า ไม่มีศาสนา ไม่มีศาสนา อย่างที่เราเรียกกันอยู่ว่าพุทธศาสนา คริสตศาสนา ฮินดูศาสนา ศาสนาอะไรก็ตามอย่างที่เรียกกันอยู่ มันไม่ได้มีตัวจริง ตามชื่อนั้นๆ มันเป็นเรื่องสมมติหรือบัญญัติ ไปตามชื่อของผู้พูดคนแรก พระพุทธเจ้าเอามาพูดก็เรียกว่าพุทธศาสนา พระเยซูเอามาพูดก็เรียกเป็นคริสตศาสนา มันมีชื่อมาก ศาสนานั้นศาสนานี้ ในตัวศาสนาอย่างนั้นตัวศาสนาที่แท้จริงมันไม่มี มันเป็นเรื่องสมมติปะยี่ห้อ ไอ้ตัวในแท้ๆ ตัวจริงแท้ๆมันไม่มี เป็นเรื่องกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ แล้วศาสดาหล่านั้นเอามาพูดตามที่จำเป็น มากบ้างน้อยบ้าง สมบูรณ์บ้างไม่สมบูรณ์บ้างก็แล้วแต่ศาสดานั้นๆ แต่มันมีมูลเหตุมาจากกฎของธรรมชาติ ที่จะใช้ดับปัญหา ดับทุกข์หรือแก้ปัญหานั้นๆได้ เราลองหลับตานึกถึงเมื่อหมื่นปีแสนปี เป็นอย่างไรบ้าง ที่ตรงไหนมันเกิดปัญหาอย่างไรก็จะมีผู้ ใครคนใดคนหนึ่งพูดเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ มันเป็นอย่างนี้เรื่อยมาเรื่อยมาเรื่อยมา มันจะมีสิบ หรือหลายสิบหลายร้อยศาสนาก็ได้ มันหายไปหมด ไอ้ชื่อนั้นมันหายไปหมด มันเหลืออยู่ ที่สำคัญเป็นหลักเป็นฐาน ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ แล้วแต่ ผู้พูดจะต้องเห็นกฎของธรรมชาติเกี่ยวกับเรื่องนั้นจึงจะแก้ปัญหานั้นๆได้ หรือได้บ้างก็ตามใจ มันก็พูดๆ ที่นี้ตัวศาสนาที่มีชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ก็ประดับประดาตกแต่งเข้ามา เล่าเรื่องบางเรื่องที่เกิดเรื่องอะไรประดับประดา ให้ผู้พูดเป็นผู้วิเศษวิโสกว่าธรรมดาจนได้ ทั้งนั่นแหละทุกศาสนา นั่นมันก็เป็นเปลือกออกไปอีก เปลือกออกไปอีก เราพูดตัดบทเสียเลยใครจะพูดก็ตามใจ ใครจะเป็นผู้พูดก็ตามใจ มันจะเป็นเศรษฐีเป็นขอทานเป็นเทวดาเป็น อะไรก็ตาม ในเมื่อมันพูดถูกเมื่อนั่นมันก็ใช้ได้ ถ้ามันพูดถูกตามกฎของธรรมชาตินั้นมันก็ดับทุกข์ได้ ตัวจริงมีอยู่ที่กฎของธรรมชาติ ที่ดับทุกข์ได้ มันไม่ใช่ตัวผู้พูด มันก็มีมาก เพราะมันมากแผน มากยุค มากสมัย คน มนุษย์มันก็มีปัญหาต่างๆๆๆ พวกยิวนั้นจะเก่ากว่าเพื่อนและเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งเดียวคำสอนของศาสดาของเขา พวกกรีส พวกกรีสก็กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ในอินเดียก็มีพวกพุทธ พวกฮินดู กลุ่มใหญ่เหมือนกัน ในเมืองจีนก็มีเหล่าจื้อ มีพวกนี้เป็นกลุ่มๆๆ ไอเราก็ท้าทายได้ว่า เห็นไหมว่าดับทุกข์ได้ ได้กี่มากน้อยได้จริงหรือไม่ ได้ที่สุดได้ถึงขีดสุดหรือไม่ ก็ดูเอาเอง เราก็ศึกษาพุทธศาสนามากถึงขนาดนี้ ว่าดับทุกข์ได้มากเท่าไหร่ ได้กี่มากน้อย สนใจข้อนั้น เราก็จะเปรียบเทียบได้กับไอ ไอ ศาสนาอื่น เปรียบเทียบ ลึกตื้นกว่ากันอย่างไร ลึกตื้นกว่ากันอย่างไร จะหมดจดสิ้นเชิงหรือไม่ดับทุกข์ ไม่เหลือสิ้นเชิงหรือไม่รู้ว่า ขอไปทีก่อน หรือว่า พอเป็นเรื่องกลบเลื่อนกันไปทีก่อน แม้มันจะเป็นเพียงเรื่องกลบเกลื่อนไปทีก่อน มันก็ต้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติเหมือนกันแหละ มันจึงจะกลบเกลื่อนไปทีก่อนได้ เรามารู้เอง ศึกษาแล้วดูเอาเองว่า ศาสนานั้นมันตัดรากของความทุกข์ ศาสนาไหนมันแก้ผิวเผินที่ข้างบน หรือเพียงแต่ว่ากลบเลื่อนไว้ทีก่อน กลบเกลื่อนไว้ทีก่อน เพื่อว่าจะเป็นทุกข์กันมากมาย ถ้าเราศึกษาพุทธศาสนาเราก็จะพบความประเสริฐของพุทธศาสนาถึงที่สุด ไอเรามันก็ไม่อยากจะพูดเพราะมันจะเป็นการยกตนข่มผู้อื่น ก็ดู ศาสนาไหนมันจะตัดได้ถึงรากเหง้า รากเหง้า พื้นฐานอันนั้นเลย เรียกว่าขุดราก ขุดรากทิ้ง ไม่มี แต่ถ้าถามว่าใครถูก ก็ถูกกันไปตามเรื่องกัน ถูกไปตามชั้นตามระดับของคน แต่ปัญหาที่นั่นมันไม่มีมาก พูดเท่านี้มันก็พอแล้ว แต่ถ้าปัญหามันมีมาก ลึกกว่านั้นมันก็ไม่พอ เราจึงมีศาสนาที่ตื้นหรือลึกกว่ากัน เป็นลำดับ ลำดับ แม้ว่าในศาสนาที่มันลึกมาก ลึกถึงขีดสุด มันยังพอจัดลำดับได้ ว่าจะขอเอาเพียงว่า ขอไปทีก่อน ขอไปทีก่อน มันก็ยังมีคนที่มันยัง ยังลึกไม่ได้มันมีอยู่ ผู้ฟังที่มันลึกไปไม่ได้ก็ยังมีอยู่ นี่ก็เรื่องตื้นๆกันไปก่อน เรื่องพุทธศาสนาเราก็ทำบุญสุนทานกันไปก่อน นี่สวดมนต์ไหว้พระกันไปก่อน มีอย่างนี้กันไปก่อนจนกว่าจะไปถึงจุดที่ว่าจะไปตัดตัณหา อุปทาน อนิจจาหมด
เชิญทุกๆๆๆศาสนา แต่ละขั้น ละขั้น ละขั้นของแต่ละศาสนา ไม่ต้องถูก ต้องตามกฎธรรมชาตินั้นๆทั้งนั้นแหละ หรือมันจะโง่ จะเป็นไสยศาสตร์ เอาสมมติมันเป็นไสยศาสตร์ ศาสนาไสยศาสตร์ มันก็ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ของไสยศาสตร์ ก็ให้หายกลัว หายกลัว หายกลัวไปได้สบายใจไปได้ พักหนึ่ง เชื่อผีเชื่อสางเชื่อเทวดา เชื่อโชคเชื่อเคราะห์ เอ้ามันก็สบายใจไปได้พักหนึ่ง เพราะคนชนิดนี้มันไม่มีทางอื่น มันมีแต่อย่างนี้ ศาสนาไสยศาสตร์อย่างงมงาย มันก็มีผลกันไปตามแบบงมงาย เข้าใจให้มันลึก เข้าใจให้มันลึกๆๆๆๆลงไปว่ามี อย่างที่เรียกว่ากระจกเงา ธรรมะที่ปรากฎออกมาในวิปัสสนา เป็นกระจกเงาอันหนึ่ง อันหนึ่ง อันหนึ่ง แล้วมันก็ปรากฎมาในชั้นลึกว่าเป็นกระจกเงาชั้นเลิศ แต่มันลึก ไม่ลึกก็เป็นกระจกเงาผิวเผิน ค่อนข้างจะหลอกลวง เรียนรู้ธรรมะให้ลึกให้ถูกต้องให้เพียงพอ แล้วมันก็จะเป็นกระจกเงาอันหนึ่ง อันหนึ่ง อันหนึ่ง ถ้ามีอันดีที่สุด อันดีที่สุดอันเดียวก็พอ พอ แต่มันคงจะลำบาก ท่าจะยากหน่อย ในพุทธศาสนานี้ก็มีธรรมะหรือความจริง เรื่องอนัตตา เรื่องสูญญตา เรื่องคถาตา รู้สึกลึกถึงที่สุด ส่องลึกถึงที่สุด หมดไม่มีเหลือ ส่องขนาดไม่มีตัวตน ไม่ให้มีตัวตนเหลือ ไอ้คนที่โง่มันก็ตกใจ อุ้ย ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีอะไรเหลือ สิ้นเนื้อประดาตัวหรือเปล่า เป็นอนัตตา แต่เขาไม่ได้หมายความอย่างนั้น เราไม่ได้หมายความอย่างนั้น หมายความว่าดับทุกข์ ดับทุกข์สิ้นเชิงหรือว่าดับทุกข์ไม่สิ้นเชิง ไอ้ตัวตน ตัวตนมันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ก็ต้องตัดต้นเหตุแห่งความทุกข์ เป็นธรรมดา จึงไม่มีตัวตนเหลือ มันก็เหลือแต่จิตๆๆ ที่ไม่เป็นความทุกข์ ก็ควรจะพอใจ จิตที่ไม่มีความทุกข์เลยก็จะเป็นผลดี ดังนั้นมันก็สรุปความได้ว่าธรรมะทุกข้อ ธรรมะที่จะใช้เป็นประโยชน์ได้ทุกข้อมันจะมีมากพอเท่าไหร่ ก็ต้องพุ่งตรงไป ยังที่ว่าดับตัวตนไม่มีเหลือในที่สุด จะเรื่องเรื่องอนัตตา เรื่องสูญญตา หรือเรื่องคถาตาก็แล้วแต่ แล้วแต่จะเรียก มีความหมายเดียวกัน อนัตตาก็ไม่ใช่ตน สูญญตาก็ว่างจากตน คถาตาก็มันเป็นเช่นนั้นเองไม่ควรจะไปเรียกว่าตน เป็นต้น แม้จะมีคำพูดหลายๆคำและฟังดูต่างกัน แต่ก็เป็นสิ่งเดียวกัน เดี๋ยวจะเกิดไปแยกเป็นหลายศาสนา แล้วมันแต่ในตัวนั้นมันจะยุ่งๆใหญ่ มองในแง่นี้เราเรียกว่าอนัตตา มองในแง่นี้เราเรียกว่าสูญญตา มองในแง่นี้เราเรียกว่าคถาตา มองในแง่นี้เราเรียกว่าอิทัปปัจจยตา ธรรมะนิยยมาทา (๑๘.๓๒) แต่ทั้งหมดมันอยู่ที่ว่ามันไม่มีตัวตน จบ ลึกสุดไม่มีตัวตน นี้เป็นกระจกเงาที่ไม่หลอก กระจกเงาอันที่ไม่หลอก ไม่หลอกตลอด ตลอดสายไม่หลอก ถ้ามันไปถึงอนัตตามันก็คือไม่หลอก ถ้ามันมีอะไรเหลือไว้สำหรับ ยึดมั่นถือมั่น เป็นสุข เป็นทางกามารมณ์ สวรรค์วิมาน มันก็ไม่ใช่ที่สิ้นสุด มันจะกวาดทิ้งไปหมด ไม่เหลืออะไรไว้เป็นอัตตานั่นแหละคือ แม้แต่สวรรค์ชั้นเลิศของพระเป็นเจ้าถูกกวาดทิ้งไปหมด ไม่เหลืออยู่เป็นอัตตา มันจึงพูดยาก พูดยาก พูดกับคน ผู้ฟังที่ไม่อาจจะทิ้งหรือว่าติดแน่นมาในแต่ก่อน หรือว่าทิ้งไม่ได้ คือต้องพูดกันมาก บางทีก็ไม่สำเร็จ จะพูดให้พวกที่มีพระเจ้า มีพระเป็นเจ้า ที่เขามีๆกัน เห็นเป็นอนัตตานี่มันยากที่สุด จะพูดให้คนโง่ไม่กลัวผีนี่มันก็พูดยากที่สุด แต่มันเป็นอะไรที่เราไม่ได้มองแค่ผิวเผิน มองลึก ก็มีแต่ความจริงของธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น แล้วพวกนายหยิบมาสอนได้เท่าไหร่ก็มักจะมีชื่อตามที่สอน นี่เป็นเหตุให้เกิดศาสนายิว ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาชื่อมากมาย ไอ้เรื่องไม่มีศาสนาก็ได้ยินว่าได้รับความสนใจกันมาก ในยุโรปก็แปลเป็นหลายๆภาษา ไม่มีศาสนา ในภาษาเยอรมันก็มี ภาษาสวีเดนก็มี ในภาษาอะไร ไม่มีศาสนา มีแต่ความจริงของธรรมชาติ พูดเป็นครั้งแรกในสวนอุสม เรื่องไม่มีศาสนา ที่ว่าเราไม่มี ไม่มีน้ำส้ม ไม่มีน้ำตาล ไม่มีน้ำเกลือ ไม่มีน้ำบ่อ ไม่มีน้ำคลอง ไม่มีน้ำอะไรทุกๆน้ำ มันมีแต่น้ำบริสุทธิ์ น้ำบริสุทธิ์แท้ๆที่มันอยู่ในนั้น คือเป็นน้ำเกลือ น้ำหวาน น้ำส้ม น้ำเปรี้ยว น้ำเค็ม น้ำคลอง น้ำฝนอะไรก็ตาม มันเปลือกนอก มันเปลือกนอก ข้างในมีน้ำบริสุทธิ์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าพูดว่าน้ำบริสุทธิ์มาจากไหนมันก็ไม่มี น้ำส้ม น้ำตาล น้ำเค็ม น้ำขมอะไรก็ไม่ต้องมี นั่นมันของข้างนอก เอาออกเสียก็เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ พุทธศาสนานั้นแสดงถึงน้ำที่บริสุทธิ์ น้ำแท้ๆ น้ำไม่มีอะไรปน มีแต่เรื่องทุกสิ่งเป็นสุญญตา เป็นอนัตตา เป็นคถาตา มันสะอาดได้เท่านั้น มันหมดเพียงเท่านั้น ถ้ามันหยุดอยู่แค่ความรวย ความสวย ความงาม ความสนุกสนานอะไรตลอด เป็น เทวโลก ยมโลก มารโลก มันก็ผิวนอก ผิวนอก ที่น้ำ น้ำต่างๆกัน แต่มันก็จำเป็นที่ต้องพบสิ่งเหล่านั้นมาตามลำดับ เด็กๆเกิดมาถึงมันจะรู้น้ำอันบริสุทธิ์ได้อย่างไร กินน้ำนม กินน้ำตาล กินน้ำแกง กินน้ำอะไรไปตามเรื่อง มันก็มีละลายน้ำหลอกกันอีก จนต้องเรียนวิทยาศาสตร์ โอ้ มันอันแท้จริง โว้ย มันมีอยู่ เป็นแกนกลางของน้ำทั้งปวง พอเห็นสิ่งนั้นแล้วก็เลิก เลิกน้ำที่มีชื่อหลอกๆ ก็ได้ เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ ศาสนานี้ก็เหมือนกัน ถ้ามันเข้าถึงกฎความจริงของธรรมชาติอันเด็ดขาดตายตัวหรือมีเพียงเท่านั้น ก็จะไม่เหลือศาสนา ไม่เหลือคำว่าศาสนา ไม่เหลือ
ทีนี้แว่นของใครที่ส่องลงไปลึกถึงนั่นได้ แว่นของใคร แว่นของใคร หรือจะว่าแว่นของพุทธศาสนา แต่ชาวพุทธบางคนนั้นไม่มี ไอ้ชาวพุทธบางคนไม่มีแว่นถึงขนาดนั้น ก็ไปหลงไอ้ที่เขาพูดกัน เอามา ไม่ใช่พุทธเอามาเป็นพุทธก็มี ไปหลงสวรรค์ ไปหลงพรหมโลก ไปหลงอะไร หลงเงิน หลงทอง หลงเกียรติยศชื่อเสียง อำนาจวาสนาบารมี แล้วพระรุ่นก่อนอาตมาจำได้ว่าเมื่อแรกๆบวช ถูกเทศน์ หัดเทศน์กัน พระโดยมาก็สอนแต่ แต่ในระดับนี้ ให้รักษาศีล รักษาศีล มันจะมีความสุข มีอำนาจวาสนาบารมี ไม่ค่อยได้พูดถึงนิพพาน เพียงเท่านี้ก็เรียกว่าเก่ง เก่ง จะได้เป็นเศรษฐี จะได้เป็นเทวดา มีอะไรเป็นที่พอใจทุกอย่าง เห็นสอนกันอยู่เพียงเท่านี้ เห็นสอนกันอยู่อย่างนั้น ให้เลิกสิ่งเหล่านั้นซะ เป็นหลักการสอน สอนแต่ในแง่เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นบวก เป็นบวกไปเรื่อย เหนือบวกไม่มี ให้ช่วยๆๆทำความเข้าใจจำกันไว้ เรามีแว่น แว่นส่องลึกไปถึงจุดตั้งต้น จุดราก แล้วพอส่องข้างบนก็ไม่มีอะไร ไม่มีสวรรค์ ไม่มีโลก พรหมโลก สวรรค์ โลกสวรรค์ ไม่มี มีแต่ว่างจากตัวตนเป็นอนัตตา นี่ก็เขียนเป็นคำสั้นๆว่าธรรมะ กระจกเงา หรือว่าธรรมะเป็นกระจกเงา หรือกระจกเงาแห่งธรรมะ เท่านี้ก็พอ เรียกว่าธรรมาธาตุ มันคล้ายๆกับชื่อนายธัมมาธาตุ นี่ก็ธรรมาธาตุ พอใส่สระอาเข้าไปนี่ก็ตัวธรรมา เป็นธรรมาธาตุ แปลว่ากระจกเงาแห่งธรรมะ ส่องแล้วก็ลึกสุดถึงที่สุด จะส่องลงก็ลึกถึงที่สุด จะส่องขึ้นข้างบนก็ลึกถึงที่สุด จะส่องรอบตัวรอบด้านก็ลึกถึงที่สุด เหลือแต่ว่างๆๆๆๆ ไม่ว่าจะส่องทางไหน นี่ข้อ ข้อนี้เรียกว่าเพื่อนกระจกเงาของธรรมะ หรือธรรมาธาตุ ธรรมาธาตุ มีแต่ความจริงของธรรมชาติ เขาเรียกว่าสัจจะ สัจจะ สัจจะคือความจริง หรือจะเรียกอีกทีคือกฎ เป็นกฎ ความจริงเป็นตัวความจริง ไอ้นั้นมีความหมายบังคับ ถ้าแกทำไม่ถูกเรื่องแกก็จะต้องเป็นทุกข์ ถ้าเรียกว่าสัจจะก็คือบอกความจริงเฉยๆ ถ้าทำเป็นสัจจะความจริง ถ้าทำเป็นกฎ ถ้าแกไม่ทำตามให้ถูกต้องแกจะต้องวินาศ เป็นทุกข์ วินาศไปหมด เมื่อเราพูดกับฝรั่งบางทีเราก็เรียกว่า law คือกฎ บางทีก็เรียกว่า true มันคือความจริง มันเป็นได้ด้วยกันทั้งสองอย่าง แล้วแต่จะมองในแง่ไหน
ถ้ามันเป็นความจริงมันก็เป็นกฎได้ทั้งนั้นไม่ว่าความจริงเรื่องอะไร แต่มันมีอยู่สองชนิดนะ ที่เรียกว่าจริง สัจจะ ความจริงก็ยังมีอยู่สองชนิด ชนิดหนึ่ง ถึงแม้จะรู้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร อีกชนิดหนึ่งถ้ารู้จะมีประโยชน์มากที่สุด ความจริงเฉยๆตามธรรมชาติ รู้แล้วเฉยๆไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็มีอยู่ เขาก็เรียกความจริงเหมือนกัน แต่ถ้ารู้แล้วมาใช้ประโยชน์สูงสุดได้ เขาเรียกว่า อริยสัจ สัจจะเฉยๆ สัจจะล้วนๆ มันยังมีปัญหาว่า มีประโยชน์หรือว่าไม่มีประโยชน์ แล้วถ้าอริยสัจ แล้วอย่ากลัว มีประโยชน์ถึงขีดสุด ออกจากทุกข์ ออกจากทุกข์ ความจริงที่ออกจากทุกข์ มันก็มีธรรมะนี้เป็นแว่นส่องทาง เป็นแว่นส่องทาง พบทาง ไปตามทาง แล้วก็ออกจากทุกข์ได้ จะพูดถึงความจริงที่ดับทุกข์ได้ต้องใช้คำว่าอริยะเสมอ อริยสัจในพระพุทธศาสนา ถ้าสัจจะเฉยๆบางทีมันไม่ได้เกี่ยวกับความทุกข์ มันก็เป็นสัจจะเหมือนกัน ที่เราก็ไม่รู้จะเอามาใช้ประโยชน์อะไร สัจจะที่เราจะเอาใช้ประโยชน์ได้ ต้องชื่อว่าอริยสัจ อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์
นี้คือ ขอให้มี มีธรรมาธาตุ มีธรรมาธาตุ เป็นกระจกเงา เป็นเครื่องประจำตัว กระเป๋าเล็กๆของผู้หญิงที่เขามาเที่ยวที่นี่ ในนั้นมีกระจกเงาทุกอันเลยก็ว่าได้ เห็นเขาควักออกมาเป็นกระจกเงา กระจกเงา มานั่งครู่เดียวก็ส่องกระจกเงาอย่างที่ตรงนั้น คล้ายๆกับในกระเป๋าเรานั้นมีกระจกเงากันแล้ว ทำไมไม่มีกระจกเงาอันนี้กันบ้าง มีกระจกเงาประจำตัว เขี่ยผงออกจากตา เขี่ยความทุกข์ออกไปจากจิตใจ กระจกเงา ธรรมาธาตุ นี่เรื่อง เรื่อง เรื่องที่หนึ่งของวันนี้คือเรื่อง ธรรมาธาตุ ชื่อไปกับนายธัมมาธาตุ แต่นั่นมันออกเสียสั้น ทำ-มะ-ทาด ไม่ใช่อันนี้ ธรรมาธาตุ คำนี้พระพุทธเจ้าตรัสกับพระราหุล เตือนพระราหุล นี้เป็นธรรมาธาตุเธอจงรู้อย่างนี้ อย่างนี้ เรื่องอนัตตานั้นละ ก็ให้กระจกเงาไปประจำตัว ส่องเห็นอนัตตา อนัตตา ถ้ามันส่องเห็นเป็นสวรรค์วิมาน เป็นกุศล เป็นมหากุศลอะไรเถอะ นั้นมันๆๆไม่ใช่หรอก ไม่ใช่แล้ว ถ้ามันส่องเห็นความว่าง เห็นอนัตตา สุญญตาอันนั้นละใช่ เดี๋ยวไปติดอยู่แค่บุญแค่กุศลแค่สวรรค์แค่วิมาน แค่มหากุศลก็ยิ่งแล้วใหญ่
ส่องจนเห็นว่าไม่มี ไม่มีศาสนา มีแต่ความจริงของธรรมชาติ นี่ก็เป็นผลของการส่อง ถ้าเขาถามคุณถือศาสนาอะไร ฝรั่งโดยมากเขาบอกว่าไม่มีศาสนาหรอกนะ ที่มาที่นี่โดยมาก ไม่ได้ถือศาสนาอะไร ไอ้เราก็จะตอบอย่างนั้นได้เหมือนกันแหละ แต่ว่าของเรามันเป็น ไม่มี ไม่มีศาสนาอะไรให้ถือ มันมีแต่ความจริงของธรรมชาติ เป็นผู้ไม่มีศาสนา มันก็ได้ มีแต่ความจริงของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นผู้นำเอามาบอกเอามาสอน แต่ความจริงของธรรมชาติเราก็พลอยรู้เราก็มี ศาสนาความจริงของธรรมชาติ ที่มันยังเป็นพุทธ เป็นคริสต์ เป็นอิสลาม เป็นฮินดู มันยังตื้นมาก ยังอยู่ผิวนอกบ้าง
เอาทีนี้มาพูดถึงคำที่เป็น สำคัญ อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกา อุ-บา-สะ-กะ อุ-บา-สะ-กะ ถ้าเป็นศัพท์ล้วนๆ ถ้าเป็นผู้หญิงเรียกอุบาสิกา ถ้าเป็นผู้ชายเรียกอุบาสะโก อุบาสะโก อุบาสิกา แต่ถ้าไม่ได้พูดถึงหญิงหรือชายเรียกว่าอุบาสะกะ เป็นตัวศัพท์ล้วนๆ คำนี้มันก็มีความหมาย มันมีความหมายที่ว่า เป็นปัญหา ไอทีแรกของเขามีความหมายดีมาก จริงๆ ต่อมามันเป็นเพียงพิธีเสีย เป็นเพียงพิธีสมมติบัญญัติเสีย อุบาสก หรืออุบาสิกานี้มันยัง ยัง ยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง แต่มันใกล้เข้าไป ใกล้เข้าไป เรียกว่ามันใกล้ คือนั่งใกล้ อยู่ใกล้ แต่ไม่ใช่ว่าถึงตัวโดยสมบูรณ์ มันก็มีความหมายว่านั่งใกล้อะไร อุบะ แปลว่าเข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ สะ นี้มาจาก สะทะ แปลว่านั่ง อุบาสะกะแปลว่านั่งใกล้ นั่งอยู่ใกล้ โดยทั่วไปก็สอนให้มานั่งใกล้ พระรัตนตรัย นั่งใกล้พระรัตนตรัย นั่งใกล้นี้มันเพียงแต่ใกล้ ไม่ถึงก็ได้ แต่ว่าถ้าถึงก็เรียก ยังคงเรียกได้ว่าอุบาสก อุบาสิกา มันเพียงแต่ถึงพระรัตนตรัย ยังไม่ถึงนิพพาน ยังไม่ถึงนิพพาน มันควรจะมีไปว่านั่งใกล้พระรัตนตรัย หรือว่านั่งใกล้พระนิพพาน มันเป็นเพียงผู้เริ่มเข้ามาเท่านั้น เป็นผู้ที่เริ่มเข้ามา ใกล้ๆๆๆจนเรียกได้ว่านั่งใกล้ ถ้าเป็นธรรมะที่จริงกว่านั้นก็เรียกเป็นโสดาบัน โสตาบันนะ มีวัยแรกของกระแสพระนิพพาน ความหมายมันดีกว่าอุบาสก อุบาสิกา อุบาสิกามันนั่งใกล้พระรัตนตรัย หรือเพียงแต่นั่งใกล้กระแสแห่งพระนิพพาน มันยังไม่ถึงก็ได้ ถ้าถึง ถึงกระแสก็เรียกพระโสดาบัน นี่กระแสมันมีจุดมุ่งหมายปลายทาง กระแสจะไหลไปไหน เมื่อไปยังจุดหมายปลายทางนั้นก็คือ พระนิพพาน ถ้าเป็นบุคคลพูดถึงก็เรียกพระอรหันต์ ถ้าเป็นธรรมะเฉยๆก็เรียกว่าพระนิพพาน ปลายทางหรือสุดทาง สุดทางก็ถึง อันนี้ อุบาสก อุบาสิกาตามตัวหนังสือมันก็ยัง ยังห่างออกมา ยังไม่ถึงกับพระโสดาบัน ถ้าเป็นพระโสดาบันก็ลงไปในตัวกระแส ถึงตัวกระแสแล้วก็ไหลไป ไหลไป จนจดอยู่ที่ประตู ประตูยังไม่ได้ข้ามธรณีประตู อยู่จดประตูอมตะ พระโสดาบัน อุบาสก อุบาสิกามันยังไม่ถึงนั่น ถ้าถึงนั่นก็กลายเป็นพระโสดาบันไปหมด จะเป็นอุบาสก อุบาสิกา หรือภิกษุ สามเณรอะไรก็ตามถ้ามันถึงกระแสก็พระโสดาบัน ถ้ามันเพียงแต่นั่งใกล้ นั่งใกล้ก็อุบาสก อุบาสิกา เลยว่างไว้เป็นมาตรฐานธรรมดาของฆราวาส หรือผู้ครองเรือน ให้เรียกชื่อว่าอุบาสก หรืออุบาสิกา แต่เราก็จะเอาความหมายมันมากกว่านั้น เอาความหมายมันมากกว่านั้น คือมันใกล้พระนิพพาน ใกล้พระรัตนตรัยนี้ขอให้มันใกล้ ใกล้พระนิพพาน ไม่เพียงแต่ว่าคุ้นเคยกัน คุ้นเคยกันนี้มันก็ไม่ค่อยจะพอ ให้มันมากกว่านั้นให้มันรู้จักกันดี รู้จักกันดี เข้าใจกันดี แจ่มแจ้งกันดี ให้มีความเป็นอุบาสก อุบาสิกาในลักษณะนี้ ก็ถามตัวเอง ว่าใกล้อะไร ใกล้พระรัตนตรัยหรือใกล้พระนิพพาน ถ้าใกล้พระรัตนตรัยความหมายมันยังพร่าๆอยู่ กว้างๆพร่าๆ ถ้าใกล้พระนิพพานความหมายมันเข้มข้นกว่า มีความหมายตรง เป็นอุบาสก อุบาสิกาชนิด ที่นั่งใกล้พระนิพพาน เจาะจงชัดเจน เดี๋ยวนี้เป็นอุบาสก อุบาสิกากันแต่เพียงว่าพิธี ทำพิธีเสร็จรับศีลเสร็จประกาศตนเสร็จก็เป็น แต่โดยเนื้อแท้มันยังไม่ได้เป็น มันเป็นเพียงพิธี มันเป็นเพียงสวมเครื่องแบบ ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ สวมเครื่องแบบ จีวรก็เป็นพระ แต่ยังไม่เป็นพระ เพราะว่ามันยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ สวมเครื่องแบบอุบาสิกา แต่ว่ายังไม่ได้เป็นอุบาสิกา เพราะว่ามันยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ คนเป็นทหารลงทะเบียนต้องแต่งยูนิฟอร์ม ก็ยังเป็นทหารแต่ยูนิฟอร์ม มีความถูกต้องตามหมายนั้น ก็หมายความว่า จิตใจนั้นมันเป็นแล้ว จิตใจนั้นเป็นแล้ว มันเห็นแจ้งมันรู้จัก แล้วก็มันก็เป็นแล้ว ด้วยความเห็นแจ้งรู้จักว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างไร เรียกว่ารู้จักพอสมควร รู้จักในลักษณะที่พอสมควร แม้ว่าไม่ได้ไม่ถึง ยังไม่มีไม่มีอย่างเต็มที่ ก็รู้ว่ามันเป็นอะไร มันจะช่วยได้อย่างไร เหมือนกับว่ารู้จักเงิน ก็ยังดีนะ แม้ว่ายังไม่มีเงิน ก็ยังรู้จักค่าและความหมายของเงิน มันก็ยังดีกว่าที่ไม่รู้อะไรเสียเลย รู้คุณค่าของพระรัตนตรัย เฉพาะเจาะจงเข้าไปอีกก็รู้คุณค่าของพระนิพพาน ถ้าอย่างนี้จิตใจนั้นมันใกล้แล้ว จิตใจมันนั่งใกล้แล้ว เข้าไปใกล้แล้ว เราก็เป็นอุบาสก อุบาสิกาแท้จริง พวกฆราวาสก็ปฏิณญาณได้เพียงเท่านี้ ที่เขาปฏิณญาณกับพระพุทธเจ้า ปฏิณญาณกับพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกกันตลอดชีวิต แต่ในพระพุทธกาลมันไม่มีพิธีจับตัวมารับสรณคมแล้วให้เป็น นั้นไม่มี มันมีของๆๆผู้ที่เข้าใจแล้ว ฟังธรรมเข้าใจแล้ว แล้วสมัครเป็นเองตั้งตัวเอง จะประกาศออกไปให้พระพุทธเจ้าทราบว่าข้าพเจ้าเป็นอุบาสก พอมาถึงเดี๋ยวนี้มีธรรมเนียมมีประเพณีจับตัวมาให้แกว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนั้นก็เสร็จ ดับเทียน แล้วก็เป็นอุบาสก อุบาสิกา มันก็เป็นอันว่าแยกกันไว้เป็นตามพิธีอย่าง ตามพิธีอย่างหนึ่ง เป็นจริงๆด้วยใจจริงก็อีกอย่างหนึ่ง ทีแรกก็เป็นตามพิธีไปก่อนก็ได้แล้วก็ให้มันเป็นจริง ใจจริง ใจจริง ใจจริงไปเรื่อยๆก็ได้เหมือนกัน จริงๆบอกเป็นหัวข้อว่าอุบาสิกา หรืออุบาสกก็แล้วแต่ อุบาสก ผู้นั่งใกล้รัตนตรัย หรือนั่งใกล้พระนิพพาน หรือใกล้กระแสแห่งพระนิพพาน ที่นี้เขาเอามาพูด พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอาเสียงมาพูด เอาเสียงมาให้ได้ยินก็ว่า ประกาศ ประกาศว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา ครั้งแรกมันเป็นมาโดยธรรมเนียมมาโดยพิธีอย่างนั้น แล้วมาปรับปรุงตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง ปรับปรุงตัวเองอะไร ให้จิตใจมันเป็นไปตาม ตามความจริงถึงที่สุด ถึงขนาดที่เรียกได้ว่ามั่นคง มั่นคง ถูกต้องแล้ว มั่นคงแล้ว แน่นอนแล้ว เรียกว่าแน่นอนแล้ว ทีแรกมันเป็นเพียงพิธีรีตอง มันยังไม่แน่นอน ไม่แน่นอน แล้วก็เป็นชั้นที่แน่นอนแล้ว แน่นอนแล้ว จริงแท้ แน่นอนต่อพระนิพพาน ต่อพระนิพพานดีกว่า มิได้แต่ว่าเอามาพิธี จับตัวมาทำพิธี จนเบื่อละ เด็กๆมาทำพิธีเป็นพุทธมามกะ ตามระเบียบของกระทรวง แต่ละปีแต่ละปี ทุกปี ทำพิธีเป็นพุทธมามกะ มันเป็นเรื่องนกแก้วนกขุนทองไปก่อน แล้วไปเรียนกันทีหลังแล้วไปสอนกันทีหลัง เลยเป็นพุทธมามกะที่ถูกต้องแท้จริง มามะกะแปลว่าประกาศยืนยันว่าเป็นของข้าพเจ้า เมื่อเราประกาศยืนยันว่ามีอะไรเป็นของเรา เป็นของตนก็เรียกว่ามามะกะ พุทธมามะกะ ก็แปลว่ามีพระพุทธเจ้าเป็นของข้าพเจ้า เด็กๆก็ถูกนำมาเป็นพุทธมามะกะโดยที่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าคืออะไร พระพุทธคืออะไร พระธรรมคืออะไร พระสงฆ์คืออะไรมันก็ไม่เคยรู้ มันก็ประกาศ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธ พร้อมทั้งและด้วย พร้อมทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ ว่าเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามันก็ไม่รู้ว่าเอาทำไม เป็นทำไม เป็นของข้าพเจ้าทำไมมันก็ไม่รู้ ก็เหมือนกันอุบาสก อุบาสิกาก็ไม่รู้ว่าทำทำไม ถ้าใครเป็นบิดามารดา เป็นครูบาอาจารย์ ช่วยฉันสอนเด็กๆให้รู้ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์คืออะไร เรานั่งใกล้ทำไม เราเอามาเป็นของเราทำไม พุทธมามะกะออกชื่อแต่พระพุทธเจ้า แล้วก็แฝงพระธรรมกับพระสงฆ์เอาไว้ในนั้นด้วย มันจึงไม่มีคำว่าธรรมมามะกะ สังฆมามะกะ อย่างนี้มันไม่ต้องมี มันมีแต่พุทธมามะกะ ถึงพระพุทธพร้อมทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ ฝากไว้ในนั้นด้วย มันต้องรู้จักพระพุทธเจ้าถึงขนาด ถึงขนาด มันจึงจะร้องมาเอง หากข้าพเจ้ารับเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นของข้าพเจ้า ไม่ใช่มีใครมาบอกให้รับ มันเห็นชัดแล้วมันบอกออกมาเองว่ารับเอามาเป็นของข้าพเจ้า ในเมืองไทยใช้แต่กับเด็กๆ พุทธมามะกะคำนี้ใช้แต่กับเด็กๆ แต่คำเดิมในพระบาลีใช้กับผู้ใหญ่ก็ได้ ผู้ใหญ่ก็เป็นพุทธมามะกะ เพราะเขารู้จักพระพุทธเจ้าดีอย่างไร จำเป็นอย่างไรจำเป็นอย่างไร ต้องมี ต้องมี อยู่กับตัวอย่างไร นี่ก็คือบอกว่าอุบาสก อุบาสิกา มีสองชนิด ชนิดตามพิธี ตามพิธี แล้วก็ชนิดที่จริง ไม่ใช่เพียงแต่ตามพิธี ถ้าจริงมีความหมายพอๆกับพระโสดาบัน
แล้วเรื่องต่อไปก็เรื่องกรรม กรรม เรื่องกรรมแปลว่าการกระทำ แล้วก็มีผลของการกระทำเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำ การกระทำแล้วมีผลเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำ ก็เรียกว่าเรื่องกรรม เรื่องกรรม ยังเข้าใจผิดกันอยู่บางอย่าง หรือสอนกันผิดๆอยู่บางอย่าง ยังไม่เป็นพุทธะแท้ พวกมันจะต้องทราบกันเสียก่อนว่าเรื่องของกรรมมันไม่ได้มีแต่ในเรื่องพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองว่าไม่ได้มีแต่ที่เราสอน ผู้อื่นก็สอนผู้อื่นก็สอนเรื่องกรรม แต่มันก็ตามแบบนั้น ตามแบบของพวกนั้นๆ ซึ่งก็ไม่ตรงหรือไม่เหมือนกันทีเดียวแม้ว่าจะเรียกเหมือนกันว่า กรรม กรรม ให้เชื่อเรื่องกรรม ไปเรียกว่ากรรมะวาที กรรมะวาที ผู้กล่าวว่ากรรม ว่ากรรม ผู้กล่าวเรื่องกรรม กล่าวว่ากรรมเป็นของข้าพเจ้า นั่นกรรมะวาที มีหลายแขนง หลายกลุ่ม หลายลัทธิ แต่เราควรจะรู้เฉพาะเรื่องของพุทธบริษัท ในพระพุทธศาสนา ด้วยเรื่องกรรมว่าอย่างไร ส่องดูด้วยแว่นของท่าน กระจกเงาของท่าน จะเห็นว่ากรรมในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร กรรมนอกพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ถ้าจะเขียนก็เขียนเป็นคำสั้นๆเพียงว่า กรรม ประเภทของพวกที่มีตัวตน และก็กรรมประเภทของพวกที่ไม่มีตัวตน ไม่ยึดถือตัวตน นั่นแหละจุดสับสนมันอยู่ตรงนั้น กรรมของพวกที่ว่ามีตัวมีตน กับกรรมของพวกที่ไม่ได้ยึดถือว่ามีตัวมีตน มันสอนปนกันหมด จนยุ่ง จนฟังไม่ค่อยจะถูก ไอ้พวกหนึ่งก็ยึดเป็นหลักใหญ่ว่ามีตัวมีตน มีตัวมีตน แต่ตัวตนนั่นแหละเป็นผู้ทำกรรม แล้วก็จะได้รับผลแห่งกรรม มีการได้รับด้วย มีคำว่าได้รับด้วย พวกฮินดู พวกอื่นก็สอนเหมือนกัน ไม่ใช่สอนพระพุทธ พวกอื่นๆก็ยังสอน มันมีตัวฉัน มีตัวตนเป็นผู้กระทำกรรมแล้วฉันก็ได้รับผลแห่งกรรม ทีนี้พุทธศาสนามันมีหลักอยู่แล้วว่า มันไม่ได้สอนว่ามีตัวตน มัน มันเป็นอนัตตา มันไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตน ดังนั้นการกระทำกรรมของผู้ที่มิใช่ตน ไม่ได้มีตัวตนมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อะไรทำกรรม ก็สิ่งที่มิใช่ตนนั่นแหละมันทำกรรม แม้ว่ามันไม่มีความยึดถือว่าตัวตน ไม่มีความยึดถือว่าตัวตน แต่มันก็ยังมีจิตใจ จิตใจ รู้สึกคิดนึกอะไรได้ อนัตตาทำกรรม มันก็มีผลเกิดขึ้นแก่อนัตตา ซึ่งเป็นตัวทำกรรม หรือผู้ทำกรรม มนุษย์ก็มีอัตตาเป็นผู้ทำกรรม เห็นชัดได้ว่า ได้รับผลแก่อัตตาตัวนั้น เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่อัตตา มีจิตใจซึ่งไม่ได้ยึดถือว่าเป็นอัตตา มันก็แปลว่าอนัตตาคือจิตใจที่ไม่ยึดถือว่าอัตตานั่นแหละมันทำกรรม แปลเป็นว่าอนัตตา อนัตตาก็ทำกรรมได้เหมือนกัน คือจิตใจที่ไม่ได้ยึดถือว่าตัวกูของกู เป็นผู้ทำกรรม แล้วจิตใจนี้มันฉลาดพอ หรือว่า แม้โดยธรรมชาติมันก็บังคับให้อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องกระทำอย่างนั้น นี้เป็นเรื่องของสัญชาตญาณ มันอยู่นิ่งไม่ได้ ก็ต้องกระทำ หรือสัญชาตญาณจะรู้สึกว่าตัวตนมันก็ทำตามไปตามความรู้สึกว่าตัวตน แต่สัญชาตญาณแท้ๆมันยังไม่ใช่อย่างนั้น มันคล้ายกับเป็นกฎของธรรมชาติ มันมีชีวิต มันมีจิตใจ มันมีความรู้สึก มันมีความต้องการ ต้องการก็ทำไปตามความต้องการ อย่างนั้นไม่เรียกว่าตัวตนก็ได้ แม้มันจะค่อยๆๆกลายมาเป็นตัวตนที่หลังก็ตามใจมัน แต่ทีแรกมันก็ไม่ต้องถึงกับเป็นตัวตนก็ได้ ถ้ามันมีชีวิต มันมีร่างกาย มันก็หิวๆมันก็กิน มันก็หากินอย่างนี้ มันไม่ต้องมีตัวตนก็ทำได้ตามสัญชาตญาณ พอมีตัวตน ตัวตนเข้มข้นเข้มข้นนี้ มันจึงจะค่อยทำตามอำนาจของตัวเอง ไปยึดถือตัวตนผู้กระทำ ยึดถือการกระทำเป็นของตน ยึดถือผลที่ได้มาเป็นของตน มันเป็นระบบกันทีเดียว มันเป็นระบบของผู้มีตัวตน ยึดถือว่ามีตัวตน ทีนี้พุทธบริษัทนี้ไม่มีอย่างนั้น ถ้าเป็นแล้วก็ถูกต้องแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจมันก็ยังเป็นเหมือนพวกนั้น พวกนั้นมีตัวตนไปตามเรื่อง พุทธบริษัทที่ยังไม่รู้ธรรมะสูงสุดในของพุทธศาสนา มันก็มีตัวตนทำกรรมไป รับผลของกรรมไป ตามความคิดอย่างนี้ ถ้าอย่างนี้แล้วมันก็เป็นกรรมของพวกที่มีตัวตน ไม่อาจจะพ้นกรรมหรือเหนือกรรม หรืออยู่เหนือกรรมไปได้ พอฉลาดแล้วมีจิตใจที่ไม่เห็นว่าเป็นตัวตน มันเป็นการทำตามหน้าที่หรือที่ว่าชีวิตมันต้องมีการเคลื่อนไหว ก็มีกรรมแบบนี้ขึ้นมา เป็นกรรมของผู้ที่ไม่ได้ยึดถือว่ามีตัวตน
แล้วทีนี้ก็เปรียบเทียบกันดูสิ เมื่อมันมีสองอย่างอย่างนี้แล้ว มันจะเป็นปัญหาหนักอกหนักใจหรือมันจะกัดเจ้าของ ถ้ามีตัวกูมีของกูเป็นผู้ทำ เป็นผู้รับการกระทำก็กัดเจ้าของ ถ้าไม่มีก็ไม่รู้จะกัดอะไร มันก็ไม่กัดเจ้าของ เคยมีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ภิกษุ ภิกษุบางองค์นะ ไม่ใช่จะเห็นทุกองค์ บางองค์ เหลือน้อยองค์หรือองค์เดียวทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เอ นี่ถ้าอนัตตาทำกรรมแล้วมันจะได้รับผลแก่อัตตาอย่างไร เขาเอาไปผูกกันยุ่ง ถ้าอนัตตาทำกรรมผลมันก็เกิดแก่สิ่งที่เป็นอนัตตา พระองค์ถามว่าถ้าอนัตตาทำกรรมแล้วจะมีผลแก่อัตตาอย่างไร จะมีผลแก่ตัวข้าพเจ้าได้อย่างไร ก็ไม่มีตัวข้าพเจ้า เขียนเป็นหัวข้อง่ายๆกันลืมว่า กรรมในพุทธศาสนา กรรม และกรรมนอกพุทธศาสนา มันก็หมด กรรมในพุทธกับกรรมนอกพุทธ กรรมนอกพุทธมีตัวตน กรรมในพุทธไม่ต้องมีตัวตน ที่เป็นผู้กระทำหรือรับผล มันเป็นสิ่งที่เกิดอยู่กับร่างกาย และจิตใจนั้นอย่าเอามาเป็นตัวตนเลย ร่างกายจิตใจก็ไม่เอามาเป็นตัวตน การกระทำก็ไม่เอามาเป็นของตน การรับผลก็ไม่เอามาเป็นของตน เรียกกรรมในพุทธ ส่วนกรรมนอกพุทธของกูหมดเลย ตัวกูทางกู รับผลของการกระทำเป็นของกู ทีนี้ไอ้ความแตกต่างอย่างยิ่งมันก็เกิดขึ้น ถ้ามีตัวตน ทำแล้วหวังว่าจะได้ หวังว่าจะได้ มันก็เกิดคำพูดขึ้นมาว่าทำกรรม แล้วก็ได้รับผลของกรรม แล้วก็เกิดคำพูดขึ้นมาว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่เป็นหลักทั่วไปของกูมีตัวตน ทีนี้ถ้าไม่มีตัวตนมันไม่ต้องพูดอย่างนั้น มันกลายเป็นพูดแต่เพียงว่าทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่วไม่ต้องมีการได้ เพราะไอ้ร่างกายจิตใจที่ทำดี มันก็ดี เสร็จ ไม่ต้องได้ ไม่ต้องมีการได้ ไม่มีตัวผู้ทำ ไม่มีตัวผู้ได้ ทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่ว ใช้คำว่าอย่างนั้น ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว ไอ้พวกที่พูดว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มีตัวผู้ได้ มีตัวผู้ทำ มีตัวผู้ได้ มันต่างกันมาก เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้กำลังเป็นปัญหาที่พูดกันไม่รู้จักจบ ทำดีทำดีทำไมไม่ได้ดี ทำดีทำไมกลับไปได้ชั่ว มันไม่จริง มันๆๆพูดอย่างโง่เขลา ทำดีมีตัวผู้ทำต้องได้ มันยังไม่ทันจะได้หรือมันไม่ได้ก็มี มันก็ไม่แน่นอน แต่ถ้าพูดว่าทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว ทำดีก็ดีเสร็จเมื่อทำ ทำชั่วก็ชั่วเสร็จเมื่อทำ ไม่ต้องมีคำว่าได้ อย่าไปใช้คำว่าได้ ใช้คำว่าได้มันจะมีตัวตนขึ้นมา ไม่มีตัวตนเป็นอนัตตา มันก็ดี ทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่ว คือการกระทำ นั่นแหละมันดี อัตภาพนี้มันทำลงไปมันก็ดี โดยไม่ต้องได้ ถ้าอย่างนี้แล้วจะไม่มีปัญหาว่าทำไมทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว มันเด็ดขาดตายตัว ทำเสร็จดีเสร็จ ทำชั่ว ชั่วเสร็จ นี่กรรมในพุทธ กรรมในพุทธ มันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องมีตัวกูผู้กระทำเพราะพอกระทำอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น กายใจล้วนๆไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน ทำอะไรลงไปมันก็เป็นอย่างนั้นเสร็จทันที นี่พออาบน้ำมันก็เปียกทั้งนั้น ไม่ต้องมีว่า รอว่า รอว่าจะได้หรือไม่ได้ พอทำดีเสร็จ พอทำดีนะ พอทำเสร็จมันก็ดีเสร็จ ทำชั่วก็ชั่วเสร็จ นี่วิธีพูดของชาวพุทธที่ถูกต้อง แต่ถ้ามันยึดถือมาทางมีอัตตา มีตัวตน มันจะต้องมีตัวผู้ได้ ผู้กระทำ พอมันมีผู้ได้มันก็ไปแบบนั้น ทั้งที่มันดีเสร็จ ชั่วเสร็จ มันก็ยังไม่คิดว่าได้อะไร แล้วมันก็เป็นหนทางวัตถุขึ้นมา ตามหนังสือของนาย ทอ เรียงพิบูลย์ (๐๑.๐๔.๓๖) มันต้องมีได้ มีได้ มันไม่ดีเสร็จ ชั่วเสร็จ มีแต่การกระทำ แล้วเขาก็สอนกันเจาะจงเหลือเกินว่าไอ้ผลกรรมที่ได้ก็ต้องเหมือนแบบรูปการกระทำ ทำบุญด้วยเงินก็ได้เงิน ทำบุญด้วยอะไรก็ได้อันนั้น มันก็ดีเหมือนกัน ทางศีลธรรมก็ดีเหมือนกัน ทางศีลธรรมขั้นต้นของเด็กๆจะเชื่ออย่างนั้นก็ได้ ก็ได้ประโยชน์ แต่ถ้าจริง ปรมัตถชั้นสูงสุดแล้วมันไม่มี ไม่มีตัวผู้กระทำอะไร มันมีแต่นามรูปมันเคลื่อนไหวไปตามความรู้สึกของมัน เคลื่อนไหวไปทางดีก็ดีเสร็จ เคลื่อนไหวไปทางชั่วก็ชั่วเสร็จ ที่จะได้เงิน ได้ชื่อเสียงหรือว่าได้นินทามันทีหลัง มันอีกเรื่อง ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้ มันอีกเรื่องต่างหาก มันมีอิทัปปัจจยตาตอนหลังของมันต่างหาก จะได้หรือไม่ได้มันก็แล้วแต่ตอนหลัง ไอ้ที่ตอนที่แน่นอนก็คือทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่ว ก็ชั่วเสร็จ ถ้าพุทธบริษัทไม่มีคำถาม ที่ว่าทำดีแล้วทำไมไม่ได้ดี ทำชั่วแล้วทำไมไม่ได้ชั่ว แล้วทำไมทำชั่วแล้วได้ดีทำดีได้ชั่ว นี้ไม่มีคำถามอย่างนี้ ในเรื่องของพุทธบริษัท นั่นเป็นเรื่องของผู้ที่มีตัวตน ยึดถือตัวตน เป็นแบบตัวตน ซึ่งยังไม่ใช่พุทธบริษัท พุทธบริษัทไม่มีตัวตน
ที่กรุงเทพนั้นเอง ในการเรียนการสอนแม้ในโรงเรียนนั้นเองมันก็มีปัญหาข้อนี้ ทำดีทำไมไม่ได้ดี ทำชั่วทำไมไม่ได้ชั่ว มันไม่มีคำว่าได้เข้ามา ไม่ ไม่ ไม่มีคำว่าได้ ทำดี ดีเกิด ทำชั่ว ชั่วเกิด ส่วนที่จะได้อะไรอีกทีหนึ่ง จะได้ชื่อเสียงหรือไม่ได้ชื่อเสียง ได้แต่นินทาหรือว่าอะไร มันก็ไม่แน่ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งต่างหาก อิทัปปัจจยตาอีกกลุ่มหนึ่งต่างหาก นี่เขียนสั้นๆว่ากรรม ถือเป็นพุทธศาสนา แล้วก็กรรมนอกพุทธศาสนาจะมีปัญหาเรื่องอย่างนี้ ถ้าเป็นในพุทธศาสนาจะพูดว่าทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว ถ้านอกไปเป็นของผู้มีตัวตน จะพูดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ต้องมีการได้ นั่นคือตัณหาอุปทานที่มันเหลืออยู่ ต้องมีตัวกูได้สิ พอไม่ได้ก็โพทนาว่าทำไมถึงไม่ได้ แต่ถ้าความจริงทางพุทธศาสนามันเป็นเสร็จ มันไม่ต้องรอได้ มันไม่ต้องมี มีข้อโวยอะไรกันอีกแล้ว ว่าไม่ได้ ทำดี ดีเสร็จ ทำชั่ว ชั่วเสร็จ ต้องเข้าใจความจริงข้อนี้ไว้จะได้พูดถูกต้อง เราพูดจะได้ถูกต้อง แล้วถ้าใครเขาจะคัดค้าน จะถาม จะแย้งขึ้นมาเราก็จะตอบได้ถูกต้อง แก้ปัญหาของเขาได้ถูกต้อง กรรมของพวกอัตตา กรรมของพวกอนัตตา นี่มันเป็นอย่างนี้ กรรมของพวกอัตตานอกพุทธศาสนา กรรมของพวกอนัตตาในพุทธศาสนา เขามีอัตตาทำกรรม อัตตามันได้ เรามีอนัตตา ทำกรรม อนัตตานั่นละมันได้ ไอ้สิ่งที่เป็นอนัตตาแหละ มันเป็นเสียเอง มันไม่ต้องรอเรา แต่จะให้พูดภาษาคนธรรมดาว่าได้ มันก็ได้เหมือนกัน แต่ความจริงมันแน่นอนมันเป็นเสียเอง ดีหรือชั่วเสร็จได้ทันที อนัตตาทำกรรมจะเป็นทันที ดีก็ดีเสร็จ ชั่วก็ชั่วเสร็จ มันหัวข้อสำหรับไว้จำ หรือไว้ศึกษา อธิบายว่ากรรมของอัตตานอกพุทธศาสนา กรรมของพวกอนัตตาในพุทธศาสนา เท่านี้ก็พอแล้วอธิบายให้มันถูก มิฉะนั้นมันจะยุ่ง ว่ากรรม กรรม กรรม เหมือนกัน รับผลกรรมเหมือนกัน
เอาทีนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ เป็นเรื่องที่ถูกด่าเหมือนกันที่อาตมาถูกด่ามาแล้ว คือมันมีพระพุทธภาษิตตรัสไว้โดยที่เราไม่ต้องนั่น แต่ถ้าเราไม่เชื่อพระพุทธภาษิตแล้วเราก็ต้องพิสูจน์ในตัว ต้องพิสูจน์ในตัว คือพุทธภาษิตตรัสว่า ความสุขและความทุกข์นี้มิใช่ผลของกรรมเก่า ประโยคนี้ต้องจำชัดทุกตัวอักษร ทุกข์หรือสุขมิใช่ผลของกรรมเก่า นปุพมเหตุ (๐๑.๑๐.๔๘) มิใช่เหตุจากกรรมเก่า เดี๋ยวนี้ที่ไหน ในกรุงเทพ ที่ไหนก็ตาม จะถือว่าผลของกรรมเก่ามาแย้งกันอยู่กับพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ใช่ผลของกรรมเก่าผลของอะไร ก็ผลของที่มันกระทำ กระทำเดี๋ยวนี้ มันผิดกฎ มันผิดกฎปฏิจจสมุทปาท หรืออิทัปปัจจยตา มันก็มีผลร้ายขึ้นมาเดี๋ยวนี้ ทำถูกมันก็มีผลขึ้นมาเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ผลของกรรมเก่า อย่าเอากรรมเก่ามาสืบเนื่องมาถึงเดี๋ยวนี้อีก มันเป็นเรื่องอัตตา อัตตา อย่างอัตตา อย่างนั้น ขอพูดตามความรู้สึก ว่าจะต้องถูกต้องแน่ๆ คือว่า พวกฮินดู คือพวกที่ไม่ใช่พุทธ ก่อนพุทธ เขาสอนอย่างนั้นก่อน แล้วเขาก็มาสอนคนที่นี่ที่สุวรรณภูมิ แถวนี้ก่อนพุทธ ก่อนพุทธ หมายถึง พวกนั้นมาสอนไว้เสร็จ สุขทุกข์เป็นผลของกรรมเก่า เขามาสอนไว้เสร็จ มันติดอยู่ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะมา พุทธศาสนาจะมาทีหลังและสอนใหม่ มันก็ไม่ๆๆๆ ไม่เข้าใจมันไม่รับ หรือมันเลือนไปเสีย มันเหลืออยู่แต่ที่มันเข้าใจง่ายๆว่าผลของกรรมเก่า ไอ้เรื่องนี้ถ้าพูดให้หมดมันต้องพูดยาวสักหน่อยหนึ่ง คือว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเป็นคำสอนขึ้นมาว่า มีพวกคน พวกคนเหล่าอื่นสอนให้ถือต่างๆว่า สุขทุกข์ สุขหรือทุกข์เป็นผลของกรรมเก่า นี่พวกหนึ่ง แล้วสอนหรือถือกันว่า สุขหรือทุกข์นี้เป็นเพราะพระเจ้าบันดาล พระเจ้าบันดาล นี่พวกหนึ่ง พวกที่สามเขาว่า สุขหรือทุกข์นี้ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยอะไรเลย มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยอะไรเลย นี่ก็พวกหนึ่ง รวมเป็นสามพวก ที่เราคถาคตหรือพุทธศาสนาสอนว่า สุขทุกข์มีเหตุมีปัจจัย ในตัวของมันเอง ไม่ใช่ผลของกรรมเก่า ไม่ใช่พระเป็นเจ้าบันดาล หรือไม่ได้เป็นไปตามบุญตามกรรมอย่างไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย สุขทุกข์มันมีเหตุปัจจัยของมันก็คือการกระทำ ทำเมื่อไรมีผลเมื่อนั้น จะทำเมื่อไรมีผลเมื่อนั้น เรียกว่ากฎอิทัปปัจจยตา เอาถ้าถือว่าตายจากชาตินู้นแล้วมาเกิดในชาตินี้ มันก็มีการทำกรรมตามกฎอิทัปปัจจยตา มันก็มีสุขมีทุกข์เป็นตามกฎนี้ แต่ว่าผลของกรรมเก่าไม่ได้ตามมา แม้ว่ามันจะตามมาฉันก็ขับไล่มันไปเสียใหม่ด้วยการกระทำเสียใหม่ด้วยกฎของอิทัปปัจจยตา ผลของกรรมเก่าที่ไม่มีมา ไม่มีอำนาจมาลบล้างการกระทำเดี๋ยวนี้ การคิดการพูดการกระทำเดี๋ยวนี้ตามกฎของอิทัปปัจจยตาเดี๋ยวนี้มันมีผลตามเรื่องของมัน มันมีความสำคัญ ถ้าว่าผลของกรรมเก่าเราก็หมดท่า ก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็ต้องยอมแพ้แล้วก็ต้องปล่อยมือ ถ้ามันเป็นผลของกรรมเก่าเฉียบขาดมา เราก็เป็นคนพ่ายแพ้หมด เราก็ปล่อยไปเรื่องที่เราแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าเราถือเป็นผลของอิทัปปัจจยตาเดี๋ยวนี้เราก็แก้ไขได้สิ แล้วก็ทำไว้แต่อิทัปปัจจยตาที่มันไม่มีความทุกข์ นี่ผลกรรมเก่าถ้ามีมันก็เลิกไปเอง มันก็ยกเลิกไปเอง มาโดนอิทัปปัจจยตาอันใหม่นี้ ชาวพุทธจึงไม่ถือว่าเป็นผลของกรรมเก่า แล้วก็ทอดมือทอดตีนปล่อยไปตามไปตามบุญตามกรรมของกรรมเก่า เอาที่นี้พวกที่ถือว่าพระเจ้า พระเจ้าบันดาลให้ เป็นผีซางเทวดาอะไรไม่รู้ พระเจ้าบันดาล มันก็ทำอะไรไม่ได้อีก มันต้องปล่อยไปตามบุญตามกรรมแล้วแต่พระเจ้าจะบันดาล เราไม่เอา เรามีอิทัปปัจจยตาที่จะทำให้ได้ผลตามที่เราต้องการ พระเจ้า พระเจ้าจะแกล้งเรา จะแกล้งให้เราเป็นทุกข์ เราก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะเราทำตามกฎของอิทัปปัจจยตา ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้องอยู่ที่นี่ พระเจ้าจะบันดาลให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้ แต่ถ้าคนมันโง่หรือมันเชื่อเด็ดขาดเสียแล้วมันก็ไม่เชื่ออย่างนี้ ไปเชื่อว่าพระเจ้าบันดาลตามพรหมลิขิต ตามอะไรลิขิตเราก็ไม่รู้ นั่นเรียกว่าตามที่พระเจ้าบันดาล ชาวพุทธอย่าปล่อยเป็นแบบนั้น อย่าปล่อยตัวเองเป็นแบบนั้น ถ้ามันยึดอยู่กับหลักอิทัปปัจจยตา ที่กำลังจะทำ ที่กำลังจะทำนี่จะมีผลกว่า อื่นๆออกไปหมด ถ้ามีกรรมเก่าตามมาก็กวาดทิ้งไป ถ้าพระเจ้าจะบันดาลมาก็กวาดทิ้งไป มันมีการกระทำที่ถูกต้องอยู่ที่นี่ตามอิทัปปัจจยตา ก็เข้ารูปในข้อที่สามว่า สุขทุกข์มีเหตุมีปัจจัย มีเหตุมีปัจจัย เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย นั่นคือตัวกฎอิทัปปัจจยตา เพราะฉะนั้นจะเข้าใจอิทัปปัจจยตาให้ดีแล้วใช้เป็นประโยชน์ให้ได้ ใช้เป็นที่พึ่งให้ได้ มันจะตัดกรรมเก่าทิ้งไป มันจะตัดการบันดาลของพระเจ้าทิ้งไป แล้วมันก็จะมีเหตุมีปัจจัยที่สร้างใหม่ขึ้นมาได้ตามที่ต้องการ นี้ผลกรรมที่ เรื่องกรรมที่แท้จริงมีอย่างนี้ แต่ที่เขาสอนกันอยู่ตามศาลาวัด แม้ในพวกอภิธรรมก็สอนว่าเป็นผลของกรรมเก่า นี่ไม่อยากให้เอาเทปพวกนี้ไปโฆษณา พวกนั้นเขาขะโกรธเอา เราไปออกชื่อเขา แม้พวกอภิธรรมก็ยังสอน จะอภิธรรมกันถึงไหน นี่เรื่องกรรม หัวข้อเรื่องกรรม กรรมของพวกอัตตานอกพุทธศาสนา กรรมของพวกอนัตตาในพระพุทธศาสนา มีสองอย่างอย่างนี้ อย่าได้พูดผิด ถ้าเขามาคัดค้าน ตอบ ตอบโต้ ก็สามารถตอบให้เข้าใจได้ เรื่องยุ่งยากลำบาก อธิบายยากลำบาก อนัตตาก็ทำกรรมได้ตามแบบอนัตตา ผลก็มาเกิดที่ตัวอนัตตา นามรูปนี้เป็นอนัตตา ก็ทำกรรมไป นามรูปนี้ทั้งที่เป็นอนัตตาก็ได้รับผลกรรม เพราะว่ามันทำเสร็จ มันดีเสร็จ ชั่วชั่วเสร็จ ทำดี ดีเสร็จ เป็นนามรูปทั้งนั้น ไม่ต้องรอเมื่อไรจะได้เมื่อไรจะมา ถ้าเราเป็นชาวพุทธเราจะไม่พูดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราจะพูดทำดีก็ดีเสร็จ ทำชั่วก็ชั่วเสร็จ ไม่ต้องรอเมื่อไรจะได้ ปฏิกิริยาที่ตามมาที่หลังอีกเรื่องนึง มี มี เรารับว่ามี ไม่ได้ก็ได้ มันเป็นอีกชุดหนึ่ง เป็นอิทัปปัจจยตาอีกชุดหนึ่ง ดังนั้นทำดี ดีแล้ว แต่ไม่ได้รับผลของความดีเป็นเงินเป็นทอง เป็นชื่อเสียง อำนาจวาสนาอย่างนี้ก็ได้ จะได้ก็ได้ จะได้ตรงกันข้ามก็มี ทำดี ดีเสร็จแต่กลับได้ผลเป็นที่ไม่น่าปรารถนา อาจจะถูกด่า ถูกตำหนิก็ได้ เรียกว่าผลพลอยได้ก็แล้วกัน ไม่ใช่ตัวจริง เป็นผลพลอยได้นั้น จะได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้ มันเป็นอีกชุดนึงต่างหาก มันเป็นเรื่องอิทัปปัจจยตาอีกชุดหนึ่งต่างหาก ชุดนี้แน่นอนตายตัว ทำดีดี ทำชั่วชั่ว ก็เสร็จแล้ว ในคำว่าอกาลิโก อกาลิโก ในบทพระธรรมนั้นคือไม่เกี่ยวกับเวลา ทำดีดีเสร็จ ทำชั่วชั่วเสร็จไม่ต้องรอเวลา เรียกว่าอกาลิโก แปลว่าไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ไม่เนื่องอยู่กับเวลา กาละ แล้วก็อิกะเป็นกาลิกะ แล้วก็เป็น อะ คือไม่ ไม่กาลิกะ คือเป็นอกาลิกะ ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ทำดีดีเสร็จ ทำชั่วชั่วเสร็จ ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ถ้าจะขึ้นอยู่กับเวลาก็ไอ้ชุด ชุดที่สองชุดผลพลอยได้จะขึ้นอยู่กับเวลา หรือสถานการณ์อันอื่นที่แวดล้อม แวดล้อมอยู่ เป็นเรื่องผลพลอยได้ ทำดีดีเสร็จแล้วได้รับผลร้ายก็มี ทำชั่วชั่วเสร็จแล้วแต่ได้รับผลสนุกสนานเป็นที่พอใจต่อวิญญาณ เอาพอประมาณ นี้เรียกว่ากรรมในพุทธศาสนา ก็ต้องเขียนเหมือนกันจะได้รู้ว่าเรื่องอะไรพูดแล้วเรื่องอะไรยังไม่ได้พูด พูดไปตามความสะดวก ลำดับที่จะพูด เรียงเป็นเรื่องตามลำดับไปเรียงเอาเองเถอะไม่ได้พูดตามลำดับ ไม่ได้พูดตามที่เรียงเป็นลำดับ พูดตามที่ว่าอะไรนึกได้ก่อนก็พูดก่อน
ที่นี้ก็มาถึงเรื่องธรรมชาติ ต่อไปเป็นเรื่องธรรมชาติ มันเป็นเรื่องของคำพูด เป็นเรื่องของคำพูด เราก็มีคำว่าธรรมชาติ พูดในภาษาไทย ในภาษาบาลีก็มีคำว่าธรรมชาติ พูดในภาษาบาลี ส่วนนักวิทยาศาสตร์ เรื่องปัจจุบันเรื่องการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก็มีคำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติพูดเหมือนกัน ทียี้คำว่าธรรมชาติคำเดียวนี่ก็ต้องมีปัญหา ดังนั้นจึงต้องทราบก่อนว่าพวกในใช้คำนี้ ใช้คำพูดคำนี้อย่างไร เอาพุทธศาสนาก่อน ตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา มันก็เป็นธรรมชาติหมดไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติ หลักพุทธศาสนาเป็นธรรมชาติหมด พูดง่ายๆก็ว่ามันไม่มีเหนือธรรมชาติ ไม่มี super nature ไม่มีเหนือธรรมชาติ อย่างที่คนทั่วไป หรือวิทยาศาสตร์เรียกว่าธรรมชาติบ้าง เหนือธรรมชาติบ้าง พุทธศาสนาไม่มีเหนือธรรมชาติ ไม่มี คล้ายๆว่าเหนือธรรมชาติก็คือธรรมชาตินั่นแหละ ความรู้สึกธรรมดาของคนธรรมดา โดยเฉพาะลูกเด็กๆด้วยมันมีเหนือธรรมชาติ มีตัวธรรมชาติภายใต้ธรรมชาติ จึงกลัวเหนือธรรมชาติ มาเหนือเมฆทำอะไรไม่ได้ มันมาเหนือธรรมชาติ แต่ว่าพุทธศาสนาตามความจริงไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเหนือธรรมชาติ ก็เลยเป็นธรรมชาติหมด แต่ถ้าวิทยาศาสตร์จะมีคำว่าเหนือธรรมชาติ ก็เป็นไปตามแบบวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ธรรมะแท้ในพุทธศาสนาของเดิมแท้มีแต่คำว่าธรรมชาติอย่างเดียว เราก็จะต้องใช้คำว่า มันจะเป็นสังฆตะหรือ ป็นอสังฆตะก็ตาม เป็นธรรมชาติเสมอ คนทั่วไปจะเอาเรื่องธรรมชาติ สังฆตะ สังฆตะนี้เหตุปัจจัยเป็นธรรมชาติ แล้วที่เหนือจะตรงกันข้าม เป็นเหนือธรรมชาติแล้วก็ไม่ใช่ธรรมชาติ นั่นมันพวกนั้นมันว่า พวกนั้นมันรู้สึก แต่ผู้ที่รู้ความจริงถึงสูงสุดเช่น พระพุทธเจ้าถือเป็นธรรมชาติด้วยกัน แม้จะตรงกันข้าม ตามธรรมชาติมีอยู่เอง นอกเหนือธรรมชาติที่ต้องทำขึ้นมา มนุษย์ทำขึ้นมา สร้างขึ้นมา เรียกว่าไม่ใช่ธรรมชาติ เป็นเหนือธรรมชาติ มันก็ไปแยกกันซะอย่างนี้ ในทางธรรมะแม้นั้นก็ธรรมชาติ ที่มันเป็นอยู่เองก็ธรรมชาติ ที่มนุษย์จะไปดัดแปลงแก้ไขสร้างขึ้นมาก็ยังเป็นธรรมชาติ เราจึงมีธรรมชาติคำเดียวใช้หมด แต่ถ้าชาวบ้านพูดกันตามธรรมดาสามัญ หรือนักวิทยาศาสตร์ก็อาจจะพูดอย่างนั้น ที่มีอยู่ตามธรรมชาติกับที่เราไปจัดไปทำมัน ทำมันขึ้นมานี่จะต้องเรียกว่านอกธรรมชาติหรือไม่ใช่ธรรมชาติ เอาเมื่ออยากพูดอย่างนั้นก็พูดไป เป็นภาษาธรรม เป็นภาษาคน พูดอย่างภาษาคนก็อย่างนั้น แต่พูดอย่างภาษาธรรมก็พูดอย่างนี้ คือว่ามันเป็นธรรมชาติ ไม่ยกเว้นอะไร นี่ความจริงมันมีอยู่อย่างนี้เป็นเรื่องของภาษา แล้วก็มาเถียงกัน เถียงกันจนวิวาทกัน อย่างนี้ธรรมชาติอย่างนี้ไม่ใช่ธรรมชาติ เพราะมนุษย์ทำขึ้นมา มนุษย์เอาของที่เป็นธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ เอามาทำเป็นอะไร ยังไงมันก็ยังเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น แม้มันจะเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปอย่างไรก็ตามมันยังคงเป็นธรรมชาติอยู่นั่นแหละ แต่มันคงจะไปพูดลำบาก จะไปพูดในโณงเรียนหรือในกับคนที่เขามีการศึกษา มาจากเมืองนอกเมืองนา จะไปบรรยายกันอย่างนั้นก็ได้ มันก็พูดกันยาก แต่ขอให้รู้เอาไว้เถอะว่าทางพุทธศาสนามีแต่ธรรมชาติ แล้วจะแถมว่าเป็นธาตุ ทา-ตุ ธาตุตามธรรมชาติอีก มันจะมีกี่ชื่อ หมื่นชื่อ แสนชื่อ ล้านชื่อก็ตาม มันมีชื่อเรียกต่างๆแต่ทั้งหมดนั้นเป็นธรรมชาติหรือเป็นธาตุตามธรรมชาติ ดีก็ธรรมชาติ ชั่วก็ธรรมชาติ ไม่ดีไม่ชั่วก็ธรรมชาติ มันจะมีอะไรเหลือ มีสิ่งปรุงแต่งเป็งสังฆตะก็ธรรมชาติ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีอะไรปรุงแต่งก็เป็นธรรมชาติ มันเป็นโลกียะก็เป็นธรรมชาติ โลกุตตรก็เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติโลกียะ ธรรมชาติโลกุตตร หลอกลวงก็เป็นธรรมชาติ ที่แท้จริงก็เป็นธรรมชาติ โดยไม่มีอะไร ไม่มีอะไรที่จะไม่ใช่ธรรมชาติ ข้อนี้ก็คือว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ของมันเอง ตามธรรมชาติของมันเอง เป็นตถาตา ตถาตา เป็นเช่นนั้นเอง พวกวิทยาศาสตร์บัญญัติให้มันต่างกันอย่างตรงกันข้าม แล้วก็จะถือหลักให้มันตรงกันข้าม phenomena phenomena คือปรากฎการณ์อยู่ตามธรรมชาติทั่วไป ทุกอย่างๆ ได้ทั้งมวล เป็นพหูพจน์ เป็น น่า เป็น อา นอม-มิ-น่า ทั้งหลายมันเป็นธรรมชาติ แต่เขามีไอ้อันที่มันไม่ใช่อย่างนั้น เรียกว่า nominal nominal เป็นเอกพจน์ เป็นแค่คำว่า นอล หรือ ออน อยู่ข้างหลัง nominal นี่ตรงกันข้ามจาก phenomena ด้วยประการทั้งปวง นี่เขายังถือว่าเป็นผิดธรรมชาติเหนือธรรมชาติก็ตามใจ เพราะว่าแม้อย่างนั้นมันก็ยังคงเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติฝ่ายนั้น ธรรมชาติชนิดนั้น phenomenaก็ดี nominalก็ดี เป็นธรรมชาติ แล้วเขาก็ไม่มีอะไรที่จะแยกเป็นคู่ๆๆ ให้ ให้ตรงกันข้าม ในวง สังฆตะก็ดี อสังฆตะก็ดีล้วนแต่เป็นธรรมชาติ สังฆตะแปลว่าถูกปรุง ถูกกระทำขึ้นมา อสังฆตะแปลว่าไม่ถูกปรุงไม่ถูกกระทำขึ้นมาเพราะว่ามันไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย มันมีเป็นตัวมันเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยนี้เรียกว่า อสังฆตะ อสังฆตะ หาคำภาษาอังกฤษมาแปลยาก แปลกันเป็นแกนๆๆๆ condition uncondition มีcondition หรือไม่มีcondition สังฆตะและอสังฆตะนี่ก็เป็นธรรมชาติ จำไว้ว่าหลักพุทธศาสนาถือว่าไม่มีอะไรที่มิใช่ธรรมชาติ ทีนี้สิ่งเป็นอสังฆตะไม่มีอะไรปรุง ไม่มีปัจจัยปรุงนี้เข้าใจยาก เพราะมันเป็นสิ่งที่ยังไม่มาปรากฎในหมู่มนุษย์ เรียกว่าอสังฆตะ สิ่งที่มนุษย์รู้จักดีคุ้นเคยกันดี พูดกันอยู่นี่มันเป็นสังฆตะทั้งนั้น อสังฆตะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยปรุง ดังนั้นจึงไม่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เรียกอสังฆตะ ตัวอย่างที่จะ ตัวอย่างที่พอจะเอามาพูดกันได้ เช่นพระนิพพาน ภาวะของจิตที่ไม่มีปัจจัยปรุง ไม่ถูกปัจจัยปรุง เป็นอิสระแก่การปรุง นี่เขาเรียกว่าพระนิพพาน เป็นอสังฆตะก็ได้ ทีนี้มองๆๆ ต่อไปอีกหน่อย ว่าสัจจะ สัจจะที่เป็นกฎ ตัวกฎ กฎ เป็นกฎอิทัปปัจจยตา กฎอะไรก็ตามที่เป็นตัวกฎ กฎ กฎ กฎนั้นมันไม่มีปัจจัยปรุง กฎมันจึงเป็นอิสระ จึงเป็นไปตามกฎเที่ยงแท้อยู่ ถ้ากฎมีเหตุมีปัจจัย มันๆๆๆเปลี่ยนหมด มันไม่เป็นกฎอยู่ได้ มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย กฎหรือความจริง ความจริงก็ตาม กฎก็ตาม สิ่งนี้เป็นอสังฆตะ ใครๆไปทำให้มันเปลี่ยนไปไม่ได้ เรียกว่ากฎก็แล้วกัน หรือว่าสัจจะก็ได้ สิ่งที่สามคือความว่าง ถ้าว่างจริงมันไม่มีเหตุมีปัจจัยทำอะไรได้ ความว่างโดยสมบูรณ์อันแท้จริง ความว่างที่เป็นพระนิพพาน ความว่างนี้ก็เป็นอสังฆตะ สุญญตา สุญญตาเป็นอสังฆตะ เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยมันจึงว่าง ถ้ามีเหตุมีปัจจัยปรุงมันก็วุ่น มันก็ไม่ว่าง นี่ตัวอย่างเท่าที่จะเล็งเห็นได้ว่าอสังฆตะนั้นคืออะไร ส่วนสังฆตะนั้นทุกอย่าง ทุกอย่างเห็นชัดอยู่แล้ว แทบไม่ต้องพูด มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจอย่างที่เราพูดกัน นี่ความว่างไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ยังคงเป็นความว่างตายตัวอยู่อย่างนั้น นี่ก็เรียกว่าอสังฆตะได้ กฎคือความจริงของธรรมชาติไม่มีเหตุปัจจัยให้มันเปลี่ยนได้ มันก็ไม่รู้จักเปลี่ยนมันก็เป็นกฎเกณฑ์นิรันดรไป ก็เรียกว่าอสังฆตะ ที่ที่มนุษย์จะเป็นถึงได้ก็คือนิพพาน นิพพานก็เป็นนิพพาน เป็นนิพพาน เป็นของนิพพาน แต่มนุษย์เข้าไปถึงได้โดยจิตที่ไม่มีกิเลสสัมผัสพระนิพพาน พระนิพพานคือภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้เรียกอสังฆตะ ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยปรุงแต่งคงที่ คงที่ นี่ตัวอย่างเท่าที่จะยกมาให้ดู รู้จักแล้วก็ศึกษานิพพานอย่างหนึ่ง กฎแล้วก็สัจจะทั้งหลายอย่างหนึ่ง ความว่างอย่างหนึ่ง เหล่านี้เป็นอสังฆตะแต่มันก็ยังลำบากอยู่นั่นเอง จะไปพูดให้เด็กๆ นักเรียน นักศึกษาสมัยนี้ฟัง สำหรับคำว่าอสังฆตะคืออะไร แต่ก็อย่าท้อถอยอย่ายอมแพ้ พยายามให้เห็นว่าไอ้สิ่งที่มันไม่มีเหตุปัจจัยปรุง ไม่เนื่องมาจากเหตุปัจจัยนั้น มันก็ไม่เปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย ก็เพราะมันไม่มีเหตุปัจจัย ดังนั้น มันจึงเป็นอสังฆตะ แล้วก็มีอยู่อย่างลึกลับเข้าใจยาก เราจึงได้สิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็นสังฆตะประเภทหนึ่ง เป็นอสังฆตะอีกประเภทหนึ่ง ในร่างกายชีวิตนี้มีแต่สังฆตะทั้งนั้น ไม่มีอะไร แต่ว่าจิตใจนี้ที่เป็นสังฆตะ รู้ๆๆๆๆสึกรู้จักพระนิพพานได้ รู้จักความว่างได้ รู้จักกฎได้ เพราะฉะนั้นมันๆๆ ส่วนอสังฆตะ ที่จิตที่อบรมดีแล้วฉลาดดีแล้วก็รู้จักได้ ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มาเกี่ยวข้อง เราจะต้องถูกมันบังคับทุกอย่างอยู่ กฎหรือสัจจะมันเป็นนายเป็นอิสระ บังคับทุกๆสิ่งอยู่ ตัวมันเป็นอิสระเพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นี่จะเห็นได้ว่าอสังฆตะส่วนนี้ทักสังฆตะทั้งหลายทั้งปวงอยู่ว่า ให้เป็นไปตามกฎ เช่นกฎอิทัปปัจจยตา บังคับสิ่งทั้งปวงให้เป็นไปตามกฎนั้น นี่อสังฆตะมันมีอิทธิพลอย่างนี้ ทีนี้พระพุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้าก็ตามท่านไม่ต้องการให้ยึดถือทั้งสองอย่างนี้ว่าเป็นอัตตา สังฆตะก็ดี อสังฆตะก็ดีเป็นธรรมชาติ เป็นธาตุตามธรรมชาติ อย่าไปเอามายึดถือว่าเป็นตัวกูเป็นของกู ให้รู้จักสิ่งทั้งปวงถูกต้องว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นสังฆตะก็เป็นไปตามแบบสังฆตะ เป็นอสังฆตะก็เป็นไปตามแบบอสังฆตะ ทั้งสองนี้ไม่ใช่ตัวตน ทีนี้พวกที่เขาจะค้าน พวกอื่นที่เขาจะค้านโดยเฉพาะพวกฮินดู เพราะว่าถ้าสังฆตะมันเป็นตัวตน อสังฆตะก็ต้องไม่มีตัวตน เขาไปแยกออกจากกันเสีย ให้มีตัวตนที่ถาวร จึงมีอัตตาที่ถาวร ปรมัตอัตตา ปรมาตมันที่ถาวร เป็นแบบถาวรสูงสุดอยู่พวกหนึ่ง มุ่งไปที่นั่นก็ได้ ทุกคนมุ่งไปที่นั่น มุ่งไปที่อัตตาอันถาวร เป็นตัวตนถาวร พุทธศาสนาไม่มี ไม่มีสิ่งนั้น สังฆตะ หรืออสังฆตะล้วนแต่มิใช่ตัวตน ถึงมันจะถาวรก็ไม่ใช่ตัวตน ที่มันง่ายๆที่มีมันใกล้ๆ ที่มันเป็นคำพูดที่พูดกันอยู่เสมอพวกฮินดูเขาจะค้านว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ทั้ง 5 เท่านั้นที่เป็นอนัตตา อย่างเราสวดร้องกันอยู่ขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนัตตา แล้วถ้ามันมีสิ่งอื่นนอกจากขันธ์ 5 เล่า ตรงกันข้ามมันก็ควรจะเป็นอัตตาสิ เราไม่ยอมไปเถียงกับเขา ไม่มีหรอกนอกจากขันธ์ 5 ที่จะรู้สึกได้ ถ้ามีและรู้สึกได้มันก็ยังคงเป็นอนัตตา เมื่อขันธ์ 5 เป็นอนัตตา สิ่งอื่นตรงกันข้ามนอกจากขันธ์ 5 มันก็ยังเป็นอนัตตา จึงรวมความว่าสังฆตะก็ดี อสังฆตะก็ดีเป็นอนัตตา พูดเป็นภาษาธรรมดาก็ว่า สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงก็ดี สิ่งที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงก็ดี ล้วนแต่เป็นอนัตตา พวกหนึ่งเขาก็มีเหตุผลน่าฟังของเขาเหมือนกันว่า ถ้ามันเฉียบขาดจนอะไรปรุงไม่ได้ ปรุงแต่งไม่ได้มันก็ควรจะเป็นอัตตาสิ คุณเอาไปสิ คุณเอาไปสิ เอาไปใส่อัตตาของคุณ แต่ในพุทธศาสนานี้ไม่เอา มันจึงมีแต่อนัตตา อนัตตา พวกอื่นเขาจะเอาพระเจ้าเป็นอัตตาก็ตามใจเขา เอาอาตมันเป็นอัตตาก็ตามใจเขา เขาชอบอย่างนั้น เขาถืออย่างนั้น เขาได้รับประโยชน์เขาพอใจแล้วเขาก็ถืออย่างนั้น แต่ชาวพุทธถืออย่างนี้ จะไม่เอาอะไรเป็นอัตตาให้มันหนัก ให้มันเป็นความหนักอยู่บนศีรษะ นี่เรื่องธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติ จะมาโมเมว่าถ้ามันตรงข้ามจากสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ช่ธรรมชาติ มันก็ว่าอย่างนั้น ที่เราไม่ ไม่ จะอย่างนี้หรือจะตรงกันข้ามกันอย่างนี้มันก็เป็นธรรมชาติ จะธรรมชาติอย่างชนิดนี้หรือธรรมชาติอย่างชนิดนั้น ธรรมชาติเป็นสังฆตะก็มี ธรรมชาติเป็นอสังฆตะก็มี มันจึงเป็นธรรมชาติไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ทุกสิ่งล้วนเป็นธาตุ เป็นธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ที่ไม่มีเหตุมีปัจจัยก็ไม่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ดังนั้นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ดี ทั้งสองอย่างนี้เป็นธรรมชาติ โดยเสมอกัน ไม่เหลือสิ่งใดไว้ให้ยึดถือโดยความเป็นตัวตน พวกหนึ่งเขาเหลือเอาไว้ เอาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย นี่เป็นตัวตน เป็นตัวตนที่เราจะยึดถือเป็นตัวตน ไอ้พวกที่เข้าใจปิดจะยึดถือเอาพระนิพพานเป็นตัวตนมันก็อ้างอย่างนี้ มันก็มีนะไอพวกที่ยึดถือเอาพระนิพพานเป็นตัวตน เรียกตัวเองเป็นพุทธบริษัทยึดถือนิพพานเป็นตัวตน งั้นเขาก็ไม่ใช่พุทธบริษัท งั้นเขาก็ ไม่ถูกต้องตามพุทธบริษัท ทั้งที่เรียกตัวเองว่าพุทธบริษัท เพราะยึดถือนิพพานเป็นตัวตน มันมีสูตรอยู่สูตรหนึ่งเป็นสูตรแรกของมัชฌิมนิพพานในพระไตรปิฎกนั้น เรียกว่ามูลปริญญายสูตร สูตรนี้จะบอกให้เห็นว่าตั้งแต่เลวต่ำที่สุด จนสูงสุดเป็นชั้นพระนิพพานนั้นเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าตัวตน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือของคนโง่ ยึดถือว่าตัวตน แต่ความจริงมิใช่เป็นตัวตน เขาออกชื่อไว้ตามที่เรียกกันในอินเดียบางที เราใม่เข้าใจหรอก คนธรรมดาไปอ่านไม่รู้หรอกว่านั่นคืออะไร ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม กาสานัจนะ วิญญาณนัจนะ อากินนัจนะ มีสักยี่สิบกว่าอย่าง พอแต่จะใช้รวบหมดไม่ยกเว้นอะไรว่านี่ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าตัวตนของคนโง่ คนไม่รู้ แต่ถ้ารู้เราก็จะไม่ยึดถือในบรรดาสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน อาตมาจึงสรุปสั้นๆพูดให้เด็กๆมันเข้าใจว่าตั้งแต่ขี้ฝุ่นเม็ดหนึ่งไปจนถึงพระนิพพานสูงสุดมีกี่อย่าง กี่อย่างนี้มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ระหว่างขี้ฝุ่นเม็ดเดียวไปถึงพระนิพพานสูงสุด คุณจะแบ่งมันออกเป็นกี่เรื่อง กี่สิบกี่ร้อยเรื่อง ตลอดสายนั้นมันไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรมชาติตามธรมชาติ เป็นธรรมชาติอย่างที่เรียกว่าธรรมชาติ มันจะเป็นพวกสังฆตะมีเหตุปัจจัยปรุงก็ตาม เป็นอสังฆตะไม่มีเหตุปัจจัยปรุงก็ตาม มันสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ อย่าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือแม้แต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของมันว่าเป็นอัตตาเลย เป็นธาตุตามธรรมชาติ นี่คือคำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติที่ใช้อยู่ในพระพุทธศาสนา มันคงใช้ไม่ได้ในห้องเรียนของโรงเรียน ในโรงเรียนเด็กๆ แล้วมันก็ใช้ไมได้แม้ในห้องเรียนของนักวิทยาศาสตร์สูงสุด เพราะเขาไปแบ่งเป็น ธรรมชาติหรือเหนือธรรมชาติ ที่ไม่ใช่ธรรมชาติอย่างเรา เรามันเป็นธรรมชาติทั้งนั้น คุณจะไปเรียกมันว่าอะไรก็สุดแท้ ถ้าพูดอย่างธรรมะก็ สังฆตะก็ดี อสังฆตะก็ดีเป็นธรรมชาติไม่ใช่ตัวตน สำหรับพระพุทธศาสนาถ้าพูดว่าสังฆตะและ อสังฆตะก็หมดไม่อะไรเหลือ มันรวมอยู่ในสองอย่างนี้ ก็เท่ากับว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่ง เป็นธรรมชาติ ของธรรมดากับธรรมชาติ ของผิดธรรมดาก็ยังคงเป็นธรรมชาติ งั้นเราจึงไม่มีคำว่า super nature supernatural ไม่มีในพุทธศาสนา แต่ในการศึกษายุคปัจจุบัน แม้ของพวกนักวิทยาศาสตร์มันก็ยังมีคำนั้นใส่ไว้ supernatural ก็ตามใจเขา เขาจะถืออย่างนั้น แต่เราจะถือว่าไม่มีที่ไม่ใช่ธรรมชาติไม่มี เมื่อเป็นธรรมชาติแล้วก็ไม่มีทางที่ยึดถือ ว่าเป็นตัวตนให้มันเป็นธรรมชาติไปหมด เป็นธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ของธรรมชาติ โดยธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติก็ตามใจ เป็นธรรมชาติไปหมด ไม่มีตัวตน ถ้าถือหลักอย่างนี้แล้วก็รับประกันได้ว่าจะพูดไม่ผิดหลักพระพุทธศาสนา จึงเอาซ้อมความเข้าใจให้รู้ไว้ รู้ไว้ นี่เป็นประเด็นหนึ่งในหลักธรรมะที่สำคัญ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติไม่มีที่ไม่ใช่ธรรมชาติ
ทีนี้มันมีคำถัดมาที่จะต้องรู้จักกันไว้ให้ดี คือคำว่าภพ ภ.สำเภาและ พ.พานสะกดอ่านว่าภพ ที่เป็นภาษาบาลี ภว ภว ภ.สำเภาแล้วก็ว.แหวน ไอ้ ว.แหวนมันเปลี่ยนเป็น พ.พานได้ เมื่อว.แหวนมันเปลี่ยนเป็น พ.พาน มันก็ ภพ ขึ้นมา ถ้าไม่เปลี่ยน ตามเดิมก็ ภว ภะ-วะ พอมาเป็นภาษาไทยนิยมเปลี่ยนเป็น ภพ ภพ ไอ้คำนี้มันก็แปลว่าความเป็น ความเป็น คือเป็นอย่างไรอย่างหนึ่งก็เรียกว่าความเป็น นี่คือ ภพ เราไม่ชอบ ภพ ที่น่ารัก ที่พอใจ ที่ถูกใจ หวังใจให้เป็นภพชั้นเลิศ เป็นภพชั้นเลิศ ภพเลวๆ ภพต่ำๆก็ไม่ชอบ แล้วเราก็ไม่รู้จักหรอกว่ามันมีสักกี่ภพ แล้วคนธรรมดาสามัญจะรู้จักหรอ ภพ ภพเดียว ภพหมวดที่หนึ่ง ภพหมวดที่หนึ่ง คือ กามภพ กามภพ ภพเป็นที่ตั้งแห่งกามเพื่อความพอใจ ภพอันที่เป้นที่ตั้งแห่งกาม ธรรมดาสามัญ ก็เป็นกันอยู่เนืองๆในโลกนี้ เป็นคนเป็นสัตว์เป็นคนดีคนชั่ว เป็นคนแพ้เป็นคนชนะ เป็นพ่อเป็นแม่เป็นลูกเป็นเมียเป็นอะไร เป็นๆๆๆๆ ทุกๆอย่างนั้น เรียกว่า ภพ แจกไม่ไหวมันมากเกินไปนับไม่ไหว เป็นภพๆๆๆ คล้ายๆว่าทางบาลี ทางธรรมะนะ ทางบาลีมันก็แบ่งเป็นสามภพ พวกแรกเรียกว่ากามภพ ภพที่เกี่ยวกับกาม เนื่องเกี่ยวกับกาม ภพที่สองเรียกว่ารูปภพ ไม่เกี่ยวกับกามแต่มาเกี่ยวกับรูป รูปล้วนๆ ภพที่สามเรียกว่าอรูปภพ ไม่เกี่ยวกับรูป เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอรูป มีสามพวกสามประเภทหรือสามกลุ่ม มันโดยธรรมชาติ โดยสัญชาตญาณ ไอ้คนมันก็ชอบภพที่ดีกว่าเหนือกว่า ดีกว่าเหนือกว่าขึ้นไป ไม่อยากจะเป็นคนยากจน อยากเป็นคนร่ำรวย เป็นคนมีอำนาจ เป็นคนมีวาสนาบารมี อะไรกันที่ว่า ได้เป็นเทวดา เป็นอะไรไปทางนู้น แต่แล้วความจริงมันมีอยู่ว่า จะเป็นอะไร จะเป็นอะไร อย่างไหน อย่างไหนมันแล้วแต่ภพ ถ้าไม่ใช่กามภพก็เป็นรูปภพ หรืออรูปภพ มันมีอยู่เพียงสามภพ นี่กิเลสของเราต้องการดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า มันก็เลื่อนขึ้นไปจากกามภพเป็นรูปภพ รูปภพเป็นอรูปภพ แต่แล้วมันก็น่าสงสารที่ในกามภพนี้มันก็มีให้เลือกมากๆๆๆๆๆๆๆจนออกไปไม่ได้ จนอยู่แค่กามภพ ยากที่จะออกไปสู่รูปภพ หรืออรูปภพ คือไม่มีกามมันไม่มีกาม ทำความเข้าใจว่าภพมีเพียงสามอย่าง อย่างหนึ่งสำหรับกามสำหรับกิเลสกับกาม อย่างหนึ่งไม่เกี่ยวกับกามแต่สำหรับความโง่ว่ามีรูปมีรูป รูปบริษัท มีรูป รูปบริสุทธิ์ อันหนึ่งก็โง่ว่าไม่มีรูป ไม่มีรูป ไม่ต้องมีรูป ไม่มีรูป มันก็มีภพ คือความเป็นไป ความเป็นไป ถ้ามันเป็นอภพ อภพ นู้นมันจึงจะตรงกันข้าม ถ้าเป็นภพจะเป็น กามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็เป็นภพเหมือนกันหมด แต่พอเป็นอภพ เป็นเหนือภพ เหนือไปจากภพทั้งหลายเหล่านี้มันจึงจะเป็นอสังฆตะ เป็นพระนิพพาน เป็นตรงกันข้าม เป็นฝ่ายโลกุตตระ ถ้ามันยังเป็นโลกียะ ยังเนื่องอยู่กับโลกแล้วมันก็สามภพนี้ สามภพนี้ ทีนี้จิตของสัตว์ตามธรรมดามันโง่ จนไม่พ้นหรือไม่เหนือไปจากสามภพนี้ได้ วนเวียนอยู่แต่ในสามภพนี้ อย่างนั้นอยากเปลี่ยนอย่างนี้ มันจะดีอย่างไร ดีอย่างไรก็เวียนอยู่แต่ในสามภพนี้ ออกจากภพได้เป็นโลกุตตระเป็นทางนิพพาน เดี๋ยวนี้เราอยากจะเป็นอะไรก็ดูเอาเอง ไอ้ความโง่มันทำให้อยากจะเป็นอะไรที่อร่อยกว่าสนุกกว่าเท่านั้น เลื่อนภพก็เลื่อนไปเพียงว่า สวยงามกว่าเอร็ดอร่อยกว่าสนุกสนานกว่า ไม่เลื่อนไปจนเหนือภพ หรือหมดภพ แม้ว่าเราจะเป็นพุทธบริษัท หรือไม่เป็นพุทธบริษัทก็ภพเหมือนกัน ยึดมั่นตัวเวป็นพุทธบริษัทก็เป็นภพชนิดหนึ่ง ทว่าเหนือภพก็ไม่ยึดถือว่าตนเป็นอะไร เหนือภพ ที่ว่าในภาษาไทยที่ใช้กันมากเรียกว่าไตรภพ ไตรภพ ของเดิมในบาลีคือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หลงอยู่แต่ในเรื่องของกามๆๆๆที่นี่ อยู่ในกามภพ ที่สูงไปกว่านั้นไม่หลงกามก็ไปหลงอยู่ในรูปอันบริสุทธิ์ รูปราคะ เรียกว่าราคะกำหนัดยินดีเหมือนกัน ราคะในรูป ถ้ากามราคะก็ราคะในกาม เป็นกามภพ ถ้ามันราคะในรูปเหนือขึ้นมาก็เรียกว่า ......