แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
บวชเป็นพระนี่ก็ใช้คำว่าเกิดอีกแบบเหมือนกัน บวชเป็นพระแล้วสึกไปเป็นฆราวาสแล้วมาเกิดอีกแบบเหมือนกัน เกิดเป็นครูบาอาจารย์ เกิดเป็นนายทหารเกิดเป็นอะไรเขารียกว่าเกิดในความหมายอื่น มันความหมายในทางอุปัตติเสียมากกว่า แต่ความสำคัญมันมีอยู่ว่า ชาติชนิดไหนที่เป็นปัญหา เขียนลงไป ชาติชนิดไหนที่เป็นปัญหา ชาติที่เกิดจากท้องแม่มันไม่เป็นปัญหาอะไร ไม่มีความทุกข์เทิกอะไรนักหนา แล้วก็เสร็จไปแล้วเรื่องมันเสร็จไปแล้วหมดปัญหาไปแล้ว ดับชาติชนิดนั้นอย่างไม่มีปัญหา ต้องดับชาติที่เหลืออยู่เรื้อรังทุกวันทุกคืนทุกวันทุกคืนมันเกิดมันดับชาติดังนี้เอง หยุดเกิดทางจิตใจนี้จึงจะนิพพานจึงจะนิพพาน เอ้าทีนี้คุณก็จะมาถึงคำว่าเกิดใหม่ เกิดคืออย่างนี้ แล้วเกิดใหม่คืออะไร ไอ้พวกนั้นเขาก็ต้องเข้าโลงแล้วไปเกิดใหม่ รอกันหลายสิบปี เข้าโลงแล้วไปเกิดใหม่ เขาว่าเกิดใหม่ไปอยู่ที่โน่น แต่เดี๋ยวนี้พวกนี้พวกที่ศึกษาธรรมะในแบบภาษาธรรม การเกิดใหม่มีทุกทีทุกครั้งทุกทีที่มันเกิดความรู้สึกว่าตัวกู ตัวกูอย่างนั้นอย่างนี้ มีการเกิดใหม่ทุกทีที่มันมีความคิดมันเปลี่ยนเป็นอย่างนี้เปลี่ยนเป็นอย่างนั้น มันก็เกิดตัวกูแบบใหม่อันใหม่ นี่เรียกว่าเกิดใหม่ เราเกิดใหม่ เกิดใหม่เกิดมาในวันหนึ่งไม่รู้กี่สิบครั้งหรือร้อยครั้งก็ได้เหมือนกัน เกิดใหม่ ไม่ใช่เกิดทีเดียวไปเข้าโลงแล้วไปเกิดใหม่อย่างภาษาร่างกายภาษาวัตถุซึ่งเขารู้จักอยู่ก่อนแล้วก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ซึ่งเขาก็รู้จักกันอยู่แล้ว ชาติที่เข้าโลงแล้วไปเกิดใหม่ เขาพูดกันอยู่แล้วจริงไม่จริงก็ไม่รู้แต่เขาพูดกันอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นแสดงปฏิจสมุปบาทชี้ให้เห็นชาติที่ร้ายกาจกว่าชาติที่มีปัญหาที่สุดก็คือชาติในปฏิจสมุปบาท ถ้าไม่มีชาติทางปฏิจสมุปบาท มันก็ไม่มีความทุกข์ ชาติทางปฏิจสมุปบาทมันทุกข์ทุกทีเป็นทุกข์ทุกทีที่เกิดชาติทางปฏิจสมุปบาท เมื่อเราจะพูดกันโดยไม่ต้องเถียงกัน ขัดแย้งกันเราก็ต้องพูดให้มันชัดลงไปว่าเรากำลังพูดถึงชาติชนิดไหนชาติชนิดไหน
ทีนี้ก็จะพูดออกไปถึงคำว่าโอปปาติกะหรือสัมภเวสี โอปปาติกะ สัมภเวสี โอปปาติกะตัวนั้นคือมันชัดที่สุดแล้ว มันเกิดอย่างอุบัติ เกิดอย่างอุบัติ คนพวกหนึ่งเขาเอาใช้สำหรับว่าเกิดเป็นผี เป็นตัวอะไรก็ไม่รู้เรียกว่าโอปปาติกะ พยายามจะใช้โอปปาติกะให้เป็นประโยชน์ เอามาใช้อย่างใช้ผี ไม่ออกชื่อดีกว่านะ ใครอย่าไปออกชื่อที่เขาอธิบายโอปปาติกะกันอย่างนั้นในกรุงเทพก็แตกตื่นกันอยู่พักหนึ่งโอปปาติกะ พวกเรากันเองก็มาหาพรนี่ใช้โอปปาติกะในความหมายนี้ โอปปาติกะเอามาใช้ได้นะ คนอื่นที่แรงกว่านั้น คำว่าสัมภเวสี เที่ยวหาที่เกิด ยังหาไม่พบ ยังเที่ยวหาที่เกิดเรียกว่าสัมภเวสี หมายความว่าวิญญาณ วิญญาณตัวตน ยังไม่ได้เกิด ยังเที่ยวหาที่เกิดเที่ยวแสวงหาที่เกิด เป็นสัมภเวสี เที่ยวหาไปหาไปจนกว่าจะพบที่เกิดแล้วก็จะได้เกิดนี่สัมภเวสี ถ้าว่าเกิด เกิดก็เรียกว่า ภูตะ ภูโต ภูตะ ภูตะ เนี่ยเรียกว่าเกิดแล้ว ถ้าสัมภเวสีเที่ยวหาภพที่เกิด สัมภะ วะ เอสี เที่ยวแสวงหาที่เกิด พวกที่เชื่ออย่างนี้เขาเจอกับมันเต็มไปหมดเต็มไปหมด อากาศนี่มีพวกสัมภเวสีเที่ยวแสวงหาที่เกิด โอปปาติกะชนิดนั้น สัมภเวสีชนิดนั้นมันมีแต่พวกที่พูดโดยภาษาคน วิญญาณเดียวเกิดจากท้องแม่ไปเกิดใหม่ยังหาที่เกิดไม่พบก็เป็นสัมภเวสีไป นี่มันเป็นอย่างนั้นสำหรับพวกนั้น แต่สำหรับพุทธศาสนา ถ้าใช้คำว่าพวกเราก็ดูจะยกตัวจองหอง พุทธศาสนาเรานี่แหละ คำว่าสัมภเวสีไม่ใช่อย่างนั้น มันยังกำลังจะเกิด กำลังไม่ได้เกิด แต่มันกำลังจะเกิด เช่นว่าอุปาทานมันยังไม่เกิดภพ หรือภพยังไม่เกิดชาติ ในขณะแห่งปฏิจจสมุปบาทในระยะนั้นจะเรียกว่าสัมภเวสีก็ได้ ที่มันกำลังพร้อมที่จะเกิด ถ้ามันเกิดออกมาก็เป็นโอปปาติกะเป็นภพเป็นชาติขึ้นมา กำเนิดรูปอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเป็นโอปปาติกะแล้ว ไม่ต้องเป็นผี ที่ไม่รู้ไม่เห็นตัว ไม่ต้องเป็นผีที่ไม่เห็นตัวอย่างที่เขาพูดกัน มันเรื่องกระแส เรื่องตัวจิตในขณะหนึ่ง มันยังไม่ทันจะเกิดเป็นภพเป็นชาติโดยสมบูรณ์ แม้ว่าขณะ ขณะนั้นจะสั้นเท่าไรสั้นเท่านั้นก็มีเวลา มีเวลา โอปปาติกะพวกนี้ สัมภเวสีพวกนี้ ก็อธิบายอย่างนี้ โอปปาติกะพวกโน้น สัมภเวสีพวกโน้นก็อธิบายอย่างโน้น อธิบายอย่างนี้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท โอปปาติกะมันเกิดจากทางจิตใจ เมื่อชาติให้เกิดภพ อุปทานให้เกิดภพ หรือภพให้เกิดชาติ มันเกิดกันตรงนั้น โอปปาติกะเป็นการเกิดแห่งจิตเอามาช่วยขับรถไม่ได้ เอาโอปปาติกะผีชนิดหนึ่งมาช่วยขับรถนี่มันทำไม่ได้ ถ้าอธิบายอย่างปฏิจจสมุปบาท แต่ถ้าอธิบายอย่างโน้นได้ ก็มาช่วยขับรถได้ เขาเชื้อเชิญมาเมื่อไรก็ได้ เขาเชื้อเชิญวิญญาณของใครมาที่นี่ มาถามนั่นถามนี่อะไรอย่างนี้ก็ได้ก็ทำได้ ถ้าเขามีโอปปาติกะในลักษณะนั้นอธิบายกันอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นโอปปาติกะหรือสัมภเวสีที่ถูกต้องตามหลักปฏิจจสมุปบาท ทำอย่างนั้นไม่ได้หรอก มันอีกความหมายหนึ่ง (เสียงคนถามไม่ได้ยิน10:05 -10:11) สัมพเวสีเที่ยวแสวงหาที่เกิด โอปปาติกะเกิด เกิดพลุ้งขึ้นมา เกิดแล้วเป็นการเกิด (คนถาม: ใช้คำว่าหรือได้หรือเปล่า) มันคนละอัน คนละอันอย่าใช้คำว่าหรือ แต่ถ้าใช้รวมๆ กัน อธิบายรวมๆ กันมันก็ได้ โอปปาติกะหรือสัมภเวสีของพวกโน้น มันเป็นเรื่องผี เรื่องวิญญาณตัวตน แต่ถ้าโอปปาติกะหรือสัมภเวสี ในปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ผี ไม่ใช่ความคิด อย่างผีไม่ใช่เป็นตัวผี มันเป็นเพียงลักษณะของจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตที่ยังไม่ทันจะไม่สำเร็จรูปเป็นการเกิดชาติอย่างใดอย่างหนึ่งก็เรียกว่าสัมภเวสีได้ แต่มันสั้นมากมันละเอียดมากมันสั้นมาก สัมพเวสีของพวกโน้น ท่องเที่ยวไปหลายๆ วัน หลายๆ เดือน หลายๆ ปีก็ได้ หาที่เกิดไม่พบ เราไม่ต้องมีสัมภเวสีแบบนั้น สัมภเวสีแบบยังมันไม่ทันจะเกิด ปัจจัยยังไม่พร้อม คำว่าโอปปาติกะอีกความหมายหนึ่งก็คือเกิดขึ้นโดยภาวะพลุ้งขึ้นมา ไม่ต้องตั้งครรภ์ไม่ต้องมีบิดา ไม่ต้องมีมารดา จิตเกิดพลุ้งขึ้นมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ต้องเป็นเด็กอ่อน ไม่เป็นทารกอ่อนๆ ก่อนแล้วจึงค่อยเติบโตไม่ใช่ เกิดขึ้นมาก็โตเต็มที่ มีความคิดอย่างโจรก็เกิดเป็นโจรพลุ้งขึ้นมาเต็มที่ ไม่ต้องรอเป็นเด็กก่อน คิดอย่างสัตบุรุษอย่างคนดี เกิดพลุ้งขึ้นมาเป็นคนดี ไม่ต้องเกิดเป็นเด็กก่อน ไม่ต้องเข้าท้องเข้าครรภ์มารดาอะไร พลุ้งขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น อย่างนั้นเรียกว่าโอปปาติกะ เรามีโอปปาติกะได้มากครั้งในวันหนึ่ง แล้วแต่ปัจจัยปรุงแต่งให้คิดอย่างไร คิดอย่างพวกกามาวจรก็เกิดในกามาวจร คิดอย่างรูปาวจรก็เกิดในรูปาวจร ต่างชนิดชนิดชนิด อันหนึ่งเกิดจากท้องแม่เป็นเด็กอ่อนแล้วโตขึ้นมา แต่อย่างหนึ่งเกิดพลุ้งขึ้นมาทีเดียวในร่างกาย... (13.01-13.04) คิดอย่าง คิดอย่างเทวดาก็เกิดเป็นเทวดา คิดอย่างสัตว์นรกก็เกิดเป็นสัตว์นรก คิดอย่างเปรตก็เป็นเปรต คิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็เป็นสัตว์เดรัจฉานทันที พลุ้งขึ้นมาในอัตภาพนี้ เหมือนกันเรียกว่าเกิดอย่างนั้นเป็นโอปปาติกะเหมือนกัน การเกิดของพระพุทธเจ้ามีลักษณะเป็นโอปปาติกะคือพลุ้งขึ้นมาก็เป็นพระพุทธเจ้าโดยตรัสรู้ ดังนั้นการเกิดของพระพุทธเจ้าจึงไม่ใช้คำว่าชา-ติ ไม่ใช้คำว่าชาติ ใช้คำว่าอุปัตติ อุปัตติ อุบัติขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้า (เสียงคนถามไม่ได้ยิน 13:53-13:58 ยังไม่แน่ใจ) ก็ได้เรายังไม่แน่ใจ ยังคิดว่าจะเป็นอะไรดีอยู่ก็ได้ อย่างนั้นเรียกว่าสัมภเวสีในภาษาธรรม สัมภเวสีภาษาธรรมอธิบายอย่างนี้ สัมภเวสีภาษาคน เขาว่าจิต วิญญาณเที่ยวแสวงหาที่เกิด เข้าไปเกิดในท้องใครยังหาไม่ได้ นี่ความยุ่งยากลำบากของภาษา ภาษาเป็นต้นเหตุให้เกิดความยุ่งยากลำบากและเราก็พูดกันไม่รู้เรื่องแล้วก็คิดนึกไปตามความเห็นของตนมันจึงเกิดความคิดแตกแยก แตกแยกเป็นหลายกลุ่ม หลายนิกาย หลายพวก หลายชนิด นี่ก็เรียกว่าเกิดเหมือนกัน ความคิดที่มันแตกออกไปแขนงหนึ่ง เมื่อเราคิดว่าเราเป็นทหารเราก็เกิดอย่างนี้ เกิดอย่างโอปปาติกะ ถ้าเราคิดว่าเราเป็นอุบาสกหรือเป็นพระภิกษุก็เกิดอย่างโอปปาติกะ ไปสรุปใจความเอาเองว่าคำว่าชาติ ชา-ติ หมายความว่าอย่างไรในภาษาคน หมายถึงอะไรในภาษาธรรม หมายถึงอะไร เกิดทางร่างกายเรียกว่าอะไร เกิดทางจิตใจเรียกว่าอะไร ปัญหาสุดท้ายสำคัญที่สุดก็คือชาติชนิดไหนเล่าที่เป็นปัญหาที่สุดที่ต้องทำให้เราเรียนธรรมะ ชาติชนิดไหนที่มันเป็นปัญหาที่สุด ที่บังคับเรามาเรียนธรรมะ ศึกษาธรรมะ คือสิ้นชาติ สิ้นชาติชนิดไหน พวกนั้นเขาว่าสิ้นชาติโดยไม่เข้าท้องแม่ ท้องมารดาอีกอะไรต่อไป แต่เราพวกนี้ศึกษาปฏิจจสมุปบาท ไม่เกิดตัณหาอุปาทานอีกต่อไป ไม่มีตัณหาอุปาทานอีกต่อไปก็สิ้นชาติ ผู้ที่เกิดจากท้องแม่จะสิ้นได้อย่างไรเมื่อคนเป็นแม่ก็ยังมีอยู่เรื่อย พูดไปยังบุคคลสมมติมากเกินไป ไม่เข้าท้องใคอีกต่อไป ไม่เกิดในท้องใครอีกต่อไป เรียกว่าสิ้นชาติอย่างนี้สำหรับเด็กๆ ล่ะก็ได้ แต่ถ้าพูดในชั้นบุคคลสติปัญญาฟังรู้เรื่อง คิดว่าเป็นอย่างไรก็เกิดเป็นอย่างนั้น คิดว่าเป็นอะไรก็เกิดเป็นอย่างนั้นทุกคราที่คิดว่าเป็นอะไร ว่าเป็นอะไร
เอ้าทีนี้คำต่อไป พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสคำที่ต้องเรียกว่าอุปมา อุปมา ข้อนี้ต้องรู้ไว้อีกก่อนว่าชาวอินเดียนี้เก่งมาก เป็นสันดานของชาวอินเดียอุปมาเก่ง ความคิดมันเก่ง ความคิดมันแหลมมันก็อุปมาได้มาก ดังนั้นการพูด อะไรเป็นอุปมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชาวอินเดียวเขาเก่ง พูดอยู่เป็นพื้นฐานใช้กันอยู่เป็นพื้นฐาน การใช้อุปทานอย่างโลดโผน อย่างน่าตกใจ อย่างนี้มันก็เลยพลัดเข้ามาในวงพระพุทธศาสนาหรือในคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมันก็มีปัญหาเหมือนกัน พอเขาฟังไม่ถูกแปลความไม่ถูก เขาก็ไม่เข้าใจ แล้วเขาก็โกรธบ้าง หรือเขาก็หาว่าผิด หรือว่าเลวร้ายไปหมด พูดอย่างนี้นึกออกไหมเช่นว่าท่านตรัสว่าอะไร คืออุปมาที่ฟังแล้วตกใจ จริงๆ ก็ได้พูดกันอยู่ บ่อยๆ แต่เพราะไม่ได้เข้าใจเพราะไม่สนใจ ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสียเป็นคนอกตัญญูแล้วจะนิพพาน ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสียเป็นคนอกตัญญูแล้วก็จะนิพพาน ตกใจมากไหม ผู้พูดคืออาตมาเนี่ยได้รับโทษ ได้ถูกลงโทษ ได้รับการประณามว่าบ้าบอ อย่ามาสนใจกับไอ้ศึกษาธรรมะอย่างนี้ เขาฟังว่าให้ฆ่าพ่อฆ่าแม่ นั่นก็เป็นคนอกตัญญูแล้วก็นิพพาน นี่มันเป็นอุปมาเท่านั้น มันเป็นอุปมา พูดอย่างโวหาร อุปมาแล้วอย่างรุนแรง พ่อหรือแม่มันคือกิเลศ ตัณหาเป็นแม่ อวิชชาเป็นพ่อ ฆ่ามันเสีย เราเป็นคนอกตัญญูก็คือรู้สิ่งที่ปัจจัยอะไรๆ จะทำไม่ได้ อกตัง อกตัง มีสิ่งที่ปัจจัยอะไรๆ ทำไม่ได้นั่นคือพระนิพพาน รู้อกตัง ก็คือรู้พระนิพพาน อกตะ แล้วก็อัญญู ก็เป็นอกตัญญู เสียงไปพ้องกับที่ไม่รู้บุญคุณของใคร นี่ความหมายของมัน รู้สิ่งที่ปัจจัยกระทำไม่ได้ ปัจจัยอะไรจะมาปรุงแต่ง จะมาบีบคั้นไม่ได้นี่เรียกว่า อกตะแล้วก็อัญญู รู้สิ่งที่ปัจจัยกระทำไม่ได้ เป็นคนอกตัญญูก็คือคนรู้พระนิพพานนั่นเอง ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสีย เป็นคนอกตัญญูแล้วก็จะได้นิพพาน ถ้าไม่เข้าใจก็จะกลัวมากแล้วก็จะโกรธมากแล้วก็จะ หาว่าเป็นคำพูดที่บ้าบอที่สุด แต่ในบางโอกาสพระพุทธเจ้าก็ได้ใช้คำเหล่านี้เหมือนกันเพราะเป็นนิสัยของชาวอินเดียที่ชอบพูดอุปมาแล้วก็อุปมาอีกล้าน(21.07) ดังที่ เขาเติมว่าฆ่าราชาเสียทั้งสองพระองค์แล้วก็จะนิพพาน เขาหมายความว่าฆ่าทิฏฐิ ทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเสียทั้งสองชนิด สัสสตทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ เปรียบได้พระราชาสองพระองค์ พระราชาคือผู้บันดาลอะไรให้เป็นไปตามอำนาจของพระราช าและอะไรจะมีอำนาจชนิดนี้ก็คือทิฏฐิ ทิฏฐิ ความคิดของบุคคลนั้น ทิฏฐิของบุคคลนั้นจึงมีอุปมาเท่ากับพระราชา สององค์ก็องค์หนึ่งพูดไปในทางมี องค์หนึ่งก็พูดไปในทางไม่มี คือสัสสตทิฏฐิมีตัวมีตน องค์หนึ่งพูดในทางไม่มีตน อุจเฉททิฎฐิหรือนัตถิกทิฏฐิ ก็ไม่มีตัวตน พระราชาสององค์พูดกันคนละอย่าง อย่างนี้ฆ่าพระราชาเสียทั้งสององค์แล้วก็จะนิพพาน ข้อนี้จะไม่พูดให้มากกว่าไปนี้เพราะว่าเคยมีคนสะท้อนถึงตัวเอง พวกเจ้านายที่รู้ความไม่ถูกแล้วโกรธ ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าพระราชาเสียทั้งสององค์ ฆ่าลูกฆ่าเมีย เผาบ้านเผาเรือนเสียเลย อะไรจะมาเป็นผล ออกมาเป็นลูกเป็นหลานก็อย่าให้มันมี บ้านเรือนคือสังขารร่างกาย อัตภาพที่ยึดถือเป็นบ้านเป็นเรือนของกูก็อย่าให้มันมีอีก มันก็มีผลเท่ากับ ฆ่าลูกฆ่าเมีย เผาบ้านเผาเรือนเสียให้หมดก็จะนิพพาน นี่อุปมาโวหารที่รุนแรงที่สุด ถ้าไม่เข้าใจแล้วก็จะโกรธที่สุด แล้วก็จะหาว่าสอนให้คนอกตัญญูในความหมายของชาวบ้าน อกตัญญูในความหมายชาวบ้านคือไม่รู้คุณ บุญคุณของใคร แต่ถ้าอกตัญญูในความหมายของธรรมะก็คือรู้สิ่งที่ปัจจัยกระทำไม่ได้ ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้นั่นแหละคืออกตัญญู นี่ถึงจะไม่ใช้ จะไม่ใช้พูด จะไม่ได้อยากจะพูดด้วยคำเหล่านี้ก็ได้ แต่ขอให้รู้ไว้ว่าชาวอินเดียเขาเป็นนักพูดอุปมา ก็เคยอุปมารุนแรงกันถึงขนาดนี้ ที่เราพูดอุปมากันอย่างผิวๆ หนวดเต่าเขากระต่ายอะไรอย่างนี้ เขารียกอุปมาเหมือนกัน แต่ความหมายมันไม่รุนแรง บาดใจใคร ไม่เหมือนกับว่างชนิดที่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ก็คือว่างเหมือนกัน ก็คือความว่าง อุปมามีสารพัดอย่าง ธรรมะทุกข้ออุปมาได้ทุกข้อ แต่การบรรลุนิพพาน ด้วยอุปมารุนแรงอย่างนี้ได้ยินได้ฟัง ก็รู้ว่าเป็นอุปมาโวหารที่รุนแรงที่สุด แล้วก็มันก็เคยมีประโยชน์แก่คนที่เขารับได้พอดี แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์แก่คนโง่ที่ฟังไม่ออกหรือรับไม่ได้ ก็คนที่ฟังออกมันรับได้ทันที ฆ่าพ่อฆ่าแม่คือฆ่าอวิชชา ฆ่าตัณหาเสีย ฆ่าพระราชาเสียทั้งสององค์คือทิฏฐิสองความหมาย ความหมายของทิฏฐิว่ามีว่าไม่มี สัสสต อุจเฉท นักธรรมโทก็มาสอนเรื่องทิฏฐิ นักธรรมชั้นโทก็รู้เรื่องทิฏฐิทั้งสอง แล้วผลที่ตามออกมา ทรัพย์สมบัติ เงินทอง ข้าวของ ลูก บุตร ภรรยาประดามีก็คือสิ่งที่ตามมาหลังมาเป็นพรวน ฆ่าเสียได้ก็ยิ่งดี จะไม่มีอะไรเหลือ ฆ่าคืออย่างไร ฆ่าคืออย่างไร ไปฟันคอให้มันตายหรือว่าเพียงแต่ถอนทิฏฐิว่าตัวตนว่าของตนในสิ่งเหล่านั้น เขียน...สิ (26.05-26.09) เช่น ถอนทิฏฐิ เขียนสิถอนทิฏฐิว่าตัวตนว่าของตนในสิ่งใดก็คือฆ่าสิ่งนั้นเสีย มีเท่านั้นแหละ ความมันมีเพียงเท่านั้น ตัด ตัดความคิดว่าตัวตนว่าของตนในสิ่งใดก็เท่ากับฆ่าสิ่งนั้นเสีย เมื่อไม่ยึดถืออันนี้ตัวตนไม่ ยึดถืออันนี้ของตนมันเท่ากับไม่มี เท่ากับไม่มีหรือเท่ากับฆ่าเสีย เอ้าอีกประโยคดีกว่าจดง่ายกว่า ตัดฉันทะราคะในสิ่งใด อีกประโยคดีกว่า ตัดฉันทะราคะในสิ่งใดก็เท่ากับฆ่าสิ่งนั้นเสีย ฉันทะราคะแปลว่ากำหนัด พอใจด้วยความกำหนัดยินดี พอใจด้วยราคะ ฉันทะ พอใจ ราคะเป็นราคะ ฉันทะราคะคือพอใจด้วยราคะ กำหนัดด้วยความยินดี ซึ่งจะมีในสิ่งที่ต่างๆ ที่เราชอบ ตัดฉันทะราคะนี้เสียในสิ่งใดก็เท่ากับว่าเลิก เลิกในสิ่งนั้น เท่ากับว่าฆ่ามัน ฉันทะราคะนี้ในโรงเรียนนักธรรมมักจะสอนกันแต่เรื่องกามารมณ์ เรียกว่าฉันทะราคะ พอใจด้วยราคะ แต่ถ้าพบในพระพุทธภาษิตที่ในพระบาลี ในพระไตรปิฎก แม้ไม่ใช่กามารมณ์ก็มีได้ ในเพชรพลอยแก้วแหวนเงินทองที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจมากๆ ก็เรียกว่าฉันทะราคะในเพชรพลอย แก้วแหวนเงินทองก็เรียกฉันทะราคะ 28.26-27 มณี... แก้วมณี แก้วกุณฑลเรียกเพชรพลอย แล้วมีบางแห่งซึ่งมีน้อยมาก บางแห่งน้อยมาก ก็ใช้คำว่าฉันทะราคะ คือรักคนที่ดี รักคนที่ถูกใจไม่ใช่ทางเพศ ไม่ใช่ทางเพศเช่นพ่อรักลูกก็ได้ ในสูตรนั้นเหมือนกับผู้ใหญ่บ้านรักลูกบ้านคนหนึ่งที่ดีที่สุด จนพอลูกบ้านคนนั้นตายเขาก็มีความทุกข์ เหมือนกับว่าจะตายด้วย นี่ฉันทะราคะของนายบ้าน ผู้ใหญ่บ้านมีต่อลูกบ้านก็เรียกว่าฉันทะราคะด้วยเหมือนกัน ดังนั้นขอให้เข้าใจฉันทะราคะไม่ได้หมายเฉพาะทางกามารมณ์ ในทางรูปในทางอรูปอะไรก็ได้ ถ้ามันมี ราคะ ราคะ ราคะ มีราคะในมรรคผลนิพพาน ในธรรมะอะไรก็ได้ มีราคะ อย่ามีราคะในสิ่งใดก็เท่ากับว่าเลิกในสิ่งนั้นก็คือฆ่าสิ่งนั้น ก็ตัวตน หมดฉันทะราคะในตัวตนก็เท่ากับฆ่าตัวตน หมดฉันทะราคะในสิ่งที่เป็นของของตนก็เท่ากับฆ่าสิ่งที่เป็นของของตน นั่นประโยคที่เขียนลงไปทีแรกว่า ไม่มีฉันทะราคะในสิ่งใดก็เท่ากับฆ่าสิ่งนั้นเสียแล้ว นี่อุปมานะอุปมา ไม่ใช่ไปเชือดคอมันไม่ใช่ แต่ฆ่ามันอย่างลึกซึ้ง คือเลิกมีฉันทะราคะ พูดว่าไม่มีอุปาทานก็ได้ ไม่มีอุปาทานในสิ่งใดก็เท่ากับว่าฆ่าสิ่งนั้นเสียแล้ว ฉันทะราคะก็เป็นอุปาทานชนิดหนึ่งด้วยเหมือนกัน แล้วมันอาจจะมีในสุนัขก็ได้ ก็ได้ยินว่าบางคนสุนัขตัวรักของเขาตาย เขาร้องห่มร้องไห้ ฉันทะราคะมีในสุนัขก็ยังได้ ในแก้วแหวนเงินทองก็ได้ ในบุคคลคนที่ต้องใจถูกใจก็ได้ ในเรื่องกามารมณ์นั้นไม่ต้องพูดถึง วัตถุกามเป็นฉันทะราคะหมดทุกสิ่งทุกอย่าง 31.15 – 31.23 มีเสียงคนถาม มี มาพูดฆ่าพ่อฆ่าแม่มีในพระไตรปิฎก มีอยู่ในคัมภีร์ง่ายๆ ที่ใช้เรียนกันในประโยคสาม ในบาลี ในธรรมบท ที่เขาเรียกกันว่าคัมภีร์ธรรมบท เป็นนิทานทั้งนั้นแหละ เอามาหาเอามาอ่านได้ประโยชน์ไม่น้อยเหมือนกัน แต่ต้องตีความหมาย ฆ่าพ่อฆ่าแม่ อกตัญญูแล้วนิพพาน ก็มีอยู่ในหนังสือชุดนี้เรียกว่าธรรมบท คนที่จะสอบบาลีประโยคสามก็เรียนเหมือนกัน แต่ถ้าฆ่าฉันทะราคะเช่นนายบ้านรักลูกบ้านอยู่ในพระสูตรที่เป็นบาลี บาลีโดยตรงไม่ใช่อรรถคาถาอย่างนี้ มาตารัง ปิตุรัง หันตะวา อกตัญญู สิ พราหมณ์(32.10-15)ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสียแล้วเป็นคนอกตัญญูเถิดพราหมณ์แล้วก็จะนิพพาน แต่ด้วยเหตุที่ว่ามันน่ากลัว แล้วก็ไม่เอามาพูดโดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาพระวชิรญาณวโรรสท่านเกลียดสิ่งเหล่านี้ ท่านว่าเธอรู้ไหมว่าเธอไม่ควรพูด หรือว่าที่มีอยู่ในพระบาลี ก็ไม่ควรเอามาสอน ที่ว่าฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าพระราชาเสียแล้วก็จะเป็นคนอกตัญญูแล้วก็จะนิพาน ท่านแนะว่าไม่ควรเอามาสอน เราก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าไม่เอามาสอนเราก็ไม่รู้ ถ้าเอามาสอนให้รู้เสียก็ดีเหมือนกันมันจะได้หมดปัญหา ทีนี้มันก็มีอยู่ในหนังสือถ้าเผอิญไปเปิดเห็นเข้ามันก็เห็น เอามาพูดกันเสียให้ชัดเจนแจ่มแจ้งไม่ดีกว่า เป็นคำพูดอุปมาโวหารชั้นสูงสุด ชั้นสูงสุด พวกอันธพาลเขาก็ฉวยโอกาส เป็นที่อ้าง ฆ่าพ่อฆ่าแม่ฆ่าลูกฆ่าเมีย เผาบ้านเผาเรือนเสียแล้วก็ไปนิพพาน พวกอันธพาลเขาก็อ้าง พูดนิพพานอีกนิดนึง มันเกี่ยวกับคำพูด นิพพานทีแท้จริงที่ไม่ใช่คำพูดคือดับไฟดับกิเลสหมดสิ้นนี่มันก็มีนิพพานเดียว ปรากฏในหัวใจของผู้สิ้นกิเลสมีนิพพานเดียว แต่ถ้านิพพานในโรงเรียนบาลี ในห้องเรียน ในคัมภีร์มีหลายสิบคำ คาดว่านิพพานมีหลายสิบชนิด อธิบายอย่างนั้น อธิบายอย่างนี้ อธิบายอย่างนั้น ระดับไม่เหลือ ไม่เจ็บแทน (34.43) ไม่ผูกมัดรัดรึง หลายต่อหลายอย่าง ความหมายโดยตัวหนังสือของนิพพานมีมาก นิพพานแท้จริงมีอันเดียวคือหมดกิเลสแล้วก็เย็น หมดไฟแล้วก็เย็น นิพพานในหัวใจมนุษย์จริงๆ มีอย่างเดียว แต่ที่เป็นคำพูดที่เอามาให้เรียนกันในห้องเรียนบาลี เรียนธรรมะอย่างปริยัติมีมากมาย ไม่น้อยกว่า 30 คำ นิพพาน นิพพาน แม้แต่คำว่าอักขรัง อักขระ อักขระ อักษร อักขระนี่ก็เป็น Synonym ของนิพพานได้ แปลว่าไม่สิ้นสุด ไม่สิ้นสุด อักขระ ตัวอักษรนี่ อักษร ก ข ก กา ตัวอักษร คำว่าอักษรนี่แปลว่าไม่สิ้นสุด พระนิพพานก็ไม่สิ้นสุด เหมือนกับคำว่าอักขระ อักษร เป็นชื่อของพระนิพพานก็ได้ อกตัง อชาตัง อภูตัง อชรัง (35.52-56)ไม่ชรา ไม่สิ้นสุด ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ไม่มีการปรุง ไม่มีถูกปรุง ชื่ออย่างนี้เป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้นมีหลายสิบคำ เอาซักร้อยก็ได้ พวกเราก็ไม่ต้องเถียงกันว่ามันนิพพานอะไรกันแน่ พูดกับเด็กๆ เขาก็เย็นไม่มีไฟนั่นคือนิพพาน ไม่มีกิเลส เย็น นั่นคือนิพพาน เมื่อใดไม่มีไฟคือกิเลสเมื่อนั้นก็นิพพาน จิตใจก็เย็นเป็นนิพพาน แต่ว่าเป็นนิพพานน้อยๆ นิพพานชั่วเวลาชั่วขณะ เป็นนิพพานชั่วขณะแล้วกลับไม่นิพพานได้อีก แต่ถึงอย่างไรก็ดีแต่ถ้าอยู่ในขณะแห่งนิพพานแล้วก็เย็น เย็นสบายไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน การทำสมาธิสำเร็จก็เป็นนิพพานน้อยๆ ชนิดหนึ่งเหมือนกัน คือเย็นเพราะสมาธิ ทำวิปัสสนาได้สูงยิ่งขึ้นไปอีกก็เย็นกว่านั้น ก็นิพพานสูงขึ้นไป พอหมดกิเลสสิ้นเชิงโดยประการทั้งปวงนั่นนิพพานสมบูรณ์ นิพพานที่เรียกว่านิพพานกลบเกลื่อนเอา เช่นว่าไปตากอากาศชายทะเลเสียบ้าง อยู่กรุงเทพไปเที่ยวหัวหินเสียบ้าง เย็นสบายอย่างนั้นก็ตาม นิพพาน นิพพานสำหรับกลบเกลื่อนไม่ใช่นิพพานจริง แต่ถึงอย่างไรมันมีความหมายว่าเย็นทั้งนั้น มัน quenching สิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไป quenching ก็จะถูกสิ้นสุด healing ก็ได้ healing ก็รักษาโรคให้หาย ก็เป็น healing พระนิพพาน เป็น quenching เป็น healing
ทีนี้ก็จะพูดเรื่องเดิมพัน เดิมพัน ภาษาลงทุนการค้าเขามีคำว่าเดิมพัน คือลงทุน ต้นทุนที่ลงไปเรียกว่าเดิมพัน จะเล่นการพนันก็ต้องมีเดิมพัน ชนไก่ กัดปลา ก็มีเดิมพัน จะต่อสู้กันโดยวิธีนี้ก็มีเดิมพัน นี่ชีวิตนี้ ชีวิตนี้มันก็มีเดิมพัน เดิมพัน รู้จักหรือไม่รู้จักก็เป็นปัญหา ถ้ารู้จักก็สามารถใช้เดิมพันให้เกิดกำไร เกิดผลประโยชน์ เล่นชนะการพนันหรือประกอบกิจการงานให้สำเร็จประโยชน์ เดิมพันน้อยๆ ก็เป็นกำไรมหาศาล นี้ชีวิตของเรามีอะไรเป็นเดิมพัน เอาชีวิตไปเดิมพันเสียเองก็ได้ ถ้าจะมองให้ละเอียดลงไป มันก็มีอะไรที่ลึกลงไปกว่านั้น จึงขอพูดว่า เป็นประโยคสั้นๆ สำหรับเรื่องนี้แบบสั้นๆ ก็ว่า เดิมพันของชีวิตคือสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมา เดิมพันของชีวิตคือสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมา คุณเอาไปแสดงปาฐกถาสิ เขาจะได้ว่าบ้า บ้า เดิมพันของชีวิตคือสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมา เป็นธาตุตามธรรมชาติ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ นี่เป็นของธรรมชาติ ธรรมชาติให้ยืมมา เอาแกเอาไปลงทุนสิ พัฒนามันสิ ธาตุทั้งสี่เป็นอัตภาพเป็นร่างกายเป็นชีวิตอะไรบ้าง ธรรมชาติให้ยืม ธาตุตามธรรมชาติมาเป็นเดิมพัน มาจัดการทำการให้มันเกิดกำไร เรียกว่าสังโวหาระ ทำให้เกิดกำไร ให้ใช้ธาตุทั้งหกให้ถูกต้องแล้วก็จะมีผลกำไรคือความดับทุกข์ หรือจะเรียกว่านิพพานก็ได้ ใช้เดิมพันที่ธรรมชาติให้ยืมมาให้ถูกต้อง แกจะได้กำไรมหาศาลเป็นนิพพานก็ได้ แล้วอันนี้มันมีความหมายพิเศษเป็นหลักธรรมะสูงสุด เป็นหลักธรรมะสูงสุด สรุปความได้ว่าอย่ายักยอกสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมาเป็น เอามาเป็นตัวกูเป็นของกู ธรรมชาติให้ยืมมานะไม่ได้ให้มาเป็นตัวกูเป็นของกู ให้ยืมมาพัฒนา พัฒนาจึงเกิดมรรคผลนิพพานก็ได้ แต่ถ้าเอามาเป็นตัวกูของกูมันโกงธรรมชาติ ปล้นธรรมชาติ ยักยอกธรรมชาติมันก็เป็นทุกข์ ธรรมชาติเจ้าของเดิมมันลงโทษเอา มันจะง่ายขึ้นอีกมาก เข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกมาก หรือว่าปฏิบัติก็จะง่ายขึ้นอีกมาก คือว่าอย่าโกงธรรมชาติผู้ให้ยืมเดิมพันมา แล้วความจริงมันก็เป็นอย่างนั้นใช่ไหม พอเราตายเอาอะไรไป พอตายเอาอะไรไป ก็ทิ้งดินน้ำลมไฟอากาศวิญญาณเอาไว้ที่นี่ พอตายไปก็ไม่ได้เอาไป ธรรมชาติก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่นี้ยังไม่ทันตายยังไม่ทันไปของกูทั้งนั้นเลย อะไรๆ มันเป็นของกู ธาตุทั้งหกรวมกันเป็นอะไร เป็นชีวิต เป็นวิญญาณ เป็นอัตภาพ เป็นสังขารร่างกาย เป็นขันธ์ห้า เป็นอายตนะ เป็นอะไรก็ตาม ซึ่งธรรมชาติให้ยืมมา ปรุงกันขึ้นมา มันเอาเป็นของกู มันเอาเป็นตัวตน มันเอาเป็นของตน นี่เรียกว่ามันตระบัด ยักยอก หลอกลวง เอาของที่เขาให้ยืมมาชั่วคราวมาเป็นของตนเสีย เมื่อใดมีความยึดถือสิ่งใดว่าตัวตนว่าของตน เมื่อนั้นเป็นคนอันธพาลยักยอกตระบัด แล้วก็จะมีความทุกข์สมสัดสมส่วนกันเสมอ ยักยอกว่าเป็นตัวตนของตนเท่าไร มากน้อยเท่าไร มันจะมีความทุกข์มากน้อยเท่านั้น นี่คือมันมาเป็นหลักว่าเกิดทุกที เกิดตัวกูของกูทุกทีก็เป็นทุกข์ทุกที เพราะมันไม่ใช่ของกูนี่ธรรมชาติให้ยืมมา พอมันยักยอกว่าของกูหรือตัวกูมันก็ถูกลงโทษทันที มีความทุกข์หนักอกหนักใจขึ้นมาทันที เรียกว่าเป็นคนขี้ฉ้อขี้โกงขึ้นมาก็เป็นทุกข์ทันที เราก็ซื่อตรงสิ ธรรมชาติให้ยืมมาก็พัฒนาไป ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ส่วนหนึ่งเป็นร่างกาย ส่วนหนึ่งเอามาเป็นจิตใจ ทั้งร่างกายทั้งจิตใจคือธาตุทั้งหก เป็นของธรรมชาติให้ยืมมา พัฒนาอย่างที่เขาให้ยืมมา พัฒนาให้สูงเท่าไรก็ได้เสวยกำไรประโยชน์สุขสูงเท่าไรก็ได้ แต่อย่ายักยอกมาเอาเป็นตัวกูเป็นของกู แต่ว่าแม้มันจะยักยอกเท่าไร พอตายเข้ามันก็ต้องทิ้ง เจ้าของเดิม ผู้ที่ถือหลักง่ายๆ อย่างคนโบราณเขาถือ ชีวิตเป็นของยืมมาจากธรรมชาตินั้นแหละ ง่ายที่สุดในการปฏิบัติ มึงตายมึงจะเอาอะไรไป ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ค้างอยู่ที่นี่ เขาเอาเงินบาทหนึ่งใส่ปากไปมึงก็ยังเอาไปไม่ได้ แล้วจะเอาอะไรๆ มากมายไปได้ จึงเสนอแนะชนิดที่คนโดยมากจะไม่ยอมเห็นด้วยว่าขอให้ปฏิบัติต่อสิ่งที่เรียกว่าชีวิตนี้ในลักษณะเป็นของยืม จึงปฏิบัติต่ออัตภาพร่างกายนี้ นามรูปนี้ในลักษณะที่เป็นของยืม ธรรมชาติให้ยืมยังไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดดอกเบี้ยเลย ให้ยืมฟรี ไม่คิดค่าสึกหรอ ไม่คิดค่าดอกเบี้ย เอามาพัฒนาเอาเอง ที่ไหนบ้างให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย ธรรมชาติให้ยืมมาโดยไม่ได้คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าสึกหรอ พัฒนาๆๆ โดยวิธีศีล สมาธิ ปัญญา โดยวิธีพัฒนาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดผลกำไรเป็นมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพาน เสร็จแล้วคืนเจ้าของ อย่าเป็นตัวกูของกู แม้ที่ส่วนที่พัฒนาขึ้นมาได้ก็อย่าเอามาเป็นตัวกูของกูให้มันโง่ ใช้ประโยชน์ๆๆๆ ก็แล้วกัน ในที่สุดมันก็ดับไปๆๆ ทีนี้ลองไปเปรียบเทียบดูเองสิ สองคนคนหนึ่งมันมีหลักเกณฑ์ว่าชีวิตนี้เป็นตัวตนเป็นของธรรมชาติก็จริงแต่เป็นของตัวตนตัวตนเป็นของธรรมชาติ คนนี้คือหลักอย่างนี้ ทีนี้อีกคนหนึ่งถือว่าชีวิตนี้ของธรรมชาติให้ยืมมา ไม่ใช่ตัวตนของใคร ไม่ใช่ตัวตนของใคร คนไหนจะได้เปรียบ คนไหนจะมีปัญหาน้อย คนไหนจะมีความทุกข์น้อยคอยสังเกตดู ที่ถือว่าชีวิตเป็นของตนนี่มันจะถูกลงโทษทันทีเป็นทุกข์ทันที แต่ว่าถือชีวิตนี้เป็นของธรรมชาติเป็นตัวธรรมชาติด้วยกันนี่ก็ยังค่อยยังชั่ว แต่ถ้าว่าชีวิตนี่ไม่ใช่ของกูไม่ใช่ตัวกูอะไรก็เป็นของธรรมชาติให้ยืมมาอย่างเด็ดขาดไม่เอามาเป็นตัวกูของกู คนหนึ่งถือว่าเป็นตัวธรรมชาติเอง คนหนึ่งถือว่าธรรมชาติให้ยืมมา หากคนไหนจะสบายกว่า คนไหนจะมีทุกข์น้อยกว่าไปคิดเอาเอง การถือว่าชีวิตนี้เป็นของยืมมาก็ถือว่าชีวิตนี้มันอย่างนี้ มันของกูอย่างนี้แหละ อย่างไหนจะมีความทุกข์น้อยกว่า หัวใจพุทธศาสนาก็อย่าทำอะไรให้เป็นตัวกูหรือเป็นของกูขึ้นมา มันจะกัดเอา คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าก็คืออย่าไปทำอะไรให้เป็นตัวกูเป็นของกูขึ้นมา อย่ายึดมาถือมั่นด้วยอุปาทาน จะถือว่าเป็นของธรรมชาติก็ได้ ก็ถือธรรมชาติให้ยืมก็ได้ แต่มันก็ยังต่างกันมาก การที่ถือว่าธรรมชาติให้ยืม ก็ว่าเป็นตัวธรรมชาติอยู่เองนี่มันต่างกันมาก ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดีก็จะเข้าใจธรรมะสูงสุดที่ว่าตัวกูๆ ตัวตนๆ ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นความโง่ที่เพิ่งเกิด เกิดอย่างผีหลอก เกิดเดี๋ยวเดียวแล้วก็หายไป ก็หายไป ในสิ่งที่เรียกว่ารูป นามรูป นามรูปคือกายใจ สิ่งที่เรียกว่ากายมันก็มี มีอยู่สลับซับซ้อน มันมีปัญหามากอยู่ทีนั่น มันมีระบบประสาท ความรู้สึกทางระบบประสาท ที่มีความหมายแก่คำว่าอายตนะ ถ้าในร่างกายไม่มีระบบประสาทมันก็ไม่มีปัญหา ในส่วนที่เป็นรูป เป็นรูปเป็นร่างกายฝ่ายรูปธรรมมันก็มีสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งคือระบบประสาทมันรับอารมณ์ได้ รับอารมณ์ได้ รับได้เท่าไรมันก็ส่งไปให้ฝ่ายนามหรือ ฝ่ายจิตใจเอาไปปรุงแต่งจนเป็นความทุกข์ ถ้าในฝ่ายรูปไม่มีระบบประสาทไม่รับอะไรมันก็เลิกกัน เป็นตาเห็นรูปแล้วไม่มีความหมายอะไรมันก็เลิกไป ตามีระบบประสาทตารู้ รู้ในสิ่งที่เรียกว่ารูปที่มากระทบ รูปอะไรรูปนี้มีมีติอย่างไร มีสัณฐานอย่างไร มีสีสันอย่างไรอย่างน้อยก็รู้ ทีนี้พอส่งไประบบจิตใจพิจารณาดูอีกทีหนึ่งว่ามันเป็นรูปของอะไร เป็นรูปของดอกไม้ หรือของก้อนหิน หรือของผู้หญิง หรือของผู้ชาย น่ารักหรือไม่น่ารัก ทีนี้ระบบประสาททางรูปกายล้วนๆ มันส่งไปให้ความรู้สึกทางจิต ฝ่ายนามให้ความหมาย ตีราคา ตีค่า ให้ความหมาย ระบบกายล้วนๆ ยังไม่มีปัญหาหรอก เพราะว่าตาเห็นรูปนี่มันเพียงแต่กำหนดรู้มิติๆ สั้นยาว รูปร่างสั้นยาว มิติอย่างไร สีสันอะไร มันรู้เท่านั้นแหละมันไม่รู้ความหมายหรอก พอมันส่งไปถึงจิตถึงใจทีนี้มันจึงจะเกิดความหมายขึ้นมาว่าอะไรๆ ดีหรือชั่ว หญิงหรือชาย ได้หรือเสีย ระบบประสาทชั้นนอกส่งเข้าไปถึงจิตชั้นใน นี่จึงเรียกว่ารู้อารมณ์โดยสมบูรณ์ ถ้ามันเป็นเรื่องระบบประสาทก็อย่าเอามาเป็นของกูมันก็ไม่มีอะไร แต่ระบบประสาทมันส่งไปถึงจิต จิตนั้นมันโง่ว่าตัวกูว่าของกู ที่เห็นก็กลายเป็นของกู รูปของกู สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นมันของกู จะเป็นดอกไม้ก็ของกู จะเป็นของก้อนหินก็เป็นของกู เป็นหญิงเป็นชายก็มีความหมายเป็นของกู นี่คือตัวปัญหา ถ้ามีเพียงระบบประสาทอย่ามีตัวกู มันก็ไม่มีความทุกข์ ตาเห็นรูปก็ว่าตาเห็นรูป อย่ากูเห็นรูป ศึกษาข้อนี้ให้ดีๆ จะเห็นว่าต่างกันเหลือเกิน ตาเห็นรูปกับกูเห็นรูปนี่มันต่างกัน ปัญหามากมาย ตาเห็นรูปนี่ไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่ากูเห็นรูปปัญหาท่วมหัวท่วมหู ถึงหูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน ถ้าหูได้ยินเสียงมันก็ไม่มีปัญหาอะไร มันรู้แต่คลื่นเสียง คลื่นเสียงขนาดไหน frequency อะไรอย่างไรเท่าไร มันก็รู้แต่เรื่องเสียงด้านวัตถุ แต่พอมันส่งไปถึงจิต จิตมันให้ความหมายเป็นคุณค่าขึ้นมา เสียงอย่างนั้นมีความหมายอะไร จึงเกิดกิเลศ กิเลศรักหรือไม่รัก บวกหรือลบขึ้นมาเทียบกับเสียง กลิ่นทางจมูกก็เหมือนกัน รู้แต่เรื่องระบบประสาทที่รู้สึก ลิ้นก็เหมือนกันรู้รสจากประสาทลิ้นรู้รสมันไม่ใช่กู จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รสมันไม่ใช่กู สัมผัสผิวหนังนี่ยิ่งแล้วใหญ่รุนแรงมากก็พอเป็นกูขึ้นมาเมื่อไหร่เรื่องราวมันมหาศาล นั้นก็เป็นเรื่องของรูปล้วนๆ ระบบประสาทเป็นเรื่องของรูปล้วนๆ เป็นเพียงระบบประสาทมันรู้สึกอะไรก็ให้อยู่แค่นั้น แล้วก็ให้จิตเป็นผู้วินิจฉัยว่าควรจะทำอะไรกับสิ่งเหล่านี้ โดยที่ไม่ต้องมาหลงรักให้เป็นบวกหรือให้เป็นลบ สิ่งที่เข้ามาทำให้เกิดความยินดีหรือยินร้ายตรงกันข้าม จิตมันไม่ได้คิดไปทำนองนั้น มันเพียงแต่คิดว่าจะทำอะไรกับสิ่งเหล่านี้หรือว่าไม่ต้องทำ ไม่ต้องทำก็เลิก ถ้าทำก็ทำแต่จำเป็นที่มันไม่มีอันตราย นี่เรียกว่าไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนเป็นเพียงรูปก็รูปล้วนๆ เป็นเพียงนามคือจิตก็ล้วนๆ เป็นเพียงระบบประสาทที่อยู่ระหว่างรูประหว่างนามกับรูปก็ล้วนๆ ก็ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นจึงสอนเด็กๆ สั้นๆ ว่า ตาเห็นรูปก็แกอย่าว่ากูเห็นรูป หูได้ยินเสียงก็ว่าหูได้ยินเสียงอย่าหาว่ากูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นก็ว่าจมูกได้กลิ่น ระบบประสาทที่จมูกมันได้กลิ่น ไม่ใช่กู ไม่ใช่กูได้กลิ่น ไอ้กูมันเพิ่งโง่ ความคิดผีหลอกเพิ่งเกิด ลิ้นได้รสๆ ก็ว่าลิ้นมันได้รส ถ้าสมมติว่ามันอร่อยก็ว่าลิ้นต่างหากมันรู้สึกอย่างนั้น มันไม่ใช่กูอร่อย ถ้ามันไม่อร่อยก็ลิ้นมันรู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่กูไม่อร่อย ต่างกันมหาศาลนะ ลิ้นอร่อยกับกูอร่อยนี่ มันต่างกันมาก มันเหลื่อมล้ำกันมาก ลิ้นไม่อร่อยกับกูไม่อร่อยนี่มันต่างกันมากเลย ถ้ากูไม่อร่อยมันก็ด่าแม่ครัว แต่ถ้าลิ้นไม่อร่อยก็ไม่เท่าไร ก็เลิกไป อย่าเอาตัวกูมาสวมเข้าที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เคล็ดลับสูงสุดและก็มีค่าสูงสุดที่จะไม่ให้เกิดตัวตนไม่ให้เกิดตัวกูของกู เขียนเอาไว้สั้นๆ ว่าให้มันเป็นเรื่องของนามรูปล้วนๆ ให้มันเป็นเรื่องของนามและรูป คือกายกับใจล้วนๆ อย่าให้เรื่องของตัวกูแทรกเข้ามา ตัวกูนี่เป็นผีหลอกเกิดขึ้นมาเมื่อมีความรู้สึกทางอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาเห็นรูป สวยไม่สวย ก็เกิดเป็นตัวกู หูได้ยินเสียงไพเราะหรือไม่ไพเราะ เกิดตัวกูๆ ถ้าไม่เกิดตัวกู ไม่มีปัญหาอะไร สัตว์มันเกิดตัวกูของกูน้อยมากเพราะมันโง่มันคิดไม่ค่อยจะเป็น ฉะนั้นสัตว์มันจึงเกิดอุปาทาน ตัณหาอุปาทานน้อย มันจึงมีความทุกข์น้อยๆ ไปตามประสาสัตว์ ส่วนมนุษย์มันคิดได้มาก คิดไปได้ไกล ไปถึงตัวกูอันลึกซึ้ง กูเห็นรูป กูฟังเสียง กูดมกลิ่น กูลิ้มรส กูสัมผัสผิวหนัง กูคิดนึก ให้กู กูๆๆๆ สัตว์เดรัจฉานเป็นเพียงเครื่องจักรง่ายๆ รู้สึกได้แค่ว่ากินอิ่มแล้วก็นอน หิวก็กินอีก มันไม่คิดเรื่องตัวกูของกูมากมายเหมือนมนุษย์ แต่เราก็จะเอาอย่างสัตว์ไม่ไหว เพราะว่ามันสมองมันฉลาดแล้ว ควบคุมให้ดีๆ อย่าให้มันเกิดเป็นตัวกูขึ้นมาจากความรู้สึกใดๆ ให้เป็นเรื่องของอายตนะล้วนๆ ก็ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้หน้าที่ของมัน อย่าเป็นตัวกูๆ ออกไปรับเอามา ถ้าโดนมีดบาดนิ้วนิดหนึ่งก็อย่าว่ามีดบาดกู มันเป็นมีดบาดนิ้วแล้วก็มันก็ไม่เอานิ้วเป็นนิ้วของกู ธรรมดาถ้ามันมีตัวกูสิ่งใดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมันเอาเป็นของกู มันจะเป็นคู่แฝดหรือว่าเป็นเงาตามตัว ถ้ามีกูก็มีของกูเป็นคู่แฝดเป็นเงาตามตัว ภาษาไทยก็พูดชัดว่าตัวกูและของกู ถอดเอามาจากภาษาบาลีว่า อัตตาและอัตตนียา คำนี้ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังหรือไม่เคยรู้ ช่วยจำไว้ด้วยว่ามีประโยชน์มาก อัตตากับอัตตนียา แปลว่าตัวกูกับของกู อัตตาก็ตัวกู อัตตะนียาแปลว่าเนื่องด้วยตัวกู คือของกู เกิดขึ้นเมื่อไรก็เป็นกัดเจ้าของ ไม่เคยก็แล้วไปแต่เกิดขึ้นเมื่อไรก็กัดเจ้าของ ตัวกูของกู ถ้าจะมีชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของก็อย่าให้ไปเที่ยวเกิดตัวกูเกิดของกู เป็นเรื่องของระบบประสาท ไม่ใช่ผีก็ดี เพราะมันเกิดตัวกูของกู แต่ว่าพอมันเกิดความรู้สึกทางระบบประสาทแล้ว มันเกิดผีหลอกขึ้นว่า กูต่างหากที่รู้สึก และรู้สึกก็เป็นของกู ทั้งตัวกูทั้งของกูก็รุมกันกัดเจ้าของ คำพูดนี่มันเป็นคำพูดลึกซึ้ง เป็นหัวใจของพุทธศาสนา แต่ถ้าไม่เข้าใจมันก็ว่าจะฟังเป็นคำพูดไร้สาระไม่มีความหมาย ไม่มีความหมายอะไร อย่ามีความรู้สึกขึ้นมาว่าตัวกูว่าของกู ความรู้สึกนี้ไม่ใช่ของจริงเป็นผีหลอก ความรู้สึกโง่มันผีหลอกตัวเองเกิดขึ้นมาเสร็จแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ตัวกูคือความรู้สึกผีหลอก ระบบประสาทรู้สึกอย่างไรมันก็ไปสวมทับที่นั่นว่าเป็นตัวกูรู้สึก หลอก หลอกใครก็ไม่รู้ หลอกตัวเองให้มันโง่ให้มันเป็นทุกข์ นี่เรื่องของระบบประสาท เป็นของระบบประสาทรู้ว่ารู้สึกอย่างไรแล้วก็จัดการไปตามนั้น ตัวกูเป็นผีหลอกพลอยเกิดๆ จากความรู้สึกทางระบบประสาท ตรงนี้ฟังให้ดีๆ นะ ความรู้สึกทางระบบประสาทเป็นธรรมชาติมันมีตลอดเวลา แต่แล้วมันไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้นมันทำให้เกิดความรู้สึกโง่ออกมาว่าเป็นตัวกูๆๆ ตัวกูทำอย่างนั้นรู้สึกอย่างนั้น พยายามให้พวกฝรั่งเข้าใจว่าตัวกูผู้กระทำนั้นเกิดทีหลังการกระทำ แต่มีการกระทำปรุงแต่งทางอายตนะเป็นความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแล้วมันจึงเกิดความรู้สึกว่าตัวกูผู้กระทำหรือผู้รู้สึก นี่มันก็ผิด logic เพราะ logic ของเด็กๆ แท้ๆ มันก็ต้องว่าต้องมีผู้กระทำสิมันถึงจะเกิดการกระทำ ไม่มีผู้กระทำจะเกิดการกระทำได้อย่างไร เราก็บอกอย่าคิดอย่างนั้น นี่คืออนัตตา อนัตตา ตัวผู้กระทำไม่มีหรอก ไม่มีตัวผู้กระทำแต่มันโง่ไปว่ามี มันรู้สึกอย่างไรมันก็โง่ว่ากูเป็นผู้รู้สึก มันรู้สึกอร่อยก็กูอร่อย มันรู้สึกไม่อร่อยก็กูไม่อร่อย ทางตา ทางหู ทุกอย่างทุกเรื่องมันมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน ตัวกูซึ่งไม่ได้มีอยู่จริงมันก็โผล่ขึ้นมาชั่วขณะนั้นๆ เป็นตัวกูเป็นเจ้าของเรื่องขึ้นมา ถ้าเข้าใจคำนี้ได้ก็เข้าใจหลักสูงสุดในพระพุทธศาสนาว่ามันไม่ได้มีตัวกู แต่แล้วมันเป็นผีหลอกเกิดขึ้นมาจากความรู้สึกว่าอย่างไร รู้สึกว่าอย่างไร มันก็เกิดความโง่เขลา กูมีความรู้สึกอย่างนั้น ตัวกูหรือตัวตนเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงเป็นความรู้สึกหลอกๆ ของอวิชชาเกิดขึ้นมาทุกคราวที่มีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งทางอายตนะ ต้องขอใช้คำพูดว่าทางอายตนะมันรวบรัดดี มันหมดดีคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดความรู้สึกทางไหนก็ได้ มันจะเกิดความรู้สึกว่าตัวกู ผู้เห็นรูป ผู้ฟังเสียง ผู้ดมกลิ่น ผู้ลิ้มรส ผู้สัมผัสผิวหนัง ผู้คิดนึกด้วยใจ ตัวกูมิได้มีอยู่ก่อนสำหรับทำความรู้สึก แต่ความรู้สึกที่ได้ทำไปมันทำให้เกิดตัวกู ถ้าเป็นเรื่องจริงก็ผิด logic ใช้ไม่ได้ แต่นี่มันเรื่องไม่จริง ตัวกูมันเรื่องไม่จริง มันไม่จริง มันจึงสามารถเกิดทีหลังความรู้สึกหรือการกระทำ ก็พูดว่าความรู้สึกน่ะ มันสร้างตัวกูผีหลอกขึ้นมาทุกคราวไป รู้สึกอย่างไรก็จะรู้สึกว่าตัวกู ตัวกูผู้รู้สึกหรือผู้กระทำ นี่หัวใจของพระพุทธศาสนา ไม่ได้มีตัวตนอยู่เลย ตัวตนเป็นผีหลอกเกิดขึ้นชั่วขณะ ชั่วขณะที่มีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นอย่าเอามาเป็นตัวจริงตัวตนอะไร มันก็ไม่มีปัญหาเพราะมันไม่มีตัวกู มันก็ไม่เกิดความรู้สึกกิเลศใดๆ ไม่เกิดรัก โกรธ เกลียด กลัวอะไร เพราะมันไม่ได้มีตัวกู อวิชชามันสร้างตัวกูขึ้นมาชั่วขณะที่รู้สึกทางระบบประสาท และอวิชชาก็กลายเป็นตัณหาอุปาทานยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ นั่นตัวกูซึ่งเกิดจากการกระทำ พูดให้ชัดในฐานะที่ตัวกูไม่ใช่มีตัวจริงก็พูดว่าตัวผู้กระทำมันเกิดทีหลังการกระทำ แม้นักวิทยาศาสตร์มันก็จะพูดว่าบ้าๆ ตัวกูผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ แล้วอะไรจะกระทำถ้าไม่มีตัวกู ก็บอกว่าแกนั่นแหละโง่ ตัวกูมันไม่มีตัวจริงมันเป็นความรู้สึกเกิดมาจากการกระทำ เมื่อมีการกระทำแล้วมันจึงเกิดความรู้สึกว่ามีตัวกูผู้กระทำ ประโยคมันจึงมีว่าผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำและเกิดจากการกระทำนั้นเอง ถ้าคุณไม่มองเห็นก็ตามใจคุณ คุณก็ว่าเชื่อไปตามแบบของคุณ แต่ทางธรรมะที่เป็นความจริงเราจะบอกคุณว่า ตัวผู้กระทำเป็นเพียงผีหลอกมันเกิดมาจากการกระทำ ต้องมีการกระทำรู้สึกตามการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจึงเกิดโง่ออกมาว่ามีตัวกูผู้กระทำ มันเป็น logic ของสิ่งที่ไม่ใช่ ไม่มีตัวตน ถ้ามีตัวตนมันก็พูดอย่างนี้ไม่ได้ มันต้องมีผู้กระทำมันจึงมีการกระทำ ทีนี้ตัวผู้กระทำมันไม่ได้มีตัวจริงมันเป็นผีหลอก มันเกิดความโง่ขึ้นมาจากการกระทำ ยึดมั่นการกระทำว่าตัวกูกระทำ นี่หัวใจของพุทธศาสนา หัวใจอย่างยิ่ง หัวใจอย่างลึกซึ้ง แต่ไม่ค่อยมีใครจะสนใจหรือว่าจะเก็บเอามาศึกษา ช่วยจำไว้ จดไว้ก็ตามว่า ตามหลักดับทุกข์นี้ ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ มันจะหาว่าบ้าหรือไม่เป็น logic ก็ตามใจ แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้น ความรู้สึกว่าผู้กระทำมันเกิดมาจากการกระทำ ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ ถ้าคุณเข้าใจข้อนี้ก็เข้าใจพระพุทธศาสนา ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ เด็กๆ มันก็ไม่เชื่อ มันจะคิดว่าไม่มีผู้กระทำแล้วจะมีการกระทำได้อย่างไร ก็บอกการกระทำมีได้ตามธรรมชาติ ตามเหตุ ตามปัจจัย ตามกฎของธรรมชาติที่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส มันถึงทำอะไรมันบอกต้องมีการกระทำตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการกระทำแล้วมันจึงโง่ทีหลังว่า ตัวกูที่จะทำ ตัวกูกระทำ ตัวกูกระทำ มันก็โง่เลยไปถึงว่าตัวกูรับผลของการกระทำ มันจะว่า มันจะไม่ว่าเป็นเพียงกิริยาหรือสติที่ดีงาม มันไม่มองอย่างนั้น เป็นตัวกูหรือ โง่อย่างนี้คือการทำกรรม ทำกรรมและรับผลกรรมด้วยความโง่ หายโง่ก็ไม่มีการกระทำไม่มีการรับผลกรรม นี่ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่จะต้องเข้าใจให้ดี ที่ว่าตัวกูผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ เช่นดังนั้นจึงเป็นอนัตตาๆ ตัวกู ผีหลอก ไม่ได้มีอยู่จริง คืออนัตตาๆ ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน อย่าให้มันหลอกเราได้นั่นแหละคือถูกต้อง อย่าให้มันหลอกอย่างนี้ได้ การกระทำทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัส รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ในการกระทำอย่างนี้แล้วก็ถือว่า มันสักว่า ถ้านี้ เช่นนี้เอง ถ้านี้เอง มีเท่านี้เอง อย่าให้มีตัวกูได้โอกาสโผล่ขึ้นมา ไม่มีตัวกูก็คือไม่มีการยึดมั่นเป็นอุปาทานขันธ์ ถ้ามันโง่มียึดมั่นเป็นอุปาทานขันธ์เกี่ยวกับรูป เป็นตัวกู เดี๋ยวเวทนา เป็นตัวกู เดี๋ยวสัญญาเป็นตัวกู เดี๋ยวสังขารเป็นตัวกู เดี๋ยววิญญาณเป็นตัวกูผู้กระทำหรือว่าเป็นเจ้าของการกระทำก็แล้วแต่ มันเป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งอย่างละเอียด หากแต่ว่าเป็นมันเป็นเรื่องทางจิตใจ วิทยาศาสตร์ในโลกเขาสนใจกันแต่เรื่องทางฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายร่างกายจึงไม่ค่อยจะรู้พระพุทธศาสนา ถ้าเขาใช้ความสามารถอันนั้นมาศึกษาเรื่องทางจิตใจก็จะรู้พุทธศาสนาดีที่สุด เพราะหลักธรรมะหรือทางศาสนานี้มันก็เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง ทำลายตัวกู ตัวกูของกูเสียได้ ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายนามธรรมฝ่ายจิตใจตามหลักของทางพระศาสนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางรูปธรรมอย่างโลก มันมาดับไม่ได้ มันดับไม่ได้ เพราะมันไม่ละเอียด มันไม่ลึกซึ้งเข้าไปถึงเรื่อง ลึกซึ้งคือตัวกูๆ เป็นเรื่องหลอกผี (1.14.06) ปัญหามันก็ต่อความสาวความยืด พอมีตัวกูตัวตนแล้วมันก็เห็นแก่ตน พอเห็นแก่ตนแล้วปัญหามหาศาลมันเกิดขึ้นครอบงำในโลก นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเอาไว้พูดเฉพาะเรื่องความเห็นแก่ตน ที่นี้พูดเรื่องต้นที่สุด ก็คือตน ความรู้สึกว่าตนๆๆๆ โดยที่มันไม่มีความจริง แต่ว่าถ้าเกิดขึ้นแล้วมันก็มีปฏิกิริยาไปตามเรื่องของมันที่ไม่ใช่ความจริง เกิดเห็นแก่ตนแล้วก็ทำความเลวทุกชนิด ถ้าจะตัดความเห็นแก่ตนต้องศึกษาเรื่องไม่ใช่ตนนี่ก่อน พอไม่ใช่ตนไม่มีตนมันก็ไม่เห็นแก่ตน พุทธศาสนาจึงสอนเรื่องไม่ใช่ตนไม่มีตน มันก็ระงับความเห็นแก่ตนไปได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าศาสนาอื่นมันสอนว่ามีตน มีตัวมีตนมันก็ต้องไปสอน ความลำบากอีกครั้งว่าตัวตนนั้นมันไม่ใช่ตัวตนโว้ย อย่าไปเห็นแก่ตนชนิดนั้นโว้ย ลำบากหลายชั้น ถ้ามันตัดบทเสียว่าไม่ใช่ตัวตนไม่มีตัวตนมันก็หยุด หยุดอยู่แค่นี้ ไม่เกิดกิเลศไม่เกิดความเห็นแก่ตน ระวังๆ ทุกคราที่โง่ว่ามีตนจะเกิดความเห็นแก่ตน ก็จะมีตัณหากระทำไปตามความเห็นแก่ตน นี่สรุปความว่าตัวตนมิใช่ของมีอยู่จริงเป็นเพียงปฏิกิริยาที่จะเกิดออกมาภายหลังจากมีการกระทำทางอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะมันทำงานมันมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวกูก็โผล่หัวอออกมาด้วยความโง่หรืออวิชชามีเท่านั้น ถ้ามีสติพอ มีสติสมบูรณ์พอมันก็ไม่โง่ตอนนี้ ตัวตนมันก็ไม่มี ปัญหามันก็ไม่มี ความทุกข์มันก็ไม่มี จึงมองดูกันในแง่นี้แล้วก็ว่าฝึกฝนสติไว้ให้มาก สะสมปัญญาไว้ให้มากก็ดับทุกข์ได้
สามชั่วโมงแล้วนี่มันสามชั่วโมงแล้ว เป็นอย่างไรบ้างใช้โลกเวลา 5น. งัวเงียหรือเปล่า งัวเงียหรือเปล่า โลกเวลา 5น. นี่จับตัวมาใช้ได้คล่องแคล่วๆ ลองดูสิยังไม่ได้จุดตะเกียง คว้าปากกามาเขียน ไฟติดก็เรียน(1.17.43) โลกเวลา 5น. ใครไม่รู้จักใช้คนนั้นก็ขาดทุนยุบยับไปเลย ไม่รู้จักใช้โลกเวลาที่สำคัญที่สุด สามชั่วโมงแล้วก็พักตามเวรประจำวัน เลื่อนไปก็เลื่อนไป เลื่อนไปอีก (1.18.17-1.18.40) พูดกับผู้แสวงหาซึ่งไม่รู้ว่าแสวงหาอะไร อาตมาสังเกตดูชุดนี้ นักศึกษาชุดนี้มันไม่รู้มันต้องการอะไร เที่ยวแสวงหา ต้องการอะไรแสวงหาอะไรก็เที่ยวแสวงหาไปตามอย่าง ได้แต่แบกบันไดแต่ไม่รู้ว่าจะไปพาดที่ไหน แบกบันไดไม่รู้ว่าจะไปพาดที่ไหน